โครงการสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานรับจ้าง/ใช้แรงงานในประเทศไทย :
กรณีศึกษาคนไทยใน 11 จังหวัดทุกภาคของประเทศ” ครั้งนี้ จัดทำโดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ The International Labour Organization (ILO) และ กองทุนเพื่อพัฒนาสตรีแห่งสหประชาชาติ
หรือ The United Nations Development Fund for Woman (UNIFEM) ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้น
ไปจาก 11 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,148 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 25 พ.ย.-1 ธ.ค. 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้น
พบจากการสำรวจในครั้งนี้ คือ
1. คนไทยยังไม่เห็นด้วยที่จะให้แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวมีสิทธิประโยชน์เทียบเท่ากับแรงงานไทย ไม่ว่าจะเป็นการทำงานได้ทุก
ประเภท การแสดงออกทางความคิดอย่างเป็นอิสระ และการทำงานภายใต้เงื่อนไข และค่าตอบแทนเดียวกัน
จากผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างไม่เห็นด้วยที่จะให้แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว สามารถสมัครทำงานทุกประเภทในประเทศไทยได้ (ร้อย
ละ 67.3) และไม่เห็นด้วยที่แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว ได้รับอนุญาตให้ แสดงออกทางความคิดอย่างเป็นอิสระ (ร้อยละ 59.7) และไม่เห็นด้วยที่
แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวมีลักษณะการทำงานภายใต้เงื่อนไข และค่าตอบแทนเดียวกันกับแรงงานไทย (ร้อยละ 50.3)
อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามถึงเงื่อนไขหรือข้อกำหนดที่แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวควรจะได้รับเหมือนกับแรงงานไทยมากที่สุด คือ ชั่วโมง
การทำงานที่ควรเท่ากับแรงงานไทย (ร้อยละ 79.9) รองลงมาคือ จำนวนวันหยุด (ร้อยละ 75.9) และประกันสังคม (ร้อยละ 52.7) สำหรับ
เงินเดือนของแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวนั้น มีเพียงร้อยละ 40 ที่ระบุว่าควรได้รับเท่ากับแรงงานไทย ขณะที่ร้อยละ 60 บอกว่าไม่ควรได้เงินเดือน
เท่ากับแรงงานไทย โดยให้เหตุผลว่า แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวมีทักษะหรือความชำนาญน้อยกว่า ไม่สามารถสื่อสารพูดคุยได้ และค่าจ้างภายใน
ประเทศไทยนั้นดีกว่าแล้ว เป็นต้น
2. การรับรู้รับทราบต่อนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวของคนไทยยังค่อนข้างน้อย มีเพียงเรื่อง “การขึ้น
ทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ของแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว” ที่คนไทยรู้มากที่สุด
จากผลสำรวจพบว่า มีเพียง 3 นโยบายเท่านั้นที่ตัวอย่างรู้เกินกว่าครึ่งหนึ่ง นั่นคือ นโยบายเรื่อง “แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว จะต้องมี
การขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย” (ร้อยละ 84.4 ที่ระบุว่ารู้), นโยบายเรื่อง “แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว จะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือนกับ
แรงงานไทย โดยอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน” (ร้อยละ 58.7 ที่ระบุว่ารู้), และนโยบายเรื่อง “แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จะ
ได้รับการดูแลทางด้านสุขภาพ” (ร้อยละ 50.9 ที่ระบุว่ารู้)
สำหรับนโยบายอื่นๆ ที่นอกเหนือจากนี้ ตัวอย่างยังไม่รู้/ไม่ทราบ อย่างเช่น บุตรของแรงงานต่างด้าวได้รับอนุญาตให้มีสิทธิเรียนหนังสือ
ในระบบการศึกษาไทยระดับขั้นพื้นฐาน แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว นายจ้างจะต้องมีการทำสัญญาว่าจ้างร่วมกับแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว เพื่อที่จะ
ให้สิทธิในการทำงานระยะยาว และแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว ไม่สามารถรวมกลุ่ม/รวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานได้ เป็นต้น
3. คนไทยยังไม่เห็นความสำคัญและความจำเป็น ของแรงงานข้ามชาติ หรือแรงงานต่างด้าว ต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพราะ กว่า
ครึ่งหนึ่งเห็นว่ายังไม่ควรเปิดเสรีเพื่อรับแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยเพิ่มขึ้น และโดยส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 เห็นว่า
จะมีผลกระทบต่อแรงงานไทย ถ้าหากรัฐบาลไทยเปิดเสรีเพื่อรับแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวเข้ามาทำงานมากขึ้น
ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 58.6 คิดว่ายังไม่ควรเปิดเสรีเพื่อรับแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวเข้ามาทำงานเพิ่มขึ้น ขณะที่มีเพียงร้อย
ละ 9.7 ที่เห็นว่าควรเปิดเสรี และร้อยละ 31.7 ไม่มีความเห็นในประเด็นดังกล่าว
นอกจากนี้ตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 82.5 ระบุว่าจะมีผลกระทบต่อแรงงานไทย ถ้าหากรัฐบาลไทยเปิดเสรีเพื่อรับแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว
เข้ามาทำงานมากขึ้น โดยให้เหตุผลว่าจะทำให้แรงงานไทยหางานยากขึ้น ทำให้นายจ้างให้ความสำคัญต่อแรงงานไทยน้อยลง และค่าแรงค่าจ้างลด
ลง เป็นต้น
4. คนไทยส่วนใหญ่รับรู้เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวในด้านลบจากสื่อต่างๆ จนเกิดความรู้สึกไม่ไว้วางใจ ทั้งที่มีความเห็น
ว่าจุดดีของแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวก็มี คือ เรื่องความขยัน อดทนในการทำงาน
ข้อน่าสังเกตุสำคัญประการหนึ่งของสาเหตุที่ทำให้คนไทยมีทัศนคติต่อแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวในทิศทางที่ลบ อาจสืบเนื่องมาจากการรับรู้
ข่าวสารจากสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 79.4 รับรู้เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวนั้น เข้าไปเกี่ยวข้องกับ
อาชญากรรมในประเทศไทย ดังนั้นจึงทำให้ความไว้วางใจค่อนข้างต่ำ
ในขณะที่ตัวอย่างกว่าร้อยละ 70 คิดว่าแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว มีความขยันและอดทนในการทำงานมาก ขณะเดียวกันคิดว่าแรงงาน
ข้ามข้ามชาติ/ต่างด้าวมีความซื่อสัตย์ สุจริต และความจงรักภักดีต่อนายจ้างค่อนข้างน้อย (ร้อยละ 58.4, และร้อยละ 57.5 ตามลำดับ)
5. คนไทยยังไม่แน่ใจว่ารัฐบาลไทยให้ความคุ้มครองต่อแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวที่ดีพอแล้วหรือยัง แต่สิ่งที่คิดว่าจะกระทำมากที่สุด ถ้า
หากพบเห็นแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวถูกกระทำไม่ดี/ทารุณจากนายจ้าง นั่นคือ การแจ้งตำรวจ
จากผลสำรวจพบว่า มีเพียงร้อยละ 39.3 ที่ระบุว่ารัฐบาลไทยให้ความคุ้มครองที่ดีพอเพียงแล้ว ต่อแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว กรณีที่นาย
จ้างกระทำไม่ดี/ทารุณ/โกงค่าแรงงาน ฯลฯ ขณะที่ร้อยละ 34.0 คิดว่ายังไม่เพียงพอ และร้อยละ 26.7 ไม่มีความเห็น
ในกรณีเดียวกัน ถ้าหากตัวอย่างพบเห็นแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวถูกกระทำไม่ดี/ทารุณจากนายจ้าง สิ่งที่ตัวอย่างจะกระทำมากที่สุด
คือ การแจ้งตำรวจ (ร้อยละ 61.1) รองลงมาคือ แจ้งต่อหน่วยงานที่เกียวข้อง เช่น องค์กรเอกชน, องค์กรภารรัฐที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 47.6)
และพูดคุยกับนาจ้างคนนั้นเพื่อหยุดการกระทำดังกล่าว (ร้อยละ 24.7) เป็นต้น
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไป ตัวอย่างร้อยละ 51.2 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 48.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 18.0 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 24.0 อายุระหว่าง 26-35 ปี ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 36-45 ปี ร้อยละ 17.2 อายุระหว่าง
46-55 ปี และร้อยละ 18.0 อายุ 56 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 59.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 20.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอน
ปลายหรือเทียบเท่า/ปวช. ร้อยละ 6.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า/ปวส. ร้อยละ 12.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ตรี และร้อยละ 0.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 29.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 20.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.8 ระบุอาชีพ
เกษตรกร/ชาวนา/ชาวประมง ร้อยละ 8.0 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 5.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 5.4 ระบุอาชีพข้า
ราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 5.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 4.9 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพใด ๆ และ ร้อยละ 0.9 ระบุอาชีพทำงาน
ในโรงงานอุตสาหกรรม
ตัวอย่างร้อยละ 48.6 ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 28.1 ระบุรายได้ 5,001-9,999 บาท ร้อยละ
11.8 ระบุรายได้ 10,000-14,999 บาท ร้อยละ 9.7 ระบุรายได้มากกว่า 15,000 บาทขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 21.7 ระบุรายได้ครัวเรือนต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 30.1 ระบุรายได้ 5,001-9,999 บาท ร้อยละ
20.6 ระบุรายได้ 10,000-14,999 บาท ร้อยละ 26.9 ระบุรายได้มากกว่า 15,000 บาทขึ้นไป
สำหรับเขตที่พักอาศัย ตัวอย่างร้อยละ 67.8 ระบุว่าอยู่นอกเขตเทศบาล ร้อยละ 23.0 พักในเขตเมือง/เทศบาล และร้อยละ 9.2
อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ/ แรงงาน
ต่างด้าวที่เข้ามาทำงานรับจ้าง/ใช้แรงงานในประเทศไทย” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 25 พ.ย.-1 ธ.ค. 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 11 จังหวัดทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
จังหวัดในการสำรวจ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ ลพบุรี สุโขทัย เชียงใหม่ นครพนม สุรินทน์
ขอนแก่น ภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 4,148 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ + / - ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งโครงการสำรวจครั้งนี้ได้รับการสนับ
สนุนจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ The International Labour Organization (ILO) และ กองทุนเพื่อพัฒนาสตรีแห่งสหประชา
ชาติ หรือ The United Nations Development Fund for Woman (UNIFEM)
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานรับจ้าง/
ใช้แรงงานในประเทศไทย
ความคิดเห็นต่อ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
-แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวสามารถสมัครทำงานทุกประเภทในประเทศไทยได้ 24.8 67.3 7.9
-แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวควรที่จะมีลักษณะการทำงานภายใต้เงื่อนไข
และค่าตอบแทนเดียวกันกับแรงงานไทย (ตามกฎหมายแรงงาน) 41.7 50.3 8.0
-แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว ควรได้รับอนุญาตให้แสดงออกทางความคิดอย่างเป็นอิสระ 30.6 59.7 9.7
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเงื่อนไข/ข้อกำหนดของแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวที่ควรจะได้รับ
กรณีที่ทำงานในตำแหน่ง/หน้าที่เดียวกันกับแรงงานไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
เงื่อนไข/ข้อกำหนดของแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวที่ควรจะได้รับ ร้อยละ
ควรมีชั่วโมงการทำงานเหมือนกับแรงงานไทย 79.9
ควรมีจำนวนวันหยุดเหมือนกับแรงงานไทย 75.9
ควรมีประกันสังคมเหมือนกับแรงงานไทย 52.7
ควรได้รับเงินเดือนเหมือนกับแรงงานไทย 40.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรู้/ทราบนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว
นโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว รู้ ไม่รู้
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว จะต้องมีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 84.4 15.6
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว จะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือนกับแรงงานไทย โดยอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน 58.7 41.3
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จะได้รับการดูแลทางด้านสุขภาพ 50.9 49.1
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว ไม่สามารถออกจากจังหวัดที่พวกเค้าทำงานอยู่ได้ถ้าหากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่น 43.5 56.5
นายจ้างจะต้องมีการทำสัญญาว่าจ้างร่วมกับแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวเพื่อที่จะให้สิทธิในการทำงานระยะยาว (โดยประมาณ 2 ปี) 41.6 58.4
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวไม่สามารถเปลี่ยนนายจ้าง หรือสถานที่ทำงานได้ถ้าหากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่น 40.7 59.3
บุตรของแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวได้มีสิทธิเรียนหนังสือในระบบการศึกษาไทยในขั้นพื้นฐานได้ 34.2 65.8
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวไม่สามารถรวมกลุ่ม/รวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานได้ 27.2 72.8
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ/ แรงงานต่างด้าว
(เฉพาะตัวอย่างที่รู้ต่อนโยบายต่างๆ )
ความคิดเห็นต่อนโยบายต่างๆ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว จะต้องมีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 89.9 7.4 2.7
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว จะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือนกับแรงงานไทย โดยอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน 88.3 9.4 2.3
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จะได้รับการดูแลทางด้านสุขภาพ 90.7 7.0 2.3
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว ไม่สามารถออกจากจังหวัดที่พวกเค้าทำงานอยู่ได้ ถ้าหากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่น 87.1 10.6 2.3
นายจ้างจะต้องมีการทำสัญญาว่าจ้างร่วมกับแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว เพื่อที่จะให้สิทธิในการทำงานระยะยาว(โดยประมาณ 2 ปี) 84.9 11.8 3.3
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว ไม่สามารถเปลี่ยนนายจ้าง หรือสถานที่ทำงานได้ ถ้าหากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่น 86.4 10.9 2.7
บุตรของแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว ได้มีสิทธิเรียนหนังสือในระบบการศึกษาไทย ในขั้นพื้นฐานได้ 81.4 16.1 2.5
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว ไม่สามารถรวมกลุ่ม/รวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานได้ 77.3 18.5 4.2
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลไทยว่าควรเปิดเสรีเพื่อรับแรงงานข้ามชาติ/แรงงาน
ต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศเพิ่มมากขึ้นหรือไม่
ความคิดเห็น ร้อยละ
ควรเปิดเสรี 9.7
ไม่ควรเปิดเสรี 58.6
ไม่มีความเห็น 31.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่าจะมีผลกระทบต่อแรงงานไทยหรือไม่
ถ้าหากรัฐบาลไทยเปิดเสรีเพื่อรับแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศมากขึ้น
ความคิดเห็น ร้อยละ
มีผลกระทบต่อแรงงานไทย 82.5
ไม่มีผลกระทบต่อแรงงานไทย 5.2
ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับแรงงานไทย กรณีรัฐบาลไทยเปิดเสรีเพื่อรับแรงงานข้ามชาติ/
แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศมากขึ้น (เฉพาะตัวอย่างที่คิดว่ามีผลกระทบ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ผลกระทบต่อแรงงานไทย ร้อยละ
ทำให้แรงงานไทยหางานยากขึ้น 87.7
ทำให้นายจ้างให้ความสำคัญต่อแรงงานไทยลดน้อยลง เนื่องจากมีแรงงานให้เลือกค่อนข้างมาก 76.3
ทำให้แรงงานไทยได้รับค่าแรง/ค่าจ้างลดลง 65.4
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข่าวสารที่เคยเห็น/ได้ยินจากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว
ที่เข้ามาทำงานรับจ้าง/ใช้แรงงาน (เฉพาะคนที่เคยเห็น/เคยได้ยินข่าวสาร และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ข่าวสารที่เคยเห็น/เคยได้ยินจากสื่อต่างๆ ร้อยละ
-แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว เข้าไปเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมในประเทศไทย 79.4
-แรงงานข้ามชาติ / แรงงานต่างด้าว มีความขยัน อดทน และทำงานหนัก 49.1
-นายจ้าง/สถานประกอบการ กระทำการทารุณ/กระทำไม่ดี/โกงค่าจ้าง/ทำร้ายร่างกาย
ต่อแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว ที่ใช้แรงงาน/รับจ้างตามโรงงาน การประมง การก่อสร้าง
รับจ้างเกษตรกรรมต่างๆ หรือรับจ้างแรงงานตามร้านค้า เป็นต้น 41.4
-แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว เป็นพาหะของโรคติดต่อร้ายแรงต่างๆ 38.8
-นายจ้าง/เจ้าของบ้าน กระทำการทารุณ/กระทำไม่ดี/โกงค่าจ้าง/ทำร้ายร่างกายต่อแรงงานข้ามชาติ/
แรงงานต่างด้าว ที่ทำความสะอาดตามบ้าน/รับจ้างทำงานบ้าน 29.1
-เจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการทารุณ/กระทำไม่ดี/กลั่นแกล้ง/ทำร้ายร่างกาย/ขูดรีด
ต่อแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว 27.5
-แรงงานข้ามชาติ / แรงงานต่างด้าว มีความจงรักภักดีต่อนายจ้าง 20.9
-แรงงานข้ามชาติ / แรงงานต่างด้าว มีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย 11.4
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการประเมินคุณสมบัติของแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวตามความคิดเห็น
คุณสมบัติของแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว มาก/ค่อนข้างมาก น้อย/ค่อนข้างน้อย ไม่มีความเห็น
ความขยัน / อดทน 73.8 13.4 12.8
ความซื่อสัตย์ สุจริต 19.4 58.4 22.2
ความจงรักภักดีต่อนายจ้าง 19.9 57.5 22.6
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลไทยในการให้ความคุ้มครองที่ดีพอแล้วหรือยัง
ต่อแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว กรณีที่นายจ้างกระทำไม่ดี/ทารุณ/โกงค่าแรงงาน ฯลฯ
ความคิดเห็น ร้อยละ
ให้ความคุ้มครองดีเพียงพอแล้ว 39.3
ยังไม่เพียงพอ 34.0
ไม่มีความเห็น 26.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่จะกระทำ เมื่อพบเห็นเหตุการณ์ที่แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว
ถูกกระทำไม่ดี/ถูกทารุณจากนายจ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
สิ่งที่จะกระทำเมื่อพบเห็นเหตุการณ์ ร้อยละ
แจ้งตำรวจ 61.1
แจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรเอกชน, องค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 47.6
พูดคุยกับนายจ้างคนนั้นเพื่อหยุดการกระทำดังกล่าว 24.7
แจ้งเบาะแสต่อสื่อต่างๆ เช่น รายการวิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น 23.5
ไม่รู้จะทำอย่างไร / อยู่เฉยๆ 15.1
ช่วยแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวคนนั้นหนี 4.5
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
กรณีศึกษาคนไทยใน 11 จังหวัดทุกภาคของประเทศ” ครั้งนี้ จัดทำโดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ The International Labour Organization (ILO) และ กองทุนเพื่อพัฒนาสตรีแห่งสหประชาชาติ
หรือ The United Nations Development Fund for Woman (UNIFEM) ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้น
ไปจาก 11 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,148 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 25 พ.ย.-1 ธ.ค. 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้น
พบจากการสำรวจในครั้งนี้ คือ
1. คนไทยยังไม่เห็นด้วยที่จะให้แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวมีสิทธิประโยชน์เทียบเท่ากับแรงงานไทย ไม่ว่าจะเป็นการทำงานได้ทุก
ประเภท การแสดงออกทางความคิดอย่างเป็นอิสระ และการทำงานภายใต้เงื่อนไข และค่าตอบแทนเดียวกัน
จากผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างไม่เห็นด้วยที่จะให้แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว สามารถสมัครทำงานทุกประเภทในประเทศไทยได้ (ร้อย
ละ 67.3) และไม่เห็นด้วยที่แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว ได้รับอนุญาตให้ แสดงออกทางความคิดอย่างเป็นอิสระ (ร้อยละ 59.7) และไม่เห็นด้วยที่
แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวมีลักษณะการทำงานภายใต้เงื่อนไข และค่าตอบแทนเดียวกันกับแรงงานไทย (ร้อยละ 50.3)
อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามถึงเงื่อนไขหรือข้อกำหนดที่แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวควรจะได้รับเหมือนกับแรงงานไทยมากที่สุด คือ ชั่วโมง
การทำงานที่ควรเท่ากับแรงงานไทย (ร้อยละ 79.9) รองลงมาคือ จำนวนวันหยุด (ร้อยละ 75.9) และประกันสังคม (ร้อยละ 52.7) สำหรับ
เงินเดือนของแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวนั้น มีเพียงร้อยละ 40 ที่ระบุว่าควรได้รับเท่ากับแรงงานไทย ขณะที่ร้อยละ 60 บอกว่าไม่ควรได้เงินเดือน
เท่ากับแรงงานไทย โดยให้เหตุผลว่า แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวมีทักษะหรือความชำนาญน้อยกว่า ไม่สามารถสื่อสารพูดคุยได้ และค่าจ้างภายใน
ประเทศไทยนั้นดีกว่าแล้ว เป็นต้น
2. การรับรู้รับทราบต่อนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวของคนไทยยังค่อนข้างน้อย มีเพียงเรื่อง “การขึ้น
ทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ของแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว” ที่คนไทยรู้มากที่สุด
จากผลสำรวจพบว่า มีเพียง 3 นโยบายเท่านั้นที่ตัวอย่างรู้เกินกว่าครึ่งหนึ่ง นั่นคือ นโยบายเรื่อง “แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว จะต้องมี
การขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย” (ร้อยละ 84.4 ที่ระบุว่ารู้), นโยบายเรื่อง “แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว จะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือนกับ
แรงงานไทย โดยอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน” (ร้อยละ 58.7 ที่ระบุว่ารู้), และนโยบายเรื่อง “แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จะ
ได้รับการดูแลทางด้านสุขภาพ” (ร้อยละ 50.9 ที่ระบุว่ารู้)
สำหรับนโยบายอื่นๆ ที่นอกเหนือจากนี้ ตัวอย่างยังไม่รู้/ไม่ทราบ อย่างเช่น บุตรของแรงงานต่างด้าวได้รับอนุญาตให้มีสิทธิเรียนหนังสือ
ในระบบการศึกษาไทยระดับขั้นพื้นฐาน แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว นายจ้างจะต้องมีการทำสัญญาว่าจ้างร่วมกับแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว เพื่อที่จะ
ให้สิทธิในการทำงานระยะยาว และแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว ไม่สามารถรวมกลุ่ม/รวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานได้ เป็นต้น
3. คนไทยยังไม่เห็นความสำคัญและความจำเป็น ของแรงงานข้ามชาติ หรือแรงงานต่างด้าว ต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพราะ กว่า
ครึ่งหนึ่งเห็นว่ายังไม่ควรเปิดเสรีเพื่อรับแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยเพิ่มขึ้น และโดยส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 เห็นว่า
จะมีผลกระทบต่อแรงงานไทย ถ้าหากรัฐบาลไทยเปิดเสรีเพื่อรับแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวเข้ามาทำงานมากขึ้น
ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 58.6 คิดว่ายังไม่ควรเปิดเสรีเพื่อรับแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวเข้ามาทำงานเพิ่มขึ้น ขณะที่มีเพียงร้อย
ละ 9.7 ที่เห็นว่าควรเปิดเสรี และร้อยละ 31.7 ไม่มีความเห็นในประเด็นดังกล่าว
นอกจากนี้ตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 82.5 ระบุว่าจะมีผลกระทบต่อแรงงานไทย ถ้าหากรัฐบาลไทยเปิดเสรีเพื่อรับแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว
เข้ามาทำงานมากขึ้น โดยให้เหตุผลว่าจะทำให้แรงงานไทยหางานยากขึ้น ทำให้นายจ้างให้ความสำคัญต่อแรงงานไทยน้อยลง และค่าแรงค่าจ้างลด
ลง เป็นต้น
4. คนไทยส่วนใหญ่รับรู้เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวในด้านลบจากสื่อต่างๆ จนเกิดความรู้สึกไม่ไว้วางใจ ทั้งที่มีความเห็น
ว่าจุดดีของแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวก็มี คือ เรื่องความขยัน อดทนในการทำงาน
ข้อน่าสังเกตุสำคัญประการหนึ่งของสาเหตุที่ทำให้คนไทยมีทัศนคติต่อแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวในทิศทางที่ลบ อาจสืบเนื่องมาจากการรับรู้
ข่าวสารจากสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 79.4 รับรู้เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวนั้น เข้าไปเกี่ยวข้องกับ
อาชญากรรมในประเทศไทย ดังนั้นจึงทำให้ความไว้วางใจค่อนข้างต่ำ
ในขณะที่ตัวอย่างกว่าร้อยละ 70 คิดว่าแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว มีความขยันและอดทนในการทำงานมาก ขณะเดียวกันคิดว่าแรงงาน
ข้ามข้ามชาติ/ต่างด้าวมีความซื่อสัตย์ สุจริต และความจงรักภักดีต่อนายจ้างค่อนข้างน้อย (ร้อยละ 58.4, และร้อยละ 57.5 ตามลำดับ)
5. คนไทยยังไม่แน่ใจว่ารัฐบาลไทยให้ความคุ้มครองต่อแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวที่ดีพอแล้วหรือยัง แต่สิ่งที่คิดว่าจะกระทำมากที่สุด ถ้า
หากพบเห็นแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวถูกกระทำไม่ดี/ทารุณจากนายจ้าง นั่นคือ การแจ้งตำรวจ
จากผลสำรวจพบว่า มีเพียงร้อยละ 39.3 ที่ระบุว่ารัฐบาลไทยให้ความคุ้มครองที่ดีพอเพียงแล้ว ต่อแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว กรณีที่นาย
จ้างกระทำไม่ดี/ทารุณ/โกงค่าแรงงาน ฯลฯ ขณะที่ร้อยละ 34.0 คิดว่ายังไม่เพียงพอ และร้อยละ 26.7 ไม่มีความเห็น
ในกรณีเดียวกัน ถ้าหากตัวอย่างพบเห็นแรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าวถูกกระทำไม่ดี/ทารุณจากนายจ้าง สิ่งที่ตัวอย่างจะกระทำมากที่สุด
คือ การแจ้งตำรวจ (ร้อยละ 61.1) รองลงมาคือ แจ้งต่อหน่วยงานที่เกียวข้อง เช่น องค์กรเอกชน, องค์กรภารรัฐที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 47.6)
และพูดคุยกับนาจ้างคนนั้นเพื่อหยุดการกระทำดังกล่าว (ร้อยละ 24.7) เป็นต้น
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไป ตัวอย่างร้อยละ 51.2 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 48.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 18.0 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 24.0 อายุระหว่าง 26-35 ปี ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 36-45 ปี ร้อยละ 17.2 อายุระหว่าง
46-55 ปี และร้อยละ 18.0 อายุ 56 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 59.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 20.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอน
ปลายหรือเทียบเท่า/ปวช. ร้อยละ 6.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า/ปวส. ร้อยละ 12.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ตรี และร้อยละ 0.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 29.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 20.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.8 ระบุอาชีพ
เกษตรกร/ชาวนา/ชาวประมง ร้อยละ 8.0 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 5.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 5.4 ระบุอาชีพข้า
ราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 5.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 4.9 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพใด ๆ และ ร้อยละ 0.9 ระบุอาชีพทำงาน
ในโรงงานอุตสาหกรรม
ตัวอย่างร้อยละ 48.6 ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 28.1 ระบุรายได้ 5,001-9,999 บาท ร้อยละ
11.8 ระบุรายได้ 10,000-14,999 บาท ร้อยละ 9.7 ระบุรายได้มากกว่า 15,000 บาทขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 21.7 ระบุรายได้ครัวเรือนต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 30.1 ระบุรายได้ 5,001-9,999 บาท ร้อยละ
20.6 ระบุรายได้ 10,000-14,999 บาท ร้อยละ 26.9 ระบุรายได้มากกว่า 15,000 บาทขึ้นไป
สำหรับเขตที่พักอาศัย ตัวอย่างร้อยละ 67.8 ระบุว่าอยู่นอกเขตเทศบาล ร้อยละ 23.0 พักในเขตเมือง/เทศบาล และร้อยละ 9.2
อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ/ แรงงาน
ต่างด้าวที่เข้ามาทำงานรับจ้าง/ใช้แรงงานในประเทศไทย” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 25 พ.ย.-1 ธ.ค. 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 11 จังหวัดทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
จังหวัดในการสำรวจ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ ลพบุรี สุโขทัย เชียงใหม่ นครพนม สุรินทน์
ขอนแก่น ภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 4,148 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ + / - ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งโครงการสำรวจครั้งนี้ได้รับการสนับ
สนุนจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ The International Labour Organization (ILO) และ กองทุนเพื่อพัฒนาสตรีแห่งสหประชา
ชาติ หรือ The United Nations Development Fund for Woman (UNIFEM)
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานรับจ้าง/
ใช้แรงงานในประเทศไทย
ความคิดเห็นต่อ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
-แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวสามารถสมัครทำงานทุกประเภทในประเทศไทยได้ 24.8 67.3 7.9
-แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวควรที่จะมีลักษณะการทำงานภายใต้เงื่อนไข
และค่าตอบแทนเดียวกันกับแรงงานไทย (ตามกฎหมายแรงงาน) 41.7 50.3 8.0
-แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว ควรได้รับอนุญาตให้แสดงออกทางความคิดอย่างเป็นอิสระ 30.6 59.7 9.7
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเงื่อนไข/ข้อกำหนดของแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวที่ควรจะได้รับ
กรณีที่ทำงานในตำแหน่ง/หน้าที่เดียวกันกับแรงงานไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
เงื่อนไข/ข้อกำหนดของแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวที่ควรจะได้รับ ร้อยละ
ควรมีชั่วโมงการทำงานเหมือนกับแรงงานไทย 79.9
ควรมีจำนวนวันหยุดเหมือนกับแรงงานไทย 75.9
ควรมีประกันสังคมเหมือนกับแรงงานไทย 52.7
ควรได้รับเงินเดือนเหมือนกับแรงงานไทย 40.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรู้/ทราบนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว
นโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว รู้ ไม่รู้
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว จะต้องมีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 84.4 15.6
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว จะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือนกับแรงงานไทย โดยอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน 58.7 41.3
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จะได้รับการดูแลทางด้านสุขภาพ 50.9 49.1
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว ไม่สามารถออกจากจังหวัดที่พวกเค้าทำงานอยู่ได้ถ้าหากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่น 43.5 56.5
นายจ้างจะต้องมีการทำสัญญาว่าจ้างร่วมกับแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวเพื่อที่จะให้สิทธิในการทำงานระยะยาว (โดยประมาณ 2 ปี) 41.6 58.4
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวไม่สามารถเปลี่ยนนายจ้าง หรือสถานที่ทำงานได้ถ้าหากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่น 40.7 59.3
บุตรของแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวได้มีสิทธิเรียนหนังสือในระบบการศึกษาไทยในขั้นพื้นฐานได้ 34.2 65.8
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวไม่สามารถรวมกลุ่ม/รวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานได้ 27.2 72.8
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ/ แรงงานต่างด้าว
(เฉพาะตัวอย่างที่รู้ต่อนโยบายต่างๆ )
ความคิดเห็นต่อนโยบายต่างๆ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว จะต้องมีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 89.9 7.4 2.7
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว จะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือนกับแรงงานไทย โดยอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน 88.3 9.4 2.3
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จะได้รับการดูแลทางด้านสุขภาพ 90.7 7.0 2.3
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว ไม่สามารถออกจากจังหวัดที่พวกเค้าทำงานอยู่ได้ ถ้าหากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่น 87.1 10.6 2.3
นายจ้างจะต้องมีการทำสัญญาว่าจ้างร่วมกับแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว เพื่อที่จะให้สิทธิในการทำงานระยะยาว(โดยประมาณ 2 ปี) 84.9 11.8 3.3
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว ไม่สามารถเปลี่ยนนายจ้าง หรือสถานที่ทำงานได้ ถ้าหากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่น 86.4 10.9 2.7
บุตรของแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว ได้มีสิทธิเรียนหนังสือในระบบการศึกษาไทย ในขั้นพื้นฐานได้ 81.4 16.1 2.5
แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว ไม่สามารถรวมกลุ่ม/รวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานได้ 77.3 18.5 4.2
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลไทยว่าควรเปิดเสรีเพื่อรับแรงงานข้ามชาติ/แรงงาน
ต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศเพิ่มมากขึ้นหรือไม่
ความคิดเห็น ร้อยละ
ควรเปิดเสรี 9.7
ไม่ควรเปิดเสรี 58.6
ไม่มีความเห็น 31.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่าจะมีผลกระทบต่อแรงงานไทยหรือไม่
ถ้าหากรัฐบาลไทยเปิดเสรีเพื่อรับแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศมากขึ้น
ความคิดเห็น ร้อยละ
มีผลกระทบต่อแรงงานไทย 82.5
ไม่มีผลกระทบต่อแรงงานไทย 5.2
ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับแรงงานไทย กรณีรัฐบาลไทยเปิดเสรีเพื่อรับแรงงานข้ามชาติ/
แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศมากขึ้น (เฉพาะตัวอย่างที่คิดว่ามีผลกระทบ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ผลกระทบต่อแรงงานไทย ร้อยละ
ทำให้แรงงานไทยหางานยากขึ้น 87.7
ทำให้นายจ้างให้ความสำคัญต่อแรงงานไทยลดน้อยลง เนื่องจากมีแรงงานให้เลือกค่อนข้างมาก 76.3
ทำให้แรงงานไทยได้รับค่าแรง/ค่าจ้างลดลง 65.4
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข่าวสารที่เคยเห็น/ได้ยินจากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว
ที่เข้ามาทำงานรับจ้าง/ใช้แรงงาน (เฉพาะคนที่เคยเห็น/เคยได้ยินข่าวสาร และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ข่าวสารที่เคยเห็น/เคยได้ยินจากสื่อต่างๆ ร้อยละ
-แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว เข้าไปเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมในประเทศไทย 79.4
-แรงงานข้ามชาติ / แรงงานต่างด้าว มีความขยัน อดทน และทำงานหนัก 49.1
-นายจ้าง/สถานประกอบการ กระทำการทารุณ/กระทำไม่ดี/โกงค่าจ้าง/ทำร้ายร่างกาย
ต่อแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว ที่ใช้แรงงาน/รับจ้างตามโรงงาน การประมง การก่อสร้าง
รับจ้างเกษตรกรรมต่างๆ หรือรับจ้างแรงงานตามร้านค้า เป็นต้น 41.4
-แรงงานข้ามชาติ/ต่างด้าว เป็นพาหะของโรคติดต่อร้ายแรงต่างๆ 38.8
-นายจ้าง/เจ้าของบ้าน กระทำการทารุณ/กระทำไม่ดี/โกงค่าจ้าง/ทำร้ายร่างกายต่อแรงงานข้ามชาติ/
แรงงานต่างด้าว ที่ทำความสะอาดตามบ้าน/รับจ้างทำงานบ้าน 29.1
-เจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการทารุณ/กระทำไม่ดี/กลั่นแกล้ง/ทำร้ายร่างกาย/ขูดรีด
ต่อแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว 27.5
-แรงงานข้ามชาติ / แรงงานต่างด้าว มีความจงรักภักดีต่อนายจ้าง 20.9
-แรงงานข้ามชาติ / แรงงานต่างด้าว มีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย 11.4
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการประเมินคุณสมบัติของแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวตามความคิดเห็น
คุณสมบัติของแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว มาก/ค่อนข้างมาก น้อย/ค่อนข้างน้อย ไม่มีความเห็น
ความขยัน / อดทน 73.8 13.4 12.8
ความซื่อสัตย์ สุจริต 19.4 58.4 22.2
ความจงรักภักดีต่อนายจ้าง 19.9 57.5 22.6
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลไทยในการให้ความคุ้มครองที่ดีพอแล้วหรือยัง
ต่อแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว กรณีที่นายจ้างกระทำไม่ดี/ทารุณ/โกงค่าแรงงาน ฯลฯ
ความคิดเห็น ร้อยละ
ให้ความคุ้มครองดีเพียงพอแล้ว 39.3
ยังไม่เพียงพอ 34.0
ไม่มีความเห็น 26.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่จะกระทำ เมื่อพบเห็นเหตุการณ์ที่แรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าว
ถูกกระทำไม่ดี/ถูกทารุณจากนายจ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
สิ่งที่จะกระทำเมื่อพบเห็นเหตุการณ์ ร้อยละ
แจ้งตำรวจ 61.1
แจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรเอกชน, องค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 47.6
พูดคุยกับนายจ้างคนนั้นเพื่อหยุดการกระทำดังกล่าว 24.7
แจ้งเบาะแสต่อสื่อต่างๆ เช่น รายการวิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น 23.5
ไม่รู้จะทำอย่างไร / อยู่เฉยๆ 15.1
ช่วยแรงงานข้ามชาติ/แรงงานต่างด้าวคนนั้นหนี 4.5
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-