ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวม
(Gross Domestic Happiness Index, GDHI) ของประชาชนภายในประเทศประจำเดือนกันยายน: กรณีศึกษาประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติ
ใน 25 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 5,218 คน จำแนกเป็นคนไทย 4,749 คน และชาวต่างชาติ 469 คน ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่
1 — 7 ตุลาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
ผลวิจัยพบว่า ความสุขมวลรวมของคนไทยลดลงเล็กน้อยจากคะแนนเฉลี่ย 6.34 ในเดือนสิงหาคม มาอยู่ที่ 6.30 ในเดือนกันยายน
เพราะปัญหาภัยน้ำท่วมทำให้ความสุขของประชาชนต่อสิ่งแวดล้อมของ น้ำ ดินและอากาศ เหลือเพียงร้อยละ 21.6 และความสุขต่อสภาพถนนและการ
จราจรเหลือเพียงร้อยละ 22.5 ซึ่งพบว่าความสุขของคนไทยต่อสภาพแวดล้อมประจำเดือนกันยายนต่ำสุดในรอบสามเดือนที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ปัจจัยลบที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขจากภาครัฐในหมู่ประชาชนคือ ช่องว่างระหว่างความคาดหวังของประชาชนกับสิ่งที่ประชาชนได้
รับ ได้แก่ เรื่องความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติของประชาชนทั่วไปคาดหวังร้อยละ 88.3 แต่เป็นจริงร้อยละ
47.1 เท่านั้น ในขณะที่คาดหวังต่อความเท่าเทียมกันในกระบวนการยุติธรรมร้อยละ 81.9 แต่เป็นจริงร้อยละ 51.5 เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังคงทำให้ความสุขมวลรวมของคนไทยอยู่ในเกณฑ์ “ค่อนข้างดี” คือได้คะแนนเฉลี่ย 6.30 จาก 10 คะแนน เป็น
เพราะปัญหาการเมืองได้ข้อยุติโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทำให้ความสุขของคนไทยต่อหลักธร
รมาภิบาลด้านการเมืองเพิ่มขึ้นในทุกตัว เช่น ความโปร่งใสทางการเมืองเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36.8 ในเดือนสิงหาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 56.9 และการ
เป็นที่ไว้วางใจได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 39.9 ในเดือนสิงหาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 57.8 ในการสำรวจล่าสุด เป็นต้น
นอกจากนี้ ความสุขมวลรวมของคนไทยประจำเดือนกันยายนยังได้ปัจจัยเสริมด้านวัฒนธรรมประเพณีไทย เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของคนไทย
เรื่อง ความรักความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกันที่ประชาชนคาดหวังร้อยละ 93.6 เห็นจริงร้อยละ 85.6 ความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษคาดหวังร้อยละ
84.2 เห็นจริงร้อยละ 76.8 การช่วยเหลือกันและกันในชุมชนในช่วงเกิดภัยน้ำท่วมคาดหวังร้อยละ 77.9 เห็นจริงร้อยละ 69.8 และสายสัมพันธ์ใน
ครอบครัวของประชาชนที่อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดีถึงดีมากเกือบทุกตัว
และเมื่อนำวิถีชีวิตของคนไทยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาวิเคราะห์หาค่าความสุข พบว่า กลุ่มประชาชนที่นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
ในชีวิตแบบเคร่งครัดมีความสุขมวลรวมสูงเกือบสองเท่าของจำนวนประชาชนที่ไม่เคร่งครัดกับการใช้ชีวิตแบบพอเพียง คือร้อยละ 57.9 ต่อร้อยละ
31.4 โดยลักษณะของคนที่เคร่งครัดต่อการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเช่น การวางแผนการใช้จ่ายอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่คิดอยากจะซื้ออะไรก็
ซื้อ ซื้อของมาแล้วใช้จ่ายอย่างเต็มที่ มีการเก็บออมทรัพย์สิน ไม่ใช้จ่ายเงินหรือลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงเกินไป การดำเนินชีวิตไม่ขึ้นลงตามกระแส
เศรษฐกิจโลก ปฏิเสธการแข่งขันเอาชนะแบบสุดโต่ง มีวิถีชีวิตบนทางสายกลาง และปฏิเสธการทุจริตคอรัปชั่นทุกรูปแบบ
เมื่อวิเคราะห์ค่าความสุขคนไทยจำแนกตามภูมิภาค พบว่า ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีค่าความสุขมวลรวมสูงกว่า
ประชาชนในทุกภาคถึงแม้ว่าคะแนนเฉลี่ยจะลดลงเล็กน้อยจาก 6.69 ในเดือนสิงหาคม เหลือ 6.58 ในเดือนกันยายน ที่น่าสังเกตคือถึงแม้ประชาชนใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือถูกมองว่าเป็นฐานเสียงสำคัญของรัฐบาลชุดก่อนที่ถูกยึดอำนาจไปแต่ค่าความสุขที่วัดได้ล่าสุดยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดีและสูงกว่า
ทุกภาค เพราะประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณี ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง สายสัมพันธ์ภายในครอบ
ครัวที่อยู่ในเกณฑ์ดี บรรยากาศที่ดีภายในชุมชน และดำเนินชีวิตบนทางสายกลาง เป็นต้น
ที่น่าสนใจคือ ความสุขมวลรวมของประชาชนคนกรุงเทพมหานครสูงขึ้นเป็นอันดับที่สองเมื่อเทียบกับคนในภาคอื่นๆ คือจากคะแนนเฉลี่ย
5.54 ในเดือนสิงหาคม มาอยู่ที่ 6.47 คะแนนในเดือนกันยายน เพราะปัญหาการเมืองได้ข้อยุติโดย คปค. หลักธรรมาภิบาลทางการเมือง สภาวะ
เศรษฐกิจแบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ และความพึงพอใจในงาน เป็นต้น
เมื่อพิจารณาความสุขมวลรวมของชาวต่างชาติที่พักอาศัยทำงานในประเทศไทย พบว่า ความสุขมวลรวมของชาวต่างชาติอยู่ในเกณฑ์ที่ดีคือ
ได้คะแนนเฉลี่ย 7.23 จาก 10 คะแนน ซึ่งสูงกว่าค่าความสุขมวลรวมของคนไทย โดยเหตุผลที่ทำให้ชาวต่างชาติมีความสุขคือ ร้อยละ 89.5 เพราะมี
ความสุขกับวัฒนธรรมประเพณีไทย ร้อยละ 84.1 เห็นคนไทยมีความรักความสามัคคีกัน ร้อยละ 82.0 เห็นคนไทยรักเสรีภาพ ร้อยละ 72.6 เห็นคน
ไทยช่วยเหลือกันและกัน และร้อยละ 68.3 เห็นคนไทยเสียสละ เป็นต้น ที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งคือ ผลสำรวจพบว่า ชาวต่างชาติที่มาพักอาศัยทำ
งานในประเทศไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 46.2 ได้ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัดในชีวิตประจำวัน ในขณะที่คนไทยเพียงร้อยละ
26.1 เท่านั้นที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัด
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยความสุขที่หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องนามธรรมวัดไม่ได้ แต่ในทางระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ถือว่าเป็น
เรื่องในกลุ่มเดียวกับทัศนคติ ความพึงพอใจ ความคาดหวังของประชาชนที่สามารถวัดได้ขึ้นอยู่กับการนิยามและการสร้างตัวชี้วัด สำหรับการวัดความสุข
มวลรวมหรือความอยู่เย็นเป็นสุขของประชนที่ได้ทำการวัดทุกเดือนที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าความสุขของคนไทยและชาวต่างชาติโดยภาพรวมขึ้นอยู่กับปัจจัย
สำคัญด้านวัฒนธรรมประเพณี หลักธรรมาภิบาล ความรักความสามัคคี บรรยากาศที่ดีภายในชุมชน สายสัมพันธ์ในครอบครัว เสรีภาพ ความพึงพอใจใน
งาน และความรับผิดชอบของประชาชนแต่ละคน เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ถ้ารัฐบาลชุดปัจจุบันและอนาคตมีนโยบายด้านความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness) และหลัก
เศรษฐกิจพอเพียงน่าจะเป็นนโยบายพัฒนาประเทศที่เหมาะกับห้วงเวลาปัจจุบันและก่อให้เกิดประโยชน์สุขในหมู่ประชาชนอย่างยั่งยืนได้ โดยมียุทธศาสตร์
สร้างชุมชนอยู่เย็นเป็นสุขและพอเพียงควบคู่ไปกับยุทธศาสตร์ชุมชนเข้มแข็งน่าจะสามารถทำให้ลดปัญหาที่เป็นวาระแห่งชาติหลายประการลงไปได้ เช่น
ปัญหายาเสพติด ความยากจน และความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งนโยบายที่เน้นความอยู่เย็นเป็นสุขและหลักเศรษฐกิจพอเพียงน่าจะ
สามารถขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าโดยไม่ได้ปฏิเสธการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ เพียงแต่หนุนเสริมความดี
ความงามที่มีอยู่ในสังคมไทยขึ้นมาสร้างกระแสทางเลือกของการใช้ชีวิตที่สมดุลและอยู่บนทางสายกลางมากขึ้น สำหรับรายละเอียดการวัดดัชนีความสุข
หรือความอยู่เย็นเป็นสุข (well-being index networks,win) สามารถเข้าดูรายละเอียดได้ที่ www.siamgdh.com หรือ
www.gdhnetworks.com
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนกันยายน
2. เพื่อค้นหาศึกษาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่กระทบต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวม (Gross
Domestic Happiness Index) ของคนไทยประจำเดือนกันยายน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปใน 25 จังหวัดของประเทศ ซึ่งดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 1 — 7 ตุลาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 25 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี
เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชลบุรี จันทบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี หนองคาย ขอนแก่น
นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี มุกดาหาร นครพนม สุราษฎร์ธานี ระนอง พัทลุง และสงขลา เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่ม
ตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการ
สำรวจ คือ 5,218 คน จำแนกเป็นคนไทย 4,749 คน และชาวต่างชาติ 469 คน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.4 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 43.6 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 11.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 28.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 17.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 19.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 20.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 11.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 20.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 3.4 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ/ว่างงาน
นอกจากนี้ ตัวอย่าง ร้อยละ 32.4 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 26.7 ระบุ 5,001 — 10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 18.6 ระบุ 10,001 — 20,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 10.8 ระบุ 20,001 — 30,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 11.5 ระบุ มากกกว่า 30,000 บาทต่อเดือน
เมื่อพิจารณาถึงแหล่งที่พักอาศัยพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.5 อยู่นอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ร้อยละ 38.5 พักอาศัยในเขตเทศบาลหรือเขตเมือง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนกันยายนเปรียบเทียบกับ
ช่วง 3 เดือนแรกของปี(มกราคม-มีนาคม) เดือนเมษายน เดือนพฤษภาคม เดือนมิถุนายน เดือนกรกฎาคม และ
เดือนสิงหาคม เมื่อคะแนนเต็ม 10
ม.ค.-มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย
ภายในประเทศ(Gross Domestic Happiness) 5.47 6.08 6.59 9.21 7.29 6.34 6.30
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสุขต่อสภาพแวดล้อม เปรียบเทียบเดือนมิถุนายน — กันยายน 2549
ความสุขต่อสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย มิถุนายนค่าร้อยละ กรกฎาคมค่าร้อยละ สิงหาคมค่าร้อยละ กันยายนค่าร้อยละ
1.การคมนาคม ถนนหนทาง 54.2 47.6 25.7 22.5
2.ความสะดวกในการใช้โทรศัพท์บ้านในครัวเรือน 40.4 38.6 32.0 35.5
3.สิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ อากาศ ดิน 63.1 53.4 31.9 21.6
4.การบริการด้านไฟฟ้า 57.1 43.4 42.6 39.4
5.น้ำประปา แหล่งน้ำกินน้ำใช้ 34.3 37.4 38.1 36.2
ตารางที่ 3 เปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการ/คาดหวังกับความเป็นจริงที่ได้รับได้เห็นในเรื่อง
ความเป็นธรรมทางสังคม
ลำดับที่ ประเด็นเรื่องความเป็นธรรมทางสังคม ความต้องการ/คาดหวัง ความเป็นจริงที่ได้รับ/ได้เห็น
1 ความเท่าเทียมในการเข้าถึงธรรมชาติ 86.6 49.4
2 ความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการครอบครองทรัพยากร 88.3 47.1
3 ความเท่าเทียมกันในกระบวนการยุติธรรม 81.9 51.5
4 การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยความยุติธรรม 83.5 53.7
ตารางที่ 4 แสงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ หลักธรรมาภิบาลทางการเมือง เปรียบเทียบระหว่างเดือนสิงหาคม
กับเดือนกันยายน
ลำดับที่ ประเด็นหลักธรรมาภิบาลทางการเมือง สิงหาคม กันยายน
1 ความโปร่งใสทางการเมือง 36.8 56.9
2 ความไว้วางใจต่อรัฐบาล 39.9 57.8
3 ความซื่อสัตย์สุจริต 39.0 64.3
4 การมีส่วนร่วมของประชาชน 48.2 46.9
5 การถูกตรวจสอบได้ของรัฐบาล 47.1 55.5
ตารางที่ 5 เปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการ/คาดหวังกับความเป็นจริงที่ได้รับได้เห็นเรื่อง
วัฒนธรรมประเพณีไทยและเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย
ลำดับที่ ประเด็นวัฒนธรรมประเพณีไทย เอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย คาดหวัง เห็นจริง/ได้รับ
1 ความรักความสามัคคี เป็นหนึ่งเดียวกัน 93.6 85.6
2 ความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ 84.2 76.8
3 การช่วยเหลือกันและกันในชุมชน 77.9 69.8
4 ความเสียสละ 78.8 63.9
5 สยามเมืองยิ้ม 69.4 55.6
6 การใช้ชีวิตทางสายกลาง 78.9 35.6
7 ความเป็นอิสระเสรี 98.5 90.7
8 การรักสันโดษ 93.0 55.5
9 ความรับผิดชอบ 98.1 58.6
10 งานบุญงานบวช 59.4 65.8
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สายสัมพันธ์ภายในครอบครัว
ลำดับที่ ประเด็นสายสัมพันธ์ภายในครอบครัว ร้อยละ
1 การอยู่ร่วมกันของคนในครอบครัว 69.3
2 การทำกิจกรรมร่วมกัน 68.4
3 ความเข้าใจ-เห็นอกเห็นใจ 59.4
4 การช่วยกันแก้ปัญหา 58.6
5 การรับฟังปัญหาของกันและกัน 58.2
6 การร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน 54.5
7 ความเป็นประชาธิปไตย 53.9
ตารางที่ 7 เปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขมวลรวมจำแนกตามกลุ่มประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลัก
เศรษฐกิจพอเพียงแบบเคร่งครัดและกลุ่มที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เคร่งครัด
ลำดับที่ ระดับความอยู่เย็นเป็นสุข กลุ่มที่ใช้ชีวิตพอเพียงแบบเคร่งครัด กลุ่มที่ใช้ชีวิตพอเพียงแบบไม่เคร่งครัด
1 มาก/มากที่สุด 57.9 31.4
2 ค่อนข้างมาก 36.4 38.7
3 ค่อนข้างน้อย 1.5 13.2
4 น้อย/ไม่มีเลย 4.2 16.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศจำแนกตามภูมิภาค
เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กรุงเทพมหานคร
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย
ภายในประเทศ(Gross Domestic Happiness) 6.08 6.27 6.58 6.25 6.47
ตารางที่ 9 แสดงความสุขมวลรวมของชาวต่างชาติภายในประเทศประจำเดือนกันยายน เมื่อคะแนนเต็ม 10
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย คะแนนเต็ม 10 ความหมาย
ภายในประเทศประจำเดือนกันยายน (Gross Domestic Happiness, GDH) 6.30 ระดับค่อนข้างดี
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของชาวต่างชาติ
ภายในประเทศประจำเดือนกันยายน (Gross Domestic Happiness, GDH) 7.23 ระดับดี
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างชาวต่างชาติที่ระบุ ปัจจัยที่ทำให้มีความสุขเมื่อพักอาศัยทำงาน
ในประเทศไทย
ลำดับที่ ความสุขเมื่อพักอาศัยทำงานในประเทศไทย ร้อยละ
1 ความสุขกับวัฒนธรรมประเพณีไทย 89.5
2 เห็นคนไทยรักสามัคคีกัน 84.1
3 เห็นคนไทยรักเสรีภาพ 82.0
3 เห็นคนไทยช่วยเหลือกัน 72.6
4 เห็นคนไทยเสียสละ 68.3
5 ทราบว่าคนไทยเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ 60.1
6 ชอบชีวิตความเป็นอยู่แบบไทย เช่น อาหารไทย การใช้ชีวิตพอเพียง เป็นต้น 57.4
7 ชอบเทศกาลรื่นเริงของคนไทย 55.2
8 เห็นคนไทยมีความรับผิดชอบ 48.7
ตารางที่ 11 เปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างระหว่างคนไทยกับชาวต่างชาติที่มาพักอาศัยทำงานในประเทศไทย
และใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงแบบเคร่งครัด
ลำดับที่ ระดับความเข้มข้นของการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คนไทย ชาวต่างชาติ
1 เคร่งครัด 26.1 46.2
2 ปานกลาง 56.6 32.8
3 ไม่เคร่งครัด 17.6 21.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
(Gross Domestic Happiness Index, GDHI) ของประชาชนภายในประเทศประจำเดือนกันยายน: กรณีศึกษาประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติ
ใน 25 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 5,218 คน จำแนกเป็นคนไทย 4,749 คน และชาวต่างชาติ 469 คน ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่
1 — 7 ตุลาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
ผลวิจัยพบว่า ความสุขมวลรวมของคนไทยลดลงเล็กน้อยจากคะแนนเฉลี่ย 6.34 ในเดือนสิงหาคม มาอยู่ที่ 6.30 ในเดือนกันยายน
เพราะปัญหาภัยน้ำท่วมทำให้ความสุขของประชาชนต่อสิ่งแวดล้อมของ น้ำ ดินและอากาศ เหลือเพียงร้อยละ 21.6 และความสุขต่อสภาพถนนและการ
จราจรเหลือเพียงร้อยละ 22.5 ซึ่งพบว่าความสุขของคนไทยต่อสภาพแวดล้อมประจำเดือนกันยายนต่ำสุดในรอบสามเดือนที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ปัจจัยลบที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขจากภาครัฐในหมู่ประชาชนคือ ช่องว่างระหว่างความคาดหวังของประชาชนกับสิ่งที่ประชาชนได้
รับ ได้แก่ เรื่องความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติของประชาชนทั่วไปคาดหวังร้อยละ 88.3 แต่เป็นจริงร้อยละ
47.1 เท่านั้น ในขณะที่คาดหวังต่อความเท่าเทียมกันในกระบวนการยุติธรรมร้อยละ 81.9 แต่เป็นจริงร้อยละ 51.5 เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังคงทำให้ความสุขมวลรวมของคนไทยอยู่ในเกณฑ์ “ค่อนข้างดี” คือได้คะแนนเฉลี่ย 6.30 จาก 10 คะแนน เป็น
เพราะปัญหาการเมืองได้ข้อยุติโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทำให้ความสุขของคนไทยต่อหลักธร
รมาภิบาลด้านการเมืองเพิ่มขึ้นในทุกตัว เช่น ความโปร่งใสทางการเมืองเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36.8 ในเดือนสิงหาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 56.9 และการ
เป็นที่ไว้วางใจได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 39.9 ในเดือนสิงหาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 57.8 ในการสำรวจล่าสุด เป็นต้น
นอกจากนี้ ความสุขมวลรวมของคนไทยประจำเดือนกันยายนยังได้ปัจจัยเสริมด้านวัฒนธรรมประเพณีไทย เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของคนไทย
เรื่อง ความรักความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกันที่ประชาชนคาดหวังร้อยละ 93.6 เห็นจริงร้อยละ 85.6 ความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษคาดหวังร้อยละ
84.2 เห็นจริงร้อยละ 76.8 การช่วยเหลือกันและกันในชุมชนในช่วงเกิดภัยน้ำท่วมคาดหวังร้อยละ 77.9 เห็นจริงร้อยละ 69.8 และสายสัมพันธ์ใน
ครอบครัวของประชาชนที่อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดีถึงดีมากเกือบทุกตัว
และเมื่อนำวิถีชีวิตของคนไทยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาวิเคราะห์หาค่าความสุข พบว่า กลุ่มประชาชนที่นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
ในชีวิตแบบเคร่งครัดมีความสุขมวลรวมสูงเกือบสองเท่าของจำนวนประชาชนที่ไม่เคร่งครัดกับการใช้ชีวิตแบบพอเพียง คือร้อยละ 57.9 ต่อร้อยละ
31.4 โดยลักษณะของคนที่เคร่งครัดต่อการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเช่น การวางแผนการใช้จ่ายอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่คิดอยากจะซื้ออะไรก็
ซื้อ ซื้อของมาแล้วใช้จ่ายอย่างเต็มที่ มีการเก็บออมทรัพย์สิน ไม่ใช้จ่ายเงินหรือลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงเกินไป การดำเนินชีวิตไม่ขึ้นลงตามกระแส
เศรษฐกิจโลก ปฏิเสธการแข่งขันเอาชนะแบบสุดโต่ง มีวิถีชีวิตบนทางสายกลาง และปฏิเสธการทุจริตคอรัปชั่นทุกรูปแบบ
เมื่อวิเคราะห์ค่าความสุขคนไทยจำแนกตามภูมิภาค พบว่า ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีค่าความสุขมวลรวมสูงกว่า
ประชาชนในทุกภาคถึงแม้ว่าคะแนนเฉลี่ยจะลดลงเล็กน้อยจาก 6.69 ในเดือนสิงหาคม เหลือ 6.58 ในเดือนกันยายน ที่น่าสังเกตคือถึงแม้ประชาชนใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือถูกมองว่าเป็นฐานเสียงสำคัญของรัฐบาลชุดก่อนที่ถูกยึดอำนาจไปแต่ค่าความสุขที่วัดได้ล่าสุดยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดีและสูงกว่า
ทุกภาค เพราะประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณี ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง สายสัมพันธ์ภายในครอบ
ครัวที่อยู่ในเกณฑ์ดี บรรยากาศที่ดีภายในชุมชน และดำเนินชีวิตบนทางสายกลาง เป็นต้น
ที่น่าสนใจคือ ความสุขมวลรวมของประชาชนคนกรุงเทพมหานครสูงขึ้นเป็นอันดับที่สองเมื่อเทียบกับคนในภาคอื่นๆ คือจากคะแนนเฉลี่ย
5.54 ในเดือนสิงหาคม มาอยู่ที่ 6.47 คะแนนในเดือนกันยายน เพราะปัญหาการเมืองได้ข้อยุติโดย คปค. หลักธรรมาภิบาลทางการเมือง สภาวะ
เศรษฐกิจแบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ และความพึงพอใจในงาน เป็นต้น
เมื่อพิจารณาความสุขมวลรวมของชาวต่างชาติที่พักอาศัยทำงานในประเทศไทย พบว่า ความสุขมวลรวมของชาวต่างชาติอยู่ในเกณฑ์ที่ดีคือ
ได้คะแนนเฉลี่ย 7.23 จาก 10 คะแนน ซึ่งสูงกว่าค่าความสุขมวลรวมของคนไทย โดยเหตุผลที่ทำให้ชาวต่างชาติมีความสุขคือ ร้อยละ 89.5 เพราะมี
ความสุขกับวัฒนธรรมประเพณีไทย ร้อยละ 84.1 เห็นคนไทยมีความรักความสามัคคีกัน ร้อยละ 82.0 เห็นคนไทยรักเสรีภาพ ร้อยละ 72.6 เห็นคน
ไทยช่วยเหลือกันและกัน และร้อยละ 68.3 เห็นคนไทยเสียสละ เป็นต้น ที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งคือ ผลสำรวจพบว่า ชาวต่างชาติที่มาพักอาศัยทำ
งานในประเทศไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 46.2 ได้ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัดในชีวิตประจำวัน ในขณะที่คนไทยเพียงร้อยละ
26.1 เท่านั้นที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัด
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยความสุขที่หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องนามธรรมวัดไม่ได้ แต่ในทางระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ถือว่าเป็น
เรื่องในกลุ่มเดียวกับทัศนคติ ความพึงพอใจ ความคาดหวังของประชาชนที่สามารถวัดได้ขึ้นอยู่กับการนิยามและการสร้างตัวชี้วัด สำหรับการวัดความสุข
มวลรวมหรือความอยู่เย็นเป็นสุขของประชนที่ได้ทำการวัดทุกเดือนที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าความสุขของคนไทยและชาวต่างชาติโดยภาพรวมขึ้นอยู่กับปัจจัย
สำคัญด้านวัฒนธรรมประเพณี หลักธรรมาภิบาล ความรักความสามัคคี บรรยากาศที่ดีภายในชุมชน สายสัมพันธ์ในครอบครัว เสรีภาพ ความพึงพอใจใน
งาน และความรับผิดชอบของประชาชนแต่ละคน เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ถ้ารัฐบาลชุดปัจจุบันและอนาคตมีนโยบายด้านความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness) และหลัก
เศรษฐกิจพอเพียงน่าจะเป็นนโยบายพัฒนาประเทศที่เหมาะกับห้วงเวลาปัจจุบันและก่อให้เกิดประโยชน์สุขในหมู่ประชาชนอย่างยั่งยืนได้ โดยมียุทธศาสตร์
สร้างชุมชนอยู่เย็นเป็นสุขและพอเพียงควบคู่ไปกับยุทธศาสตร์ชุมชนเข้มแข็งน่าจะสามารถทำให้ลดปัญหาที่เป็นวาระแห่งชาติหลายประการลงไปได้ เช่น
ปัญหายาเสพติด ความยากจน และความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งนโยบายที่เน้นความอยู่เย็นเป็นสุขและหลักเศรษฐกิจพอเพียงน่าจะ
สามารถขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าโดยไม่ได้ปฏิเสธการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ เพียงแต่หนุนเสริมความดี
ความงามที่มีอยู่ในสังคมไทยขึ้นมาสร้างกระแสทางเลือกของการใช้ชีวิตที่สมดุลและอยู่บนทางสายกลางมากขึ้น สำหรับรายละเอียดการวัดดัชนีความสุข
หรือความอยู่เย็นเป็นสุข (well-being index networks,win) สามารถเข้าดูรายละเอียดได้ที่ www.siamgdh.com หรือ
www.gdhnetworks.com
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนกันยายน
2. เพื่อค้นหาศึกษาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่กระทบต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวม (Gross
Domestic Happiness Index) ของคนไทยประจำเดือนกันยายน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปใน 25 จังหวัดของประเทศ ซึ่งดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 1 — 7 ตุลาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 25 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี
เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชลบุรี จันทบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี หนองคาย ขอนแก่น
นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี มุกดาหาร นครพนม สุราษฎร์ธานี ระนอง พัทลุง และสงขลา เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่ม
ตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการ
สำรวจ คือ 5,218 คน จำแนกเป็นคนไทย 4,749 คน และชาวต่างชาติ 469 คน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.4 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 43.6 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 11.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 28.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 17.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 19.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 20.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 11.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 20.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 3.4 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ/ว่างงาน
นอกจากนี้ ตัวอย่าง ร้อยละ 32.4 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 26.7 ระบุ 5,001 — 10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 18.6 ระบุ 10,001 — 20,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 10.8 ระบุ 20,001 — 30,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 11.5 ระบุ มากกกว่า 30,000 บาทต่อเดือน
เมื่อพิจารณาถึงแหล่งที่พักอาศัยพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.5 อยู่นอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ร้อยละ 38.5 พักอาศัยในเขตเทศบาลหรือเขตเมือง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนกันยายนเปรียบเทียบกับ
ช่วง 3 เดือนแรกของปี(มกราคม-มีนาคม) เดือนเมษายน เดือนพฤษภาคม เดือนมิถุนายน เดือนกรกฎาคม และ
เดือนสิงหาคม เมื่อคะแนนเต็ม 10
ม.ค.-มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย
ภายในประเทศ(Gross Domestic Happiness) 5.47 6.08 6.59 9.21 7.29 6.34 6.30
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสุขต่อสภาพแวดล้อม เปรียบเทียบเดือนมิถุนายน — กันยายน 2549
ความสุขต่อสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย มิถุนายนค่าร้อยละ กรกฎาคมค่าร้อยละ สิงหาคมค่าร้อยละ กันยายนค่าร้อยละ
1.การคมนาคม ถนนหนทาง 54.2 47.6 25.7 22.5
2.ความสะดวกในการใช้โทรศัพท์บ้านในครัวเรือน 40.4 38.6 32.0 35.5
3.สิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ อากาศ ดิน 63.1 53.4 31.9 21.6
4.การบริการด้านไฟฟ้า 57.1 43.4 42.6 39.4
5.น้ำประปา แหล่งน้ำกินน้ำใช้ 34.3 37.4 38.1 36.2
ตารางที่ 3 เปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการ/คาดหวังกับความเป็นจริงที่ได้รับได้เห็นในเรื่อง
ความเป็นธรรมทางสังคม
ลำดับที่ ประเด็นเรื่องความเป็นธรรมทางสังคม ความต้องการ/คาดหวัง ความเป็นจริงที่ได้รับ/ได้เห็น
1 ความเท่าเทียมในการเข้าถึงธรรมชาติ 86.6 49.4
2 ความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการครอบครองทรัพยากร 88.3 47.1
3 ความเท่าเทียมกันในกระบวนการยุติธรรม 81.9 51.5
4 การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยความยุติธรรม 83.5 53.7
ตารางที่ 4 แสงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ หลักธรรมาภิบาลทางการเมือง เปรียบเทียบระหว่างเดือนสิงหาคม
กับเดือนกันยายน
ลำดับที่ ประเด็นหลักธรรมาภิบาลทางการเมือง สิงหาคม กันยายน
1 ความโปร่งใสทางการเมือง 36.8 56.9
2 ความไว้วางใจต่อรัฐบาล 39.9 57.8
3 ความซื่อสัตย์สุจริต 39.0 64.3
4 การมีส่วนร่วมของประชาชน 48.2 46.9
5 การถูกตรวจสอบได้ของรัฐบาล 47.1 55.5
ตารางที่ 5 เปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการ/คาดหวังกับความเป็นจริงที่ได้รับได้เห็นเรื่อง
วัฒนธรรมประเพณีไทยและเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย
ลำดับที่ ประเด็นวัฒนธรรมประเพณีไทย เอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย คาดหวัง เห็นจริง/ได้รับ
1 ความรักความสามัคคี เป็นหนึ่งเดียวกัน 93.6 85.6
2 ความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ 84.2 76.8
3 การช่วยเหลือกันและกันในชุมชน 77.9 69.8
4 ความเสียสละ 78.8 63.9
5 สยามเมืองยิ้ม 69.4 55.6
6 การใช้ชีวิตทางสายกลาง 78.9 35.6
7 ความเป็นอิสระเสรี 98.5 90.7
8 การรักสันโดษ 93.0 55.5
9 ความรับผิดชอบ 98.1 58.6
10 งานบุญงานบวช 59.4 65.8
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สายสัมพันธ์ภายในครอบครัว
ลำดับที่ ประเด็นสายสัมพันธ์ภายในครอบครัว ร้อยละ
1 การอยู่ร่วมกันของคนในครอบครัว 69.3
2 การทำกิจกรรมร่วมกัน 68.4
3 ความเข้าใจ-เห็นอกเห็นใจ 59.4
4 การช่วยกันแก้ปัญหา 58.6
5 การรับฟังปัญหาของกันและกัน 58.2
6 การร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน 54.5
7 ความเป็นประชาธิปไตย 53.9
ตารางที่ 7 เปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขมวลรวมจำแนกตามกลุ่มประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลัก
เศรษฐกิจพอเพียงแบบเคร่งครัดและกลุ่มที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เคร่งครัด
ลำดับที่ ระดับความอยู่เย็นเป็นสุข กลุ่มที่ใช้ชีวิตพอเพียงแบบเคร่งครัด กลุ่มที่ใช้ชีวิตพอเพียงแบบไม่เคร่งครัด
1 มาก/มากที่สุด 57.9 31.4
2 ค่อนข้างมาก 36.4 38.7
3 ค่อนข้างน้อย 1.5 13.2
4 น้อย/ไม่มีเลย 4.2 16.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศจำแนกตามภูมิภาค
เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กรุงเทพมหานคร
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย
ภายในประเทศ(Gross Domestic Happiness) 6.08 6.27 6.58 6.25 6.47
ตารางที่ 9 แสดงความสุขมวลรวมของชาวต่างชาติภายในประเทศประจำเดือนกันยายน เมื่อคะแนนเต็ม 10
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย คะแนนเต็ม 10 ความหมาย
ภายในประเทศประจำเดือนกันยายน (Gross Domestic Happiness, GDH) 6.30 ระดับค่อนข้างดี
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของชาวต่างชาติ
ภายในประเทศประจำเดือนกันยายน (Gross Domestic Happiness, GDH) 7.23 ระดับดี
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างชาวต่างชาติที่ระบุ ปัจจัยที่ทำให้มีความสุขเมื่อพักอาศัยทำงาน
ในประเทศไทย
ลำดับที่ ความสุขเมื่อพักอาศัยทำงานในประเทศไทย ร้อยละ
1 ความสุขกับวัฒนธรรมประเพณีไทย 89.5
2 เห็นคนไทยรักสามัคคีกัน 84.1
3 เห็นคนไทยรักเสรีภาพ 82.0
3 เห็นคนไทยช่วยเหลือกัน 72.6
4 เห็นคนไทยเสียสละ 68.3
5 ทราบว่าคนไทยเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ 60.1
6 ชอบชีวิตความเป็นอยู่แบบไทย เช่น อาหารไทย การใช้ชีวิตพอเพียง เป็นต้น 57.4
7 ชอบเทศกาลรื่นเริงของคนไทย 55.2
8 เห็นคนไทยมีความรับผิดชอบ 48.7
ตารางที่ 11 เปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างระหว่างคนไทยกับชาวต่างชาติที่มาพักอาศัยทำงานในประเทศไทย
และใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงแบบเคร่งครัด
ลำดับที่ ระดับความเข้มข้นของการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คนไทย ชาวต่างชาติ
1 เคร่งครัด 26.1 46.2
2 ปานกลาง 56.6 32.8
3 ไม่เคร่งครัด 17.6 21.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-