เอแบคโพลล์: ขบวนการค้ามนุษย์ แรงงานต่างด้าว และผู้ลี้ภัยในการรับรู้ และความตระหนักของสาธารณชนคนไทย

ข่าวผลสำรวจ Wednesday June 3, 2009 10:15 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์ โพลล์ (Real-Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติด้วยกระบวนการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิง ชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi-stage Sampling) จากนั้นได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็ว ฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง และประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง

“ขบวนการค้ามนุษย์ แรงงานต่างด้าว และผู้ลี้ภัยในการรับรู้ และความตระหนักของสาธารณชนคนไทย : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มี อายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ” ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี เพชรบุรี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู พัทลุง ระนอง สุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,060 ครัวเรือน ดำเนินโครงการวันที่ 2 มิถุนายน 2552 งบประมาณของโครงการนี้สนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ผลการสำรวจพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 88.7 ระบุติดตามข่าว สารผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำอย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์

เมื่อถามถึงแหล่งที่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับเรื่อง “ผู้ลี้ภัย” ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.2 รับทราบผ่านทางสื่อ มวลชนต่างๆ รองลงมาคือ ร้อยละ 49.0 ระบุทราบจาก เพื่อน คนรู้จัก เพื่อนบ้าน ร้อยละ 47.8 ทราบจากการพบปะพูดคุยกับคนในชุมชน ร้อยละ 37.0 ทราบจากพ่อแม่ญาติพี่น้อง ร้อยละ 31.6 ทราบจากหน่วยงานของรัฐ และร้อยละ 31.2 ทราบจากการอ่านหนังสือ ในขณะที่ร้อยละ 19.3 ทราบ จากองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGO เช่น มูลนิธิ สมาคม ชมรมต่างๆ และร้อยละ 9.9 ที่ไม่เคยรับข่าวสารเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยเลย

ดร.นพดล กล่าวว่า ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.3 คิดว่า “ผู้ลี้ภัย” คือ แรงงานต่างด้าวจากพม่า ลาว กัมพูชา เป็นต้น นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.5 คิดว่า “ผู้ลี้ภัย” คือ กลุ่มคนที่หลบหนีเข้าเมืองที่ผิดกฎหมาย และร้อยละ 47.0 คิดว่า ผู้ลี้ภัยคือ ชาว เขา ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดคลาดเคลื่อนไปจากความหมายที่แท้จริงของกลุ่มผู้ลี้ภัย

เมื่อคณะผู้วิจัยชี้แจงความหมายที่ถูกต้องของกลุ่มผู้ลี้ภัยแล้ว จึงถามต่อถึงความคิดเห็นต่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของกลุ่มผู้ลี้ภัยเมื่อเปรียบ เทียบกับประชาชนคนไทยภายในประเทศแล้ว พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.9 คิดว่า กลุ่มผู้ลี้ภัยต้องมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหมือนกับประชาชนคน ไทย ในขณะที่ ร้อยละ 12.1 ไม่คิดว่า ผู้ลี้ภัยต้องมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์เหมือนคนไทย อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึง การให้โอกาสและสิทธิด้าน ต่างๆ ต่อผู้ลี้ภัย และกลุ่มแรงงานต่างชาติที่หลบหนีเข้าเมืองมาพำนักอาศัยในประเทศไทย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.0 ระบุไม่ควรให้โอกาสและ สิทธิแก่ทั้งสองกลุ่มในเรื่องการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.6 ระบุไม่ควรให้โอกาสและสิทธิแก่ทั้ง กลุ่มผู้ลี้ภัย และผู้ใช้แรงงานต่างชาติ ในเรื่องสิทธิการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เช่น รถยนต์ เป็นต้น

แต่เมื่อถามถึงการให้อิสรภาพในการใช้ชีวิตได้เหมือนคนไทยทั่วไป พบว่า มีสัดส่วนไม่แตกต่างกัน คือร้อยละ 39.4 ระบุควรให้ทั้ง สองกลุ่ม แต่จำนวนมากหรือร้อยละ 38.6 ระบุไม่ควรให้ทั้งสองกลุ่ม ในขณะที่ ร้อยละ 19.9 ระบุควรให้เฉพาะกลุ่มผู้ลี้ภัย ร้อยละ 0.8 ระบุควรให้ กลุ่มผู้หลบหนีเข้าเมือง และร้อยละ 1.3 ไม่มีความเห็น

ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.8 ระบุควรให้โอกาสและสิทธิด้านสุขภาพ แก่ทั้งกลุ่มผู้ลี้ภัยและผู้หลบหนีเข้าเมือง ในขณะที่ร้อย ละ 13.4 ระบุไม่ควรให้ทั้งสองกลุ่ม แต่ร้อยละ 21.1 ระบุควรให้เฉพาะกลุ่มผู้ลี้ภัย ร้อยละ 1.3 ระบุควรให้เฉพาะกลุ่มผู้หลบหนีเข้าเมือง และร้อย ละ 1.4 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ด้านการศึกษา พบว่า ร้อยละ 42.1 ระบุควรให้โอกาสและสิทธิทั้งสองกลุ่ม ร้อยละ 30.4 ระบุควรให้เฉพาะกลุ่มผู้ ลี้ภัย แต่ร้อยละ 24.9 ระบุไม่ควรให้ทั้งสองกลุ่ม สำหรับด้านการทำงาน ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 37.5 ระบุควรให้ทั้งสองกลุ่ม ในขณะที่ร้อยละ 30.3 ระบุไม่ควรให้ทั้งสองกลุ่ม ร้อยละ 28.5 ระบุควรให้เฉพาะกลุ่มผู้ลี้ภัย ร้อยละ 2.5 ระบุควรให้กลุ่มคนหลบหนีเข้าเมือง และร้อยละ 1.2 ไม่มี ความเห็น และด้านการให้ที่พักพิง พบว่า ร้อยละ 34.8 ระบุควรให้ทั้งสองกลุ่ม ร้อยละ 31.7 ระบุควรให้เฉพาะกลุ่มผู้ลี้ภัย แต่ร้อยละ 30.6 ระบุไม่ ควรให้ทั้งสองกลุ่ม และร้อยละ 1.6 ระบุควรให้เฉพาะคนหลบหนีเข้าเมือง และร้อยละ 1.3 ไม่มีความเห็น

ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.5 เชื่อว่ามี เจ้าหน้าที่รัฐในรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้มีผลประโยชน์ส่วนตัวในขบวน การค้ามนุษย์ (ซื้อ-ขาย) กลุ่มคนหลบหนีเข้าเมืองและผู้ลี้ภัย ในขณะที่ ร้อยละ 28.5 ไม่เชื่อว่ามี ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.6 เชื่อว่ามี เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง และกลุ่มนายทุนเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์กับกลุ่มที่หลบหนีเข้าเมืองที่ผิดกฎหมาย ในขณะที่ร้อยละ 11.9 ไม่เชื่อว่ามี และร้อยละ 2.5 ไม่มีความเห็น

ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.4 เห็นว่าจำเป็นมากถึงมากที่สุด ที่รัฐบาลไทยต้องเร่งจัดระเบียบกลุ่มคนหลบหนีเข้าเมืองและกลุ่มผู้ลี้ ภัย เพื่อความมั่นคงของประเทศไทยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน แต่ประเด็นที่น่าเป็นห่วงอีกประการหนึ่งคือ ส่วนใหญ่หรือร้อย ละ 77.5 คิดว่า นโยบายของรัฐบาลที่มีต่อกลุ่มผู้ลี้ภัยในปัจจุบันยังไม่ดีพอ ในขณะที่ร้อยละ 22.5 คิดว่ารัฐบาลมีนโยบายที่ดีพอแล้ว

ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยและประชาคมอาเซียนด้วยเหตุผลอย่างน้อยสอง ประการ คือ ประการแรก ประชาชนคนไทยมีความคิดว่ากลุ่มผู้ลี้ภัยและกลุ่มคนหลบหนีเข้าเมืองมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับคนไทย ดังนั้น โอกาสและสิทธิใดๆ ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นเช่น การศึกษา โอกาสในการทำงาน แหล่งที่พักพิง และการดูแลรักษาสุขภาพ จึงเป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทยเปิด โอกาสให้มีได้กับกลุ่มผู้ลี้ภัยและผู้หลบหนีเข้าเมือง เพียงแต่ว่า รัฐบาลต้องมีนโยบายควบคุมดูแลให้ดี อย่าให้มีปัญหาการค้ามนุษย์เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย เช่นในปัจจุบัน ส่วนประการที่สองคือ โอกาสที่ประชาชนคนไทยจะยอมรับและหนุนเสริมบรรยากาศดีๆ ในประชาคมอาเซียนมีสูงมาก ขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่มี หน้าที่สำคัญในกลุ่มประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียจะช่วยกันนำความรู้สึกนึกคิดของประชาชนที่ค้นพบครั้งนี้ไปขับเคลื่อนต่ออย่างไรหรือไม่ เพราะอย่าง น้อยที่สุดผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนคนไทยยังคงมีจิตใจที่เอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อชาวต่างชาติ ถ้ากลุ่มผู้ลี้ภัยได้เข้ามาพักพิงและทำคุณประโยชน์ต่อสังคม ไทย ก็จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างประชาชนต่อประชาชนในประชาคมอาเซียนได้ และความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันย่อมเกิดขึ้นไม่ยากจนเกิด ไปนัก

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างร้อยละ 52.2 เป็นเพศหญิง

ร้อยละ 47.8 เป็นเพศชาย

ร้อยละ 6.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 22.5 อายุ 20 — 29 ปี

ร้อยละ 22.2 อายุ 30 — 39 ปี

ร้อยละ 23.4 อายุ 40 — 49 ปี

และร้อยละ 25.0 อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

ร้อยละ 74.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี

ร้อยละ 22.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 3.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี

ร้อยละ 30.3 อาชีพเกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

ร้อยละ 28.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 18.5 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.7 ระบุอาชีพข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.3 เป็นแม่บ้าน เกษียณอายุ

และร้อยละ 5.7 ระบุนักเรียน นักศึกษา

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา          ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                                            41.3
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                            29.7
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                            17.7
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                                          8.4
5          ไม่ได้ติดตามเลย                                              2.9
          รวมทั้งสิ้น                                                  100.0

ตารางที่ 2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งที่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับเรื่อง “ผู้ลี้ภัย” ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          แหล่งที่มาของข่าวสารที่รับรู้เกี่ยวกับเรื่องผู้ลี้ภัยในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา   ค่าร้อยละ
1          สื่อมวลชนต่างๆ อาทิ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และอินเตอร์เนต เป็นต้น        89.2
2          เพื่อน/คนรู้จัก/เพื่อนบ้าน                                            49.0
3          การพบปะพูดคุยกับคนในชุมชน                                         47.8
4          พ่อแม่/ญาติพี่น้อง                                                  37.0
5          หน่วยงานของรัฐ                                                  31.6
6          การอ่านหนังสือ                                                   31.2
7          องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) เช่น มูลนิธิ สมาคม ชมรมต่างๆ                 19.3
8          ไม่เคยได้รับข่าวสารเกี่ยวกับ ผู้ลี้ภัยเลย                                  9.9

ตารางที่ 3  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกลุ่มคนที่นึกถึง เมื่อกล่าวถึงคำว่า “ผู้ลี้ภัย” (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          กลุ่มคนที่นึกถึง เมื่อกล่าวถึงคำว่า “ผู้ลี้ภัย”                         ค่าร้อยละ
1          แรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว กัมพูชา เป็นต้น          87.3
2          กลุ่มคนหลบหนีเข้าเมืองที่ผิดกฎหมาย                                    84.5
3          ชาวเขา                                                        47.0

ตารางที่ 4  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของกลุ่มผู้ลี้ภัย เมื่อเปรียบเทียบกับประชาชนคนไทย
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของกลุ่มผู้ลี้ภัย เมื่อเปรียบเทียบกับประชาชนคนไทย          ค่าร้อยละ
1          คิดว่ากลุ่มผู้ลี้ภัยต้องมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหมือนประชาชนคนไทย                                87.9
2          ไม่คิดว่าต้องมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์เหมือนคนไทย                                         12.1
          รวมทั้งสิ้น                                                                         100.0

ตารางที่ 5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ การให้โอกาสและสิทธิ ด้านต่างๆ ต่อผู้ลี้ภัย และกลุ่มแรงงานต่างชาติ

ที่หลบหนีเข้าเมืองมาพำนักอาศัยในประเทศไทย

ลำดับที่          การให้โอกาส และสิทธิด้านต่างๆ   ให้ผู้ลี้ภัย  ให้ผู้หลบหนีเข้าเมือง  ให้ทั้งสองกลุ่ม  ไม่ให้ทั้งสองกลุ่ม  ไม่มีความเห็น
1          การเป็นเจ้าของ บ้าน ที่ดิน             8.0          0.6          11.7          78.0          1.7
2          การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เช่น รถยนต์    11.6          0.7          16.2          69.6          1.9
3          อิสรภาพใช้ชีวิตได้เหมือนคนไทยทั่วไป     19.9          0.8          39.4          38.6          1.3
4          ด้านให้ที่พักพิง                      31.7          1.6          34.8          30.6          1.3
5          ด้านการทำงาน                     28.5          2.5          37.5          30.3          1.2
6          ด้านการศึกษา                      30.4          1.3          42.1          24.9          1.3
7          ด้านสุขภาพ                        21.1          1.3          62.8          13.4          1.4

ตารางที่ 6  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีเจ้าหน้าที่รัฐในรัฐบาลชุดนี้มีผลประโยชน์ส่วนตัวในขบวนการ

ซื้อ-ขาย กลุ่มคนหลบหนีเข้าเมือง และผู้ลี้ภัย

ลำดับที่          ความคิดเห็น             ค่าร้อยละ
1          เชื่อว่ามี                      71.5
2          ไม่เชื่อว่ามี                    28.5
          รวมทั้งสิ้น                     100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง และกลุ่มนายทุน
เข้าไปแสวงหาผลประโยชน์กับกลุ่มคนที่หลบหนีเข้าเมืองที่ผิดกฎหมาย
ลำดับที่          ความคิดเห็น            ค่าร้อยละ
1          เชื่อว่ามี                     85.6
2          ไม่เชื่อว่ามี                   11.9
3          ไม่มีความเห็น                  2.5
          รวมทั้งสิ้น                    100.0

ตารางที่ 8  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความจำเป็นที่รัฐบาลไทยต้องเร่งจัดระเบียบกลุ่มคนหลบหนีเข้าเมืองและกลุ่มผู้ลี้ภัย

เพื่อความมั่นคงของประเทศไทยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

ลำดับที่          ความคิดเห็น            ค่าร้อยละ
1          จำเป็นมากที่สุด                54.5
2          จำเป็นมาก                   33.9
3          จำเป็นน้อย                    6.2
4          ไม่จำเป็นเลย                  4.5
5          ไม่มีความเห็น                  0.9
          รวมทั้งสิ้น                    100.0

ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อกลุ่มผู้ลี้ภัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ลำดับที่          ความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อกลุ่มผู้ลี้ภัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน    ค่าร้อยละ
1          คิดว่ามีนโยบายที่ดีพอแล้ว                                           22.5
2          คิดว่า ยังไม่ดีพอ                                                 77.5
          รวมทั้งสิ้น                                                      100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ