เอแบคโพลล์: จุดยืนทางความคิดของสาธารณชนต่อความขัดแย้งระหว่างฝ่ายการเมือง กับ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ในบทบาทการทำงานและการแต่งตั้งโยกย้าย

ข่าวผลสำรวจ Monday August 10, 2009 07:34 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการ สำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำ การสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจ เรื่อง จุดยืนทาง ความคิดของสาธารณชนต่อความขัดแย้งระหว่างฝ่ายการเมือง กับ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ในบทบาทการทำงานและการแต่งตั้งโยกย้าย ตำรวจ: กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ กาญจนบุรี เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู พัทลุง ระนอง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,441 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 7 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา พบว่า

ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.2 ยังเชื่อว่ามีตำรวจฝีมือดีทำงานจริงจังเพื่อแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน รองลงมาคือ ร้อยละ 76.7 เชื่อว่าการเมืองกดดันให้ตำรวจเลือกปฏิบัติทำคดีต่อกลุ่มการเมืองที่อยู่คนละขั้ว ร้อยละ 74.9 เชื่อว่ามีขบวนการทำลายล้างแก้แค้นกันในวงการ ตำรวจด้วยกันเอง ร้อยละ 72.9 เชื่อว่ามีการซื้อขายตำแหน่งในการโยกย้ายตำรวจ ผ่านคนในรัฐบาล ร้อยละ 70.8 เชื่อว่ามีตำรวจบางนายเลือก ปฏิบัติทำคดีต่อกลุ่มการเมืองที่อยู่คนละขั้วเพื่อเอาใจฝ่ายการเมือง ร้อยละ 68.5 เชื่อว่ามีการซื้อขายตำแหน่งในการโยกย้ายตำรวจ ผ่านนายตำรวจ ระดับสูง และมีเพียงร้อยละ 38.3 ที่เชื่อว่าการไปต่างประเทศของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจะช่วยลดปัญหาขัดแย้งระหว่างฝ่ายการเมืองกับตำรวจ ลงได้

ที่น่าพิจารณาคือ ผลการประเมินคะแนนที่ประชาชนมีให้ต่อประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจ แห่งชาติ เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า คะแนนที่ได้สูงสุดคือ 7.23 ได้แก่ ความอดทนต่อแรงกดดันจากฝ่ายการเมืองในทุกรัฐบาลที่ผ่านมา รองลง มาคือเรื่อง ประนีประนอม ลดความขัดแย้งในสังคม ได้ 7.09 คะแนน ในขณะที่เรื่องการดูแลควบคุมการชุมนุมประท้วงได้ 6.71 คะแนน ความเห็น ใจของประชาชนต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้ 6.65 คะแนนและการดูแลให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสร้างผลงานติดตามจับกุมคนร้ายได้ 6.08 คะแนน

ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.4 ระบุนักการเมืองคือผู้ที่ได้รับประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ร้อยละ 76.4 ระบุตำรวจชั้นผู้ใหญ่ได้ประโยชน์ ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 27.1 และร้อยละ 21.4 ระบุตำรวจชั้นผู้น้อย และประชาชนทั่วไปได้ประโยชน์

ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.8 แสดงจุดยืนทางความคิดต้องการให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เร่งสร้างระบบคุณธรรม แก้ปัญหา ตำรวจ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 82.1 ต้องการให้ลดปัญหาขัดแย้ง ให้ทุกฝ่ายพอใจ จบลงด้วยดีร้อยละ 74.4 จัดตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นปฏิรูประบบ งานตำรวจครั้งใหญ่ และร้อยละ 63.2 ต้องการให้ร่วมกันกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และ พล.ต.อ.พัชรวาท เร่งสร้างผลงานในเวลาที่เหลืออยู่

นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.6 ยังแสดงความกังวลต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าอาจพลาดพลั้งในการตัดสินใจเพราะ คนใกล้ชิดรอบข้างเหมือนอดีตนายกรัฐมนตรีที่ผ่านๆ มา และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.3 ยังคงให้กำลังใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แก้ไขปัญหาสำคัญๆ ของประเทศต่อไป

ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาในองค์กรตำรวจที่เกิดขึ้นมีสาเหตุหลักอยู่ที่ฝ่ายการเมืองเข้าแทรกแซง กดดันและ ตำรวจชั้นผู้ใหญ่บางคนก็เอาใจฝ่ายการเมืองเพื่อหวังในความเติบโตก้าวหน้าของตนเองจนอาจลืมภาพลักษณ์ของสถาบันตำรวจโดยรวมไป การเปลี่ยน แปลงองค์กรตำรวจแต่ละครั้ง ตำรวจชั้นผู้น้อยกับประชาชนทั่วไปแทบจะไม่ได้ประโยชน์ แต่มักจะเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของฝ่ายการเมืองและตำรวจชั้น ผู้ใหญ่

“ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจยังมีเวลาเพียงพอที่นายกรัฐมนตรีจะตั้งหลักและหาทางจบลงด้วยดีได้ เพราะสาธารณชนส่วนใหญ่ยังต้องการให้กำลังใจ นายกรัฐมนตรีทำงานต่อไป ท่ามกลางความกังวลว่าอาจพลาดพลั้งเพราะคนใกล้ชิดรอบข้างเหมือนอดีตนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมา ทางออกมีอย่างน้อยสอง ประการ คือ ประการแรก นายกรัฐมนตรีต้องแสดงภาวะความเป็นผู้นำ ที่ตัดสินใจด้วยข้อมูลครบถ้วนรอบด้าน กับการถ่วงน้ำหนักแหล่งที่มาของ ข้อมูล และสื่อสารที่ดีต่อผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจที่มีความเป็นตัวของตัวเอง ประการที่สอง ตำรวจและประชาชนต้องลุกขึ้นมาปกป้อง สถาบันตำรวจที่เป็นสถาบันหลักสำคัญแห่งหนึ่งด้านความมั่นคงของประเทศ” ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าว

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 54.2 เป็นหญิง

ร้อยละ 45.8 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 4.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 22.2 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 26.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 73.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 24.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 30.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 27.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 16.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.7 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 5.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตำรวจในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ความเชื่อต่อภาพลักษณ์ของตำรวจ                                                              ค่าร้อยละ
1      ยังคงมีตำรวจฝีมือดีทำงานจริงจังเพื่อแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน                                             91.2
2      การเมืองกดดันให้ตำรวจเลือกปฏิบัติทำคดีต่อกลุ่มการเมืองที่อยู่คนละขั้ว                                            76.7
3      มีขบวนการทำลายล้างแก้แค้นกันในวงการตำรวจด้วยกันเอง                                                    74.9
4      มีการซื้อขายตำแหน่งในการโยกย้ายตำรวจ ผ่านคนในรัฐบาล                                                   72.9
5      มีตำรวจบางนายเลือกปฏิบัติทำคดีต่อกลุ่มการเมืองที่อยู่คนละขั้ว เพื่อเอาใจฝ่ายการเมือง                               70.8
6      มีการซื้อขายตำแหน่งในการโยกย้ายตำรวจ ผ่านนายตำรวจระดับสูง                                              68.5
7      การลาไปราชการต่างประเทศของ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จะช่วยแก้ปัญหาขัดแย้งระหว่าง ฝ่ายการเมืองกับตำรวจลดลงได้   38.3

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คะแนนที่ให้ต่อประเด็นต่างๆ ของ พล.ต.อ.พัชรวาท  วงษ์สุวรรณ
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่          ประเด็น                                          ค่าเฉลี่ยจากเต็ม 10 คะแนน
1          อดทนต่อแรงกดดันจากฝ่ายการเมืองในทุกรัฐบาลที่ผ่านมา                    7.23
2          ประนีประนอม ลดความขัดแย้งในสังคม                                 7.09
3          ดูแลควบคุมการชุมนุมประท้วง                                        6.71
4          ความเห็นใจของประชาชนต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ                     6.65
5          ดูแลให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสร้างผลงานติดตามจับกุมคนร้าย                      6.08

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่คิดว่าได้รับประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายข้าราชการตำรวจ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          บุคคลที่คิดว่าได้รับประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายข้าราชการตำรวจ          ค่าร้อยละ
1          นักการเมือง                                                            77.4
2          ตำรวจชั้นผู้ใหญ่                                                          76.4
3          ตำรวจชั้นผู้น้อย                                                          27.1
4          ประชาชนทั่วไป                                                          21.4

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จุดยืนทางความคิดต่อปัญหาตำรวจที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
ควรแก้ไข(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ปัญหาตำรวจที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีที่ควรแก้ไข                                ค่าร้อยละ
1          เร่งสร้างระบบคุณธรรม ให้ความดีความชอบแก่ตำรวจที่ดี  มีผลงาน                                    82.8
2          ลดปัญหาขัดแย้ง  ให้ทุกฝ่ายพอใจ  จบลงด้วยดี                                                   82.1
3          จัดตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นปฏิรูประบบงานตำรวจครั้งใหญ่ (ปรับปรุงองค์กรใหม่ทั้งหมด)                     74.4
4          ร่วมกันกับ นายสุเทพ  เทือกสุบรรณ  และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  เร่งสร้างผลงานในเวลาที่เหลืออยู่        63.2

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ว่าอาจพลาดพลั้งในการตัดสินใจ

เพราะคนใกล้ชิดรอบข้างเหมือนอดีตนายกรัฐมนตรี

ลำดับที่          ความรู้สึก            ค่าร้อยละ
1          กังวล                     69.6
2          ไม่กังวล                   30.4
          รวมทั้งสิ้น                  100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาสำคัญๆ ของประเทศ
ลำดับที่          ความรู้สึก            ค่าร้อยละ
1          อยากให้กำลังใจ             73.3
2          ไม่รู้สึกเช่นนั้น               26.7
          รวมทั้งสิ้น                  100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ