ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผล สำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (ABAC Real-Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติก่อน จากนั้นได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง จากนั้นประมวล ผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง ความเชื่อมั่นต่อสภาวะเศรษฐกิจและความตั้งใจจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคระดับ ครัวเรือน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี เพชรบุรี หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น พัทลุง ระนอง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,237 ครัวเรือน ใน วันที่ 9 - 10 มิถุนายน 2552 พบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือเกือบร้อยละ 90 ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์
ที่น่าพิจารณาคือ แนวโน้มของประชาชนที่มองว่าเศรษฐกิจของประเทศเริ่มดีขึ้นในช่วง 30 วันที่ผ่านมา มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 5.6 ในเดือนเมษายน มาอยู่ที่ร้อยละ 11.8 ในเดือนพฤษภาคม และร้อยละ 17.4 ในเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ตามประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ยังคงมองว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยภาพรวมยังคงแย่อยู่
แต่เมื่อถามถึงสภาพรายได้วันนี้ของประชาชนที่ถูกศึกษาเอง พบ แนวโน้มของประชาชนที่ระบุว่ารายได้ดี เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 21.9 ใน เดือนเมษายน มาอยู่ที่ร้อยละ 34.4 ในเดือนพฤษภาคม และร้อยละ 38.9 ในเดือนมิถุนายนนี้ ในขณะที่สัดส่วนของประชาชนที่ระบุว่าสภาพรายได้วันนี้ ของผู้ตอบแบบสอบถามไม่ดีมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 78.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 61.1 ตามลำดับ
และที่น่าสนใจคือ ประชาชนที่รู้สึกมั่นคงในหน้าที่การงานของตนเองในปัจจุบัน พบว่า มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น จาก ร้อยละ 49.5 ในเดือน เมษายน มาอยู่ที่ร้อยละ 56.1 ในเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ เมื่อถามถึง ความตั้งใจจะใช้จ่ายเงินกับสินค้าขนาดใหญ่ราคาสูงในอีก 6 เดือนข้างหน้า หรือ ประมาณช่วงปีใหม่ 2553 พบว่า มีสัดส่วนของผู้ที่ตั้งใจจะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์เครื่องใหม่ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13.1 ในเดือน เมษายน มาอยู่ที่ร้อยละ 21.9 ในเดือนมิถุนายน เช่นเดียวกับสัดส่วนของคนที่จะซื้อรถยนต์คันใหม่และบ้านหลังใหม่ ก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน คือ จาก ร้อย ละ 6.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 11.3 และจากร้อยละ 6.6 มาอยู่ที่ร้อยละ 10.4 ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงการตัดสินใจเลือกของประชาชนที่ถูกศึกษาว่า เลือกที่จะ “หวัง” และก้าวต่อไปข้างหน้า หรือ เลือกที่ จะ “กลัว” ต่อเหตุการณ์ข้างหน้า ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.2 เลือกที่จะหวังและก้าวต่อไปข้างหน้า ในขณะที่ร้อยละ 30.8 ระบุเลือกที่ จะกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าที่จะเกิดขึ้น
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.8 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.2 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 19.5 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 24.9 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 27.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 23.6 สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
ร้อยละ 34.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 22.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 15.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.9 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 4.7 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชน ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 60.8 2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 16.3 3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 12.4 4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์/ไม่ได้ติดตามเลย 10.5 รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจของประเทศในช่วง 30 วันที่ผ่านมา เมษายน 52 พฤษภาคม 52 มิถุนายน 52 1 เศรษฐกิจดี 5.6 11.8 17.4 2 เศรษฐกิจแย่ 94.4 88.2 82.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สภาพรายได้วันนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ลำดับที่ สภาพรายได้วันนี้ของ ตนเอง (ผู้ตอบแบบสอบถาม) เมษายน 52 พฤษภาคม 52 มิถุนายน 52 1 รายได้ดี 21.9 34.4 38.9 2 รายได้ไม่ดี 78.1 65.6 61.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกมั่นคงในหน้าที่การงานของตนในปัจจุบัน ลำดับที่ ความรู้สึกมั่นคงในหน้าที่การงานของตนในปัจจุบัน เมษายน มิถุนายน 1 รู้สึกมั่นคง 49.5 56.1 2 ไม่รู้สึกมั่นคง 33.5 29.8 3 ไม่ได้ทำงาน 17.0 14.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การวางแผนจะซื้อสินค้าขนาดใหญ่ในอีก 6 เดือนข้างหน้า ลำดับที่ สินค้าขนาดใหญ่ที่มีแผนจะซื้อในอีก 6 เดือนข้างหน้า เมษายน มิถุนายน 1 เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ 13.1 21.9 2 รถยนต์คันใหม่ 6.5 11.3 3 บ้านหลังใหม่ 6.6 10.4 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การตัดสินใจเลือกที่จะหวัง หรือ กลัวต่อสภาวะเศรษฐกิจในวันข้างหน้า ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสภาวะเศรษฐกิจในวันข้างหน้า เมษายน มิถุนายน 1 ยังเลือกที่จะมีความหวังและก้าวต่อไปข้างหน้า 65.2 69.2 2 รู้สึกกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้า 34.8 30.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-