ที่มาของโครงการ
ในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี รัฐบาลกำหนดให้เป็นวันแรงงานแห่งชาติเหมือนกับประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียและทั่วโลก พร้อมกับ
ประกาศให้เป็นวันหยุดงาน แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งถือเป็นผู้ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ในการ
ทำงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในองค์กรขนาดใหญ่หรือเล็กต้องมีหลายปัจจัยมาประกอบกันเพื่อความสำเร็จขององค์กรนั้นๆ ผู้ใช้แรงงานจึงถือเป็นสินทรัพย์
ที่มีค่าสูงสุดในการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย แม้ผู้ใช้แรงงานแต่ละคนจะเป็นเพียงเฟืองตัวเล็กๆ แต่ทุกคนต่างก็มีความสำคัญและ
ภาครัฐ องค์กรที่ดูแลผู้ใช้แรงงานเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลเป็นอย่างดี ทั้งในด้านสวัสดิภาพ รายได้ค่าตอบแทน สวัสดิการต่างๆ
อย่างไรก็ตาม น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนเช่นในปัจจุบันนี้ สวัสดิภาพ รายได้ค่าตอบแทน สวัสดิการต่างๆ ของแรง
งานไทยที่รัฐบาลกำหนดให้นั้นมีความเป็นธรรมเพียงพอหรือไม่ รวมทั้งคุณภาพชีวิต ความคิด หลักการดำเนินชีวิตของแรงงานไทยเป็นอย่างไร ดัง
นั้น “หลักเศรษฐกิจพอเพียง” ดูจะเป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่ควรจะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของประชาชนในสังคม ไม่เฉพาะแต่ผู้ใช้แรงงาน
เท่านั้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงประสงค์ที่จะทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่เป็นแรงงานที่มีต่อวันแรงงานและ
การยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวม
ข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปและผู้ใช้แรงงานที่มีต่อวันแรงงาน 1 พฤษภาคม 2549
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปและผู้ใช้แรงงานที่มีต่อความคิดและการใช้ชีวิต
โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นประชาชนและผู้ใช้แรงงานที่มีต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
4. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “แรงงานไทยกับการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจ
พอเพียง:กรณีศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมกับประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 26-29 เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไป และกลุ่มผู้ใช้แรงงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มประชาชนทั่วไป ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน กลุ่มผู้ใช้แรง
งานในโรงงานอุตสาหกรรมใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่างผู้ใช้แรงานในโรงงาน
อุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,667 ตัวอย่าง โดยแยกออกเป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม 643 คน และ
ประชาชนทั่วไปจำนวน 1,024 คน
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 7
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.4 เป็นชาย
ร้อยละ 49.6 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 11.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 31.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.8 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 12.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 83.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 15.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 13.4 ระบุอาชีพทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
ร้อยละ 0.9 ระบุอาชีพทำงานก่อสร้าง
ร้อยละ 20.3 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 5.9 ระบุอาชีพรับราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 14.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัท
ร้อยละ 22.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 10.0 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.6 ระบุเป็นแม่บ้าน /พ่อบ้าน / เกษียณ
ร้อยละ 1.7 ระบุอาชีพเกษตรกร และร้อยละ 4.0 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “แรงงานไทยกับการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง:
กรณีศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมกับประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,667 คน โดย
แยกออกเป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม 643 คน และประชาชนทั่วไปจำนวน 1,024 คน ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 26-29
เมษายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ เป็นดังนี้
จากการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความสำคัญของวันแรงงานต่อชีวิตความเป็นอยู่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 72.4
ระบุเป็นวันที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ และอีกร้อยละ 27.6 ระบุไม่เป็น เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อความเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมในเรื่อง
เงินเดือนที่ได้รับจากนายจ้าง ผลสำรวจพบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.0 ระบุว่ายังไม่เป็นธรรม ในขณะที่ร้อยละ 45.0 ระบุว่าเป็นธรรม
แล้ว ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามกับผลสำรวจในกลุ่มประชาชนทั่วไปที่พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.6 ของประชาชนทั่วไประบุว่าเงินเดือนที่ได้รับจากนาย
จ้างนั้นเป็นธรรมแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 41.4 ระบุว่ายังไม่เป็นธรรม
เมื่อสอบถามถึงการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ผลสำรวจพบว่าทั้งกลุ่มผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.0 และ
ร้อยละ 63.5 คิดว่ากำลังใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ในขณะที่ร้อยละ 11.5 ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานและร้อยละ 12.2 ของประชาชนทั่วไป ไม่ได้คิด
ว่าขณะนี้กำลังใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ค่าร้อยละที่เหลือระบุไม่แน่ใจว่าตนเองกำลังใช้ชีวิตแบบพอเพียงหรือไม่
“ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ แม้ส่วนใหญ่ในทั้งสองกลุ่มได้ระบุว่ากำลังใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง แต่เมื่อไปดูตัวชี้วัดทัศนคติและการใช้ชีวิต
ของพวกเขาพบว่า กลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่มีทัศนคติและการใช้ชีวิตที่ไม่ได้สอดคล้องกับดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจพอเพียงหลายตัวด้วย
กัน เช่น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.0 ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานยังคงซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือหวยใต้ดินอยู่ ซึ่งมีสัดส่วนที่สูงกว่าจำนวนกลุ่มประชาชนทั่วไป
ร้อยละ 56.8 ที่เคยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือหวยใต้ดินในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปจำนวนไม่ถึงครึ่งหรือ
ร้อยละ 42.3 และร้อยละ 43.3 ที่บอกว่า ถ้าไม่มีเงินเดือนในตอนนี้ก็จะไม่ลำบากเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น ยิ่งไปกว่านั้นมีเพียงร้อยละ 24.7 ของ
กลุ่มผู้ใช้แรงงานและร้อยละ 31.0 ของประชาชนทั่วไปที่บอกว่าขณะนี้มีเงินเก็บออมเป็นจำนวนเงินที่มากกว่าเงินเดือนที่ได้รับอยู่ในขณะนี้” ดร.นพดล
กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือเรื่องทัศนคติที่เป็นตัวบั่นทอนเศรษฐกิจแบบพอเพียง ผลสำรวจพบว่า ทั้งผู้ใช้แรงงานและ
ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.1 และร้อยละ 70.5 คิดว่าการแข่งขันเพื่อเอาชนะทางธุรกิจสู่ความร่ำรวยเป็นเรื่องปกติธรรมดา และส่วนใหญ่
เช่นกันหรือร้อยละ 66.3 ของผู้ใช้แรงงานและร้อยละ 60.6 ของประชาชนทั่วไปคิดว่า การทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจเป็นเรื่องปกติ
ธรรมดาเช่นกัน
เมื่อสอบถามว่า ถ้ามีเงินแล้ว กลุ่มผู้ใช้แรงงานอยากได้อะไรบ้าง ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.3 อยากได้บ้าน รองลงมาคือ
ร้อยละ 41.1 อยากได้รถ ร้อยละ 32.8 อยากได้ที่ดินทำกิน ร้อยละ 30.4 อยากได้เงินทุนการศึกษาของบุตรหลานและตนเอง ร้อยละ 22.5
อยากได้เงินทุนเพื่อเปิดกิจการเป็นของตนเอง เป็นต้น และเมื่อสอบถามถึงความดีที่เคยทำผ่านมาในชีวิตของกลุ่มผู้ใช้แรงงานใน 10 อันดับแรก ได้แก่
อันดับที่ 1 ได้แก่ บริจาคโลหิต/ไถ่โคกระบือ คิดเป็นร้อยละ 60.8
อันดับที่ 2 ได้แก่ ดูแลพ่อแม่ที่ชรา ส่งเงินให้พ่อแม่ คิดเป็นร้อยละ 54.9
อันดับที่ 3 ได้แก่ เป็นคนดี ช่วยพ่อแม่ทำงาน คิดเป็นร้อยละ 53.2
อันดับที่ 4 ได้แก่ ซื่อสัตย์ ไม่คดโกง คิดเป็นร้อยละ 49.7
อันดับที่ 5 ได้แก่ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ไม่เอาเปรียบผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 46.6
อันดับที่ 6 ได้แก่ ส่งน้องเรียน ส่งลูกเรียน เลี้ยงลูก คิดเป็นร้อยละ 42.8
อันดับที่ 7 ได้แก่ ความขยันอดทน คิดเป็นร้อยละ 40.1
อันดับที่ 8 ได้แก่ ประหยัดเงิน คิดเป็นร้อยละ 36.2
อันดับที่ 9 ได้แก่ รับผิดชอบต่อหน้าที่ คิดเป็นร้อยละ 29.8
อันดับที่ 10 ได้แก่ บวชให้พ่อแม่ คิดเป็นร้อยละ 28.4
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อสิ่งที่จะทำให้สถานการณ์การเมืองขณะนี้ดีขึ้นกลุ่มผู้ใช้แรงงานและประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
73.2 คิดว่าการหันหน้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธีของทุกฝ่ายคือทางออก รองลงมาคือร้อยละ 57.2 คิดว่าการยึดระบอบประชาธิปไตยคือ
ทางออก ร้อยละ 54.2 คิดว่าการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมคือทางออก และร้อยละ 43.5 คิดว่าการวางตัวเป็นกลางขององค์กรอิสระ คือทางออกของ
ปัญหาการเมืองขณะนี้
และเมื่อสอบถามทั้งกลุ่มผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปว่าสิ่งที่อยากให้นักการเมืองปฏิบัติมีอะไรบ้าง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 92.1 ระบุซื่อสัตย์สุจริตไม่คอรัปชั่น รองลงมาคือร้อยละ 86.3 ยุติความขัดแย้งต่อกัน อภัยให้กัน ร้อยละ 85.5 ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ร้อยละ
72.6 เพิ่มเงินเดือน สวัสดิการที่ดีให้ประชาชน ร้อยละ 70.9 ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน ร้อยละ 63.2 หานโยบายดีๆ มาแข่งขันให้
ประชาชนเลือก ร้อยละ 61.1 ไม่ทิ้งปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เช่น ยาเสพติดและแหล่งอบายมุข ร้อยละ 59.4 มีคุณธรรม จริยธรรม ใน
ขณะที่ ร้อยละ 53.7 ไม่ยึดติดกับตำแหน่งและไม่หลงอำนาจ และร้อยละ 52.1 ไม่ปิดบังความจริงและทำในสิ่งที่พูด
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่คิดว่าตนเองกำลังใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอ
เพียงอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเมื่อสอบถามใครๆ ก็มักจะกล่าวกันว่าขณะนี้ก็ประหยัดแล้วประหยัดอีก แต่เมื่อสอบถามไปในรายละเอียดถึงทัศนคติและวิถีการดำเนิน
ชีวิตกลับพบว่ามีหลายอย่างที่ขัดกับหลักการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงเช่น ทั้งผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปยังคงเล่นหวยใต้ดินหรือสลากกินแบ่ง
รัฐบาล ซึ่งกลุ่มผู้ใช้แรงงานกลับเล่นหวยใต้ดินหรือสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นจำนวนที่มากกว่าประชาชนทั่วไปเสียด้วยซ้ำ
“ทั้งกลุ่มผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่กำลังอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อความล่มสลายในการดำเนินชีวิตคือชีวิตอาจจะดำรงอยู่ต่อไป
ด้วยความยากลำบากเดือดร้อนเพราะพวกเขาต่างก็บอกกับคณะผู้วิจัยว่า ถ้าไม่มีเงินเดือนตอนนี้คงต้องเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่นแน่ๆ ยิ่งพิจารณาเรื่อง
การเก็บออมผลสำรวจพบว่ามีเพียง 1 ใน 4 ของผู้ที่ถูกศึกษาเท่านั้นที่บอกว่ามีเงินเก็บออมเป็นจำนวนที่มากกว่าเงินเดือนที่ได้รับอยู่ในขณะนี้ เป็นการ
ตอกย้ำอีกว่าผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปตกอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อความล่มจมและเดือดร้อนไม่แตกต่างกัน ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงหวังว่า ผลสำรวจครั้ง
นี้จะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนที่จะตระหนักและนำหลักการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ด้วยการจับจ่ายใช้สอยแบบไม่ประมาท ขยันทำ
งานอย่างหนัก รู้จักเก็บออม ไม่ใช่คิดอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ สินค้าหลายอย่างซื้อมาแล้วกลับไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ และไม่ควรคิดฝันกับการเล่น
หวยและการพนันอื่นๆ ที่มีโอกาสน้อยมากที่จะถูกรางวัลหรือชนะในเกมพนันขันต่อ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ขัดกับหลักการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง” ดร.นพ
ดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสำคัญของวันแรงงานต่อชีวิตความเป็นอยู่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เป็นวันที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ 72.4
2 ไม่เป็น 27.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อเงินเดือนที่ได้รับจากนายจ้างว่าเป็นธรรมหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ผู้ใช้แรงงานร้อยละ ประชาชนทั่วไปร้อยละ
1 มีความเป็นธรรม 45.0 58.6
2 ไม่เป็นธรรม 55.0 41.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นที่มีต่อการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ผู้ใช้แรงงานร้อยละ ประชาชนทั่วไปร้อยละ
1 คิดว่ากำลังใช้ 65.0 63.5
2 ไม่คิดว่ากำลังใช้ 11.5 12.2
3 ไม่แน่ใจ 23.5 24.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดและการใช้ชีวิต (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ความคิดและการใช้ชีวิต ผู้ใช้แรงงานร้อยละ ประชาชนทั่วไปร้อยละ
1. คิดอยากจะซื้ออะไรก็จะซื้อเลย 21.4 35.1
2. เคยซื้อสิ่งของบางอย่างแต่ไม่ค่อยได้ใช้งาน 36.3 44.2
3. คิดว่าการแข่งขันเพื่อเอาชนะทางธุรกิจสู่ความร่ำรวยเป็นเรื่องปกติธรรมดา 68.1 70.5
4. มีเงินออมเป็นจำนวนที่มากกว่าเงินเดือนที่ได้รับอยู่ในขณะนี้ 24.7 31.0
5. คิดว่าการทุจริต/ คอรัปชั่น เป็นเรื่องปกติธรรมดาในกลุ่มผู้ประกอบการทางธุรกิจ 66.3 60.6
6. ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เคยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล/หวยใต้ดินหรือไม่ 64.0 56.8
7. ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ทำงานเพื่อหาข้าวปลาอาหารมากกว่าเงินทอง 52.7 46.7
8. ถ้าไม่มีเงินเดือนในตอนนี้ จะไม่ลำบาก เดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น 42.3 43.3
9. ถึงแม้ว่าต้องพบกับปัญหาและอุปสรรคมากมายก็จะต่อสู้ด้วยตนเอง 89.9 83.9
10. คิดว่าตนเองขยันทำงานมากกว่าคนอื่นอีกหลายสิบคนที่คุณรู้จักและสนิทสนม 54.0 51.3
ตารางที่ 5 แสดงการจัด 10 อันดับสิ่งที่ผู้ใช้แรงงานอยากได้ ถ้าหากมีเงินมากเพียงพอ
(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานอยากได้ถ้ามีเงินมากพอ ค่าร้อยละ
1 บ้าน 62.3
2 รถ 41.1
3 ที่ดิน ที่ทำมาหากิน 32.8
4 เงินทุนการศึกษาของบุตร เงินทุนการศึกษาของตนเอง 30.4
5 เงินทุนเพื่อเปิดกิจการเป็นของตนเอง 22.5
6 เงินออม เก็บเงินไว้ใช้ตอนแก่ 16.5
7 ทอง / เครื่องประดับ 13.0
8 ท่องเที่ยว 6.2
9 ใช้หนี้ 4.4
10 บริจาคเงินให้กับผู้ที่ด้อยโอกาส 2.3
ตารางที่ 6 แสดงการจัด 10 อันดับสิ่งที่เคยทำความดีมาในชีวิต (ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานและ
ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่เคยทำความดีมากที่สุดในชีวิต ค่าร้อยละ
1 บริจาคโลหิต /ไถ่ชีวิตโค กระบือ 60.8
2 ดูแลพ่อแม่ที่ชรา / ดูแลพ่อแม่ / ดูแลครอบครัว ส่งเงินให้พ่อแม่ รักพ่อแม่ 54.9
3 เป็นคนดี / เป็นลูกที่ดี / แม่บ้านที่ดี ช่วยพ่อแม่ทำงาน 53.2
4 ซื่อสัตย์ ไม่คดโกง 49.7
5 ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ไม่เอาเปรียบคนอื่น 46.6
6 ส่งน้องเรียน / ส่งลูกเรียนจบ / เลี้ยงลูก 42.8
7 ความขยันอดทน 40.1
8 ประหยัดเงิน 36.2
9 รับผิดชอบต่อหน้าที่ 29.8
10 บวชให้พ่อแม่ 28.4
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อสิ่งที่จะทำให้สถานการณ์การเมืองดีขึ้น
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ทำให้สถานการณ์การเมืองดีขึ้น ค่าร้อยละ
1 การหันหน้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี 73.2
2 การยึดระบอบประชาธิปไตย 57.2
3 การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม 54.2
4 การวางตัวเป็นกลางขององค์กรอิสระ 43.5
5 การเสนอนโยบายที่ดีให้ประชาชนเลือก 38.9
6 มีการเลือกตั้งใหม่ฝ่ายค้านร่วมลงแข่งขัน 30.9
7 การปฏิรูปการเมือง 29.0
8 อื่นๆ อาทิเช่น ยึดทรัพย์บุคคลที่ใช้เงินในการซื้อเสียง
ไม่ควรเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวมของประเทศ
โปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นต้น 5.8
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่อยากให้นักการเมืองปฏิบัติ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่อยากให้นักการเมืองปฏิบัติ ค่าร้อยละ
1 ซื่อสัตย์สุจริต ไม่คอรัปชั่น 92.1
2 ยุติความขัดแย้งต่อกัน อภัยให้กัน 86.3
3 ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น 85.5
4 เพิ่มเงินเดือน สวัสดิการที่ดีให้กับประชาชน 72.6
5 ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน 70.9
6 หานโยบายดีๆ มาแข่งกันให้ประชาชนเลือก 63.2
7 ไม่ทิ้งปัญหาเดือดร้อนของประชาชนเช่น ยาเสพติด แหล่งอบายมุข 61.1
8 มีคุณธรรม จริยธรรม 59.4
9 ไม่ยึดติดกับตำแหน่ง และไม่หลงอำนาจ 53.7
10 ไม่ปิดบังความจริง ทำในสิ่งที่พูด 52.1
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี รัฐบาลกำหนดให้เป็นวันแรงงานแห่งชาติเหมือนกับประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียและทั่วโลก พร้อมกับ
ประกาศให้เป็นวันหยุดงาน แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งถือเป็นผู้ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ในการ
ทำงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในองค์กรขนาดใหญ่หรือเล็กต้องมีหลายปัจจัยมาประกอบกันเพื่อความสำเร็จขององค์กรนั้นๆ ผู้ใช้แรงงานจึงถือเป็นสินทรัพย์
ที่มีค่าสูงสุดในการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย แม้ผู้ใช้แรงงานแต่ละคนจะเป็นเพียงเฟืองตัวเล็กๆ แต่ทุกคนต่างก็มีความสำคัญและ
ภาครัฐ องค์กรที่ดูแลผู้ใช้แรงงานเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลเป็นอย่างดี ทั้งในด้านสวัสดิภาพ รายได้ค่าตอบแทน สวัสดิการต่างๆ
อย่างไรก็ตาม น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนเช่นในปัจจุบันนี้ สวัสดิภาพ รายได้ค่าตอบแทน สวัสดิการต่างๆ ของแรง
งานไทยที่รัฐบาลกำหนดให้นั้นมีความเป็นธรรมเพียงพอหรือไม่ รวมทั้งคุณภาพชีวิต ความคิด หลักการดำเนินชีวิตของแรงงานไทยเป็นอย่างไร ดัง
นั้น “หลักเศรษฐกิจพอเพียง” ดูจะเป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่ควรจะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของประชาชนในสังคม ไม่เฉพาะแต่ผู้ใช้แรงงาน
เท่านั้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงประสงค์ที่จะทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่เป็นแรงงานที่มีต่อวันแรงงานและ
การยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวม
ข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปและผู้ใช้แรงงานที่มีต่อวันแรงงาน 1 พฤษภาคม 2549
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปและผู้ใช้แรงงานที่มีต่อความคิดและการใช้ชีวิต
โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นประชาชนและผู้ใช้แรงงานที่มีต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
4. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “แรงงานไทยกับการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจ
พอเพียง:กรณีศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมกับประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 26-29 เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไป และกลุ่มผู้ใช้แรงงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มประชาชนทั่วไป ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน กลุ่มผู้ใช้แรง
งานในโรงงานอุตสาหกรรมใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่างผู้ใช้แรงานในโรงงาน
อุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,667 ตัวอย่าง โดยแยกออกเป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม 643 คน และ
ประชาชนทั่วไปจำนวน 1,024 คน
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 7
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.4 เป็นชาย
ร้อยละ 49.6 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 11.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 31.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.8 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 12.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 83.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 15.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 13.4 ระบุอาชีพทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
ร้อยละ 0.9 ระบุอาชีพทำงานก่อสร้าง
ร้อยละ 20.3 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 5.9 ระบุอาชีพรับราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 14.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัท
ร้อยละ 22.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 10.0 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.6 ระบุเป็นแม่บ้าน /พ่อบ้าน / เกษียณ
ร้อยละ 1.7 ระบุอาชีพเกษตรกร และร้อยละ 4.0 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “แรงงานไทยกับการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง:
กรณีศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมกับประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,667 คน โดย
แยกออกเป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม 643 คน และประชาชนทั่วไปจำนวน 1,024 คน ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 26-29
เมษายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ เป็นดังนี้
จากการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความสำคัญของวันแรงงานต่อชีวิตความเป็นอยู่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 72.4
ระบุเป็นวันที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ และอีกร้อยละ 27.6 ระบุไม่เป็น เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อความเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมในเรื่อง
เงินเดือนที่ได้รับจากนายจ้าง ผลสำรวจพบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.0 ระบุว่ายังไม่เป็นธรรม ในขณะที่ร้อยละ 45.0 ระบุว่าเป็นธรรม
แล้ว ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามกับผลสำรวจในกลุ่มประชาชนทั่วไปที่พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.6 ของประชาชนทั่วไประบุว่าเงินเดือนที่ได้รับจากนาย
จ้างนั้นเป็นธรรมแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 41.4 ระบุว่ายังไม่เป็นธรรม
เมื่อสอบถามถึงการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ผลสำรวจพบว่าทั้งกลุ่มผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.0 และ
ร้อยละ 63.5 คิดว่ากำลังใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ในขณะที่ร้อยละ 11.5 ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานและร้อยละ 12.2 ของประชาชนทั่วไป ไม่ได้คิด
ว่าขณะนี้กำลังใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ค่าร้อยละที่เหลือระบุไม่แน่ใจว่าตนเองกำลังใช้ชีวิตแบบพอเพียงหรือไม่
“ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ แม้ส่วนใหญ่ในทั้งสองกลุ่มได้ระบุว่ากำลังใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง แต่เมื่อไปดูตัวชี้วัดทัศนคติและการใช้ชีวิต
ของพวกเขาพบว่า กลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่มีทัศนคติและการใช้ชีวิตที่ไม่ได้สอดคล้องกับดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจพอเพียงหลายตัวด้วย
กัน เช่น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.0 ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานยังคงซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือหวยใต้ดินอยู่ ซึ่งมีสัดส่วนที่สูงกว่าจำนวนกลุ่มประชาชนทั่วไป
ร้อยละ 56.8 ที่เคยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือหวยใต้ดินในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปจำนวนไม่ถึงครึ่งหรือ
ร้อยละ 42.3 และร้อยละ 43.3 ที่บอกว่า ถ้าไม่มีเงินเดือนในตอนนี้ก็จะไม่ลำบากเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น ยิ่งไปกว่านั้นมีเพียงร้อยละ 24.7 ของ
กลุ่มผู้ใช้แรงงานและร้อยละ 31.0 ของประชาชนทั่วไปที่บอกว่าขณะนี้มีเงินเก็บออมเป็นจำนวนเงินที่มากกว่าเงินเดือนที่ได้รับอยู่ในขณะนี้” ดร.นพดล
กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือเรื่องทัศนคติที่เป็นตัวบั่นทอนเศรษฐกิจแบบพอเพียง ผลสำรวจพบว่า ทั้งผู้ใช้แรงงานและ
ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.1 และร้อยละ 70.5 คิดว่าการแข่งขันเพื่อเอาชนะทางธุรกิจสู่ความร่ำรวยเป็นเรื่องปกติธรรมดา และส่วนใหญ่
เช่นกันหรือร้อยละ 66.3 ของผู้ใช้แรงงานและร้อยละ 60.6 ของประชาชนทั่วไปคิดว่า การทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจเป็นเรื่องปกติ
ธรรมดาเช่นกัน
เมื่อสอบถามว่า ถ้ามีเงินแล้ว กลุ่มผู้ใช้แรงงานอยากได้อะไรบ้าง ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.3 อยากได้บ้าน รองลงมาคือ
ร้อยละ 41.1 อยากได้รถ ร้อยละ 32.8 อยากได้ที่ดินทำกิน ร้อยละ 30.4 อยากได้เงินทุนการศึกษาของบุตรหลานและตนเอง ร้อยละ 22.5
อยากได้เงินทุนเพื่อเปิดกิจการเป็นของตนเอง เป็นต้น และเมื่อสอบถามถึงความดีที่เคยทำผ่านมาในชีวิตของกลุ่มผู้ใช้แรงงานใน 10 อันดับแรก ได้แก่
อันดับที่ 1 ได้แก่ บริจาคโลหิต/ไถ่โคกระบือ คิดเป็นร้อยละ 60.8
อันดับที่ 2 ได้แก่ ดูแลพ่อแม่ที่ชรา ส่งเงินให้พ่อแม่ คิดเป็นร้อยละ 54.9
อันดับที่ 3 ได้แก่ เป็นคนดี ช่วยพ่อแม่ทำงาน คิดเป็นร้อยละ 53.2
อันดับที่ 4 ได้แก่ ซื่อสัตย์ ไม่คดโกง คิดเป็นร้อยละ 49.7
อันดับที่ 5 ได้แก่ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ไม่เอาเปรียบผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 46.6
อันดับที่ 6 ได้แก่ ส่งน้องเรียน ส่งลูกเรียน เลี้ยงลูก คิดเป็นร้อยละ 42.8
อันดับที่ 7 ได้แก่ ความขยันอดทน คิดเป็นร้อยละ 40.1
อันดับที่ 8 ได้แก่ ประหยัดเงิน คิดเป็นร้อยละ 36.2
อันดับที่ 9 ได้แก่ รับผิดชอบต่อหน้าที่ คิดเป็นร้อยละ 29.8
อันดับที่ 10 ได้แก่ บวชให้พ่อแม่ คิดเป็นร้อยละ 28.4
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อสิ่งที่จะทำให้สถานการณ์การเมืองขณะนี้ดีขึ้นกลุ่มผู้ใช้แรงงานและประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
73.2 คิดว่าการหันหน้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธีของทุกฝ่ายคือทางออก รองลงมาคือร้อยละ 57.2 คิดว่าการยึดระบอบประชาธิปไตยคือ
ทางออก ร้อยละ 54.2 คิดว่าการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมคือทางออก และร้อยละ 43.5 คิดว่าการวางตัวเป็นกลางขององค์กรอิสระ คือทางออกของ
ปัญหาการเมืองขณะนี้
และเมื่อสอบถามทั้งกลุ่มผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปว่าสิ่งที่อยากให้นักการเมืองปฏิบัติมีอะไรบ้าง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 92.1 ระบุซื่อสัตย์สุจริตไม่คอรัปชั่น รองลงมาคือร้อยละ 86.3 ยุติความขัดแย้งต่อกัน อภัยให้กัน ร้อยละ 85.5 ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ร้อยละ
72.6 เพิ่มเงินเดือน สวัสดิการที่ดีให้ประชาชน ร้อยละ 70.9 ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน ร้อยละ 63.2 หานโยบายดีๆ มาแข่งขันให้
ประชาชนเลือก ร้อยละ 61.1 ไม่ทิ้งปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เช่น ยาเสพติดและแหล่งอบายมุข ร้อยละ 59.4 มีคุณธรรม จริยธรรม ใน
ขณะที่ ร้อยละ 53.7 ไม่ยึดติดกับตำแหน่งและไม่หลงอำนาจ และร้อยละ 52.1 ไม่ปิดบังความจริงและทำในสิ่งที่พูด
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่คิดว่าตนเองกำลังใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอ
เพียงอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเมื่อสอบถามใครๆ ก็มักจะกล่าวกันว่าขณะนี้ก็ประหยัดแล้วประหยัดอีก แต่เมื่อสอบถามไปในรายละเอียดถึงทัศนคติและวิถีการดำเนิน
ชีวิตกลับพบว่ามีหลายอย่างที่ขัดกับหลักการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงเช่น ทั้งผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปยังคงเล่นหวยใต้ดินหรือสลากกินแบ่ง
รัฐบาล ซึ่งกลุ่มผู้ใช้แรงงานกลับเล่นหวยใต้ดินหรือสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นจำนวนที่มากกว่าประชาชนทั่วไปเสียด้วยซ้ำ
“ทั้งกลุ่มผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่กำลังอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อความล่มสลายในการดำเนินชีวิตคือชีวิตอาจจะดำรงอยู่ต่อไป
ด้วยความยากลำบากเดือดร้อนเพราะพวกเขาต่างก็บอกกับคณะผู้วิจัยว่า ถ้าไม่มีเงินเดือนตอนนี้คงต้องเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่นแน่ๆ ยิ่งพิจารณาเรื่อง
การเก็บออมผลสำรวจพบว่ามีเพียง 1 ใน 4 ของผู้ที่ถูกศึกษาเท่านั้นที่บอกว่ามีเงินเก็บออมเป็นจำนวนที่มากกว่าเงินเดือนที่ได้รับอยู่ในขณะนี้ เป็นการ
ตอกย้ำอีกว่าผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปตกอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อความล่มจมและเดือดร้อนไม่แตกต่างกัน ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงหวังว่า ผลสำรวจครั้ง
นี้จะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนที่จะตระหนักและนำหลักการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ด้วยการจับจ่ายใช้สอยแบบไม่ประมาท ขยันทำ
งานอย่างหนัก รู้จักเก็บออม ไม่ใช่คิดอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ สินค้าหลายอย่างซื้อมาแล้วกลับไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ และไม่ควรคิดฝันกับการเล่น
หวยและการพนันอื่นๆ ที่มีโอกาสน้อยมากที่จะถูกรางวัลหรือชนะในเกมพนันขันต่อ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ขัดกับหลักการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง” ดร.นพ
ดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสำคัญของวันแรงงานต่อชีวิตความเป็นอยู่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เป็นวันที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ 72.4
2 ไม่เป็น 27.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อเงินเดือนที่ได้รับจากนายจ้างว่าเป็นธรรมหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ผู้ใช้แรงงานร้อยละ ประชาชนทั่วไปร้อยละ
1 มีความเป็นธรรม 45.0 58.6
2 ไม่เป็นธรรม 55.0 41.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นที่มีต่อการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ผู้ใช้แรงงานร้อยละ ประชาชนทั่วไปร้อยละ
1 คิดว่ากำลังใช้ 65.0 63.5
2 ไม่คิดว่ากำลังใช้ 11.5 12.2
3 ไม่แน่ใจ 23.5 24.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดและการใช้ชีวิต (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ความคิดและการใช้ชีวิต ผู้ใช้แรงงานร้อยละ ประชาชนทั่วไปร้อยละ
1. คิดอยากจะซื้ออะไรก็จะซื้อเลย 21.4 35.1
2. เคยซื้อสิ่งของบางอย่างแต่ไม่ค่อยได้ใช้งาน 36.3 44.2
3. คิดว่าการแข่งขันเพื่อเอาชนะทางธุรกิจสู่ความร่ำรวยเป็นเรื่องปกติธรรมดา 68.1 70.5
4. มีเงินออมเป็นจำนวนที่มากกว่าเงินเดือนที่ได้รับอยู่ในขณะนี้ 24.7 31.0
5. คิดว่าการทุจริต/ คอรัปชั่น เป็นเรื่องปกติธรรมดาในกลุ่มผู้ประกอบการทางธุรกิจ 66.3 60.6
6. ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เคยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล/หวยใต้ดินหรือไม่ 64.0 56.8
7. ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ทำงานเพื่อหาข้าวปลาอาหารมากกว่าเงินทอง 52.7 46.7
8. ถ้าไม่มีเงินเดือนในตอนนี้ จะไม่ลำบาก เดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น 42.3 43.3
9. ถึงแม้ว่าต้องพบกับปัญหาและอุปสรรคมากมายก็จะต่อสู้ด้วยตนเอง 89.9 83.9
10. คิดว่าตนเองขยันทำงานมากกว่าคนอื่นอีกหลายสิบคนที่คุณรู้จักและสนิทสนม 54.0 51.3
ตารางที่ 5 แสดงการจัด 10 อันดับสิ่งที่ผู้ใช้แรงงานอยากได้ ถ้าหากมีเงินมากเพียงพอ
(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานอยากได้ถ้ามีเงินมากพอ ค่าร้อยละ
1 บ้าน 62.3
2 รถ 41.1
3 ที่ดิน ที่ทำมาหากิน 32.8
4 เงินทุนการศึกษาของบุตร เงินทุนการศึกษาของตนเอง 30.4
5 เงินทุนเพื่อเปิดกิจการเป็นของตนเอง 22.5
6 เงินออม เก็บเงินไว้ใช้ตอนแก่ 16.5
7 ทอง / เครื่องประดับ 13.0
8 ท่องเที่ยว 6.2
9 ใช้หนี้ 4.4
10 บริจาคเงินให้กับผู้ที่ด้อยโอกาส 2.3
ตารางที่ 6 แสดงการจัด 10 อันดับสิ่งที่เคยทำความดีมาในชีวิต (ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานและ
ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่เคยทำความดีมากที่สุดในชีวิต ค่าร้อยละ
1 บริจาคโลหิต /ไถ่ชีวิตโค กระบือ 60.8
2 ดูแลพ่อแม่ที่ชรา / ดูแลพ่อแม่ / ดูแลครอบครัว ส่งเงินให้พ่อแม่ รักพ่อแม่ 54.9
3 เป็นคนดี / เป็นลูกที่ดี / แม่บ้านที่ดี ช่วยพ่อแม่ทำงาน 53.2
4 ซื่อสัตย์ ไม่คดโกง 49.7
5 ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ไม่เอาเปรียบคนอื่น 46.6
6 ส่งน้องเรียน / ส่งลูกเรียนจบ / เลี้ยงลูก 42.8
7 ความขยันอดทน 40.1
8 ประหยัดเงิน 36.2
9 รับผิดชอบต่อหน้าที่ 29.8
10 บวชให้พ่อแม่ 28.4
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อสิ่งที่จะทำให้สถานการณ์การเมืองดีขึ้น
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ทำให้สถานการณ์การเมืองดีขึ้น ค่าร้อยละ
1 การหันหน้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี 73.2
2 การยึดระบอบประชาธิปไตย 57.2
3 การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม 54.2
4 การวางตัวเป็นกลางขององค์กรอิสระ 43.5
5 การเสนอนโยบายที่ดีให้ประชาชนเลือก 38.9
6 มีการเลือกตั้งใหม่ฝ่ายค้านร่วมลงแข่งขัน 30.9
7 การปฏิรูปการเมือง 29.0
8 อื่นๆ อาทิเช่น ยึดทรัพย์บุคคลที่ใช้เงินในการซื้อเสียง
ไม่ควรเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวมของประเทศ
โปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นต้น 5.8
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่อยากให้นักการเมืองปฏิบัติ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่อยากให้นักการเมืองปฏิบัติ ค่าร้อยละ
1 ซื่อสัตย์สุจริต ไม่คอรัปชั่น 92.1
2 ยุติความขัดแย้งต่อกัน อภัยให้กัน 86.3
3 ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น 85.5
4 เพิ่มเงินเดือน สวัสดิการที่ดีให้กับประชาชน 72.6
5 ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน 70.9
6 หานโยบายดีๆ มาแข่งกันให้ประชาชนเลือก 63.2
7 ไม่ทิ้งปัญหาเดือดร้อนของประชาชนเช่น ยาเสพติด แหล่งอบายมุข 61.1
8 มีคุณธรรม จริยธรรม 59.4
9 ไม่ยึดติดกับตำแหน่ง และไม่หลงอำนาจ 53.7
10 ไม่ปิดบังความจริง ทำในสิ่งที่พูด 52.1
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-