ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real- Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจแบบรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 10 ชั่วโมงผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ ได้ทำการสำรวจเรื่อง ความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ “ไข้หวัด 2009”: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ แพร่ ลำปาง นครนายก จันทบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี ชลบุรี นครพนม ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ขอนแก่น นราธิวาส และสงขลา จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,215 ครัวเรือน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2552 ผลสำรวจพบว่า ประชาชน ร้อยละ 38.6 มีความเข้าใจอย่างดีเพียงพอแล้วถึงแนวทางการป้องกันไข้หวัด 2009 และร้อยละ 61.4 ยังไม่เข้าใจดีพอว่าจะป้องกันอย่างไร
และเมื่อถามถึงการปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ในสถานที่ต่างๆ นั้นพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 88.7 ไม่ใส่หน้ากากเมื่ออยู่ในเมื่ออยู่ใน คอนโดมิเนียม/หอพัก/อพาร์ทเมนต์ในขณะที่ร้อยละ 11.3 ไม่ใส่หน้ากาก สำหรับการปฏิบัติตัวเมื่อไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ นั้น พบว่าตัวอย่าง มากกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 73.8 ระบุไม่ใส่หน้ากาก และร้อยละ 26.2 ระบุใส่หน้ากาก และเมื่อเดินทางไปห้างสรรพสินค้านั้น ตัวอย่างร้อยละ 28.3 ใส่หน้ากาก ร้อยละ 71.7 ไม่ใส่ นอกจากนี้พบว่า ร้อยละ 30.9 ใส่หน้ากากเมื่อไปโรงภาพยนตร์/สถานบันเทิง ในขณะที่ร้อยละ 69.1 ไม่ใส่ ตัวอย่างร้อยละ 36.5 ใส่หน้ากากเมื่ออยู่บนรถโดยสาร รถเมล์ รถแท็กซี่ ในขณะที่ร้อยละ 63.5 ไม่ใส่ ร้อยละ 36.8 ใส่หน้ากาก เมื่ออยู่ในสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก แต่มากกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 63.2 ไม่ใส่ สำหรับการเดินทางไปโรงเรียน/มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษานั้นพบ ว่า ร้อยละ 38.9 ใส่หน้ากาก ร้อยละ 61.1 ไม่ใส่ ที่น่าพิจารณาคือการเดินทางไปโรงพยาบาล/คลีนิค/ สถานพยาบาลนั้นพบว่า ร้อยละ 47.4 ใส่หน้ากาก ในขณะที่ร้อยละ 52.6 ระบุไม่ใส่ นอกจากนี้ยังพบว่า ประชาชนร้อยละ 32.1 กลับมาอาบน้ำทันที ภายหลังกลับมาจากนอกบ้าน ในขณะที่ ร้อยละ 67.9 ระบุไม่ได้อาบน้ำทันที
ทั้งนี้เมื่อถามถึงความรู้สึกว่าไม่ค่อยสบายหรือเป็นไข้หวัดนั้น พบว่า ประชาชนร้อยละ 10.7 รู้สึกไม่ค่อยสบาย/สงสัยจะเป็นไข้หวัด 2009 ในขณะที่ร้อยละ 89.3 รู้สึกสบายดี ไม่เป็นอะไร
ดร.นพดล กล่าวว่าที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ ผลวิเคราะห์สถิติวิจัย Odds Ratio ในการวิจัยครั้งนี้พบ ค่าอิทธิพลของปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อการ ไม่สบายจากไข้หวัด 2009 ในกลุ่มประชาชนทั่วไป ได้แก่
ผู้ที่เดินทางโดยรถโดยสาร รถเมล์ รถแท็กซี่โดยไม่ใส่หน้ากาก จะมีภาวะความเสี่ยงต่อการไม่สบายจากไข้หวัด 2009 สูงเกือบ 4 เท่า คือ 3.832 เท่าของผู้ที่ใส่หน้ากาก
ผู้ที่เดินทางไปสถานที่ที่มีคนอยู่จำนวนมากโดยไม่ใส่หน้ากาก จะมีภาวะความเสี่ยงต่อการไม่สบายจากไข้หวัด 2009 คิดเป็น 2.297 เท่าของผู้ที่ใส่หน้ากาก
ผู้ที่เดินทางไปห้างสรรพสินค้าโดยไม่ใส่หน้ากาก จะมีภาวะความเสี่ยงต่อการไม่สบายจากไข้หวัด 2009 คิดเป็น 2.174 เท่าของผู้ที่ใส่ หน้ากาก
ผู้ที่เดินทางไปโรงพยาบาล คลีนิค สถานพยาบาลโดยไม่ใส่หน้ากาก จะมีภาวะความเสี่ยงต่อการไม่สบายจากไข้หวัดใหญ่ คิดเป็น 2.168 เท่าของผู้ที่ใส่หน้ากาก
อย่างไรก็ตามผลการวิเคราะห์พบว่า สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ โรงภาพยนตร์ สถานบันเทิง โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการ ศึกษา ไม่เป็นสถานที่เสี่ยงที่จะทำให้ไม่สบายจากโรคไข้หวัด 2009
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงความต้องการให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งหน้ากากป้องกันไข้หวัด 2009 ไปให้ที่บ้านนั้น พบว่า ประชาชนร้อยละ 62.8 ต้องการให้ส่งหน้ากากมาที่บ้าน ร้อยละ 14.8 ต้องการให้ส่งมาที่สถานีอนามัย/สถานพยาบาลใกล้บ้าน ในขณะที่ ร้อยละ 22.4 ระบุไม่ต้องการ
และเมื่อถามถึงการปกปิดข้อมูลที่แท้จริงเรื่องไข้หวัด 2009 นั้น พบว่า ประชาชนร้อยละ 45.8 คิดว่ารัฐบาลกำลังปกปิดข้อมูลที่แท้จริงอยู่ ในขณะที่ ร้อยละ 54.2 ไม่คิดว่ารัฐบาลกำลังปกปิดอะไร
ในขณะที่เมื่อสอบถามถึงความกังวลของประชาชนต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัด 2009 นั้นพบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งคือ ร้อยละ 61.1 มี ความกังวลค่อนข้างมาก-มากที่สุด ร้อยละ 18.4 ระบุปานกลาง และร้อยละ 20.5 ระบุค่อนข้างน้อย-ไม่รู้สึกกังวลเลย
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างความคาดหวังกับการพบเห็น/รับรู้ว่ามีการปฏิบัติจริงเกี่ยวกับมาตรการป้องกันแก้ไขไข้หวัด 2009 ของรัฐบาล เมื่อพิจารณาในกลุ่มผู้ที่มีความคาดหวังมาก-มากที่สุดนั้นพบว่าประชาชนพบเห็นการปฏิบัติจริงต่ำกว่าที่คาดหวังไว้จากรัฐบาล โดยร้อยละ 41.1 มีความคาดหวังมาก-มากที่สุด แต่กลับพบว่ามีเพียงร้อยละ 28.9 ที่พบเห็นว่ารัฐบาลมีการปฏิบัติจริงในระดับมาก-มากที่สุด (ส่วนต่างเท่า กับ -12.2) และเมื่อพิจารณาความคาดหวัง-ความเป็นจริงในระดับปานกลางนั้นพบว่าร้อยละ 43.2 มีความคาดหวัง ในขณะที่ร้อยละ 47.7 พบเห็น ว่ามีการปฏิบัติจริง (ส่วนต่างเท่ากับ + 4.5) สำหรับในกลุ่มที่มีความคาดหวัง-ความเป็นจริงในระดับน้อย-ไม่มีเลยนั้นพบว่า ร้อยละ 15.7 มีความ คาดหวัง ในขณะที่ร้อยละ 23.4 พบเห็นว่ามีการปฏิบัติจริง (ส่วนต่างเท่ากับ +7.9)
ดร.นพดล กล่าวปิดท้ายถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลในการควบคุมการแพร่ระบาดของไข้หวัด 2009 ว่า ตัวอย่างร้อยละ 46.1 ค่อนข้างเชื่อมั่น-เชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 53.9 ระบุ ไม่ค่อยเชื่อมั่น-ไม่เชื่อมั่น
รายละเอียดงานวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ “ไข้หวัด 2009”
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างร้อยละ 57.8 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 42.2 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 5.1 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 26.8 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 20.1 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 26.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 23.6 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
และร้อยละ 3.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.7 ระบุอาชีพรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป/เกษตรกร/ประมง
ร้อยละ 28.7 ระบุอาชีพค้าขายรายย่อย/อิสระ
ร้อยละ 15.9 ระบุอาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 10.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.2 ระบุอาชีพนักเรียนนักศึกษา
ร้อยละ 4.5 ระบุอาชีพพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 2.4 ระบุว่างงาน
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.2 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ28.0 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 11.4 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 6.1 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
และร้อยละ 19.3 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ ความเข้าใจต่อแนวทางการป้องกันไข้หวัด 2009 ค่าร้อยละ 1 เข้าใจอย่างดีเพียงพอแล้ว 38.6 2 ยังไม่เข้าใจดีพอ 61.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการปฏิบัติตัวเมื่อเดินทางไปนอกบ้านตามสถานที่ต่างๆ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ลำดับที่ การเดินทางไปสถานที่ต่างๆ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ใส่หน้ากากค่าร้อยละ ไม่ใส่หน้ากากค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น 1 อยู่คอนโดมิเนียม หอพัก อพาร์ทเมนต์ 11.3 88.7 100.0 2 สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ 26.2 73.8 100.0 3 ห้างสรรพสินค้า 28.3 71.7 100.0 4 โรงภาพยนตร์ สถานบันเทิง 30.9 69.1 100.0 5 บนรถโดยสาร รถเมล์ รถแท๊กซี่ 36.5 63.5 100.0 6 สถานที่ที่มีคนอยู่จำนวนมาก 36.8 63.2 100.0 7 โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา 38.9 61.1 100.0 8 โรงพยาบาล คลีนิค สถานพยาบาล 47.4 52.6 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการอาบน้ำภายหลังจากกลับมาจากนอกบ้าน ลำดับที่ การอาบน้ำภายหลังจากกลับมาจากนอกบ้าน ค่าร้อยละ 1 อาบน้ำทันที 32.1 2 ไม่ได้อาบน้ำทันที 67.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสงสัยว่าจะเป็นหวัด 2009 อยู่ ลำดับที่ สงสัยว่าจะเป็นหวัด 2009 อยู่ ค่าร้อยละ 1 สงสัยว่าจะเป็นหวัด 2009 อยู่ เนื่องจาก มีไข้ ไอ จาม เจ็บคอ มีน้ำมูก เป็นต้น 10.7 2 รู้สึกสบายดี ไม่เป็นอะไร 89.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าอิทธิพลของปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อการไม่สบายจากไข้หวัด 2009 ลำดับที่ ปัจจัยเสี่ยง Odds Ratio(95% C I ) ค่านัยสำคัญp-value 1 การโดยบนรถโดยสาร รถเมล์ รถแท๊กซี่ ไม่ใส่หน้ากาก 3.83 0.000 ใส่หน้ากาก อ้างอิง 2 การเดินทางไปสถานที่มีคนอยู่จำนวนมาก ไม่ใส่หน้ากาก 2.3 0.024 ใส่หน้ากาก อ้างอิง 3 ห้างสรรพสินค้า ไม่ใส่หน้ากาก 2.17 0.050 ใส่หน้ากาก อ้างอิง 4 โรงพยาบาล คลีนิค สถานพยาบาล ไม่ใส่หน้ากาก 2.17 0.047 ใส่หน้ากาก อ้างอิง ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งหน้ากากป้องกันเชื้อไข้หวัด 2009 ไปให้ที่บ้าน ลำดับที่ ความต้องการให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งหน้ากากป้องกันเชื้อไข้หวัด 2009 ไปให้ที่บ้าน ค่าร้อยละ 1 ต้องการให้ส่งมาที่บ้าน 62.8 2 ต้องการให้ส่งมาที่สถานีอนามัย สถานพยาบาลใกล้บ้าน 14.8 3 ไม่ต้องการ 22.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการปกปิดข้อมูลเรื่องไข้หวัด 2009 ของรัฐบาล ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่ารัฐบาลกำลังปกปิดข้อมูลที่แท้จริงอยู่ 45.8 2 ไม่คิดว่ารัฐบาลกำลังปกปิดข้อมูลอะไร 54.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัด 2009 ลำดับที่ ความกังวลของประชาชน ค่าร้อยละ 1 ค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด 61.1 2 ปานกลาง 18.4 3 ค่อนข้างน้อย ถึง ไม่รู้สึกกังวลเลย 20.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังต่อรัฐบาลในการกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขไข้หวัด 2009 ลำดับที่ ระดับความคาดหวัง และเห็นปฏิบัติจริงต่อมาตรการ คาดหวังค่าร้อยละ เห็นปฏิบัติจริงร้อยละ ส่วนต่าง+/-
ของรัฐบาลในการป้องกันแก้ไขไข้หวัด 2009
1 มาก ถึง มากที่สุด 41.1 28.9 -12.2 2 ปานกลาง 43.2 47.7 + 4.5 3 น้อย ถึง ไม่มีเลย 15.7 23.6 +7.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อ รัฐบาลในการควบคุมการแพร่ระบาดของไข้หวัด 2009 ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ 1 เชื่อมั่น 13.8 2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 32.3 3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 39.8 4 ไม่เชื่อมั่น 14.1 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--