ที่มาของโครงการ
หลังจากกรณีที่รัฐบาลภายใต้การนำของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จัดให้มีช่วงเวลา “นายกฯ พบสื่อมวล
ชน” ทุกวันพฤหัสบดี โดยมีการชูป้ายว่าคำถามใดของนักข่าวสร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์จนเกิดการวิพาษ์วิจารณ์
อย่างกว้างขวางถึงการกระทำดังกล่าว สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำสำรวจทรรศนะของ
ประชาชนต่อการจัดแถลงข่าวที่รัฐบาลจัดให้มีขึ้น โดยจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลตาม
ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดแถลงข่าวของรัฐบาลภายใต้ชื่อ นายกฯ พบสื่อมวลชน
2. เพื่อค้นหาข้อเสนอแนะจากประชาชนต่อการจัดแถลงข่าวของรัฐบาลในครั้งต่อไป
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “สำรวจ
ทรรศนะของประชาชนต่อการจัดเวลาของรัฐบาลช่วง “นายกฯพบสื่อมวลชน”: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ในการแบ่ง
เขตพื้นที่ของจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้ายที่ได้
จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,157 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 7
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.9 เป็นหญิง ร้อยละ 45.1 เป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 7.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 27.9 อายุ
ระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 22.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 21.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งตัวอย่างร้อย
ละ 76.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 18.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และ
ร้อยละ 5.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 26.4 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว ร้อย
ละ 23.7 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 22.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.7 ระบุอาชีพข้า
ราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.6 ระบุเป็นนักศึกษา ร้อยละ 5.2 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 5.1 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง ทรรศนะของ
ประชาชนต่อการจัดเวลาของรัฐบาลช่วง “นายกฯพบสื่อมวลชน”: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2548 จำนวนทั้งสิ้น 1,157 ตัวอย่าง ซึ่งมี
สาระสำคัญที่ค้นพบดังนี้
ประชาชนคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.8 ทราบข่าวการที่รัฐบาลจัดให้มีช่วง
เวลานายกฯ ทักษิณพบสื่อมวลชน ในขณะที่ร้อยละ 17.2 ไม่ทราบข่าว นอกจากนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.4 เห็นด้วย
กับรัฐบาลในการจัดให้มีช่วงเวลานายกรัฐมนตรีพบสื่อมวลชน ในขณะที่ร้อยละ 19.5 ไม่เห็นด้วยและร้อยละ 7.1 ไม่มี
ความเห็น
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการรับทราบข่าวที่นายกรัฐมนตรีชูป้ายสัญญาลักษณ์และบอกไม่สร้างสรรค์ให้กับนัก
ข่าวที่ถามเกี่ยวกับปัญหาชายแดนภาคใต้ ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.1 ทราบข่าวในขณะที่ร้อยละ 30.9
ไม่ทราบข่าว
อย่างไรก็ตามประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.8 กลับระบุว่าต้องการคำตอบ
จากนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับคำถามที่นักข่าวถามเรื่องปัญหาชายแดนภาคใต้ ในขณะที่ร้อยละ 28.9 ไม่ต้องการและร้อย
ละ 8.3 ไม่มีความเห็น
ยิ่งไปกว่านั้นส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.9 ไม่เห็นด้วยกับการที่นายกรัฐมนตรีชูป้ายไม่สร้างสรรค์ต่อคำถาม
ของนักข่าวเกี่ยวกับปัญหาชายแดนภาคใต้ ในขณะที่ร้อยละ 27.7 เห็นด้วยและร้อยละ 11.4 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงความพอใจของตัวอย่างต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนโดยภาพรวมในการเป็นตัวแทนของ
ประชาชนเพื่อสอบถามรัฐบาลในปัญหาสำคัญของประเทศ ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.2 พอใจต่อการทำ
หน้าที่ของสื่อมวลชน ในขณะที่ร้อยละ 23.1 ไม่พอใจและร้อยละ 9.7 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามตัวอย่างว่า การที่นายกทักษิณชูป้ายและบอกว่าคำถามใดของสื่อมวลชนสร้างสรรค์
และคำถามใดไม่สร้างสรรค์ เป็นการสร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัฐบาลกับสื่อมวลชน ผล
สำรวจพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 58.1 ระบุไม่สร้างสรรค์ ในขณะที่ร้อยละ 29.7 ระบุสร้างสรรค์ และ
ร้อยละ 12.2 ไม่มีความเห็น
ประเด็นความคิดเห็นของตัวอย่างต่อรูปแบบการตอบคำถามของนายกรัฐมนตรี ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
71.4 ระบุจะได้รับประโยชน์จากการที่รัฐบาลจัดให้มีช่วงเวลานายกทักษิณพบสื่อมวลชน ถ้านายกรัฐมนตรีปรับปรุงรูป
แบบการตอบคำถามต่อสื่อมวลชน ในขณะที่ร้อยละ 17.0 ระบุไม่ได้รับประโยชน์ไม่ว่ากรณีใดๆ และร้อยละ 11.6 ไม่มี
ความเห็น
สำหรับประเด็นสำคัญสุดท้ายคือ คำถามที่ตัวอย่างต้องการให้สื่อมวลชนถามนายกรัฐมนตรีในครั้งต่อไปคือ
ร้อยละ 81.4 ต้องการให้ถามว่า รัฐบาลมีมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั่วไปที่หาเช้ากินค่ำอย่าง
ไรในสถานการณ์สินค้าราคาสูงขึ้น ร้อยละ 58.3 ต้องการให้ถามว่าเมื่อไหร่ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้จะสงบลง
ร้อยละ 55.2 ต้องการให้ถามว่า รัฐบาลมีแนวทางจัดการกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอย่างไร เมื่อไหร่จะชนะสงคราม
คอรัปชั่นตามที่เคยประกาศไว้ ร้อยละ 52.9 ต้องการให้ถามว่า รัฐบาลจะจัดการกับปัญหาการนำเบียร์เข้าตลาดหลัก
ทรัพย์ได้อย่างไร และผลกระทบที่จะตามมา นอกจากนี้ยังมีอีกหลายคำถามที่ต้องการให้สื่อมวลชลถาม อาทิ แนวทางที่
จะไม่ให้ปัญหายาเสพติดกลับมาระบาดอีกได้อย่างไร รัฐบาลจะทำให้คนจนหมดไปตามที่เคยประกาศไว้ได้อย่างไร แนว
ทางในการแก้ปัญหาเยาวชน ปัญหาจราจรติดขัด เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การทราบข่าวการที่รัฐบาลจัดให้มีช่วงเวลานายกฯพบสื่อมวลชน
ลำดับที่ การทราบข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 82.8
2 ไม่ทราบ 17.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทัศนคติต่อรัฐบาลที่จัดให้มีช่วงเวลา นายกฯ พบสื่อมวลชน
ลำดับที่ ทัศนคติของตัวอย่างต่อรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 73.4
2 ไม่เห็นด้วย 19.5
3 ไม่มีความเห็น 7.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การทราบข่าวที่นายกรัฐมนตรีชูป้าย “ไม่สร้างสรรค์”
ให้กับคำถามของนักข่าวที่ถามเกี่ยวกับปัญหาชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ การทราบข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 69.1
2 ไม่ทราบ 30.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการคำตอบจากนายกรัฐมนตรีต่อคำถาม
ที่นักข่าวถามเกี่ยวกับปัญหาชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความต้องการของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ต้องการคำตอบจากนายกรัฐมนตรี 62.8
2 ไม่ต้องการ 28.9
3 ไม่มีความเห็น 8.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อการที่นายกรัฐมนตรีชูป้ายไม่สร้างสรรค์ต่อคำถาม
ของนักข่าวเกี่ยวกับปัญหาชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ทัศนคติของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 27.7
2 ไม่เห็นด้วย 60.9
3 ไม่มีความเห็น 11.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนโดยภาพรวม
ในการเป็นตัวแทนของประชาชนเพื่อถามรัฐบาลในปัญหาสำคัญของประเทศ
ลำดับที่ ความพอใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 พอใจ 67.2
2 ไม่พอใจ 23.1
3 ไม่มีความเห็น 9.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อคำถามที่ว่า การที่นายกฯ ทักษิณพบสื่อมวลชน
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาด้วยการชูป้ายและบอกว่าคำถามใดของสื่อมวลชนสร้างสรรค์และคำถามใด
ไม่สร้างสรรค์นั้น เป็นการสร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์ต่อความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัฐบาลกับสื่อมวลชน
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่างต่อการชูป้ายของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 สร้างสรรค์ 29.7
2 ไม่สร้างสรรค์ 58.1
3 ไม่มีความเห็น 12.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประโยชน์ที่ได้รับจากการที่รัฐบาลจัดให้มีช่วงเวลานายกฯ ทักษิณพบสื่อมวลชน
ถ้านายกรัฐมนตรีปรับปรุงรูปแบบการตอบคำถามต่อสื่อมวลชน
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ได้รับประโยชน์ 71.4
2 ไม่ได้รับประโยชน์ 17.0
3 ไม่มีความเห็น 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำถามที่ต้องการให้สื่อมวลชนถามในครั้งต่อไป
ลำดับที่ คำถามของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รัฐบาลมีมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั่วไปที่หาเช้ากินค่ำอย่างไร
ในสถานการณ์สินค้าราคาสูงขึ้น 81.4
2 เมื่อไหร่ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้จะสงบลง 58.3
3 รัฐบาลมีแนวทางจัดการกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอย่างไร เมื่อไหร่จะชนะสงคราม
คอรัปชั่นตามที่เคยประกาศไว้ 55.2
4 รัฐบาลจะจัดการกับปัญหาการนำเบียร์เข้าตลาดหลักทรัพย์ได้อย่างไร
และผลกระทบที่จะตามมา 52.9
5 มีแนวทางไม่ให้ปัญหายาเสพติดจะกลับมาระบาดอีกได้อย่างไร 47.1
6 รัฐบาลจะทำให้คนจนหมดไปตามที่เคยประกาศไว้ได้อย่างไร 44.0
6 มีแนวทางแก้ปัญหาเยาวชนอย่างไรบ้าง 43.5
7 มีแนวทางแก้ปัญหาจราจรติดขัดได้อย่างไร 41.8
8 รัฐบาลเกี่ยวข้องกับความพยายามปลดผู้ว่า สตง. หรือไม่ 35.9
9 อื่นๆ อาทิ รัฐบาลจะเข้าไปแทรกแซงการคัดเลือกคณะกรรมการ ปปช.
หรือไม่ / รัฐบาลให้คะแนนตัวเองในผลงานแก้ปัญหาประเทศเท่าไหร่ เป็นต้น 28.8
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50 www.abacpoll.au.edu
หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
หลังจากกรณีที่รัฐบาลภายใต้การนำของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จัดให้มีช่วงเวลา “นายกฯ พบสื่อมวล
ชน” ทุกวันพฤหัสบดี โดยมีการชูป้ายว่าคำถามใดของนักข่าวสร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์จนเกิดการวิพาษ์วิจารณ์
อย่างกว้างขวางถึงการกระทำดังกล่าว สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำสำรวจทรรศนะของ
ประชาชนต่อการจัดแถลงข่าวที่รัฐบาลจัดให้มีขึ้น โดยจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลตาม
ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดแถลงข่าวของรัฐบาลภายใต้ชื่อ นายกฯ พบสื่อมวลชน
2. เพื่อค้นหาข้อเสนอแนะจากประชาชนต่อการจัดแถลงข่าวของรัฐบาลในครั้งต่อไป
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “สำรวจ
ทรรศนะของประชาชนต่อการจัดเวลาของรัฐบาลช่วง “นายกฯพบสื่อมวลชน”: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ในการแบ่ง
เขตพื้นที่ของจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้ายที่ได้
จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,157 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 7
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.9 เป็นหญิง ร้อยละ 45.1 เป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 7.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 27.9 อายุ
ระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 22.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 21.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งตัวอย่างร้อย
ละ 76.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 18.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และ
ร้อยละ 5.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 26.4 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว ร้อย
ละ 23.7 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 22.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.7 ระบุอาชีพข้า
ราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.6 ระบุเป็นนักศึกษา ร้อยละ 5.2 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 5.1 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง ทรรศนะของ
ประชาชนต่อการจัดเวลาของรัฐบาลช่วง “นายกฯพบสื่อมวลชน”: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2548 จำนวนทั้งสิ้น 1,157 ตัวอย่าง ซึ่งมี
สาระสำคัญที่ค้นพบดังนี้
ประชาชนคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.8 ทราบข่าวการที่รัฐบาลจัดให้มีช่วง
เวลานายกฯ ทักษิณพบสื่อมวลชน ในขณะที่ร้อยละ 17.2 ไม่ทราบข่าว นอกจากนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.4 เห็นด้วย
กับรัฐบาลในการจัดให้มีช่วงเวลานายกรัฐมนตรีพบสื่อมวลชน ในขณะที่ร้อยละ 19.5 ไม่เห็นด้วยและร้อยละ 7.1 ไม่มี
ความเห็น
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการรับทราบข่าวที่นายกรัฐมนตรีชูป้ายสัญญาลักษณ์และบอกไม่สร้างสรรค์ให้กับนัก
ข่าวที่ถามเกี่ยวกับปัญหาชายแดนภาคใต้ ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.1 ทราบข่าวในขณะที่ร้อยละ 30.9
ไม่ทราบข่าว
อย่างไรก็ตามประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.8 กลับระบุว่าต้องการคำตอบ
จากนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับคำถามที่นักข่าวถามเรื่องปัญหาชายแดนภาคใต้ ในขณะที่ร้อยละ 28.9 ไม่ต้องการและร้อย
ละ 8.3 ไม่มีความเห็น
ยิ่งไปกว่านั้นส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.9 ไม่เห็นด้วยกับการที่นายกรัฐมนตรีชูป้ายไม่สร้างสรรค์ต่อคำถาม
ของนักข่าวเกี่ยวกับปัญหาชายแดนภาคใต้ ในขณะที่ร้อยละ 27.7 เห็นด้วยและร้อยละ 11.4 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงความพอใจของตัวอย่างต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนโดยภาพรวมในการเป็นตัวแทนของ
ประชาชนเพื่อสอบถามรัฐบาลในปัญหาสำคัญของประเทศ ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.2 พอใจต่อการทำ
หน้าที่ของสื่อมวลชน ในขณะที่ร้อยละ 23.1 ไม่พอใจและร้อยละ 9.7 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามตัวอย่างว่า การที่นายกทักษิณชูป้ายและบอกว่าคำถามใดของสื่อมวลชนสร้างสรรค์
และคำถามใดไม่สร้างสรรค์ เป็นการสร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัฐบาลกับสื่อมวลชน ผล
สำรวจพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 58.1 ระบุไม่สร้างสรรค์ ในขณะที่ร้อยละ 29.7 ระบุสร้างสรรค์ และ
ร้อยละ 12.2 ไม่มีความเห็น
ประเด็นความคิดเห็นของตัวอย่างต่อรูปแบบการตอบคำถามของนายกรัฐมนตรี ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
71.4 ระบุจะได้รับประโยชน์จากการที่รัฐบาลจัดให้มีช่วงเวลานายกทักษิณพบสื่อมวลชน ถ้านายกรัฐมนตรีปรับปรุงรูป
แบบการตอบคำถามต่อสื่อมวลชน ในขณะที่ร้อยละ 17.0 ระบุไม่ได้รับประโยชน์ไม่ว่ากรณีใดๆ และร้อยละ 11.6 ไม่มี
ความเห็น
สำหรับประเด็นสำคัญสุดท้ายคือ คำถามที่ตัวอย่างต้องการให้สื่อมวลชนถามนายกรัฐมนตรีในครั้งต่อไปคือ
ร้อยละ 81.4 ต้องการให้ถามว่า รัฐบาลมีมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั่วไปที่หาเช้ากินค่ำอย่าง
ไรในสถานการณ์สินค้าราคาสูงขึ้น ร้อยละ 58.3 ต้องการให้ถามว่าเมื่อไหร่ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้จะสงบลง
ร้อยละ 55.2 ต้องการให้ถามว่า รัฐบาลมีแนวทางจัดการกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอย่างไร เมื่อไหร่จะชนะสงคราม
คอรัปชั่นตามที่เคยประกาศไว้ ร้อยละ 52.9 ต้องการให้ถามว่า รัฐบาลจะจัดการกับปัญหาการนำเบียร์เข้าตลาดหลัก
ทรัพย์ได้อย่างไร และผลกระทบที่จะตามมา นอกจากนี้ยังมีอีกหลายคำถามที่ต้องการให้สื่อมวลชลถาม อาทิ แนวทางที่
จะไม่ให้ปัญหายาเสพติดกลับมาระบาดอีกได้อย่างไร รัฐบาลจะทำให้คนจนหมดไปตามที่เคยประกาศไว้ได้อย่างไร แนว
ทางในการแก้ปัญหาเยาวชน ปัญหาจราจรติดขัด เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การทราบข่าวการที่รัฐบาลจัดให้มีช่วงเวลานายกฯพบสื่อมวลชน
ลำดับที่ การทราบข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 82.8
2 ไม่ทราบ 17.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทัศนคติต่อรัฐบาลที่จัดให้มีช่วงเวลา นายกฯ พบสื่อมวลชน
ลำดับที่ ทัศนคติของตัวอย่างต่อรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 73.4
2 ไม่เห็นด้วย 19.5
3 ไม่มีความเห็น 7.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การทราบข่าวที่นายกรัฐมนตรีชูป้าย “ไม่สร้างสรรค์”
ให้กับคำถามของนักข่าวที่ถามเกี่ยวกับปัญหาชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ การทราบข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 69.1
2 ไม่ทราบ 30.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการคำตอบจากนายกรัฐมนตรีต่อคำถาม
ที่นักข่าวถามเกี่ยวกับปัญหาชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความต้องการของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ต้องการคำตอบจากนายกรัฐมนตรี 62.8
2 ไม่ต้องการ 28.9
3 ไม่มีความเห็น 8.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อการที่นายกรัฐมนตรีชูป้ายไม่สร้างสรรค์ต่อคำถาม
ของนักข่าวเกี่ยวกับปัญหาชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ทัศนคติของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 27.7
2 ไม่เห็นด้วย 60.9
3 ไม่มีความเห็น 11.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนโดยภาพรวม
ในการเป็นตัวแทนของประชาชนเพื่อถามรัฐบาลในปัญหาสำคัญของประเทศ
ลำดับที่ ความพอใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 พอใจ 67.2
2 ไม่พอใจ 23.1
3 ไม่มีความเห็น 9.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อคำถามที่ว่า การที่นายกฯ ทักษิณพบสื่อมวลชน
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาด้วยการชูป้ายและบอกว่าคำถามใดของสื่อมวลชนสร้างสรรค์และคำถามใด
ไม่สร้างสรรค์นั้น เป็นการสร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์ต่อความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัฐบาลกับสื่อมวลชน
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่างต่อการชูป้ายของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 สร้างสรรค์ 29.7
2 ไม่สร้างสรรค์ 58.1
3 ไม่มีความเห็น 12.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประโยชน์ที่ได้รับจากการที่รัฐบาลจัดให้มีช่วงเวลานายกฯ ทักษิณพบสื่อมวลชน
ถ้านายกรัฐมนตรีปรับปรุงรูปแบบการตอบคำถามต่อสื่อมวลชน
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ได้รับประโยชน์ 71.4
2 ไม่ได้รับประโยชน์ 17.0
3 ไม่มีความเห็น 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำถามที่ต้องการให้สื่อมวลชนถามในครั้งต่อไป
ลำดับที่ คำถามของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รัฐบาลมีมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั่วไปที่หาเช้ากินค่ำอย่างไร
ในสถานการณ์สินค้าราคาสูงขึ้น 81.4
2 เมื่อไหร่ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้จะสงบลง 58.3
3 รัฐบาลมีแนวทางจัดการกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอย่างไร เมื่อไหร่จะชนะสงคราม
คอรัปชั่นตามที่เคยประกาศไว้ 55.2
4 รัฐบาลจะจัดการกับปัญหาการนำเบียร์เข้าตลาดหลักทรัพย์ได้อย่างไร
และผลกระทบที่จะตามมา 52.9
5 มีแนวทางไม่ให้ปัญหายาเสพติดจะกลับมาระบาดอีกได้อย่างไร 47.1
6 รัฐบาลจะทำให้คนจนหมดไปตามที่เคยประกาศไว้ได้อย่างไร 44.0
6 มีแนวทางแก้ปัญหาเยาวชนอย่างไรบ้าง 43.5
7 มีแนวทางแก้ปัญหาจราจรติดขัดได้อย่างไร 41.8
8 รัฐบาลเกี่ยวข้องกับความพยายามปลดผู้ว่า สตง. หรือไม่ 35.9
9 อื่นๆ อาทิ รัฐบาลจะเข้าไปแทรกแซงการคัดเลือกคณะกรรมการ ปปช.
หรือไม่ / รัฐบาลให้คะแนนตัวเองในผลงานแก้ปัญหาประเทศเท่าไหร่ เป็นต้น 28.8
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50 www.abacpoll.au.edu
หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-