ที่มาของโครงการ
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวเด่น-ประเด็นดังที่เกิดขึ้นและได้รับความสนใจติดตามจากประชาชนหลายข่าว ทั้งข่าวปัญหาการพิสูจน์
ศพ “ห้างทอง ธรรมวัฒนะ” ปัญหาโรงพยาบาลสลับเด็กหลังคลอด ปัญหาน้ำตาลขาดตลาด และข่าวการถ่ายทอดสดกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายก
รัฐมนตรี และคณะ จะเดินทางไปสาธิตนำร่องรูปแบบการแก้ไขปัญหาสังคม และความยากจนเชิงบูรณาการระหว่างวันที่ 16-21 ม.ค.49 นี้ ที่ อ.อาจ
สามารถ จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งข่าวหลังนี้น่าจะเป็นข่าวที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดข่าวหนึ่งในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความสนใจติดตามข่าวสารและประเด็นความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการถ่ายทอดสดการทำงานของนายก
รัฐมนตรีดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ และเจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบ
วิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจข่าวสถานการณ์ในรอบสัปดาห์ที่ประชาชนสนใจติดตาม
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการถ่ายทอดสดการทำงานของนายกรัฐมนตรีและคณะผ่านทางช่องยูบีซี 16
3. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาอย่างลึกซึ่งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ข่าวเด่นรอบสัปดาห์และความคิดเห็นของ
ประชาชนต่อการถ่ายทอดสด Backstage Show:Prime Minister: กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”
ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ตั้งแต่วันที่ 13 — 14 มกราคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำ สำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,538 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.0 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.0 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 73.8 ระบุสำเร็จการศึกษา ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 23.9 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.4 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.7 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 5.8 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจเรื่อง “ข่าวเด่นรอบสัปดาห์และความคิดเห็นของประชาชนต่อการ
ถ่ายทอดสด Backstage Show:Prime Minister” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหา
นครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,538 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 13 — 14 มกราคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการ
สำรวจดังนี้
ผลการสำรวจพบว่าข่าวเด่นในรอบสัปดาห์ที่ได้รับความสนใจติดตามจากประชาชน 5 อันดับแรก ได้แก่ ข่าวคดีตังเกข่มขืนฆ่านักท่องเที่ยว
หญิงชาวอังกฤษที่เกาะสมุย(ร้อยละ 74.1) ปัญหาโรงพยาบาลสลับเด็กหลังคลอด(ร้อยละ 55.2 ) ข่าวปัญหาการพิสูจน์ศพ “ห้างทอง ธรรมวัฒนะ”
(ร้อยละ 49.8) ข่าวสถานการณ์ราคาน้ำมัน (ร้อยละ 49.6) และปัญหาน้ำตาลขาดตลาด (ร้อยละ 47.2)
ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดสดรายการดังกล่าวนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 28.8 ระบุไม่เห็นด้วย
ในขณะที่ร้อยละ 20.3 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 50.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนกรณีการถ่ายทอดสดการทำงานจะทำให้คะแนนความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรีเป็นอย่างไรนั้น พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 15.2 ระบุดีขึ้น ร้อยละ 19.2 ระบุดีเหมือนเดิม ร้อยละ 11.0 ระบุแย่เหมือนเดิม ร้อยละ 7.2 ระบุ แย่ลง และร้อยละ 47.4
ไม่ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 31.6 ระบุคิดว่าการถ่ายทอดสดการทำงานของนายกรัฐมนตรีและคณะในครั้งนี้
จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐ ข้าราชการมีความเข้าใจและเห็นวิธีการแก้ไขปัญหาของนายกรัฐมนตรีได้ ในขณะที่ร้อยละ 23.9 ระบุไม่ได้ และร้อยละ
44.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างกว่า 1 ใน 3 (ร้อยละ 36.4) ระบุคิดว่าการถ่ายทอดสดดังกล่าวเป็นการจัดฉากไว้ล่วงหน้า ในขณะที่ร้อยละ
29.0 ระบุคิดว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และร้อยละ 34.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ ได้แก่ ความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีบุคคล/หน่วยงานที่จะได้รับประโยชน์จากการถ่าย
ทอดสดในครั้งนี้ ซึ่งพบว่า ร้อยละ 32.9 ระบุนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 26.8 ระบุยูบีซี ร้อยละ 25.9 ระบุประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ร้อยละ
23.1 ระบุคณะรัฐมนตรี และร้อยละ 20.3 ระบุสื่อมวลชน ตามลำดับ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า ประชาชนร้อยละ 20 เท่านั้นที่ให้ความสนใจ
ติดตามข่าวการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ของนายกรัฐมนตรีและอยู่ในอันดับที่ 11 แสดงให้เห็นว่าประชาชนสนใจติดตามข่าวอื่นๆ เช่น ข่าวอาชญากรรม
ข่าวเศรษฐกิจ ความมั่นคงและการชุมนุมต้านเขตการค้าเสรี (FTA) มากกว่าข่าวเรียลลิตี้โชว์ของนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ยังลังเลที่
จะสนับสนุนภารกิจของนายกรัฐมนตรีผ่านการทำเรียลลิตี้โชว์ครั้งนี้ แต่ถ้านายกรัฐมนตรีทำเรียลลิตี้โชว์ปราบโกง น่าจะได้รับการสนับสนุนและสนใจ
ติดตามจากรประชาชนมากกว่า
ผอ.เอแบคโพลล์กล่าวต่อว่า รัฐบาลคงกำลังทำทุกวิถีทางเพื่อจะฟื้นความนิยมหรือรักษาความนิยมไว้ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้จากมวลชน
แต่อาจลืมไปว่าถ้าคะแนนนิยมตกต่ำกว่าร้อยละ 50 แล้วการจะพูดจะทำอะไรมักจะเจอกับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วงซึ่งแตกต่างจากช่วงชนะการ
เลือกตั้งที่ผ่านมา ดังนั้นรัฐบาลอาจกำลังก้าวเข้าสู่ความเสี่ยงสูงต่อความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองได้ ถ้าไม่รอบครอบในการพูดหรือใช้วิธีฟื้นคะแนน
นิยมของประชาชนแบบไม่ลืมหูลืมตา อย่างเช่นการถ่ายทอดสดแบบเรียลลิตี้โชว์ฯ คำถามที่ตามมาจากประชาชนคือทำไมไม่มีการถ่ายทอดผ่านฟรีทีวีถ้ามี
วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นต้นแบบภายใต้ชื่อ “อาจสามารถโมเดล” ประชาชนจำนวนมากจึงมองว่าการถ่ายทอดสดครั้งนี้ไม่มีใครได้รับประโยชน์เลย
ตามจริงแล้ว รัฐบาลไม่ต้องไปหาเทคนิควิธีทางการตลาดเพื่อการเมืองอะไรมากมาย รัฐบาลควรทำเพียงสามหรือสี่อย่างที่สำคัญๆ ก็จะ
สามารถได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างมากมาย เช่น ประการแรก การประกาศว่าต่อไปนี้นายกรัฐมนตรีต้องการปราบโกงแม้แต่คนใกล้ชิดกับ
รัฐบาล นั่นคือทำโดยไม่เลือกปฏิบัติ ประการที่สอง เดินหน้าแก้ปัญหาความยากจนและรักษาความยุติธรรมในสังคม และประการสุดท้ายคือ เร่งแก้ปัญหา
สังคมทำสังคมให้แข็งแกร่ง
“นายกรัฐมนตรีเคยกล่าวในช่วงท้ายๆ ของไตรมาสที่สามปีที่แล้วว่า ระบบเศรษฐกิจและเรื่องการเมืองก้าวไปไกลมากแล้วต่อไปนี้ผมจะแก้
ปัญหาสังคม ซึ่งปัญหาสังคมไทยหลักๆ ก็คือ ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหาความยากจน และความอ่อนแอของสังคมชุมชนต่างๆ ถ้านายกทำตามที่กล่าวไว้โดยเอา
สังคมเป็นตัวนำจริงๆ ก็น่าเชื่อได้ว่า ความเคลื่อนไหวทางการเมืองใดๆ จะไม่สามารถบั่นทอนแรงสนับสนุนจากประชาชนได้ ส่วนความมั่นคงทาง
เศรษฐกิจก็จะเกิดขึ้นมาจากความร่วมแรงร่วมใจของประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศ” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญในตารางดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข่าวที่ประชาชนสนใจติดตาม ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวที่ประชาชนสนใจติดตาม ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 คดีตังเกข่มขืนฆ่านักท่องเที่ยวหญิงชาวอังกฤษที่เกาะสมุย 74.1
2 ปัญหาโรงพยาบาลสลับเด็กหลังคลอด 55.2
3 ปัญหาการพิสูจน์ศพ “ห้างทอง ธรรมวัฒนะ” 49.8
4 สถานการณ์ราคาน้ำมัน 49.6
5 ปัญหาน้ำตาลขาดตลาด 47.2
6 ความขัดแย้งกรณี “เสนาะ” ในพรรคไทยรักไทย 34.5
7 การชุมนุมต้านเขตการค้าเสรี (FTA)ไทย-สหรัฐฯ 34.0
8 “ทักษิณ” เจรจา “ป๋าเปรม” แก้ปัญหาไฟใต้ 27.9
9 ปัญหาการทำฟันของผู้มีสิทธิ์ประกันสังคม 27.3
10 ข่าวเตรียมจัดงานวันเด็ก 24.7
11 เรียลลิตี้โชว์ทางทีวีนายกฯแก้ปัญหาความยากจน 21.0
12 เรียกร้องแก้กฎหมายให้เมียฟ้องผัวที่มีกิ๊ก 18.2
13 ความเคลื่อนไหวขายหุ้น “ชินคอร์ป” 12.2
14 ไม่ได้ติดตามข่าวใดเลย 5.9
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดสดแบบเรียลลิตี้โชว์ทางทีวี
ของนายกรัฐมนตรี (Backstage Show : Prime Minister)
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดสดแบบเรียลลิตี้โชว์ทางทีวีของนายกฯ ร้อยละ
1 เห็นด้วย 20.3
2 ไม่เห็นด้วย 28.8
3 ไม่มีความเห็น 50.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมต่อนายกรัฐมนตรีหลังจากการถ่ายทอดแบบเรียลลิตี้โชว์ทางทีวีของนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความนิยมต่อนายกรัฐมนตรี ร้อยละ
1 ดีขึ้น 15.2
2 ดีเหมือนเดิม 19.2
3 แย่เหมือนเดิม 11.0
4 แย่ลง 7.2
5 ไม่มีความเห็น 47.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเข้าใจและเห็นวิธีการแก้ไขปัญหาของนายกรัฐมนตรีและคณะ
หากมีการถ่ายทอดสดการทำงานของรัฐมนตรีและคณะ
ลำดับที่ ความเข้าใจและเห็นวิธีการแก้ไขปัญหาของนายกรัฐมนตรีและคณะหากมีการถ่ายทอดสดการทำงานของรัฐมนตรีและคณะ ร้อยละ
1 สามารถเข้าใจและเห็นวิธีการแก้ไขปัญหาของนายกรัฐมนตรีและคณะได้ 31.6
2 ไม่ได้ 23.9
3 ไม่มีความเห็น 44.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดสดการทำงานของนายกรัฐมนตรีและคณะ
ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือเป็นเหตุการณ์ที่จัดฉากไว้ล่วงหน้า
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง 29.0
2 เป็นการจัดฉากไว้ล่วงหน้า 36.4
3 ไม่มีความเห็น 34.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลหรือหน่วยงานที่ได้ประโยชน์จากการถ่ายทอดสดการทำงานของ
นายกรัฐมนตรีและคณะ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลหรือหน่วยงานที่ได้ประโยชน์จากการถ่ายทอดสดการทำงานของนายกรัฐมนตรีและคณะ ร้อยละ
1 นายกรัฐมนตรี 32.9
2 ยูบีซี (UBC) 26.8
3 ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ 25.9
4 คณะรัฐมนตรี 23.1
5 สื่อมวลชน 20.3
6 ข้าราชการ / เจ้าหน้าที่รัฐ 15.0
7 ไม่มีใครได้ประโยชน์ 38.2
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวเด่น-ประเด็นดังที่เกิดขึ้นและได้รับความสนใจติดตามจากประชาชนหลายข่าว ทั้งข่าวปัญหาการพิสูจน์
ศพ “ห้างทอง ธรรมวัฒนะ” ปัญหาโรงพยาบาลสลับเด็กหลังคลอด ปัญหาน้ำตาลขาดตลาด และข่าวการถ่ายทอดสดกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายก
รัฐมนตรี และคณะ จะเดินทางไปสาธิตนำร่องรูปแบบการแก้ไขปัญหาสังคม และความยากจนเชิงบูรณาการระหว่างวันที่ 16-21 ม.ค.49 นี้ ที่ อ.อาจ
สามารถ จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งข่าวหลังนี้น่าจะเป็นข่าวที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดข่าวหนึ่งในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความสนใจติดตามข่าวสารและประเด็นความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการถ่ายทอดสดการทำงานของนายก
รัฐมนตรีดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ และเจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบ
วิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจข่าวสถานการณ์ในรอบสัปดาห์ที่ประชาชนสนใจติดตาม
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการถ่ายทอดสดการทำงานของนายกรัฐมนตรีและคณะผ่านทางช่องยูบีซี 16
3. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาอย่างลึกซึ่งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ข่าวเด่นรอบสัปดาห์และความคิดเห็นของ
ประชาชนต่อการถ่ายทอดสด Backstage Show:Prime Minister: กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”
ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ตั้งแต่วันที่ 13 — 14 มกราคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำ สำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,538 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.0 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.0 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 73.8 ระบุสำเร็จการศึกษา ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 23.9 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.4 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.7 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 5.8 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจเรื่อง “ข่าวเด่นรอบสัปดาห์และความคิดเห็นของประชาชนต่อการ
ถ่ายทอดสด Backstage Show:Prime Minister” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหา
นครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,538 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 13 — 14 มกราคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการ
สำรวจดังนี้
ผลการสำรวจพบว่าข่าวเด่นในรอบสัปดาห์ที่ได้รับความสนใจติดตามจากประชาชน 5 อันดับแรก ได้แก่ ข่าวคดีตังเกข่มขืนฆ่านักท่องเที่ยว
หญิงชาวอังกฤษที่เกาะสมุย(ร้อยละ 74.1) ปัญหาโรงพยาบาลสลับเด็กหลังคลอด(ร้อยละ 55.2 ) ข่าวปัญหาการพิสูจน์ศพ “ห้างทอง ธรรมวัฒนะ”
(ร้อยละ 49.8) ข่าวสถานการณ์ราคาน้ำมัน (ร้อยละ 49.6) และปัญหาน้ำตาลขาดตลาด (ร้อยละ 47.2)
ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดสดรายการดังกล่าวนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 28.8 ระบุไม่เห็นด้วย
ในขณะที่ร้อยละ 20.3 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 50.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนกรณีการถ่ายทอดสดการทำงานจะทำให้คะแนนความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรีเป็นอย่างไรนั้น พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 15.2 ระบุดีขึ้น ร้อยละ 19.2 ระบุดีเหมือนเดิม ร้อยละ 11.0 ระบุแย่เหมือนเดิม ร้อยละ 7.2 ระบุ แย่ลง และร้อยละ 47.4
ไม่ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 31.6 ระบุคิดว่าการถ่ายทอดสดการทำงานของนายกรัฐมนตรีและคณะในครั้งนี้
จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐ ข้าราชการมีความเข้าใจและเห็นวิธีการแก้ไขปัญหาของนายกรัฐมนตรีได้ ในขณะที่ร้อยละ 23.9 ระบุไม่ได้ และร้อยละ
44.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างกว่า 1 ใน 3 (ร้อยละ 36.4) ระบุคิดว่าการถ่ายทอดสดดังกล่าวเป็นการจัดฉากไว้ล่วงหน้า ในขณะที่ร้อยละ
29.0 ระบุคิดว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และร้อยละ 34.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ ได้แก่ ความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีบุคคล/หน่วยงานที่จะได้รับประโยชน์จากการถ่าย
ทอดสดในครั้งนี้ ซึ่งพบว่า ร้อยละ 32.9 ระบุนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 26.8 ระบุยูบีซี ร้อยละ 25.9 ระบุประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ร้อยละ
23.1 ระบุคณะรัฐมนตรี และร้อยละ 20.3 ระบุสื่อมวลชน ตามลำดับ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า ประชาชนร้อยละ 20 เท่านั้นที่ให้ความสนใจ
ติดตามข่าวการถ่ายทอดสดเรียลลิตี้โชว์ของนายกรัฐมนตรีและอยู่ในอันดับที่ 11 แสดงให้เห็นว่าประชาชนสนใจติดตามข่าวอื่นๆ เช่น ข่าวอาชญากรรม
ข่าวเศรษฐกิจ ความมั่นคงและการชุมนุมต้านเขตการค้าเสรี (FTA) มากกว่าข่าวเรียลลิตี้โชว์ของนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ยังลังเลที่
จะสนับสนุนภารกิจของนายกรัฐมนตรีผ่านการทำเรียลลิตี้โชว์ครั้งนี้ แต่ถ้านายกรัฐมนตรีทำเรียลลิตี้โชว์ปราบโกง น่าจะได้รับการสนับสนุนและสนใจ
ติดตามจากรประชาชนมากกว่า
ผอ.เอแบคโพลล์กล่าวต่อว่า รัฐบาลคงกำลังทำทุกวิถีทางเพื่อจะฟื้นความนิยมหรือรักษาความนิยมไว้ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้จากมวลชน
แต่อาจลืมไปว่าถ้าคะแนนนิยมตกต่ำกว่าร้อยละ 50 แล้วการจะพูดจะทำอะไรมักจะเจอกับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วงซึ่งแตกต่างจากช่วงชนะการ
เลือกตั้งที่ผ่านมา ดังนั้นรัฐบาลอาจกำลังก้าวเข้าสู่ความเสี่ยงสูงต่อความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองได้ ถ้าไม่รอบครอบในการพูดหรือใช้วิธีฟื้นคะแนน
นิยมของประชาชนแบบไม่ลืมหูลืมตา อย่างเช่นการถ่ายทอดสดแบบเรียลลิตี้โชว์ฯ คำถามที่ตามมาจากประชาชนคือทำไมไม่มีการถ่ายทอดผ่านฟรีทีวีถ้ามี
วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นต้นแบบภายใต้ชื่อ “อาจสามารถโมเดล” ประชาชนจำนวนมากจึงมองว่าการถ่ายทอดสดครั้งนี้ไม่มีใครได้รับประโยชน์เลย
ตามจริงแล้ว รัฐบาลไม่ต้องไปหาเทคนิควิธีทางการตลาดเพื่อการเมืองอะไรมากมาย รัฐบาลควรทำเพียงสามหรือสี่อย่างที่สำคัญๆ ก็จะ
สามารถได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างมากมาย เช่น ประการแรก การประกาศว่าต่อไปนี้นายกรัฐมนตรีต้องการปราบโกงแม้แต่คนใกล้ชิดกับ
รัฐบาล นั่นคือทำโดยไม่เลือกปฏิบัติ ประการที่สอง เดินหน้าแก้ปัญหาความยากจนและรักษาความยุติธรรมในสังคม และประการสุดท้ายคือ เร่งแก้ปัญหา
สังคมทำสังคมให้แข็งแกร่ง
“นายกรัฐมนตรีเคยกล่าวในช่วงท้ายๆ ของไตรมาสที่สามปีที่แล้วว่า ระบบเศรษฐกิจและเรื่องการเมืองก้าวไปไกลมากแล้วต่อไปนี้ผมจะแก้
ปัญหาสังคม ซึ่งปัญหาสังคมไทยหลักๆ ก็คือ ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหาความยากจน และความอ่อนแอของสังคมชุมชนต่างๆ ถ้านายกทำตามที่กล่าวไว้โดยเอา
สังคมเป็นตัวนำจริงๆ ก็น่าเชื่อได้ว่า ความเคลื่อนไหวทางการเมืองใดๆ จะไม่สามารถบั่นทอนแรงสนับสนุนจากประชาชนได้ ส่วนความมั่นคงทาง
เศรษฐกิจก็จะเกิดขึ้นมาจากความร่วมแรงร่วมใจของประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศ” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญในตารางดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข่าวที่ประชาชนสนใจติดตาม ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวที่ประชาชนสนใจติดตาม ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 คดีตังเกข่มขืนฆ่านักท่องเที่ยวหญิงชาวอังกฤษที่เกาะสมุย 74.1
2 ปัญหาโรงพยาบาลสลับเด็กหลังคลอด 55.2
3 ปัญหาการพิสูจน์ศพ “ห้างทอง ธรรมวัฒนะ” 49.8
4 สถานการณ์ราคาน้ำมัน 49.6
5 ปัญหาน้ำตาลขาดตลาด 47.2
6 ความขัดแย้งกรณี “เสนาะ” ในพรรคไทยรักไทย 34.5
7 การชุมนุมต้านเขตการค้าเสรี (FTA)ไทย-สหรัฐฯ 34.0
8 “ทักษิณ” เจรจา “ป๋าเปรม” แก้ปัญหาไฟใต้ 27.9
9 ปัญหาการทำฟันของผู้มีสิทธิ์ประกันสังคม 27.3
10 ข่าวเตรียมจัดงานวันเด็ก 24.7
11 เรียลลิตี้โชว์ทางทีวีนายกฯแก้ปัญหาความยากจน 21.0
12 เรียกร้องแก้กฎหมายให้เมียฟ้องผัวที่มีกิ๊ก 18.2
13 ความเคลื่อนไหวขายหุ้น “ชินคอร์ป” 12.2
14 ไม่ได้ติดตามข่าวใดเลย 5.9
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดสดแบบเรียลลิตี้โชว์ทางทีวี
ของนายกรัฐมนตรี (Backstage Show : Prime Minister)
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดสดแบบเรียลลิตี้โชว์ทางทีวีของนายกฯ ร้อยละ
1 เห็นด้วย 20.3
2 ไม่เห็นด้วย 28.8
3 ไม่มีความเห็น 50.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมต่อนายกรัฐมนตรีหลังจากการถ่ายทอดแบบเรียลลิตี้โชว์ทางทีวีของนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความนิยมต่อนายกรัฐมนตรี ร้อยละ
1 ดีขึ้น 15.2
2 ดีเหมือนเดิม 19.2
3 แย่เหมือนเดิม 11.0
4 แย่ลง 7.2
5 ไม่มีความเห็น 47.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเข้าใจและเห็นวิธีการแก้ไขปัญหาของนายกรัฐมนตรีและคณะ
หากมีการถ่ายทอดสดการทำงานของรัฐมนตรีและคณะ
ลำดับที่ ความเข้าใจและเห็นวิธีการแก้ไขปัญหาของนายกรัฐมนตรีและคณะหากมีการถ่ายทอดสดการทำงานของรัฐมนตรีและคณะ ร้อยละ
1 สามารถเข้าใจและเห็นวิธีการแก้ไขปัญหาของนายกรัฐมนตรีและคณะได้ 31.6
2 ไม่ได้ 23.9
3 ไม่มีความเห็น 44.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดสดการทำงานของนายกรัฐมนตรีและคณะ
ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือเป็นเหตุการณ์ที่จัดฉากไว้ล่วงหน้า
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง 29.0
2 เป็นการจัดฉากไว้ล่วงหน้า 36.4
3 ไม่มีความเห็น 34.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลหรือหน่วยงานที่ได้ประโยชน์จากการถ่ายทอดสดการทำงานของ
นายกรัฐมนตรีและคณะ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลหรือหน่วยงานที่ได้ประโยชน์จากการถ่ายทอดสดการทำงานของนายกรัฐมนตรีและคณะ ร้อยละ
1 นายกรัฐมนตรี 32.9
2 ยูบีซี (UBC) 26.8
3 ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ 25.9
4 คณะรัฐมนตรี 23.1
5 สื่อมวลชน 20.3
6 ข้าราชการ / เจ้าหน้าที่รัฐ 15.0
7 ไม่มีใครได้ประโยชน์ 38.2
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-