ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจภาคสนามระดับครัวเรือน เรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อ แนวคิดอภัยโทษคดีความต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ชลบุรี เลย กาฬสินธุ์ สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุดรธานี ขอนแก่น สตูล และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 4,102 ครัวเรือน ดำเนินโครงการวันที่ 3-11 กรกฎาคม 2552 งบ ประมาณของโครงการนี้เป็นของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาเกินครึ่งหรือร้อยละ 54.5 ไม่เห็นด้วยกับการให้อภัยโทษคดีความต่างๆ เกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่น ของนักการเมือง อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 45.5 ที่เห็นด้วย และเมื่อจำแนกประชาชนออกตามลักษณะทั่วไป เช่น เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และภูมิภาค พบว่า กลุ่มคนที่อายุต่ำกว่า 20 ปีมีจำนวนพอๆ กัน คือร้อยละ 49.8 และร้อยละ 50.2 ที่เห็นด้วยและไม่เห็น ด้วยต่อแนวคิดอภัยโทษคดีความที่เกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง
ที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มคนที่มีการศึกษาสูงขึ้นมีจำนวนคนที่เห็นด้วยกับการอภัยโทษคดีทุจริตคอรัปชั่นลดน้อยลง คือ ร้อยละ 48.3 ของคนที่ต่ำ กว่าปริญญาตรี ร้อยละ 35.7 ปริญญาตรี และร้อยละ 21.9 สูงกว่าปริญญาตรีที่เห็นด้วยกับการอภัยโทษ
เมื่อจำแนกตามอาชีพ พบว่า คนที่ว่างงานเกินครึ่งหรือร้อยละ 54.0 เห็นด้วยกับการให้อภัยคดีทุจริตคอรัปชั่น พ่อบ้านแม่บ้านและเกษียณ อายุร้อยละ 50.2 เห็นด้วย เกษตรกรและรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป ร้อยละ 49.0 เห็นด้วยกับการให้อภัยโทษคดีความดังกล่าว
ที่เห็นชัดเจนคือ กลุ่มคนรายได้น้อยไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 54.6 ที่เห็นด้วยกับการอภัยโทษคดีความทุจริต คอรัปชั่นของนักการเมือง ยิ่งจำแนกตามภูมิภาค ยิ่งพบข้อมูลที่น่าตกใจคือ คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.0 เห็นด้วยกับการให้ อภัยโทษคดีความทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมืองดังกล่าว และแม้แต่คนกรุงเทพมหานครก็เกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.5 ที่เห็นด้วย ที่น่าสนใจคือ คนในภาค ใต้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 ไม่เห็นด้วย มีเพียงร้อยละ 19.4 เท่านั้นที่เห็นด้วยกับการให้อภัยคดีความทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง
ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า สังคมไทยจำเป็นต้องเร่งใช้ช่วงเวลานี้ปรับทัศนคติของคนไทยในแต่ละกลุ่มอายุ แต่ละอาชีพ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ และภูมิภาค ในการปฏิเสธนักการเมืองที่มีคดีความทุจริตคอรัปชั่น โดยต้องทำอย่างน้อยสองอย่างควบคู่กันไป คือ 1) เอาจริงเอาจังใน การใช้กระบวนการยุติธรรมที่เข้มแข็งลงโทษให้เห็นเป็นแบบอย่าง สร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในจิตใจของคนไทย 2) รณรงค์ให้คนไทยยอมเอาตัว เองเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเป็นกองกำลังต่อสู้ทำสงครามกับการทุจริตคอรัปชั่นให้ “ปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง” ลดน้อยลงไปอย่างต่อเนื่อง เพราะถ้า ปล่อยไว้เช่นนี้ต่อไป ปัญหาวิกฤตการณ์ต่างๆ ของประเทศจะไม่มีทางผ่านพ้นไปได้
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.3 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.7 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 26.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 24.3 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 18.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 21.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป
ร้อยละ 29.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 16.1 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.5 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย 45.5 2 ไม่เห็นด้วย 54.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการให้อภัยโทษคดีความอาญาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง จำแนกตามเพศ ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ชาย หญิง 1 เห็นด้วย 44.4 46.5 2 ไม่เห็นด้วย 55.6 53.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการให้อภัยโทษคดีความอาญาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง จำแนกตามช่วงอายุ ลำดับที่ ความคิดเห็น ต่ำกว่า 20 ปี 20 — 29 ปี 30 — 39 ปี 40 — 49 ปี 50 ปีขึ้นไป 1 เห็นด้วย 49.8 45.3 42.1 46.9 46.1 2 ไม่เห็นด้วย 50.2 54.7 57.9 53.1 53.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการให้อภัยโทษคดีความอาญาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง จำแนกตามระดับการศึกษา ลำดับที่ ความคิดเห็น ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี 1 เห็นด้วย 48.3 35.7 21.9 2 ไม่เห็นด้วย 51.7 64.3 78.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการให้อภัยโทษคดีความอาญาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่นของ นักการเมือง จำแนกตามอาชีพ ลำดับที่ ความคิดเห็น ข้าราชการรัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชน ค้าขายส่วนตัว นักเรียน นักศึกษา เกษตรกรแรงงาน พ่อบ้านเกษียณอายุ ว่างงาน 1 เห็นด้วย 39.4 41.6 36.1 45.7 49.0 50.2 54.0 2 ไม่เห็นด้วย 60.6 58.4 63.9 54.3 51.0 49.8 46.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการให้อภัยโทษคดีความอาญาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่นของ
นักการเมือง จำแนกตามระดับรายได้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ไม่เกิน5,000 บาท 5,001 — 10,000 10,001 — 15,000 15,001 — 20,000 มากกว่า20,000 ขึ้นไป 1 เห็นด้วย 54.6 41.7 39.6 37.6 30.9 2 ไม่เห็นด้วย 45.4 58.3 60.4 62.4 69.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการให้อภัยโทษคดีความอาญาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่นของ
นักการเมือง จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ ความคิดเห็น เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กรุงเทพมหานคร 1 เห็นด้วย 45.9 36.8 60.0 19.4 48.5 2 ไม่เห็นด้วย 54.1 63.2 40.0 80.6 51.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-