ที่มาของโครงการ
วันเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 น่าจะเป็นวันที่สาธารณชน ให้ความสนใจ และจับตามองความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางการเมืองที่จะเกิดขึ้น
มากที่สุด นับตั้งแต่นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาเป็นต้นมา ทั้งนี้เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น ยังไม่มีฝ่ายใดที่จะสามารถสร้างความมั่นใจให้ประชาชน
ได้ว่า จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นจริงในวันนี้ หรือไม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อการเลือกตั้งในครั้งนี้ผ่านพ้นไปแล้ว สิ่งที่สาธารณชนคงจะเฝ้าติดตาม
อย่างใจจดใจจ่อ ก็คือ ทิศทางการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์และความ
รู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์และความเคลื่อนไหวต่างๆทางการเมือง 24 ชั่วโมงก่อนวันเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็น
ประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่ง
อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์และความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการเมือง 24 ชั่วโมงก่อน วันเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการรับตำแหน่ง ส.ส.ของผู้สมัครรับการเลือกตั้ง
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้อง นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “จับตา 24 ชั่วโมงก่อนการเลือกตั้งและทิศทางการ
เมืองหลังการเลือกตั้งในทรรศนะของประชาชน:กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ดำเนินโครงการในวัน
ที่ 1 เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,116 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 58.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 41.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 3.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 18.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 33.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.5 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 22.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.5 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.8 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
และร้อยละ 2.6 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “จับตา 24 ชั่วโมงก่อนการเลือกตั้งและทิศทางการ
เมืองหลังการเลือกตั้งในทรรศนะของประชาชน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,116 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 1 เมษายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการ
สำรวจในครั้งนี้ เป็นดังนี้
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 73.5 ระบุติดตามทุกวัน ร้อยละ 13.3 ระบุติดตาม 3-
4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 9.3 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 3.9 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองไทยในขณะนี้นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 41.7 ระบุคิดว่า
สถานการณ์อยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 43.4 ระบุยังไม่วิกฤต และร้อยละ 14.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับอารมณ์และความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 97.5 ยังให้ความ
สำคัญต่อปัญหาการเมืองขณะนี้อยู่ ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 2.5 ที่ไม่ให้ความสำคัญ ทั้งนี้ร้อยละ 60.8 ระบุรู้สึกวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง ร้อย
ละ 36.9 รู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ 14.9 เกิดความขัดแย้งเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว ร้อยละ 67.7 รู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่อง
การเมือง ร้อยละ 82.6 เรียกร้องให้ยุติการชุมนุม ในขณะที่ร้อยละ 15.6 ระบุต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด และร้อยละ
92.8 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธี
ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อวิธีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 33.7 ระบุเลือกพรรคที่ตั้งใจจะเลือก ใน
ขณะที่ร้อยละ 42.1 ระบุงดลงคะแนน และร้อยละ 24.2 ระบุยังไม่ได้ตัดสินใจ
ประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับผลการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนนี้ก็คือผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อ การรับตำแหน่ง
ส.ส.ของผู้สมัครรับเลือกตั้งในแต่ละเขต กรณีที่คะแนนที่ได้จากการเลือกตั้งน้อยกว่าคะแนนจากการงดออกเสียง ซึ่งพบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3
คือร้อยละ 69.6 ระบุไม่ควรรับตำแหน่งถ้าคะแนนที่ได้น้อยกว่าคะแนนจากการงดออกเสียง ในขณะที่ร้อยละ 10.3 ระบุควรรับตำแหน่ง และร้อย
ละ 20.1ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงสถานการณ์ปัญหาการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง 2 เมษายนนี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ
38.1 ระบุคิดว่าสถานการณ์จะรุนแรงบานปลายมากขึ้น ร้อยละ 32.9 ระบุเหมือนเดิม ในขณะที่ร้อยละ 29.0 ระบุความรุนแรงจะลดลงภายหลังการ
เลือกตั้ง
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ภายหลังการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 นี้นั้นพบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 38.8 ระบุเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 30.5 ระบุไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 30.7 ยังไม่ระบุความคิด
เห็นต่อแนวคิดดังกล่าว
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อแนวคิดที่จะมีการใช้มาตรการเด็ดขาดสลายกลุ่มผู้ชุมนุมหลังการเลือกตั้ง ถึงแม้ว่าจะมี
การชุมนุมอย่างสงบนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 70.4 ระบุไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 14.9 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 14.7
ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อนายกรัฐมนตรีในการยินยอมให้มีการตรวจสอบโดยคณะกรรมการอิสระเรื่องปัญหาในการขายหุ้นชินคอร์ป
นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 75.1 ระบุควรยินยอมให้มีการตรวจสอบ ในขณะที่ร้อยละ 5.7 ระบุไม่ควรยินยม และร้อยละ 19.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้สังคมสงบเรียบร้อย โดยให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาเจรจากันด้วย
สันติวิธี ต้องการให้ยุติการชุมนุมประท้วงของทุกๆ กลุ่ม และต้องการให้มีการตรวจสอบการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปของคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี
“บนอารมณ์ ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชนในขณะนี้ แสดงให้เห็นว่าประชาชนต้องการความสงบ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการ
ความซื่อตรงและโปร่งใสในการปกครองประเทศด้วย ดังนั้นกลุ่มบุคคลชั้นนำของทุกกลุ่มควรนำไปประกอบการพิจารณาตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะทำให้
วิกฤตการเมืองของประเทศกลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ตัดสินใจเป็นคนแรกที่จะตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของ
ประชาชนทุกหมู่เหล่าจะทำให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และพรรคไทยรักไทยได้ใจของประชาชนทั้งในกลุ่มที่สนับสนุนและกลุ่มที่เคยต่อต้าน ส่งผลทำให้คะแนน
นิยมกลับคืนมาเป็นพลังขับเคลื่อนนโยบายสำคัญๆ ของรัฐบาลต่อไป” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดผลสำรวจอื่นๆ ได้ในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 73.5
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 13.3
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 9.3
4 ไม่ได้ติดตามเลย 3.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้ ร้อยละ
1 อยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว 41.7
2 ยังไม่วิกฤต 43.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 14.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การให้ความสำคัญต่อปัญหาการเมืองขณะนี้
การให้ความสำคัญ 9 มี.ค.49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
ให้ความสำคัญต่อปัญหาการเมืองขณะนี้ 94.8 96.6 95.5 97.3 97.5
ไม่ให้ความสำคัญ 5.2 3.4 4.5 2.7 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง
ความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง 4 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
รู้สึกวิตกกังวล 50.7 72.6 74.7 75.3 60.8
ไม่รู้สึกวิตกกังวล/ไม่มีความเห็น 49.3 27.4 25.3 24.7 39.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเครียดต่อเรื่องการเมือง
ความเครียดต่อเรื่องการเมือง 12 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
รู้สึกเครียด 44.9 44.6 45.0 50.8 36.9
ไม่รู้สึกเครียด 55.1 55.4 55.0 49.2 63.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว 6 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
มีความขัดแย้ง 27.7 11.0 12.5 12.2 14.9
ไม่มีความขัดแย้ง 72.3 89.0 87.5 87.8 85.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับเพื่อนบ้าน
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับเพื่อนบ้าน 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
มีความขัดแย้ง 15.0 14.9 18.6 15.8
ไม่มีความขัดแย้ง 85.0 85.1 81.4 84.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนอื่นในที่ทำงาน
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนอื่นในที่ทำงาน 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
มีความขัดแย้ง 15.2 15.1 18.7 18.1
ไม่มีความขัดแย้ง 84.8 84.9 81.3 81.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง
รู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 12 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
เบื่อหน่าย 79.8 73.1 76.0 75.9 67.7
ไม่เบื่อหน่าย 20.2 26.9 24.0 24.1 32.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม
การเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม 9 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
เรียกร้องให้ยุติการชุมนุม 69.4 76.9 78.6 81.3 82.6
ไม่เรียกร้อง 30.6 23.1 21.4 18.7 17.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด
ความต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด 14 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
ต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด 8.4 20.7 19.2 20.4 15.6
ไม่ต้องการ 91.6 79.3 80.8 79.6 84.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี
การเรียกร้อง 9 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธี 92.5 89.0 89.2 90.5 92.8
ไม่เรียกร้อง 7.5 11.0 10.8 9.5 7.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการลงคะแนน ถ้าหากว่าไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
วิธีการลงคะแนน ถ้าหากว่าไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 49 25 มี.ค.49 27 มี.ค.49 29 มี.ค.49 30 มี.ค.49 31 มี.ค.49 1 เม.ย.49
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1.เลือกพรรคที่ตั้งใจจะเลือก 46.0 41.3 38.3 34.6 35.8 33.7
2.งดลงคะแนน 25.6 22.6 22.4 25.4 26.8 42.1
3.ยังไม่ได้ตัดสินใจ 28.4 36.1 39.3 40.0 37.4 24.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการรับตำแหน่ง ส.ส.ของผู้สมัครเลือกตั้ง
ในกรณีที่คะแนนที่ได้จากการเลือกตั้งน้อยกว่าคะแนนจากการงดออกเสียง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรรับตำแหน่ง 10.3
2 ไม่ควรรับตำแหน่ง 69.6
3 ไม่มีความเห็น 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองภายหลังการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 รุนแรงบานปลายมากขึ้น 38.1
2 เหมือนเดิม 32.9
3 ความรุนแรงจะลดลง 29.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
ภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 38.8
2 ไม่เห็นด้วย 30.5
3 ไม่มีความเห็น 30.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดของรัฐบาลที่จะใช้มาตรการเด็ดขาดสลาย
กลุ่มผู้ชุมนุมหลังการเลือกตั้ง ถึงแม้ว่าจะมีการชุมนุมอย่างสงบ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 14.9
2 ไม่เห็นด้วย 70.4
3 ไม่มีความเห็น 14.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อนายกรัฐมนตรีในการยินยอมให้มีการ
ตรวจสอบโดยคณะกรรมการอิสระ เรื่องปัญหาในการขายหุ้นชินคอร์ป
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรยอมให้มีการตรวจสอบ 75.1
2 ไม่ควร 5.7
3 ไม่มีความคิดเห็น 19.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
วันเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 น่าจะเป็นวันที่สาธารณชน ให้ความสนใจ และจับตามองความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางการเมืองที่จะเกิดขึ้น
มากที่สุด นับตั้งแต่นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาเป็นต้นมา ทั้งนี้เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น ยังไม่มีฝ่ายใดที่จะสามารถสร้างความมั่นใจให้ประชาชน
ได้ว่า จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นจริงในวันนี้ หรือไม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อการเลือกตั้งในครั้งนี้ผ่านพ้นไปแล้ว สิ่งที่สาธารณชนคงจะเฝ้าติดตาม
อย่างใจจดใจจ่อ ก็คือ ทิศทางการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์และความ
รู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์และความเคลื่อนไหวต่างๆทางการเมือง 24 ชั่วโมงก่อนวันเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็น
ประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่ง
อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์และความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการเมือง 24 ชั่วโมงก่อน วันเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการรับตำแหน่ง ส.ส.ของผู้สมัครรับการเลือกตั้ง
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้อง นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “จับตา 24 ชั่วโมงก่อนการเลือกตั้งและทิศทางการ
เมืองหลังการเลือกตั้งในทรรศนะของประชาชน:กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ดำเนินโครงการในวัน
ที่ 1 เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,116 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 58.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 41.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 3.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 18.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 33.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.5 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 22.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.5 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.8 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
และร้อยละ 2.6 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “จับตา 24 ชั่วโมงก่อนการเลือกตั้งและทิศทางการ
เมืองหลังการเลือกตั้งในทรรศนะของประชาชน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,116 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 1 เมษายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการ
สำรวจในครั้งนี้ เป็นดังนี้
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 73.5 ระบุติดตามทุกวัน ร้อยละ 13.3 ระบุติดตาม 3-
4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 9.3 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 3.9 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองไทยในขณะนี้นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 41.7 ระบุคิดว่า
สถานการณ์อยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 43.4 ระบุยังไม่วิกฤต และร้อยละ 14.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับอารมณ์และความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 97.5 ยังให้ความ
สำคัญต่อปัญหาการเมืองขณะนี้อยู่ ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 2.5 ที่ไม่ให้ความสำคัญ ทั้งนี้ร้อยละ 60.8 ระบุรู้สึกวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง ร้อย
ละ 36.9 รู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ 14.9 เกิดความขัดแย้งเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว ร้อยละ 67.7 รู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่อง
การเมือง ร้อยละ 82.6 เรียกร้องให้ยุติการชุมนุม ในขณะที่ร้อยละ 15.6 ระบุต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด และร้อยละ
92.8 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธี
ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อวิธีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 33.7 ระบุเลือกพรรคที่ตั้งใจจะเลือก ใน
ขณะที่ร้อยละ 42.1 ระบุงดลงคะแนน และร้อยละ 24.2 ระบุยังไม่ได้ตัดสินใจ
ประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับผลการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนนี้ก็คือผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อ การรับตำแหน่ง
ส.ส.ของผู้สมัครรับเลือกตั้งในแต่ละเขต กรณีที่คะแนนที่ได้จากการเลือกตั้งน้อยกว่าคะแนนจากการงดออกเสียง ซึ่งพบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3
คือร้อยละ 69.6 ระบุไม่ควรรับตำแหน่งถ้าคะแนนที่ได้น้อยกว่าคะแนนจากการงดออกเสียง ในขณะที่ร้อยละ 10.3 ระบุควรรับตำแหน่ง และร้อย
ละ 20.1ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงสถานการณ์ปัญหาการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง 2 เมษายนนี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ
38.1 ระบุคิดว่าสถานการณ์จะรุนแรงบานปลายมากขึ้น ร้อยละ 32.9 ระบุเหมือนเดิม ในขณะที่ร้อยละ 29.0 ระบุความรุนแรงจะลดลงภายหลังการ
เลือกตั้ง
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ภายหลังการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 นี้นั้นพบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 38.8 ระบุเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 30.5 ระบุไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 30.7 ยังไม่ระบุความคิด
เห็นต่อแนวคิดดังกล่าว
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อแนวคิดที่จะมีการใช้มาตรการเด็ดขาดสลายกลุ่มผู้ชุมนุมหลังการเลือกตั้ง ถึงแม้ว่าจะมี
การชุมนุมอย่างสงบนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 70.4 ระบุไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 14.9 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 14.7
ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อนายกรัฐมนตรีในการยินยอมให้มีการตรวจสอบโดยคณะกรรมการอิสระเรื่องปัญหาในการขายหุ้นชินคอร์ป
นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 75.1 ระบุควรยินยอมให้มีการตรวจสอบ ในขณะที่ร้อยละ 5.7 ระบุไม่ควรยินยม และร้อยละ 19.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้สังคมสงบเรียบร้อย โดยให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาเจรจากันด้วย
สันติวิธี ต้องการให้ยุติการชุมนุมประท้วงของทุกๆ กลุ่ม และต้องการให้มีการตรวจสอบการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปของคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี
“บนอารมณ์ ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชนในขณะนี้ แสดงให้เห็นว่าประชาชนต้องการความสงบ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการ
ความซื่อตรงและโปร่งใสในการปกครองประเทศด้วย ดังนั้นกลุ่มบุคคลชั้นนำของทุกกลุ่มควรนำไปประกอบการพิจารณาตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะทำให้
วิกฤตการเมืองของประเทศกลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ตัดสินใจเป็นคนแรกที่จะตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของ
ประชาชนทุกหมู่เหล่าจะทำให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และพรรคไทยรักไทยได้ใจของประชาชนทั้งในกลุ่มที่สนับสนุนและกลุ่มที่เคยต่อต้าน ส่งผลทำให้คะแนน
นิยมกลับคืนมาเป็นพลังขับเคลื่อนนโยบายสำคัญๆ ของรัฐบาลต่อไป” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดผลสำรวจอื่นๆ ได้ในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 73.5
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 13.3
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 9.3
4 ไม่ได้ติดตามเลย 3.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้ ร้อยละ
1 อยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว 41.7
2 ยังไม่วิกฤต 43.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 14.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การให้ความสำคัญต่อปัญหาการเมืองขณะนี้
การให้ความสำคัญ 9 มี.ค.49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
ให้ความสำคัญต่อปัญหาการเมืองขณะนี้ 94.8 96.6 95.5 97.3 97.5
ไม่ให้ความสำคัญ 5.2 3.4 4.5 2.7 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง
ความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง 4 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
รู้สึกวิตกกังวล 50.7 72.6 74.7 75.3 60.8
ไม่รู้สึกวิตกกังวล/ไม่มีความเห็น 49.3 27.4 25.3 24.7 39.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเครียดต่อเรื่องการเมือง
ความเครียดต่อเรื่องการเมือง 12 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
รู้สึกเครียด 44.9 44.6 45.0 50.8 36.9
ไม่รู้สึกเครียด 55.1 55.4 55.0 49.2 63.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว 6 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
มีความขัดแย้ง 27.7 11.0 12.5 12.2 14.9
ไม่มีความขัดแย้ง 72.3 89.0 87.5 87.8 85.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับเพื่อนบ้าน
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับเพื่อนบ้าน 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
มีความขัดแย้ง 15.0 14.9 18.6 15.8
ไม่มีความขัดแย้ง 85.0 85.1 81.4 84.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนอื่นในที่ทำงาน
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนอื่นในที่ทำงาน 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
มีความขัดแย้ง 15.2 15.1 18.7 18.1
ไม่มีความขัดแย้ง 84.8 84.9 81.3 81.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง
รู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 12 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
เบื่อหน่าย 79.8 73.1 76.0 75.9 67.7
ไม่เบื่อหน่าย 20.2 26.9 24.0 24.1 32.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม
การเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม 9 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
เรียกร้องให้ยุติการชุมนุม 69.4 76.9 78.6 81.3 82.6
ไม่เรียกร้อง 30.6 23.1 21.4 18.7 17.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด
ความต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด 14 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
ต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด 8.4 20.7 19.2 20.4 15.6
ไม่ต้องการ 91.6 79.3 80.8 79.6 84.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี
การเรียกร้อง 9 มี.ค. 49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค.49 1 เม.ย 49
เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธี 92.5 89.0 89.2 90.5 92.8
ไม่เรียกร้อง 7.5 11.0 10.8 9.5 7.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการลงคะแนน ถ้าหากว่าไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
วิธีการลงคะแนน ถ้าหากว่าไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 49 25 มี.ค.49 27 มี.ค.49 29 มี.ค.49 30 มี.ค.49 31 มี.ค.49 1 เม.ย.49
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1.เลือกพรรคที่ตั้งใจจะเลือก 46.0 41.3 38.3 34.6 35.8 33.7
2.งดลงคะแนน 25.6 22.6 22.4 25.4 26.8 42.1
3.ยังไม่ได้ตัดสินใจ 28.4 36.1 39.3 40.0 37.4 24.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการรับตำแหน่ง ส.ส.ของผู้สมัครเลือกตั้ง
ในกรณีที่คะแนนที่ได้จากการเลือกตั้งน้อยกว่าคะแนนจากการงดออกเสียง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรรับตำแหน่ง 10.3
2 ไม่ควรรับตำแหน่ง 69.6
3 ไม่มีความเห็น 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองภายหลังการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 รุนแรงบานปลายมากขึ้น 38.1
2 เหมือนเดิม 32.9
3 ความรุนแรงจะลดลง 29.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
ภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 38.8
2 ไม่เห็นด้วย 30.5
3 ไม่มีความเห็น 30.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดของรัฐบาลที่จะใช้มาตรการเด็ดขาดสลาย
กลุ่มผู้ชุมนุมหลังการเลือกตั้ง ถึงแม้ว่าจะมีการชุมนุมอย่างสงบ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 14.9
2 ไม่เห็นด้วย 70.4
3 ไม่มีความเห็น 14.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อนายกรัฐมนตรีในการยินยอมให้มีการ
ตรวจสอบโดยคณะกรรมการอิสระ เรื่องปัญหาในการขายหุ้นชินคอร์ป
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรยอมให้มีการตรวจสอบ 75.1
2 ไม่ควร 5.7
3 ไม่มีความคิดเห็น 19.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-