ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง จุดเปลี่ยนการเมืองไทยกับความ
วิตกกังวลของประชาชนระดับครัวเรือนใน 14 จังหวัดทุกภูมิภาคของประเทศทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล จำนวน 2,168 คน ระหว่างวันที่
10 — 22 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำ ซึ่งส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.3 เชื่อว่าจะมี
การเปลี่ยนแปลงใหญ่ทางการเมืองของไทย ในขณะที่ร้อยละ 16.1 ไม่คิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ และร้อยละ 15.6 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามเฉพาะกลุ่มคนที่คิดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ทางการเมืองถึงสิ่งที่คิดว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่
มากที่สุดโดยตอบได้เพียงข้อเดียว พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.4 คิดว่าพรรคการเมืองใหญ่จะถูกยุบ รองลงมาคือ ร้อยละ 23.4 คิดว่าเป็นเรื่อง
คณะกรรมการการเลือกตั้งจะลาออก ร้อยละ 8.3 คิดว่าองค์กรอิสระจะฟื้นความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนคืนมาได้ ร้อยละ 2.9 คิดว่ารัฐบาลจะเอา
จริงเอาจังแก้ปัญหา ในขณะที่ร้อยละ 1.1 คิดว่าจะเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี และร้อยละ 4.9 ระบุอื่นๆ เช่น คิดว่านายกรัฐมนตรีจะลาออก/ มีการ
ปฏิวัติรัฐประหาร/มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นต้น
“ในช่วงเปลี่ยนถ่ายการเมืองไทยและสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.8 กลับกังวลปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
(ถอนทุนคืน) รองลงมาคือร้อยละ 72.5 กังวลปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ 67.7 กังวลปัญหายาเสพติด ร้อยละ 53.2 กังวลปัญหาความไม่สงบ และร้อย
ละ 52.0 กังวลปัญหาความไม่ต่อเนื่องในนโยบาย จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเป็นสิ่งที่ประชาชนหวาดหวั่นช่วงนี้มากกว่าปัญหาเศรษฐกิจ
และยาเสพติดเสียด้วยซ้ำ จึงต้องฝากความหวังไว้ที่สื่อมวลชนคอยติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิดโดยอาศัยประชาชนช่วยกันเป็นหูเป็นตาให้กับสังคม
เพราะการเมืองกับข้าราชการประจำอาจประสานกันจนยากจะเข้าถึงด้วยวิธีการตรวจสอบเจอด้วยระบบปกติได้” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อถามถึงโครงการหรือประเภทที่กังวลว่ามีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พบว่า ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 78.4 ระบุเป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้า ร้อยละ 54.7 ระบุเป็นโครงการกองทุนหมู่บ้าน ร้อยละ
42.6 เป็นโครงการการเกษตร เช่น ต้นกล้ายาง พันธุ์พืชต่างๆ ร้อยละ 40.3 ระบุเป็นโครงการด้านคมนาคม ถนน สะพาน ร้อยละ 38.3 ระบุ
โครงการสาธารณสุข เช่น เวชภัณฑ์ ยารักษาโรค ร้อยละ 36.9 ระบุเป็นการบริการของหน่วยงานต่างๆ เช่น ฝ่ายปกครอง กรมศุลกากร ตรวจคน
เข้าเมือง ร้อยละ 27.0 ระบุเป็นการทำงานของตำรวจ และร้อยละ 17.8 ระบุอื่นๆ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ การออกเอกสารสิทธิ์ต่างๆ เป็นต้น
สำหรับประเภทของปัญหาเศรษฐกิจที่ประชาชนกังวล พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.6 กังวลปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ร้อยละ 66.8
ราคาสินค้าที่สูงขึ้น ร้อยละ 63.1 ระบุค่าครองชีพต่างๆ สูงขึ้น ร้อยละ 60.4 ระบุเป็นภาระหนี้สิน ร้อยละ 29.5 ระบุเป็นปัญหาว่างงาน ร้อยละ
18.4 ระบุเป็นดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ร้อยละ10.3 ระบุเป็นปัญหาการลงทุนหดตัว และร้อยละ 12.2 ระบุอื่นๆ เช่น ไม่มีเงิน/ ภาวะเงินเฟ้อ / วิกฤต
เศรษฐกิจ / ล้มละลาย และการเสียภาษีที่เป็นภาระ เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวถึงแนวคิดประชาชนที่ถูกศึกษาเสนอทางป้องกันแก้ไขปัญหาของประเทศขณะนี้คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.2 ระบุเร่งปราบ
ปรามการทุจริตคอรัปชั่น รองลงมาคือร้อยละ 58.7 หาคนดีซื่อสัตย์มีความสามารถมาแก้ปัญหาประเทศ ร้อยละ 50.8 เพิ่มบทลงโทษกลุ่มคนที่ทำลาย
สังคม ร้อยละ 46.1 ล้างไพ่ยุบพรรคการเมืองให้โอกาสคนอื่นทำงานการเมือง ร้อยละ 43.4 สื่อมวลชนตีแผ่สิ่งไม่ชอบมาพากลต่างๆ ร้อยละ 40.4
องค์กรอิสระทำงานตามความคาดหวังประชาชนอย่างเต็มที่ และร้อยละ 37.3 ประชาชนช่วยกันตรวจสอบ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า จุดเปลี่ยนผ่านการเมืองไทยส่งผลทำให้ประชาชนส่วนใหญ่วิตกกังวลในหลายเรื่อง โดย
เฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการถอนทุนคืน ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม สิ่งที่น่าจะเป็นแนวทางป้องกันแก้ไขคือ
ประการแรก สังคมต้องช่วยกันคือการตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลต่างๆ ที่เกิดขึ้น ประชาชนทุกคนควรตระหนักว่าเป็นหน้าที่ต้องช่วยกัน
เพราะปัญหาวิกฤตต่างๆ ที่ทุกคนกำลังประสบขณะนี้เป็นผลมาจากความเข้มแข็งที่มีไม่เพียงพอของสาธารณชนในเกือบทุกมิติ เช่น การปฏิเสธการซื้อสิทธิ
ขายเสียง การรู้เห็นเป็นใจปล่อยให้มีสินบนและคอรัปชั่น และความไม่รู้เท่าทันเกมช่วงชิงอำนาจการเมืองของประชาชน เป็นต้น
ประการที่สอง ฝ่ายข้าราชการประจำ การเมืองและภาคเอกชนที่ยังคงอยู่ในวัฏจักรของระบบอุปถัมภ์ จึงเรียกร้องจิตสำนึกของความเป็น
คนไทยรุ่นใหม่ช่วยกันชะล้างประเทศไทยให้ใสสะอาด แสวงหาคนดีซื่อสัตย์มีความสามารถมาบริหารประเทศ
ประการที่สาม คนในองค์กรอิสระเช่น ปปช. ควรทำงานเชิงรุกมากขึ้นด้วยการประสานและบูรณาการแผน กำลังคนกับเจ้าหน้าที่รัฐของ
หน่วยงานราชการอื่นๆ ที่ไว้วางใจได้เร่งปราบปรามแสดงผลงานดึงความเชื่อมั่นประชาชนกลับคืนมา
ประการที่สี่ ควรแก้กฎหมายเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมให้สามารถเอาผิดขบวนการที่เพียงแต่มีพฤติการณ์หรือสิ่งบอกเหตุที่เชื่อได้ว่ามีการทุจริต
คอรัปชั่นโดยไม่ต้องมีใบเสร็จอีกต่อไป
ประการที่ห้า ประชาชนคนไทยทุกคนควรยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเอาตัวรอดผ่าวิกฤตเศรษฐกิจไปให้ได้ เลิกซ้ำเติมสภาวะเศรษฐกิจ
ของตัวเองด้วยการใช้จ่ายบนความเสี่ยงสูง เช่น การเล่นทายพนัน เล่นหวย ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล การใช้จ่ายและลงทุนที่เกินตัว
รายละเอียดงานวิจัย
ที่มาของโครงการ
ดูเหมือนว่าการเมืองไทยกำลังมาถึงจุดเปลี่ยนผ่านอย่างแท้จริงด้วยตัวชี้ที่ปรากฏในหลายๆ ด้าน เช่น บทบาทการทำงานและการแก้วิกฤต
ชาติโดยสถาบันตุลาการกำลังได้รับการสนับสนุนและเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาสู่สังคม อย่างไรก็ตาม ในการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มักจะมีผลกระทบต่อ
ความรู้สึกนึกคิดและความวิตกกังวลของคนในสังคม
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
ใน 14 จังหวัดทุกภูมิภาคของประเทศ สำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองและความวิตกกังวลต่อปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาใน
อนาคต โดยจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความวิตกกังวลของประชาชนในช่วงจุดเปลี่ยนผ่านทางการเมือง
3. เพื่อค้นหาข้อเสนอแนะในการป้องกันแก้ไขวิกฤตการณ์ซ้ำซากของสังคม
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อบุคคลในสถาบันการเมืองและที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการตัดสินใจดำเนินการฟื้นความเชื่อมั่นศรัทธาประชาชนกลับ
คืนมา
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “จุดเปลี่ยนการเมืองไทยกับความวิตกกังวล
ของประชาชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10 — 22
มิถุนายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ สุโขทัย ลำปาง
ปทุมธานี ลพบุรี ชลบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี หนองคาย เพชรบูรณ์ สงขลา และพัทลุง
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,168 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.3 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 47.7 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อย
ละ 8.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 16.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 28.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 31.4 อายุระหว่าง 40—
49 ปี และ ร้อยละ 15.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 72.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 23.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
4.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 25.9 เป็นเกษตรกร ร้อยละ 19.3 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 14.8 ระบุอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 13.7
ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 10.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.9 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 7.3
เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 2.0 ระบุว่างงาน ซึ่งร้อยละ 72.4 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล ในขณะที่ร้อยละ 27.6 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 41.8
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 27.3
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 14.9
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 10.6
5 ไม่ได้ติดตาม 5.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการเมืองไทย
ในอีก 30 วันข้างหน้า
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามีการเปลี่ยนแปลง 68.3
2 ไม่คิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ 16.1
3 ไม่มีความเห็น 15.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่คาดว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการเมืองไทย
มากที่สุด (เฉพาะคนที่ตอบว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงและตอบได้เพียงข้อเดียว)
ลำดับที่ สิ่งที่ตัวอย่างคาดว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทย ค่าร้อยละ
1 พรรคการเมืองใหญ่จะถูกยุบ 59.4
2 คณะกรรมการการเลือกตั้งจะลาออก 23.4
3 องค์กรอิสระจะฟื้นความเชื่อมั่นศรัทธาประชาชน 8.3
4 รัฐบาลจะเอาจริงเอาจังแก้ปัญหา 2.9
5 ปรับคณะรัฐมนตรี 1.1
6 อื่นๆ นายกรัฐมนตรีจะลาออก/ มีการปฏิวัติรัฐประหาร/มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นต้น 4.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ วิตกกังวลถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์การเมืองขณะนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ตัวอย่างวิตกกังวลช่วงเปลี่ยนแปลงการเมืองไทย ค่าร้อยละ
1 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น (ถอนทุนคืน) 81.8
2 ปัญหาเศรษฐกิจ 72.5
3 ปัญหายาเสพติด 67.7
4 ปัญหาความไม่สงบ 53.2
5 ปัญหาความไม่ต่อเนื่องของนโยบาย 52.0
6 ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน 31.8
7 อื่นๆ ปัญหาความไม่สามัคคีของคนในชาติ/ การแทรกแซงองค์กรอิสระ/ ปัญหาการเล่นพนัน เป็นต้น 21.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเภทหรือโครงการที่กังวลว่ามีปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทหรือโครงการที่ตัวอย่างกังวลปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ค่าร้อยละ
1 โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้า 78.4
2 โครงการกองทุนหมู่บ้าน 54.7
3 โครงการด้านการเกษตร เช่นต้นกล้ายาง พันธุ์พืชต่างๆ 42.6
4 โครงการด้านการคมนาคม ถนน สะพาน 40.3
5 โครงการด้านสาธารณสุข เช่น เวชภัณฑ์ ยารักษาโรค 38.3
6 การให้บริการของหน่วยงานต่างๆ เช่น ฝ่ายปกครอง กรมศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง 36.9
7 การทำงานของตำรวจ 27.0
8 อื่นๆ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ / การออกเอกสารสิทธิ์ต่างๆ เป็นต้น 17.8
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเภทของปัญหาเศรษฐกิจที่วิตกกังวล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของปัญหาเศรษฐกิจที่ตัวอย่างวิตกกังวล ค่าร้อยละ
1 ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น 70.6
2 ราคาสินค้าที่สูงขึ้น 66.8
3 ค่าครองชีพที่สูงขึ้น 63.1
4 ภาระหนี้สิน 60.4
5 ปัญหาว่างงาน 29.5
6 ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น 18.4
7 ปัญหาการลงทุนหดตัว 10.3
8 อื่นๆ เช่น ไม่มีเงิน/ ภาวะเงินเฟ้อ / วิกฤตเศรษฐกิจ/ ล้มละลาย เป็นต้น 12.2
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาของประเทศขณะนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาของประเทศขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 เร่งปราบปรามขบวนการทุจริตคอรัปชั่น 59.2
2 หาคนดี ซื่อสัตย์ มีความสามารถแก้ปัญหา 58.7
3 เพิ่มบทลงโทษกลุ่มคนที่ทำลายสังคม 50.8
4 ล้างไพ่ยุบพรรคการเมืองใหญ่ให้โอกาสคนอื่นทำงานการเมือง 46.1
5 สื่อมวลชนตีแผ่สิ่งไม่ชอบมาพากลต่างๆ 43.4
6 องค์กรอิสระทำงานตามความคาดหวังประชาชนอย่างเต็มที่ 40.4
7 ประชาชนช่วยกันตรวจสอบ 37.3
8 ทำชุมชนให้เข้มแข็ง 33.2
9 อื่นๆ ให้ความรู้การศึกษาประชาชน/ สร้างจิตสำนึกให้คนไทยทุกคนช่วยกันแก้ปัญหา/
ข้าราชการทุกคนทำงานจริงจังซื่อสัตย์ เป็นต้น 15.6
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
วิตกกังวลของประชาชนระดับครัวเรือนใน 14 จังหวัดทุกภูมิภาคของประเทศทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล จำนวน 2,168 คน ระหว่างวันที่
10 — 22 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำ ซึ่งส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.3 เชื่อว่าจะมี
การเปลี่ยนแปลงใหญ่ทางการเมืองของไทย ในขณะที่ร้อยละ 16.1 ไม่คิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ และร้อยละ 15.6 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามเฉพาะกลุ่มคนที่คิดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ทางการเมืองถึงสิ่งที่คิดว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่
มากที่สุดโดยตอบได้เพียงข้อเดียว พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.4 คิดว่าพรรคการเมืองใหญ่จะถูกยุบ รองลงมาคือ ร้อยละ 23.4 คิดว่าเป็นเรื่อง
คณะกรรมการการเลือกตั้งจะลาออก ร้อยละ 8.3 คิดว่าองค์กรอิสระจะฟื้นความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนคืนมาได้ ร้อยละ 2.9 คิดว่ารัฐบาลจะเอา
จริงเอาจังแก้ปัญหา ในขณะที่ร้อยละ 1.1 คิดว่าจะเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี และร้อยละ 4.9 ระบุอื่นๆ เช่น คิดว่านายกรัฐมนตรีจะลาออก/ มีการ
ปฏิวัติรัฐประหาร/มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นต้น
“ในช่วงเปลี่ยนถ่ายการเมืองไทยและสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.8 กลับกังวลปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
(ถอนทุนคืน) รองลงมาคือร้อยละ 72.5 กังวลปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ 67.7 กังวลปัญหายาเสพติด ร้อยละ 53.2 กังวลปัญหาความไม่สงบ และร้อย
ละ 52.0 กังวลปัญหาความไม่ต่อเนื่องในนโยบาย จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเป็นสิ่งที่ประชาชนหวาดหวั่นช่วงนี้มากกว่าปัญหาเศรษฐกิจ
และยาเสพติดเสียด้วยซ้ำ จึงต้องฝากความหวังไว้ที่สื่อมวลชนคอยติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิดโดยอาศัยประชาชนช่วยกันเป็นหูเป็นตาให้กับสังคม
เพราะการเมืองกับข้าราชการประจำอาจประสานกันจนยากจะเข้าถึงด้วยวิธีการตรวจสอบเจอด้วยระบบปกติได้” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อถามถึงโครงการหรือประเภทที่กังวลว่ามีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พบว่า ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 78.4 ระบุเป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้า ร้อยละ 54.7 ระบุเป็นโครงการกองทุนหมู่บ้าน ร้อยละ
42.6 เป็นโครงการการเกษตร เช่น ต้นกล้ายาง พันธุ์พืชต่างๆ ร้อยละ 40.3 ระบุเป็นโครงการด้านคมนาคม ถนน สะพาน ร้อยละ 38.3 ระบุ
โครงการสาธารณสุข เช่น เวชภัณฑ์ ยารักษาโรค ร้อยละ 36.9 ระบุเป็นการบริการของหน่วยงานต่างๆ เช่น ฝ่ายปกครอง กรมศุลกากร ตรวจคน
เข้าเมือง ร้อยละ 27.0 ระบุเป็นการทำงานของตำรวจ และร้อยละ 17.8 ระบุอื่นๆ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ การออกเอกสารสิทธิ์ต่างๆ เป็นต้น
สำหรับประเภทของปัญหาเศรษฐกิจที่ประชาชนกังวล พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.6 กังวลปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ร้อยละ 66.8
ราคาสินค้าที่สูงขึ้น ร้อยละ 63.1 ระบุค่าครองชีพต่างๆ สูงขึ้น ร้อยละ 60.4 ระบุเป็นภาระหนี้สิน ร้อยละ 29.5 ระบุเป็นปัญหาว่างงาน ร้อยละ
18.4 ระบุเป็นดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ร้อยละ10.3 ระบุเป็นปัญหาการลงทุนหดตัว และร้อยละ 12.2 ระบุอื่นๆ เช่น ไม่มีเงิน/ ภาวะเงินเฟ้อ / วิกฤต
เศรษฐกิจ / ล้มละลาย และการเสียภาษีที่เป็นภาระ เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวถึงแนวคิดประชาชนที่ถูกศึกษาเสนอทางป้องกันแก้ไขปัญหาของประเทศขณะนี้คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.2 ระบุเร่งปราบ
ปรามการทุจริตคอรัปชั่น รองลงมาคือร้อยละ 58.7 หาคนดีซื่อสัตย์มีความสามารถมาแก้ปัญหาประเทศ ร้อยละ 50.8 เพิ่มบทลงโทษกลุ่มคนที่ทำลาย
สังคม ร้อยละ 46.1 ล้างไพ่ยุบพรรคการเมืองให้โอกาสคนอื่นทำงานการเมือง ร้อยละ 43.4 สื่อมวลชนตีแผ่สิ่งไม่ชอบมาพากลต่างๆ ร้อยละ 40.4
องค์กรอิสระทำงานตามความคาดหวังประชาชนอย่างเต็มที่ และร้อยละ 37.3 ประชาชนช่วยกันตรวจสอบ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า จุดเปลี่ยนผ่านการเมืองไทยส่งผลทำให้ประชาชนส่วนใหญ่วิตกกังวลในหลายเรื่อง โดย
เฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการถอนทุนคืน ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม สิ่งที่น่าจะเป็นแนวทางป้องกันแก้ไขคือ
ประการแรก สังคมต้องช่วยกันคือการตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลต่างๆ ที่เกิดขึ้น ประชาชนทุกคนควรตระหนักว่าเป็นหน้าที่ต้องช่วยกัน
เพราะปัญหาวิกฤตต่างๆ ที่ทุกคนกำลังประสบขณะนี้เป็นผลมาจากความเข้มแข็งที่มีไม่เพียงพอของสาธารณชนในเกือบทุกมิติ เช่น การปฏิเสธการซื้อสิทธิ
ขายเสียง การรู้เห็นเป็นใจปล่อยให้มีสินบนและคอรัปชั่น และความไม่รู้เท่าทันเกมช่วงชิงอำนาจการเมืองของประชาชน เป็นต้น
ประการที่สอง ฝ่ายข้าราชการประจำ การเมืองและภาคเอกชนที่ยังคงอยู่ในวัฏจักรของระบบอุปถัมภ์ จึงเรียกร้องจิตสำนึกของความเป็น
คนไทยรุ่นใหม่ช่วยกันชะล้างประเทศไทยให้ใสสะอาด แสวงหาคนดีซื่อสัตย์มีความสามารถมาบริหารประเทศ
ประการที่สาม คนในองค์กรอิสระเช่น ปปช. ควรทำงานเชิงรุกมากขึ้นด้วยการประสานและบูรณาการแผน กำลังคนกับเจ้าหน้าที่รัฐของ
หน่วยงานราชการอื่นๆ ที่ไว้วางใจได้เร่งปราบปรามแสดงผลงานดึงความเชื่อมั่นประชาชนกลับคืนมา
ประการที่สี่ ควรแก้กฎหมายเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมให้สามารถเอาผิดขบวนการที่เพียงแต่มีพฤติการณ์หรือสิ่งบอกเหตุที่เชื่อได้ว่ามีการทุจริต
คอรัปชั่นโดยไม่ต้องมีใบเสร็จอีกต่อไป
ประการที่ห้า ประชาชนคนไทยทุกคนควรยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเอาตัวรอดผ่าวิกฤตเศรษฐกิจไปให้ได้ เลิกซ้ำเติมสภาวะเศรษฐกิจ
ของตัวเองด้วยการใช้จ่ายบนความเสี่ยงสูง เช่น การเล่นทายพนัน เล่นหวย ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล การใช้จ่ายและลงทุนที่เกินตัว
รายละเอียดงานวิจัย
ที่มาของโครงการ
ดูเหมือนว่าการเมืองไทยกำลังมาถึงจุดเปลี่ยนผ่านอย่างแท้จริงด้วยตัวชี้ที่ปรากฏในหลายๆ ด้าน เช่น บทบาทการทำงานและการแก้วิกฤต
ชาติโดยสถาบันตุลาการกำลังได้รับการสนับสนุนและเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาสู่สังคม อย่างไรก็ตาม ในการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มักจะมีผลกระทบต่อ
ความรู้สึกนึกคิดและความวิตกกังวลของคนในสังคม
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
ใน 14 จังหวัดทุกภูมิภาคของประเทศ สำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองและความวิตกกังวลต่อปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาใน
อนาคต โดยจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความวิตกกังวลของประชาชนในช่วงจุดเปลี่ยนผ่านทางการเมือง
3. เพื่อค้นหาข้อเสนอแนะในการป้องกันแก้ไขวิกฤตการณ์ซ้ำซากของสังคม
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อบุคคลในสถาบันการเมืองและที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการตัดสินใจดำเนินการฟื้นความเชื่อมั่นศรัทธาประชาชนกลับ
คืนมา
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “จุดเปลี่ยนการเมืองไทยกับความวิตกกังวล
ของประชาชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10 — 22
มิถุนายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ สุโขทัย ลำปาง
ปทุมธานี ลพบุรี ชลบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี หนองคาย เพชรบูรณ์ สงขลา และพัทลุง
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,168 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.3 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 47.7 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อย
ละ 8.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 16.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 28.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 31.4 อายุระหว่าง 40—
49 ปี และ ร้อยละ 15.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 72.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 23.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
4.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 25.9 เป็นเกษตรกร ร้อยละ 19.3 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 14.8 ระบุอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 13.7
ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 10.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.9 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 7.3
เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 2.0 ระบุว่างงาน ซึ่งร้อยละ 72.4 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล ในขณะที่ร้อยละ 27.6 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 41.8
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 27.3
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 14.9
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 10.6
5 ไม่ได้ติดตาม 5.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการเมืองไทย
ในอีก 30 วันข้างหน้า
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามีการเปลี่ยนแปลง 68.3
2 ไม่คิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ 16.1
3 ไม่มีความเห็น 15.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่คาดว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการเมืองไทย
มากที่สุด (เฉพาะคนที่ตอบว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงและตอบได้เพียงข้อเดียว)
ลำดับที่ สิ่งที่ตัวอย่างคาดว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทย ค่าร้อยละ
1 พรรคการเมืองใหญ่จะถูกยุบ 59.4
2 คณะกรรมการการเลือกตั้งจะลาออก 23.4
3 องค์กรอิสระจะฟื้นความเชื่อมั่นศรัทธาประชาชน 8.3
4 รัฐบาลจะเอาจริงเอาจังแก้ปัญหา 2.9
5 ปรับคณะรัฐมนตรี 1.1
6 อื่นๆ นายกรัฐมนตรีจะลาออก/ มีการปฏิวัติรัฐประหาร/มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นต้น 4.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ วิตกกังวลถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์การเมืองขณะนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ตัวอย่างวิตกกังวลช่วงเปลี่ยนแปลงการเมืองไทย ค่าร้อยละ
1 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น (ถอนทุนคืน) 81.8
2 ปัญหาเศรษฐกิจ 72.5
3 ปัญหายาเสพติด 67.7
4 ปัญหาความไม่สงบ 53.2
5 ปัญหาความไม่ต่อเนื่องของนโยบาย 52.0
6 ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน 31.8
7 อื่นๆ ปัญหาความไม่สามัคคีของคนในชาติ/ การแทรกแซงองค์กรอิสระ/ ปัญหาการเล่นพนัน เป็นต้น 21.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเภทหรือโครงการที่กังวลว่ามีปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทหรือโครงการที่ตัวอย่างกังวลปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ค่าร้อยละ
1 โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้า 78.4
2 โครงการกองทุนหมู่บ้าน 54.7
3 โครงการด้านการเกษตร เช่นต้นกล้ายาง พันธุ์พืชต่างๆ 42.6
4 โครงการด้านการคมนาคม ถนน สะพาน 40.3
5 โครงการด้านสาธารณสุข เช่น เวชภัณฑ์ ยารักษาโรค 38.3
6 การให้บริการของหน่วยงานต่างๆ เช่น ฝ่ายปกครอง กรมศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง 36.9
7 การทำงานของตำรวจ 27.0
8 อื่นๆ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ / การออกเอกสารสิทธิ์ต่างๆ เป็นต้น 17.8
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเภทของปัญหาเศรษฐกิจที่วิตกกังวล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของปัญหาเศรษฐกิจที่ตัวอย่างวิตกกังวล ค่าร้อยละ
1 ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น 70.6
2 ราคาสินค้าที่สูงขึ้น 66.8
3 ค่าครองชีพที่สูงขึ้น 63.1
4 ภาระหนี้สิน 60.4
5 ปัญหาว่างงาน 29.5
6 ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น 18.4
7 ปัญหาการลงทุนหดตัว 10.3
8 อื่นๆ เช่น ไม่มีเงิน/ ภาวะเงินเฟ้อ / วิกฤตเศรษฐกิจ/ ล้มละลาย เป็นต้น 12.2
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาของประเทศขณะนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาของประเทศขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 เร่งปราบปรามขบวนการทุจริตคอรัปชั่น 59.2
2 หาคนดี ซื่อสัตย์ มีความสามารถแก้ปัญหา 58.7
3 เพิ่มบทลงโทษกลุ่มคนที่ทำลายสังคม 50.8
4 ล้างไพ่ยุบพรรคการเมืองใหญ่ให้โอกาสคนอื่นทำงานการเมือง 46.1
5 สื่อมวลชนตีแผ่สิ่งไม่ชอบมาพากลต่างๆ 43.4
6 องค์กรอิสระทำงานตามความคาดหวังประชาชนอย่างเต็มที่ 40.4
7 ประชาชนช่วยกันตรวจสอบ 37.3
8 ทำชุมชนให้เข้มแข็ง 33.2
9 อื่นๆ ให้ความรู้การศึกษาประชาชน/ สร้างจิตสำนึกให้คนไทยทุกคนช่วยกันแก้ปัญหา/
ข้าราชการทุกคนทำงานจริงจังซื่อสัตย์ เป็นต้น 15.6
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-