ที่มาของโครงการ
การเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นับว่าเป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรง อยู่ในขณะนี้ โดยมีหลายฝ่าย
ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ตลอดจนนักวิชาการ ออกมาให้ความเห็นแตกต่างกันไปในเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญฉบับ
ปัจจุบันที่ควรได้รับการแก้ไขปรับปรุง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในกรุงเทพ
มหานคร ถึงความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นต่างๆ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูก
สุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัย ทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นต่างๆ
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าจะทำให้การเมืองไทยมีความมั่นคงอย่างแท้จริง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 5 - 8 มกราคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่างและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,167 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างที่เป็นประชาชนทั่วไป พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 52.8 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.2 เป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 24.1 ระบุอายุ 30 — 39 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 21.6 ระบุอายุ 40 — 49 ปี
ร้อยละ 20.2 ระบุอายุ 20 — 29 ปี
ร้อยละ 19.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 14.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 71.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 24.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 3.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 30.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 20.9 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 19.7 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.9 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.3 เป็นนักศึกษา
ร้อยละ 5.1 ระบุอื่นๆ เช่น แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 2.3 ระบุว่างงานไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ : กรณี
ศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินการสำรวจความคิดเห็น จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร
ระหว่างวันที่ 5-8 มกราคม 2549 จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,167 ตัวอย่าง ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
จากการสอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 67.8 เห็นว่าควรมีการแก้ไข
ร้อยละ 32.2 เห็นว่าไม่ควรมีการแก้ไข
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่าตัวอย่าง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. ตัวอย่างร้อยละ 42.8 เห็นด้วยที่จะให้มีการยกเลิกการให้ผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมืองก่อนวันเลือกตั้งอย่างน้อย 90 วัน
ร้อยละ 27.8 ไม่เห็นด้วย
และร้อยละ 29.4 ไม่มีความเห็น
2. ตัวอย่างร้อยละ 46.5 เห็นด้วยที่จะให้นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย
ร้อยละ 33.5 ไม่เห็นด้วย
และร้อยละ 20.0 ไม่มีความเห็น
3. ตัวอย่างร้อยละ 41.9 ไม่เห็นด้วยที่จะให้สมาชิกวุฒิสภาอยู่ในตำแหน่งได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 สมัย
ร้อยละ 30.2 เห็นด้วย
และร้อยละ 27.9 ไม่มีความเห็น
4. ตัวอย่างร้อยละ 52.6 เห็นด้วยที่จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของการสรรหาคณะกรรมการอิสระ
ร้อยละ 15.3 ไม่เห็นด้วย
และร้อยละ 32.1 ไม่มีความเห็น
5. ตัวอย่างร้อยละ 80.5 เห็นด้วยที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ร้อยละ 6.6 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.9 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 27.4 ค่อนข้างมั่นใจว่าหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วจะทำให้การเมืองไทยมีความมั่นคงอย่างแท้จริง
รองลงมาร้อยละ 25.7 ไม่ค่อยมั่นใจ
ร้อยละ 21.8 มั่นใจ
ร้อยละ 14.0 ไม่มั่นใจ
และร้อยละ 11.1 ไม่มีความเห็น ตามลำดับ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากตารางดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ควรมีการแก้ไข 67.8
2 ไม่ควรมีการแก้ไข 32.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยกเลิกการให้ผู้สมัคร
เลือกตั้ง ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมืองก่อนวันเลือกตั้ง 90 วัน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยกเลิกการให้ผู้สมัครเลือกตั้งส.ส. ค่าร้อยละ
ต้องสังกัดพรรคการเมืองก่อนวันเลือกตั้ง 90 วัน
1 เห็นด้วย 42.8
2 ไม่เห็นด้วย 27.8
3 ไม่มีความเห็น 29.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้นายกรัฐมนตรีอยู่ใน
ตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 46.5
2 ไม่เห็นด้วย 33.5
3 ไม่มีความเห็น 20.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
อยู่ในตำแหน่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 สมัย
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) อยู่ในตำแหน่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 สมัย ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 30.2
2 ไม่เห็นด้วย 41.9
3 ไม่มีความเห็น 27.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในส่วนของการสรรหา
คณะกรรมการอิสระ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในส่วนของการสรรหาคณะกรรมการอิสระ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 52.6
2 ไม่เห็นด้วย 15.3
3 ไม่มีความเห็น 32.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 80.5
2 ไม่เห็นด้วย 6.6
3 ไม่มีความเห็น 12.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจว่าหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วจะทำให้การเมืองไทย
มีความมั่นคงอย่างแท้จริง
ลำดับที่ ความมั่นใจว่าหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วจะทำให้การเมืองไทยมีความมั่นคงอย่างแท้จริง ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 21.8
2 ค่อนข้างมั่นใจ 27.4
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 25.7
4 ไม่มั่นใจ 14.0
5 ไม่มีความเห็น 11.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
การเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นับว่าเป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรง อยู่ในขณะนี้ โดยมีหลายฝ่าย
ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ตลอดจนนักวิชาการ ออกมาให้ความเห็นแตกต่างกันไปในเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญฉบับ
ปัจจุบันที่ควรได้รับการแก้ไขปรับปรุง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในกรุงเทพ
มหานคร ถึงความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นต่างๆ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูก
สุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัย ทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นต่างๆ
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าจะทำให้การเมืองไทยมีความมั่นคงอย่างแท้จริง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 5 - 8 มกราคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่างและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,167 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างที่เป็นประชาชนทั่วไป พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 52.8 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.2 เป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 24.1 ระบุอายุ 30 — 39 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 21.6 ระบุอายุ 40 — 49 ปี
ร้อยละ 20.2 ระบุอายุ 20 — 29 ปี
ร้อยละ 19.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 14.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 71.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 24.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 3.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 30.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 20.9 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 19.7 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.9 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.3 เป็นนักศึกษา
ร้อยละ 5.1 ระบุอื่นๆ เช่น แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 2.3 ระบุว่างงานไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ : กรณี
ศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินการสำรวจความคิดเห็น จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร
ระหว่างวันที่ 5-8 มกราคม 2549 จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,167 ตัวอย่าง ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
จากการสอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 67.8 เห็นว่าควรมีการแก้ไข
ร้อยละ 32.2 เห็นว่าไม่ควรมีการแก้ไข
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่าตัวอย่าง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. ตัวอย่างร้อยละ 42.8 เห็นด้วยที่จะให้มีการยกเลิกการให้ผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมืองก่อนวันเลือกตั้งอย่างน้อย 90 วัน
ร้อยละ 27.8 ไม่เห็นด้วย
และร้อยละ 29.4 ไม่มีความเห็น
2. ตัวอย่างร้อยละ 46.5 เห็นด้วยที่จะให้นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย
ร้อยละ 33.5 ไม่เห็นด้วย
และร้อยละ 20.0 ไม่มีความเห็น
3. ตัวอย่างร้อยละ 41.9 ไม่เห็นด้วยที่จะให้สมาชิกวุฒิสภาอยู่ในตำแหน่งได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 สมัย
ร้อยละ 30.2 เห็นด้วย
และร้อยละ 27.9 ไม่มีความเห็น
4. ตัวอย่างร้อยละ 52.6 เห็นด้วยที่จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของการสรรหาคณะกรรมการอิสระ
ร้อยละ 15.3 ไม่เห็นด้วย
และร้อยละ 32.1 ไม่มีความเห็น
5. ตัวอย่างร้อยละ 80.5 เห็นด้วยที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ร้อยละ 6.6 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.9 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 27.4 ค่อนข้างมั่นใจว่าหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วจะทำให้การเมืองไทยมีความมั่นคงอย่างแท้จริง
รองลงมาร้อยละ 25.7 ไม่ค่อยมั่นใจ
ร้อยละ 21.8 มั่นใจ
ร้อยละ 14.0 ไม่มั่นใจ
และร้อยละ 11.1 ไม่มีความเห็น ตามลำดับ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากตารางดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ควรมีการแก้ไข 67.8
2 ไม่ควรมีการแก้ไข 32.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยกเลิกการให้ผู้สมัคร
เลือกตั้ง ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมืองก่อนวันเลือกตั้ง 90 วัน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยกเลิกการให้ผู้สมัครเลือกตั้งส.ส. ค่าร้อยละ
ต้องสังกัดพรรคการเมืองก่อนวันเลือกตั้ง 90 วัน
1 เห็นด้วย 42.8
2 ไม่เห็นด้วย 27.8
3 ไม่มีความเห็น 29.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้นายกรัฐมนตรีอยู่ใน
ตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 46.5
2 ไม่เห็นด้วย 33.5
3 ไม่มีความเห็น 20.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
อยู่ในตำแหน่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 สมัย
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) อยู่ในตำแหน่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 สมัย ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 30.2
2 ไม่เห็นด้วย 41.9
3 ไม่มีความเห็น 27.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในส่วนของการสรรหา
คณะกรรมการอิสระ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในส่วนของการสรรหาคณะกรรมการอิสระ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 52.6
2 ไม่เห็นด้วย 15.3
3 ไม่มีความเห็น 32.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 80.5
2 ไม่เห็นด้วย 6.6
3 ไม่มีความเห็น 12.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจว่าหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วจะทำให้การเมืองไทย
มีความมั่นคงอย่างแท้จริง
ลำดับที่ ความมั่นใจว่าหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วจะทำให้การเมืองไทยมีความมั่นคงอย่างแท้จริง ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 21.8
2 ค่อนข้างมั่นใจ 27.4
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 25.7
4 ไม่มั่นใจ 14.0
5 ไม่มีความเห็น 11.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-