เอแบคโพลล์: ความหวาดกลัวของคนเมืองหลวงต่ออาชญากรรม และตำรวจมองการทำงานของตำรวจอย่างไร

ข่าวผลสำรวจ Friday May 22, 2009 13:22 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง ความหวาดกลัวของคน เมืองหลวงต่ออาชญากรรม และตำรวจมองการทำงานของตำรวจอย่างไร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนคนกรุงเทพมหานครและข้าราชการตำรวจสังกัด กองบัญชาการตำรวจนครบาล จำนวนทั้งสิ้น 1,691 ตัวอย่าง เป็นข้าราชการตำรวจ 505 นาย และเป็นประชาชนทั่วไปใน 1,186 ครัวเรือน ดำเนิน โครงการระหว่างวันที่ 20— 21 พฤษภาคม 2552 พบว่าตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.8 ระบุติดตามข่าวสารเกี่ยวกับภัยอาชญากรรมผ่าน สื่อมวลชนอย่างน้อย 1 — 2 วันต่อสัปดาห์

โดยประชาชนผู้ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.4 อยากให้ตำรวจเร่งรีบป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดมาเป็นอันดับแรก รองลงมาคือร้อย ละ 56.0 ปัญหาการฆาตรกรรม และร้อยละ 50.1 ระบุปัญหาข่มขืน และรองๆ ลงไปคือ ปัญหาจี้ปล้น โจรกรรมทรัพย์ ล่วงละเมิดทางเพศ ทะเลาะ วิวาท ทำร้ายร่างกาย ข่มขู่รีดไถ ทำลายทรัพย์สินสาธารณะ ฉ้อโกง และกักขังหน่วงเหนี่ยว ตามลำดับ

ที่น่าเป็นห่วงคือ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ประชาชนที่ตอบแบบสอบถามเองเคยพบเห็นและอยู่ในเหตุการณ์หรือเคยถูกกระทำในปัญหาต่อไป นี้ คือ ร้อยละ 39.7 เคยพบเห็นการกระทำความผิดเรื่องยาเสพติด ร้อยละ 37.7 ระบุเดือดร้อนรำคาญ ร้อยละ 24.5 ระบุ ชิงทรัพย์ ร้อยละ 22.2 ระบุการทำร้ายร่างกาย และรองๆ ลงไปคือ ปล้นทรัพย์ ทำลายทรัพย์สิน ถูกข่มขู่ โจรกรรม ฉ้อโกง ถูกคุกคามล่วงละเมิดทางเพศ ข่มขืน พยายามฆ่า และกักขังหน่วงเหนี่ยว ตามลำดับ

ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนส่วนใหญ่ที่รู้สึกหวาดกลัวต่ออาชญากรรมเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 66.1 ในเดือนกุมภาพันธ์ มาอยู่ที่ร้อยละ 78.7 ใน การสำรวจล่าสุด และประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.2 เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะมีตำรวจสายตรวจออกมาประจำจุดเสี่ยงต่างๆ เพื่อส่งประชาชน เดินทางกลับบ้านอย่างปลอดภัยยามค่ำคืนหรือวันที่มีฝนตก โดยประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.3 รู้สึกอบอุ่นใจเมื่อพบเห็นตำรวจเข้ามาตรวจตราดูแล ความปลอดภัยในชุมชนของตนเอง

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนเกินครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 51.5 ไม่เคยพบเห็นตำรวจเข้ามาตรวจตราความปลอดภัยในหมู่ บ้านหรือชุมชนของตนเองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 48.5 ระบุเคยพบเห็น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบจำนวนประชาชนที่เห็นตำรวจเข้ามาตรวจตราความปลอดภัยสูงขึ้นเล็กน้อยคือจากร้อยละ 44.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 48.5 ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนส่วน ใหญ่หรือร้อยละ 57.0 ของคนที่เคยประสบเหตุนอกพื้นที่ที่พักอาศัยและมีปัญหายากลำบากในการสื่อสารให้เข้าใจตรงกันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า เหตุเกิดที่ ใด ในขณะที่ร้อยละ 43.0 ไม่พบปัญหา

ผลสำรวจพบด้วยว่า ประชาชนที่เคยโทรศัพท์แจ้งเหตุเกินครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 54.1 พอใจต่อตำรวจ 191 ในขณะที่ร้อยละ 49.7 พอใจการรับแจ้งเหตุของตำรวจท้องที่ อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่เคยมีประสบการณ์สัมผัสการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจเพื่อขอความช่วยเหลือหรือรับแจ้ง เหตุ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.6 พบว่าตำรวจพูดจาดี ร้อยละ 68.7 พบว่าติดต่อง่าย มีตำรวจคอยรับสายอยู่ตลอดเวลา ร้อยละ 66.0 ตำรวจผู้ รับแจ้งใส่ใจสอบถามรายละเอียด ร้อยละ 65.2 ตำรวจขอทราบชื่อ นามสกุล ผู้แจ้งเหตุ ร้อยละ 63.5 พบว่าตำรวจมีสมุดพก ติดตัวมาจดรายละเอียด ในที่เกิดเหตุ ร้อยละ 58.2 พบว่าตำรวจมีวัสดุอุปกรณ์ รักษาที่เกิดเหตุได้อย่างดี ร้อยละ 57.0 พบตำรวจทำงานเชื่อมประสานกันดี ร้อยละ 46.3 ระบุตำรวจรีบวางสายเกินไป และมีไม่ถึงครึ่งหรือร้อยละ 43.1 ที่พบว่ามีตำรวจติดต่อกลับมาเพื่อแจ้งให้ทราบถึงผลการตรวจสอบ และที่น่าเป็นห่วงมี ร้อยละ 18.8 พบว่าตำรวจมีน้ำเสียงคล้ายกับดื่มเหล้าเมา มาตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความพอใจโดยภาพรวมต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจหน่วยต่างๆ เมื่อขอความช่วยเหลือ เพิ่มสูงขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ในทุกหน่วยงานของตำรวจ คือ ค่าเฉลี่ยความพอใจของประชาชนต่อตำรวจ 191 เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน เพิ่มขึ้น จาก 6.12 ในเดือนกุมภาพันธ์ มาอยู่ที่ 6.87 ในขณะที่ตำรวจท้องที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพอใจเพิ่มขึ้นจาก 5.82 มาอยู่ที่ 6.36 แต่เมื่อพิจารณาผล สำรวจจากตำรวจว่า ตำรวจมองการทำงานของตำรวจอย่างไร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.8 ระบุ การจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลและหน่วย งานอื่นๆ ของรัฐให้กับตำรวจไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในการทำงาน และร้อยละ 94.4 ระบุมีปัญหาเรื่องเงินเดือนไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่าย จริง และร้อยละ 92.7 ระบุขาดเครื่องมืออุปกรรณ์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ปัญหารองๆ ลงไปคือ งบประมาณไม่เพียงพอ จำนวนคนไม่ เพียงพอกับปริมาณงาน ต้องนำเงินทรัพย์สินส่วนตัวมาใช้ในการทำงาน เช่น จ่ายค่าปรับ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ค่าอาหารให้ผู้ต้องหา ค่าจัดเลี้ยงผู้บังคับ บัญชา ค่าใช้จ่ายติดตามตัวผู้ต้องหา ซื้ออาวุธประจำกาย และวิทยุสื่อสารประจำตัว

นอกจากนี้ยังมีปัญหา ขาดการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ ขาดการเชื่อมโยงระบบ ฐานข้อมูลภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติเอง และความไม่พร้อมด้านอาคารสถานที่ และปัญหาขอความร่วมมือสนับสนุนจากแหล่งทุนในท้องที่ ตามลำดับ

นอกจากนี้ ปัญหาด้านการปฏิบัติงานร่วมกับผู้บังคับบัญชา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.3 ระบุถูกมอบหมายงานที่มากเกินไป ร้อยละ 57.9 ระบุต้องเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้กับผู้บังคับบัญชา ร้อยละ 57.3 ผู้บังคับบัญชาเลือกปฏิบัติ ร้อยละ 49.5 ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานไม่ชัดเจน และร้อยละ 49.4 ผู้บังคับบัญชานำงบน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ รองๆ ลงไปคือ มีผู้บังคับบัญชามากเกินไป ไม่ได้รับเกียรติจากผู้ บังคับบัญชาอย่างเหมาะสม ผู้บังคับบัญชาไม่สนับสนุนในการปฏิบัติราชการ ผู้บังคับบัญชาก้าวก่ายการทำงานมากเกินไป และใช้ให้ทำงานส่วนตัวมากเกินไป

ส่วนปัญหาอุปสรรคในการทำงานที่เกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.1 ระบุอาวุธประจำกาย ต้องหาซื้อมา ด้วยเงินของตนเอง ร้อยละ 86.2 ระบุงบประมาณ เช่น งบน้ำมันใช้ในงานสายตรวจ มีไม่มากพอ ร้อยละ 83.9 ระบุ วิทยุสื่อสารที่ใช้ต้องซื้อมาด้วย เงินของตนเอง ร้อยละ 80.9 ไม่มีงบประมาณ ฝึกยิงปืน ร้อยละ 79.6 ระบุเพื่อนตำรวจใช้อาวุธประจำกายมีความหลากหลายของชนิดปืน ทำให้ใช้ทด แทนกันไม่ได้ เมื่อเกินเหตุฉุกเฉิน และรองๆ ลงไปคือ ไม่มีการจัดเจ้าหน้าที่ที่ออกกฎหมายมาอบรมให้ความรู้แก่ตำรวจ มีการใช้งบประมาณผิดวัตถุ ประสงค์ และการตีความตัวบทกฎหมายของพนักงานสอบสวนมีมาตรฐานต่างกัน และความกังวลต่อ อาการช็อคต่อเสียงปืน ตามลำดับ

ที่น่าเป็นห่วงคือ ตำรวจร้อยละ 47.9 ระบุยังมีการใช้ระบบอุปถัมภ์ เช่น เส้นสาย การเอาใจผู้บังคับบัญชา พวกพ้อง และการซื้อขาย ตำแหน่ง ในการพิจารณาความดีความชอบให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในขณะที่เพียงร้อยละ 13.9 ระบุใช้ระบบคุณธรรมมากกว่า และร้อยละ 38.2 ระบุใช้ ทั้งสองระบบร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม ข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.8 ยังภูมิใจในการเป็นข้าราชการตำรวจในระดับค่อนข้างมาก ถึงมากที่สุด และ ค่าเฉลี่ยคะแนนความภูมิใจต่อวิชาชีพตำรวจ เมื่อเต็ม 10 คะแนน ได้ 8.19 คะแนน

ผอ.สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้หญิงมีความหวาดกลัวต่อ อาชญากรรมภายในชุมชนหรือหมู่บ้านของตนเองถ้าต้องเดินตามลำพังในยามค่ำคืน อันน่าจะมาจากสาเหตุหลักอย่างน้อยสามประการคือ ข่าวอาชญากรรม ที่รับทราบ การไม่พบหรือไม่รับรู้ว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาตรวจตราความปลอดภัยภายในชุมชน และประสบการณ์ที่เคยพบเห็นอาชญากรรมด้วยตนเอง นอกจากนี้ ความพึงพอใจต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจหลังแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือก็อยู่ในระดับค่อนข้างมากเท่านั้น ดังนั้น ข้อมูลผลวิจัยครั้งนี้น่า จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงของตำรวจนครบาลที่เพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ครั้งล่าสุดอาจนำไปพิจารณาประกอบการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ลดทอนความรู้สึกหวาดกลัวต่ออาชญากรรมในหมู่ประชาชนและเสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจให้มากยิ่งขึ้น

สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชนในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจและลดทอนความหวาดกลัวต่ออาชญากรรม มี อย่างน้อย 7 ประการ ดังนี้

ประการแรก รัฐบาลควรเร่งแก้ไขปัญหาระบบบริหารงานตำรวจ และสวัสดิการที่เท่าเทียมระหว่างข้าราชการตำรวจกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในกระบวนการยุติธรรม เพราะงานตำรวจเปรียบเสมือนประตูของกระบวนการยุติธรรม และต้องทำงานด้านบริการให้แก่ประชาชนอีกภารกิจหนึ่งด้วย และต้องเร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลอาชญากร ฐานข้อมูลการรับแจ้งเหตุและการเชื่อมประสานกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องในการบรรเทาความเดือดร้อน ของประชาชนด้วยความรวดเร็วฉับไว

ประการที่สอง เมื่อตำรวจรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ควรร่วมฟังเสียงแวดล้อมผ่านทางโทรศัพท์ของประชาชนขณะเกิดเหตุที่กำลังโทรศัพท์แจ้งเหตุ มา ไม่รีบวางสายจนเกินไป และมีอุปกรณ์สื่อสารแยกออกมาติดต่อสายตรวจเข้าถึงที่เกิดเหตุได้ทันที

ประการที่สาม ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ในการอำนวยการให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจรับทราบเข้าใจตรงกันได้ ง่ายขึ้นว่า จุดเกิดเหตุอยู่ที่ใด สังเกตได้เด่นชัด ด้วยการปรับปรุงปฏิรูประบบผังเมืองและเส้นทางคมนาคมใหม่ ง่ายต่อการเข้าถึงที่เกิดเหตุ เช่น ชื่อ ถนน ชื่อซอย สถานที่ หลักกิโล เลขที่อาคาร และที่พักอาศัย เป็นต้น

ประการที่สี่ แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐในการตรวจตราดูแลความปลอดภัยของประชาชน เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ยานพาหนะ วิทยุสื่อสาร เสื้อเกราะ และอาวุธปืน เป็นต้น และงบประมาณการฝึกยุทธวิธีของข้าราชการตำรวจให้สามารถใช้ อาวุธปราบปรามอาชญากรรมที่หลากหลายและทันสมัย

ประการที่ห้า เสริมสร้างภาคประชาชนให้เข้มแข็งพึ่งพาตนเองมากยิ่งขึ้น จัดกลุ่มอาสาสมัครดูแลความปลอดภัยในหมู่บ้าน/ชุมชนและเชื่อม ประสานใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ประการที่หก ติดตามประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องหลังได้รับแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือจากประชาชนอย่างเป็น ระบบและต่อเนื่อง

ประการที่เจ็ด เมื่อประชาชนที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครได้ “โอกาสทอง” ตามคำประกาศในช่วงหาเสียงของผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานครคนใหม่แล้ว นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่อยู่พรรคการเมืองเดียว กันต้องเร่งทำงานอย่างหนักแก้ปัญหาให้ประชาชนเห็นประจักษ์โดยเร็วและเป็นรูปธรรมว่ามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและปลอดภัยไม่ต้องหวาดกลัวต่อ อาชญากรรมตามที่ผลสำรวจค้นพบในการวิจัยครั้งนี้

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชน

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 50.5 เป็นเพศหญิง

ร้อยละ 49.5 เป็นเพศชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 9.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 22.4 อายุ 20 — 29 ปี

ร้อยละ 24.0 อายุ 30 — 39 ปี

ร้อยละ 23.0 อายุ 40 — 49 ปี

และร้อยละ 21.6 อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 72.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี

ร้อยละ 24.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 29.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 24.3 อาชีพรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

ร้อยละ 22.8 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.7 ระบุอาชีพข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.7 ระบุนักเรียน นักศึกษา

ร้อยละ 6.0 เป็นแม่บ้าน เกษียณอายุ

และร้อยละ 0.5 ระบุว่างงาน

เจ้าหน้าที่ตำรวจ

ตัวอย่าง ร้อยละ 89.9 เป็นเพศชาย

ในขณะที่ร้อยละ 10.1 เป็นเพศหญิง

ทั้งนี้ ตัวอย่างร้อยละ 13.6 มีอายุราชการน้อยกว่า 10 ปี

ร้อยละ 52.4 มีอายุราชการ 10-20 ปี

และร้อยละ 34.0 มีอายุราชการมากกว่า 20 ปี ตามลำดับ

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาตามสายงานพบว่า ร้อยละ 7.9 ระบุสายงานสืบสวน

ร้อยละ 23.4 ระบุสายงานสอบสวน

ร้อยละ 20.6 ระบุสายงานปราบปราม

ร้อยละ 24.6 ระบุสายงานจราจร

ร้อยละ 23.5 ระบุสายงานธุรการและอื่นๆ

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้ ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่รับทราบข่าวสารเกี่ยวกับภัยอาชญากรรมผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา

ลำดับที่          การรับทราบข่าวสารเกี่ยวกับภัยอาชญากรรมผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา      ร้อยละ
1          ทุกวัน / เกือบทุกวัน                                                      64.1
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                                        20.1
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                                        10.6
4          น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์                                                    5.2
          รวมทั้งสิ้น                                                              100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุปัญหาอาชญากรรมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาที่ตำรวจต้องเร่งรีบป้องกันแก้ไข
ลำดับที่          ปัญหาอาชญากรรมที่ตำรวจต้องเร่งรีบป้องกันและแก้ไขในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา        ร้อยละ
1          ยาเสพติด                                                              73.4
2          การฆาตกรรม                                                           56.0
3          ข่มขืน                                                                 50.1
4          จี้ปล้น                                                                 43.9
5          โจรกรรมทรัพย์                                                          43.4
6          ล่วงละเมิดทางเพศ                                                       39.8
7          การทะเลาะวิวาท                                                        34.5
8          ทำร้ายร่างกาย                                                          34.5
9          การข่มขู่ รีดไถ                                                          24.0
10          ทำลายทรัพย์สินสาธารณะ                                                  22.0
11          ฉ้อโกง                                                               21.2
12          กักขังหน่วงเหนี่ยว                                                       11.5

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุประสบการณ์ในการพบเห็น/ตกอยู่ในเหตุการณ์/เคยถูกกระทำ
ในลักษณะต่างๆ  ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          การพบเห็น/อยู่ในเหตุการณ์/เคยถูกกระทำในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา                ร้อยละ
1          ยาเสพติด                                                              39.7
2          เดือดร้อนรำคาญ                                                         37.7
3          ชิงทรัพย์                                                               24.5
4          ทำร้ายร่างกาย                                                          22.2
5          ปล้นทรัพย์                                                              16.8
6          ทำลายทรัพย์สิน                                                          14.9
7          ถูกข่มขู่                                                                12.7
8          โจรกรรม                                                              10.3
9          ถูกฉ้อโกง                                                               9.4
10          ถูกคุกคาม ล่วงละเมิดทางเพศ                                               5.7
11          ข่มขืน                                                                 5.5
12          พยายามฆ่า                                                             3.4
13          กักขังหน่วงเหนี่ยว                                                        1.6

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุความรู้สึกหวาดกลัวต่ออันตรายจากโจรผู้ร้าย เมื่อต้องเดินตามลำพังใน
หมู่บ้าน/ชุมชนในเวลากลางคืน
ลำดับที่          ความรู้สึกหวาดกลัวต่ออันตรายจากโจรผู้ร้าย           กุมภาพันธ์ค่าร้อยละ         พฤษภาคมค่าร้อยละ

เมื่อต้องเดินตามลำพังในหมู่บ้าน/ชุมชน ในเวลากลางคืน

1          รู้สึกหวาดกลัว                                          66.1                    78.7
2          ไม่รู้สึกหวาดกลัว                                        33.9                    21.3
          รวมทั้งสิ้น                                             100.0                   100.0

ตารางที่ 5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุความคิดเห็นต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจในการออกมาประจำ

จุดเสี่ยงต่างๆ เพื่อส่งประชาชนเดินทางกลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยในยามค่ำคืนและวันที่มีฝนตก

ลำดับที่          ความคิดเห็น                     ค่าร้อยละ
1          จำเป็น                              94.2
2          ไม่จำเป็น                             5.8
          รวมทั้งสิ้น                            100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุความรู้สึกเมื่อพบเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาตรวจตรา ดูแลความปลอดภัย
ลำดับที่          ความคิดเห็น                     ค่าร้อยละ
1          รู้สึกอุ่นใจ                            79.3
2          ไม่รู้สึกอุ่นใจอะไร                      20.7
          รวมทั้งสิ้น                            100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุการพบเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาตรวจตราความปลอดภัยใน
หมู่บ้าน/ชุมชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
 ลำดับที่          การพบเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาตรวจตรา     กุมภาพันธ์ค่าร้อยละ        พฤษภาคมค่าร้อยละ

ความปลอดภัยในหมู่บ้าน/ชุมชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา

1          เคยพบเห็น                                     44.4                    48.5
2          ไม่เคยพบเห็น                                   55.6                    51.5
          รวมทั้งสิ้น                                    ค่าร้อยละ                   100.0

ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุความยากลำบากในการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อ
ประสบเหตุนอกพื้นที่พักอาศัยของตน
ลำดับที่          ความยากลำบากในการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อประสบเหตุนอกพื้นที่พักอาศัยของตน      ค่าร้อยละ
1          พบปัญหายากลำบากที่จะสื่อสารให้เข้าใจได้ตรงกันว่า  เหตุเกิดที่ใด                              57.0
2          ไม่พบปัญหา                                                                       43.0
          รวมทั้งสิ้น                                                                        100.0

ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุหน่วยงานของตำรวจในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เคยโทรศัพท์ติดต่อ
ขอความช่วยเหลือ(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่เคยโทรศัพท์ติดต่อ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          หน่วยงานของตำรวจในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เคยโทรศัพท์ติดต่อขอความช่วยเหลือ     ค่าร้อยละ
1          ตำรวจ 191                                                            54.1
2          ตำรวจสถานีตำรวจท้องที่                                                   49.7

ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุประสบการณ์ที่พบเห็นการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจหลังขอความ

ช่วยเหลือ(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่เคยมีประสบการณ์ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          ประสบการณ์ที่ได้รับจากการโทรศัพท์ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อขอความช่วยเหลือ    ค่าร้อยละ
1          ตำรวจพูดจาดี                                                          69.6
2          ติดต่อง่าย  มีตำรวจคอยรับสายอยู่ตลอด                                       68.7
3          ตำรวจผู้รับแจ้ง ใส่ใจสอบถามรายละเอียด                                     66.0
4          ตำรวจขอทราบชื่อ นามสกุล ผู้แจ้งเหตุ                                        65.2
5          ตำรวจมีสมุดพก ติดตัวมาจดรายละเอียดในที่เกิดเหตุ                              63.5
6          ตำรวจมีวัสดุอุปกรณ์ รักษาที่เกิดเหตุ ได้อย่างดี                                  58.2
7          ตำรวจทำงานเชื่อมประสานกันดี                                             57.0
8          ตำรวจรีบวางสายเกินไป                                                  46.3
9          ตำรวจได้ติดต่อกลับมาเพื่อแจ้งให้ทราบผล การตรวจสอบ                           43.1
10          น้ำเสียงตำรวจคล้ายกับดื่มเหล้าเมามา                                       18.8

ตารางที่ 11 แสดงค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจโดยรวมของประชาชนต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

หน่วยต่างๆ เมื่อขอความช่วยเหลือ(ค่าเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)

ลำดับที่          ความพึงพอใจของประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยต่างๆ     กุมภาพันธ์ค่าเฉลี่ยคะแนน      พฤษภาคมค่าเฉลี่ยคะแนน
1          ตำรวจ 191                                                  6.12                    6.87
2          ตำรวจสถานีตำรวจท้องที่                                         5.82                    6.36

ความคิดเห็นและประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระบุปัญหาด้านการบริหารจัดการทั่วไปในหน่วยงาน ในรอบ 6 เดือน

ที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          ปัญหาด้านการบริหารจัดการทั่วไปในหน่วยงานในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา                                ค่าร้อยละ
1          การจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลและหน่วยงานอื่นของรัฐให้กับตำรวจไม่สอดคล้อง กับสภาพความเป็นจริงในการทำงาน  94.8
2          ปัญหาเรื่องเงินเดือนไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายจริง                                                    94.4
3          ขาดเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ                                                      92.7
4          งบประมาณไม่เพียงพอ                                                                        90.5
5          จำนวนคนไม่เพียงพอกับปริมาณงาน                                                               88.8
6          ต้องนำเงิน/ทรัพย์สินส่วนตัวเข้าใช้ในการทำงาน อาทิ จ่ายค่าปรับ /ค่าธรรมเนียมต่างๆ
           แทนประชาชน /ค่าจัดเลี้ยงผู้บังคับบัญชา/ค่าใช้จ่ายในการติดตามผู้ต้องหา  ซื้ออาวุธปืน /วิทยุสื่อสารประจำตัว        83.8
7          ขาดการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับหน่วยงานของรัฐอื่นๆ                       79.7
8          ขาดการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างมีประสิทธิภาพ                           74.5
9          ความไม่พร้อมด้านอาคารสถานที่                                                                 69.8
10          ปัญหาการขอความร่วมมือสนับสนุนจากแหล่งทุนในท้องที่                                                67.9

ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระบุปัญหาด้านการปฏิบัติงานร่วมกับผู้บังคับบัญชา ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา

(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          ปัญหาด้านการปฏิบัติงานร่วมกับผู้บังคับบัญชาในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา             ค่าร้อยละ
1          ถูกมอบหมายงานที่มากเกินไป                                               59.3
2          การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้กับผู้บังคับบัญชา                                    57.9
3          ผู้บังคับบัญชาเลือกปฏิบัติ                                                   57.3
4          ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานไม่ชัดเจน                                          49.5
5          ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานสถานีตำรวจได้นำงบน้ำมันเชื้อเพลิงเอาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์      49.4
6          มีผู้บังคับบัญชามากเกินไป                                                  45.9
7          ไม่ได้รับเกียรติจากผู้บังคับบัญชาอย่างเหมาะสม                                  45.6
8          ผู้บังคับบัญชาไม่สนับสนุนในการปฏิบัติราชการ                                    37.9
9          ผู้บังคับบัญชาก้าวก่ายการทำงานมากเกินไป                                     37.3
10          ผู้บังคับบัญชาใช้ให้ทำงานส่วนตัวมากเกินไป                                    29.7

ตารางที่ 14  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระบุปัญหาอุปสรรคในการทำงานที่เกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          ปัญหาอุปสรรคในการทำงานที่เกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา                  ค่าร้อยละ
1          อาวุธที่ใช้ประจำกาย ต้องหาซื้อมาด้วยเงินของตนเอง                            90.1
2          งบประมาณ เช่น งบน้ำมันใช้ในงานสายตรวจ มีไม่มากพอ                         86.2
3          วิทยุสื่อสารที่ใช้ต้องซื้อมาด้วยเงินของตนเอง                                   83.9
4          ไม่มีงบประมาณ ฝึกยิงปืน                                                 80.9
5          เพื่อนตำรวจที่ใช้อาวุธปืนประจำกายมีความหลากหลายของชนิดปืน                    79.6
6          ไม่มีการจัดเจ้าหน้าที่ที่ออกกฎหมาย มา อบรมให้ความรู้แก่ตำรวจ                    69.2
7          มีการใช้งบประมาณ ผิดวัตถุประสงค์                                         67.1
8          การตีความตัวบทกฎหมายของพนักงานสอบสวน มีมาตรฐานต่างกัน                    61.4
9          ความกังวลต่อ อาการช็อคต่อเสียงปืน การยิงปืนพลาดเป้า                         27.7

ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระบุความคิดเห็นต่อหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ในหน่วยงานของตน

ลำดับที่          ความคิดเห็น                                                              ค่าร้อยละ
1          ใช้ระบบอุปถัมภ์มากกว่า (เช่น เส้นสาย การเอาใจผู้บังคับบัญชา พวกพ้อง และการซื้อขายตำแหน่ง)  47.9
2          ใช้ระบบคุณธรรมมากกว่า  (เช่นการพิจารณาตามความรู้ความสามารถ และระบบอาวุโส)          13.9
3          ใช้ทั้งสองระบบร่วมกัน                                                           38.2
          รวมทั้งสิ้น                                                                    100.0

ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระบุความภูมิใจในการเป็นข้าราชการตำรวจ
ลำดับที่          ความภูมิใจในการเป็นข้าราชการตำรวจ          ค่าร้อยละ
1          ไม่ภูมิใจเลย                                     -
2          ค่อนข้างน้อย-น้อย                                2.8
3          ปานกลาง                                      5.4
4          ค่อนข้างมาก-มาก                               63.0
5          ภูมิใจมากที่สุด                                  28.8
          รวมทั้งสิ้น                                     100.0

คะแนนเฉลี่ยความภูมิใจในการเป็นข้าราชการตำรวจเมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน เท่ากับ 8.19 คะแนน

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ