ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นและความต้องการของสาธารณชนต่อคณะ
ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ” ในครั้ง
นี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,250 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 20-22 กันยายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์นั้นผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ
91.1 ระบุติดตามอย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 6.3 ระบุไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ และร้อยละ 2.6 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความรู้สึกหลังจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข มีปฏิบัติการทางการทหารยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดก่อนได้สำเร็จนั้น ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 82.7 ระบุคิดว่าการเมืองจะสงบนิ่ง ใน
ขณะที่ร้อยละ 66.5 ระบุเศรษฐกิจจะฟื้นตัว นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงความวิตกกังวลของตัวอย่างต่อเหตุการณ์การเมืองในขณะนี้นั้นผลการสำรวจพบ
ว่า ตัวอย่างร้อยละ 36.8 ระบุรู้สึกวิตกกังวล ซึ่งมีสัดส่วนที่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจก่อนหน้าที่จะมีปฏิบัติการฯ ของคณะปฏิรูปการ
ปกครองฯ ซึ่งในครั้งนั้นมีตัวอย่างกว่าร้อยละ 62.5 ที่รู้สึกวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง
เช่นเดียวกับสัดส่วนของตัวอย่างที่ระบุรู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมืองและความขัดแย้งกับคนใกล้ชิดเรื่องการเมือง ที่ผลสำรวจในครั้งนี้พบ
ว่า มีสัดส่วนลดลงจากการสำรวจก่อนหน้าปฏิบัติการของคณะปฏิรูปการปกครองฯ โดยสัดส่วนของตัวอย่างที่ระบุเครียดต่อเรื่องการเมืองลดลงจากร้อย
ละ 36.1 ในครั้งก่อน มาเป็นร้อยละ 26.6 จากการสำรวจในครั้งนี้ สำหรับความขัดแย้งกับคนใกล้ชิดเรื่องการเมืองนั้นพบว่ามีสัดส่วนที่ลดลงจาก
ร้อยละ 20.2 เป็นร้อยละ 10.9
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความต้องการในประเด็นสำคัญต่างๆ ต่อคณะปฏิรูปการปกครองฯ นั้นพบว่า ตัวอย่างส่วน
ใหญ่ เกินกว่าร้อยละ 90 ได้ระบุมีความต้องการต่อคณะปฏิรูปการปกครองฯ ในประเด็นสำคัญกว่า 10 ประเด็น ทั้งนี้ประเด็นที่พบว่าประชาชนมี
ความต้องการสูงที่สุดได้แก่ การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการสร้างความรู้รักสามัคคีของคนในชาติในสัดส่วนที่เท่ากัน
(ร้อยละ 99.4) รองลงมาคือ การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ (ร้อยละ 99.1 ) ทำการเมืองไทยให้ใสสะอาด (ร้อย
ละ 98.9) และการมีรัฐธรรมนูญที่ประชาชนทั่วไปอ่านเข้าใจ เข้าถึงได้ง่าย (ร้อยละ 98.6) ตามลำดับ
ผลการสำรวจของตัวอย่าง ต่อการยุติบทบาทการชุมชนของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 87.8 ระบุ
เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 3.9 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 8.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการดำเนินการกับรัฐบาลชุดก่อนหากพิสูจน์พบว่ามีความผิดจริงนั้น ผลสำรวจพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 74.5 ระบุควรลงโทษตามกฏหมายจนถึงที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 9.9 ระบุควรให้อภัย และร้อยละ 15.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า อยากให้ประชาชนทั้งประเทศพิจารณาทบทวนดูว่า ทำไมต้องเกิดเหตุการณ์รัฐประหารทำนองนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทุกครั้งที่
เกิดขึ้นก็จะมีการอ้างเหตุผลเดิมๆ คือ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นและความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชนต่อรัฐบาล ความผิดปกติและอาการเจ็บป่วยที่เกิด
ขึ้นกับการปกครองประเทศของสังคมไทยซ้ำซากเช่นนี้น่าจะมีเหตุผลสำคัญอยู่ที่ความถดถอยของคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ใหญ่ที่ขึ้นมีอำนาจในสังคมโดย
เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องมากกว่าประโยชน์สุขของประชาชนทั้งประเทศ ดังนั้น ข้อเสนอแนะที่ค้นพบจากการวิจัยหลายครั้งที่ผ่านมาพอสรุป
ได้ดังนี้
ประการแรก การเข้ามาปฏิบัติการของคณะปฏิรูปการปกครองประเทศจึงควรปฏิรูปที่รากฐานทางจิตใจของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ
โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนให้รับรู้ เข้าใจ มีจิตสำนึก การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นอย่างต่อเนื่องยั่งยืน
ประการที่สอง คณะปฏิรูปฯ ควรมีการสานต่อนโยบายที่ดีของรัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ สร้างการรับรู้และเข้าใจอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชน
ว่า นโยบายที่ดีต่อความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนยังคงได้รับการสนับสนุนต่อไป เช่น การแก้ไขปัญหายาเสพติด โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การ
แก้ไขปัญหาความยากจน และระบบสาธารณสุขของประเทศ เป็นต้น
ประการที่สาม ถ้าสถานการณ์ของประเทศสงบอย่างแท้จริง คณะปฏิรูปฯ ควรเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่ได้พิจารณาโครงการพระราชดำริ
ต่างๆ เข้าสู่นโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เช่น หลักการเศรษฐกิจพอเพียง การจัดสรรทรัพยากรและพลังงานต่างๆ ของประเทศ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ปฏิกิริยาของสาธารณชนในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นไปในเชิงจิตวิทยาที่ตอบรับต่อปฏิบัติการของคณะปฏิรูปฯ แต่จะเป็นไป
ในระยะสั้นเท่านั้น จึงจำเป็นต้องมีมาตรการอื่นๆ มารองรับสร้างความเชื่อมั่นของสาธารณชนว่ากองทัพเป็นกองทัพของประชาชนอย่างแท้จริง การเชิญ
อดีตรัฐมนตรีบางท่านที่เคยทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงเข้ามาร่วมรัฐบาลเฉพาะกิจด้วยเป็นสิ่งที่น่าจะพิจารณา เช่น ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นต้น โดยเข้ามาเพียงเพื่อจัดระบบโครงสร้างและกลไกของรัฐให้ผ่านวิกฤติของประเทศไปได้เท่านั้น จากนั้นเปิดกว้างให้การ
ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยเต็มรูปแบบเข้ามาได้เช่นเดิม โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การรักษาไว้ซึ่งความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนทั้งประเทศ
อย่างยั่งยืนบนรากฐานของวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามและเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจอารมณ์ความรู้สึกประชาชนที่มีต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นและความต้องการของสาธารณชนต่อคณะ
ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ ” ซึ่งมี
ระยะเวลาการดำเนินโครงการในระหว่างวันที่ 20-22 กันยายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน จาก 16 จังหวัดทุกภาคของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี สระแก้ว ชลบุรี
บุรีรัมย์ ขอนแก่น หนองคาย สกลนคร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก สุพรรณบุรี ชุมพร และ สงขลา
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,250 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 57.0 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 43.0 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 17.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 32.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 27.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 7.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 10.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 3.4 ระบุว่างงาน
ซึ่งร้อยละ 76.2 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ร้อยละ 23.8 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 66.0
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 15.7
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 9.4
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 6.3
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกหลังจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดก่อนได้สำเร็จ
ลำดับที่ ความรู้สึกหลังจากคณะปฏิรูปฯยึดอำนาจ 16 ก.ย.ค่าร้อยละ 20-22 ก.ย.ค่าร้อยละ ส่วนต่างร้อยละ
จากรัฐบาลชุดก่อนได้สำเร็จ
1 การเมืองจะสงบนิ่ง - 82.7
2 เศรษฐกิจจะฟื้นตัว - 66.5
3 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 62.5 36.8 - 25.7
4 เครียดต่อเรื่องการเมือง 36.1 26.6 - 9.5
5 ขัดแย้งกับคนใกล้ชิดเรื่องการเมือง 20.2 10.9 - 9.3
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการต่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ลำดับที่ ความต้องการของประชาชน ร้อยละ
1 สร้างความรู้รักสามัคคีของคนในชาติ 99.4
2 แก้ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 99.4
3 แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ 99.1
4 ทำการเมืองไทยให้ใสสะอาด 98.9
5 มีรัฐธรรมนูญที่ประชาชนทั่วไปอ่านเข้าใจ เข้าถึงได้ง่าย 98.6
6 สร้างความยุติธรรมและการไม่เลือกปฏิบัติให้กับสังคม 98.1
7 คืนอำนาจให้ประชาชนโดยเร็ว 97.0
8 สานต่อนโยบายที่ดีของรัฐบาลชุดก่อน เช่น ขจัดยาเสพติด ความยากจนหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 96.9
9 ขจัดความเคลือบแคลงสงสัยของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลชุดก่อนให้หมดไป 95.8
10 ดำเนินการเอาผิดนักการเมืองและข้าราชการที่ทุจริตคอรัปชั่นให้เห็นเป็นตัวอย่าง 95.5
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยุติบทบาทการชุมนุม
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 87.8
2 ไม่เห็นด้วย 3.9
3 ไม่มีความเห็น 8.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการตัดสินใจให้ดำเนินการต่อรัฐบาลชุดก่อน หากพิสูจน์พบว่ามีความผิดจริง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรลงโทษตามกฎหมายจนถึงที่สุด 74.5
2 ควรให้อภัย 9.9
3 ไม่มีความเห็น 15.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ” ในครั้ง
นี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,250 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 20-22 กันยายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์นั้นผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ
91.1 ระบุติดตามอย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 6.3 ระบุไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ และร้อยละ 2.6 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความรู้สึกหลังจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข มีปฏิบัติการทางการทหารยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดก่อนได้สำเร็จนั้น ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 82.7 ระบุคิดว่าการเมืองจะสงบนิ่ง ใน
ขณะที่ร้อยละ 66.5 ระบุเศรษฐกิจจะฟื้นตัว นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงความวิตกกังวลของตัวอย่างต่อเหตุการณ์การเมืองในขณะนี้นั้นผลการสำรวจพบ
ว่า ตัวอย่างร้อยละ 36.8 ระบุรู้สึกวิตกกังวล ซึ่งมีสัดส่วนที่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจก่อนหน้าที่จะมีปฏิบัติการฯ ของคณะปฏิรูปการ
ปกครองฯ ซึ่งในครั้งนั้นมีตัวอย่างกว่าร้อยละ 62.5 ที่รู้สึกวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง
เช่นเดียวกับสัดส่วนของตัวอย่างที่ระบุรู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมืองและความขัดแย้งกับคนใกล้ชิดเรื่องการเมือง ที่ผลสำรวจในครั้งนี้พบ
ว่า มีสัดส่วนลดลงจากการสำรวจก่อนหน้าปฏิบัติการของคณะปฏิรูปการปกครองฯ โดยสัดส่วนของตัวอย่างที่ระบุเครียดต่อเรื่องการเมืองลดลงจากร้อย
ละ 36.1 ในครั้งก่อน มาเป็นร้อยละ 26.6 จากการสำรวจในครั้งนี้ สำหรับความขัดแย้งกับคนใกล้ชิดเรื่องการเมืองนั้นพบว่ามีสัดส่วนที่ลดลงจาก
ร้อยละ 20.2 เป็นร้อยละ 10.9
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความต้องการในประเด็นสำคัญต่างๆ ต่อคณะปฏิรูปการปกครองฯ นั้นพบว่า ตัวอย่างส่วน
ใหญ่ เกินกว่าร้อยละ 90 ได้ระบุมีความต้องการต่อคณะปฏิรูปการปกครองฯ ในประเด็นสำคัญกว่า 10 ประเด็น ทั้งนี้ประเด็นที่พบว่าประชาชนมี
ความต้องการสูงที่สุดได้แก่ การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการสร้างความรู้รักสามัคคีของคนในชาติในสัดส่วนที่เท่ากัน
(ร้อยละ 99.4) รองลงมาคือ การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ (ร้อยละ 99.1 ) ทำการเมืองไทยให้ใสสะอาด (ร้อย
ละ 98.9) และการมีรัฐธรรมนูญที่ประชาชนทั่วไปอ่านเข้าใจ เข้าถึงได้ง่าย (ร้อยละ 98.6) ตามลำดับ
ผลการสำรวจของตัวอย่าง ต่อการยุติบทบาทการชุมชนของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 87.8 ระบุ
เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 3.9 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 8.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการดำเนินการกับรัฐบาลชุดก่อนหากพิสูจน์พบว่ามีความผิดจริงนั้น ผลสำรวจพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 74.5 ระบุควรลงโทษตามกฏหมายจนถึงที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 9.9 ระบุควรให้อภัย และร้อยละ 15.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า อยากให้ประชาชนทั้งประเทศพิจารณาทบทวนดูว่า ทำไมต้องเกิดเหตุการณ์รัฐประหารทำนองนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทุกครั้งที่
เกิดขึ้นก็จะมีการอ้างเหตุผลเดิมๆ คือ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นและความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชนต่อรัฐบาล ความผิดปกติและอาการเจ็บป่วยที่เกิด
ขึ้นกับการปกครองประเทศของสังคมไทยซ้ำซากเช่นนี้น่าจะมีเหตุผลสำคัญอยู่ที่ความถดถอยของคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ใหญ่ที่ขึ้นมีอำนาจในสังคมโดย
เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องมากกว่าประโยชน์สุขของประชาชนทั้งประเทศ ดังนั้น ข้อเสนอแนะที่ค้นพบจากการวิจัยหลายครั้งที่ผ่านมาพอสรุป
ได้ดังนี้
ประการแรก การเข้ามาปฏิบัติการของคณะปฏิรูปการปกครองประเทศจึงควรปฏิรูปที่รากฐานทางจิตใจของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ
โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนให้รับรู้ เข้าใจ มีจิตสำนึก การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นอย่างต่อเนื่องยั่งยืน
ประการที่สอง คณะปฏิรูปฯ ควรมีการสานต่อนโยบายที่ดีของรัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ สร้างการรับรู้และเข้าใจอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชน
ว่า นโยบายที่ดีต่อความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนยังคงได้รับการสนับสนุนต่อไป เช่น การแก้ไขปัญหายาเสพติด โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การ
แก้ไขปัญหาความยากจน และระบบสาธารณสุขของประเทศ เป็นต้น
ประการที่สาม ถ้าสถานการณ์ของประเทศสงบอย่างแท้จริง คณะปฏิรูปฯ ควรเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่ได้พิจารณาโครงการพระราชดำริ
ต่างๆ เข้าสู่นโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เช่น หลักการเศรษฐกิจพอเพียง การจัดสรรทรัพยากรและพลังงานต่างๆ ของประเทศ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ปฏิกิริยาของสาธารณชนในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นไปในเชิงจิตวิทยาที่ตอบรับต่อปฏิบัติการของคณะปฏิรูปฯ แต่จะเป็นไป
ในระยะสั้นเท่านั้น จึงจำเป็นต้องมีมาตรการอื่นๆ มารองรับสร้างความเชื่อมั่นของสาธารณชนว่ากองทัพเป็นกองทัพของประชาชนอย่างแท้จริง การเชิญ
อดีตรัฐมนตรีบางท่านที่เคยทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงเข้ามาร่วมรัฐบาลเฉพาะกิจด้วยเป็นสิ่งที่น่าจะพิจารณา เช่น ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นต้น โดยเข้ามาเพียงเพื่อจัดระบบโครงสร้างและกลไกของรัฐให้ผ่านวิกฤติของประเทศไปได้เท่านั้น จากนั้นเปิดกว้างให้การ
ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยเต็มรูปแบบเข้ามาได้เช่นเดิม โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การรักษาไว้ซึ่งความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนทั้งประเทศ
อย่างยั่งยืนบนรากฐานของวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามและเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจอารมณ์ความรู้สึกประชาชนที่มีต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นและความต้องการของสาธารณชนต่อคณะ
ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ ” ซึ่งมี
ระยะเวลาการดำเนินโครงการในระหว่างวันที่ 20-22 กันยายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน จาก 16 จังหวัดทุกภาคของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี สระแก้ว ชลบุรี
บุรีรัมย์ ขอนแก่น หนองคาย สกลนคร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก สุพรรณบุรี ชุมพร และ สงขลา
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,250 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 57.0 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 43.0 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 17.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 32.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 27.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 7.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 10.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 3.4 ระบุว่างงาน
ซึ่งร้อยละ 76.2 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ร้อยละ 23.8 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 66.0
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 15.7
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 9.4
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 6.3
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกหลังจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดก่อนได้สำเร็จ
ลำดับที่ ความรู้สึกหลังจากคณะปฏิรูปฯยึดอำนาจ 16 ก.ย.ค่าร้อยละ 20-22 ก.ย.ค่าร้อยละ ส่วนต่างร้อยละ
จากรัฐบาลชุดก่อนได้สำเร็จ
1 การเมืองจะสงบนิ่ง - 82.7
2 เศรษฐกิจจะฟื้นตัว - 66.5
3 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 62.5 36.8 - 25.7
4 เครียดต่อเรื่องการเมือง 36.1 26.6 - 9.5
5 ขัดแย้งกับคนใกล้ชิดเรื่องการเมือง 20.2 10.9 - 9.3
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการต่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ลำดับที่ ความต้องการของประชาชน ร้อยละ
1 สร้างความรู้รักสามัคคีของคนในชาติ 99.4
2 แก้ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 99.4
3 แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ 99.1
4 ทำการเมืองไทยให้ใสสะอาด 98.9
5 มีรัฐธรรมนูญที่ประชาชนทั่วไปอ่านเข้าใจ เข้าถึงได้ง่าย 98.6
6 สร้างความยุติธรรมและการไม่เลือกปฏิบัติให้กับสังคม 98.1
7 คืนอำนาจให้ประชาชนโดยเร็ว 97.0
8 สานต่อนโยบายที่ดีของรัฐบาลชุดก่อน เช่น ขจัดยาเสพติด ความยากจนหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 96.9
9 ขจัดความเคลือบแคลงสงสัยของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลชุดก่อนให้หมดไป 95.8
10 ดำเนินการเอาผิดนักการเมืองและข้าราชการที่ทุจริตคอรัปชั่นให้เห็นเป็นตัวอย่าง 95.5
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยุติบทบาทการชุมนุม
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 87.8
2 ไม่เห็นด้วย 3.9
3 ไม่มีความเห็น 8.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการตัดสินใจให้ดำเนินการต่อรัฐบาลชุดก่อน หากพิสูจน์พบว่ามีความผิดจริง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรลงโทษตามกฎหมายจนถึงที่สุด 74.5
2 ควรให้อภัย 9.9
3 ไม่มีความเห็น 15.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-