ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลการสำรวจ เรื่อง สภาวะเศรษฐกิจของ สาธารณชน กับแนวโน้มความนิยมต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ชลบุรี เลย กาฬสินธุ์ สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุดรธานี ขอนแก่น สตูล และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 4,079 ครัวเรือน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 - 25 กรกฎาคม 2552 งบประมาณของโครงการนี้สนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็น ประจำทุกสัปดาห์
เมื่อถามถึงการเปรียบเทียบรายได้รายจ่ายของประชาชนที่ถูกศึกษา กับช่วงกลางปีที่แล้ว (พ.ศ. 2551) พบว่า ร้อยละ 45.9 ระบุไม่ ต่างกัน ในขณะที่ร้อยละ 45.0 ระบุว่า ปีที่แล้วดีกว่าปีนี้ และมีเพียงร้อยละ 9.1 ระบุว่าปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว
ที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ เมื่อถามถึงความนิยมชอบของประชาชนที่ถูกศึกษาต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร พบว่า ความนิยมชอบของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ สูงกว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เล็กน้อย คือ ร้อยละ 34.0 ต่อร้อยละ 32.9 แต่ในทาง สถิติถือว่าไม่แตกต่างกัน เพราะมีช่วงความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง บวกลบไม่เกิน ร้อยละ 5 ในการสำรวจครั้งนี้ ในขณะที่ร้อยละ 33.1 ไม่ระบุความนิยมต่อนักการเมืองทั้งสองนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบแนวโน้มความนิยมตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบันในระบบฐานข้อมูลโพลล์การเมืองของสำนักวิจัยเอแบ คโพลล์ พบว่า แนวโน้มความนิยมของสาธารณชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 23.6 ในเดือนมีนาคม 2552 มาอยู่ที่ร้อยละ 34.0 ใน การสำรวจครั้งล่าสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ความนิยมของสาธารณชนต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลดลงจากร้อยละ 50.6 ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 32.9
เมื่อจำแนกกลุ่มประชาชนที่ถูกศึกษาออกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ พบประเด็นที่น่าสนใจคือ กลุ่มผู้ชายมีสัดส่วนของคนที่นิยมชอบ พ. ต.ท.ดร.ทักษิณ ร้อยละ 36.7 ซึ่งมากกว่ากลุ่มผู้ชายที่นิยมชอบ นายอภิสิทธิ์ เล็กน้อยที่มีอยู่ร้อยละ 31.7 ในขณะที่กลุ่มผู้หญิงนิยมชอบ นายอภิสิทธิ์ ร้อย ละ 33.9 ซึ่งมากกว่ากลุ่มผู้หญิงที่นิยมชอบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ อยู่เล็กน้อยที่ร้อยละ 31.6
เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มีความนิยมชอบจากประชาชนในทุกกลุ่มอายุมากกว่านายอภิสิทธิ์ เล็กน้อย ยกเว้นใน กลุ่มช่วงอายุระหว่าง 30 — 39 ปีที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ร้อยละ 33.2 แต่นายอภิสิทธิ์ ได้ร้อยละ 33.5 ซึ่งถือว่าไม่แตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบความแตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา ซึ่งพบว่า ผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 57.5 นิยมชอบนายอภิสิทธิ์ ในขณะที่ร้อยละ 21.9 นิยมชอบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เช่นเดียวกับกลุ่มประชาชนที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 39.0 นิยมชอบนายอภิสิทธิ์ ในขณะที่ร้อยละ 32.7 นิยมชอบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในทางกลับกัน ในกลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีนิยม ชอบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ร้อยละ 34.6 ซึ่งมากกว่า นายอภิสิทธิ์ ที่มีอยู่ร้อยละ 30.9 อย่างไรก็ตาม เมื่อกลุ่มประชากรทั้งหมดของประเทศส่วนน้อยมี การศึกษาระดับปริญญาตรี ขึ้นไปจึงทำให้คะแนน ความนิยมชอบของประชาชนต่อนายอภิสิทธิ์ ไม่มากไปกว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ที่ได้รับความนิยมชอบ มากในกลุ่มคนที่มีการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ เมื่อจำแนกตามอาชีพ พบว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้รับความนิยมชอบจากประชาชนมากกว่า นายอภิสิทธิ์เล็กน้อย ในกลุ่มอาชีพ ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 38.7 ต่อร้อยละ 32.8 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 35.9 ต่อร้อยละ 32.2 เกษตรกร รับจ้างแรงงาน ทั่วไปร้อยละ 36.6 ต่อร้อยละ 27.5 และกลุ่มพ่อบ้านแม่บ้าน เกษียณอายุร้อยละ 38.0 ต่อร้อยละ 27.3 ในขณะที่ นายอภิสิทธ์ ได้รับความนิยมชอบ จากประชาชนมากกว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในกลุ่มอาชีพค้าขายร้อยละ 41.3 ต่อร้อยละ 30.1 กลุ่มนักเรียนนักศึกษาร้อยละ 31.0 ต่อร้อยละ 25.9 และกลุ่มว่างงาน ไม่มีอาชีพร้อยละ 33.3 ต่อร้อยละ 30.0 ตามลำดับ
แต่ถ้าพิจารณาในกลุ่มประชาชนตามระดับรายได้ พบว่า ผู้ที่มีรายได้น้อยไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 36.3 นิยมชอบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ซึ่งมากกว่านายอภิสิทธิ์ ที่มีอยู่ร้อยละ 27.9 อย่างไรก็ตาม ยิ่งประชาชนมีระดับรายได้เพิ่มขึ้น ยิ่งมีสัดส่วนของผู้ที่นิยมชอบนายอภิสิทธิ์ เพิ่มสูงขึ้นในการ สำรวจครั้งนี้ คือร้อยละ 35.2 ในกลุ่ม 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 36.0 ในกลุ่ม 10,001 — 15,000 บาท ร้อยละ 36.3 ในกลุ่ม 15,001 — 20,000 บาท และร้อยละ 49.0 ในกลุ่มที่มีรายได้มากกว่า 20,000 บาทขึ้นไปที่นิยมชอบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นอกจากนี้ เมื่อจำแนกประชาชนที่ถูกศึกษาตามภูมิภาค พบว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กำลังได้รับความนิยมชอบมากกว่า นายอภิสิทธิ์ ในภาค เหนือร้อยละ 32.9 ต่อร้อยละ 28.8 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 44.5 นิยมชอบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ร้อยละ 18.4 นิยมชอบนายอภิสิทธิ์ แต่ ในภาคกลาง ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร ผลสำรวจพบ ประชาชนนิยมชอบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมากกว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร คือร้อยละ 36.5 ต่อร้อยละ 32.9 ในภาคกลาง ร้อยละ 66.3 ต่อร้อยละ 8.0 ในภาคใต้ และ ร้อยละ 41.4 ต่อร้อยละ 36.2 ในกรุงเทพมหานคร ตาม ลำดับ
ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า แนวโน้มความนิยมชอบของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กำลังเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ความ นิยมชอบของประชาชนต่อ นายอภิสิทธิ์ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในทางสถิติโดยภาพรวมของฐานสนับสนุนจากสาธารณชนต่อนักการ เมืองทั้งสองนี้ไม่แตกต่างกันในการสำรวจครั้งนี้ สำหรับปัจจัยที่น่าพิจารณามีอย่างน้อยสี่ประการ ได้แก่
ประการแรก ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะระดับรากฐานของสังคมไทยยังคงอยู่ในความยากลำบากเดือดร้อน
ประการที่สอง รัฐบาลอาจมีข้อจำกัดด้านบริหารจัดการที่ไม่ทันใจ ไม่เป็นเอกภาพ ไม่เป็นมืออาชีพ และข่าวความไม่โปร่งใสเกิดขึ้น อย่างกว้างขวางในโครงการต่างๆ ของรัฐบาล
ประการที่สาม ฝ่ายการเมืองน่าจะมีวิธีทำให้สาธารณชนรับทราบผลการดำเนินงานแก้ปัญหาให้ประชาชนอย่างกว้างขวางมากกว่านี้
ประการที่สี่ แกนนำรัฐบาลบางส่วนกำลังมุ่งเน้นโจมตี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มากเกินไป จึงเข้าทางที่ว่า ยิ่งตียิ่งได้รับความเห็นใจ จากสาธารณชนมากขึ้น
ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างสร้างสรรค์เพื่อเห็นแก่ประชาชนที่กำลังยากลำบากและเดือดร้อน ในชีวิตประจำวันอยู่ขณะนี้ เพราะความขัดแย้งทางการเมืองจะเป็นการซ้ำเติมทุกข์ของประชาชนให้มากขึ้นไปอีก
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.4 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.6 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 26.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 24.3 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 18.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 19.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 29.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 16.1 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.3 ระบุรายได้ส่วนตัวน้อยกว่า 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 34.3 ระบุ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 9.7 ระบุ 10,001-15,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 7.3 ระบุ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 11.4 ระบุรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชน ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 49.8 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 26.3 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 12.1 4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 9.4 5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ เปรียบเทียบรายได้ รายจ่ายของตนเอง กับช่วงกลางปีที่แล้ว (พ.ศ. 2551) ลำดับที่ การเปรียบเทียบรายได้รายจ่าย กับช่วงกลางปีที่แล้ว (พ.ศ. 2551) ค่าร้อยละ 1 ปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว 9.1 2 ปีที่แล้วดีกว่าปีนี้ 45.0 3 ไม่ต่างกัน 45.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมชอบนักการเมือง ระหว่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ นักการเมืองที่นิยมชอบ ค่าร้อยละ 1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 34.0 2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 32.9 3 ไม่ระบุความนิยมต่อนักการเมืองทั้งสองนี้ 33.1 รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง +/- ไม่เกินร้อยละ 5
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำแนกตาม เพศ
ลำดับที่ นักการเมืองที่นิยมชอบ เพศชายค่าร้อยละ เพศหญิงค่าร้อยละ 1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 36.7 31.6 2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 31.7 33.9 3 ไม่ระบุความนิยมต่อนักการเมืองทั้งสองนี้ 31.6 34.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมชอบนักการเมืองระหว่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
จำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่ นักการเมืองที่นิยมชอบ ต่ำกว่า 20 ปี 20 — 29 ปี 30 — 39 ปี 40 — 49 ปี 50 ปีขึ้นไป 1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 31.3 31.3 33.2 36.2 36.0 2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 29.4 29.5 33.5 34.2 34.8 3 ไม่ระบุความนิยมต่อนักการเมืองทั้งสองนี้ 39.3 39.2 33.3 29.6 29.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมชอบนักการเมือง ระหว่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำแนกตาม ระดับการศึกษา
ลำดับที่ นักการเมืองที่นิยมชอบ ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี 1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 34.6 32.7 21.9 2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 30.9 39.0 57.5 3 ไม่ระบุความนิยมต่อนักการเมืองทั้งสองนี้ 34.5 28.3 20.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมชอบนักการเมือง ระหว่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำแนกตาม อาชีพ
นักการเมืองที่นิยมชอบ ข้าราชการรัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชน ค้าขายส่วนตัว นักเรียนนักศึกษา เกษตรกรรับจ้าง พ่อบ้านแม่บ้านเกษียณอายุ ว่างงานไม่มีอาชีพ 1. พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 38.7 35.9 30.1 25.9 36.6 38.0 30.0 2. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 32.8 32.2 41.3 31.0 27.5 27.3 33.3 3. ไม่ระบุความนิยมต่อนักการเมืองทั้งสองนี้ 28.5 31.9 28.6 43.1 35.9 34.7 36.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมชอบนักการเมือง ระหว่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำแนกตามรายได้
นักการเมืองที่นิยมชอบ ไม่เกิน5,000 บาท 5,001—10,000 10,001—15,000 15,001—20,000 มากกว่า20,000 ขึ้นไป 1. พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 36.3 31.3 34.6 33.6 31.6 2. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 27.9 35.2 36.0 36.3 49.0 3. ไม่ระบุความนิยมต่อนักการเมืองทั้งสองนี้ 35.8 33.5 29.4 30.1 19.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมชอบนักการเมือง ระหว่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำแนกตามภูมิภาค
นักการเมืองที่นิยมชอบ เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กรุงเทพมหานคร 1. พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 32.9 32.9 44.5 8.0 36.2 2. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 28.8 36.5 18.4 66.3 41.4 3. ไม่ระบุความนิยมต่อนักการเมืองทั้งสองนี้ 38.3 30.6 37.1 25.7 22.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-