ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการ สำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำ การสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจ เรื่อง เสียงสะท้อน ของสาธารณชน ทำไมคนไทยเอนเอียงยอมรับการทุจริตคอรัปชั่น กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ชลบุรี เลย กาฬสินธุ์ สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุดรธานี ขอนแก่น สตูล และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 1,582 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 1-4 กรกฎาคม 2552
ผลวิจัยพบความน่าเป็นห่วงสำหรับสังคมไทยอีกครั้งหนึ่งในเรื่องปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น เมื่อข้อมูลวิจัยพบว่าคนไทยทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขา อาชีพ ทุกระดับการศึกษา และระดับรายได้ส่วนใหญ่เห็นว่า การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ยอมรับได้ โดยพบว่า ประชาชนคนไทยที่ถูกศึกษาเกินครึ่งหรือร้อยละ 56.4 เห็นว่าการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ยอมรับได้ ในขณะที่ร้อย ละ 43.6 ไม่ยอมรับ ทั้งนี้เมื่อจำแนกตามเพศ ไม่พบความแตกต่างคือ ร้อยละ 56.9 ในกลุ่มผู้ชายและร้อยละ 56.0 ในกลุ่มผู้หญิงเห็นว่าการเลี้ยงดูปู เสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ยอมรับได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกตามช่วงอายุพบว่ามีความน่าเป็นห่วงยิ่งขึ้นเมื่อกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อายุ ต่ำกว่า 20 ปี และช่วงอายุ 20 — 29 ปี ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.7 และร้อยละ 62.5 เห็นว่าการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ยอมรับได้ ในขณะที่คนอายุ ระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 55.6 คนอายุระหว่าง 40 — 49 ปีร้อยละ 51.0 และคนอายุ 50 ปีขึ้นไปร้อยละ 56.8 ที่เห็นว่าการเลี้ยงดูปูเสื่อ คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องที่ยอมรับได้
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลวิจัยยังพบความสอดคล้องกับเรื่องวัยของผู้ถูกศึกษา เมื่อพบว่า นักเรียนนักศึกษากลับกลายเป็นกลุ่มคนที่เห็นว่า การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ยอมรับได้สูงมากที่สุดในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีอยู่ถึงร้อยละ 66.1 รองลงมาคือ ร้อยละ 63.8 ที่เป็นคนว่างงาน ไม่มีอาชีพ และพนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 57.1 พ่อค้าและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 56.4 เกษตรกรร้อยละ 56.3 ข้า ราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 53.6 และแม่บ้าน คนเกษียณอายุร้อยละ 52.9 ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า กลุ่มคนที่การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 57.8 คนที่มีการศึกษาปริญญาตรีร้อยละ 55.0 และคนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 43.1 เห็นว่าการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ยอมรับได้ และเมื่อ จำแนกตามระดับรายได้พบว่าคนที่มีรายได้น้อยที่สุดคือไม่เกิน 5, 000 บาทต่อเดือน มีสัดส่วนสูงสุดคือร้อยละ 61.7 ที่เห็นว่าการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะ กรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ในขณะที่คนที่มีรายได้ 20,000 บาทขึ้นไปร้อยละ 50.9 เห็นว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้เช่นกัน
ผลวิจัยยังพบ ปัจจัยที่คาดว่าเป็นเหตุให้คนไทยมีความเอนเอียงยอมรับการทุจริตคอรัปชั่น เมื่อถามถึงประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับ การทุจริตคอรัปชั่นที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.3 ระบุคอรัปชั่นเกิดขึ้นในกลุ่มนักการเมืองระดับชาติ เช่นเดียวกับนักการเมืองระดับท้องถิ่นที่ มีอยู่ร้อยละ 69.1 เช่นกัน ร้อยละ 68.7 เห็นว่าการติดสินบนหาหลักฐานในการเอาผิดได้ยาก ร้อยละ 67.5 เห็นว่าคอรัปชั่นเกิดขึ้นในกลุ่มข้าราชการ ชั้นสูง ร้อยละ 62.3 เห็นว่านักการเมืองระดับชาติมักจะหลบหนีออกนอกประเทศได้โดยง่าย หลังทำผิดทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 61.0 เห็นว่าการติด สินบนทำให้ได้รับความสะดวกสบายที่แตกต่าง ร้อยละ 58.8 เห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐไม่กล้าเอาผิด (ใส่เกียร์ว่าง) กับนักการเมืองระดับสูงที่ทุจริต คอรัปชั่น ร้อยละ 58.3 เห็นว่า เจ้าพนักงานที่รับสินบนมักไม่ถูกดำเนินการเอาผิด ร้อยละ 53.0 เห็นว่า คอรัปชั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในหมู่ข้าราชการ ชั้นผู้น้อย และร้อยละ 52.2 เห็นว่า ผู้ที่จ่ายสินบน มักไม่มีความผิด หรือรอดพ้นความผิดได้ง่าย
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อเปรียบเทียบผลวิจัยระหว่าง ปีพ.ศ. 2548 กับ ผลวิจัยครั้งล่าสุดต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานี้ พบว่า ประชาชนที่ ตั้งใจจะเอาผิดคนที่ทุจริตคอรัปชั่น ลดลงอย่างมาก คือ ถ้านักการเมืองทุจริตคอรัปชั่น เคยมีคนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.7 คิดอยากจะแจ้งความเอา ผิดในปี พ.ศ. 2548 แต่ในการสำรวจล่าสุดเหลืออยู่ที่ร้อยละ 63.5 ถ้ารัฐมนตรีทุจริตคอรัปชั่น เคยพบประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.6 คิดอยาก จะแจ้งความเอาผิดในปี พ.ศ. 2548 แต่ปัจจุบันลดลงเหลือร้อยละ 62.0 ถ้าแกนนำในชุมชนทุจริตคอรัปชั่น เคยพบประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.1 คิดอยากจะแจ้งความเอาผิดในปี พ.ศ. 2548 แต่ปัจจุบันเหลืออยู่ที่ร้อยละ 66.2 แต่ที่น่าสังเกตคือ ปัจจุบัน กลุ่มแกนนำในท้องถิ่นกลับกลายเป็น กลุ่มคนที่กำลังถูกประชาชนคิดอยากจะแจ้งความเอาผิดการทุจริตคอรัปชั่นมากที่สุด
นอกจากนี้ ที่น่าพิจารณาอีกคือ ถ้าคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นคนใกล้ตัวประชาชนเอง เช่น เป็นเพื่อนบ้านสนิทกัน เป็นคนเคยมีบุญคุณช่วยเหลือ กันมา เป็นญาติในบ้านเดียวกัน และเป็นคนในครอบครัว ก็จะมีสัดส่วนของคนที่คิดจะแจ้งความเอาผิดการทุจริตคอรัปชั่นลดลงเหลือเพียงร้อยละ 29.5 เท่านั้น
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า สังคมไทยอาจจะช้าเกินไปที่จะรณรงค์หรือยกเอาเรื่อง ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเป็นวาระแห่งชาติ เพราะสังคม กำลังขาดพลังและขาดตัวกระตุ้นที่เพียงพอ คนไทยส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เท่าใดนัก ยิ่งข้อมูลใหม่ล่าสุดค้นพบว่า เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ หลายคนอาจคิดว่า คนเหล่านี้จะปฏิเสธการทุจริตคอรัปชั่น ตรงกันข้ามกลับพบจำนวนที่ยอมรับสูงกว่าคนวัยอื่น ซึ่งสะท้อนอะไรให้เห็นหลายอย่าง เช่น กระบวนการยุติธรรมไม่สามารถเอาผิดคนที่ทุจริตคอรัปชั่นให้เป็นเยี่ยงอย่างที่แรงพอจะทำให้ประชาชนคนไทยในประเทศเกิดความตระหนัก และ การที่ เด็กเยาวชนกำลังถูกระบบทุนนิยมเข้าครอบงำจิตใจ ทำให้พวกเขาเห็นเรื่องเงินทองและปากท้องสำคัญกว่าความชอบธรรม เป็นต้น
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างร้อยละ 55.6 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 44.4 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 4.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.2 อายุ 20 — 29 ปี
ร้อยละ 26.0 อายุ 30 — 39 ปี
ร้อยละ 22.1 อายุ 40 — 49 ปี
และร้อยละ 23.0 อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 72.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 30.3 อาชีพเกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป
ร้อยละ 27.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 15.0 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.7 ระบุอาชีพข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.5 เป็นแม่บ้าน เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.3 ระบุนักเรียน นักศึกษา 4.2
ร้อยละ ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ 1 ยอมรับได้ 56.4 2 ไม่ยอมรับ 43.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดา
ที่ยอมรับได้ จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน เพศชายค่าร้อยละ เพศหญิงค่าร้อยละ 1 ยอมรับได้ 56.9 56.0 2 ไม่ยอมรับ 43.1 44.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดา ที่ยอมรับได้ จำแนกตามช่วงอายุ ความเห็นของประชาชน ต่ำกว่า 20 ปี 20 — 29 ปี 30 — 39 ปี 40 — 49 ปี 50 ปีขึ้นไป ยอมรับได้ 61.7 62.5 55.6 51.0 56.8 ไม่ยอมรับ 38.3 37.5 44.4 49.0 43.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดา
ที่ยอมรับได้ จำแนกตามอาชีพ
ความเห็นของประชาชน ข้าราชการ พนักงาน ค้าขาย นักเรียน แม่บ้าน เกษตรกร ว่างงาน รัฐวิสาหกิจ เอกชน ธุรกิจส่วนตัว นักศึกษา เกษียณอายุ รับจ้าง ไม่มีอาชีพ ยอมรับได้ 53.6 57.1 56.4 66.1 52.9 56.3 63.8 ไม่ยอมรับ 46.4 42.9 43.6 33.9 47.1 43.7 36.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ยอมรับได้
จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี 1 ยอมรับได้ 57.8 55.0 43.1 2 ไม่ยอมรับ 42.2 45.0 56.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ยอมรับได้
จำแนกตามรายได้ ความเห็นของประชาชน ไม่เกิน 5,000 บาท 5,001—10,000 10,001—15,000 15,001—20,000 มากกว่า 20,000 ขึ้นไป
ยอมรับได้ 61.7 54.8 59.0 50.0 50.9 ไม่ยอมรับ 38.3 45.2 41.0 50.0 49.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่น ลำดับที่ ประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 1 คอรัปชั่นเกิดขึ้นในกลุ่มนักการเมืองระดับชาติ 69.3 2 คอรัปชั่นเกิดขึ้นในกลุ่มนักการเมืองระดับท้องถิ่น 69.1 3 การติดสินบนหาหลักฐานในการเอาผิดได้ยาก 68.7 4 คอรัปชั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในกลุ่มข้าราชการชั้นสูง 67.5 5 นักการเมืองระดับชาติมักจะหลบหนีออกนอกประเทศได้โดยง่าย หลังทำผิดทุจริตคอรัปชั่น 62.3 6 การติดสินบนทำให้ได้รับความสะดวกสบายที่แตกต่าง 61.0 7 เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่กล้าเอาผิด (ใส่เกียร์ว่าง) นักการเมืองระดับสูงที่ทุจริตคอรัปชั่น 58.8 8 เจ้าพนักงานที่รับสินบนมักไม่ถูกดำเนินการเอาผิด 58.3 9 คอรัปชั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในหมู่ข้าราชการชั้นผู้น้อย 53.0 10 ผู้ที่จ่ายติดสินบน มักไม่มีความผิด หรือรอดพ้นจากความผิดได้ง่าย 52.2 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความอยากจะแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเมื่อเปรียบเทียบกับ
ระยะห่างทางสังคมกับคนที่มีพฤติกรรมทุจริตคอรัปชั่น
ลำดับที่ ความอยากจะแจ้งความเอาผิดคนทุจริตคอรัปชั่น พ.ศ. 2548 ค่าร้อยละ กรกฎาคม 52 ค่าร้อยละ 1 อยากจะแจ้งความเอาผิดนักการเมืองที่ทุจริตคอรัปชั่น 84.7 63.5 2 อยากจะแจ้งความเอาผิดรัฐมนตรีที่ทุจริตคอรัปชั่น 83.6 62.0 3 อยากจะแจ้งความเอาผิดแกนนำในชุมชนที่ทุจริตคอรัปชั่น 79.1 66.2 4 อยากจะแจ้งความเอาผิดเพื่อนบ้านสนิทที่ทุจริตคอรัปชั่น 67.6 56.3 5 อยากจะแจ้งความเอาผิดคนมีบุญคุณช่วยเหลือกันมาที่ทุจริตคอรัปชั่น 36.9 36.9 6 อยากจะแจ้งความเอาผิดญาติสนิทในบ้านเดียวกันที่ทุจริตคอรัปชั่น 30.8 44.5 7 อยากจะแจ้งความเอาผิดคนในครอบครัวเดียวกันที่ทุจริตคอรัปชั่น 28.1 29.5 --เอแบคโพลล์-- -พห-