ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง การเมืองไทยในสายตาของ
สาธารณชน ซึ่งทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกับประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,143 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่
23-25 มิถุนายน 2549 พบว่า ประชาชนจำนวนมาก หรือร้อยละ 41.3 ติดตามข่าวการเมืองทุกวัน/เกือบทุกวัน ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ
29.3 ติดตามข่าวการเมือง 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 12.6 ติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 10.1 ติดตามน้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่
ร้อยละ 6.7 ไม่ได้ติดตามข่าวการเมืองเลย
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงความรู้สึกวิตกกังวลต่อปัญหาการเมืองไทยในขณะนี้ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 70.8 รู้สึกวิตก
กังวลต่อปัญหาการเมืองไทย ในขณะที่ร้อยละ 21.1 ไม่รู้สึกวิตกกังวล และร้อยละ 8.1 ไม่มีความเห็น ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสอบถามถึงเสถียรภาพการ
เมืองไทย หรือความมั่นคงทางการเมืองไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้านั้น พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.6 คิดว่าการเมืองไทยจะยังไม่มีเสถียรภาพ ใน
ขณะที่ร้อยละ 24.1 คิดว่าจะมีเสถียรภาพ และร้อยละ 9.3 ไม่มีความเห็น
ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ยังค้นพบต่อไปว่า ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 46.8 ระบุว่าความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองใน
อีก 6 เดือนข้างหน้า รุนแรงมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 33.9 ระบุว่ายังรุนแรงเหมือนเดิม ร้อยละ 5.2 ระบุลดลง และร้อยละ 14.1 ระบุไม่มีความ
เห็น สำหรับสถานการณ์โดยรวมของประเทศด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในอีก 6 เดือนข้างหน้านั้น เป็นที่น่าสังเกตว่า ประชาชนเกือบร้อยละ
60 ระบุว่าจะเหมือนเดิม (ดีเหมือนเดิม ร้อยละ 15.6 และแย่เหมือนเดิม ร้อยละ 43.0) ในขณะที่ร้อยละ 7.9 ระบุว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 21.3 ระบุ
ว่าแย่ลง และร้อยละ 12.2 ระบุไม่มีความเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณา คือ ถ้านึกถึงอดีตนายกรัฐมนตรี และนักการเมืองไทย อยากได้คนดีมีคุณธรรมเป็นต้นแบบด้านคุณธรรม คล้ายกับ
ใครมาแก้ปัญหาประเทศมากที่สุด ผลสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 65.3 ระบุพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ร้อยละ 11.8 ระบุพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ร้อยละ 8.2 ระบุร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ร้อยละ 6.3 ระบุนายชวน หลีกภัย ร้อยละ 4.1 ระบุนายอานันท์ ปันยารชุน และร้อยละ 4.3 ระบุ
อื่นๆ อาทิ นายบรรหาร ศิลปอาชา พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นต้น
ประเด็นสุดท้ายที่เอแบคโพลล์ค้นพบ คือ ถ้านึกถึงอดีตนายกรัฐมนตรี และนักการเมืองไทย อยากได้คนดีมีความรู้ ความสามารถเป็นต้นแบบ
ด้านความเก่ง คล้ายกับใครมาแก้ปัญหาประเทศมากที่สุด ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 46.9 ระบุพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 21.8 ระบุนายสมคิด จาตุ
ศรีพิทักษ์ ร้อยละ 15.3 ระบุพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ร้อยละ 8.9 ระบุนายศุภชัย พานิชภักดิ์ ร้อยละ 4.1 ระบุนายอานันท์ ปันยารชุน ร้อยละ 2.3
ระบุร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ และร้อยละ 0.7 ระบุอื่นๆ อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายโภคิน พลกุล เป็นต้น
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่ออดีตนายกรัฐมนตรี และนักการเมืองไทยที่เป็นต้นแบบด้านคุณธรรม และด้านความเก่ง
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองในอีก 6 เดือนข้างหน้า
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “การเมืองไทยในสายตาของสาธารณชน :
กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,143 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 25.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.8 ระบุอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 16.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 26.8 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 13.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.9 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 2.1 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 41.3
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 29.3
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 12.6
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 10.1
5 ไม่ได้ติดตาม 6.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความวิตกกังวลต่อปัญหาการเมืองไทยขณะนี้
ลำดับที่ ความวิตกกังวลของประชาชน ค่าร้อยละ
1 กังวล 70.8
2 ไม่กังวล 21.1
3 ไม่มีความเห็น 8.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เสถียรภาพการเมืองไทย (ความมั่นคงทางการเมือง)
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ เสถียรภาพการเมืองไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะมีเสถียรภาพ 24.1
2 คิดว่าจะยังไม่มีเสถียรภาพ 66.6
3 ไม่มีความเห็น 9.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า ค่าร้อยละ
1 รุนแรงมากขึ้น 46.8
2 รุนแรงเหมือนเดิม 33.9
3 ลดลง 5.2
4 ไม่มีความเห็น 14.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สถานการณ์โดยรวมของประเทศด้านสังคม เศรษฐกิจ
และการเมือง ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ สถานการณ์โดยรวมของประเทศในอีก 6 เดือนข้างหน้า ค่าร้อยละ
1 จะดีขึ้น 7.9
2 ดีเหมือนเดิม 15.6
3 แย่เหมือนเดิม 43.0
4 แย่ลง 21.3
5 ไม่มีความเห็น 12.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ถ้านึกถึงอดีตนายกรัฐมนตรีและนักการเมืองไทย
อยากได้คนดีมีคุณธรรมเป็นต้นแบบด้านคุณธรรม คล้ายกับใครมาแก้ปัญหาประเทศ มากที่สุด
(ตอบได้เพียง 1 ข้อ)
ลำดับที่ คนดีมีคุณธรรม (ต้นแบบด้านคุณธรรม) ค่าร้อยละ
1 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 65.3
2 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 11.8
3 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 8.2
4 นายชวน หลีกภัย 6.3
5 นายอานันท์ ปันยารชุน 4.1
6 อื่นๆ เช่น นายบรรหาร ศิลปอาชา พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นต้น 4.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ถ้านึกถึงอดีตนายกรัฐมนตรีและนักการเมืองไทย
อยากได้คนดีมีความรู้ความสามารถเป็นต้นแบบด้านความเก่ง คล้ายกับใครมาแก้ปัญหาประเทศ
มากที่สุด (ตอบได้เพียง 1 ข้อ)
ลำดับที่ คนดีมีความรู้ความสามารถ (ต้นแบบด้านความเก่ง) ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 46.9
2 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 21.8
3 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 15.3
4 นายศุภชัย พานิชยภักดิ์ 8.9
5 นายอานันท์ ปันยารชุน 4.1
6 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 2.3
7 อื่นๆ เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายโภคิน พลกุล เป็นต้น 0.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สาธารณชน ซึ่งทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกับประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,143 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่
23-25 มิถุนายน 2549 พบว่า ประชาชนจำนวนมาก หรือร้อยละ 41.3 ติดตามข่าวการเมืองทุกวัน/เกือบทุกวัน ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ
29.3 ติดตามข่าวการเมือง 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 12.6 ติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 10.1 ติดตามน้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่
ร้อยละ 6.7 ไม่ได้ติดตามข่าวการเมืองเลย
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงความรู้สึกวิตกกังวลต่อปัญหาการเมืองไทยในขณะนี้ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 70.8 รู้สึกวิตก
กังวลต่อปัญหาการเมืองไทย ในขณะที่ร้อยละ 21.1 ไม่รู้สึกวิตกกังวล และร้อยละ 8.1 ไม่มีความเห็น ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสอบถามถึงเสถียรภาพการ
เมืองไทย หรือความมั่นคงทางการเมืองไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้านั้น พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.6 คิดว่าการเมืองไทยจะยังไม่มีเสถียรภาพ ใน
ขณะที่ร้อยละ 24.1 คิดว่าจะมีเสถียรภาพ และร้อยละ 9.3 ไม่มีความเห็น
ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ยังค้นพบต่อไปว่า ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 46.8 ระบุว่าความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองใน
อีก 6 เดือนข้างหน้า รุนแรงมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 33.9 ระบุว่ายังรุนแรงเหมือนเดิม ร้อยละ 5.2 ระบุลดลง และร้อยละ 14.1 ระบุไม่มีความ
เห็น สำหรับสถานการณ์โดยรวมของประเทศด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในอีก 6 เดือนข้างหน้านั้น เป็นที่น่าสังเกตว่า ประชาชนเกือบร้อยละ
60 ระบุว่าจะเหมือนเดิม (ดีเหมือนเดิม ร้อยละ 15.6 และแย่เหมือนเดิม ร้อยละ 43.0) ในขณะที่ร้อยละ 7.9 ระบุว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 21.3 ระบุ
ว่าแย่ลง และร้อยละ 12.2 ระบุไม่มีความเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณา คือ ถ้านึกถึงอดีตนายกรัฐมนตรี และนักการเมืองไทย อยากได้คนดีมีคุณธรรมเป็นต้นแบบด้านคุณธรรม คล้ายกับ
ใครมาแก้ปัญหาประเทศมากที่สุด ผลสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 65.3 ระบุพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ร้อยละ 11.8 ระบุพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ร้อยละ 8.2 ระบุร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ร้อยละ 6.3 ระบุนายชวน หลีกภัย ร้อยละ 4.1 ระบุนายอานันท์ ปันยารชุน และร้อยละ 4.3 ระบุ
อื่นๆ อาทิ นายบรรหาร ศิลปอาชา พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นต้น
ประเด็นสุดท้ายที่เอแบคโพลล์ค้นพบ คือ ถ้านึกถึงอดีตนายกรัฐมนตรี และนักการเมืองไทย อยากได้คนดีมีความรู้ ความสามารถเป็นต้นแบบ
ด้านความเก่ง คล้ายกับใครมาแก้ปัญหาประเทศมากที่สุด ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 46.9 ระบุพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 21.8 ระบุนายสมคิด จาตุ
ศรีพิทักษ์ ร้อยละ 15.3 ระบุพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ร้อยละ 8.9 ระบุนายศุภชัย พานิชภักดิ์ ร้อยละ 4.1 ระบุนายอานันท์ ปันยารชุน ร้อยละ 2.3
ระบุร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ และร้อยละ 0.7 ระบุอื่นๆ อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายโภคิน พลกุล เป็นต้น
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่ออดีตนายกรัฐมนตรี และนักการเมืองไทยที่เป็นต้นแบบด้านคุณธรรม และด้านความเก่ง
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองในอีก 6 เดือนข้างหน้า
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “การเมืองไทยในสายตาของสาธารณชน :
กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,143 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 25.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.8 ระบุอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 16.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 26.8 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 13.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.9 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 2.1 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 41.3
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 29.3
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 12.6
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 10.1
5 ไม่ได้ติดตาม 6.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความวิตกกังวลต่อปัญหาการเมืองไทยขณะนี้
ลำดับที่ ความวิตกกังวลของประชาชน ค่าร้อยละ
1 กังวล 70.8
2 ไม่กังวล 21.1
3 ไม่มีความเห็น 8.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เสถียรภาพการเมืองไทย (ความมั่นคงทางการเมือง)
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ เสถียรภาพการเมืองไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะมีเสถียรภาพ 24.1
2 คิดว่าจะยังไม่มีเสถียรภาพ 66.6
3 ไม่มีความเห็น 9.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า ค่าร้อยละ
1 รุนแรงมากขึ้น 46.8
2 รุนแรงเหมือนเดิม 33.9
3 ลดลง 5.2
4 ไม่มีความเห็น 14.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สถานการณ์โดยรวมของประเทศด้านสังคม เศรษฐกิจ
และการเมือง ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ สถานการณ์โดยรวมของประเทศในอีก 6 เดือนข้างหน้า ค่าร้อยละ
1 จะดีขึ้น 7.9
2 ดีเหมือนเดิม 15.6
3 แย่เหมือนเดิม 43.0
4 แย่ลง 21.3
5 ไม่มีความเห็น 12.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ถ้านึกถึงอดีตนายกรัฐมนตรีและนักการเมืองไทย
อยากได้คนดีมีคุณธรรมเป็นต้นแบบด้านคุณธรรม คล้ายกับใครมาแก้ปัญหาประเทศ มากที่สุด
(ตอบได้เพียง 1 ข้อ)
ลำดับที่ คนดีมีคุณธรรม (ต้นแบบด้านคุณธรรม) ค่าร้อยละ
1 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 65.3
2 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 11.8
3 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 8.2
4 นายชวน หลีกภัย 6.3
5 นายอานันท์ ปันยารชุน 4.1
6 อื่นๆ เช่น นายบรรหาร ศิลปอาชา พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นต้น 4.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ถ้านึกถึงอดีตนายกรัฐมนตรีและนักการเมืองไทย
อยากได้คนดีมีความรู้ความสามารถเป็นต้นแบบด้านความเก่ง คล้ายกับใครมาแก้ปัญหาประเทศ
มากที่สุด (ตอบได้เพียง 1 ข้อ)
ลำดับที่ คนดีมีความรู้ความสามารถ (ต้นแบบด้านความเก่ง) ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 46.9
2 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 21.8
3 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 15.3
4 นายศุภชัย พานิชยภักดิ์ 8.9
5 นายอานันท์ ปันยารชุน 4.1
6 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 2.3
7 อื่นๆ เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายโภคิน พลกุล เป็นต้น 0.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-