ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ชีวิตที่พอเพียงกับความอยู่เย็นเป็นสุข ของประชาชนและประเด็นสำคัญอื่นๆ ของประเทศในขณะนี้ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัดของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ปทุมธานี เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี ชลบุรี หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น ระนอง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,228 ครัวเรือน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25-27 มิถุนายน 2552
จากสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในสายตาของสาธารณชนทั่วไปขณะนี้ ผลสำรวจล่าสุดพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.3 พยายาม รักษาสิ่งของเครื่องใช้ให้คงสภาพใช้งานได้ยาวนาน รองลงมาคือ ส่วนใหญ่เช่นกันหรือร้อยละ 75.5 มุ่งทำงานเพื่อให้พออยู่พอกินและมีเงินเก็บไว้ใช้ ยามจำเป็น ร้อยละ 73.1 คิดว่าตนเองเป็นคนมุมานะทำงานหนักมากกว่าคนอื่นที่อยู่รอบตัว ร้อยละ 72.8 คิดว่าตนเองเป็นคนวางแผนใช้จ่ายรัดกุมและ หารายได้เป็นขั้นเป็นตอน นอกจากนี้ ยังมีประชาชนอีกจำนวนมากหรือร้อยละ 45.9 กำลังทำงานประกอบอาชีพที่หลากหลาย หารายได้จากหลายแหล่ง อย่างไรก็ตาม มีเพียงร้อยละ 38.6 ที่มีทรัพย์สินเก็บออมเป็นมูลค่ามากกว่าเงินที่ได้รับ 1 เดือน
ที่น่าพิจารณาคือ เกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 35.4 บอกว่าถ้าไม่มีรายได้เดือนนี้จะต้องเดือดร้อนพึ่งพาคนอื่น ในขณะที่ ร้อยละ 32.1 ยังคงคิดอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ และร้อยละ 22.7 บอกว่าหลังซื้อสินค้ามาแล้วพบว่า ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์เท่าใดนัก
ที่น่าเป็นห่วงคือ แนวโน้มของประชาชนที่มองว่า การทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ เพิ่มสูงขึ้นจากการสำรวจเมื่อปีที่ แล้ว จากร้อยละ 67.4 ในเดือนเมษายนปี 2551 มาอยู่ที่ร้อยละ 84.5 ในการสำรวจล่าสุด นอกจากนี้ เกินครึ่งหรือร้อยละ 51.2 ยังคงยอมรับ รัฐบาลที่ทุจริตคอรัปชั่น โดยคิดว่า ทุกรัฐบาลมีการทุจริตคอรัปชั่นด้วยกันทั้งนั้น ถ้าทุจริตคอรัปชั่นแล้วทำให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนกินดีอยู่ดี เป็น เรื่องที่ยอมรับได้
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจครั้งนี้พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มหันมาเคร่งครัดกับการใช้ชีวิตแบบพอเพียงในระดับ ค่อนข้างเคร่งครัด จนถึง เคร่งครัดมากที่สุด ในเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 46.5 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 87.4 ในการสำรวจล่าสุด นอกจากนี้ จากการใช้หลักสถิติวิจัยวิเคราะห์พบ ว่า ประชาชนที่ใช้ชีวิตพอเพียงแท้จริงจะมีโอกาสอยู่เย็นเป็นสุขประมาณ 5 เท่ามากกว่ากลุ่มประชาชนที่ไม่ใช้ชีวิตแบบพอเพียง และผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.9 บอกว่า การใช้ชีวิตพอเพียงช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ขณะนี้ลงได้ ในขณะที่ร้อย ละ 18.4 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 7.7 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามประเด็นสำคัญอื่นๆ ของประเทศในขณะนี้ พบว่าเรื่องปัญหาขัดแย้งกรณีเขาพระวิหารกับประเทศกัมพูชานั้น ส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 84.6 อยากให้เจรจากันด้วยสันติวิธีและร่วมพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศคือทางออกของความขัดแย้ง มีเพียงร้อยละ 4.8 ที่ อยากให้ใช้กองกำลังแก้ปัญหา ส่วนในเรื่องปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.7 อยากให้ใช้กระบวนการ ยุติธรรมจัดการเด็ดขาดกับผู้กระทำผิด ร้อยละ 79.5 ให้กวาดล้างยาเสพติดและอาวุธสงคราม ร้อยละ 72.1 สร้างความเป็นธรรมในสังคมภาค ใต้ ร้อยละ 67.7 แก้ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน ขณะที่ครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.0 ใช้รูปแบบการปกครองพิเศษ
เมื่อถามถึงการสนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 52.9 สนับสนุนโดยมีเงื่อนไขให้ชุมนุมอย่างสงบ ในขณะที่ ร้อยละ 16.3 สนับสนุนโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ แต่ร้อยละ 21.1 ไม่สนับสนุนเลย และร้อยละ 9.7 ไม่มีความเห็น
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จริงในชีวิตกำลังได้รับการตอบรับจากประชาชนใน ช่วงเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ขณะนี้ แต่ยังไม่ใช่ประชาชนส่วนใหญ่ที่ใช้ชีวิตแบบพอเพียงอย่างเคร่งครัด รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องน่าจะมียุทธศาสตร์ ชัดเจนและต่อเนื่องในการทำให้สาธารณชนคนไทยรับหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตแบบยั่งยืนเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาวงรอบของเศรษฐกิจที่ ย่ำแย่จะหมุนเวียนกลับมา อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญขณะนี้คือ การยอมรับการทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มประชาชนกำลังแพร่ระบาดไปทั้งสังคมธุรกิจและ รัฐบาล จึงจำเป็นต้องรีบเยียวยาแก้ไขทัศนคติของประชาชนเหล่านี้
“ส่วนประเด็นสำคัญอื่นๆ ของประเทศที่น่าพิจารณาคือ การใช้วิธีเจรจาและร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศกับกัมพูชาน่าจะเป็นหน ทางแก้ปัญหาขัดแย้งเรื่องเขาพระวิหารได้ ในขณะที่ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้วิธีการใช้กระบวนการยุติธรรมจัดการเด็ดขาดกับผู้ กระทำผิด กวาดล้างยาเสพติดและอาวุธสงครามคือทางออกในลำดับต้นๆ จากสาธารณชน และการเคลื่อนไหวชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงได้รับการสนับสนุน จากประชาชนถ้าชุมนุมด้วยความสงบและสร้างสรรค์” ดร.นพดล กล่าว
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 16.6 อายุ 20 — 29 ปี
ร้อยละ 20.2 อายุ 30 — 39 ปี
ร้อยละ 23.0 อายุ 40 — 49 ปี
และร้อยละ 31.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
โดยตัวอย่าง ร้อยละ 31.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 27.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 15.2 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.5 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ ร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
นอกจากนี้ ร้อยละ 75.0 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 22.4 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับตนเองในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 รักษาสิ่งของเครื่องใช้ให้คงสภาพใช้งานได้ยาวนาน 81.3 2 มุ่งทำงานเพื่อให้พออยู่พอกิน และมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น 75.5 3 คิดว่าเป็นคนมุมานะทำงานหนักมากกว่าคนอื่นๆ ที่อยู่รอบตัว 73.1 4 คิดว่า เป็นคนวางแผนใช้จ่ายรัดกุมและหารายได้เป็นขั้นเป็นตอน 72.8 5 ทำงานประกอบอาชีพที่หลากหลาย 45.9 6 มีทรัพย์ที่เก็บออมเป็นมูลค่ามากกว่าเงินที่ได้รับ 1 เดือน 38.6 7 ถ้าไม่มีรายได้เดือนนี้จะต้องเดือดร้อนพึ่งพาคนอื่น 35.4 8 คิดอยากซื้ออะไรก็ซื้อ 32.1 9 หลังซื้อสินค้ามาพบว่า ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์เท่าใดนัก 22.7 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นกรณีการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจเปรียบเทียบกับการ สำรวจในช่วงเดือนเมษายน 2551 ที่ผ่านมา ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีการทุจริตคอรัปชั่น เมษายน 2551 พฤษภาคม 2552 มิถุนายน 2552 เป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1 ไม่ค่อยเห็นด้วย - ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 32.6 25.3 15.5 2 ค่อนข้างเห็นด้วย — เห็นด้วยอย่างยิ่ง 67.4 74.7 84.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แนวคิดที่ว่า รัฐบาลทุกรัฐบาลมีทุจริตคอรัปชั่นด้วยกันทั้งนั้น ถ้าทุจริตคอรัปชั่นแล้วทำให้ ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนกินดีอยู่ดี เป็นเรื่องยอมรับได้ ลำดับที่ แนวคิดของประชาชน ค่าร้อยละ 1 คิดว่า รัฐบาลทุกรัฐบาลมีการทุจริตคอรัปชั่นด้วยกันทั้งนั้น ถ้าทุจริตคอรัปชั่นแล้วทำให้ ประเทศชาติรุ่งเรืองประชาชนกินดีอยู่ดี ก็ยอมรับได้ 51.2 2 ไม่คิดเช่นนั้น 48.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเคร่งครัดในการใช้ชีวิตแบบพอเพียงเปรียบเทียบการสำรวจในช่วงเดือนมีนาคม ลำดับที่ ระดับความเคร่งครัดในการใช้ชีวิตแบบพอเพียง มีนาคมค่าร้อยละ พฤษภาคมค่าร้อยละ มิถุนายน 2552ค่าร้อยละ 1 ไม่ค่อยเคร่งครัด-ไม่เคร่งครัดเลย 53.5 32.4 12.6 2 ค่อนข้างเคร่งครัด-เคร่งครัดมากที่สุด 46.5 67.6 87.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าสถิติวิจัย Odds Ratio ของการใช้ชีวิตแบบพอเพียงที่มีต่อความสุขของประชาชน ลำดับที่ ความสุขของประชาชน Odds Ratio(95% C I ) ค่านัยสำคัญp-value 1 มีความสุข 4.791* 0.001 2 ไม่มีความสุข อ้างอิง ตารางที่ 6 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ ประโยคที่ว่า “การใช้ชีวิตพอเพียงช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจที่ย่ำแย่” ลำดับที่ ความเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วยที่ว่า การใช้ชีวิตพอเพียงช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ 73.9 2 ไม่เห็นด้วย 18.4 3 ไม่มีความเห็น 7.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ ความขัดแย้งระหว่างประเทศกรณีเขาพระวิหาร ลำดับที่ ความเห็น ค่าร้อยละ 1 อยากให้เจรจากันด้วยสันติวิธีและร่วมพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 84.6 2 อยากให้ใช้กองกำลัง 4.8 3 ไม่มีความเห็น 10.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ แนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ความเห็น ค่าร้อยละ 1 ใช้กระบวนการยุติธรรมจัดการเด็ดขาดกับผู้กระทำผิด 80.7 2 กวาดล้างยาเสพติดและอาวุธสงคราม 79.5 3 สร้างความเป็นธรรมในสังคมภาคใต้ 72.1 4 แก้ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน 67.7 5 ใช้รูปแบบการปกครองพิเศษ 50.0 ตารางที่ 9 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การสนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง ลำดับที่ ความเห็น ค่าร้อยละ 1 สนับสนุนโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ 16.3 2 สนับสนุนโดยมีเงื่อนไขให้ชุมนุมอย่างสงบ 52.9 3 ไม่สนับสนุนเลย 21.1 4 ไม่มีความเห็น 9.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-