ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการ สำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำ การสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 10 ชั่วโมง จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ ได้ทำการสำรวจ เรื่อง สังคมคิดอย่างไรเรื่อง หวยออนไลน์ กับหุ้นนักการเมือง กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร น่าน พิษณุโลก เชียงใหม่ ปราจีนบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ปทุมธานี ชลบุรี เลย กาฬสินธุ์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น ยะลา และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 1,250 ตัวอย่าง ดำเนินการสำรวจในวันที่ 20 มิถุนายน 2552 ผลการ สำรวจพบว่าประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่คือร้อยละ 84.2 ระบุติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกสัปดาห์
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.7 ทราบข่าวที่รัฐบาลจะให้มีการออกหวยออนไลน์ ในขณะที่ร้อยละ 20.3 ไม่ทราบข่าว และเมื่อถามถึง ปัจจัยที่จะทำให้คนไทยเล่นหวยมากขึ้น ถ้ารัฐบาลอนุมัติให้มีหวยออนไลน์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.5 ระบุเป็นความง่ายในการเล่น รองลงมาคือ ร้อยละ 74.2 ระบุคนไทยชอบเสี่ยง ร้อยละ 70.3 ระบุรูปแบบการเล่นที่ทันสมัย ร้อยละ 69.8 ระบุเจ้าหน้าที่รัฐไม่กวดขันจริงจัง และร้อยละ 63.8 ระบุการโฆษณา ทำให้คนไทยจะเล่นหวยมากขึ้น
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.4 คิดว่า หวยออนไลน์ จะทำให้เด็กและเยาวชนหันมาเล่นหวยมากขึ้น ในขณะที่ร้อย ละ 40.6 ไม่คิด นอกจากนี้ ปัญหาสำคัญที่คิดว่าจะเกิดขึ้นตามมาจากการเล่นหวยกันมากขึ้นในสังคมไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.4 ระบุแหล่งพนัน อบายมุขจะมากขึ้น ร้อยละ 69.1 ระบุโจรกรรมทรัพย์สินจะมากขึ้น ร้อยละ 66.8 จะเกิดปัญหาครอบครัวมากขึ้น ร้อยละ 56.9 จะเกิด ปัญหายาเสพติดมากขึ้น ร้อยละ 50.4 จะเกิดการขายบริการทางเพศมากขึ้น ร้อยละ 49.4 เด็กจะหนีเรียน ร้อยละ 47.7 จะเกิดปัญหาการใช้ความ รุนแรง ทะเลาะวิวาท ในขณะที่เพียงร้อยละ 12.3 เท่านั้นระบุจะไม่เกิดปัญหาใดๆ ถ้ามีหวยออนไลน์ขึ้นในสังคมไทย
และที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.6 ระบุว่า การเล่นหวยจะทำให้ติด และอยากเล่นต่อไปเรื่อยๆ ในขณะที่ร้อยละ 25.4 ไม่คิดว่าจะติด
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.6 ไม่เห็นด้วยต่อการมีหวยออนไลน์ โดยให้เหตุผลว่า สังคมไทยเป็นสังคมแห่งพระพุทธ ศาสนาควรช่วยกันลดอบายมุขมากกว่าส่งเสริม / หวยออนไลน์จะเป็นการมอมเมาประชาชน ทำให้คนเล่นการพนันมากขึ้น ยังไม่มีกฎเกณฑ์และเจ้าหน้าที่ รัฐที่เข้มงวดเพียงพอ และจะทำให้เกิดปัญหาสังคมหลายอย่างตามมา ในขณะที่ร้อยละ 40.4 เห็นด้วย เพราะ ถึงไม่มีหวยออนไลน์คนก็เล่นหวยกันอยู่ แล้ว จะได้ไม่ต้องมีหวยใต้ดิน รัฐบาลมีรายได้มากขึ้น เป็นการเสี่ยงโชคทางเลือกของคนจน และประชาชนจะได้เล่นหวยที่ถูกกฎหมาย
เมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนถึง โอกาสการได้เงินระหว่างการทำงานหนักกับการซื้อหวย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.4 คิดว่า การทำงานหนักทำให้มีโอกาสได้เงินมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 3.6 คิดว่าการซื้อหวยมีโอกาสได้เงินมากกว่า
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงการตรวจสอบเรื่องหุ้นของนักการเมือง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.8 เห็นด้วยกับการตรวจสอบ เรื่องการถือหุ้นของนักการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 14.7 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 9.5 ไม่มีความเห็น โดยหลังจากมีข่าวการตรวจสอบเรื่องหุ้นของ นักการเมืองครั้งนี้ พบว่า ประชาชนเกินครึ่งหรือร้อยละ 52.7 มีความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพความมั่นคงในการทำงานของรัฐบาลลดลง ในขณะที่ร้อยละ 26.6 ยังคงเชื่อมั่นเหมือนเดิม ร้อยละ 9.4 เชื่อมั่นเพิ่มขึ้น และร้อยละ 11.3 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.5 กลัวว่านักการ เมืองจะถอนทุนคืนจากโครงการของรัฐ ร้อยละ 28.3 ไม่กลัว และร้อยละ 10.2 ไม่มีความเห็น ตามลำดับ
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะมีหวยออนไลน์เพราะสังคมไทยเป็นสังคมแห่ง พระพุทธศาสนาควรช่วยกันหาทางลดอบายมุขมากกว่าเปิดโอกาสและส่งเสริม โดยส่วนใหญ่เป็นห่วงปัญหาสังคมหลายอย่างจะเกิดขึ้นตามมา เช่น ปัญหา
อบายมุข โจรกรรมทรัพย์สิน ปัญหาครอบครัว ขายบริการทางเพศ ยาเสพติด และเด็กหนีเรียน และถ้ามีหวยออนไลน์เกิดขึ้นในสังคม จะทำ ให้เด็กและเยาวชนหันมาเล่นหวยออนไลน์มากขึ้นเพราะง่ายในการเข้าถึง มีรูปแบบทันสมัย และเจ้าหน้าที่รัฐไม่เข้มงวดจริงจัง ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชน ส่วนใหญ่มองว่าการเล่นหวย ถ้าเล่นแล้วจะติดและเล่นต่อไปเรื่อยๆ โดยประชาชนส่วนใหญ่แนะให้ช่วยกันทำงานหนักจะเป็นโอกาสให้ได้เงินมากกว่าการ เล่นหวย ในขณะที่สังคมกำลังเห็นด้วยกับการตรวจสอบเรื่องหุ้นของนักการเมือง แต่ก็ส่งผลกระทบทำให้ความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพความมั่นคงของรัฐบาล ลดลง และกลัวว่านักการเมืองจะเริ่มถอนทุนคืนจากโครงการของรัฐ
ข้อเสนอแนะต่อสถานการณ์การเมืองในช่วงเวลานี้คือ สังคมต้องช่วยกันติดตามตรวจสอบใกล้ชิดและกลไกของรัฐต้องสามารถเอาผิดลงโทษ ขบวนการทุจริตคอรัปชั่นให้ได้ เพื่อลบภาพลักษณ์ของการเมืองไทยที่ถูกมองว่ามีการยอมรับพฤติกรรมทุจริตคอรัปชั่นในทุกสาขาอาชีพและทุกระดับชั้นของ สังคม
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 57.3 เป็นหญิง
ร้อยละ 42.7 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.4 อายุ 20 — 29 ปี
ร้อยละ 23.3 อายุ 30 — 39 ปี
ร้อยละ 22.3 อายุ 40 — 49 ปี
และร้อยละ 25.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
โดยตัวอย่าง ร้อยละ 31.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 27.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.9 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.6 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ ร้อยละ 3.5 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
นอกจากนี้ ร้อยละ 73.7 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 21.6 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.6 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 24.3 ระบุมีรายได้ 5,001—10,000 บาท
ร้อยละ 13.9 ระบุมีรายได้ 10,001—15,000 บาท
ร้อยละ 6.8 ระบุมีรายได้ 15,001— 20,000 บาท
ร้อยละ 24.4 ระบุมากกว่า 20,000 บาท
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 60.4 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 14.2 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 9.6 4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 8.4 5 ไม่ติดตามเลย 7.4 รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ลำดับที่ การรับทราบข่าวที่รัฐบาลจะให้มีการออกหวยออนไลน์ ค่าร้อยละ 1 ทราบข่าว 79.7 2 ไม่ทราบข่าว 20.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัจจัยที่คิดว่าจะเป็นสาเหตุทำให้คนไทยเล่นหวยมากขึ้น ถ้ารัฐบาลอนุมัติให้มีหวย ออนไลน์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัจจัยที่คิดว่าเป็นสาเหตุทำให้คนไทยเล่นหวยมากขึ้น ค่าร้อยละ 1 ความง่ายในการเล่น 77.5 2 คนไทยชอบเสี่ยง 74.2 3 รูปแบบการเล่นที่ทันสมัย 70.3 4 เจ้าหน้าที่รัฐไม่กวดขันจริงจัง 69.8 5 การโฆษณา 63.8 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการมีหวยออนไลน์จะมีผลทำให้เด็กและเยาวชนหันมาเล่นหวยมากขึ้นด้วย ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่าจะทำให้เด็กและเยาวชนหันมาเล่นหวยออนไลน์มากขึ้นด้วย 59.4 2 ไม่คิด 40.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่อาจเกิดตามมา หากเด็กและเยาวชนมีการเล่นหวยมากยิ่งขึ้น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปํญหาที่อาจเกิดตามมา ค่าร้อยละ 1 ปํญหาแหล่งพนัน อบายมุขมากขึ้น 70.4 2 ปํญหาการโจรกรรมทรัพย์สิน 69.1 3 ปัญหาครอบครัว 66.8 4 ปํญหาค้ายาเสพติด 56.9 5 ปํญหาการขายบริการทางเพศ 50.4 6 ปัญหาเด็กหนีเรียน 49.4 7 ปัญหาการใช้ความรุนแรง ทะเลาะวิวาท 47.7 8 ไม่คิดว่าจะเกิดปัญหาอะไร 12.3 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นกรณีการเล่นหวย เล่นแล้วจะทำให้ติดและอยากเล่นต่อไปเรื่อยๆ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่าถ้าเล่นแล้ว จะทำให้ติด และอยากเล่นต่อไปเรื่อยๆ 74.6 2 ไม่คิด 25.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการมีหวยออนไลน์เกิดขึ้นในสังคมไทย ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย เพราะ... ถึงไม่มีหวยออนไลน์คนก็เล่นหวยกันอยู่แล้ว/จะได้ไม่ต้องมีหวยใต้ดิน/
รัฐบาลมีรายได้มากขึ้น/เป้นการเสี่ยงโชค เป็นทางเลือกของคนจน/
คิดว่าหวยออนไลน์จะสามารถแก้ปัญหาหวยใต้ดินได้/ประชาชนจะได้เล่นหวย
ที่ถูกฎหมาย 40.4 2 ไม่เห็นด้วย เพราะ.....สังคมไทยเป็นสังคมแห่งพระพุทธศาสนาควรช่วยกันลดอบายมุขมากกว่าส่งเสริม /
หวยออนไลน์จะเป็นการมอมเมาประชาชน/ทำให้คนเล่นการพนันมากขึ้น /ยังไม่มีกฎเกณฑ์
และเจ้าหน้าที่ที่เข้มงวดเพียงพอ/ จะทำให้เกิดปัญหาสังคมหลายอย่างตามมา 59.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อโอกาสการได้เงินระหว่างการทำงานหนักกับการซื้อหวย ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่าการทำงานหนักทำให้มีโอกาสได้เงินมากกว่า 96.4 2 คิดว่าการซื้อหวยมีโอกาสได้เงินมากกว่า 3.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ การตรวจสอบเรื่องการถือหุ้นของนักการเมือง ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วยกับการตรวจสอบ 75.8 2 ไม่เห็นด้วย 14.7 3 ไม่มีความเห็น 9.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพความมั่นคงในการทำงานของรัฐบาลหลังมีข่าวการตรวจสอบ
เรื่องหุ้นของนักการเมือง
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล ค่าร้อยละ 1 เชื่อมั่นเพิ่มขึ้น 9.4 2 เชื่อมั่นเหมือนเดิม 26.6 3 เชื่อมั่นลดลง 52.7 4 ไม่มีความเห็น 11.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความกลัวว่านักการเมืองจะถอนทุนคืนจากโครงการของรัฐ ในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ลำดับที่ ความกลัวของประชาชน ค่าร้อยละ 1 กลัวว่านักการเมืองจะถอนทุนคืนจากโครงการของรัฐ 61.5 2 ไม่กลัว 28.3 3 ไม่มีความเห็น 10.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-