ที่มาของโครงการ
ยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง เข้ามาเพียงใด สถานการณ์ปัญหาการเมืองดูจะตึงเครียด และเขม็งเกลียวขึ้นทุกขณะการชุมนุมประท้วงของกลุ่ม
ต่างๆ มีความหลากหลายมากขึ้น สร้างความสับสนให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกตั้ง ส.ส.ที่จะมาถึงในวันที่
2 เมษายนนี้ เพราะในขณะที่รัฐบาลได้พยายามรณรงค์ให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน โดยได้มีการเสนอแนวคิดการจัดตั้ง
รัฐบาลแห่งชาติภายหลังการเลือกตั้ง แต่อีกด้านหนึ่งนั้น กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็มีการเคลื่อนย้ายกลุ่มผู้ชุมนุมไปยังสถานที่ต่างๆ
โดยล่าสุดได้มีการนัดชุมนุมที่หน้าอาคารสำนักงาน กกต.เพื่อกดดันให้ กกต.ประกาศยกเลิกการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนนี้ และยังคงยืนยันในข้อ
เรียกร้องนายกรัฐมนตรีพระราชทานเช่นเดิม
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
สถานการณ์และความเคลื่อนไหวต่างๆทางการเมืองในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการ
ตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวม
ข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองในช่วงก่อนการเลือกตั้ง
3. เพื่อสำรวจความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งของประชาชนในวันที่ 2 เมษายน 2549
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้อง นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นและความตั้งใจของประชาชนในการ
เลือกตั้ง 2 เมษายน: กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 29-30
มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,606 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 44.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.2 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 22.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 25.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 79.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 18.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 1.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.1 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.3 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 13.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.8 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.5 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
และร้อยละ 1.9 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นและความตั้งใจของประชาชนในการเลือก
ตั้ง 2 เมษายน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้ง
สิ้น 3,606 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 29-30 มีนาคม 2549 ซึ่งผลสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ติดตามข่าวสถานการณ์การ
เมืองอย่างใกล้ชิด แต่จำนวนไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่คิดว่าปัญหาการเมืองในขณะนี้อยู่ในขั้นวิกฤตแล้วกับกลุ่มที่คิดว่ายังไม่วิกฤตคือร้อยละ 42.6 ต่อ
ร้อยละ 40.0 ที่เหลือร้อยละ 17.4 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.2 ทราบว่าวันเลือกตั้ง ส.ส.ตรงกับวันที่ 2 เมษายน และส่วนใหญ่หรือร้อยละ
74.0 ตั้งใจจะไปเลือกตั้งแน่นอน ในขณะที่ร้อยละ 11.5 ไม่ไป และร้อยละ 14.5 ยังไม่แน่ใจ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจที่ผ่านมาพบว่า มีแนวโน้ม
สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจครั้งนี้พบว่า ประชาชนที่มั่นใจและไม่มั่นใจต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมของการเลือกตั้งมีสัดส่วนไม่แตกต่างกันคือร้อยละ
40.3 ต่อร้อยละ 43.8 ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนเพียงร้อยละ 26.3 เท่านั้นที่เห็นด้วยกับการใช้ตรายางประทับบนบัตรเลือกตั้งโดยให้เหตุผลว่า
สะดวก แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.0 ไม่เห็นด้วยโดยให้เหตุผลว่าจะมีการทุจริตได้ง่าย มีความน่าเชื่อถือมากกว่า และเป็นวิธีใหม่ที่ประชาชนไม่คุ้น
เคย ดังนั้นควรใช้การกากบาทด้วยลายมือของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเอง
“ประเด็นร้อนทางการเมืองอื่นๆ ที่น่าพิจารณาคือ ผลสำรวจล่าสุดครั้งนี้หลายประเด็นชี้ให้เห็นว่า พรรคไทยรักไทยและนายกรัฐมนตรีกำลัง
ได้รับการสนับสนุนของสาธารณชนลดน้อยลงจากร้อยละ 46.0 ที่บอกว่าจะเลือกพรรคที่ตั้งใจจะเลือกในการสำรวจวันที่ 25 มีนาคม ลดลงเหลือร้อยละ
34.6 ในการสำรวจครั้งล่าสุด ในขณะที่กลุ่มที่ตั้งใจจะไปงดลงคะแนนเริ่มมีสัดส่วนสูงขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น การสนับสนุนของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ ชินวัตร เริ่มมีแนวโน้มลดลงเมื่อผลสำรวจออกมาว่า คนที่ระบุไม่ควรลาออกทันทีหลังการเลือกตั้งเริ่มลดลงเห็นได้ชัดเจนจากร้อยละ 44.5 ในวัน
ที่ 11 มีนาคมเหลือร้อยละ 40.2 ในการสำรวจครั้งล่าสุดวันที่ 30 มีนาคม ในขณะที่จำนวนประชาชนที่คิดว่าควรลาออกทันทีกลับเริ่มสูงขึ้นจากร้อยละ
21.9 มาที่ร้อยละ 24.7 จำนวนประชาชนที่แต่ละฝ่ายมีต่ำกว่าร้อยละ 50 เช่นนี้ทำให้สถานการณ์การเมืองอยู่ในสภาวะที่อ่อนไหวมาก ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
พูดอะไรทำอะไรมักจะมีแรงเสียดทานตลอดเวลา” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ปัจจัยหลักน่าจะเป็นเรื่องของท่าทีของกลุ่มผู้ชุมนุมสนับสนุนนายกรัฐมนตรีที่ทำให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงพฤติกรรมที่
ใช้ความรุนแรงก้าวร้าวของกลุ่มผู้ชุมนุม ทำให้การสนับสนุนของกลุ่มพลังเงียบเปลี่ยนไปสนับสนุนกลุ่มตรงข้ามและบางส่วนกลับไปอยู่กลางๆ ที่เดิม และ
วันนี้คณะผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นเดิมเพื่อดูว่าแนวโน้มการสนับสนุนนายกรัฐมนตรีและพรรคไทยรักไทยที่เริ่มลดต่ำลงจะลดลงไปกว่านี้
อีกมากน้อยเพียงไรเนื่องจากมีตัวแปรใหม่เพิ่มเข้ามาในสถานการณ์การเมืองขณะนี้คือการขับไล่แกนนำพรรคประชาธิปัตย์และการชุมนุมหน้าตึกเนชั่นที่สกัด
ห้ามแม้แต่คนป่วยหนักคนตั้งครรภ์ออกจากตึกโดยกลุ่มคาราวานคนจน หลังจากได้ผลสำรวจแล้วคณะผู้วิจัยจะนำเสนอต่อสังคมต่อไป ในขณะที่มีความวุ่นวาย
เกิดขึ้นเช่นกันในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ซึ่งผลที่ตามมามักจะส่งผลเสียต่อรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีมากกว่า การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายนจึง
อาจกลายเป็นเพียงละครอีกฉากหนึ่งของวิกฤตการเมืองขณะนี้เท่านั้น
“ผลการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นก็จะไม่ส่งผลต่อความนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีมากเท่ากับการเลือกตั้งใหญ่สองครั้งที่ผ่านมา นั่นหมาย
ความว่าจะเกิดสภาวะอิ่มตัวของตลาดการเมือง ซึ่งนักธุรกิจทั่วไปมักจะตัดสินใจขายหรือปิดกิจการเนื่องจากทำธุรกิจต่อไปก็ไม่มีทางจะกอบกู้สถานการณ์
กลับคืนมาได้ หลังการเลือกตั้ง 2 เมษายนน่าจะเป็นโอกาสเหมาะของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ที่จะพิจารณาทบทวนว่า หากคะแนนนิยมไม่สูงไปกว่าร้อยละ
50 ของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศ นโยบายต่างๆ ของรัฐบาลคงจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก ดังนั้น การลาออกในช่วงเวลาดังกล่าวน่าจะ
เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และพรรคไทยรักไทย ด้วยนโยบายสาธารณะที่โดนใจประชาชนมากกว่าพรรคอื่นในขณะนี้ เพราะเป็น
การถอยที่ได้รับใจจากประชาชนทั้งประเทศและไม่ถือว่าแพ้ต่อทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตยที่ว่าคนต่างจังหวัดตั้งรัฐบาลแต่คนกรุงฯ ล้มรัฐบาล” ดร.นพ
ดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร น่าจะเอาแบบอย่าง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ที่ท่านรู้จักคำว่าพอ
แม้ว่า สังคมในขณะนั้น ต้องการให้ พล.อ.เปรม เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ตัดสินใจตามแบบอย่างของ พล.อ.เปรม ประเทศไทยก็
จะก้าวไปสู่ขั้นต่อไปคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การปรับปรุงระบบและภาพลักษณ์ขององค์กรอิสระ เช่น กกต. ให้เป็นที่เชื่อถือยอมรับของสังคม และการ
ปฏิรูปการเมืองรอบใหม่จะเกิดขึ้นบนพื้นฐานของความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ
โปรดพิจารณารายละเอียดผลสำรวจอื่นๆ ได้ในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ความถี่โดยเฉลี่ยในการติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมือง 12 มี.ค.ค่าร้อยละ 22 มี.ค.ค่าร้อยละ 25 มี.ค.ค่าร้อยละ 27 มี.ค.ค่าร้อยละ 29 มี.ค.ค่าร้อยละ 30 มี.ค.ค่าร้อยละ
1. ทุกวัน / เกือบทุกวัน 58.1 68.6 65.0 69.7 64.6 66.8
2. 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 25.0 16.6 17.0 14.7 15.8 15.8
3. 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 13.7 11.2 13.6 11.7 14.1 12.3
4. ไม่ได้ติดตามเลย 3.2 3.6 4.4 3.9 5.5 5.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้ ร้อยละ
1 อยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว 42.6
2 ยังไม่วิกฤต 40.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 17.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบต่อวันเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบต่อวันเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 2 เมษายน 49 ร้อยละ
1 ทราบ 95.2
2 ไม่ทราบ 4.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
ความตั้งใจของตัวอย่าง 1 มี.ค. 18 มี.ค. 21 มี.ค. 25 มี.ค. 27 มี.ค. 29 มี.ค. 30 มี.ค.
1.ไปแน่นอน 57.3 47.8 65.2 41.4 64.8 72.8 74.0
2.ไม่ไป 18.0 15.1 18.8 15.0 11.6 13.7 11.5
3.ไม่แน่ใจ 24.7 37.1 16.0 43.6 23.6 13.5 14.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อ กกต. ในการทำหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 24.5
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 15.8
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 24.1
4 ไม่เชื่อมั่น 19.7
5 ไม่มีความเห็น 15.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อวิธีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งด้วยการใช้ตรายาง
และการกากบาทด้วยลายมือตนเอง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรใช้ตรายาง เพราะ .......สะดวกต่อการใช้งาน/เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่เขียนหนังสือไม่ได้ 26.3
2 ควรกากบาทด้วยลายมือตนเอง เพราะ......เกรงว่าจะเกิดการทุจริต/มีความน่าเชื่อถือมากกว่า /
เป็นวิธีที่ประชาชนคุ้นเคยดี 59.0
3 ไม่มีความเห็น 14.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการลงคะแนน ถ้าหากว่าไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
วิธีการลงคะแนน ถ้าหากว่าไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 49 25 มี.ค.49 ค่าร้อยละ 27 มี.ค.49ค่าร้อยละ 29 มี.ค.49ค่าร้อยละ 30 มี.ค.49ค่าร้อยละ
1.เลือกพรรคที่ตั้งใจจะเลือก 46.0 41.3 38.3 34.6
2.งดลงคะแนน 25.6 22.6 22.4 25.4
3.ยังไม่ได้ตัดสินใจ 28.4 36.1 39.3 40.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ควรลาออกหลังการ
เลือกตั้งในวันที่ 2 เม.ย. ทันทีหรือไม่
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ควรลาออกหลังการเลือกตั้ง- 11 มี.ค.49ร้อยละ 29 มี.ค. 49ร้อยละ 30 มี.ค. 49ร้อยละ
ในวันที่ 2 เม.ย. 2549 ทันทีหรือไม่
ควรลาออกทันที 24.4 21.9 24.7
ไม่ควรลาออกทันที 44.5 43.2 40.2
ไม่มีความเห็น 31.1 34.9 35.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
ภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 28.4
2 ไม่เห็นด้วย 23.8
3 ไม่มีความเห็น 47.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
ความเห็นของตัวอย่าง 1 มี.ค.ร้อยละ 6 มี.ค.ร้อยละ 20 มี.ค.ร้อยละ 22 มี.ค.ร้อยละ 25 มี.ค.ร้อยละ 27 มี.ค.ร้อยละ 29 มี.ค.ร้อยละ 30 มี.ค.ร้อยละ
1.เห็นด้วย 38.5 46.1 37.0 30.3 27.2 24.1 22.4 24.8
2.ไม่เห็นด้วย 24.2 20.2 26.0 23.2 34.3 37.8 34.7 36.4
3.ไม่มีความเห็น 37.3 33.7 37.0 46.5 38.5 38.1 42.9 38.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
จะยุติการชุมนุมในช่วงการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 70.3
2 ไม่เห็นด้วย 6.6
3 ไม่มีความเห็น 23.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง เข้ามาเพียงใด สถานการณ์ปัญหาการเมืองดูจะตึงเครียด และเขม็งเกลียวขึ้นทุกขณะการชุมนุมประท้วงของกลุ่ม
ต่างๆ มีความหลากหลายมากขึ้น สร้างความสับสนให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกตั้ง ส.ส.ที่จะมาถึงในวันที่
2 เมษายนนี้ เพราะในขณะที่รัฐบาลได้พยายามรณรงค์ให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน โดยได้มีการเสนอแนวคิดการจัดตั้ง
รัฐบาลแห่งชาติภายหลังการเลือกตั้ง แต่อีกด้านหนึ่งนั้น กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็มีการเคลื่อนย้ายกลุ่มผู้ชุมนุมไปยังสถานที่ต่างๆ
โดยล่าสุดได้มีการนัดชุมนุมที่หน้าอาคารสำนักงาน กกต.เพื่อกดดันให้ กกต.ประกาศยกเลิกการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนนี้ และยังคงยืนยันในข้อ
เรียกร้องนายกรัฐมนตรีพระราชทานเช่นเดิม
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
สถานการณ์และความเคลื่อนไหวต่างๆทางการเมืองในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการ
ตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวม
ข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองในช่วงก่อนการเลือกตั้ง
3. เพื่อสำรวจความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งของประชาชนในวันที่ 2 เมษายน 2549
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้อง นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นและความตั้งใจของประชาชนในการ
เลือกตั้ง 2 เมษายน: กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 29-30
มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,606 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 44.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.2 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 22.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 25.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 79.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 18.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 1.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.1 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.3 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 13.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.8 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.5 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
และร้อยละ 1.9 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นและความตั้งใจของประชาชนในการเลือก
ตั้ง 2 เมษายน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้ง
สิ้น 3,606 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 29-30 มีนาคม 2549 ซึ่งผลสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ติดตามข่าวสถานการณ์การ
เมืองอย่างใกล้ชิด แต่จำนวนไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่คิดว่าปัญหาการเมืองในขณะนี้อยู่ในขั้นวิกฤตแล้วกับกลุ่มที่คิดว่ายังไม่วิกฤตคือร้อยละ 42.6 ต่อ
ร้อยละ 40.0 ที่เหลือร้อยละ 17.4 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.2 ทราบว่าวันเลือกตั้ง ส.ส.ตรงกับวันที่ 2 เมษายน และส่วนใหญ่หรือร้อยละ
74.0 ตั้งใจจะไปเลือกตั้งแน่นอน ในขณะที่ร้อยละ 11.5 ไม่ไป และร้อยละ 14.5 ยังไม่แน่ใจ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจที่ผ่านมาพบว่า มีแนวโน้ม
สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจครั้งนี้พบว่า ประชาชนที่มั่นใจและไม่มั่นใจต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมของการเลือกตั้งมีสัดส่วนไม่แตกต่างกันคือร้อยละ
40.3 ต่อร้อยละ 43.8 ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนเพียงร้อยละ 26.3 เท่านั้นที่เห็นด้วยกับการใช้ตรายางประทับบนบัตรเลือกตั้งโดยให้เหตุผลว่า
สะดวก แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.0 ไม่เห็นด้วยโดยให้เหตุผลว่าจะมีการทุจริตได้ง่าย มีความน่าเชื่อถือมากกว่า และเป็นวิธีใหม่ที่ประชาชนไม่คุ้น
เคย ดังนั้นควรใช้การกากบาทด้วยลายมือของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเอง
“ประเด็นร้อนทางการเมืองอื่นๆ ที่น่าพิจารณาคือ ผลสำรวจล่าสุดครั้งนี้หลายประเด็นชี้ให้เห็นว่า พรรคไทยรักไทยและนายกรัฐมนตรีกำลัง
ได้รับการสนับสนุนของสาธารณชนลดน้อยลงจากร้อยละ 46.0 ที่บอกว่าจะเลือกพรรคที่ตั้งใจจะเลือกในการสำรวจวันที่ 25 มีนาคม ลดลงเหลือร้อยละ
34.6 ในการสำรวจครั้งล่าสุด ในขณะที่กลุ่มที่ตั้งใจจะไปงดลงคะแนนเริ่มมีสัดส่วนสูงขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น การสนับสนุนของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ ชินวัตร เริ่มมีแนวโน้มลดลงเมื่อผลสำรวจออกมาว่า คนที่ระบุไม่ควรลาออกทันทีหลังการเลือกตั้งเริ่มลดลงเห็นได้ชัดเจนจากร้อยละ 44.5 ในวัน
ที่ 11 มีนาคมเหลือร้อยละ 40.2 ในการสำรวจครั้งล่าสุดวันที่ 30 มีนาคม ในขณะที่จำนวนประชาชนที่คิดว่าควรลาออกทันทีกลับเริ่มสูงขึ้นจากร้อยละ
21.9 มาที่ร้อยละ 24.7 จำนวนประชาชนที่แต่ละฝ่ายมีต่ำกว่าร้อยละ 50 เช่นนี้ทำให้สถานการณ์การเมืองอยู่ในสภาวะที่อ่อนไหวมาก ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
พูดอะไรทำอะไรมักจะมีแรงเสียดทานตลอดเวลา” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ปัจจัยหลักน่าจะเป็นเรื่องของท่าทีของกลุ่มผู้ชุมนุมสนับสนุนนายกรัฐมนตรีที่ทำให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงพฤติกรรมที่
ใช้ความรุนแรงก้าวร้าวของกลุ่มผู้ชุมนุม ทำให้การสนับสนุนของกลุ่มพลังเงียบเปลี่ยนไปสนับสนุนกลุ่มตรงข้ามและบางส่วนกลับไปอยู่กลางๆ ที่เดิม และ
วันนี้คณะผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นเดิมเพื่อดูว่าแนวโน้มการสนับสนุนนายกรัฐมนตรีและพรรคไทยรักไทยที่เริ่มลดต่ำลงจะลดลงไปกว่านี้
อีกมากน้อยเพียงไรเนื่องจากมีตัวแปรใหม่เพิ่มเข้ามาในสถานการณ์การเมืองขณะนี้คือการขับไล่แกนนำพรรคประชาธิปัตย์และการชุมนุมหน้าตึกเนชั่นที่สกัด
ห้ามแม้แต่คนป่วยหนักคนตั้งครรภ์ออกจากตึกโดยกลุ่มคาราวานคนจน หลังจากได้ผลสำรวจแล้วคณะผู้วิจัยจะนำเสนอต่อสังคมต่อไป ในขณะที่มีความวุ่นวาย
เกิดขึ้นเช่นกันในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ซึ่งผลที่ตามมามักจะส่งผลเสียต่อรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีมากกว่า การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายนจึง
อาจกลายเป็นเพียงละครอีกฉากหนึ่งของวิกฤตการเมืองขณะนี้เท่านั้น
“ผลการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นก็จะไม่ส่งผลต่อความนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีมากเท่ากับการเลือกตั้งใหญ่สองครั้งที่ผ่านมา นั่นหมาย
ความว่าจะเกิดสภาวะอิ่มตัวของตลาดการเมือง ซึ่งนักธุรกิจทั่วไปมักจะตัดสินใจขายหรือปิดกิจการเนื่องจากทำธุรกิจต่อไปก็ไม่มีทางจะกอบกู้สถานการณ์
กลับคืนมาได้ หลังการเลือกตั้ง 2 เมษายนน่าจะเป็นโอกาสเหมาะของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ที่จะพิจารณาทบทวนว่า หากคะแนนนิยมไม่สูงไปกว่าร้อยละ
50 ของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศ นโยบายต่างๆ ของรัฐบาลคงจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก ดังนั้น การลาออกในช่วงเวลาดังกล่าวน่าจะ
เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และพรรคไทยรักไทย ด้วยนโยบายสาธารณะที่โดนใจประชาชนมากกว่าพรรคอื่นในขณะนี้ เพราะเป็น
การถอยที่ได้รับใจจากประชาชนทั้งประเทศและไม่ถือว่าแพ้ต่อทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตยที่ว่าคนต่างจังหวัดตั้งรัฐบาลแต่คนกรุงฯ ล้มรัฐบาล” ดร.นพ
ดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร น่าจะเอาแบบอย่าง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ที่ท่านรู้จักคำว่าพอ
แม้ว่า สังคมในขณะนั้น ต้องการให้ พล.อ.เปรม เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ตัดสินใจตามแบบอย่างของ พล.อ.เปรม ประเทศไทยก็
จะก้าวไปสู่ขั้นต่อไปคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การปรับปรุงระบบและภาพลักษณ์ขององค์กรอิสระ เช่น กกต. ให้เป็นที่เชื่อถือยอมรับของสังคม และการ
ปฏิรูปการเมืองรอบใหม่จะเกิดขึ้นบนพื้นฐานของความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ
โปรดพิจารณารายละเอียดผลสำรวจอื่นๆ ได้ในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ความถี่โดยเฉลี่ยในการติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมือง 12 มี.ค.ค่าร้อยละ 22 มี.ค.ค่าร้อยละ 25 มี.ค.ค่าร้อยละ 27 มี.ค.ค่าร้อยละ 29 มี.ค.ค่าร้อยละ 30 มี.ค.ค่าร้อยละ
1. ทุกวัน / เกือบทุกวัน 58.1 68.6 65.0 69.7 64.6 66.8
2. 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 25.0 16.6 17.0 14.7 15.8 15.8
3. 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 13.7 11.2 13.6 11.7 14.1 12.3
4. ไม่ได้ติดตามเลย 3.2 3.6 4.4 3.9 5.5 5.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้ ร้อยละ
1 อยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว 42.6
2 ยังไม่วิกฤต 40.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 17.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบต่อวันเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบต่อวันเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 2 เมษายน 49 ร้อยละ
1 ทราบ 95.2
2 ไม่ทราบ 4.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
ความตั้งใจของตัวอย่าง 1 มี.ค. 18 มี.ค. 21 มี.ค. 25 มี.ค. 27 มี.ค. 29 มี.ค. 30 มี.ค.
1.ไปแน่นอน 57.3 47.8 65.2 41.4 64.8 72.8 74.0
2.ไม่ไป 18.0 15.1 18.8 15.0 11.6 13.7 11.5
3.ไม่แน่ใจ 24.7 37.1 16.0 43.6 23.6 13.5 14.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อ กกต. ในการทำหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 24.5
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 15.8
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 24.1
4 ไม่เชื่อมั่น 19.7
5 ไม่มีความเห็น 15.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อวิธีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งด้วยการใช้ตรายาง
และการกากบาทด้วยลายมือตนเอง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรใช้ตรายาง เพราะ .......สะดวกต่อการใช้งาน/เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่เขียนหนังสือไม่ได้ 26.3
2 ควรกากบาทด้วยลายมือตนเอง เพราะ......เกรงว่าจะเกิดการทุจริต/มีความน่าเชื่อถือมากกว่า /
เป็นวิธีที่ประชาชนคุ้นเคยดี 59.0
3 ไม่มีความเห็น 14.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการลงคะแนน ถ้าหากว่าไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
วิธีการลงคะแนน ถ้าหากว่าไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 49 25 มี.ค.49 ค่าร้อยละ 27 มี.ค.49ค่าร้อยละ 29 มี.ค.49ค่าร้อยละ 30 มี.ค.49ค่าร้อยละ
1.เลือกพรรคที่ตั้งใจจะเลือก 46.0 41.3 38.3 34.6
2.งดลงคะแนน 25.6 22.6 22.4 25.4
3.ยังไม่ได้ตัดสินใจ 28.4 36.1 39.3 40.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ควรลาออกหลังการ
เลือกตั้งในวันที่ 2 เม.ย. ทันทีหรือไม่
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ควรลาออกหลังการเลือกตั้ง- 11 มี.ค.49ร้อยละ 29 มี.ค. 49ร้อยละ 30 มี.ค. 49ร้อยละ
ในวันที่ 2 เม.ย. 2549 ทันทีหรือไม่
ควรลาออกทันที 24.4 21.9 24.7
ไม่ควรลาออกทันที 44.5 43.2 40.2
ไม่มีความเห็น 31.1 34.9 35.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
ภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 28.4
2 ไม่เห็นด้วย 23.8
3 ไม่มีความเห็น 47.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
ความเห็นของตัวอย่าง 1 มี.ค.ร้อยละ 6 มี.ค.ร้อยละ 20 มี.ค.ร้อยละ 22 มี.ค.ร้อยละ 25 มี.ค.ร้อยละ 27 มี.ค.ร้อยละ 29 มี.ค.ร้อยละ 30 มี.ค.ร้อยละ
1.เห็นด้วย 38.5 46.1 37.0 30.3 27.2 24.1 22.4 24.8
2.ไม่เห็นด้วย 24.2 20.2 26.0 23.2 34.3 37.8 34.7 36.4
3.ไม่มีความเห็น 37.3 33.7 37.0 46.5 38.5 38.1 42.9 38.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
จะยุติการชุมนุมในช่วงการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 70.3
2 ไม่เห็นด้วย 6.6
3 ไม่มีความเห็น 23.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-