ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง ปฏิกิริยาสังคมต่อ
บรรยากาศการเมืองภายหลังการเลือกประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,205
ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 24-25 ตุลาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 74.3 ระบุติดตามข่าวการเมืองอย่างน้อย 1-2
วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 17.1 ระบุติดตามเป็นบางสัปดาห์ และร้อยละ 8.6 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการล็อบบี้หรือเจรจาตกลงสนับสนุนตำแหน่งกันในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
ก่อนที่จะมีการลงคะแนนเลือกประธานสภาฯ นั้นพบว่า ตัวอย่างมากกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 77.1 ระบุเชื่อว่ามีการเจรจาตกลงกัน ในขณะที่ร้อยละ
22.9 ไม่เชื่อว่ามี ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างที่เชื่อว่ามีการเจรจาตกลงกัน กรณีทำไมต้องมีการเจรจาตกลงกันนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ
38.2 ระบุเป็นเพราะต้องการอำนาจบารมี ร้อยละ 35.5 ระบุต้องการเงินและผลประโยชน์ และร้อยละ 33.1 ระบุต้องการทำประโยชน์ให้
ประชาชนอย่างแท้จริง ตามลำดับ
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะเป็นความหวังให้ประชาชนทั้งประเทศได้พึ่งพาสร้างความเป็นธรรมใน
สังคมอย่างแท้จริงหรือไม่นั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.9 ระบุคิดว่าได้ ในขณะที่ร้อยละ 19.2 ระบุไม่ได้ อย่างไรก็ตามตัวอย่าง
ร้อยละ 41.9 ไม่แสดงความคิดเห็น
ผลสำรวจยังพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.9 ต้องการเห็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติใกล้ชิดเข้าถึงปัญหาประชาชนทั้ง
ประเทศ ร้อยละ 80.2 อยากเห็นสมาชิก สนช. ฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ ร้อยละ 75.4 อยากเห็นความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ร้อย
ละ 72.3 ไม่อยากให้ สมาชิก สนช. เอื้อประโยชน์ให้คนบางกลุ่มและพวกพ้อง ร้อยละ 70.4 อยากให้สมาชิก สนช. เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วน
ร่วม เป็นต้น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างเกี่ยวกับกฎหมายที่ต้องการให้มีการแก้ไขนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 60.3 ระบุควรแก้ไขกฎหมายให้
สวัสดิการประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ร้อยละ 58.9 ระบุกฎหมายที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทุกคน ร้อยละ 52.1 ระบุกฎหมาย
ยึดทรัพย์นายทุน นักการเมือง ข้าราชการที่ทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 42.8 ระบุกฎหมายดูแลคุ้มครองเด็กและเยาวชน และร้อยละ 41.0 ระบุกฎหมาย
ลงโทษพวกวิ่งเต้นล็อบบี้หรือฮั้วกันทางการเมือง ตามลำดับ
นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างกรณีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติบางท่านจะลาออก หากเห็นว่ามีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นใน
สภานั้น ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 41.4 ระบุเห็นด้วย ร้อยละ 10.4 ระบุไม่เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 48.2 ไม่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีดัง
กล่าว
เมื่อสอบถามความรู้สึกต่อบรรยากาศทางการเมืองในขณะนี้นั้น ตัวอย่างร้อยละ 42.7 ระบุรู้สึกอึดอัด เพราะทำงานล่าช้าไม่เป็น
รูปธรรม/มีปัญหามาก/วุ่นวาย /ไม่สงบสุข /ผู้นำและรัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง /ไม่เป็นประชาธิปไตย เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 22.8 ไม่
รู้สึกอึดอัด และร้อยละ 34.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ความเชื่อมั่นของตัวอย่างที่มีต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติในการทำงานเพื่อให้มีกฎหมายที่จะก่อ
ประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งประเทศอย่างแท้จริง ซึ่งผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 35.5 ระบุเชื่อมั่น ในขณะที่ตัวอย่างในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
คือ ร้อยละ 30.3 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 34.2 ไม่ระบุความเห็น
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงระยะเวลาที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดปัจจุบันควรรีบคืนอำนาจให้กับประชาชนและจัดการเลือกตั้งใหม่
นั้น ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 51.3 ระบุเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี ในขณะที่ร้อยละ 26.2 ระบุน้อยกว่า 6 เดือน และร้อยละ 22.5 ระบุ
มากกว่า 1 ปี ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าฐานตัวเลขจำนวนประชาชนที่รู้สึกอึดอัดกับบรรยากาศการเมืองขณะนี้มีมาก ยิ่งไปกว่านั้น ผลการ
เลือกตั้งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่มีกระแสข่าวของการล็อคสเปคหรือล็อบบี้อาจทำให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพบจุดเสื่อมแห่งความศรัทธาของประชาชน
เร็วกว่าเวลาที่มันควรจะเป็น นอกจากนี้ คนกรุงเทพมหานครกำลังมีความเห็น ในเรื่องความเชื่อมั่นต่อว่าที่ประธานนิติบัญญัติแตกต่างออกเป็นสามกลุ่ม
พอๆ กัน ซึ่งเป็นตัวชี้ความอ่อนไหวของสถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ได้ประการหนึ่งจนอาจกลายเป็นปมแห่งความเคลือบแคลงสงสัยต่อการทำหน้าที่
ของประธานและสมาชิกในสภาฯ
“ประชาชนจำนวนมากเช่นกันเห็นว่าถ้ามีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นสมาชิกที่ดีมีคุณธรรมและไม่สามารถทนอยู่ในความอึมครึมของสภาแห่งนี้
ได้ก็ควรลาออก ภาพที่ปรากฏจากการสำรวจครั้งนี้ยังสะท้อนออกให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่เรียกร้องให้สภาแห่งนี้อยู่ไม่เกิน 1 ปีจากนั้นรีบคืนอำนาจให้
ประชาชนและจัดการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์และเที่ยงธรรมโดยเร็ว และสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ อำนาจเงินและผลประโยชน์ของพวกพ้องที่ไม่เข้าใคร
ออกใครอาจกลายเป็นเชื้อปะทุของความวุ่นวายต่างๆ ได้ ถ้ามีใครบางคนจำนวนหนึ่งในสภาทำตัวไม่น่าไว้วางใจขึ้นมา อารมณ์ของสาธารณชนอาจตี
กลับจากฐานที่เคยสนับสนุนในระยะแรกกลายเป็นฝ่ายที่อาจต่อต้านและท้าทายอำนาจรัฐได้โดยง่าย โดยตัวแปรสำคัญคือกลุ่มพลังเงียบที่ครั้งหนึ่งเคย
เป็นตัวแปรสำคัญในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ผ่านมา” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวว่า แนวทางป้องกันแก้ไขที่น่าพิจารณาเพื่อดึงฐานมวลชนมาสนับสนุนรัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติและคณะมนตรีความมั่นคง
แห่งชาติ คือ ต้องแสดงให้ประชาชนทั้งประเทศและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงการเมืองจากการยึดอำนาจทำให้ประเทศดีขึ้นอย่าง
เป็นรูปธรรมแท้จริง ดังนี้
ประการแรก ระบบและกลไกที่ถูกมองว่าซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใสและตรวจสอบได้ของรัฐบาล สภานิติบัญญัติและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
จะต้องทำให้ประชาชนทั้งประเทศได้รับประโยชน์สุขที่จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมเพราะเมื่อไม่มีการทุจริตคอรัปชั่น ประชาชนก็ควรได้ถนนหนทาง
อาคารสิ่งปลูกสร้าง สาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก ยารักษาโรคและเวชภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีกว่าสิ่งที่รัฐบาลชุดก่อนเคยให้ประชาชนภายใน
บรรยากาศความเคลือบแคลงสงสัยว่าไม่สุจริต
ประการที่สอง รัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และหน่วยงานราชการ ควรหนุนเสริม
การมีส่วนร่วมของประชาชน เสรีภาพและความรับผิดชอบในระดับหมู่บ้านชุมชนท้องถิ่น ด้วยปัจจัยสำคัญเช่น งบประมาณที่ตกถึงมือประชาชนอย่างเป็น
ธรรมทั่วถึง และการควบคุมจัดระเบียบสังคมสร้างชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข พอเพียงและเข้มแข็ง
ประการที่สาม การทำงานของคณะบุคคลที่มีอำนาจบริหารประเทศต้องปรับปรุงเรื่องความรวดเร็วในการเข้าถึงปัญหาเดือดร้อนของ
ประชาชนให้สอดคล้องกับเวลาที่มีอยู่เพียงปีเดียว เพราะเมื่อมีเวลาสั้นต้องทำงานให้รวดเร็วแบบติดจรวด ถ้าแก้ปัญหาของประชาชนล่าช้าเกินไปไม่
สอดคล้องกับกรอบเวลาที่มีอยู่อาจทำให้ประชาชนอดทนต่อไปไม่ไหว และการปล่อยให้หน่วยงานราชการแสดงบทบาทเด่นในการแก้ปัญหา ก็ควรระวัง
เรื่องความล่าช้าในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในอนาคต ที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานตาม “ระบบราชการ” แบบเดิมๆ ดังนั้น
รัฐบาล หน่วยงานราชการ ประชาชน และกลไกต่างๆของรัฐ ต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งผลที่ตามมาก็คือประเทศไทยน่าจะ
สามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์ต่างๆ ไปได้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็ฯของประชาชนต่อการเลือกตั้งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและการทำงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายที่ต้องการให้มีการแก้ไข
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ปฏิกิริยาสังคมต่อบรรยากาศการเมืองภายหลังการ
เลือกประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 24-25 ตุลาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,205 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ และตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณ
เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 26.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ด้านสถานภาพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.2 ระบุสถานภาพสมรส
ร้อยละ 40.9 ระบุสถานภาพโสด
และร้อยละ 5.9 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 6.2 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 21.6 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 20.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 48.5
2 3-4 วัน 15.6
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 10.2
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 17.1
5 ไม่ได้ติดตาม 8.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการล็อบบี้หรือเจรจาตกลงสนับสนุนตำแหน่งกันในสภานิติ
บัญญัติแห่งชาติก่อนที่จะมีการลงคะแนนเลือกประธานสภาฯ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีการเจรจาตกลงหรือล็อบบี้ตำแหน่งกัน 77.1
2 ไม่เชื่อว่ามี 22.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลที่คิดว่าต้องมีการเจรจาตกลงสนับสนุนตำแหน่งกันในสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติก่อนที่จะมีการลงคะแนนเลือกประธานสภาฯ (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ระบุเชื่อว่ามีการเจรจาตกลง และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ต้องการอำนาจบารมี 38.2
2 ต้องการเงินและผลประโยชน์ 35.5
3 ต้องการทำประโยชน์ให้ประชาชนอย่างแท้จริง 33.1
4 ต้องการยศฐาบรรดาศักดิ์ 24.9
5 ต้องการรับใช้ประชาชนทั้งประเทศ 18.3
6 แย่งกันทำงานรับใช้ประชาชน 7.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะเป็นความหวังให้ประชาชนทั้ง
ประเทศได้พึ่งพาสร้างความเป็นธรรมในสังคมอย่างแท้จริง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ได้ 38.9
2 ไม่ได้ 19.2
3 ไม่มีความเห็น 41.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่อยากเห็นในการทำงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นในการทำงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ค่าร้อยละ
1 ใกล้ชิดเข้าถึงปัญหาประชาชนทั้งประเทศ 81.9
2 ฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ 80.2
3 โปร่งใสและตรวจสอบได้ 75.4
4 ไม่เอื้อประโยชน์ให้คนบางกลุ่มและพวกพ้อง 72.3
5 เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม 70.4
6 กล้าคิดกล้าตัดสินใจ 69.1
7 ไม่ทะเลาะกัน ไม่วุ่นวาย 64.7
8 ปรับปรุงกฎหมายใหม่เท่าที่จำเป็น 53.8
9 อื่นๆ เช่น ทุ่มเททำงานหนัก ไม่รับเงินเดือน อยู่ข้างประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นต้น 20.8
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกฎหมายที่ต้องการให้มีการแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กฎหมายที่ต้องการให้แก้ไข ค่าร้อยละ
1 กฎหมายให้สวัสดิการประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม 60.3
2 กฎหมายที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทุกคน 58.9
3 กฎหมายยึดทรัพย์นายทุน นักการเมือง ข้าราชการที่ทุจริตคอรัปชั่น 52.1
4 กฎหมายดูแลคุ้มครองเด็กและเยาวชน 42.8
5 กฎหมายลงโทษพวกวิ่งเต้นล็อบบี้ หรือฮั้วกันทางการเมือง 41.0
6 กฎหมายให้ประชาชนครอบครองเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม 22.2
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีสมาชิกสภานิติบัญญัติบางคนจะลาออก หากเห็นว่ามีความไม่
ชอบมาพากลเกิดขึ้นในสภา
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 41.4
2 ไม่เห็นด้วย 10.4
3 ไม่มีความเห็น 48.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อบรรยากาศทางการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 รู้สึกอึดอัด 42.7
2 ไม่รู้สึกอึดอัด 22.8
3 ไม่มีความเห็น 34.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่ระบุรู้สึกอึดอัดได้ให้เหตุผลดังนี้
1. ทำงานล่าช้า ไม่เป็นรูปธรรม
2. มีปัญหามาก/วุ่นวาย
3. ไม่สงบสุข
4. ผู้นำและรัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
5. ไม่เป็นประชาธิปไตย
ฯลฯ
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นว่าประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะทำงานเพื่อให้มีกฎหมายที่จะ
ก่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งประเทศอย่างแท้จริง
ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 35.5
2 ไม่เชื่อมั่น 30.3
3 ไม่มีความเห็น 34.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดปัจจุบันควรรีบคืนอำนาจและจัดการ
เลือกตั้งใหม่
ลำดับที่ ระยะเวลา ค่าร้อยละ
1 น้อยกว่า 6 เดือน 26.2
2 6 เดือนถึง 1 ปี 51.3
3 มากกว่า 1 ปี 22.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
บรรยากาศการเมืองภายหลังการเลือกประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,205
ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 24-25 ตุลาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 74.3 ระบุติดตามข่าวการเมืองอย่างน้อย 1-2
วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 17.1 ระบุติดตามเป็นบางสัปดาห์ และร้อยละ 8.6 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการล็อบบี้หรือเจรจาตกลงสนับสนุนตำแหน่งกันในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
ก่อนที่จะมีการลงคะแนนเลือกประธานสภาฯ นั้นพบว่า ตัวอย่างมากกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 77.1 ระบุเชื่อว่ามีการเจรจาตกลงกัน ในขณะที่ร้อยละ
22.9 ไม่เชื่อว่ามี ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างที่เชื่อว่ามีการเจรจาตกลงกัน กรณีทำไมต้องมีการเจรจาตกลงกันนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ
38.2 ระบุเป็นเพราะต้องการอำนาจบารมี ร้อยละ 35.5 ระบุต้องการเงินและผลประโยชน์ และร้อยละ 33.1 ระบุต้องการทำประโยชน์ให้
ประชาชนอย่างแท้จริง ตามลำดับ
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะเป็นความหวังให้ประชาชนทั้งประเทศได้พึ่งพาสร้างความเป็นธรรมใน
สังคมอย่างแท้จริงหรือไม่นั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.9 ระบุคิดว่าได้ ในขณะที่ร้อยละ 19.2 ระบุไม่ได้ อย่างไรก็ตามตัวอย่าง
ร้อยละ 41.9 ไม่แสดงความคิดเห็น
ผลสำรวจยังพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.9 ต้องการเห็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติใกล้ชิดเข้าถึงปัญหาประชาชนทั้ง
ประเทศ ร้อยละ 80.2 อยากเห็นสมาชิก สนช. ฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ ร้อยละ 75.4 อยากเห็นความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ร้อย
ละ 72.3 ไม่อยากให้ สมาชิก สนช. เอื้อประโยชน์ให้คนบางกลุ่มและพวกพ้อง ร้อยละ 70.4 อยากให้สมาชิก สนช. เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วน
ร่วม เป็นต้น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างเกี่ยวกับกฎหมายที่ต้องการให้มีการแก้ไขนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 60.3 ระบุควรแก้ไขกฎหมายให้
สวัสดิการประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ร้อยละ 58.9 ระบุกฎหมายที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทุกคน ร้อยละ 52.1 ระบุกฎหมาย
ยึดทรัพย์นายทุน นักการเมือง ข้าราชการที่ทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 42.8 ระบุกฎหมายดูแลคุ้มครองเด็กและเยาวชน และร้อยละ 41.0 ระบุกฎหมาย
ลงโทษพวกวิ่งเต้นล็อบบี้หรือฮั้วกันทางการเมือง ตามลำดับ
นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างกรณีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติบางท่านจะลาออก หากเห็นว่ามีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นใน
สภานั้น ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 41.4 ระบุเห็นด้วย ร้อยละ 10.4 ระบุไม่เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 48.2 ไม่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีดัง
กล่าว
เมื่อสอบถามความรู้สึกต่อบรรยากาศทางการเมืองในขณะนี้นั้น ตัวอย่างร้อยละ 42.7 ระบุรู้สึกอึดอัด เพราะทำงานล่าช้าไม่เป็น
รูปธรรม/มีปัญหามาก/วุ่นวาย /ไม่สงบสุข /ผู้นำและรัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง /ไม่เป็นประชาธิปไตย เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 22.8 ไม่
รู้สึกอึดอัด และร้อยละ 34.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ความเชื่อมั่นของตัวอย่างที่มีต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติในการทำงานเพื่อให้มีกฎหมายที่จะก่อ
ประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งประเทศอย่างแท้จริง ซึ่งผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 35.5 ระบุเชื่อมั่น ในขณะที่ตัวอย่างในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
คือ ร้อยละ 30.3 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 34.2 ไม่ระบุความเห็น
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงระยะเวลาที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดปัจจุบันควรรีบคืนอำนาจให้กับประชาชนและจัดการเลือกตั้งใหม่
นั้น ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 51.3 ระบุเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี ในขณะที่ร้อยละ 26.2 ระบุน้อยกว่า 6 เดือน และร้อยละ 22.5 ระบุ
มากกว่า 1 ปี ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าฐานตัวเลขจำนวนประชาชนที่รู้สึกอึดอัดกับบรรยากาศการเมืองขณะนี้มีมาก ยิ่งไปกว่านั้น ผลการ
เลือกตั้งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่มีกระแสข่าวของการล็อคสเปคหรือล็อบบี้อาจทำให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพบจุดเสื่อมแห่งความศรัทธาของประชาชน
เร็วกว่าเวลาที่มันควรจะเป็น นอกจากนี้ คนกรุงเทพมหานครกำลังมีความเห็น ในเรื่องความเชื่อมั่นต่อว่าที่ประธานนิติบัญญัติแตกต่างออกเป็นสามกลุ่ม
พอๆ กัน ซึ่งเป็นตัวชี้ความอ่อนไหวของสถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ได้ประการหนึ่งจนอาจกลายเป็นปมแห่งความเคลือบแคลงสงสัยต่อการทำหน้าที่
ของประธานและสมาชิกในสภาฯ
“ประชาชนจำนวนมากเช่นกันเห็นว่าถ้ามีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นสมาชิกที่ดีมีคุณธรรมและไม่สามารถทนอยู่ในความอึมครึมของสภาแห่งนี้
ได้ก็ควรลาออก ภาพที่ปรากฏจากการสำรวจครั้งนี้ยังสะท้อนออกให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่เรียกร้องให้สภาแห่งนี้อยู่ไม่เกิน 1 ปีจากนั้นรีบคืนอำนาจให้
ประชาชนและจัดการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์และเที่ยงธรรมโดยเร็ว และสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ อำนาจเงินและผลประโยชน์ของพวกพ้องที่ไม่เข้าใคร
ออกใครอาจกลายเป็นเชื้อปะทุของความวุ่นวายต่างๆ ได้ ถ้ามีใครบางคนจำนวนหนึ่งในสภาทำตัวไม่น่าไว้วางใจขึ้นมา อารมณ์ของสาธารณชนอาจตี
กลับจากฐานที่เคยสนับสนุนในระยะแรกกลายเป็นฝ่ายที่อาจต่อต้านและท้าทายอำนาจรัฐได้โดยง่าย โดยตัวแปรสำคัญคือกลุ่มพลังเงียบที่ครั้งหนึ่งเคย
เป็นตัวแปรสำคัญในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ผ่านมา” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวว่า แนวทางป้องกันแก้ไขที่น่าพิจารณาเพื่อดึงฐานมวลชนมาสนับสนุนรัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติและคณะมนตรีความมั่นคง
แห่งชาติ คือ ต้องแสดงให้ประชาชนทั้งประเทศและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงการเมืองจากการยึดอำนาจทำให้ประเทศดีขึ้นอย่าง
เป็นรูปธรรมแท้จริง ดังนี้
ประการแรก ระบบและกลไกที่ถูกมองว่าซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใสและตรวจสอบได้ของรัฐบาล สภานิติบัญญัติและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
จะต้องทำให้ประชาชนทั้งประเทศได้รับประโยชน์สุขที่จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมเพราะเมื่อไม่มีการทุจริตคอรัปชั่น ประชาชนก็ควรได้ถนนหนทาง
อาคารสิ่งปลูกสร้าง สาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก ยารักษาโรคและเวชภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีกว่าสิ่งที่รัฐบาลชุดก่อนเคยให้ประชาชนภายใน
บรรยากาศความเคลือบแคลงสงสัยว่าไม่สุจริต
ประการที่สอง รัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และหน่วยงานราชการ ควรหนุนเสริม
การมีส่วนร่วมของประชาชน เสรีภาพและความรับผิดชอบในระดับหมู่บ้านชุมชนท้องถิ่น ด้วยปัจจัยสำคัญเช่น งบประมาณที่ตกถึงมือประชาชนอย่างเป็น
ธรรมทั่วถึง และการควบคุมจัดระเบียบสังคมสร้างชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข พอเพียงและเข้มแข็ง
ประการที่สาม การทำงานของคณะบุคคลที่มีอำนาจบริหารประเทศต้องปรับปรุงเรื่องความรวดเร็วในการเข้าถึงปัญหาเดือดร้อนของ
ประชาชนให้สอดคล้องกับเวลาที่มีอยู่เพียงปีเดียว เพราะเมื่อมีเวลาสั้นต้องทำงานให้รวดเร็วแบบติดจรวด ถ้าแก้ปัญหาของประชาชนล่าช้าเกินไปไม่
สอดคล้องกับกรอบเวลาที่มีอยู่อาจทำให้ประชาชนอดทนต่อไปไม่ไหว และการปล่อยให้หน่วยงานราชการแสดงบทบาทเด่นในการแก้ปัญหา ก็ควรระวัง
เรื่องความล่าช้าในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในอนาคต ที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานตาม “ระบบราชการ” แบบเดิมๆ ดังนั้น
รัฐบาล หน่วยงานราชการ ประชาชน และกลไกต่างๆของรัฐ ต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งผลที่ตามมาก็คือประเทศไทยน่าจะ
สามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์ต่างๆ ไปได้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็ฯของประชาชนต่อการเลือกตั้งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและการทำงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายที่ต้องการให้มีการแก้ไข
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ปฏิกิริยาสังคมต่อบรรยากาศการเมืองภายหลังการ
เลือกประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 24-25 ตุลาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,205 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ และตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณ
เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 26.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ด้านสถานภาพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.2 ระบุสถานภาพสมรส
ร้อยละ 40.9 ระบุสถานภาพโสด
และร้อยละ 5.9 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 6.2 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 21.6 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 20.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 48.5
2 3-4 วัน 15.6
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 10.2
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 17.1
5 ไม่ได้ติดตาม 8.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการล็อบบี้หรือเจรจาตกลงสนับสนุนตำแหน่งกันในสภานิติ
บัญญัติแห่งชาติก่อนที่จะมีการลงคะแนนเลือกประธานสภาฯ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีการเจรจาตกลงหรือล็อบบี้ตำแหน่งกัน 77.1
2 ไม่เชื่อว่ามี 22.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลที่คิดว่าต้องมีการเจรจาตกลงสนับสนุนตำแหน่งกันในสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติก่อนที่จะมีการลงคะแนนเลือกประธานสภาฯ (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ระบุเชื่อว่ามีการเจรจาตกลง และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ต้องการอำนาจบารมี 38.2
2 ต้องการเงินและผลประโยชน์ 35.5
3 ต้องการทำประโยชน์ให้ประชาชนอย่างแท้จริง 33.1
4 ต้องการยศฐาบรรดาศักดิ์ 24.9
5 ต้องการรับใช้ประชาชนทั้งประเทศ 18.3
6 แย่งกันทำงานรับใช้ประชาชน 7.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะเป็นความหวังให้ประชาชนทั้ง
ประเทศได้พึ่งพาสร้างความเป็นธรรมในสังคมอย่างแท้จริง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ได้ 38.9
2 ไม่ได้ 19.2
3 ไม่มีความเห็น 41.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่อยากเห็นในการทำงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นในการทำงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ค่าร้อยละ
1 ใกล้ชิดเข้าถึงปัญหาประชาชนทั้งประเทศ 81.9
2 ฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ 80.2
3 โปร่งใสและตรวจสอบได้ 75.4
4 ไม่เอื้อประโยชน์ให้คนบางกลุ่มและพวกพ้อง 72.3
5 เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม 70.4
6 กล้าคิดกล้าตัดสินใจ 69.1
7 ไม่ทะเลาะกัน ไม่วุ่นวาย 64.7
8 ปรับปรุงกฎหมายใหม่เท่าที่จำเป็น 53.8
9 อื่นๆ เช่น ทุ่มเททำงานหนัก ไม่รับเงินเดือน อยู่ข้างประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นต้น 20.8
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกฎหมายที่ต้องการให้มีการแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กฎหมายที่ต้องการให้แก้ไข ค่าร้อยละ
1 กฎหมายให้สวัสดิการประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม 60.3
2 กฎหมายที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทุกคน 58.9
3 กฎหมายยึดทรัพย์นายทุน นักการเมือง ข้าราชการที่ทุจริตคอรัปชั่น 52.1
4 กฎหมายดูแลคุ้มครองเด็กและเยาวชน 42.8
5 กฎหมายลงโทษพวกวิ่งเต้นล็อบบี้ หรือฮั้วกันทางการเมือง 41.0
6 กฎหมายให้ประชาชนครอบครองเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม 22.2
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีสมาชิกสภานิติบัญญัติบางคนจะลาออก หากเห็นว่ามีความไม่
ชอบมาพากลเกิดขึ้นในสภา
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 41.4
2 ไม่เห็นด้วย 10.4
3 ไม่มีความเห็น 48.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อบรรยากาศทางการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 รู้สึกอึดอัด 42.7
2 ไม่รู้สึกอึดอัด 22.8
3 ไม่มีความเห็น 34.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่ระบุรู้สึกอึดอัดได้ให้เหตุผลดังนี้
1. ทำงานล่าช้า ไม่เป็นรูปธรรม
2. มีปัญหามาก/วุ่นวาย
3. ไม่สงบสุข
4. ผู้นำและรัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
5. ไม่เป็นประชาธิปไตย
ฯลฯ
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นว่าประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะทำงานเพื่อให้มีกฎหมายที่จะ
ก่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งประเทศอย่างแท้จริง
ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 35.5
2 ไม่เชื่อมั่น 30.3
3 ไม่มีความเห็น 34.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดปัจจุบันควรรีบคืนอำนาจและจัดการ
เลือกตั้งใหม่
ลำดับที่ ระยะเวลา ค่าร้อยละ
1 น้อยกว่า 6 เดือน 26.2
2 6 เดือนถึง 1 ปี 51.3
3 มากกว่า 1 ปี 22.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-