นายวันชัย บุญประภา ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ภายใต้การ
สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เผยผลสำรวจเรื่อง “เสียงสะท้อนสายสัมพันธ์จากใจลูกถึงแม่ของคน 3 วัย (รุ่น
คุณยายคุณย่า รุ่นคุณแม่ และคุณลูก) : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 12 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานคร” จำนวน 1,245 ตัวอย่าง ซึ่งโพลนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้
เห็นว่าปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ครอบครัวอบอุ่นแข็งแรงได้นั้น ถ้าหากครอบครัวไทย สังคมไทยขาดการสื่อสารเชิงบวก ย่อมมีผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวมด้วย จึงได้เกิดการจัดทำโพลนี้ขึ้นมา
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการขอโทษและการขอบคุณแม่ ในประเด็นเรื่องที่อยากจะขอโทษแม่ ในช่วง 3
เดือนที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างได้ระบุเรื่องที่อยากจะขอโทษแม่ใน 5 อันดับแรกไว้ ดังนี้ 1) การพูดจาไม่สุภาพ / เถียงคุณแม่ / ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ (ร้อย
ละ 38.1) 2) ไม่ค่อยได้ดูแลแม่ / ไม่ค่อยสนใจแม่ / ไม่มีเวลาให้แม่ (ร้อยละ 22.5) 3) การประพฤติตัวหยาบคาย (ร้อยละ 15.9) 4) การไม่
ตั้งใจเรียน / ทำงาน / ไม่ช่วยทำงานบ้าน (ร้อยละ 15.0) และ 5) การเที่ยวเตร่ / เที่ยวกลางคืน / กลับบ้านช้า (ร้อยละ 12.2)
ส่วนเรื่องที่อยากจะขอบคุณแม่ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้น กลุ่มตัวอย่างได้ระบุใน 5 อันดับแรกไว้ ดังนี้ 1) เรื่องดูแลลูกๆ เป็นอย่างดี
(ร้อยละ 46.2) 2) เรื่องที่แม่ให้คำปรึกษา / เป็นกำลังใจให้ลูกๆ เสมอ (ร้อยละ 17.8) 3) เรื่องคำสั่งสอนต่างๆ ที่ทำให้ลูกๆ เป็นคนดี (ร้อย
ละ 16.8) 4) เรื่องที่แม่ได้ให้กำเนิดลูกๆ มา (ร้อยละ 16.5) และ 5) เรื่องที่แม่หาเงินให้ใช้จ่าย (ร้อยละ 10.0)
เกี่ยวกับเรื่องที่อยากจะขอโทษแม่ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) การพูดจาไม่สุภาพกับคุณแม่ (ร้อยละ
60.4) 2) การแสดงกิริยามารยาทไม่สุภาพกับแม่ (ร้อยละ 40.0) 3) การโกหก / พูดเท็จ (ร้อยละ 30.6) 4) การไม่ตั้งใจเรียน / ทำงาน
(ร้อยละ 26.7) และ 5) การดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ (ร้อยละ 22.0) ซึ่งผลการสำรวจนี้สะท้อนปัญหาเรื่องการสื่อสารในครอบครัวไทยโดยนายวัน
ชัย ได้ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า
“การที่เด็กอยากขอโทษแม่เนื่องจากพูดจาไม่สุภาพกับแม่มากที่สุด สะท้อนปัญหาเรื่องการสื่อสารในครอบครัวไทย ซึ่งมักจะจะใช้การสื่อสาร
แบบตำหนิกับเด็กมากกว่าการชมเชยหรือการพูดในเชิงบวก ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่แรกตั้งแต่เด็กยังเด็กอยู่ กลายเป็นพฤติกรรมเชิง
ลบในครอบครัวที่เด็กจะเกิดการเลียนแบบ และคำพูดเชิงตำหนิจะเป็นคำพูดที่ทำร้ายเด็กโดยไม่รู้ตัว พ่อแม่จึงต้องมีการสื่อสารทางบวกมากขึ้น เช่น เมื่อ
เขาทำสำเร็จ ทำดีก็พร้อมที่จะชมเชยลูกเสมอ หากไม่สำเร็จ หรือผิดพลาดก็ต้องให้กำลังใจ เพราะฉะนั้น ตัวอย่างในการใช้คำพูดและเรื่องการสื่อ
สาร ตัวอย่างต้องเป็นแม่ เป็นครู เมื่อเด็กเห็นตัวอย่าง เด็กก็จะกล้าทำในสิ่งดีๆ และพูดแต่ในสิ่งดีๆ” นายวันชัยกล่าว
ดร.นพดล กรรณิกา กล่าวว่า เมื่อสอบถามความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่าง หากต้องพูดขอโทษ / ขอบคุณแม่ ต่อหน้าผู้อื่น พบว่า ส่วนใหญ่
คือ ร้อยละ 63.9 ระบุรู้สึกดีที่ได้พูด อีกร้อยละ 20.7 ระบุเฉยๆ และที่เหลืออีกร้อยละ 15.4 ระบุเขินอาย
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นวัยรุ่น (อายุ 12-24 ปี) โดยแบ่งเป็นกลุ่มวัยรุ่นตอนต้น (อายุ 12-15 ปี)
กลุ่มวัยรุ่นตอนกลาง (อายุ 16-19 ปี) และกลุ่มวัยรุ่นตอนปลาย (อายุ 20-24 ปี) ในประเด็นการพูดขอโทษ / ขอบคุณแม่ ต่อหน้าผู้อื่น พบว่า วัยรุ่น
ตอนต้นประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.3 รู้สึกเขินอายต่อการพูดขอโทษ / ขอบคุณแม่ ต่อหน้าผู้อื่นสูงกว่าวัยรุ่นตอนกลางและตอนปลายที่รู้สึกเขินอาย
ในการกล่าวขอบคุณ/ขอโทษคุณแม่ของตนต่อหน้าผู้อื่นร้อยละ 20.6 และร้อยละ 27.3
ในประเด็นนี้ คุณวันชัยได้แสดงข้อคิดเห็นถึงสาเหตุที่ทำให้เด็ก 1 ใน 3 รู้สึกเขินอายต่อการกล่าวคำขอโทษว่า “เนื่องจากโดยวัฒนธรรม
คนไทยแม้แต่ผู้ใหญ่เองมักไม่ค่อยกล้าพูดขอโทษหรือขอบคุณกับคนใกล้ตัว ในขณะเดียวกันกลับกล้าที่จะพูดกับคนแปลกหน้า เช่น เพื่อนที่ทำงาน หรือ คน
อื่นๆ ที่ไม่ใช่คนใกล้ชิด แต่ไม่มีการปฏิบัติกับคนใกล้ชิดและคนในบ้าน เด็กจึงคุ้นเคยกับวัฒนธรรมเหล่านั้นที่พ่อแม่ก็ปฏิบัติเช่นนั้น เด็กจึงรู้สึกเขินอายที่กล่าว
คำขอโทษหรือขอบคุณเช่นกัน เพราะฉะนั้นผู้ใหญ่จึงต้องเป็นต้นแบบให้กับเด็กในเรื่องเหล่านี้”
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจประเด็นความสัมพันธ์ พบว่า ความสัมพันธ์โดยทั่วไปกับแม่ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 46.4
ระบุพบเจอ / พูดคุยกับแม่ทุกวัน ร้อยละ 29.9 ระบุเป็นบางวัน และอีกร้อยละ 23.7 ระบุไม่ได้พบเจอ / พูดคุยกับแม่เลย
“จากการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทั่วไปกับแม่ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ในประเด็นการพบเจอ / พูด
คุยกับแม่ พบว่า ร้อยละ 46.4 ระบุพบเจอ / พูดคุยกับแม่ทุกวัน ร้อยละ 29.9 ระบุเป็นบางวัน และอีกร้อยละ 23.7 ระบุไม่ได้พบเจอ / พูดคุยกับแม่
เลย” ดร.นพดลกล่าว
เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจปีที่แล้วในประเด็นเดียวกัน พบว่า จำนวนคนที่บอกว่าพบเจอพูดคุยระหว่างแม่กับลูกทุกวันลดลงจากร้อยละ
63.6 เหลือร้อยละ 46.4 ในขณะที่ไม่เคยเจอพูดคุยกันเลย เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 23.7
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจเช่นนี้เป็นสัญญาณอันตรายต่อสถาบันครอบครัวและสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแม่กับลูกโดยเฉพาะในกรุงเทพ
มหานครที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาสภาวะเศรษฐกิจจนอาจทำให้แม่ต้องทำงานนอกบ้านมากขึ้นไปกว่าปกติอีก เช่นการทำงานหารายได้พิเศษเพิ่ม
เติมจนไม่มีเวลาดูแลแม้แต่การพูดคุยกันระหว่างแม่กับลูก ซึ่งสังคมไทยเคยให้ความสำคัญและเอ่ยถึงปัญหาที่ผู้หญิงในเมืองต้องทำงานนอกบ้าน แต่ปัจจุบันนี้
ทำไมไม่ค่อยมีการพูดถึงกันเลย
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพิจารณาประเภทกิจกรรมที่ทำร่วมกับแม่ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า กิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจร่วมกันระหว่างแม่กับ
ลูก เช่น ออกกำลังกายเล่นกีฬาร่วมกัน ชมภาพยนต์ ท่องเที่ยว กลายเป็นกิจกรรมที่ไม่เคยทำร่วมกันเลย เพราะผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
57.4 ไม่เคยเล่นกีฬาออกกำลังกายร่วมกันเลย ร้อยละ 46.1 ไม่เคยชมภาพยนต์ร่วมกัน และร้อยละ 31.2 ไม่เคยท่องเที่ยวด้วยกันเลย
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความสัมพันธ์สนิทสนมใกล้ชิดกับแม่ พบว่า กว่าครึ่ง คือ ร้อยละ 51.6 ระบุสนิทสนมใกล้ชิดกับแม่มาก ร้อยละ
27.8 ระบุค่อนข้างมาก ร้อยละ 15.3 ระบุค่อนข้างน้อย และที่เหลืออีกร้อยละ 5.3 ระบุน้อย / ไม่ใกล้ชิดเลย
ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อวิเคราะห์การอบรมเลี้ยงดูของแม่กับคน 3 ร่น 3 วัย คือรุ่นคุณยายคุณย่า รุ่นคุณแม่ และรุ่นคุณลูก พบว่า ความเคร่ง
ครัดในการอบรมเลี้ยงดูลูกจากรุ่นคุณยายคุณย่า ถึงรุ่นคุณลูกที่เป็นเยาวชนในขณะนี้ พบว่าแนวโน้มความเคร่งครัดด้านศีลธรรมและคุณธรรมลดลงในหลาย
ด้าน เช่น ความเคร่งครัดด้านการพูดโกหก ลดลงจากรุ่นคุณยายคุณย่าที่เคยมีอยู่ร้อยละ 67.6 เหลือร้อยละ 52.6 ในรุ่นคุณลูก ความเคร่งครัดด้านการ
ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตในรุ่นคุณยายคุณย่าเคยมีอยู่ร้อยละ 60.0 เหลือร้อยละ 52.6 ในรุ่นคุณลูกที่เป็นเยาวชนในปัจจุบัน ความเคร่งครัดด้านการดื่มเครื่องดื่มมี
แอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ ในรุ่นคุณยายคุณย่าเคยมีอยู่ร้อยละ 55.9 ลดลงเหลือร้อยละ 49.8 ในรุ่นคุณลูกที่เป็นเยาวชนปัจจุบัน ความเคร่ง
ครัดเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในรุ่นคุณยายคุณย่ามีอยู่ร้อยละ 58.0 ลดลงเหลือร้อยละ 53.9 ในรุ่นคุณลูกเยาวชน และเรื่องการพูดจากิริยา
มารยาทสุภาพเรียบร้อยในรุ่นคุณยายคุณย่าร้อยละ 45.1 เหลือร้อยละ 24.8 ในรุ่นคุณลูกเยาวชน
ในขณะที่ ความเคร่งครัดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ สิ่งเสพติดที่ไม่นับรวมเหล้าและบุหรี่ มีความเคร่งครัดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59.4 ในรุ่นคุณยายคุณ
ย่า มาอยู่ที่ร้อยละ 77.0 ในรุ่นคุณลูกเยาวชน และความเคร่งครัดในการอบรวมลูกห้ามสูบบุหรี่เคยมีอยู่ในกลุ่มคุณยายคุณย่าร้อยละ 59.4 มาอยู่ที่ร้อย
ละ 62.9
อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างเกินกว่าครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 51.3 ระบุว่าปัจจุบันการอบรมเลี้ยงดูเคร่งครัดน้อยกว่าอดีต ในขณะที่ร้อย
ละ 27.0 ระบุเคร่งครัดเท่าเดิมและร้อยละ 21.7 ระบุเคร่งครัดมากกว่าอดีต
ส่วนเรื่องที่อยากจะขอบคุณแม่ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้น กลุ่มตัวอย่างได้ระบุใน 5 อันดับแรกไว้ ดังนี้ 1) เรื่องดูแลลูกๆ เป็นอย่างดี
(ร้อยละ 46.2) 2) เรื่องที่แม่ให้คำปรึกษา / เป็นกำลังใจให้ลูกๆ เสมอ (ร้อยละ 17.8) 3) เรื่องคำสั่งสอนต่างๆ ที่ทำให้ลูกๆ เป็นคนดี (ร้อย
ละ 16.8) 4) เรื่องที่แม่ได้ให้กำเนิดลูกๆ มา (ร้อยละ 16.5) และ 5) เรื่องที่แม่หาเงินให้ใช้จ่าย (ร้อยละ 10.0)
เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างระบุถึงสิ่งที่ตั้งใจจะทำให้แม่ในวันแม่ที่จะถึงนี้ พบว่า ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) ทำบุญตักบาตร (ร้อยละ 36.9)
2) ให้สิ่งของ เช่น ดอกมะลิ ของขวัญ การ์ด (ร้อยละ 36.7) 3) อยู่บ้านพร้อมหน้าพร้อมตากัน (ร้อยละ 34.8) 4) ทำบุญอุทิศส่วนกุศล (ร้อยละ
26.8) และ 5) ให้เงิน (ร้อยละ 22.6)
และเมื่อให้กลุ่มตัวอย่างระบุคำสัตย์ปฏิญาณความดีเพื่อแม่ที่นึกถึงอันดับแรกในใจของลูก มีดังนี้ 1) ทำตัวเป็นคนดีของสังคม (ร้อยละ
31.2) 2) เป็นลูกที่ดีของแม่ (ร้อยละ 26.3) 3) ตั้งใจเรียน / ทำงาน (ร้อยละ 11.4) 4) จะรักแม่ตลอดไป (ร้อยละ 9.2) และ 5) ไม่ยุ่ง
เกี่ยวกับยาเสพติด / เลิกเหล้า (ร้อยละ 5.6)
ดร.นพดล กล่าวว่า “ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า แม้คนส่วนใหญ่จะระบุว่า ตนเองมีความสัมพันธ์สนิทสนมใกล้ชิดกับแม่มาก แต่จากการ
สำรวจในปัจจุบัน พบว่า แม่กับลูกมีเวลาได้พบเจอ / พูดคุยกันน้อยลงเมื่อเทียบกับผลสำรวจปีที่แล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้พบเจอ / พูดคุยกันเลยระหว่าง
แม่กับลูกมีอัตราสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ แม่และลูกอาจมีเวลาให้กันน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการอบรมเลี้ยงดูของ
แม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเยาวชนที่อาจขาดความใกล้ชิดสนิทสนมกับแม่ และความเคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูด้านศีลธรรมคุณธรรมมีแนวโน้มลดลง
อย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับการอบรมเลี้ยงดูในรุ่นคุณย่าคุณยาย รุ่นคุณแม่และรุ่นคุณลูกที่เป็นเยาวชนในปัจจุบัน
“เมื่อมองภาพรวมแล้ว สถาบันครอบครัวของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครจึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ทางออกที่น่าจะเป็นไปได้คือ การให้
เวลาแก่กันและกันระหว่างแม่กับลูก ควรทำกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจร่วมกัน เช่น เล่นกีฬาออกกำลังกาย ชมภาพยนต์ และท่องเที่ยวต่างจังหวัดร่วมกัน
แต่เป็นเรื่องที่ปฏิบัติจริงได้ยากเพราะสถาบันครอบครัวในกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่ไม่มีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะสร้างบรรยากาศครอบครัวขึ้น
มาได้เอง รัฐบาลและกรุงเทพมหานครจึงควรสร้างระบบสังคมขึ้นมาเสริมสร้างชีวิตครอบครัวของคนกรุงเทพมหานครและเขตชานเมือง หาแนวทางทำ
ให้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยสำคัญดึงคุณแม่ออกจากบ้าน ทำให้คุณแม่ถูกลดบทบาทความเป็นแม่ลงไปจากอดีต ส่งผลให้การอบรมเลี้ยงดูด้านศีลธรรมด้าน
คุณธรรมลดลง และต่อไปเด็กเยาวชนที่ไม่ตระหนักถึงศีลธรรมคุณธรรมเหล่านี้จะกลับมาทำร้ายสังคม ดังนั้น ทุกภาคส่วนของสังคมในเวลานี้ควรจัดเวที
ระดมความคิดเห็นขึ้นมาเพื่อช่วยกันหาทางป้องกันวิกฤตการณ์ด้านสังคมอนาคตโดยรัฐบาลและกรุงเทพมหานคร ควรเป็นเจ้าภาพ เพื่อค้นหานโยบาย
มาตรการต่างๆ เสริมความเข้มแข็งของครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดูเสริมสร้างสายใยสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกให้มีมากยิ่งขึ้น” ดร.นพดล กล่าว
พิจารณารายละเอียดโครงการวิจัยดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจสัมพันธภาพทั่วไประหว่างแม่กับลูก รวมทั้งกิจกรรมที่แม่และลูกได้กระทำร่วมกันในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและทัศนคติเกี่ยวกับการขอโทษและขอบคุณแม่
3. เพื่อสำรวจสิ่งที่ตั้งใจจะทำเพื่อแม่ในโอกาสวันแม่ที่จะถึงนี้
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “เสียงสะท้อนสายสัมพันธ์จากลูกสู่แม่ :
กรณีศึกษาประชาชนอายุ 12 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 7-9 สิงหาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 12 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,245 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 61.2 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 38.8 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อย
ละ 21.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 28.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 19.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 16.2 อายุระหว่าง 40—49
ปี และ ร้อยละ 14.5 อายุระหว่าง 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 82.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 16.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
1.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 26.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 13.3 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 8.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณ
อายุ ร้อยละ 17.4 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 25.7 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 3.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ
0.5 ระบุอาชีพเกษตรกร และร้อยละ 4.2 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการพบเจอ/พูดคุยระหว่างแม่และลูก ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ประเด็น ทุกวัน บางวัน ไม่เคยเลย รวม
ปี 2548 ปี 2549 ปี 2548 ปี 2549 ปี 2548 ปี 2549 ปี 2548 ปี 2549
พบเจอ / พูดคุย 63.6 46.4 28.3 29.9 8.1 23.7 100.0 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับแม่ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประเภทกิจกรรมที่ทำร่วมกับแม่ ความถื่ในการทำกิจกรรม รวม
บ่อยๆ ไม่บ่อย ไม่เคยทำ
1 ทานข้าวร่วมกัน 55.2 28.4 16.4 100.0
2 ดูข่าว ดูละคร 54.7 25.1 20.2 100.0
3 พูดคุยเรื่องส่วนตัว 46.4 38.4 15.2 100.0
4 ชมภาพยนตร์ 20.1 33.8 46.1 100.0
5 ชอปปิ้ง 19.8 47.7 32.5 100.0
6 ท่องเที่ยว 17.8 51.0 31.2 100.0
7 ออกกำลังกาย / เล่นกีฬา 10.4 32.2 57.4 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความสัมพันธ์สนิทสนมใกล้ชิดกับแม่
ลำดับที่ ระดับความสัมพันธ์สนิทสนมใกล้ชิดกับแม่ ร้อยละ
1 มาก 51.6
2 ค่อนข้างมาก 27.8
3 ค่อนข้างน้อย 15.3
4 น้อย / ไม่ใกล้ชิดเลย 5.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูของแม่ในประเด็นต่างๆ
ลำดับที่ ประเด็นการอบรมเลี้ยงดู เคร่งครัดมาก (ค่าร้อยละ)
ย่า/ยาย พ่อ/แม่ ลูก
1 การลักขโมยสิ่งของของผู้อื่น 69.6 76.0 77.2
2 ความซื่อสัตย์สุจริต 68.3 68.0 65.5
3 พูดโกหก 67.6 58.6 52.6
4 การนอนค้างบ้านเพื่อนต่างเพศ 62.0 56.8 52.9
5 เล่นการพนัน 61.0 60.6 58.2
6 การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต 60.0 56.6 52.6
7 สิ่งเสพติด (ไม่รวมเหล้า บุหรี่) 59.4 69.5 77.0
8 สูบบุหรี่ 59.4 54.7 62.9
9 การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 58.0 53.9 53.9
10 เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า ไวน์ เบียร์ 55.9 49.9 49.8
11 คำพูดคำจาที่ใช้ / กิริยามารยาทสุภาพเรียบร้อย 45.1 31.9 24.8
ภาพรวมทางศีลธรรม 58.8 54.0 54.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูในอดีตเปรียบเทียบกับความ
เคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูในปัจจุบัน
ลำดับที่ การเปรียบเทียบ ร้อยละ
1 ปัจจุบันเคร่งครัดมากกว่าอดีต 21.7
2 เคร่งครัดเท่าเดิม 27.0
3 ปัจจุบันเคร่งครัดน้อยกว่าอดีต 51.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึก หากต้องพูดขอโทษ / ขอบคุณแม่ ต่อหน้าผู้อื่น
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 เขินอาย 15.4
2 เฉยๆ 20.7
3 รู้สึกดีที่ได้พูด 63.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างในกลุ่มวัยรุ่นที่ระบุความรู้สึก หากต้องพูดขอบคุณแม่ต่อหน้าผู้อื่น (จำแนกตามช่วงอายุ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง กลุ่มอายุ
12-15 ปี(ร้อยละ) 16-19 ปี(ร้อยละ) 20-24 ปี(ร้อยละ)
1 เขินอาย 33.3 20.6 27.3
2 เฉยๆ 19.8 23.7 20.3
3 รู้สึกดีที่ได้พูด 46.8 55.7 52.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเรื่องที่อยากจะขอโทษแม่ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เรื่องที่อยากจะขอโทษแม่ ร้อยละ
1 การพูดจาไม่สุภาพกับคุณแม่ 60.4
2 การแสดงกิริยามารยาทไม่สุภาพกับแม่ 40.0
3 การโกหก / พูดเท็จ 30.6
4 การไม่ตั้งใจเรียน / ทำงาน 26.7
5 การดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ 22.0
6 การสูบบุหรี่ 14.9
7 การประพฤติตัวหยาบคาย 12.6
8 การหนีเรียน 12.4
9 การทะเลาะวิวาท 12.1
10 การเล่นการพนัน 7.6
11 การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 7.3
12 การเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 6.1
13 การไม่ซื่อสัตย์สุจริต 6.1
14 การทำลายทรัพย์สินข้าวของ 3.9
15 การขโมย / ลักทรัพย์ 3.7
16 การทำร้ายร่างกายแม่ 2.5
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเรื่องที่อยากจะขอบคุณแม่ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เรื่องที่อยากจะขอบคุณแม่ ร้อยละ
1 เรื่องดูแลลูกๆ เป็นอย่างดี 46.2
2 เรื่องที่แม่ให้คำปรึกษา / เป็นกำลังใจให้ลูกๆ เสมอ 17.8
3 เรื่องคำสั่งสอนต่างๆ ที่ทำให้ลูกๆ เป็นคนดี 16.8
4 เรื่องที่แม่ได้ให้กำเนิดลูกๆ มา 16.5
5 เรื่องที่แม่หาเงินให้ใช้จ่าย 10.0
6 เรื่องที่แม่ยอมลำบากเพื่อให้ลูกๆ สบาย 8.9
7 เรื่องที่แม่ซักเสื้อผ้า ทำงานบ้าน ทำกับข้าวให้ลูกๆ 7.1
8 เรื่องที่แม่ให้โอกาสกับลูกๆ ในทุกเรื่อง 6.2
9 เรื่องที่แม่ส่งเสียให้ลูกๆ ได้เรียนสูงๆ 5.5
10 เรื่องที่แม่เป็นที่พึ่งพักพิงทั้งทางกายและใจ 4.6
11 เรื่องที่แม่พาลูกๆ ไปเที่ยว 1.6
12 เรื่องที่แม่ช่วยสอนการบ้านให้ลูกๆ 0.4
ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ตั้งใจจะทำให้แม่ในวันแม่ที่จะถึงนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ตั้งใจจะทำให้แม่ในวันแม่ที่จะถึงนี้ ร้อยละ
1 ทำบุญตักบาตร 36.9
2 ให้สิ่งของ เช่น ดอกมะลิ ของขวัญ การ์ด 36.7
3 อยู่บ้านพร้อมหน้าพร้อมตากัน 34.8
4 ทำบุญอุทิศส่วนกุศล 26.8
5 ให้เงิน 22.6
6 ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เช่น ปลูกต้นไม้ ทำกับข้าว 19.2
7 ไปทานข้าวนอกบ้าน 16.0
8 ไปพักผ่อนตามสถานที่ต่างๆ 13.0
9 ชอปปิ้ง / ชมภาพยนตร์ 6.4
10 เล่นกีฬา 2.4
11 อื่นๆ อาทิเช่น ไปไหว้ พาไปตรวจสุขภาพ โทรศัพท์ไปหา ตั้งใจเรียน เป็นต้น 8.3
12 ไม่ทำเลย เพราะ อาย ไม่มีเวลา ไม่ได้อยู่ด้วยกัน เสียชีวิตแล้ว เป็นต้น 4.4
ตารางที่ 11 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำสัตย์ปฏิญาณความดีเพื่อแม่ที่นึกถึงอันดับแรก
ลำดับที่ คำสัตย์ปฏิญาณความดีเพื่อแม่ที่นึกถึงอันดับแรก ร้อยละ
1 ทำตัวเป็นคนดีของสังคม 31.2
2 เป็นลูกที่ดีของแม่ 26.3
3 ตั้งใจเรียน / ทำงาน 11.4
4 จะรักแม่ตลอดไป 9.2
5 ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด / เลิกเหล้า 5.6
6 ดูแลแม่ให้สบายทั้งกายและใจ 5.5
7 ทำบุญ 2.6
8 ซื่อสัตย์ สุจริต และไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน 2.3
9 จะเป็นแม่ที่ดีในอนาคต 1.7
10 ตอบแทนพระคุณของแม่ 1.2
11 สร้างบ้านให้แม่อยู่ / ซื้อของที่แม่อยากได้ 1.2
12 จะดูแลน้องให้ดีที่สุด 1.0
13 ไม่เล่นการพนัน 0.6
14 พาแม่ไปเที่ยวพักผ่อน 0.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เผยผลสำรวจเรื่อง “เสียงสะท้อนสายสัมพันธ์จากใจลูกถึงแม่ของคน 3 วัย (รุ่น
คุณยายคุณย่า รุ่นคุณแม่ และคุณลูก) : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 12 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานคร” จำนวน 1,245 ตัวอย่าง ซึ่งโพลนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้
เห็นว่าปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ครอบครัวอบอุ่นแข็งแรงได้นั้น ถ้าหากครอบครัวไทย สังคมไทยขาดการสื่อสารเชิงบวก ย่อมมีผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวมด้วย จึงได้เกิดการจัดทำโพลนี้ขึ้นมา
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการขอโทษและการขอบคุณแม่ ในประเด็นเรื่องที่อยากจะขอโทษแม่ ในช่วง 3
เดือนที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างได้ระบุเรื่องที่อยากจะขอโทษแม่ใน 5 อันดับแรกไว้ ดังนี้ 1) การพูดจาไม่สุภาพ / เถียงคุณแม่ / ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ (ร้อย
ละ 38.1) 2) ไม่ค่อยได้ดูแลแม่ / ไม่ค่อยสนใจแม่ / ไม่มีเวลาให้แม่ (ร้อยละ 22.5) 3) การประพฤติตัวหยาบคาย (ร้อยละ 15.9) 4) การไม่
ตั้งใจเรียน / ทำงาน / ไม่ช่วยทำงานบ้าน (ร้อยละ 15.0) และ 5) การเที่ยวเตร่ / เที่ยวกลางคืน / กลับบ้านช้า (ร้อยละ 12.2)
ส่วนเรื่องที่อยากจะขอบคุณแม่ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้น กลุ่มตัวอย่างได้ระบุใน 5 อันดับแรกไว้ ดังนี้ 1) เรื่องดูแลลูกๆ เป็นอย่างดี
(ร้อยละ 46.2) 2) เรื่องที่แม่ให้คำปรึกษา / เป็นกำลังใจให้ลูกๆ เสมอ (ร้อยละ 17.8) 3) เรื่องคำสั่งสอนต่างๆ ที่ทำให้ลูกๆ เป็นคนดี (ร้อย
ละ 16.8) 4) เรื่องที่แม่ได้ให้กำเนิดลูกๆ มา (ร้อยละ 16.5) และ 5) เรื่องที่แม่หาเงินให้ใช้จ่าย (ร้อยละ 10.0)
เกี่ยวกับเรื่องที่อยากจะขอโทษแม่ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) การพูดจาไม่สุภาพกับคุณแม่ (ร้อยละ
60.4) 2) การแสดงกิริยามารยาทไม่สุภาพกับแม่ (ร้อยละ 40.0) 3) การโกหก / พูดเท็จ (ร้อยละ 30.6) 4) การไม่ตั้งใจเรียน / ทำงาน
(ร้อยละ 26.7) และ 5) การดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ (ร้อยละ 22.0) ซึ่งผลการสำรวจนี้สะท้อนปัญหาเรื่องการสื่อสารในครอบครัวไทยโดยนายวัน
ชัย ได้ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า
“การที่เด็กอยากขอโทษแม่เนื่องจากพูดจาไม่สุภาพกับแม่มากที่สุด สะท้อนปัญหาเรื่องการสื่อสารในครอบครัวไทย ซึ่งมักจะจะใช้การสื่อสาร
แบบตำหนิกับเด็กมากกว่าการชมเชยหรือการพูดในเชิงบวก ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่แรกตั้งแต่เด็กยังเด็กอยู่ กลายเป็นพฤติกรรมเชิง
ลบในครอบครัวที่เด็กจะเกิดการเลียนแบบ และคำพูดเชิงตำหนิจะเป็นคำพูดที่ทำร้ายเด็กโดยไม่รู้ตัว พ่อแม่จึงต้องมีการสื่อสารทางบวกมากขึ้น เช่น เมื่อ
เขาทำสำเร็จ ทำดีก็พร้อมที่จะชมเชยลูกเสมอ หากไม่สำเร็จ หรือผิดพลาดก็ต้องให้กำลังใจ เพราะฉะนั้น ตัวอย่างในการใช้คำพูดและเรื่องการสื่อ
สาร ตัวอย่างต้องเป็นแม่ เป็นครู เมื่อเด็กเห็นตัวอย่าง เด็กก็จะกล้าทำในสิ่งดีๆ และพูดแต่ในสิ่งดีๆ” นายวันชัยกล่าว
ดร.นพดล กรรณิกา กล่าวว่า เมื่อสอบถามความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่าง หากต้องพูดขอโทษ / ขอบคุณแม่ ต่อหน้าผู้อื่น พบว่า ส่วนใหญ่
คือ ร้อยละ 63.9 ระบุรู้สึกดีที่ได้พูด อีกร้อยละ 20.7 ระบุเฉยๆ และที่เหลืออีกร้อยละ 15.4 ระบุเขินอาย
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นวัยรุ่น (อายุ 12-24 ปี) โดยแบ่งเป็นกลุ่มวัยรุ่นตอนต้น (อายุ 12-15 ปี)
กลุ่มวัยรุ่นตอนกลาง (อายุ 16-19 ปี) และกลุ่มวัยรุ่นตอนปลาย (อายุ 20-24 ปี) ในประเด็นการพูดขอโทษ / ขอบคุณแม่ ต่อหน้าผู้อื่น พบว่า วัยรุ่น
ตอนต้นประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.3 รู้สึกเขินอายต่อการพูดขอโทษ / ขอบคุณแม่ ต่อหน้าผู้อื่นสูงกว่าวัยรุ่นตอนกลางและตอนปลายที่รู้สึกเขินอาย
ในการกล่าวขอบคุณ/ขอโทษคุณแม่ของตนต่อหน้าผู้อื่นร้อยละ 20.6 และร้อยละ 27.3
ในประเด็นนี้ คุณวันชัยได้แสดงข้อคิดเห็นถึงสาเหตุที่ทำให้เด็ก 1 ใน 3 รู้สึกเขินอายต่อการกล่าวคำขอโทษว่า “เนื่องจากโดยวัฒนธรรม
คนไทยแม้แต่ผู้ใหญ่เองมักไม่ค่อยกล้าพูดขอโทษหรือขอบคุณกับคนใกล้ตัว ในขณะเดียวกันกลับกล้าที่จะพูดกับคนแปลกหน้า เช่น เพื่อนที่ทำงาน หรือ คน
อื่นๆ ที่ไม่ใช่คนใกล้ชิด แต่ไม่มีการปฏิบัติกับคนใกล้ชิดและคนในบ้าน เด็กจึงคุ้นเคยกับวัฒนธรรมเหล่านั้นที่พ่อแม่ก็ปฏิบัติเช่นนั้น เด็กจึงรู้สึกเขินอายที่กล่าว
คำขอโทษหรือขอบคุณเช่นกัน เพราะฉะนั้นผู้ใหญ่จึงต้องเป็นต้นแบบให้กับเด็กในเรื่องเหล่านี้”
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจประเด็นความสัมพันธ์ พบว่า ความสัมพันธ์โดยทั่วไปกับแม่ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 46.4
ระบุพบเจอ / พูดคุยกับแม่ทุกวัน ร้อยละ 29.9 ระบุเป็นบางวัน และอีกร้อยละ 23.7 ระบุไม่ได้พบเจอ / พูดคุยกับแม่เลย
“จากการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทั่วไปกับแม่ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ในประเด็นการพบเจอ / พูด
คุยกับแม่ พบว่า ร้อยละ 46.4 ระบุพบเจอ / พูดคุยกับแม่ทุกวัน ร้อยละ 29.9 ระบุเป็นบางวัน และอีกร้อยละ 23.7 ระบุไม่ได้พบเจอ / พูดคุยกับแม่
เลย” ดร.นพดลกล่าว
เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจปีที่แล้วในประเด็นเดียวกัน พบว่า จำนวนคนที่บอกว่าพบเจอพูดคุยระหว่างแม่กับลูกทุกวันลดลงจากร้อยละ
63.6 เหลือร้อยละ 46.4 ในขณะที่ไม่เคยเจอพูดคุยกันเลย เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 23.7
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจเช่นนี้เป็นสัญญาณอันตรายต่อสถาบันครอบครัวและสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแม่กับลูกโดยเฉพาะในกรุงเทพ
มหานครที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาสภาวะเศรษฐกิจจนอาจทำให้แม่ต้องทำงานนอกบ้านมากขึ้นไปกว่าปกติอีก เช่นการทำงานหารายได้พิเศษเพิ่ม
เติมจนไม่มีเวลาดูแลแม้แต่การพูดคุยกันระหว่างแม่กับลูก ซึ่งสังคมไทยเคยให้ความสำคัญและเอ่ยถึงปัญหาที่ผู้หญิงในเมืองต้องทำงานนอกบ้าน แต่ปัจจุบันนี้
ทำไมไม่ค่อยมีการพูดถึงกันเลย
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพิจารณาประเภทกิจกรรมที่ทำร่วมกับแม่ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า กิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจร่วมกันระหว่างแม่กับ
ลูก เช่น ออกกำลังกายเล่นกีฬาร่วมกัน ชมภาพยนต์ ท่องเที่ยว กลายเป็นกิจกรรมที่ไม่เคยทำร่วมกันเลย เพราะผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
57.4 ไม่เคยเล่นกีฬาออกกำลังกายร่วมกันเลย ร้อยละ 46.1 ไม่เคยชมภาพยนต์ร่วมกัน และร้อยละ 31.2 ไม่เคยท่องเที่ยวด้วยกันเลย
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความสัมพันธ์สนิทสนมใกล้ชิดกับแม่ พบว่า กว่าครึ่ง คือ ร้อยละ 51.6 ระบุสนิทสนมใกล้ชิดกับแม่มาก ร้อยละ
27.8 ระบุค่อนข้างมาก ร้อยละ 15.3 ระบุค่อนข้างน้อย และที่เหลืออีกร้อยละ 5.3 ระบุน้อย / ไม่ใกล้ชิดเลย
ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อวิเคราะห์การอบรมเลี้ยงดูของแม่กับคน 3 ร่น 3 วัย คือรุ่นคุณยายคุณย่า รุ่นคุณแม่ และรุ่นคุณลูก พบว่า ความเคร่ง
ครัดในการอบรมเลี้ยงดูลูกจากรุ่นคุณยายคุณย่า ถึงรุ่นคุณลูกที่เป็นเยาวชนในขณะนี้ พบว่าแนวโน้มความเคร่งครัดด้านศีลธรรมและคุณธรรมลดลงในหลาย
ด้าน เช่น ความเคร่งครัดด้านการพูดโกหก ลดลงจากรุ่นคุณยายคุณย่าที่เคยมีอยู่ร้อยละ 67.6 เหลือร้อยละ 52.6 ในรุ่นคุณลูก ความเคร่งครัดด้านการ
ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตในรุ่นคุณยายคุณย่าเคยมีอยู่ร้อยละ 60.0 เหลือร้อยละ 52.6 ในรุ่นคุณลูกที่เป็นเยาวชนในปัจจุบัน ความเคร่งครัดด้านการดื่มเครื่องดื่มมี
แอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ ในรุ่นคุณยายคุณย่าเคยมีอยู่ร้อยละ 55.9 ลดลงเหลือร้อยละ 49.8 ในรุ่นคุณลูกที่เป็นเยาวชนปัจจุบัน ความเคร่ง
ครัดเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในรุ่นคุณยายคุณย่ามีอยู่ร้อยละ 58.0 ลดลงเหลือร้อยละ 53.9 ในรุ่นคุณลูกเยาวชน และเรื่องการพูดจากิริยา
มารยาทสุภาพเรียบร้อยในรุ่นคุณยายคุณย่าร้อยละ 45.1 เหลือร้อยละ 24.8 ในรุ่นคุณลูกเยาวชน
ในขณะที่ ความเคร่งครัดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ สิ่งเสพติดที่ไม่นับรวมเหล้าและบุหรี่ มีความเคร่งครัดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59.4 ในรุ่นคุณยายคุณ
ย่า มาอยู่ที่ร้อยละ 77.0 ในรุ่นคุณลูกเยาวชน และความเคร่งครัดในการอบรวมลูกห้ามสูบบุหรี่เคยมีอยู่ในกลุ่มคุณยายคุณย่าร้อยละ 59.4 มาอยู่ที่ร้อย
ละ 62.9
อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างเกินกว่าครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 51.3 ระบุว่าปัจจุบันการอบรมเลี้ยงดูเคร่งครัดน้อยกว่าอดีต ในขณะที่ร้อย
ละ 27.0 ระบุเคร่งครัดเท่าเดิมและร้อยละ 21.7 ระบุเคร่งครัดมากกว่าอดีต
ส่วนเรื่องที่อยากจะขอบคุณแม่ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้น กลุ่มตัวอย่างได้ระบุใน 5 อันดับแรกไว้ ดังนี้ 1) เรื่องดูแลลูกๆ เป็นอย่างดี
(ร้อยละ 46.2) 2) เรื่องที่แม่ให้คำปรึกษา / เป็นกำลังใจให้ลูกๆ เสมอ (ร้อยละ 17.8) 3) เรื่องคำสั่งสอนต่างๆ ที่ทำให้ลูกๆ เป็นคนดี (ร้อย
ละ 16.8) 4) เรื่องที่แม่ได้ให้กำเนิดลูกๆ มา (ร้อยละ 16.5) และ 5) เรื่องที่แม่หาเงินให้ใช้จ่าย (ร้อยละ 10.0)
เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างระบุถึงสิ่งที่ตั้งใจจะทำให้แม่ในวันแม่ที่จะถึงนี้ พบว่า ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) ทำบุญตักบาตร (ร้อยละ 36.9)
2) ให้สิ่งของ เช่น ดอกมะลิ ของขวัญ การ์ด (ร้อยละ 36.7) 3) อยู่บ้านพร้อมหน้าพร้อมตากัน (ร้อยละ 34.8) 4) ทำบุญอุทิศส่วนกุศล (ร้อยละ
26.8) และ 5) ให้เงิน (ร้อยละ 22.6)
และเมื่อให้กลุ่มตัวอย่างระบุคำสัตย์ปฏิญาณความดีเพื่อแม่ที่นึกถึงอันดับแรกในใจของลูก มีดังนี้ 1) ทำตัวเป็นคนดีของสังคม (ร้อยละ
31.2) 2) เป็นลูกที่ดีของแม่ (ร้อยละ 26.3) 3) ตั้งใจเรียน / ทำงาน (ร้อยละ 11.4) 4) จะรักแม่ตลอดไป (ร้อยละ 9.2) และ 5) ไม่ยุ่ง
เกี่ยวกับยาเสพติด / เลิกเหล้า (ร้อยละ 5.6)
ดร.นพดล กล่าวว่า “ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า แม้คนส่วนใหญ่จะระบุว่า ตนเองมีความสัมพันธ์สนิทสนมใกล้ชิดกับแม่มาก แต่จากการ
สำรวจในปัจจุบัน พบว่า แม่กับลูกมีเวลาได้พบเจอ / พูดคุยกันน้อยลงเมื่อเทียบกับผลสำรวจปีที่แล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้พบเจอ / พูดคุยกันเลยระหว่าง
แม่กับลูกมีอัตราสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ แม่และลูกอาจมีเวลาให้กันน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการอบรมเลี้ยงดูของ
แม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเยาวชนที่อาจขาดความใกล้ชิดสนิทสนมกับแม่ และความเคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูด้านศีลธรรมคุณธรรมมีแนวโน้มลดลง
อย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับการอบรมเลี้ยงดูในรุ่นคุณย่าคุณยาย รุ่นคุณแม่และรุ่นคุณลูกที่เป็นเยาวชนในปัจจุบัน
“เมื่อมองภาพรวมแล้ว สถาบันครอบครัวของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครจึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ทางออกที่น่าจะเป็นไปได้คือ การให้
เวลาแก่กันและกันระหว่างแม่กับลูก ควรทำกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจร่วมกัน เช่น เล่นกีฬาออกกำลังกาย ชมภาพยนต์ และท่องเที่ยวต่างจังหวัดร่วมกัน
แต่เป็นเรื่องที่ปฏิบัติจริงได้ยากเพราะสถาบันครอบครัวในกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่ไม่มีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะสร้างบรรยากาศครอบครัวขึ้น
มาได้เอง รัฐบาลและกรุงเทพมหานครจึงควรสร้างระบบสังคมขึ้นมาเสริมสร้างชีวิตครอบครัวของคนกรุงเทพมหานครและเขตชานเมือง หาแนวทางทำ
ให้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยสำคัญดึงคุณแม่ออกจากบ้าน ทำให้คุณแม่ถูกลดบทบาทความเป็นแม่ลงไปจากอดีต ส่งผลให้การอบรมเลี้ยงดูด้านศีลธรรมด้าน
คุณธรรมลดลง และต่อไปเด็กเยาวชนที่ไม่ตระหนักถึงศีลธรรมคุณธรรมเหล่านี้จะกลับมาทำร้ายสังคม ดังนั้น ทุกภาคส่วนของสังคมในเวลานี้ควรจัดเวที
ระดมความคิดเห็นขึ้นมาเพื่อช่วยกันหาทางป้องกันวิกฤตการณ์ด้านสังคมอนาคตโดยรัฐบาลและกรุงเทพมหานคร ควรเป็นเจ้าภาพ เพื่อค้นหานโยบาย
มาตรการต่างๆ เสริมความเข้มแข็งของครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดูเสริมสร้างสายใยสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกให้มีมากยิ่งขึ้น” ดร.นพดล กล่าว
พิจารณารายละเอียดโครงการวิจัยดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจสัมพันธภาพทั่วไประหว่างแม่กับลูก รวมทั้งกิจกรรมที่แม่และลูกได้กระทำร่วมกันในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและทัศนคติเกี่ยวกับการขอโทษและขอบคุณแม่
3. เพื่อสำรวจสิ่งที่ตั้งใจจะทำเพื่อแม่ในโอกาสวันแม่ที่จะถึงนี้
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “เสียงสะท้อนสายสัมพันธ์จากลูกสู่แม่ :
กรณีศึกษาประชาชนอายุ 12 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 7-9 สิงหาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 12 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,245 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 61.2 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 38.8 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อย
ละ 21.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 28.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 19.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 16.2 อายุระหว่าง 40—49
ปี และ ร้อยละ 14.5 อายุระหว่าง 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 82.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 16.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
1.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 26.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 13.3 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 8.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณ
อายุ ร้อยละ 17.4 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 25.7 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 3.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ
0.5 ระบุอาชีพเกษตรกร และร้อยละ 4.2 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการพบเจอ/พูดคุยระหว่างแม่และลูก ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ประเด็น ทุกวัน บางวัน ไม่เคยเลย รวม
ปี 2548 ปี 2549 ปี 2548 ปี 2549 ปี 2548 ปี 2549 ปี 2548 ปี 2549
พบเจอ / พูดคุย 63.6 46.4 28.3 29.9 8.1 23.7 100.0 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับแม่ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประเภทกิจกรรมที่ทำร่วมกับแม่ ความถื่ในการทำกิจกรรม รวม
บ่อยๆ ไม่บ่อย ไม่เคยทำ
1 ทานข้าวร่วมกัน 55.2 28.4 16.4 100.0
2 ดูข่าว ดูละคร 54.7 25.1 20.2 100.0
3 พูดคุยเรื่องส่วนตัว 46.4 38.4 15.2 100.0
4 ชมภาพยนตร์ 20.1 33.8 46.1 100.0
5 ชอปปิ้ง 19.8 47.7 32.5 100.0
6 ท่องเที่ยว 17.8 51.0 31.2 100.0
7 ออกกำลังกาย / เล่นกีฬา 10.4 32.2 57.4 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความสัมพันธ์สนิทสนมใกล้ชิดกับแม่
ลำดับที่ ระดับความสัมพันธ์สนิทสนมใกล้ชิดกับแม่ ร้อยละ
1 มาก 51.6
2 ค่อนข้างมาก 27.8
3 ค่อนข้างน้อย 15.3
4 น้อย / ไม่ใกล้ชิดเลย 5.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูของแม่ในประเด็นต่างๆ
ลำดับที่ ประเด็นการอบรมเลี้ยงดู เคร่งครัดมาก (ค่าร้อยละ)
ย่า/ยาย พ่อ/แม่ ลูก
1 การลักขโมยสิ่งของของผู้อื่น 69.6 76.0 77.2
2 ความซื่อสัตย์สุจริต 68.3 68.0 65.5
3 พูดโกหก 67.6 58.6 52.6
4 การนอนค้างบ้านเพื่อนต่างเพศ 62.0 56.8 52.9
5 เล่นการพนัน 61.0 60.6 58.2
6 การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต 60.0 56.6 52.6
7 สิ่งเสพติด (ไม่รวมเหล้า บุหรี่) 59.4 69.5 77.0
8 สูบบุหรี่ 59.4 54.7 62.9
9 การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 58.0 53.9 53.9
10 เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า ไวน์ เบียร์ 55.9 49.9 49.8
11 คำพูดคำจาที่ใช้ / กิริยามารยาทสุภาพเรียบร้อย 45.1 31.9 24.8
ภาพรวมทางศีลธรรม 58.8 54.0 54.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูในอดีตเปรียบเทียบกับความ
เคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูในปัจจุบัน
ลำดับที่ การเปรียบเทียบ ร้อยละ
1 ปัจจุบันเคร่งครัดมากกว่าอดีต 21.7
2 เคร่งครัดเท่าเดิม 27.0
3 ปัจจุบันเคร่งครัดน้อยกว่าอดีต 51.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึก หากต้องพูดขอโทษ / ขอบคุณแม่ ต่อหน้าผู้อื่น
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 เขินอาย 15.4
2 เฉยๆ 20.7
3 รู้สึกดีที่ได้พูด 63.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างในกลุ่มวัยรุ่นที่ระบุความรู้สึก หากต้องพูดขอบคุณแม่ต่อหน้าผู้อื่น (จำแนกตามช่วงอายุ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง กลุ่มอายุ
12-15 ปี(ร้อยละ) 16-19 ปี(ร้อยละ) 20-24 ปี(ร้อยละ)
1 เขินอาย 33.3 20.6 27.3
2 เฉยๆ 19.8 23.7 20.3
3 รู้สึกดีที่ได้พูด 46.8 55.7 52.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเรื่องที่อยากจะขอโทษแม่ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เรื่องที่อยากจะขอโทษแม่ ร้อยละ
1 การพูดจาไม่สุภาพกับคุณแม่ 60.4
2 การแสดงกิริยามารยาทไม่สุภาพกับแม่ 40.0
3 การโกหก / พูดเท็จ 30.6
4 การไม่ตั้งใจเรียน / ทำงาน 26.7
5 การดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ 22.0
6 การสูบบุหรี่ 14.9
7 การประพฤติตัวหยาบคาย 12.6
8 การหนีเรียน 12.4
9 การทะเลาะวิวาท 12.1
10 การเล่นการพนัน 7.6
11 การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 7.3
12 การเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 6.1
13 การไม่ซื่อสัตย์สุจริต 6.1
14 การทำลายทรัพย์สินข้าวของ 3.9
15 การขโมย / ลักทรัพย์ 3.7
16 การทำร้ายร่างกายแม่ 2.5
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเรื่องที่อยากจะขอบคุณแม่ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เรื่องที่อยากจะขอบคุณแม่ ร้อยละ
1 เรื่องดูแลลูกๆ เป็นอย่างดี 46.2
2 เรื่องที่แม่ให้คำปรึกษา / เป็นกำลังใจให้ลูกๆ เสมอ 17.8
3 เรื่องคำสั่งสอนต่างๆ ที่ทำให้ลูกๆ เป็นคนดี 16.8
4 เรื่องที่แม่ได้ให้กำเนิดลูกๆ มา 16.5
5 เรื่องที่แม่หาเงินให้ใช้จ่าย 10.0
6 เรื่องที่แม่ยอมลำบากเพื่อให้ลูกๆ สบาย 8.9
7 เรื่องที่แม่ซักเสื้อผ้า ทำงานบ้าน ทำกับข้าวให้ลูกๆ 7.1
8 เรื่องที่แม่ให้โอกาสกับลูกๆ ในทุกเรื่อง 6.2
9 เรื่องที่แม่ส่งเสียให้ลูกๆ ได้เรียนสูงๆ 5.5
10 เรื่องที่แม่เป็นที่พึ่งพักพิงทั้งทางกายและใจ 4.6
11 เรื่องที่แม่พาลูกๆ ไปเที่ยว 1.6
12 เรื่องที่แม่ช่วยสอนการบ้านให้ลูกๆ 0.4
ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ตั้งใจจะทำให้แม่ในวันแม่ที่จะถึงนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ตั้งใจจะทำให้แม่ในวันแม่ที่จะถึงนี้ ร้อยละ
1 ทำบุญตักบาตร 36.9
2 ให้สิ่งของ เช่น ดอกมะลิ ของขวัญ การ์ด 36.7
3 อยู่บ้านพร้อมหน้าพร้อมตากัน 34.8
4 ทำบุญอุทิศส่วนกุศล 26.8
5 ให้เงิน 22.6
6 ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เช่น ปลูกต้นไม้ ทำกับข้าว 19.2
7 ไปทานข้าวนอกบ้าน 16.0
8 ไปพักผ่อนตามสถานที่ต่างๆ 13.0
9 ชอปปิ้ง / ชมภาพยนตร์ 6.4
10 เล่นกีฬา 2.4
11 อื่นๆ อาทิเช่น ไปไหว้ พาไปตรวจสุขภาพ โทรศัพท์ไปหา ตั้งใจเรียน เป็นต้น 8.3
12 ไม่ทำเลย เพราะ อาย ไม่มีเวลา ไม่ได้อยู่ด้วยกัน เสียชีวิตแล้ว เป็นต้น 4.4
ตารางที่ 11 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำสัตย์ปฏิญาณความดีเพื่อแม่ที่นึกถึงอันดับแรก
ลำดับที่ คำสัตย์ปฏิญาณความดีเพื่อแม่ที่นึกถึงอันดับแรก ร้อยละ
1 ทำตัวเป็นคนดีของสังคม 31.2
2 เป็นลูกที่ดีของแม่ 26.3
3 ตั้งใจเรียน / ทำงาน 11.4
4 จะรักแม่ตลอดไป 9.2
5 ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด / เลิกเหล้า 5.6
6 ดูแลแม่ให้สบายทั้งกายและใจ 5.5
7 ทำบุญ 2.6
8 ซื่อสัตย์ สุจริต และไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน 2.3
9 จะเป็นแม่ที่ดีในอนาคต 1.7
10 ตอบแทนพระคุณของแม่ 1.2
11 สร้างบ้านให้แม่อยู่ / ซื้อของที่แม่อยากได้ 1.2
12 จะดูแลน้องให้ดีที่สุด 1.0
13 ไม่เล่นการพนัน 0.6
14 พาแม่ไปเที่ยวพักผ่อน 0.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-