ที่มาของโครงการ
เทศกาลสงกรานต์นอกจากจะเป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของไทยแล้ว ยังถือเป็นเทศกาลที่ทั้งคนไทยและคนต่างชาติให้ความสนใจเนื่องจากเป็น
เทศกาลที่มีการทำบุญ รดน้ำดำหัว และมีการละเล่นต่างๆ รวมถึงการเล่นสาดน้ำกัน ซึ่งเป็นประเพณีอันงดงามที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน แต่ปัจจุบัน
เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาที่คนไทยต้องใช้ความระมัดระวังในการทำกิจกรรมต่างๆ เป็นพิเศษ เช่น การเดินทางกลับบ้าน การเล่นสาดน้ำกัน
เนื่องจากมีพวกฉกฉวยโอกาสจากเทศกาลนี้ สร้างปัญหาให้กับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากอุบัติเหตุเพราะเมาแล้วขับหรือความคึกคะนอง
การฉวยโอกาสลวนลามผู้หญิงในระหว่างการเล่นสาดน้ำ ฯลฯ ดังนั้น สิ่งที่เราคนไทยจะต้องตระหนักเป็นพิเศษ คือ การรักษาและคงไว้ซึ่งประเพณีที่ดี
งามในเทศกาลสงกรานต์สืบต่อไป
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
เทศกาลสงกรานต์ปี 2549 ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเทศกาลสงกรานต์ปี 2549
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการวางแผน กิจกรรม และค่าใช้จ่ายของแต่ละครอบครัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี
2549
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สำรวจนักการเมืองและดารายอดนิยมที่ประชาชน
อยากรดน้ำดำหัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ
ระหว่างวันที่ 8 - 10 เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,540 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.1อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 22.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 39.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.8 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.5 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ และร้อยละ 1.1 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง เรื่อง “สำรวจนักการเมืองและดารายอดนิยมที่
ประชาชนอยากรดน้ำดำหัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,540 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 8-10 เมษายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ เป็น
ดังนี้
จากการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับเทศกาลสงกรานต์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ
74.8 ระบุให้ความสำคัญกับเทศกาลสงกรานต์ ส่วนอีกร้อยละ 25.2 ระบุไม่ให้ความสำคัญ / เฉยๆ เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงกิจกรรมที่ตั้งใจจะทำ
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 59.5 ระบุตั้งใจจะไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ร้อยละ 43.9 ระบุตั้งใจจะเล่นสาดน้ำ
สงกรานต์ ร้อยละ 35.0 ระบุตั้งใจจะไปเยี่ยมเยียนคนรู้จัก ร้อยละ 32.4 ระบุตั้งใจจะทำบุญอัฐิญาติผู้ล่วงลับ และร้อยละ 31.9 ระบุตั้งใจจะสังสรรค์
รับประทานอาหารกับคนรู้จัก ตามลำดับ
เมื่อสอบถามเกี่ยวกับนักการเมืองที่อยากรดน้ำดำหัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 52.9 ระบุอยาก
รดน้ำดำหัว พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร มากที่สุด รองลงมา คือ ร้อยละ 13.2 นายชวน หลีกภัย ร้อยละ 12.8 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ
9.2 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน และร้อยละ 5.0 นายบรรหาร ศิลปอาชา
ส่วนดาราชายที่อยากเล่นน้ำสงกรานต์ด้วย พบว่า ดาราชายที่กลุ่มตัวอย่างอยากเล่นน้ำด้วยมากที่สุด คือ ร้อยละ 13.8 ระบุ ธงไชย แมค
อินไตย ร้อยละ 12.6 ระบุ ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง ร้อยละ 9.7 ระบุ เจษฎาภรณ์ ผลดี ร้อยละ 8.6 ระบุ สเตฟาน ซาลาโมเน่ และร้อยละ 7.8 ระบุ
สมบัติ เมทะนี ตามลำดับ
และดาราหญิงที่อยากเล่นน้ำสงกรานต์ด้วยมากที่สุด คือ ร้อยละ 27.9 ระบุ สุวนันท์ คงยิ่ง ร้อยละ 26.0 ระบุ วรนุช วงษ์สวรรค์ ร้อย
ละ 22.8 ระบุ พัชราภา ไชยเชื้อ ร้อยละ 7.7 ระบุ พอลล่า เทเลอร์ และร้อยละ 7.0 ระบุ ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ ตามลำดับ
เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างระบุจังหวัดที่วางแผนจะเดินทางไปช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ พบว่า จังหวัดที่กลุ่มตัวอย่างวางแผนจะเดินทางไปมากที่
สุด คือ จังหวัดเชียงใหม่ คิดเป็นร้อยละ 30.3 รองลงมา คือ จังหวัดชลบุรี คิดเป็นร้อยละ 23.1 จังหวัดระยอง คิดเป็นร้อยละ 17.6 กรุงเทพมหา
นคร คิดเป็นร้อยละ 16.9 และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คิดเป็นร้อยละ 15.3 ตามลำดับ
หากพิจารณาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของครอบครัวจากกลุ่มตัวอย่างที่วางแผนจะใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พบว่า จะเป็นค่าอาหาร /
เครื่องดื่มมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 33.6 รองลงมา คือ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง คิดเป็นร้อยละ 24.9 ค่าใช้จ่ายในการทำบุญ / ทำทาน คิดเป็น
ร้อยละ 15.3 ค่าซื้อของฝาก / ของที่ระลึก คิดเป็นร้อยละ 12.2 และค่าที่พัก คิดเป็นร้อยละ 8.0 ส่วนการประมาณการค่าใช้จ่ายแต่ละด้านในช่วง
เทศกาลสงกรานต์นั้น พบว่า ค่าอาหาร / เครื่องดื่มประมาณ 3,053,871,675 บาท ค่าใช้จ่ายในการเดินทางประมาณ 1,960,936,923 บาท ค่า
ใช้จ่ายในการทำบุญ / ทำทานประมาณ 1,044,391,529 บาท ค่าซื้อของฝาก / ของที่ระลึกประมาณ 803,417,443 บาท และค่าที่พักประมาณ
567,375,489 บาท ทั้งนี้ประมาณการใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์ทั้งสิ้นเป็นเงิน 7,795,923,955 บาท โดยคำนวณจากครัวเรือนใน
กรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 3,309,060 หลังคาเรือน
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่พบเห็นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของปีที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มตัวอย่างพบเห็นปัญหาการแต่งกายยั่วยวน / ไม่
เหมาะสมเล่นน้ำสงกรานต์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 88.0 รองลงมา คือ ปัญหาการขับขี่รถแบบคึกคะนอง / ไม่เคารพกฎจราจร คิดเป็นร้อยละ 87.4
ปัญหาการจราจรติดขัดในการเดินทาง คิดเป็นร้อยละ 84.9 การดื่มสุราในขณะขับขี่รถ คิดเป็นร้อยละ 82.1 การทะเลาะวิวาทจากการดื่มสุรา คิดเป็น
ร้อยละ 81.5 การลวนลาม แตะเนื้อต้องตัว คิดเป็นร้อยละ 78.8 การสาดน้ำโดยใช้น้ำสกปรก / น้ำแข็ง / น้ำผสมสี คิดเป็นร้อยละ 78.6 การสาด
น้ำด้วยความรุนแรง คิดเป็นร้อยละ 77.8 และอาชญากรรม / การโจรกรรม คิดเป็นร้อยละ 47.6
อีกประเด็นที่น่าสนใจจากการได้สอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิงอายุ 15 — 30 ปี ถึงการเล่นน้ำสงกรานต์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีที่
ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 63.0 ระบุได้เล่นน้ำสงกรานต์ ที่เหลืออีกร้อยละ 37.0 ระบุไม่ได้เล่นน้ำสงกรานต์ และเมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่าง
ที่ได้เล่นน้ำสงกรานต์ในปีที่ผ่านมาถึงการถูกพวกฉวยโอกาสลวนลามจากการเล่นน้ำสงกรานต์ พบว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.3 ระบุว่าเคยถูกฉวย
โอกาสลวนลาม ส่วนอีกร้อยละ 66.7 ระบุไม่ได้ถูกลวนลาม โดยผู้ที่ถูกลวนลามส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 86.1 ระบุไม่ได้แจ้งความดำเนินคดีกับพวกฉวย
โอกาสจากการเล่นน้ำสงกรานต์ ที่เหลือร้อยละ 13.9 ระบุได้แจ้งความ
และเมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิงอายุ 15 — 30 ปี เกี่ยวกับความวิตกกังวลต่อการถูกพวกฉวยโอกาสลวนลาม แตะเนื้อต้องตัว
หากเล่นน้ำสงกรานต์ปีนี้ พบว่า สัดส่วนระหว่างความวิตกกังวลกับไม่วิตกกังวลไม่แตกต่างกันมากนัก โดยร้อยละ 52.9 ระบุไม่วิตกกังวล และร้อยละ
47.1 ระบุวิตกกังวล
ในประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบคือความเชื่อมั่นต่อการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตำรวจในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พบว่า ร้อย
ละ 24.9 ระบุเชื่อมั่น ร้อยละ 28.8 ระบุค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 30.5 ระบุไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 8.6 ระบุไม่เชื่อมั่น และอีกร้อยละ 7.2 ระบุไม่
มีความเห็น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับ “เทศกาลสงกรานต์ปี 2549”
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้ความสำคัญกับเทศกาลสงกรานต์
ลำดับที่ การให้ความสำคัญกับเทศกาลสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 ให้ความสำคัญ 74.8
2 ไม่ให้ความสำคัญ / เฉยๆ 25.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2549
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2549 ค่าร้อยละ
1 รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ 59.5
2 เล่นสาดน้ำสงกรานต์ 43.9
3 ไปเยี่ยมเยียนคนรู้จัก 35.0
4 ทำบุญอัฐิญาติผู้ล่วงลับ 32.4
5 สังสรรค์รับประทานอาหารกับคนรู้จัก 31.9
6 ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย 30.3
7 เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม 20.2
8 เที่ยวห้างสรรพสินค้า 11.0
9 เดินทางท่องเที่ยว 11.0
10 สังสรรค์ดื่มเหล้า / เบียร์กับคนรู้จัก 8.7
11 อื่นๆ เช่น เที่ยวสถานบันเทิงกลางคืน อยู่บ้าน ทำงาน 9.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ นักการเมืองที่ประชาชนอยากรดน้ำดำหัวในเทศกาลสงกรานต์นี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นักการเมืองที่อยากรดน้ำดำหัวในเทศกาลสงกรานต์นี้ ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 52.9
2 นายชวน หลีกภัย 13.2
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 12.8
4 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 9.2
5 นายบรรหาร ศิลปอาชา 5.0
6 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 4.6
7 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 4.4
8 นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 4.3
9 นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา 2.4
10 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ 1.7
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุดาราชายที่อยากเล่นน้ำสงกรานต์ด้วย(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดาราชายที่อยากเล่นน้ำสงกรานต์ด้วย ค่าร้อยละ
1 ธงไชย แมคอินไตย 13.8
2 ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง 12.6
3 เจษฎาภรณ์ ผลดี 9.7
4 สันติ วีระบุญชัย (สเตฟาน ซาลาโมเน่) 8.6
5 สมบัติ เมทะนี 7.8
6 ศรราม เทพพิทักษ์ 7.1
7 ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ 5.2
8 วีรภาพ สุภาพไพบูลย์ 4.5
9 ธนา สุทธิกมล 4.1
10 มอส ปฏิภาน ปฐวีกานต์ 3.7
11 ณัฐวุฒิ สกิดใจ 3.7
12 อื่นๆ เช่น รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ / เท่ง เถิดเทิง / สหรัถ สังคปรีชา 60.1
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุดาราหญิงที่อยากเล่นน้ำสงกรานต์ด้วย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดาราหญิงที่อยากเล่นน้ำสงกรานต์ด้วย ค่าร้อยละ
1 สุวนันท์ คงยิ่ง 27.9
2 วรนุช วงษ์สวรรค์ 26.0
3 พัชราภา ไชยเชื้อ 22.8
4 พอลล่า เทเลอร์ 7.7
5 ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ 7.0
6 จุรี โอศิริ 6.5
7 พัชรศรี เบ็ญจมาศ 3.7
8 ฑิฆัมพร ฤทธาอภินันท์ 2.8
9 พิศมัย วิไลศักดิ์ 2.3
10 แคทรียา อิงลิช 2.3
11 แอน ทองประถม 2.3
12 อื่นๆ เช่น สุริวิภา กุลตังวัฒนา / พิยดา อัครเศรณี / วรัทยา นิลคูหา 22.7
ตารางที่ 6 แสดงจังหวัด 10 อันดับแรกที่ประชาชนวางแผนจะเดินทางไปช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2549
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ จังหวัดที่วางแผนจะเดินทางไปช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2549 ค่าร้อยละ
1 เชียงใหม่ 30.3
2 ชลบุรี 23.1
3 ระยอง 17.6
4 กรุงเทพมหานคร 16.9
5 พระนครศรีอยุธยา 15.3
6 นครราชสีมา 15.1
7 อุบลราชธานี 7.8
8 เชียงราย 6.7
9 กาญจนบุรี 6.3
10 ภูเก็ต 6.3
ตารางที่ 7 แสดงการประมาณการค่าใช้จ่ายในแต่ละด้านของตัวอย่างในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2549
โดยคิดเป็นร้อยละจากค่าใช้จ่ายโดยรวมของครอบครัว
ลำดับที่ ค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ค่าร้อยละ
1 ค่าอาหาร / เครื่องดื่ม 33.6
2 ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 24.9
3 ค่าใช้จ่ายในการทำบุญ / ทำทาน 15.3
4 ค่าซื้อของฝาก / ของที่ระลึก 12.2
5 ค่าที่พัก 8.0
6 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ อาทิเช่น ให้ลูก ให้เงินพ่อแม่ ค่าอัดรูป เป็นต้น 6.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงการประมาณการค่าใช้จ่ายในแต่ละด้านของตัวอย่างในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2549
ลำดับที่ ค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ประมาณการค่าใช้จ่าย (บาท)
1 ค่าอาหาร / เครื่องดื่ม 3,053,871,675
2 ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 1,960,936,923
3 ค่าใช้จ่ายในการทำบุญ / ทำทาน 1,044,391,529
4 ค่าซื้อของฝาก / ของที่ระลึก 803,417,443
5 ค่าที่พัก 567,375,489
6 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ อาทิเช่น ให้ลูก ให้เงินพ่อแม่ ค่าอัดรูป เป็นต้น 365,930,896
ประมาณการใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์ 7,795,923,955 บาท (เจ็ดพันเจ็ดร้อยเก้าสิบห้าล้านเก้าแสน-
สองหมื่นสามพันเก้าร้อยห้าสิบห้าบาท)
จำนวนครัวเรือนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (นนทบุรี สมุทรปราการ และ ปทุมธานี) จำนวน 3,309,060 หลังคาเรือน
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการพบเห็นปัญหาต่างๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของปีที่ผ่านมา
(ปี 2548)
ลำดับที่ ปัญหาที่พบเห็นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของปีที่ผ่านมา การพบเห็น
พบเห็น ไม่พบเห็น รวม
1 การแต่งกายยั่วยวน / ไม่เหมาะสมเล่นน้ำสงกรานต์ 88.0 12.0 100.0
2 การขับขี่รถแบบคึกคะนอง / ไม่เคารพกฎจราจร 87.4 12.6 100.0
3 การจราจรติดขัดในการเดินทาง 84.9 15.1 100.0
4 การดื่มสุราในขณะขับขี่รถ 82.1 17.9 100.0
5 การทะเลาะวิวาทจากการดื่มสุรา 81.5 18.5 100.0
6 การลวนลาม แตะเนื้อต้องตัว 78.8 21.2 100.0
7 การสาดน้ำโดยใช้น้ำสกปรก / น้ำแข็ง / น้ำผสมสี 78.6 21.4 100.0
8 การสาดน้ำด้วยความรุนแรง 77.8 22.2 100.0
9 อาชญากรรม / การโจรกรรม 47.6 52.4 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุได้เล่นน้ำสงกรานต์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีที่ผ่านมา
(ปี 2548) (ตอบเฉพาะผู้หญิงอายุ 15 — 30 ปี)
ลำดับที่ การเล่นน้ำสงกรานต์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ได้เล่นน้ำสงกรานต์ 63.0
2 ไม่ได้เล่นน้ำสงกรานต์ 37.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุถูกพวกฉวยโอกาสลวนลาม แตะเนื้อต้องตัวจากการ
เล่นน้ำสงกรานต์ (ตอบเฉพาะผู้หญิงอายุ 15 — 30 ปีที่ได้เล่นน้ำสงกรานต์ปีที่ผ่านมา)
ลำดับที่ การถูกพวกฉวยโอกาสลวนลามจากการเล่นน้ำสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 ถูกลวนลาม 33.3
2 ไม่ได้ถูกลวนลาม 66.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการแจ้งความดำเนินคดี เมื่อถูกพวกฉวยโอกาสลวนลามจาก
การเล่นน้ำสงกรานต์ (ตอบเฉพาะผู้หญิงอายุ 15 — 30 ปีที่ได้เล่นน้ำสงกรานต์ปีที่ผ่านมา และถูกลวนลาม)
ลำดับที่ การแจ้งความดำเนินคดีเมื่อถูกพวกฉวยโอกาสลวนลามจากการเล่นน้ำสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 ได้แจ้งความ 13.9
2 ไม่ได้แจ้งความ 86.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลต่อการถูกพวกฉวยโอกาสลวนลาม แตะเนื้อต้องตัว
หากเล่นน้ำสงกรานต์ปีนี้ (ปี 2549) (ตอบเฉพาะผู้หญิงอายุ 15 — 30 ปี)
ลำดับที่ ความวิตกกังวลต่อการถูกพวกฉวยโอกาสลวนลาม ค่าร้อยละ
1 วิตกกังวล 47.1
2 ไม่วิตกกังวล 52.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ของตำรวจในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อการรักษาความปลอดภัยของตำรวจ ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 24.9
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 28.8
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 30.5
4 ไม่เชื่อมั่น 8.6
5 ไม่มีความเห็น 7.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เทศกาลสงกรานต์นอกจากจะเป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของไทยแล้ว ยังถือเป็นเทศกาลที่ทั้งคนไทยและคนต่างชาติให้ความสนใจเนื่องจากเป็น
เทศกาลที่มีการทำบุญ รดน้ำดำหัว และมีการละเล่นต่างๆ รวมถึงการเล่นสาดน้ำกัน ซึ่งเป็นประเพณีอันงดงามที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน แต่ปัจจุบัน
เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาที่คนไทยต้องใช้ความระมัดระวังในการทำกิจกรรมต่างๆ เป็นพิเศษ เช่น การเดินทางกลับบ้าน การเล่นสาดน้ำกัน
เนื่องจากมีพวกฉกฉวยโอกาสจากเทศกาลนี้ สร้างปัญหาให้กับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากอุบัติเหตุเพราะเมาแล้วขับหรือความคึกคะนอง
การฉวยโอกาสลวนลามผู้หญิงในระหว่างการเล่นสาดน้ำ ฯลฯ ดังนั้น สิ่งที่เราคนไทยจะต้องตระหนักเป็นพิเศษ คือ การรักษาและคงไว้ซึ่งประเพณีที่ดี
งามในเทศกาลสงกรานต์สืบต่อไป
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
เทศกาลสงกรานต์ปี 2549 ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเทศกาลสงกรานต์ปี 2549
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการวางแผน กิจกรรม และค่าใช้จ่ายของแต่ละครอบครัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี
2549
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สำรวจนักการเมืองและดารายอดนิยมที่ประชาชน
อยากรดน้ำดำหัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ
ระหว่างวันที่ 8 - 10 เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,540 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.1อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 22.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 39.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.8 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.5 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ และร้อยละ 1.1 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง เรื่อง “สำรวจนักการเมืองและดารายอดนิยมที่
ประชาชนอยากรดน้ำดำหัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,540 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 8-10 เมษายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ เป็น
ดังนี้
จากการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับเทศกาลสงกรานต์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ
74.8 ระบุให้ความสำคัญกับเทศกาลสงกรานต์ ส่วนอีกร้อยละ 25.2 ระบุไม่ให้ความสำคัญ / เฉยๆ เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงกิจกรรมที่ตั้งใจจะทำ
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 59.5 ระบุตั้งใจจะไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ร้อยละ 43.9 ระบุตั้งใจจะเล่นสาดน้ำ
สงกรานต์ ร้อยละ 35.0 ระบุตั้งใจจะไปเยี่ยมเยียนคนรู้จัก ร้อยละ 32.4 ระบุตั้งใจจะทำบุญอัฐิญาติผู้ล่วงลับ และร้อยละ 31.9 ระบุตั้งใจจะสังสรรค์
รับประทานอาหารกับคนรู้จัก ตามลำดับ
เมื่อสอบถามเกี่ยวกับนักการเมืองที่อยากรดน้ำดำหัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 52.9 ระบุอยาก
รดน้ำดำหัว พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร มากที่สุด รองลงมา คือ ร้อยละ 13.2 นายชวน หลีกภัย ร้อยละ 12.8 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ
9.2 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน และร้อยละ 5.0 นายบรรหาร ศิลปอาชา
ส่วนดาราชายที่อยากเล่นน้ำสงกรานต์ด้วย พบว่า ดาราชายที่กลุ่มตัวอย่างอยากเล่นน้ำด้วยมากที่สุด คือ ร้อยละ 13.8 ระบุ ธงไชย แมค
อินไตย ร้อยละ 12.6 ระบุ ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง ร้อยละ 9.7 ระบุ เจษฎาภรณ์ ผลดี ร้อยละ 8.6 ระบุ สเตฟาน ซาลาโมเน่ และร้อยละ 7.8 ระบุ
สมบัติ เมทะนี ตามลำดับ
และดาราหญิงที่อยากเล่นน้ำสงกรานต์ด้วยมากที่สุด คือ ร้อยละ 27.9 ระบุ สุวนันท์ คงยิ่ง ร้อยละ 26.0 ระบุ วรนุช วงษ์สวรรค์ ร้อย
ละ 22.8 ระบุ พัชราภา ไชยเชื้อ ร้อยละ 7.7 ระบุ พอลล่า เทเลอร์ และร้อยละ 7.0 ระบุ ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ ตามลำดับ
เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างระบุจังหวัดที่วางแผนจะเดินทางไปช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ พบว่า จังหวัดที่กลุ่มตัวอย่างวางแผนจะเดินทางไปมากที่
สุด คือ จังหวัดเชียงใหม่ คิดเป็นร้อยละ 30.3 รองลงมา คือ จังหวัดชลบุรี คิดเป็นร้อยละ 23.1 จังหวัดระยอง คิดเป็นร้อยละ 17.6 กรุงเทพมหา
นคร คิดเป็นร้อยละ 16.9 และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คิดเป็นร้อยละ 15.3 ตามลำดับ
หากพิจารณาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของครอบครัวจากกลุ่มตัวอย่างที่วางแผนจะใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พบว่า จะเป็นค่าอาหาร /
เครื่องดื่มมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 33.6 รองลงมา คือ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง คิดเป็นร้อยละ 24.9 ค่าใช้จ่ายในการทำบุญ / ทำทาน คิดเป็น
ร้อยละ 15.3 ค่าซื้อของฝาก / ของที่ระลึก คิดเป็นร้อยละ 12.2 และค่าที่พัก คิดเป็นร้อยละ 8.0 ส่วนการประมาณการค่าใช้จ่ายแต่ละด้านในช่วง
เทศกาลสงกรานต์นั้น พบว่า ค่าอาหาร / เครื่องดื่มประมาณ 3,053,871,675 บาท ค่าใช้จ่ายในการเดินทางประมาณ 1,960,936,923 บาท ค่า
ใช้จ่ายในการทำบุญ / ทำทานประมาณ 1,044,391,529 บาท ค่าซื้อของฝาก / ของที่ระลึกประมาณ 803,417,443 บาท และค่าที่พักประมาณ
567,375,489 บาท ทั้งนี้ประมาณการใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์ทั้งสิ้นเป็นเงิน 7,795,923,955 บาท โดยคำนวณจากครัวเรือนใน
กรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 3,309,060 หลังคาเรือน
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่พบเห็นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของปีที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มตัวอย่างพบเห็นปัญหาการแต่งกายยั่วยวน / ไม่
เหมาะสมเล่นน้ำสงกรานต์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 88.0 รองลงมา คือ ปัญหาการขับขี่รถแบบคึกคะนอง / ไม่เคารพกฎจราจร คิดเป็นร้อยละ 87.4
ปัญหาการจราจรติดขัดในการเดินทาง คิดเป็นร้อยละ 84.9 การดื่มสุราในขณะขับขี่รถ คิดเป็นร้อยละ 82.1 การทะเลาะวิวาทจากการดื่มสุรา คิดเป็น
ร้อยละ 81.5 การลวนลาม แตะเนื้อต้องตัว คิดเป็นร้อยละ 78.8 การสาดน้ำโดยใช้น้ำสกปรก / น้ำแข็ง / น้ำผสมสี คิดเป็นร้อยละ 78.6 การสาด
น้ำด้วยความรุนแรง คิดเป็นร้อยละ 77.8 และอาชญากรรม / การโจรกรรม คิดเป็นร้อยละ 47.6
อีกประเด็นที่น่าสนใจจากการได้สอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิงอายุ 15 — 30 ปี ถึงการเล่นน้ำสงกรานต์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีที่
ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 63.0 ระบุได้เล่นน้ำสงกรานต์ ที่เหลืออีกร้อยละ 37.0 ระบุไม่ได้เล่นน้ำสงกรานต์ และเมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่าง
ที่ได้เล่นน้ำสงกรานต์ในปีที่ผ่านมาถึงการถูกพวกฉวยโอกาสลวนลามจากการเล่นน้ำสงกรานต์ พบว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.3 ระบุว่าเคยถูกฉวย
โอกาสลวนลาม ส่วนอีกร้อยละ 66.7 ระบุไม่ได้ถูกลวนลาม โดยผู้ที่ถูกลวนลามส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 86.1 ระบุไม่ได้แจ้งความดำเนินคดีกับพวกฉวย
โอกาสจากการเล่นน้ำสงกรานต์ ที่เหลือร้อยละ 13.9 ระบุได้แจ้งความ
และเมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิงอายุ 15 — 30 ปี เกี่ยวกับความวิตกกังวลต่อการถูกพวกฉวยโอกาสลวนลาม แตะเนื้อต้องตัว
หากเล่นน้ำสงกรานต์ปีนี้ พบว่า สัดส่วนระหว่างความวิตกกังวลกับไม่วิตกกังวลไม่แตกต่างกันมากนัก โดยร้อยละ 52.9 ระบุไม่วิตกกังวล และร้อยละ
47.1 ระบุวิตกกังวล
ในประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบคือความเชื่อมั่นต่อการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตำรวจในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พบว่า ร้อย
ละ 24.9 ระบุเชื่อมั่น ร้อยละ 28.8 ระบุค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 30.5 ระบุไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 8.6 ระบุไม่เชื่อมั่น และอีกร้อยละ 7.2 ระบุไม่
มีความเห็น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับ “เทศกาลสงกรานต์ปี 2549”
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้ความสำคัญกับเทศกาลสงกรานต์
ลำดับที่ การให้ความสำคัญกับเทศกาลสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 ให้ความสำคัญ 74.8
2 ไม่ให้ความสำคัญ / เฉยๆ 25.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2549
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2549 ค่าร้อยละ
1 รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ 59.5
2 เล่นสาดน้ำสงกรานต์ 43.9
3 ไปเยี่ยมเยียนคนรู้จัก 35.0
4 ทำบุญอัฐิญาติผู้ล่วงลับ 32.4
5 สังสรรค์รับประทานอาหารกับคนรู้จัก 31.9
6 ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย 30.3
7 เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม 20.2
8 เที่ยวห้างสรรพสินค้า 11.0
9 เดินทางท่องเที่ยว 11.0
10 สังสรรค์ดื่มเหล้า / เบียร์กับคนรู้จัก 8.7
11 อื่นๆ เช่น เที่ยวสถานบันเทิงกลางคืน อยู่บ้าน ทำงาน 9.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ นักการเมืองที่ประชาชนอยากรดน้ำดำหัวในเทศกาลสงกรานต์นี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นักการเมืองที่อยากรดน้ำดำหัวในเทศกาลสงกรานต์นี้ ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 52.9
2 นายชวน หลีกภัย 13.2
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 12.8
4 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 9.2
5 นายบรรหาร ศิลปอาชา 5.0
6 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 4.6
7 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 4.4
8 นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 4.3
9 นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา 2.4
10 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ 1.7
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุดาราชายที่อยากเล่นน้ำสงกรานต์ด้วย(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดาราชายที่อยากเล่นน้ำสงกรานต์ด้วย ค่าร้อยละ
1 ธงไชย แมคอินไตย 13.8
2 ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง 12.6
3 เจษฎาภรณ์ ผลดี 9.7
4 สันติ วีระบุญชัย (สเตฟาน ซาลาโมเน่) 8.6
5 สมบัติ เมทะนี 7.8
6 ศรราม เทพพิทักษ์ 7.1
7 ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ 5.2
8 วีรภาพ สุภาพไพบูลย์ 4.5
9 ธนา สุทธิกมล 4.1
10 มอส ปฏิภาน ปฐวีกานต์ 3.7
11 ณัฐวุฒิ สกิดใจ 3.7
12 อื่นๆ เช่น รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ / เท่ง เถิดเทิง / สหรัถ สังคปรีชา 60.1
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุดาราหญิงที่อยากเล่นน้ำสงกรานต์ด้วย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดาราหญิงที่อยากเล่นน้ำสงกรานต์ด้วย ค่าร้อยละ
1 สุวนันท์ คงยิ่ง 27.9
2 วรนุช วงษ์สวรรค์ 26.0
3 พัชราภา ไชยเชื้อ 22.8
4 พอลล่า เทเลอร์ 7.7
5 ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ 7.0
6 จุรี โอศิริ 6.5
7 พัชรศรี เบ็ญจมาศ 3.7
8 ฑิฆัมพร ฤทธาอภินันท์ 2.8
9 พิศมัย วิไลศักดิ์ 2.3
10 แคทรียา อิงลิช 2.3
11 แอน ทองประถม 2.3
12 อื่นๆ เช่น สุริวิภา กุลตังวัฒนา / พิยดา อัครเศรณี / วรัทยา นิลคูหา 22.7
ตารางที่ 6 แสดงจังหวัด 10 อันดับแรกที่ประชาชนวางแผนจะเดินทางไปช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2549
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ จังหวัดที่วางแผนจะเดินทางไปช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2549 ค่าร้อยละ
1 เชียงใหม่ 30.3
2 ชลบุรี 23.1
3 ระยอง 17.6
4 กรุงเทพมหานคร 16.9
5 พระนครศรีอยุธยา 15.3
6 นครราชสีมา 15.1
7 อุบลราชธานี 7.8
8 เชียงราย 6.7
9 กาญจนบุรี 6.3
10 ภูเก็ต 6.3
ตารางที่ 7 แสดงการประมาณการค่าใช้จ่ายในแต่ละด้านของตัวอย่างในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2549
โดยคิดเป็นร้อยละจากค่าใช้จ่ายโดยรวมของครอบครัว
ลำดับที่ ค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ค่าร้อยละ
1 ค่าอาหาร / เครื่องดื่ม 33.6
2 ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 24.9
3 ค่าใช้จ่ายในการทำบุญ / ทำทาน 15.3
4 ค่าซื้อของฝาก / ของที่ระลึก 12.2
5 ค่าที่พัก 8.0
6 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ อาทิเช่น ให้ลูก ให้เงินพ่อแม่ ค่าอัดรูป เป็นต้น 6.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงการประมาณการค่าใช้จ่ายในแต่ละด้านของตัวอย่างในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2549
ลำดับที่ ค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ประมาณการค่าใช้จ่าย (บาท)
1 ค่าอาหาร / เครื่องดื่ม 3,053,871,675
2 ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 1,960,936,923
3 ค่าใช้จ่ายในการทำบุญ / ทำทาน 1,044,391,529
4 ค่าซื้อของฝาก / ของที่ระลึก 803,417,443
5 ค่าที่พัก 567,375,489
6 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ อาทิเช่น ให้ลูก ให้เงินพ่อแม่ ค่าอัดรูป เป็นต้น 365,930,896
ประมาณการใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์ 7,795,923,955 บาท (เจ็ดพันเจ็ดร้อยเก้าสิบห้าล้านเก้าแสน-
สองหมื่นสามพันเก้าร้อยห้าสิบห้าบาท)
จำนวนครัวเรือนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (นนทบุรี สมุทรปราการ และ ปทุมธานี) จำนวน 3,309,060 หลังคาเรือน
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการพบเห็นปัญหาต่างๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของปีที่ผ่านมา
(ปี 2548)
ลำดับที่ ปัญหาที่พบเห็นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของปีที่ผ่านมา การพบเห็น
พบเห็น ไม่พบเห็น รวม
1 การแต่งกายยั่วยวน / ไม่เหมาะสมเล่นน้ำสงกรานต์ 88.0 12.0 100.0
2 การขับขี่รถแบบคึกคะนอง / ไม่เคารพกฎจราจร 87.4 12.6 100.0
3 การจราจรติดขัดในการเดินทาง 84.9 15.1 100.0
4 การดื่มสุราในขณะขับขี่รถ 82.1 17.9 100.0
5 การทะเลาะวิวาทจากการดื่มสุรา 81.5 18.5 100.0
6 การลวนลาม แตะเนื้อต้องตัว 78.8 21.2 100.0
7 การสาดน้ำโดยใช้น้ำสกปรก / น้ำแข็ง / น้ำผสมสี 78.6 21.4 100.0
8 การสาดน้ำด้วยความรุนแรง 77.8 22.2 100.0
9 อาชญากรรม / การโจรกรรม 47.6 52.4 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุได้เล่นน้ำสงกรานต์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีที่ผ่านมา
(ปี 2548) (ตอบเฉพาะผู้หญิงอายุ 15 — 30 ปี)
ลำดับที่ การเล่นน้ำสงกรานต์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ได้เล่นน้ำสงกรานต์ 63.0
2 ไม่ได้เล่นน้ำสงกรานต์ 37.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุถูกพวกฉวยโอกาสลวนลาม แตะเนื้อต้องตัวจากการ
เล่นน้ำสงกรานต์ (ตอบเฉพาะผู้หญิงอายุ 15 — 30 ปีที่ได้เล่นน้ำสงกรานต์ปีที่ผ่านมา)
ลำดับที่ การถูกพวกฉวยโอกาสลวนลามจากการเล่นน้ำสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 ถูกลวนลาม 33.3
2 ไม่ได้ถูกลวนลาม 66.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการแจ้งความดำเนินคดี เมื่อถูกพวกฉวยโอกาสลวนลามจาก
การเล่นน้ำสงกรานต์ (ตอบเฉพาะผู้หญิงอายุ 15 — 30 ปีที่ได้เล่นน้ำสงกรานต์ปีที่ผ่านมา และถูกลวนลาม)
ลำดับที่ การแจ้งความดำเนินคดีเมื่อถูกพวกฉวยโอกาสลวนลามจากการเล่นน้ำสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 ได้แจ้งความ 13.9
2 ไม่ได้แจ้งความ 86.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลต่อการถูกพวกฉวยโอกาสลวนลาม แตะเนื้อต้องตัว
หากเล่นน้ำสงกรานต์ปีนี้ (ปี 2549) (ตอบเฉพาะผู้หญิงอายุ 15 — 30 ปี)
ลำดับที่ ความวิตกกังวลต่อการถูกพวกฉวยโอกาสลวนลาม ค่าร้อยละ
1 วิตกกังวล 47.1
2 ไม่วิตกกังวล 52.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ของตำรวจในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อการรักษาความปลอดภัยของตำรวจ ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 24.9
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 28.8
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 30.5
4 ไม่เชื่อมั่น 8.6
5 ไม่มีความเห็น 7.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-