เอแบคโพลล์: สำรวจวิธีหาทางออกจากปัญหาหนี้สินและแนวทางลดภาระค่าใช้จ่ายในช่วงเศรษฐกิจถดถอย

ข่าวผลสำรวจ Tuesday May 12, 2009 09:15 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผล สำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (ABAC Real-Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่ม เชิงชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi-Stage Sampling) จากนั้นได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวด เร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง สำรวจวิธีหาทางออกจากปัญหาหนี้สินและแนวทางลดภาระค่าใช้จ่ายในช่วงเศรษฐกิจถดถอย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพ มหานคร น่าน กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา ราชบุรี ปทุมธานี ชลบุรี ยโสธร นครพนม มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ สุรินทร์ กระบี่ และชุมพร จำนวนทั้งสิ้น 1,140 ครัวเรือน ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2552 โดยพบว่า ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาประชาชนที่ถูกศึกษา ส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกสัปดาห์

ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึง สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยวันนี้ และเปรียบเทียบกับผลสำรวจเดือนเมษายนที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนที่ ระบุว่าเศรษฐกิจของประเทศวันนี้ดี เริ่มมีสัดส่วนสูงขึ้นจากร้อยละ 5.6 ในเดือนเมษายน มาอยู่ที่ร้อยละ 11.8 ในการสำรวจล่าสุด อย่างไรก็ตาม ใน การวิจัยครั้งนี้ยังคงพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.2 ระบุว่าเศรษฐกิจของประเทศวันนี้ยังย่ำแย่อยู่

แต่เมื่อพิจารณาข้อคำถามที่สอบถาม สภาพรายได้วันนี้ของประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามเอง พบว่า คนที่ตอบว่ารายได้ของตนเองวันนี้ดีเพิ่ม สูงขึ้นจากร้อยละ 21.9 ในการสำรวจเดือนเมษายน มาอยู่ที่ร้อยละ 34.4 ในการสำรวจล่าสุด อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.6 ยังคงบอก กับผู้วิจัยว่า สภาพรายได้ของตนเองวันนี้ยังไม่ดี

นอกจากนี้ ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 42.4 กำลังมีความจำเป็นต้องผ่อนชำระสินค้า และบริการ (เป็นหนี้) ในขณะที่ เกินกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 57.6 ระบุไม่มีความจำเป็นต้องผ่อนชำระสินค้าและบริการอะไร โดยกลุ่มตัวอย่างที่กำลังมีความจำเป็นต้องผ่อนชำระสินค้าและบริการ ร้อย ละ 42.9 ระบุเป็นเงินกู้เพื่อซื้อรถ ในขณะที่ร้อยละ 38.4 ระบุเป็นเงินกู้เพื่อซื้อบ้าน ที่อยู่อาศัย ที่ดิน ร้อยละ 23.0 ระบุเป็นเงินกู้เพื่อซื้อเครื่องใช้ ไฟฟ้า สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องเสียง นอกจากนี้ ร้อยละ 20.4 ระบุเป็นหนี้ผ่อนชำระบัตรเครดิต บัตรเงินสด และรองๆ ลงไปคือ เงินกู้เพื่อการประกอบธุรกิจ สร้างรายได้ เงินกู้เพื่อจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน เงินกู้เพื่อการศึกษา เงินกู้เพื่อจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ ประกันชีวิต อุบัติเหตุ และเงินกู้เพื่อเยียวยาอาการเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น

ดร.นพดล กล่าวว่า ที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ แนวทางลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนที่ถูกศึกษาวิจัยครั้งนี้ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.6 ระบุ ก่อนซื้อสินค้า ถามใจตัวเองก่อนว่า “จำเป็นต้องซื้อ หรือว่า เป็นแค่ความอยากได้” ในขณะที่รองลงมาคือ ร้อยละ 87.1 ระบุใช้เครื่องมือสื่อสารแทนการเดินทาง ร้อยละ 83.8 ระบุ หันมาซื้อสินค้าราคาถูก มีคุณภาพใช้งานแทนกันได้ ร้อยละ 80.6 ระบุ ตากผ้า ด้วยแสงแดด แทนการใช้เครื่องไฟฟ้าปั่นผ้าแห้ง ร้อยละ 76.1 ระบุ ลดการใช้เครื่องปรับอากาศ พัดลมไฟฟ้า ร้อยละ 60.1 ใช้จักรยานปั่นด้วยเท้า แทนการใช้รถยนต์ ร้อยละ 55.8 ระบุ ใช้วิธีการเดินด้วยเท้าในระยะทางที่ทำได้ แทนการใช้รถยนต์ ในขณะที่รองๆ ลงไปคือ อ่านหนังสือธรรมะมาก ขึ้น เวลาไปทานอาหารที่สวนอาหารหรือภัตตาคาร จะซื้อทานเฉพาะอาหารว่าง เพื่อลดความอ้วนได้ด้วย และจะขายของเครื่องใช้ ทรัพย์สินบางส่วน นำเงินไปลงทุนในสถาบันการเงิน ตามลำดับ

ที่น่าสนใจคือ วิธีการบริหารจัดการหนี้สินที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อไม่ให้เดือดร้อนจากภาระหนี้สิน ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.3 ระบุใช้ชีวิตพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริของในหลวง รองลงมาคือ ร้อยละ 91.5 ระบุลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ในขณะที่ ร้อยละ 89.4 ระบุไม่ สร้างหนี้เพิ่ม ร้อยละ 56.9 จดบันทึกรายรับ — รายจ่ายสม่ำเสมอ ร้อยละ 51.3 ทำงานหารายได้พิเศษ รองๆ ลงไปคือ ชำระหนี้สินที่ดอกเบี้ยสูงหรือ หนี้ก้อนใหญ่ก่อน ขอเจรจาประนอมหนี้เพื่อให้สามารถผ่อนชำระได้ ขายทรัพย์สินออกไปเพื่อชำระหนี้ และหาคนคุ้มครองและหนีหนี้ ตามลำดับ

ผอ.ศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวว่า ผลวิจัยเรื่องสำรวจวิธีหาทางออกจากปัญหาหนี้สินและแนวทางลดภาระค่าใช้จ่ายในช่วงสภาวะเศรษฐกิจถด ถอยครั้งนี้ พบว่า ประชาชนที่มองว่าเศรษฐกิจของประเทศดีและสภาพรายได้ของตนเองดีเริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ยังคงได้รับผล กระทบจากปัญหาเศรษฐกิจอยู่ โดยประชาชนจำนวนมากยังคงเป็นหนี้และต้องผ่อนชำระสินค้าบริการอันดับแรกคือ การผ่อนรถ บ้านที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ ไฟฟ้า และบัตรเครดิต แต่ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนมีทางออกของการเป็นหนี้และลดภาระค่าใช้จ่ายคือ การถามใจตัวเองก่อนซื้อสินค้าว่า มีความจำ เป็นต้องซื้อ หรือแค่เป็นความอยากได้ และที่สำคัญที่สุดคือ การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวงมาประยุกต์ใช้ในชีวิต ลดค่าใช้ จ่ายที่ไม่จำเป็น และไม่สร้างหนี้เพิ่ม

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 57.9 เป็นหญิง

ร้อยละ 42.1 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 4.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 23.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 25.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 71.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 22.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 5.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 30.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 27.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 16.7 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.3 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 5.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 6.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 3.1 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 19.1 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน

ร้อยละ 17.7 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท

ร้อยละ 15.2 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท

ร้อยละ 11.3 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท

ร้อยละ 18.3 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน

และร้อยละ 18.4 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวผ่านสื่อมวลชน ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การติดตามข่าวผ่านสื่อมวลชน          ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                       58.0
2          3 — 4 วันต่อสัปดาห์                     17.5
3          1 — 2 วันต่อสัปดาห์                      9.4
4          น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์                   4.3
5          ไม่ได้ติดตามเลย                        10.8
          รวมทั้งสิ้น                             100.0

ตารางที่ 2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สภาพเศรษฐกิจของไทยวันนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ลำดับที่          สภาพเศรษฐกิจของไทยวันนี้          เมษายนค่าร้อยละ          พฤษภาคมค่าร้อยละ
1          เศรษฐกิจดี                              5.6                     11.8
2          เศรษฐกิจย่ำแย่                          94.4                     88.2
          รวมทั้งสิ้น                              100.0                    100.0

ตารางที่  3  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สภาพรายได้วันนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ลำดับที่          สภาพรายได้วันนี้      เมษายนค่าร้อยละ          พฤษภาคมค่าร้อยละ
1          รายได้ดี                    21.9                    34.4
2          รายได้ไม่ดี                  78.1                    65.6
          รวมทั้งสิ้น                   100.0                   100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความจำเป็นในการผ่อนชำระสินค้า/บริการในปัจจุบัน
ลำดับที่          ความจำเป็นในการผ่อนชำระสินค้า/บริการ          ค่าร้อยละ
1          มีความจำเป็นต้องผ่อนชำระสินค้า/บริการ                42.4
2          ไม่มีความจำเป็นต้องผ่อนชำระสินค้า/บริการ              57.6
          รวมทั้งสิ้น                                       100.0

ตารางที่  5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสินค้า/บริการที่ต้องผ่อนชำระในปัจจุบัน (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ต้องผ่อนชำระและ

ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          สินค้า/บริการที่ต้องผ่อนชำระ                                          ค่าร้อยละ
1          เงินกู้เพื่อซื้อรถ                                                          42.9
2          เงินกู้เพื่อการซื้อบ้าน/ที่อยู่อาศัย/ที่ดิน                                          38.4
3          เงินกู้เพื่อซื้อเครื่องใช้/สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องเสียง          23.0
4          บัตรเครดิต บัตรเงินสด                                                    20.4
5          เงินกู้เพื่อการประกอบธุรกิจหรือสร้างรายได้เสริม/ประกอบอาชีพ                      17.5
6          เงินกู้เพื่อจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน                                        17.5
7          เงินกู้เพื่อการศึกษา                                                       14.3
8          เงินกู้เพื่อจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ/ประกันชีวิต/ประกันอุบัติเหตุ                         12.0
9          เงินกู้เพื่อการเยียวยาอาการเจ็บไข้ได้ป่วย                                       5.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีลดปัญหาเศรษฐกิจส่วนตัวในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          วิธีลดปัญหาเศรษฐกิจส่วนตัวในปัจจุบัน                                              ค่าร้อยละ
1          ก่อนซื้อสินค้า ถามใจตัวเองว่า จำเป็นต้องซื้อหรือว่าเป็นแค่ความอยากได้                          90.6
2          ใช้เครื่องมือสื่อสาร แทนการเดินทาง                                                    87.1
3          หันมาซื้อสินค้าราคาถูก ที่ใช้งานแทนกันได้                                                 83.8
4          ตากผ้าด้วยแสงแดด แทนการใช้เครื่องไฟฟ้าปั่นผ้าแห้ง                                        80.6
5          ลดการใช้เครื่องปรับอากาศ พัดลมไฟฟ้า                                                  76.1
6          ใช้จักรยานปั่นด้วยเท้า แทนการใช้รถยนต์                                                 60.1
7          ใช้วิธีการเดินด้วยเท้าในระยะทางที่ทำได้ แทนการใช้รถยนต์                                   55.8
8          อ่านหนังสือธรรมะมากขึ้น                                                             39.9
9          เวลาไปทานอาหารที่สวนอาหารหรือภัตตาคาร จะซื้อทานเฉพาะอาหารว่าง เพื่อลดความอ้วนได้ด้วย       36.4
10          ขายของเครื่องใช้/ทรัพย์สินบางส่วน/นำเงินไปลงทุนในสถาบันการเงิน                           20.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการบริหารจัดการหนี้สินที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อน
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่มีหนี้สินและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          วิธีการบริหารจัดการหนี้สินที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อไม่ให้เดือดร้อนจากภาระหนี้สิน    ค่าร้อยละ
1          ใช้ชีวิตพอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวง                              92.3
2          ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น                                                91.5
3          ไม่สร้างหนี้เพิ่ม                                                      89.4
4          จดบันทึกรายรับ-รายจ่ายสม่ำเสมอ                                        56.9
5          ทำงานหารายได้พิเศษ                                                 51.3
6          ชำระหนี้ที่ดอกเบี้ยสูงหรือหนี้ก้อนใหญ่ก่อน                                    49.5
7          เลิกใช้บัตรเครดิต                                                    37.3
8          ขอเจรจาประนอมหนี้เพื่อให้สามารถผ่อนชำระได้                              21.4
9          ขายทรัพย์สินออกไปเพื่อชำระหนี้                                          11.6
10          หาคนคุ้มครอง                                                      10.8
11          หนีหนี้                                                             5.8

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ