เอแบคโพลล์ชี้ความสุขมวลรวมล่าสุดทรุดฮวบจาก 7.15 เหลือ 5.92 กทม.สุขต่ำสุด ในขณะที่อีสานสูงสุด แนะรัฐเร่งใช้ตัวชี้วัดความ ก้าวหน้าของสังคมใหม่แทนตัววัดทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย ความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศครั้งล่าสุดในการประชุมโต๊ะกลมระดับชาติครั้งที่ 1 เรื่อง ทิศทางและการวัดความก้าวหน้าของ สังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ณ สถาบันบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลวิจัยพบว่า แนวโน้มความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศลดลงอย่างมาก จาก 7.15 ในต้นเดือนมิถุนายน เหลือ 5.92 ใน การสำรวจล่าสุดต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยคนไทยมีความสุขน้อยที่สุดในเรื่องบรรยากาศทางการเมือง (2.87) หลักธรรมาภิบาลและการบริหาร จัดการของรัฐบาล (3.61) สภาวะเศรษฐกิจระดับประเทศ (4.06) ความเป็นธรรมทางสังคม (4.26) และสภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือน (5.19) ในขณะที่ร้อยละ 88.3 เห็นว่าความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยพบด้วย ว่า ความสุขของประชาชนยังคงมีมากในเรื่อง ความจงรักภักดี (9.24) ครอบครัว (7.67) สุขภาพกาย (7.35) สุขภาพใจ (7.26) วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี (7.13) ความพอใจในงาน (7.07) การบริการทางแพทย์ (6.39) บรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัย (6.32) สภาพแวดล้อม (6.18) และการศึกษา (6.17)
ดร.นพดล กล่าวว่า จะเห็นได้ว่าความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยมากกว่าเรื่องปากท้องเพียงอย่าง เดียว และในการวิจัยยังพบด้วยว่า ประชาชนที่ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงแท้จริงจะมีความสุขมากกว่าคนที่ใช้ชีวิตแบบไม่พอเพียงประมาณ 4 เท่า โดยคำว่า พอเพียงที่ใช้วัดคือ การรู้จักวางแผนในการใช้ชีวิต ขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์สุจริต รู้จักเก็บออม ไม่หมกมุ่นกับอบายมุข และมีสติสัมปชัญญะ เป็นต้น
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน แนะให้รัฐบาลพร้อมด้วยกลไกรัฐและสื่อมวลชนเร่งรณรงค์แบบบูรณาการใช้ตัวชี้วัดความก้าวหน้าของสังคมด้าน อื่นๆ มากกว่าตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจด้วยจีดีพี (GDP) เพียงอย่างเดียว เช่น ความเป็นธรรมในสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน วัฒนธรรม ประเพณี สภาพแวดล้อม สุขภาพกาย สุขภาพใจ ความซื่อสัตย์สุจริต คุณธรรม คุณภาพเยาวชน และความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน เป็นต้น โดย ผลวิจัยความสุขมวลรวมของคนไทย หรือจีดีเอช (GDH) ของศูนย์วิจัยความสุขชุมชนนี้ กำลังได้รับความสนใจจากนักวิชาการต่างชาติทั่วโลกให้ไปนำ เสนอในเวทีสัมมนาวิชาการนานาชาติที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ในเดือนกันยายนนี้อีกด้วย
โปรดพิจารณารายละเอียดการดำเนินโครงการดังต่อไปนี้
ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ศึกษาแนวโน้มดัชนีความสุขมวลรวมของ ประชาชนภายในประเทศ หรือ Gross Domestic Happiness, GDH ต้นเดือนกรกฎาคม 2552 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 27 จังหวัดของ ประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ ลพบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี สระแก้ว กาญจนบุรี สมุทรสาคร สุพรรณบุรี ยโสธร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สกลนคร หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น เชียงใหม่ เชียงราย น่าน นครสวรรค์ พิษณุโลก สุโขทัย นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ ธานี นราธิวาส และยะลา จำนวนทั้งสิ้น 6,856 ครัวเรือน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 8-15 กรกฎาคม 2552
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.2 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.8 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.8 อายุ 20 — 29 ปี
ร้อยละ 27.4 อายุ 30 — 39 ปี
ร้อยละ 23.7 อายุ 40 — 49 ปี
และร้อยละ 15.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
โดยตัวอย่าง ร้อยละ 42.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 29.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 7.7 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.4 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.9 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.4 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ ร้อยละ 2.5 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
นอกจากนี้ ร้อยละ 81.1 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 17.6 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ก.ค.51 ส.ค.51 ก.ย.51 ต.ค.51 พ.ย.— ปลาย ม.ค.52 ก.พ.52 มี.ค.52 เม.ย.52 ต้น- ต้น- ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย ธ.ค.51 ธ.ค.51 มิ.ย.52 ก.ค.52 ภายในประเทศ(Gross Domestic Happiness) 6.08 5.82 5.64 4.84 6.55 6.81 6.59 5.78 6.2 7.17 7.15 5.92 ตารางที่ 2 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนความสุขมวลรวม ของคนไทยในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2552 ในด้านต่างๆ
จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ ความสุขด้านต่างๆ ของคนไทย GDH 1 การแสดงความจงรักภักดี 9.24 2 บรรยากาศภายในครอบครัว 7.67 3 สุขภาพทางกาย 7.35 4 สุขภาพใจ 7.26 5 วัฒนธรรมประเพณีไทย 7.13 6 หน้าที่การงาน/อาชีพ 7.07 7 การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ดี 6.39 8 บรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัย 6.32 9 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 6.18 10 ระบบการศึกษาของประเทศ 6.17 11 สภาวะเศรษฐกิจของตนเองและครอบครัว 5.19 12 ความเป็นธรรมทางสังคม 4.26 13 สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ 4.06 14 หลักธรรมาภิบาล 3.61 15 บรรยากาศทางการเมือง 2.87
ความสุขมวลรวม ของคนไทยในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2552 5.92
จากคะแนนเต็ม 10 คะแนนจำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ ความสุขด้านต่างๆ ของคนไทย เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กทม. 1 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 6.46 5.82 6.60 6.42 5.54 2 บรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัย 6.79 5.88 6.96 6.56 5.28 3 บรรยากาศภายในครอบครัว 8.14 7.33 8.05 7.60 7.09 4 สุขภาพทางกาย 7.62 7.16 7.80 7.32 6.63 5 สุขภาพใจ 7.58 7.06 7.70 7.20 6.53 6 การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ดี 6.68 6.00 7.04 6.15 5.70 7 หน้าที่การงาน/อาชีพ 7.39 7.00 7.36 6.97 6.44 8 วัฒนธรรมประเพณีไทย 7.49 6.90 7.64 6.92 6.39 9 การแสดงความจงรักภักดี 9.57 9.92 9.75 9.10 9.60 10 ระบบการศึกษาของประเทศ 6.43 5.97 6.65 6.03 5.47 11 สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ 4.06 4.04 4.29 4.02 3.77 12 สภาวะเศรษฐกิจของตนเองและครอบครัว 5.32 5.17 5.51 4.97 4.73 13 หลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการของรัฐบาล 3.54 3.69 3.70 4.01 3.22 14 ความเป็นธรรมทางสังคมที่ได้รับ 4.36 4.31 4.50 4.51 3.56 15 บรรยากาศทางการเมือง 2.50 3.06 2.97 3.33 2.59 ความสุขมวลรวม ของคนไทยในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2552 6.13 5.75 6.30 5.94 5.30 --เอแบคโพลล์-- -พห-