ที่มาของโครงการ
เป็นที่น่ายินดีว่า สถานการณ์การเมืองไทยเริ่มก้าวเข้าสู่จุดเปลี่ยนและมีความหวังในทางออกชัดเจนมากยิ่งขึ้นภายหลังการลงมติของที่
ประชุมประมุข 3 ศาล ได้แก่ ศาลฎีกา ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อรับสนองพระบรมราโชวาทในการแก้ไขปัญหาวิกฤตของบ้าน
เมือง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นส่งผลกระทบต่ออารมณ์และความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองเป็นอันมาก และนับว่าเป็น
ปรากฎการณ์ที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ในขณะนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างออกมาแสดงเจตนารมณ์ที่จะปฏิบัติตามมติและแนวทางการตัดสินของฝ่ายตุลาการโดยพร้อม
เพรียงกัน ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มี
ต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้าน
ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานขององค์กรอิสระต่างๆ
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อ
สถานการณ์การเมืองภายหลังการประชุมผู้นำ 3 ศาล: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจระหว่างวันที่ 28-29 เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,863 อย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.0 เป็นหญิง
ร้อยละ 44.0 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 19.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 26.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 74.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
เมื่อพิจารณาถึงอาชีพประจำของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.8 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.3 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 21.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.3 ระบุอาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.9 ระบุเป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.5 ระบุเป็นนักศึกษา
และร้อยละ 1.9 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็นของสาธารณ
ชนต่อสถานการณ์การเมืองภายหลังการประชุมผู้นำ 3 ศาล” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหา
นครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,863 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 28-29 เมษายน 2549 โดยประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการ
สำรวจ มีดังนี้
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมาพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 59.8 ระบุติดตาม
ทุกวัน/เกือบทุกวัน ร้อยละ 21.1 ระบุติดตาม 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 11.7 ระบุติดตาม 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 2.9 ระบุ
ติดตาม น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 4.5 ระบุไม่ได้ติดตามเลย ทั้งนี้เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อวิกฤตการณ์การเมืองใน
ขณะนี้นั้นพบว่า ประชาชนจำนวนมาก หรือร้อยละ 41.3 ระบุสถานการณ์การเมืองอยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 42.3 ระบุยังไม่วิกฤต และ
ร้อยละ 16.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความรู้สึกของตัวอย่างต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 97.2 ระบุการเมืองเป็น
เรื่องสำคัญของประเทศ ร้อยละ 91.1 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันถึงที่สุด ร้อยละ 74.0 ระบุรู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ
69.9 ระบุวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง และร้อยละ 43.2 ระบุรู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของตัวอย่างที่มีต่อการทำงานขององค์กรอิสระในการทำหน้าที่ได้อย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมทางการเมือง
พบรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 70.2 ระบุเชื่อมั่นต่อการทำงานของศาลฎีกา ในขณะที่ร้อยละ 15.9 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ
13.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 68.4 ระบุเชื่อมั่นต่อการทำงานของศาลปกครอง ในขณะที่ร้อยละ 15.0 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ
16.6 ไม่มีความคิดเห็น
ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 62.7 ระบุเชื่อมั่นต่อการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ร้อยละ 16.4 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อย
ละ 20.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
ตัวอย่างจำนวนมาก หรือร้อยละ 40.8 ระบุเชื่อมั่นต่อการทำงานของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(ปปช.) ในขณะที่ร้อยละ 33.2 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 26.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 33.6 ระบุเชื่อมั่นต่อการทำงานของวุฒิสภา ในขณะที่ร้อยละ 38.6 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 27.8 ไม่ระบุความคิด
เห็น
และความเชื่อมั่นต่อการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งมีแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากผลสำรวจครั้งที่ผ่านมา คือจากร้อยละ
40.1 ลดลงเหลือร้อยละ 32.0 ในขณะที่ร้อยละ 43.3 ระบุไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 24.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่าประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้คือความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการออกมาแสดงความรับผิดชอบของคณะ
กรรมการการเลือกตั้ง หากศาลฎีกาชี้ว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาไม่สุจริตเที่ยงธรรม ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ
51.4 ระบุ กกต.ควรลาออก ในขณะที่ร้อยละ 15.5 ระบุไม่ควรลาออก และตัวอย่างร้อยละ 33.1 ที่ยังไม่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าว
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการหาคนกลางมาทำหน้าที่เป็นผู้นำในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น พบว่า ตัวอย่าง
เกือบครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 47.1 ระบุควรหาคนกลางมาทำหน้าที่เป็นผู้นำ ได้แก่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ / ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ / นาย
ชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา / นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด / นายผัน จันทรปาน ตุลาการศาลรัฐ
ธรรมนูญ / นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นต้น ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 11.3 ระบุไม่ควร และตัวอย่างร้อยละ 41.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งใหม่โดยมีพรรคร่วมฝ่ายค้านร่วมลงแข่งขันนั้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อย
ละ 81.9 เห็นด้วยกับประเด็นดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 8.6 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 10.5 ไม่มีความเห็น
“นอกจากประเด็นสำคัญดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ยังพบประเด็นสำคัญที่น่าสนใจคือ ความคิดเห็น
ของตัวอย่างที่มีต่อนโยบายของพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 54.2 ระบุนโยบายของพรรค
ไทยรักไทยตรงกับความต้องการในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 7.5 ระบุนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์
ตรงกับความต้องการมากกว่า อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 17.6 ระบุไม่แน่ใจ และร้อยละ 20.7 ไม่ระบุความคิดเห็น” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวสรุปว่า ผลสำรวจหลังการประชุมของผู้นำ 3 ศาลครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษายังคงไม่แน่ใจต่อ
สถานการณ์การเมืองอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังคงวิตกกังวลต่อปัญหาทางการเมืองและจำนวนมากยังคงรู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมืองใน
ขณะนี้ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ดูเหมือนเป็นการสะท้อนความหวังของประชาชนที่มีอยู่คือประชาชนส่วนใหญ่เชื่อมั่นต่อบทบาทหน้าที่ของศาลฎีกา ศาลปกครองและ
ศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องความบริสุทธิ์ยุติธรรมทางการเมือง ในขณะที่องค์กรอิสระอื่นๆ เช่น กกต. วุฒิสภา และปปช. ยังคงประสบกับวิกฤตความเชื่อมั่น
ของประชาชน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากผลสำรวจ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่โดยเฉลี่ยในการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่โดยเฉลี่ยในการติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 59.8
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 21.1
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 11.7
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 2.9
5 ไม่ได้ติดตามเลย 4.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อวิกฤตการเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อวิกฤตการเมืองในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 วิกฤตแล้ว 41.3
2 ยังไม่วิกฤต 42.3
3 ไม่มีความเห็น 16.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 97.2 2.8 100.0
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 69.9 30.1 100.0
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 43.2 56.8 100.0
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 14.1 85.9 100.0
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 16.2 83.8 100.0
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 17.2 82.8 100.0
7 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 74.0 26.0 100.0
8 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันถึงที่สุด 91.1 8.9 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการทำงานขององค์กรอิสระในการทำหน้าที่ได้อย่าง
บริสุทธิ์ยุติธรรมทางการเมือง
ลำดับที่ องค์กรอิสระ เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1 ศาลฎีกา 70.2 15.9 13.9 100.0
2 ศาลปกครอง 68.4 15.0 16.6 100.0
3 ศาลรัฐธรรมนูญ 62.7 16.4 20.9 100.0
4 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) 40.8 33.2 26.0 100.0
5 วุฒิสภา 33.6 38.6 27.8 100.0
6 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 32.0 43.3 24.7 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรับผิดชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งถ้าศาลฎีกาชี้ออกมาว่า
การเลือกตั้งที่ผ่านมาไม่สุจริตเที่ยงธรรม
ลำดับที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 ควรลาออก 51.4
2 ไม่ควรลาออก 15.5
3 ไม่มีความเห็น 33.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการหาคนที่เป็นกลาง มาทำหน้าที่เป็นผู้นำใน
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรหาคนที่เป็นกลางมาเป็นผู้นำ ได้แก่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ /
ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ / นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา /
นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด /
นายผัน จันทรปาน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ / นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นต้น 47.1
2 ไม่ควร 11.3
3 ไม่มีความเห็น 41.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งใหม่โดยมีพรรคร่วมฝ่ายค้านร่วมลงแข่งขัน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 81.9
2 ไม่เห็นด้วย 7.6
3 ไม่มีความเห็น 10.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีพรรคการเมืองที่มีนโยบายตรงกับความต้องการ
แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนระหว่างพรรคไทยรักไทยกับพรรคประชาธิปัตย์
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 นโยบายของพรรคไทยรักไทยตรงกับความต้องการมากกว่า 54.2
2 นโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ตรงกับความต้องการมากกว่า 7.5
3 ไม่แน่ใจ 17.6
4 ไม่มีความเห็น 20.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เป็นที่น่ายินดีว่า สถานการณ์การเมืองไทยเริ่มก้าวเข้าสู่จุดเปลี่ยนและมีความหวังในทางออกชัดเจนมากยิ่งขึ้นภายหลังการลงมติของที่
ประชุมประมุข 3 ศาล ได้แก่ ศาลฎีกา ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อรับสนองพระบรมราโชวาทในการแก้ไขปัญหาวิกฤตของบ้าน
เมือง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นส่งผลกระทบต่ออารมณ์และความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองเป็นอันมาก และนับว่าเป็น
ปรากฎการณ์ที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ในขณะนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างออกมาแสดงเจตนารมณ์ที่จะปฏิบัติตามมติและแนวทางการตัดสินของฝ่ายตุลาการโดยพร้อม
เพรียงกัน ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มี
ต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้าน
ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานขององค์กรอิสระต่างๆ
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อ
สถานการณ์การเมืองภายหลังการประชุมผู้นำ 3 ศาล: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจระหว่างวันที่ 28-29 เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,863 อย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.0 เป็นหญิง
ร้อยละ 44.0 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 19.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 26.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 74.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
เมื่อพิจารณาถึงอาชีพประจำของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.8 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.3 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 21.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.3 ระบุอาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.9 ระบุเป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.5 ระบุเป็นนักศึกษา
และร้อยละ 1.9 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็นของสาธารณ
ชนต่อสถานการณ์การเมืองภายหลังการประชุมผู้นำ 3 ศาล” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหา
นครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,863 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 28-29 เมษายน 2549 โดยประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการ
สำรวจ มีดังนี้
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมาพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 59.8 ระบุติดตาม
ทุกวัน/เกือบทุกวัน ร้อยละ 21.1 ระบุติดตาม 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 11.7 ระบุติดตาม 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 2.9 ระบุ
ติดตาม น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 4.5 ระบุไม่ได้ติดตามเลย ทั้งนี้เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อวิกฤตการณ์การเมืองใน
ขณะนี้นั้นพบว่า ประชาชนจำนวนมาก หรือร้อยละ 41.3 ระบุสถานการณ์การเมืองอยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 42.3 ระบุยังไม่วิกฤต และ
ร้อยละ 16.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความรู้สึกของตัวอย่างต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 97.2 ระบุการเมืองเป็น
เรื่องสำคัญของประเทศ ร้อยละ 91.1 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันถึงที่สุด ร้อยละ 74.0 ระบุรู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ
69.9 ระบุวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง และร้อยละ 43.2 ระบุรู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของตัวอย่างที่มีต่อการทำงานขององค์กรอิสระในการทำหน้าที่ได้อย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมทางการเมือง
พบรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 70.2 ระบุเชื่อมั่นต่อการทำงานของศาลฎีกา ในขณะที่ร้อยละ 15.9 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ
13.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 68.4 ระบุเชื่อมั่นต่อการทำงานของศาลปกครอง ในขณะที่ร้อยละ 15.0 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ
16.6 ไม่มีความคิดเห็น
ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 62.7 ระบุเชื่อมั่นต่อการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ร้อยละ 16.4 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อย
ละ 20.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
ตัวอย่างจำนวนมาก หรือร้อยละ 40.8 ระบุเชื่อมั่นต่อการทำงานของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(ปปช.) ในขณะที่ร้อยละ 33.2 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 26.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 33.6 ระบุเชื่อมั่นต่อการทำงานของวุฒิสภา ในขณะที่ร้อยละ 38.6 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 27.8 ไม่ระบุความคิด
เห็น
และความเชื่อมั่นต่อการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งมีแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากผลสำรวจครั้งที่ผ่านมา คือจากร้อยละ
40.1 ลดลงเหลือร้อยละ 32.0 ในขณะที่ร้อยละ 43.3 ระบุไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 24.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่าประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้คือความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการออกมาแสดงความรับผิดชอบของคณะ
กรรมการการเลือกตั้ง หากศาลฎีกาชี้ว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาไม่สุจริตเที่ยงธรรม ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ
51.4 ระบุ กกต.ควรลาออก ในขณะที่ร้อยละ 15.5 ระบุไม่ควรลาออก และตัวอย่างร้อยละ 33.1 ที่ยังไม่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าว
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการหาคนกลางมาทำหน้าที่เป็นผู้นำในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น พบว่า ตัวอย่าง
เกือบครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 47.1 ระบุควรหาคนกลางมาทำหน้าที่เป็นผู้นำ ได้แก่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ / ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ / นาย
ชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา / นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด / นายผัน จันทรปาน ตุลาการศาลรัฐ
ธรรมนูญ / นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นต้น ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 11.3 ระบุไม่ควร และตัวอย่างร้อยละ 41.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งใหม่โดยมีพรรคร่วมฝ่ายค้านร่วมลงแข่งขันนั้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อย
ละ 81.9 เห็นด้วยกับประเด็นดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 8.6 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 10.5 ไม่มีความเห็น
“นอกจากประเด็นสำคัญดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ยังพบประเด็นสำคัญที่น่าสนใจคือ ความคิดเห็น
ของตัวอย่างที่มีต่อนโยบายของพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 54.2 ระบุนโยบายของพรรค
ไทยรักไทยตรงกับความต้องการในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 7.5 ระบุนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์
ตรงกับความต้องการมากกว่า อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 17.6 ระบุไม่แน่ใจ และร้อยละ 20.7 ไม่ระบุความคิดเห็น” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวสรุปว่า ผลสำรวจหลังการประชุมของผู้นำ 3 ศาลครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษายังคงไม่แน่ใจต่อ
สถานการณ์การเมืองอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังคงวิตกกังวลต่อปัญหาทางการเมืองและจำนวนมากยังคงรู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมืองใน
ขณะนี้ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ดูเหมือนเป็นการสะท้อนความหวังของประชาชนที่มีอยู่คือประชาชนส่วนใหญ่เชื่อมั่นต่อบทบาทหน้าที่ของศาลฎีกา ศาลปกครองและ
ศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องความบริสุทธิ์ยุติธรรมทางการเมือง ในขณะที่องค์กรอิสระอื่นๆ เช่น กกต. วุฒิสภา และปปช. ยังคงประสบกับวิกฤตความเชื่อมั่น
ของประชาชน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากผลสำรวจ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่โดยเฉลี่ยในการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่โดยเฉลี่ยในการติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 59.8
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 21.1
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 11.7
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 2.9
5 ไม่ได้ติดตามเลย 4.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อวิกฤตการเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อวิกฤตการเมืองในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 วิกฤตแล้ว 41.3
2 ยังไม่วิกฤต 42.3
3 ไม่มีความเห็น 16.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 97.2 2.8 100.0
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 69.9 30.1 100.0
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 43.2 56.8 100.0
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 14.1 85.9 100.0
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 16.2 83.8 100.0
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 17.2 82.8 100.0
7 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 74.0 26.0 100.0
8 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันถึงที่สุด 91.1 8.9 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการทำงานขององค์กรอิสระในการทำหน้าที่ได้อย่าง
บริสุทธิ์ยุติธรรมทางการเมือง
ลำดับที่ องค์กรอิสระ เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1 ศาลฎีกา 70.2 15.9 13.9 100.0
2 ศาลปกครอง 68.4 15.0 16.6 100.0
3 ศาลรัฐธรรมนูญ 62.7 16.4 20.9 100.0
4 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) 40.8 33.2 26.0 100.0
5 วุฒิสภา 33.6 38.6 27.8 100.0
6 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 32.0 43.3 24.7 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรับผิดชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งถ้าศาลฎีกาชี้ออกมาว่า
การเลือกตั้งที่ผ่านมาไม่สุจริตเที่ยงธรรม
ลำดับที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 ควรลาออก 51.4
2 ไม่ควรลาออก 15.5
3 ไม่มีความเห็น 33.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการหาคนที่เป็นกลาง มาทำหน้าที่เป็นผู้นำใน
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรหาคนที่เป็นกลางมาเป็นผู้นำ ได้แก่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ /
ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ / นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา /
นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด /
นายผัน จันทรปาน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ / นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นต้น 47.1
2 ไม่ควร 11.3
3 ไม่มีความเห็น 41.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งใหม่โดยมีพรรคร่วมฝ่ายค้านร่วมลงแข่งขัน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 81.9
2 ไม่เห็นด้วย 7.6
3 ไม่มีความเห็น 10.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีพรรคการเมืองที่มีนโยบายตรงกับความต้องการ
แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนระหว่างพรรคไทยรักไทยกับพรรคประชาธิปัตย์
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 นโยบายของพรรคไทยรักไทยตรงกับความต้องการมากกว่า 54.2
2 นโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ตรงกับความต้องการมากกว่า 7.5
3 ไม่แน่ใจ 17.6
4 ไม่มีความเห็น 20.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-