ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการ สำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำ การสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 10 ชั่วโมงในแต่ละโครงการวิจัย จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจ เรื่อง นโยบายและยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกันยาเสพติดในมุมมองของสาธารณชนและเจ้าหน้าที่รัฐ ฝ่ายอำนวยการระดับจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ โดยการวิจัยครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ ใน 1,347 ตัวอย่างครัวเรือน แกนนำชุมชนทั่วประเทศจำนวน 828 ตัวอย่าง ประชาชนในเขตอำเภอเมืองและเทศบาล 1,523 ครัวเรือน และเจ้าหน้าที่ รัฐฝ่ายอำนวยการระดับจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด โดยดำเนินการระหว่างวันที่ 10 — 23 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ยังมีประชาชนจำนวนมากยังไม่รับทราบนโยบายและยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกันยาเสพติดแต่ แกนนำชุมชนส่วนใหญ่รับทราบแล้ว ที่น่าเป็นห่วงคือประชาชนส่วนใหญ่และแกนนำชุมชนจำนวนมากยังคงพบเห็นผู้เสพผู้ติดยา แหล่งมั่วสุมเสพและค้ายา และมีเจ้าหน้าที่รัฐกระทำความผิดเสียเองในหมู่บ้าน/ชุมชนที่พักอาศัย ยิ่งไปกว่านั้นประชาชนระบุสถานการณ์ยาเสพติดในระดับรุนแรงมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่า ปีก่อนๆ แต่ประชาชนยังคงมีความหวังต่อเจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. ตำรวจ และแกนนำชุมชนในลำดับต้นๆ ส่วนแกนนำชุมชนจะคาดหวังต่อเจ้าหน้าที่ฝ่าย ปกครองด้วยกันเองและรองลงมาคือตำรวจ และผลสำรวจครั้งนี้พบความสอดคล้องกันว่า ทั้งประชาชนและแกนนำชุมชนทั่วประเทศเกินกว่าครึ่งที่พอใจต่อ นโยบายและยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกันยาเสพติดของรัฐบาล โดยสัดส่วนของประชาชนที่พอใจเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีก่อนๆ ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา เพราะใน ช่วงการสำรวจวิจัยมีการระดมกวาดล้างอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าพิจารณาคือ ขณะที่รัฐบาลใช้กำลังทหารของเหล่าทัพเข้ามาร่วมเพิ่มมากขึ้นแต่ผลสำรวจกลับพบว่า แกนนำชุมชน เพียงเล็กน้อยที่บอกกับผู้วิจัยว่าได้ปฏิบัติภารกิจร่วมกับทหาร และเมื่อถามเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายอำนวยการระดับจังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ปัญหาอุปสรรคสำคัญ ในการแก้ปัญหายาเสพติด คือ กำลังคน ระบบฐานข้อมูล งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และแผนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ เป็นต้น ที่น่าเป็นห่วงคือ เจ้า หน้าที่รัฐเหล่านี้เพียงเล็กน้อยที่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่มีภาระงานมากเกินไป ที่อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการแก้ปัญหายาเสพติดระยะ ยาวได้
“ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อดูผลวิจัยเกี่ยวกับ รั้วสังคม พบว่า ประชาชนในเขตอำเภอเมืองและเทศบาลยังคงพบปัจจัยเสี่ยง เช่น สถานบันเทิง แหล่งมั่วสุมค้าและเสพยาตามบ้านเช่า อพาร์ทเมนต์ คอนโดมิเนียม กลุ่มแกงค์มอเตอร์ไซค์ซิ่ง และปล่อยให้เด็กซื้อเหล้าบุหรี่เองได้ แต่ผลสำรวจก็พบว่า มีการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ในชุมชนที่ตนเองพักอาศัยและสถานที่ออกกำลังกายมากขึ้น กล่าวโดยสรุปคือ ประชาชนพอใจกับการระดมกวาดล้างมากขึ้น แต่ยังไม่เชื่อมั่นมากเท่าใดนักว่ารัฐบาลจะเอาจริงเอาจังอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน” ผ.อ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าว
ลำดับที่ การรับรู้ต่อโครงการ 5 รั้วป้องกัน ประชาชน แกนนำชุมชน 1 รับรู้/รับทราบ 59.5 79.8 2 ไม่เคยรับรู้ /ไม่เคยรับทราบ 40.5 20.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนและแกนนำชุมชนที่ระบุลักษณะของปัญหายาเสพติดที่รับรู้/เคยพบเห็นว่ามีในหมู่บ้าน/ ชุมชนที่พักอาศัย ลำดับที่ ลักษณะปัญหายาเสพติด ประชาชน แกนนำชุมชน 1 ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด 55.2 46.2 2 แหล่งมั่วสุมเสพยาเสพติด 38.8 33.3 3 เจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 29.4 16.1 4 ผู้ค้า/ผู้ผลิตยาเสพติด 29.2 24.9 5 แหล่งมั่วสุมค้ายาเสพติด 20.7 18.3 ตารางที่ 3 เปรียบเทียบสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในระดับรุนแรง ในหมู่บ้าน/ชุมชนที่พักอาศัยในปัจจุบัน (ร้อยละ) ลำดับที่ ระดับความรุนแรงของสถานการณ์ปํญหายาเสพติด กันยายน 2550 มิถุนายน 2551 มกราคม 2552 มิถุนายน 2552 1 สถานการณ์ด้านผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด 7.6 10.6 10.2 15.7 2 สถานการณ์ด้านผู้ค้ายาเสพติด 6.8 9.2 10.2 15.2 3 สถานการณ์ปัญหายาเสพติดโดยภาพรวม 6.7 9.1 9.5 13.6 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนและแกนนำชุมชนที่ระบุความคาดหวังต่อหน่วยงานต่างๆ ในการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนด้านยาเสพติด ลำดับที่ หน่วยงาน ประชาชน แกนนำชุมชน 1 เจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. 80.6 68.8 2 ตำรวจ 79.2 78.2 3 แกนนำชุมชน 76.8 82.2 4 กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน 75.2 81.5 5 นายอำเภอ 71.5 86.6 6 อบต. 68.4 79.4 7 ทหาร 64.4 59.2 8 นักการเมือง 45.4 31.1 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อรัฐบาลในการดำเนินงานเพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด เปรียบเทียบกับการสำรวจในช่วงปี พ.ศ. 2550- 2552 ลำดับที่ ความพึงพอใจโดยรวมต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล กันยายน 2550 มิถุนายน 2551 มกราคม 2552 มิถุนายน 2552 1 ระดับมากถึงมากที่สุด 43.8 19.2 27.6 57.4 2 ระดับปานกลาง 37.0 46.3 47.6 26.1 3 ระดับน้อยถึงไม่พอใจเลย 19.2 34.5 24.8 16.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานอื่นในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ หน่วยงานที่แกนนำมีส่วนร่วมในการปฏิบัติภารกิจด้านการป้องกัน ร้อยละ 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 89.2 2 ตำรวจ 63.9 3 สาธารณสุข 61.7 4 สถานศึกษา 55.4 5 ศตส. 39.1 6 สังคมสงเคราะห์/พัฒนาสังคม 24.8 7 ทหาร 16.4 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานฝ่ายอำนวยการที่ระบุปัญหาอุปสรรคในการ ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกัน ลำดับที่ ปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหายาเสพติดระดับจังหวัด มีปัญหาระดับมากถึงมากที่สุดร้อยละ 1 กำลังคน/บุคลากรที่ทำงานด้านยาเสพติด 44.2 2 ระบบฐานข้อมูลกลางด้านยาเสพติดของจังหวัด 43.1 3 งบประมาณที่ใช้ในการทำงานด้าน ยาเสพติด 43.0 4 วัสดุ/อุปกรณ์/เครื่องมือ/เทคโนโลยีที่ใช้ในการทำงานด้านยาเสพติด 40.7 5 แผนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ 5 รั้ว 25.6 6 คณะทำงานที่รับผิดชอบในแต่ละรั้ว 23.3 7 การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ 23.3 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานฝ่ายอำนวยการที่ระบุความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับตนเอง ภายหลังได้ร่วมปฏิบัติหน้าที่ตามยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกัน ลำดับที่ ความจริงที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน จริงมากถึงมากที่สุดร้อยละ 1 1. มีโอกาสก้าวหน้ามากขึ้น 54.1 2 2. เสี่ยงต่ออันตราย 50.0 3 3. ได้พัฒนาความรู้ความสามารถ 75.6 4 4. สูญเสียเวลาส่วนตัว 49.4 5 5. มีภาระงานเพิ่มมากขึ้นนอกเหนือจากงานประจำที่ทำอยู่ 62.4 6 6. มีค่าตอบแทนมากขึ้น 11.9 7 7. มีความสุขใจที่ได้ทำงานตามยุทธศาสตร์ 5 รั้ว 77.6 ตารางที่ 9 แสดงการเปรียบเทียบการรับรู้ของประชาชนต่อการมีภาวะเสี่ยง/ปัจจัยลบในพื้นที่พักอาศัย/บริเวณใกล้เคียง (ร้อยละ) ลำดับที่ ภาวะเสี่ยงและมาตรการจัดระเบียบสังคม มกราคม 52 มิถุนายน 52 การมีภาวะเสี่ยง/ปัจจัยลบในพื้นที่ 76.6 73.0 1 สถานบริการ/สถานบันเทิงเปิด-ปิด เกินเวลา 35.5 35.1 2 สถานบริการ/สถานบันเทิง ส่งเสียงดังรบกวน 31.4 33.9 3 การปล่อยให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีเข้าไปในสถานบริการ/สถานบันเทิง 41.7 29.1 4 การจำหน่ายสุราและบุหรี่ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี 52.8 51.7 5 การเปิดร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณ ใกล้เคียงกับสถานศึกษา/ศาสนสถาน 46.0 39.8 6 การมั่วสุมเสพยาเสพติดในหอพัก/คอนโดมิเนียม/บ้านเช่า/อพาร์ทเมนต์ 40.0 42.6 7 การมั่วสุมเสพยาเสพติดในร้านเกม/ร้านอินเทอร์เน็ต 33.5 38.4 8 การซื้อขายยาเสพติดในหอพัก/คอนโดมิเนียม/บ้านเช่า/อพาร์ทเมนต์ 30.2 37.8 9 การซื้อขายยาเสพติดในร้านเกม/ร้านอินเทอร์เน็ต 22.3 23.9 10 เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เที่ยวเตร็ดเตร่ในช่วงเวลาหลัง 22.00 น. 58.2 52.1 11 การมั่วสุมรวมกลุ่มกันของเด็ก/เยาวชน อาทิ แกงค์มอเตอร์ไซค์ซิ่ง 55.2 58.1 12 เด็กนักเรียน/เยาวชน/เด็กเร่ร่อน มั่วสุมในมุมอับ/ที่ลับตาคน/สวนสาธารณะ 42.5 39.7 ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่รับรู้ปัจจัยบวก พื้นที่ที่ดีในชุมชนที่พักอาศัย ลำดับที่ ปัจจัยบวก มกราคม 52 มิถุนายน 52 1 การจัดลานกีฬา /ลานดนตรี 50.0 63.1 2 การจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์อื่นๆ อาทิ การแข่งขันกีฬา - การประกวดดนตรีการประกวดวาดภาพ ให้กับเยาวชน เป็นต้น 47.3 59.8 3 การจัดสถานที่ออกกำลังกาย/สวนสาธารณะ 59.5 78.5 ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลว่าจะสามารถดำเนินโครงการรั้วสังคมได้อย่างต่อเนื่อง ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล ค่าร้อยละ 1 ไม่เชื่อมั่นเลย 7.9 2 น้อย 12.5 3 ปานกลาง 52.1 4 มาก 13.2 5 เชื่อมั่นมากที่สุด 14.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-