ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาการ ศึกษา เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง “คิดดีทำดี มีสุข และความภูมิใจในความเป็นไทย : จากตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงนักศึกษาปริญญาเอกทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น 23,088 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา
เมื่อวัดระดับสิ่งที่ทำและเป็นจริงตั้งแต่น้อยที่สุด ถึงมากที่สุด ผลสำรวจพบว่า นักเรียน/นักศึกษาที่ถูกสัมภาษณ์ในการวิจัยครั้งนี้ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 85.0 มีการแปรงฟันตอนเช้าและก่อนนอนมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 61.7 มีเวลานอนหลับอย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อคืนมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 60.1 บอกว่ามีสุขภาพแข็งแรงมากถึงมากที่สุด แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ นักเรียน/นักศึกษาไม่ถึงครึ่งหรือร้อยละ 48.8 มีการล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทาน อาหาร และร้อยละ 39.5 เท่านั้นที่รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ระดับมากถึงมากที่สุด อย่างไรก็ตาม นักเรียน/นักศึกษาเกินครึ่งหรือร้อยละ 57.8 รับ ประทานผักผลไม้เป็นประจำทุกวันหรือเกือบทุกวัน
เมื่อสอบถามถึง สิ่งที่ “คิดดี” ในกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ที่คิดดีเกินกว่าร้อยละ 80 ใน 10 อันดับแรก ได้แก่ คิดว่าคนดี นอกจากทำดีแล้ว ต้องช่วยให้ผู้อื่นทำดีด้วย (ร้อยละ 90.5) หัวหน้าที่ดีต้องไม่เข้าข้างคนผิด แม้จะเป็นคนใกล้ชิด (ร้อยละ 89.0) ทุกคนล้วนมีดีหาก เลือกสิ่งดีๆ มาสื่อสารกัน สังคมจะสงบสุข (ร้อยละ 88.6) สังคมจะเป็นสุข ถ้าทุกคนยินดีช่วยเหลือผู้อื่น โดยไม่ต้องมีการร้องขอ (ร้อยละ 88.4) การทะเลาะวิวาทจะน้อยลง ถ้าผู้คนไตร่ตรองก่อนที่จะพูดหรือลงมือทำ (ร้อยละ 87.7) รองๆ ลงไปคือ คนไทยต้องช่วยกันรักษาสาธารณสมบัติ (ร้อยละ 87.0) ถ้าคนไทยกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง แม้จะเป็นเรื่องใหม่จะทำให้สังคมเป็นสุข (ร้อยละ 85.6) และคิดว่า อุปสรรคคือความท้าทายที่ต้อง ก้าวข้ามไปให้ได้ (ร้อยละ 83.1) เชื่อว่าปัญหาทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้ด้วยเหตุผล (ร้อยละ 65.2) และไม่ชอบการดูถูกหรือเอาเปรียบผู้ที่ด้อย กว่า (ร้อยละ 64.8) เป็นต้น และเมื่อวิเคราะห์ค่าคะแนนเฉลี่ยของนักเรียน/นักศึกษาไทยเรื่อง “คิดดี” เมื่อคะแนนเต็ม 5 พบว่า ได้ 3.90 คะแนน และพบว่ามีอยู่ร้อยละ 55.6 ที่คิดดี (มีค่าคะแนนคิดดีสูงกว่าค่าเฉลี่ย)
เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่ “ทำดี” ระดับมากถึงมากที่สุด พบว่า ร้อยละ 66.5 ยินดีแบ่งปันสิ่งของของตนเองให้ผู้ยากไร้หรือเพื่อนๆ เมื่อมี โอกาส รองลงมาคือ ร้อยละ 65.3 ชื่นชมผู้มีจิตเสียสละมุ่งมั่นช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อคับขัน ร้อยละ 61.7 ไม่หลงมัวเมาไปกับสิ่งยั่วยุ ร้อยละ 61.3 ตั้งใจ ทำงานอย่างเต็มที่ไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 57.7 ใจกว้างและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ร้อยละ 49.5 เป็นคนดีในสายตาของเพื่อน หรือคนใกล้เคียง ร้อยละ 44.7 สามารถปฏิเสธสิ่งที่ไม่ดีหรือไม่พึงประสงค์ได้อย่างนิ่มนวล ร้อยละ 44.2 มักถูกชวนให้เข้าทำงานกลุ่มด้วย ร้อยละ 41.9 ควบคุมอารมณ์ได้เมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือผิดหวัง และร้อยละ 31.0 มักจะเป็นคนกลางคอยไกล่เกลี่ยเมื่อเกิดปัญหาในหมู่เพื่อน อย่างไรก็ตาม เพียง ร้อยละ 29.9 จะต่อต้านการปฏิบัติที่ไม่เสมอภาคกันในสังคมหน่วยงานหรือโรงเรียน และเมื่อวิเคราะห์ค่าคะแนนเฉลี่ยของนักเรียน/นักศึกษาไทย เรื่อง “ทำดี” เมื่อคะแนนเต็ม 5 พบว่า ได้ 3.35 คะแนน และพบว่ามีอยู่ร้อยละ 53.1 ที่ทำดี (มีค่าคะแนนทำดีสูงกว่าค่าเฉลี่ย)
ที่น่าพิจารณาคือ ผลการวิเคราะห์ค่าสถิติวิจัย พบกลุ่มปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อการเป็นคนดีของนักเรียน/นักศึกษาไทยอันดับแรกคือไม่หลงมัวเมา ไปกับสิ่งยั่วยุ รองๆ ลงไป คือ การชักชวนเข้าทำงานกลุ่ม ตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ไม่เอาเปรียบเพื่อน แบ่งปันสิ่งของของตนเองให้ผู้ยากไร้ ใจกว้าง และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น มักเป็นคนกลางคอยไกล่เกลี่ยเมื่อเกิดปัญหาระหว่างเพื่อน ควบคุมอารมณ์ได้เมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือผิดหวัง ความคิดที่ว่า การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นเรื่องของคนที่มีความพร้อม ทุกคนล้วนมีดี หากเลือกสิ่งที่ดีมาสื่อสารกัน สังคมจะสงบสุข และสามารถปฏิเสธสิ่งที่ไม่ดีไม่พึงประสงค์ ได้ ตามลำดับ
เมื่อถามถึง ตัวชี้วัดความสุขของนักเรียน/นักศึกษาไทยในระดับมากถึงมากที่สุด พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.0 รู้สึกว่าตนเองเป็นคน อารมณ์ดี รองลงมาคือ ร้อยละ 61.8 รู้สึกว่าตนเองเป็นคนมีความสุข ร้อยละ 48.1 ทำงานได้สำเร็จลุล่วงทันเวลา ร้อยละ 35.6 เป็นคนนอน หลับง่าย อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 31.4 รับประทานอาหารแต่ละมื้อไม่ตรงเวลาที่ควรจะเป็น ร้อยละ 21.4 รู้สึกกลัวผิดพลาดในการทำสิ่งต่างๆ ร้อย ละ 16.9 เป็นคนตื่นตกใจง่าย ร้อยละ 15.3 ชอบเปรียบเทียบสิ่งที่ตนมีกับผู้อื่น ร้อยละ 13.3 มีอาการมึนงงหรือเวียนศีรษะ ร้อยละ 12.0 ชอบตำหนิ ตนเองในเรื่องต่างๆ ร้อยละ 10.4 เบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร ร้อยละ 10.4 เช่นกันอยากร้องไห้บ่อยๆ ร้อยละ 7.6 หมดหวังในชีวิต ร้อยละ 7.1 รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า เมื่อวิเคราะห์ค่าคะแนนเฉลี่ยของนักเรียน/นักศึกษาไทยเรื่อง “ความสุข” เมื่อคะแนนเต็ม 5 พบว่า ได้ 3.78 คะแนน และพบ ว่ามีอยู่ร้อยละ 49.7 ที่มีความสุข
ที่น่าพิจารณาคือ ผลการวิเคราะห์ค่าสถิติวิจัย พบกลุ่มปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อ “ความสุข” ของนักเรียน/นักศึกษาไทยอันดับแรกคือ ความรู้สึก เป็นคนอารมณ์ดี รองลงมาคือ ทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วงทันเวลา นอนหลับง่าย รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเล่นกีฬาบ่อยๆ และนอนหลับสนิทอย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อคืน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้นักเรียน/นักศึกษา “ไม่มีความสุข” พบว่า อันดับแรกคือ ความรู้สึกอยากร้องไห้ บ่อยๆ ความรู้สึกหมดหวังในชีวิต ความรู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า และความรู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร
เมื่อสอบถาม ความภูมิใจในความเป็นไทยระดับมากถึงมากที่สุด พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.5 ภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนไทย รองลงมา คือ ร้อยละ 87.1 ภูมิใจต่ออาหารไทย ร้อยละ 86.2 ภูมิใจต่อแผ่นดินไทย ร้อยละ 84.8 ภูมิใจต่อประเพณีไทย ร้อยละ 82.0 ภูมิใจต่อภูมิปัญญาไทย ร้อยละ 79.8 ภูมิใจต่อภาษาไทย และรองๆ ลงไปคือ ภูมิใจต่อศิลปะการแสดงแบบไทยๆ วิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบไทย การที่องค์กรระหว่างประเทศ ยกย่องคนไทยเป็นบุคคลสำคัญของโลก และมารยาทแบบไทย เป็นต้น แต่ที่นักเรียน/นักศึกษาไทยภูมิใจน้อยที่สุดคือ นักการเมืองไทย ที่ได้เพียงร้อยละ 26.9 เมื่อวิเคราะห์ค่าคะแนนเฉลี่ยของนักเรียน/นักศึกษาไทยเรื่อง “ความภูมิใจในความเป็นไทย” เมื่อคะแนนเต็ม 5 พบว่า ได้ 4.09 คะแนน และ พบว่ามีอยู่ร้อยละ 52.8 ที่ภูมิใจในความเป็นไทย
ที่น่าพิจารณาคือ ผลการวิเคราะห์ค่าสถิติวิจัย พบกลุ่มปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อ “ความภูมิใจในความเป็นไทย” ของนักเรียน/นักศึกษาไทย อันดับแรกคือ ภูมิใจในแผ่นดินไทย รองลงไปคือ การที่องค์กรระหว่างประเทศ เช่น ยูเนสโก ยกย่องคนไทยให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก รวมทั้ง อาหาร ไทย วิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบไทย ประเพณีไทย และการตั้งชื่อผลิตภัณฑ์สินค้าไทยด้วยภาษาไทย ทำให้นักเรียน/นักศึกษาเกิดความภูมิใจในความเป็นไทย มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้องศึกษาวิจัยต่อไปว่า ทำไม แพทย์แผนไทย กลับมีผลทำให้ความภูมิใจของนักเรียน/นักศึกษาไทยมีความภูมิใจลดน้อยลงในการ วิจัยครั้งนี้
เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ในเรื่อง “คิดดี” พบค่าเฉลี่ยในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาน้อยที่สุดคือ 3.79 มัธยมศึกษา 3.89 อาชีวศึกษา 3.91 ปริญญาตรี 3.99 และสูงกว่าปริญญาตรี 4.05 ในเรื่อง “ทำดี” พบ นักเรียนชั้นประถมศึกษาได้ 3.11 มัธยมศึกษาได้ 3.33 อาชีวศึกษาได้ 3.37 ปริญญาตรีได้ 3.54 และสูงกว่าปริญญาตรีได้ 3.64 ที่น่าเป็นห่วงคือ ในเรื่อง “ความมีสุข” นักเรียนชั้นประถมศึกษาได้ 2.92 มัธยมศึกษาได้ 3.06 อาชีวศึกษาได้ 3.02 ปริญญาตรีได้ 3.05 และสูงกว่าปริญญาตรีได้ 3.02 ในขณะที่ความภูมิใจในความเป็นไทยพบว่า นักเรียนชั้น ประถมศึกษาได้ 4.11 มัธยมศึกษาได้ 4.02 อาชีวศึกษาได้ 3.99 ปริญญาตรีได้ 4.12 และสูงกว่าปริญญาตรีได้ 4.19
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ยังชี้ชัดว่า แหล่งที่มาของคุณธรรมจริยธรรมของเด็กไทยเริ่มจาก การอบรมสั่งสอนของ พ่อแม่ จากโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา จากการดูโทรทัศน์ จากเพื่อนๆ และอินเทอร์เน็ต จึงเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันครอบครัวและ สถาบันสื่อมวลชน พิจารณา “แบบจำลองสามมิติผลิตคนดี มีสุขสายพันธุ์ใหม่” เพราะผลวิจัยพบว่า การคิดดี ทำดี มีความสัมพันธ์ต่อกันและกันกับความ ภูมิใจในความเป็นไทย ความภูมิใจในความเป็นไทยมีความสัมพันธ์ต่อกันกับความสุข และการคิดดี ทำดีมีความสัมพันธ์ต่อกันและกันกับความสุขอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติอีกด้วย
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 58.1 เป็นชาย
ร้อยละ 41.9 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 38.1 อายุต่ำกว่า 15 ปี
ร้อยละ 42.7 อายุระหว่าง 15 - 20 ปี
ร้อยละ 10.2 อายุระหว่าง 21 - 25 ปี
และร้อยละ 9.0 อายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.2 กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา
ร้อยละ 33.8 กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา
ร้อยละ 13.0 กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวช.
ร้อยละ 11.8 กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวส.
ร้อยละ 9.8 กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 10.4 กำลังศึกษาอยู่ในระดับสูงกว่าปริญญาตรี
ลำดับที่ สิ่งที่ได้ทำและเป็นจริงในชีวิตประจำวัน ค่าร้อยละมาก-มากที่สุด 1 แปรงฟันตอนเช้าและก่อนนอน 85.0 2 มีเวลานอนหลับอย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อคืน 61.7 3 มีสุขภาพแข็งแรง 60.1 4 ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร 48.8 5 รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ 39.5 ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความบ่อยในการรับประทานผักผลไม้ ลำดับที่ ความบ่อยในการรับประทานผักผลไม้ ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 57.8 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 23.9 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 11.8 4 บางสัปดาห์/บางโอกาส 5.2 5 ไม่เคยรับประทานเลย 1.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการคิดดี ลำดับที่ การคิดดี ค่าร้อยละมาก-มากที่สุด 1 คนดีนอกจากทำดีแล้ว ยังต้องช่วยให้ผู้อื่นทำดีด้วย 90.5 2 หัวหน้าที่ดีต้องไม่เข้าข้างคนผิด แม้จะเป็นคนใกล้ชิด 89.0 3 ทุกคนล้วนมีดีหากเลือกสิ่งดีๆ มาสื่อสารกัน สังคมจะสงบสุข 88.6 4 สังคมจะเป็นสุข ถ้าทุกคนยินดีช่วยเหลือผู้อื่น โดยไม่ต้องมีการร้องขอ 88.4 5 การทะเลาะวิวาทจะน้อยลง ถ้าผู้คนไตร่ตรองก่อนที่จะพูดหรือลงมือทำ 87.7 6 คนไทยต้องช่วยกันรักษาสาธารณสมบัติ และไม่ยึดถือเป็นสมบัติส่วนตน 87.0 7 ถ้าคนไทยกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง แม้จะเป็นเรื่องใหม่จะทำให้สังคมเป็นสุข 85.6 8 อุปสรรคคือความท้าทายที่ต้องก้าวข้ามไปให้ได้ 83.1 9 เชื่อว่าปัญหาทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้ด้วยเหตุผล 65.2 10 ไม่ชอบการดูถูกหรือเอาเปรียบผู้ที่ด้อยกว่า 64.8 11 การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นเรื่องของคนที่มีความพร้อม 55.6 12 ความขัดแย้งเป็นธรรมชาติในการทำงาน ปล่อยทิ้งไว้ก็จะคลี่คลายไปเอง 23.9 13 การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานไม่ใช่เรื่องเสียหาย 23.5
ค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดดีเท่ากับ 3.90 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน โดยพบว่ามีอยู่ร้อยละ 55.6 ที่คิดดี
ลำดับที่ การทำดี ค่าร้อยละมาก-มากที่สุด 1 ยินดีแบ่งปันสิ่งของของตนเองให้ผู้ยากไร้หรือเพื่อนๆ เมื่อมีโอกาส 66.5 2 ชื่นชมผู้มีจิตเสียสละมุ่งมั่นช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อคับขัน 65.3 3 ไม่หลงมัวเมาไปกับสิ่งยั่วยุ 61.7 4 ตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน 61.3 5 ใจกว้างและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 57.7 6 เป็นคนดีในสายตาของเพื่อนหรือคนใกล้เคียง 49.5 7 สามารถปฏิเสธสิ่งที่ไม่ดีหรือไม่พึงประสงค์ได้อย่างนิ่มนวล 44.7 8 มักถูกชวนให้เข้าทำงานกลุ่มด้วย 44.2 9 ควบคุมอารมณ์ได้เมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือผิดหวัง 41.9 10 มักจะเป็นคนกลางคอยไกล่เกลี่ยเมื่อเกิดปัญหาในหมู่เพื่อน 31.0 11 ต่อต้านการปฏิบัติที่ไม่เสมอภาคกันในสังคมหน่วยงาน หรือโรงเรียน 29.9 12 พูดอย่างทำอย่าง ไม่ปฏิบัติตามสัญญา 9.5
ค่าเฉลี่ยคะแนนการทำดีเท่ากับ 3.35 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน โดยพบว่ามีอยู่ร้อยละ 53.1 ที่ทำดี
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อการเป็นคนดีของนักเรียน/นักศึกษาไทย ค่าสัมประสิทธ์การถดถอยมาตรฐาน 1 ไม่หลงมัวเมาไปกับสิ่งยั่วยุ 0.130* 2 มักถูกชักชวนให้เข้าทำงานกลุ่มด้วย 0.128* 3 ตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่โดยไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน 0.097* 4 ยินดีแบ่งปันสิ่งของของตนเองให้ผู้ยากไร้หรือเพื่อนๆ เมื่อมีโอกาส 0.095* 5 ใจกว้างและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น 0.086* 6 มักจะเป็นคนกลางคอยไกล่เกลี่ยเมื่อเกิดปัญหาระหว่างเพื่อน 0.064* 7 ควบคุมอารมณ์ได้เมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือผิดหวัง 0.059* 8 ความคิดที่ว่าการช่วยเหลือผู้อื่นเป็นเรื่องของคนที่มีความพร้อม 0.051* 9 ทุกคนล้วนมีดี หากเลือกสิ่งดีๆ มาสื่อสารกัน สังคมจะสงบสุข 0.049* 10 สามารถปฏิเสธสิ่งที่ไม่ดีหรือไม่พึงประสงค์ได้อย่างนิ่มนวล 0.048*
ค่าความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มปัจจัยทั้ง 10 กลุ่ม กับการเป็นคนดีของนักเรียน/นักศึกษาไทย
R = 0.509 / Adjusted R Square = 0.258
ลำดับที่ ตัวชี้วัดความสุข ค่าร้อยละ 1 รู้สึกว่าตนเองเป็นคนอารมณ์ดี 62.0 2 รู้สึกว่าตนเองเป็นคนมีความสุข 61.8 3 ทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วงทันเวลา 48.1 4 เป็นคนนอนหลับง่าย 35.6 5 รับประทานอาหารแต่ละมื้อไม่ตรงเวลาที่ควรจะเป็น 31.4 6 รู้สึกกลัวผิดพลาดในการทำสิ่งต่างๆ 21.4 7 เป็นคนตื่นตกใจง่าย 16.9 8 ชอบเปรียบเทียบสิ่งที่ตนมีกับสิ่งที่ผู้อื่นมี 15.3 9 มีอาการมึนงงหรือเวียนศีรษะ 13.3 10 เป็นคนชอบตำหนิตนเองในเรื่องต่างๆ 12.0 11 รู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร 10.4 12 รู้สึกอยากร้องไห้บ่อยๆ 10.4 13 รู้สึกหมดหวังในชีวิต 7.6 14 รู้สึกว่าชีวิตตนเองไม่มีคุณค่า 7.1
ค่าคะแนนความสุขโดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน โดยพบว่ามีอยู่ร้อยละ 49.7
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อความสุขของนักเรียน/นักศึกษาไทย ค่าสัมประสิทธ์การถดถอยมาตรฐาน 1 ความรู้สึกอารมณ์ดี 0.373* 2 ทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วงทันเวลา 0.081* 3 นอนหลับง่าย 0.079* 4 ความรู้สึกอยากร้องไห้บ่อยๆ -0.069* 5 ความรู้สึกหมดหวังในชีวิต -0.064* 6 การได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ 0.058* 7 ความรู้สึกว่าชีวิตตนเองไม่มีคุณค่า -0.050* 8 การได้ออกกำลังกาย/เล่นกีฬาบ่อยๆ 0.043* 9 การนอนหลับสนิทอย่างน้อย 6 ชั่วโมงในแต่ละคืน 0.035* 10 ความรู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร -0.034*
ค่าความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มปัจจัยทั้ง 10 กลุ่ม กับความสุขของนักเรียน/นักศึกษาไทยวันนี้
R = 0.531 / Adjusted R Square = 0.281
ลำดับที่ ความรู้สึกชื่นชม/ภาคภูมิใจในสิ่งต่างๆ ค่าร้อยละ 1 การได้เกิดเป็นคนไทย 92.5 2 อาหารไทย 87.1 3 แผ่นดินไทย 86.2 4 ประเพณีไทย 84.8 5 ภูมิปัญญาไทย 82.0 6 ภาษาไทย 79.8 7 ศิลปะการแสดงแบบไทยๆ 79.4 8 วิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบไทย 79.4 9 การที่องค์กรระหว่างประเทศ เช่นยูเนสโกยกย่องให้คนไทยเป็นบุคคลสำคัญของโลก 78.7 10 มารยาทแบบไทย 78.5 11 การละเล่นพื้นบ้านของไทย 77.7 12 สมุนไพรไทย 77.5 13 วรรณคดีไทย 77.5 14 รู้สึกชื่นชม เมื่อเห็นเด็กไทยมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ 77.3 15 สถาปัตยกรรมไทย 74.9 16 ประวัติศาสตร์ชาติไทย 74.8 17 บุคคลสำคัญของไทย 74.7 18 การตั้งชื่อผลิตภัณฑ์สินค้าไทยด้วยภาษาไทย 73.0 19 ภูมิใจที่ได้สื่อสารกับคนอื่นด้วยภาษาไทย 72.8 20 สินค้าที่ผลิตในประเทศไทย 71.8 21 การแพทย์แผนไทย 68.5 22 มีความเป็นอยู่เรียบง่ายดำเนินชีวิตด้วยความพอเพียง 63.6 23 ยินดีเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ประเพณีไทยทุกครั้งที่มีโอกาส 52.0 24 มักซื้อสินค้าไทยให้เป็นของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ 42.5 25 นักการเมืองไทย 26.9
คะแนนความภูมิใจโดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน โดยพบว่าร้อยละ 52.8 ภูมิใจในความเป็นไทย
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อความภูมิใจในความเป็นไทยของนักเรียน/นักศึกษาไทย ค่าสัมประสิทธ์การถดถอยมาตรฐาน 1 ภูมิใจในแผ่นดินไทย 0.187* 2 การที่องค์กรระหว่างประเทศ เช่นยูเนสโก ยกย่องคนไทยให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก 0.145* 3 อาหารไทย 0.136* 4 วิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบไทย 0.092* 5 ประเพณีไทย 0.090* 6 แพทย์แผนไทย -0.082* 7 ภาษาไทย 0.074* 8 ความภูมิใจที่ได้สื่อสารกับคนอื่นด้วยภาษาไทย 0.069* 9 การตั้งชื่อผลิตภัณฑ์สินค้าไทยด้วยภาษาไทย 0.047*
ค่าความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มปัจจัยทั้ง 9 กลุ่ม กับความภูมิใจในความเป็นไทยของนักเรียน/นักศึกษาไทย
R = 0.568 / Adjusted R Square = 0.322
ลำดับที่ สรุปภาพรวมของค่าเฉลี่ย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี 1 คิดดี 3.79 3.89 3.91 3.99 4.05 2 ทำดี 3.11 3.33 3.37 3.54 3.64 3 มีสุข 2.92 3.06 3.02 3.05 3.02 4 ภูมิใจในความเป็นไทย 4.11 4.02 3.99 4.12 4.19 ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งที่มาของคุณธรรมจริยธรรมที่เด็กไทยมีอยู่ในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ แหล่งที่มาของคุณธรรมจริยธรรมที่เด็กไทยมีอยู่ในปัจจุบัน ค่าร้อยละ 1 การอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ 86.3 2 การอบรมสั่งสอนจากโรงเรียน 77.5 3 การดูโทรทัศน์ 71.8 4 การสนทนากับเพื่อน 64.7 5 การเข้าอินเทอร์เน็ต 53.2 6 การเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 50.1 7 การเลียนแบบบุคคลสำคัญที่มีคุณธรรม 48.4 8 การฟังวิทยุ 46.6 9 การปฏิบัติธรรมะ 46.4 10 การไปวัดเป็นประจำ 38.5 11 การอ่านคอลัมน์ธรรมะจากหนังสือพิมพ์ 21.9 12 การอ่านหนังสือธรรมะ 2.8 13 อื่นๆ 1.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-