ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สำรวจความนิยมของ
ประชาชนต่อการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.): กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ” จำนวนตัวอย่างทั้ง
สิ้น 5,192 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 — 9 ธันวาคม 2549
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา แต่เมื่อสอบ
ถามถึงการรับรู้เกี่ยวกับการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกในบางจังหวัด พบว่า ร้อยละ 66.5 ทราบข่าว แต่ร้อยละ 33.5 ไม่ทราบข่าว อย่างไรก็ตาม
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.5 ยอมรับได้กับการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกในบางจังหวัด แต่เกือบ 1 ใน 5 หรือร้อยละ 18.5 ยอมรับไม่ได้ เพราะทำ
ให้รู้สึกว่ารัฐบาลเลือกปฏิบัติ รัฐบาลไม่ให้ความเป็นธรรม รัฐบาลแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เป็นต้น และเมื่อจำแนกออกตามภูมิภาค พบว่าแม้ประชาชนส่วนใหญ่ใน
เกือบทุกภาคหรือร้อยละ 80 ขึ้นไป ยอมรับได้แต่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ที่ยอมรับไม่ได้ประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 24.4 ของ
ตัวอย่างทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.9 ในการสำรวจครั้งนี้ พบว่าสิ่งที่คิดว่ากระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันประชาชนคือการ
เคลื่อนไหวทางการเมืองหรือคลื่นใต้น้ำมากกว่ากฎอัยการศึก ในขณะที่ร้อยละ 9.0 คิดว่าเป็นกฎอัยการศึกที่กระทบต่อชีวิตประจำวันและร้อยละ 31.1
ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนก่ำกึ่งกันคือร้อยละ 50.9 กับร้อยละ 49.1 ที่รู้สึกมั่นใจและไม่มั่นใจต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ
เมื่อมีการยกเลิกกฎอัยการศึกในบางจังหวัด อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความพึงพอใจต่อการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติโดยภาพรวม พบ
ว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.0 รู้สึกค่อนข้างพอใจถึงพอใจต่อการทำงานของ คมช. ในขณะที่ร้อยละ 23.2 รู้สึกไม่ค่อยพอใจถึงไม่พอใจต่อการทำงาน
ของ คมช. และที่เหลือร้อยละ 11.8 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ มีการสอบถามการสนับสนุนของประชาชนต่อพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลินในความพยายาม
แก้ไขปัญหาของประเทศในขณะนี้ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.5 สนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 21.5 ไม่สนับสนุน เมื่อจำแนกตามภูมิภาคพบว่า ภาคใต้
สนับสนุนมากที่สุดคือร้อยละ 92.3 ภาคกลางร้อยละ 83.9 ภาคเหนือร้อยละ 82.4 กรุงเทพมหานครร้อยละ 76.3 ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ร้อยละ 67.7 ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ดูเหมือนจะดีต่อ คมช. แต่ต้องระวังว่ามันอาจเป็นกระแสเทียมที่ผันผวนได้ง่าย เพราะถ้านำข้อมูลผล
สำรวจวิจัยที่ผ่านมาร่วมพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่า ประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมปัญหาต่างๆ ยังคงมี
อยู่เหมือนเดิม กระแสข้อมูลข่าวสารที่ปรากฎและประชาชนส่วนใหญ่กำลังติดตามอยู่ขณะนี้ก็ดูเหมือนว่ารัฐบาลกำลังไปทำอะไรที่ห่างไกลตัวประชาชนเกิน
ไป สิ่งที่เป็นความเดือดร้อนกลับไม่ได้แตะหรือประชาสัมพันธ์ให้ปรากฏมากนัก คมช. น่าจะเร่งทำอะไรบางอย่างเพื่อเป็นการสนับสนุนให้รัฐบาลแก้ปัญหา
เดือดร้อนของชาวบ้านด้วย ถ้าทุกอย่างยังเป็นเช่นนี้คาดว่าเดือนมีนาคมจะเป็นเดือนที่ความร้อนแรงจะเริ่มขึ้นแต่เดือนพฤษภาคมจะเป็น “เดือน
อันตราย” ที่น่ากลัวสำหรับเหตุบ้านการเมืองของประเทศ เพราะมีปัจจัยเชิงสัญญลักษณ์เกี่ยวข้อง 3 ประการคือ ประการแรก “ถ่านไฟเก่า” แห่งความ
นิยมศรัทธาในตัว พ.ต.ท.ทักษิณ จะกลับมา ประการที่สอง “ลมพัดหวน” ที่เป็นกระแสอารมณ์ความรู้สึกต่อต้านรัฐบาลและคมช. จะกระพือทำให้ไฟแห่ง
ความศรัทธาทักษิณลุกโชนขึ้น และประการที่สามคือ “ม่านสีม่วงและสีเทา” ที่จะปลิวว่อนในกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบรับจ้าง
ทางออกของรัฐบาลและคมช. มีอย่างน้อยสองแนวทาง คือ ต้องเร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านให้เร็วเท่าหรือเร็วกว่าการทำ
งานของ คตส. ที่กำลังตรวจสอบเรื่องทุจริตคอรัปชั่นของรัฐบาลทักษิณ เพราะถ้าทำช้ากว่า คตส. ชาวบ้านจะรู้สึกว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่แก้ปัญหาให้ชาวบ้าน
แต่กำลังเอามีดทิ่มแทงหัวใจและความรู้สึกรักศรัทธาต่อ พ.ต.ท.ทักษิณของพวกเขาอีกด้วย ดังนั้นรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ต้องแก้ปัญหาเดือดร้อนของ
ประชาชนโดยไม่ต้องยึดติดกับระบบราชการเพราะการแก้ปัญหาประชาชนต้องเร็วกว่าหรือเหมือนกับที่ พ.ต.ท.ทักษิณเคยทำ พล.อ.สุรยุทธ์ไม่ควรไปทำ
อะไรหรือสร้างภาพอะไรอย่างอื่นนอกจากลงพื้นที่ชุมชนแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านทุกวันเพียงอย่างเดียว และเมื่อทำแล้วต้องบอกให้สาธารณชน
รู้เหมือนที่ พ.ต.ท.ทักษิณใช้วิธีนี้อย่างได้ผลเช่นกัน ผลที่ตามมาก็คือ กระแสที่เกิดขึ้นในการสนับสนุน คมช. และรัฐบาลน่าจะเป็นกระแสเท้ไม่ใช่กระแส
เทียม
รายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจการพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกในบางจังหวัด
3. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สำรวจความนิยมของประชาชนต่อการทำงานของ
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.): กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจใน
ระหว่างวันที่ 1 — 9 ธันวาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ น่าน
พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ชลบุรี ชัยนาท สระแก้ว สุพรรณบุรี ราชบุรี ศรีสะเกษ มหาสารคาม หนองคาย อุบลราชธานี
ตรัง สตูล และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 5,192 คน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาด
เคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 52.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 21—30 ปี
ร้อยละ 24.9 อายุระหว่าง 31—40 ปี
ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 41—50 ปี
และร้อยละ 22.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ด้านสถานภาพ ตัวอย่าง ร้อยละ 59.8 ระบุสถานภาพสมรส
ร้อยละ 33.5 ระบุสถานภาพโสด
และร้อยละ 6.7 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 25.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.2 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 7.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 3.3 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 49.9
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 23.1
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 17.6
4 ไม่ได้ติดตามเลย 9.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบว่ารัฐบาลได้ประกาศยกเลิกกฏอัยการศึกในบางจังหวัด
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบว่ารัฐบาลได้ประกาศยกเลิกกฏอัยการศึกในบางจังหวัด ค่าร้อยละ
1 ทราบ 66.5
2 ไม่ทราบ 33.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับการประกาศยกเลิกกฏอัยการศึกในบางจังหวัด
ลำดับที่ การยอมรับการประกาศยกเลิกกฏอัยการศึกในบางจังหวัด ค่าร้อยละ
1 ยอมรับได้ 81.5
2 ยอมรับไม่ได้ 18.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำหรับเหตุผลที่ยอมรับไม่ได้ เช่น รู้สึกว่ารัฐบาลเลือกปฏิบัติ รัฐบาลไม่ให้ความเป็นธรรม รัฐบาลแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เป็นต้น
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับการประกาศยกเลิกกฏอัยการศึกในบางจังหวัดจำแนกตามภาค
การยอมรับการประกาศยกเลิกกฏอัยการศึกในบางจังหวัด เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1. ยอมรับได้ 80.5 88.8 75.6 82.8 81.0
2. ยอมรับไม่ได้ 19.5 11.2 24.4 17.2 19.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันของตน เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง
กฏอัยการศึก กับคลื่นใต้น้ำ/กลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านและสนับสนุนฝ่ายต่างๆ
ลำดับที่ สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน 3-9 พ.ย.49 ค่าร้อยละ 1-9 ธ.ค.49 ค่าร้อยละ
1 กฎอัยการศึกส่งผลกระทบมากกว่า 9.6 9.0
2 คลื่นใต้น้ำ/กลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านและสนับสนุนฝ่ายต่างๆส่งผลกระทบมากกว่า 43.9 59.9
3 ไม่มีความเห็น 46.5 31.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจในความสงบเรียบร้อยของประเทศเมื่อมีการยกเลิกกฎอัยการศึกในบางจังหวัด
ลำดับที่ ความมั่นใจในความสงบเรียบร้อยของประเทศเมื่อมีการยกเลิกกฎอัยการศึกในบางจังหวัด ค่าร้อยละ
1 มั่นใจมากที่สุด 7.4
2 มาก 18.2
3 ค่อนข้างมาก 25.3
4 ค่อนข้างน้อย 21.6
5 น้อย 7.2
6 ไม่มั่นใจเลย 20.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติโดยภาพรวม
ลำดับที่ ความพอใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 พอใจ 26.9
2 ค่อนข้างพอใจ 38.1
3 ไม่ค่อยพอใจ 12.8
4 ไม่พอใจ 10.4
5 ไม่มีความเห็น 11.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน พลเอกสนธิ บุญยรัตกลินในความพยายามแก้ไขปัญหา
ของประเทศในขณะนี้
ลำดับที่ การสนับสนุน พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 78.5
2 ไม่สนับสนุน 21.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน พลเอกสนธิ บุญยรัตกลินในความพยายาม
แก้ไขปัญหาของประเทศในขณะนี้จำแนกตามภาค
การสนับสนุน พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1. สนับสนุน 82.4 83.9 67.7 92.3 76.3
2. ไม่สนับสนุน 17.6 16.1 32.3 7.7 23.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ประชาชนต่อการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.): กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ” จำนวนตัวอย่างทั้ง
สิ้น 5,192 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 — 9 ธันวาคม 2549
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา แต่เมื่อสอบ
ถามถึงการรับรู้เกี่ยวกับการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกในบางจังหวัด พบว่า ร้อยละ 66.5 ทราบข่าว แต่ร้อยละ 33.5 ไม่ทราบข่าว อย่างไรก็ตาม
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.5 ยอมรับได้กับการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกในบางจังหวัด แต่เกือบ 1 ใน 5 หรือร้อยละ 18.5 ยอมรับไม่ได้ เพราะทำ
ให้รู้สึกว่ารัฐบาลเลือกปฏิบัติ รัฐบาลไม่ให้ความเป็นธรรม รัฐบาลแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เป็นต้น และเมื่อจำแนกออกตามภูมิภาค พบว่าแม้ประชาชนส่วนใหญ่ใน
เกือบทุกภาคหรือร้อยละ 80 ขึ้นไป ยอมรับได้แต่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ที่ยอมรับไม่ได้ประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 24.4 ของ
ตัวอย่างทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.9 ในการสำรวจครั้งนี้ พบว่าสิ่งที่คิดว่ากระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันประชาชนคือการ
เคลื่อนไหวทางการเมืองหรือคลื่นใต้น้ำมากกว่ากฎอัยการศึก ในขณะที่ร้อยละ 9.0 คิดว่าเป็นกฎอัยการศึกที่กระทบต่อชีวิตประจำวันและร้อยละ 31.1
ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนก่ำกึ่งกันคือร้อยละ 50.9 กับร้อยละ 49.1 ที่รู้สึกมั่นใจและไม่มั่นใจต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ
เมื่อมีการยกเลิกกฎอัยการศึกในบางจังหวัด อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความพึงพอใจต่อการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติโดยภาพรวม พบ
ว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.0 รู้สึกค่อนข้างพอใจถึงพอใจต่อการทำงานของ คมช. ในขณะที่ร้อยละ 23.2 รู้สึกไม่ค่อยพอใจถึงไม่พอใจต่อการทำงาน
ของ คมช. และที่เหลือร้อยละ 11.8 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ มีการสอบถามการสนับสนุนของประชาชนต่อพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลินในความพยายาม
แก้ไขปัญหาของประเทศในขณะนี้ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.5 สนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 21.5 ไม่สนับสนุน เมื่อจำแนกตามภูมิภาคพบว่า ภาคใต้
สนับสนุนมากที่สุดคือร้อยละ 92.3 ภาคกลางร้อยละ 83.9 ภาคเหนือร้อยละ 82.4 กรุงเทพมหานครร้อยละ 76.3 ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ร้อยละ 67.7 ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ดูเหมือนจะดีต่อ คมช. แต่ต้องระวังว่ามันอาจเป็นกระแสเทียมที่ผันผวนได้ง่าย เพราะถ้านำข้อมูลผล
สำรวจวิจัยที่ผ่านมาร่วมพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่า ประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมปัญหาต่างๆ ยังคงมี
อยู่เหมือนเดิม กระแสข้อมูลข่าวสารที่ปรากฎและประชาชนส่วนใหญ่กำลังติดตามอยู่ขณะนี้ก็ดูเหมือนว่ารัฐบาลกำลังไปทำอะไรที่ห่างไกลตัวประชาชนเกิน
ไป สิ่งที่เป็นความเดือดร้อนกลับไม่ได้แตะหรือประชาสัมพันธ์ให้ปรากฏมากนัก คมช. น่าจะเร่งทำอะไรบางอย่างเพื่อเป็นการสนับสนุนให้รัฐบาลแก้ปัญหา
เดือดร้อนของชาวบ้านด้วย ถ้าทุกอย่างยังเป็นเช่นนี้คาดว่าเดือนมีนาคมจะเป็นเดือนที่ความร้อนแรงจะเริ่มขึ้นแต่เดือนพฤษภาคมจะเป็น “เดือน
อันตราย” ที่น่ากลัวสำหรับเหตุบ้านการเมืองของประเทศ เพราะมีปัจจัยเชิงสัญญลักษณ์เกี่ยวข้อง 3 ประการคือ ประการแรก “ถ่านไฟเก่า” แห่งความ
นิยมศรัทธาในตัว พ.ต.ท.ทักษิณ จะกลับมา ประการที่สอง “ลมพัดหวน” ที่เป็นกระแสอารมณ์ความรู้สึกต่อต้านรัฐบาลและคมช. จะกระพือทำให้ไฟแห่ง
ความศรัทธาทักษิณลุกโชนขึ้น และประการที่สามคือ “ม่านสีม่วงและสีเทา” ที่จะปลิวว่อนในกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบรับจ้าง
ทางออกของรัฐบาลและคมช. มีอย่างน้อยสองแนวทาง คือ ต้องเร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านให้เร็วเท่าหรือเร็วกว่าการทำ
งานของ คตส. ที่กำลังตรวจสอบเรื่องทุจริตคอรัปชั่นของรัฐบาลทักษิณ เพราะถ้าทำช้ากว่า คตส. ชาวบ้านจะรู้สึกว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่แก้ปัญหาให้ชาวบ้าน
แต่กำลังเอามีดทิ่มแทงหัวใจและความรู้สึกรักศรัทธาต่อ พ.ต.ท.ทักษิณของพวกเขาอีกด้วย ดังนั้นรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ต้องแก้ปัญหาเดือดร้อนของ
ประชาชนโดยไม่ต้องยึดติดกับระบบราชการเพราะการแก้ปัญหาประชาชนต้องเร็วกว่าหรือเหมือนกับที่ พ.ต.ท.ทักษิณเคยทำ พล.อ.สุรยุทธ์ไม่ควรไปทำ
อะไรหรือสร้างภาพอะไรอย่างอื่นนอกจากลงพื้นที่ชุมชนแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านทุกวันเพียงอย่างเดียว และเมื่อทำแล้วต้องบอกให้สาธารณชน
รู้เหมือนที่ พ.ต.ท.ทักษิณใช้วิธีนี้อย่างได้ผลเช่นกัน ผลที่ตามมาก็คือ กระแสที่เกิดขึ้นในการสนับสนุน คมช. และรัฐบาลน่าจะเป็นกระแสเท้ไม่ใช่กระแส
เทียม
รายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจการพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกในบางจังหวัด
3. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สำรวจความนิยมของประชาชนต่อการทำงานของ
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.): กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจใน
ระหว่างวันที่ 1 — 9 ธันวาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ น่าน
พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ชลบุรี ชัยนาท สระแก้ว สุพรรณบุรี ราชบุรี ศรีสะเกษ มหาสารคาม หนองคาย อุบลราชธานี
ตรัง สตูล และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 5,192 คน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาด
เคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 52.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 21—30 ปี
ร้อยละ 24.9 อายุระหว่าง 31—40 ปี
ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 41—50 ปี
และร้อยละ 22.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ด้านสถานภาพ ตัวอย่าง ร้อยละ 59.8 ระบุสถานภาพสมรส
ร้อยละ 33.5 ระบุสถานภาพโสด
และร้อยละ 6.7 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 25.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.2 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 7.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 3.3 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 49.9
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 23.1
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 17.6
4 ไม่ได้ติดตามเลย 9.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบว่ารัฐบาลได้ประกาศยกเลิกกฏอัยการศึกในบางจังหวัด
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบว่ารัฐบาลได้ประกาศยกเลิกกฏอัยการศึกในบางจังหวัด ค่าร้อยละ
1 ทราบ 66.5
2 ไม่ทราบ 33.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับการประกาศยกเลิกกฏอัยการศึกในบางจังหวัด
ลำดับที่ การยอมรับการประกาศยกเลิกกฏอัยการศึกในบางจังหวัด ค่าร้อยละ
1 ยอมรับได้ 81.5
2 ยอมรับไม่ได้ 18.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำหรับเหตุผลที่ยอมรับไม่ได้ เช่น รู้สึกว่ารัฐบาลเลือกปฏิบัติ รัฐบาลไม่ให้ความเป็นธรรม รัฐบาลแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เป็นต้น
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับการประกาศยกเลิกกฏอัยการศึกในบางจังหวัดจำแนกตามภาค
การยอมรับการประกาศยกเลิกกฏอัยการศึกในบางจังหวัด เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1. ยอมรับได้ 80.5 88.8 75.6 82.8 81.0
2. ยอมรับไม่ได้ 19.5 11.2 24.4 17.2 19.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันของตน เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง
กฏอัยการศึก กับคลื่นใต้น้ำ/กลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านและสนับสนุนฝ่ายต่างๆ
ลำดับที่ สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน 3-9 พ.ย.49 ค่าร้อยละ 1-9 ธ.ค.49 ค่าร้อยละ
1 กฎอัยการศึกส่งผลกระทบมากกว่า 9.6 9.0
2 คลื่นใต้น้ำ/กลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านและสนับสนุนฝ่ายต่างๆส่งผลกระทบมากกว่า 43.9 59.9
3 ไม่มีความเห็น 46.5 31.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจในความสงบเรียบร้อยของประเทศเมื่อมีการยกเลิกกฎอัยการศึกในบางจังหวัด
ลำดับที่ ความมั่นใจในความสงบเรียบร้อยของประเทศเมื่อมีการยกเลิกกฎอัยการศึกในบางจังหวัด ค่าร้อยละ
1 มั่นใจมากที่สุด 7.4
2 มาก 18.2
3 ค่อนข้างมาก 25.3
4 ค่อนข้างน้อย 21.6
5 น้อย 7.2
6 ไม่มั่นใจเลย 20.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติโดยภาพรวม
ลำดับที่ ความพอใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 พอใจ 26.9
2 ค่อนข้างพอใจ 38.1
3 ไม่ค่อยพอใจ 12.8
4 ไม่พอใจ 10.4
5 ไม่มีความเห็น 11.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน พลเอกสนธิ บุญยรัตกลินในความพยายามแก้ไขปัญหา
ของประเทศในขณะนี้
ลำดับที่ การสนับสนุน พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 78.5
2 ไม่สนับสนุน 21.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน พลเอกสนธิ บุญยรัตกลินในความพยายาม
แก้ไขปัญหาของประเทศในขณะนี้จำแนกตามภาค
การสนับสนุน พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1. สนับสนุน 82.4 83.9 67.7 92.3 76.3
2. ไม่สนับสนุน 17.6 16.1 32.3 7.7 23.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-