เอแบคโพลล์: สำรวจแนวโน้มวิถีชีวิตและปัจจัยลดทอนความสุขคนไทย

ข่าวผลสำรวจ Monday May 25, 2009 07:38 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง สำรวจแนว โน้มวิถีชีวิตและปัจจัยลดทอนความสุขคนไทย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี เพชรบุรี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู พัทลุง ระนอง สุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 2,481 ครัวเรือน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21 - 23 พฤษภาคม 2552

ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.1 นอนหลับได้สนิทในช่วง 30 วันที่ผ่านมา หลังจากเกิดเหตุการณ์จลาจลช่วงเดือน เมษายนที่ผ่านมา โดยมีจำนวนประชาชนที่นอนหลับได้สนิทเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 39.1 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มาอยู่ที่ร้อยละ 59.1 ในการสำรวจ ครั้งล่าสุด

เมื่อถามถึง ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับชีวิตของประชาชนที่ถูกศึกษาในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.4 ระบุเวลาจะซื้อสินค้าใหม่ จะถามใจตัวเองก่อนว่า มีความจำเป็นต้องซื้อหรือเป็นแค่ความอยาก นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนรู้จักรักษา สิ่งของต่างๆ ให้คงอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้นาน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 82.8 ในต้นเดือนพฤษภาคม มาอยู่ที่ ร้อยละ 86.3 ในการสำรวจครั้งล่าสุด นอก จากนี้ ประชาชนที่มุ่งทำงานให้พออยู่พอกินมีเงินเก็บออมไว้ยามจำเป็นเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 76.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 79.3 ในขณะที่ ประชาชนที่มักวาง แผนใช้จ่ายและหารายได้อย่างรัดกุมได้เพิ่มสูงขึ้นเช่นกันจากร้อยละ 70.9 มาอยู่ที่ร้อยละ 76.0

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า ประชาชนที่ระบุว่าต้องขยันมุมานะทำงานหนักในช่วงนี้มากที่สุด เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 58.0 ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 70.9 ในการสำรวจครั้งล่าสุด นอกจากนี้ ประชาชนที่ระบุว่า ถ้าไม่มีรายได้เดือนนี้จะต้องเดือดร้อนพึ่งพา คนอื่น มีสัดส่วนลดลงจากร้อยละ 47.4 ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ มาอยู่ที่ร้อยละ 38.6 ในการสำรวจครั้งล่าสุด และคนที่คิดอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อลดลง จากร้อยละ 40.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 33.7 และคนที่ซื้อสินค้ามาแล้วพบว่า ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์มากเท่าใดนัก ก็ลดลงจากร้อยละ 31.9 มาอยู่ที่ร้อยละ 24.7 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบ 10 ปัจจัยที่ลดทอนความสุขของคนไทยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.1 ระบุ ความ แตกแยกของคนในสังคม รองลงมาคือ ร้อยละ 82.4 ระบุสภาวะเศรษฐกิจของคนในครอบครัว ร้อยละ 77.2 ระบุ พฤติกรรมนักการเมือง แก่งแย่ง ตำแหน่งรัฐมนตรี ตำแหน่งทางการเมืองกัน ร้อยละ 74.0 ระบุ สภาวะเศรษฐกิจระดับประเทศ ร้อยละ 65.7 ระบุปัญหายาเสพติด ร้อยละ 56.6 ระบุความไม่เป็นธรรมในสังคม ร้อยละ 53.8 ระบุปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 52.6 ระบุปัญหาสุขภาพกาย ที่น่าสนใจคือ ร้อย ละ 47.7 ระบุปัญหาความไม่สมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัว กับภาระการทำงาน และร้อยละ 42.8 ระบุปัญหาครอบครัว ตามลำดับ

ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.1 ระบุแรงสนับสนุนระดับมากถึงมากที่สุด ให้กลุ่ม นปช. และกลุ่มพันธมิตร ช่วยกันทำ งานแก้วิกฤตประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 18.4 สนับสนุนระดับปานกลาง และร้อยละ 10.5 สนับสนุนน้อยถึงไม่สนับสนุนเลย

แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 54.8 กังวลว่า ส.ส.ในฝ่ายรัฐบาลจะแตกแยกกันเอง ในขณะที่ร้อยละ 27.3 ไม่ กังวล และร้อยละ 17.9 ไม่มีความเห็น

ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า มีคนไทยส่วนใหญ่นอนหลับสนิทมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเวลาที่สังคมมีความ ขัดแย้งรุนแรงทางการเมือง วิถีชีวิตของคนไทยหลายมิติกำลังมีแนวโน้มเริ่มดีขึ้น โดยมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในเรื่องการรักษาข้าวของให้คงสภาพใช้งาน ยาวนาน มุ่งทำงานเก็บเงินไว้ยามจำเป็น มีการวางแผนใช้จ่ายและมุ่งมั่นขยันทำงานหนัก และผลสำรวจก่อนหน้านี้พบคนไทยมีความสุขมวลรวมหรือ จีดี เอช เพิ่มสูงขึ้น สวนทางกับตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจหรือ ค่าจีดีพี ที่กำลังติดลบ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะทำให้ความสุขคนไทยติดลบตาม จีดีพีไปด้วยคือ ความ แตกแยกของคนในสังคม และปัจจัยที่จะกำลังกลายเป็นตัวเริ่มจุดชนวนความกังวลความเบื่อหน่ายของประชาชนคือ ความแตกแยกในกลุ่ม ส.ส. พรรค ฝ่ายรัฐบาล นั่นเองที่มุ่งแต่แก่งแย่งตำแหน่งทางการเมืองและผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป อีกไม่นานก็คงต้องเริ่มนับถอย หลังเข้าสู่วงจรเดิมๆ กันอีก

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 52.5 เป็นหญิง

ร้อยละ 47.5 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 4.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 18.7 อายุ 20 — 29 ปี

ร้อยละ 22.6 อายุ 30 — 39 ปี

ร้อยละ 25.4 อายุ 40 — 49 ปี

และร้อยละ 28.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป

โดยตัวอย่าง ร้อยละ 30.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 25.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 17.6 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.1 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 5.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 6.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 3.9 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

นอกจากนี้ ร้อยละ 71.4 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 26.0 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.6 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การนอนหลับในช่วง 30 วันที่ผ่านมา

ลำดับที่          การนอนหลับในช่วง 30 วันที่ผ่านมา      กุมภาพันธ์ค่าร้อยละ    พฤษภาคมค่าร้อยละ     ส่วนต่าง
1          นอนไม่หลับเลย                              2.5               1.3            -1.2
2          นอนไม่ค่อยหลับ                             14.4               6.1            -8.3
3          ปานกลาง                                 12.7              13.1            +0.4
4          ค่อนข้างหลับสนิท                            31.3              20.4           -10.9
5          นอนหลับได้สนิท                             39.1              59.1           +20.0
          รวมทั้งสิ้น                                 100.0             100.0
ตารางที่ 2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับตนเองในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่          ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับตนเองในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา              ผลสำรวจก่อนหน้านี้ค่าร้อยละ   ต้นเดือน พ.ค.   การสำรวจครั้งล่าสุดค่าร้อยละ
1          ก่อนซื้อสินค้าใหม่ ถามใจตัวเองก่อนว่า มีความจำเป็น หรือเป็นแค่ความอยาก                                                  89.4
2          รักษาสิ่งของต่างๆ ให้คงสภาพใช้งานได้นาน                                                      82.8                86.3
3          มุ่งทำงานเพื่อให้พออยู่พอกิน และมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น                                         76.1                79.3
4          ท่านเป็นคนที่มักวางแผนดำเนินการใช้จ่ายและหารายได้อย่างเป็นขั้นตอนและรัดกุม                           70.9                76.0
5          เป็นคนที่ขยันมุมานะทำงานหนักมากที่สุด                                                          58.0                70.9
6          ถ้าไม่มีรายได้เดือนนี้จะต้องเดือดร้อนพึ่งพาคนอื่น                         47.4 (เสนอต้น ก.พ.52)                          38.6
7          คิดอยากซื้ออะไรก็ซื้อ                                             40.5 (เสนอต้น ก.พ.52)                          33.7
8          หลังซื้อสินค้ามาพบว่า ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์เท่าใดนัก                     31.9 (เสนอต้น ก.พ.52)                          24.7

ตารางที่ 3  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ 10 ปัจจัยลดทอนความสุขในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          10 ปัจจัยลดทอนความสุขในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา                     ค่าร้อยละ
1          ความแตกแยกของคนในสังคม                                         87.1
2          สภาวะเศรษฐกิจของคนในครอบครัว                                    82.4
3          พฤติกรรมนักการเมือง แก่งแย่งตำแหน่งรัฐมนตรี ตำแหน่งทางการเมือง          77.2
4          สภาวะเศรษฐกิจระดับประเทศ                                        74.0
5          ปัญหายาเสพติด                                                   65.7
6          ความไม่เป็นธรรมในสังคม                                           56.6
7          ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน                                53.8
8          ปัญหาสุขภาพกาย                                                  52.6
9          ความไม่สมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวกับภาระงาน                             47.7
10          ปัญหาครอบครัว                                                  42.8

ตารางที่ 4  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แรงสนับสนุนกลุ่ม นปช. และกลุ่มพันธมิตร ช่วยกันทำงานแก้วิกฤตประเทศ
ลำดับที่          แรงสนับสนุนกลุ่ม นปช. และกลุ่มพันธมิตร ช่วยกันทำงานแก้วิกฤตประเทศ                  ค่าร้อยละ
1          สนับสนุนระดับมาก ถึงมากที่สุด ให้กลุ่ม นปช. และพันธมิตร ช่วยกันทำงานแก้วิกฤตประเทศ          71.1
2          สนับสนุนปานกลาง                                                               18.4
3          สนับสนุนน้อยถึงไม่สนับสนุนเลย                                                      10.5
          รวมทั้งสิ้น                                                                     100.0

ตารางที่ 5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความกังวลว่า ส.ส.ในพรรคฝ่ายรัฐบาลจะแตกแยกกันเอง
ลำดับที่          ความกังวล                                  ค่าร้อยละ
1          กังวลว่า ส.ส.ในพรรคฝ่ายรัฐบาลจะแตกแยกกันเอง          54.8
2          ไม่กังวล                                          27.3
3          ไม่มีความเห็น                                      17.9
          รวมทั้งสิ้น                                         100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ