ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรถ้าไม่มีการ
รีดไถ ไม่มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นและนโยบายสังคมของรัฐบาลชุดปัจจุบัน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปใน
กรุงเทพมหานครและ 4 จังหวัดใหญ่ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,538 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 13 — 14 ตุลาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 80 ขึ้นไปยังคงให้ความสนใจติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ในช่วง 30
วันที่ผ่านมา และเมื่อสอบถามถึงสิ่งที่ประชาชนจะได้รับ ถ้ารัฐบาล หน่วยงานราชการ ข้าราชการ และองค์กรต่างๆ ไม่มีการรีดไถ ไม่มีปัญหาทุจริต
คอรัปชั่น ซึ่งพบว่า ด้านค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่คาดว่าจะลดลง ได้แก่ประชาชนร้อยละ 52.1 ระบุเป็นค่าเชื้อเพลิงและพลังงาน เช่นน้ำมัน ก๊าซหุ้ง
ต้ม รองลงมาคือร้อยละ 45.3 ระบุค่าโดยสารรถประจำทาง รถไฟฟ้า ค่าพาหนะต่างๆ ร้อยละ 36.2 ระบุค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ร้อย
ละ 35.6 ระบุค่าสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ของกิน ของใช้ต่างๆ ร้อยละ 32.6 ระบุค่าใช้จ่ายทางการศึกษา ร้อยละ 30.8 ระบุค่ารักษาพยาบาล
และร้อยละ 25.3 ระบุค่าใช้จ่ายด้านบันเทิง พักผ่อนหย่อนใจตามสถานบันเทิงและสวนอาหารต่างๆ
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าคุณภาพชีวิตและสวัสดิการของประชาชนจะดีขึ้นและทั่วถึง ถ้าไม่มีการรีดไถ ไม่มีปัญหาทุจริต
คอรัปชั่น ได้แก่ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.4 คิดว่าสภาพถนนหนทาง สะพาน ทางข้าม น่าจะดีขึ้น ร้อยละ 87.4 เช่นกันคิดว่าคุณภาพบริการน้ำประปา
ไฟฟ้า โทรศัพท์น่าจะดีขึ้นและทั่วถึง ร้อยละ 86.4 คิดว่าเป็นเรื่องคุณภาพสินค้าอุปโภคบริโภค ร้อยละ 82.8 คิดว่าเป็นคุณภาพการรักษาพยาบาลจะดีขึ้น
และทั่วถึง ร้อยละ 78.9 คิดว่าเป็นคุณภาพบริการรถประจำทาง รถไฟฟ้า ร้อยละ 78.9 เช่นกันคิดว่าเป็นเรื่องความรวดเร็วในการได้รับบริการจาก
ทางราชการและองค์กรต่างๆ ร้อยละ 78.2 คิดว่าเป็นเรื่องความเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ ร้อยละ 77.5 คิดว่าเป็นเรื่องคุณภาพการศึกษาจะดี
ขึ้น และร้อยละ 75.1 คิดว่าเป็นเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจะดีขึ้นและทั่วถึง
เมื่อสอบถามถึงแนวนโยบายด้านสังคมของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่มีการเผยแพร่เบื้องต้นสู่สาธารณชนแล้ว พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
75.0 เห็นด้วยกับแนวคิดแนวนโยบายรักษาฟรีทุกโรค เพราะจะได้เป็นที่พึ่งของคนรายได้น้อย ช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชน คนรายได้น้อยมีโอกาส
เข้าถึงการรักษาบ้าง และทำให้คุณภาพชีวิตของคนรายได้น้อยดีขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 16.5 ไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าจะไม่มีคุณภาพ
รัฐบาลอาจทำได้ไม่ตลอด และเกรงว่าจะไม่รักษาฟรีจริงอย่างที่ประกาศ เป็นต้น
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.7 เห็นด้วยกับนโยบายห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะคิดว่าเป็น
โฆษณาที่ชี้ชวนมอมเมาประชาชน ไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ไม่กระตุ้นให้เกิดความอยากสำหรับคนที่อยากจะเลิก และน่าจะช่วยลดจำนวนคนดื่ม
หน้าใหม่เข้ามาได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 19.1 ไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าอยู่ที่ตัวบุคคลมากกว่า เป็นการปิดกั้นด้านการค้า ผู้ประกอบการอาจได้รับ
ผลกระทบ คิดว่าน่าจะมีทางอื่นที่ดีกว่า เป็นต้น
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.8 เห็นด้วยต่อมาตรการห้ามเปิดร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรัศมี 500 เมตรรอบ
สถานศึกษา เพราะเป็นสิ่งยั่วยุเยาวชน และเป็นห่วงบุตรหลาน ในขณะที่เพียงร้อยละ 8.8 เท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าไม่มีผล และที่เหลือร้อย
ละ 12.4 ไม่มีความเห็น
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.6 เห็นด้วยต่อมาตรการห้ามเปิดสถานบันเทิงในรัศมี 500 เมตรรอบสถานศึกษา เพราะเป็นสิ่งยั่วยุ
เยาวชน ไม่เหมาะสม ทำให้เด็กเยาวชนอยากทดลอง กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เป็นแหล่งมั่วสุม เสียภาพลักษณ์ของสถาบันที่มีสิ่งกระตุ้น
มอมเมาเยาวชน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 7.3 ไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าไม่มีผลต่อตัวเด็ก มั่นใจบุตรหลานของตน และร้อยละ 14.1 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงความเหมาะสมของการติดภาพโฆษณาเหล้า เบียร์ ไวน์ บนบิลบอร์ด อาคารสูงต่างๆ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
55.2 เห็นว่าไม่เหมาะสม เพราะเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดี กระตุ้นให้เกิดความอยาก เป็นสิ่งฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นและควรติดภาพที่เหมาะสมกว่า ใน
ขณะที่ร้อยละ 15.5 เห็นว่าเหมาะสม เพราะเป็นเรื่องการทำธุรกิจ และร้อยละ 29.3 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า นโยบายด้านสังคมบางส่วนที่ประกาศออกมาโดยรัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังได้รับความสนใจจากสาธารณชนที่เฝ้าติดตาม
ข่าวสารทางการเมืองว่าจะออกมาในลักษณะของการเอาจริงเอาจังอย่างต่อเนื่องมากน้อยเพียงไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวนโยบายที่จะแก้ปัญหาทุจริต
คอรัปชั่นในสังคมไทยกำลังสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่คาดหวังว่าคุณภาพชีวิตและสวัสดิการต่างๆ ของประชาชนจะดี
ขึ้นทุกตัว
“ถ้าสังคมไทยใสสะอาดอย่างแท้จริงแล้วน่าจะช่วยทำให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุข การใช้ชีวิตบนความพอเพียงและความเข้มแข็งในหมู่
ประชาชนเป็นไปได้มากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ถูกมองจากประชาชนด้วยความเคลือบแคลงสงสัยถึงความไม่ชอบมาพากลในการเปิดประมูล
โครงการต่างๆ ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันและข้าราชการควรต้องปฏิรูปตัวเองอย่างแท้จริงก่อน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนว่านโยบายแก้
ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นและนโยบายทางสังคมของรัฐบาลจะไม่เป็นเพียงการสร้างภาพเพื่อมุ่งหวังการสนับสนุนจากสาธารณชนในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของ
วิกฤตการเมืองเท่านั้น” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ
ประการแรก ขบวนการทุจริตคอรัปชั่นที่มีทุนและกำลังมากอาจปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการทำงานจากการเข้าหากลุ่มอำนาจส่วนกลาง มา
เข้าหากลุ่มอำนาจในท้องถิ่นแทน เพราะสาธารณชนทั่วไปอาจมองว่าคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่น่าจะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับขบวนการทุจริต
คอรัปชั่นได้ และรัฐบาลชุดนี้มีเวลาเพียงปีเดียวคงไม่พอที่จะดำเนินการกับกลุ่มอำนาจท้องถิ่น
ประการที่สอง เมื่อรัฐบาลชุดนี้หมดวาระไป รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ต้องอาศัยการสนับสนุนของแกนนำชุมชนท้องถิ่นและกลุ่มนายทุน
เป็นส่วนใหญ่คงไม่กล้าสานต่อนโยบายเข้มด้านสังคมของรัฐบาลชุดนี้ ผลที่ตามมาคือ
ประการที่สาม ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น การแทรกแซงสื่อมวลชน การแทรกแซงองค์กรอิสระ วิกฤตการเมือง การทำรัฐประหารยึดอำนาจ
และการเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ของประชาธิปไตยแบบไทยๆ ก็วนเวียนซ้ำซากอยู่อย่างนี้ตลอดไป
ดังนั้นน่าจะมีกฎหมายแก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นแบบเข้มข้นต่อเนื่องที่สามารถเอาผิดลงโทษบรรดานายทุน ข้าราชการ นักการเมืองได้
เพียงแต่มีเหตุหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าทุจริตคอรัปชั่น เช่นมีการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น และควรมีกฎหมายและมาตรการอื่นๆ
ในการสร้างระบบสังคมที่ “ปลอดการล็อบบี้และการฮั้วทางการเมือง” ในประเทศไทย
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองภายหลังการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายสาธารณะของรัฐบาลชุดใหม่
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรถ้าไม่มีการรีดไถ ไม่มีปัญหา
ทุจริตคอรัปชั่นและนโยบายสังคมของรัฐบาลชุดปัจจุบัน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานคร
และ 4 จังหวัดใหญ่ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และสงขลา รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,538 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 13-
14 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,538 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บ
รวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณ
ทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 11.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.9 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
นอกจากนี้ยังพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.5 เป็นคนโสด
ร้อยละ 48.8 ระบุสมรสแล้ว
และร้อยละ 5.7 ระบุม่าย/หย่า/แยกกันอยู่
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 25.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 25.7 ระบุอาชีพรับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 17.6 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.0 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.4 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 2.5 ระบุว่างงาน
และเมื่อพิจารณารายได้ส่วนตัวต่อเดือนของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 16.9 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 36.1 ระบุรายได้ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 8.7 ระบุรายได้ 10,001-15,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 8.3 ระบุรายได้ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 30.0 ระบุรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 61.1
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 14.7
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 9.2
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 11.5
5 ไม่ได้ติดตามเลย 3.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ หมวดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่คาดว่าจะลดลง ถ้ารัฐบาล หน่วยงานราชการ
ข้าราชการ หรือองค์กรต่างๆ ไม่มีการรีดไถ ไม่มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
ลำดับที่ หมวดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่คาดว่าจะลดลง ค่าร้อยละ
1 ค่าเชื้อเพลิงและพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม 52.1
2 ค่าโดยสารรถประจำทาง / รถไฟฟ้า / ค่าโดยสารยานพาหนะต่างๆ 45.3
3 ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ 36.2
4 ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ของกิน ของใช้ต่างๆ 35.6
5 ค่าใช้จ่ายทางการศึกษา 32.6
6 ค่ารักษาพยาบาล 30.8
7 ค่าใช้จ่ายด้านบันเทิง พักผ่อนหย่อนใจ ตามสถานบันเทิงและสวนอาหารต่างๆ 25.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คุณภาพชีวิตและสวัสดิการของประชาชนที่คาดว่าจะดีขึ้น ถ้ารัฐบาล หน่วยงาน
ราชการ ข้าราชการหรือองค์กรต่างๆ ไม่มีการรีดไถ ไม่มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
ลำดับที่ คุณภาพชีวิตและสวัสดิการของประชาชนที่คาดว่าจะดีขึ้น ค่าร้อยละ
1 สภาพถนนหนทาง สะพานทางข้าม 87.4
2 คุณภาพของการบริการน้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ 87.4
3 คุณภาพของสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ของกิน ของใช้ต่างๆ 86.4
4 คุณภาพของการรักษาพยาบาล 82.8
5 คุณภาพของการบริการรถประจำทาง รถไฟฟ้า ยานพาหนะ 78.9
6 ความรวดเร็วในการได้รับบริการจากทางราชการ/องค์กรต่างๆ 78.9
7 ความเท่าเทียมกันในการได้รับบริการจากทางราชการ โดยไม่เลือกปฏิบัติ 78.2
8 คุณภาพของการศึกษา 77.5
9 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 75.1
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายรักษาฟรีทุกโรค
ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายรักษาฟรีทุกโรค ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ...จะได้เป็นที่พึ่งของคนรายได้น้อย /ลดค่าใช้จ่ายของประชาชน/
คนรายได้น้อยจะได้มีโอกาสรักษาบ้าง /ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นต้น 75.0
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ... เกรงว่าจะไม่มีคุณภาพ/รัฐบาลอาจจะทำได้ไม่ตลอด
เพราะไม่มีงบประมาณ /กลัวว่าจะไม่ได้รักษาฟรีจริงอย่างที่ประกาศ เป็นต้น 16.5
3 ไม่มีความเห็น 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อนโยบายการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ตลอด 24 ชั่วโมง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ...ไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ไม่กระตุ้นให้เกิดความอยากสำหรับคน
ที่อยากจะเลิก และน่าจะช่วยลดจำนวนคนดื่มหน้าใหม่เข้ามาได้บ้าง 65.7
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ...คิดว่าอยู่ที่ตัวบุคคลมากกว่า เป็นการปิดกั้นด้านการค้าผู้ประกอบการ
อาจได้รับผลกระทบ คิดว่าน่าจะมีทางอื่นที่ดีกว่า เป็นต้น 19.1
3 ไม่มีความเห็น 15.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อมาตรการห้ามเปิดร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ในรัศมี
500 เมตรรอบสถานศึกษา
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ...เป็นสิ่งยั่วยุเยาวชน /เป็นห่วงบุตรหลาน 78.8
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ..ไม่คิดว่าจะมีผลกระทบ/อยู่ที่การดูแลของครูอาจารย์/ผู้ปกครอง 8.8
3 ไม่มีความเห็น 12.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อมาตรการห้ามเปิดสถานบันเทิงในรัศมี 500 เมตรรอบสถานศึกษา
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ...เป็นสิ่งยั่วยุเยาวชน/ไม่เหมาะสม/ทำให้เด็กและเยาวชน
เกิดการอยากทดลอง/กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม /เป็นแหล่งมั่วสุม /
เสียภาพลักษณ์ของสถาบันมอมเมาเยาวชน เป็นต้น 78.6
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ...ไม่มีผลและ มั่นใจในบุตรหลานของตน 7.3
3 ไม่มีความเห็น 14.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเหมาะสมของการติดภาพโฆษณา เหล้า เบียร์ ไวน์ บนบิลบอร์ด/อาคารสูงต่างๆ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เหมาะสม เพราะ...เป็นเรื่องการทำธุรกิจ/น่าจะดีกว่าโฆษณาตามสื่ออื่นๆ /
เป็นแค่การส่งเสริมการขายไม่เกี่ยวกับการดื่ม-ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ เป็นต้น 15.5
2 ไม่เหมาะสม เพราะ...เป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดี/ควรติดภาพที่เหมาะสมกว่า/
เป็นการกระตุ้นให้ติดสิ่งมึนเมา/ กระตุ้นให้เกิดความอยาก/ เป็นสิ่งฟุ่มเฟือย เป็นต้น 55.2
3 ไม่มีความเห็น 29.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
รีดไถ ไม่มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นและนโยบายสังคมของรัฐบาลชุดปัจจุบัน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปใน
กรุงเทพมหานครและ 4 จังหวัดใหญ่ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,538 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 13 — 14 ตุลาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 80 ขึ้นไปยังคงให้ความสนใจติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ในช่วง 30
วันที่ผ่านมา และเมื่อสอบถามถึงสิ่งที่ประชาชนจะได้รับ ถ้ารัฐบาล หน่วยงานราชการ ข้าราชการ และองค์กรต่างๆ ไม่มีการรีดไถ ไม่มีปัญหาทุจริต
คอรัปชั่น ซึ่งพบว่า ด้านค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่คาดว่าจะลดลง ได้แก่ประชาชนร้อยละ 52.1 ระบุเป็นค่าเชื้อเพลิงและพลังงาน เช่นน้ำมัน ก๊าซหุ้ง
ต้ม รองลงมาคือร้อยละ 45.3 ระบุค่าโดยสารรถประจำทาง รถไฟฟ้า ค่าพาหนะต่างๆ ร้อยละ 36.2 ระบุค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ร้อย
ละ 35.6 ระบุค่าสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ของกิน ของใช้ต่างๆ ร้อยละ 32.6 ระบุค่าใช้จ่ายทางการศึกษา ร้อยละ 30.8 ระบุค่ารักษาพยาบาล
และร้อยละ 25.3 ระบุค่าใช้จ่ายด้านบันเทิง พักผ่อนหย่อนใจตามสถานบันเทิงและสวนอาหารต่างๆ
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าคุณภาพชีวิตและสวัสดิการของประชาชนจะดีขึ้นและทั่วถึง ถ้าไม่มีการรีดไถ ไม่มีปัญหาทุจริต
คอรัปชั่น ได้แก่ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.4 คิดว่าสภาพถนนหนทาง สะพาน ทางข้าม น่าจะดีขึ้น ร้อยละ 87.4 เช่นกันคิดว่าคุณภาพบริการน้ำประปา
ไฟฟ้า โทรศัพท์น่าจะดีขึ้นและทั่วถึง ร้อยละ 86.4 คิดว่าเป็นเรื่องคุณภาพสินค้าอุปโภคบริโภค ร้อยละ 82.8 คิดว่าเป็นคุณภาพการรักษาพยาบาลจะดีขึ้น
และทั่วถึง ร้อยละ 78.9 คิดว่าเป็นคุณภาพบริการรถประจำทาง รถไฟฟ้า ร้อยละ 78.9 เช่นกันคิดว่าเป็นเรื่องความรวดเร็วในการได้รับบริการจาก
ทางราชการและองค์กรต่างๆ ร้อยละ 78.2 คิดว่าเป็นเรื่องความเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ ร้อยละ 77.5 คิดว่าเป็นเรื่องคุณภาพการศึกษาจะดี
ขึ้น และร้อยละ 75.1 คิดว่าเป็นเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจะดีขึ้นและทั่วถึง
เมื่อสอบถามถึงแนวนโยบายด้านสังคมของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่มีการเผยแพร่เบื้องต้นสู่สาธารณชนแล้ว พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
75.0 เห็นด้วยกับแนวคิดแนวนโยบายรักษาฟรีทุกโรค เพราะจะได้เป็นที่พึ่งของคนรายได้น้อย ช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชน คนรายได้น้อยมีโอกาส
เข้าถึงการรักษาบ้าง และทำให้คุณภาพชีวิตของคนรายได้น้อยดีขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 16.5 ไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าจะไม่มีคุณภาพ
รัฐบาลอาจทำได้ไม่ตลอด และเกรงว่าจะไม่รักษาฟรีจริงอย่างที่ประกาศ เป็นต้น
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.7 เห็นด้วยกับนโยบายห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะคิดว่าเป็น
โฆษณาที่ชี้ชวนมอมเมาประชาชน ไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ไม่กระตุ้นให้เกิดความอยากสำหรับคนที่อยากจะเลิก และน่าจะช่วยลดจำนวนคนดื่ม
หน้าใหม่เข้ามาได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 19.1 ไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าอยู่ที่ตัวบุคคลมากกว่า เป็นการปิดกั้นด้านการค้า ผู้ประกอบการอาจได้รับ
ผลกระทบ คิดว่าน่าจะมีทางอื่นที่ดีกว่า เป็นต้น
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.8 เห็นด้วยต่อมาตรการห้ามเปิดร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรัศมี 500 เมตรรอบ
สถานศึกษา เพราะเป็นสิ่งยั่วยุเยาวชน และเป็นห่วงบุตรหลาน ในขณะที่เพียงร้อยละ 8.8 เท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าไม่มีผล และที่เหลือร้อย
ละ 12.4 ไม่มีความเห็น
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.6 เห็นด้วยต่อมาตรการห้ามเปิดสถานบันเทิงในรัศมี 500 เมตรรอบสถานศึกษา เพราะเป็นสิ่งยั่วยุ
เยาวชน ไม่เหมาะสม ทำให้เด็กเยาวชนอยากทดลอง กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เป็นแหล่งมั่วสุม เสียภาพลักษณ์ของสถาบันที่มีสิ่งกระตุ้น
มอมเมาเยาวชน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 7.3 ไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าไม่มีผลต่อตัวเด็ก มั่นใจบุตรหลานของตน และร้อยละ 14.1 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงความเหมาะสมของการติดภาพโฆษณาเหล้า เบียร์ ไวน์ บนบิลบอร์ด อาคารสูงต่างๆ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
55.2 เห็นว่าไม่เหมาะสม เพราะเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดี กระตุ้นให้เกิดความอยาก เป็นสิ่งฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นและควรติดภาพที่เหมาะสมกว่า ใน
ขณะที่ร้อยละ 15.5 เห็นว่าเหมาะสม เพราะเป็นเรื่องการทำธุรกิจ และร้อยละ 29.3 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า นโยบายด้านสังคมบางส่วนที่ประกาศออกมาโดยรัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังได้รับความสนใจจากสาธารณชนที่เฝ้าติดตาม
ข่าวสารทางการเมืองว่าจะออกมาในลักษณะของการเอาจริงเอาจังอย่างต่อเนื่องมากน้อยเพียงไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวนโยบายที่จะแก้ปัญหาทุจริต
คอรัปชั่นในสังคมไทยกำลังสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่คาดหวังว่าคุณภาพชีวิตและสวัสดิการต่างๆ ของประชาชนจะดี
ขึ้นทุกตัว
“ถ้าสังคมไทยใสสะอาดอย่างแท้จริงแล้วน่าจะช่วยทำให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุข การใช้ชีวิตบนความพอเพียงและความเข้มแข็งในหมู่
ประชาชนเป็นไปได้มากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ถูกมองจากประชาชนด้วยความเคลือบแคลงสงสัยถึงความไม่ชอบมาพากลในการเปิดประมูล
โครงการต่างๆ ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันและข้าราชการควรต้องปฏิรูปตัวเองอย่างแท้จริงก่อน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนว่านโยบายแก้
ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นและนโยบายทางสังคมของรัฐบาลจะไม่เป็นเพียงการสร้างภาพเพื่อมุ่งหวังการสนับสนุนจากสาธารณชนในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของ
วิกฤตการเมืองเท่านั้น” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ
ประการแรก ขบวนการทุจริตคอรัปชั่นที่มีทุนและกำลังมากอาจปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการทำงานจากการเข้าหากลุ่มอำนาจส่วนกลาง มา
เข้าหากลุ่มอำนาจในท้องถิ่นแทน เพราะสาธารณชนทั่วไปอาจมองว่าคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่น่าจะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับขบวนการทุจริต
คอรัปชั่นได้ และรัฐบาลชุดนี้มีเวลาเพียงปีเดียวคงไม่พอที่จะดำเนินการกับกลุ่มอำนาจท้องถิ่น
ประการที่สอง เมื่อรัฐบาลชุดนี้หมดวาระไป รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ต้องอาศัยการสนับสนุนของแกนนำชุมชนท้องถิ่นและกลุ่มนายทุน
เป็นส่วนใหญ่คงไม่กล้าสานต่อนโยบายเข้มด้านสังคมของรัฐบาลชุดนี้ ผลที่ตามมาคือ
ประการที่สาม ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น การแทรกแซงสื่อมวลชน การแทรกแซงองค์กรอิสระ วิกฤตการเมือง การทำรัฐประหารยึดอำนาจ
และการเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ของประชาธิปไตยแบบไทยๆ ก็วนเวียนซ้ำซากอยู่อย่างนี้ตลอดไป
ดังนั้นน่าจะมีกฎหมายแก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นแบบเข้มข้นต่อเนื่องที่สามารถเอาผิดลงโทษบรรดานายทุน ข้าราชการ นักการเมืองได้
เพียงแต่มีเหตุหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าทุจริตคอรัปชั่น เช่นมีการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น และควรมีกฎหมายและมาตรการอื่นๆ
ในการสร้างระบบสังคมที่ “ปลอดการล็อบบี้และการฮั้วทางการเมือง” ในประเทศไทย
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองภายหลังการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายสาธารณะของรัฐบาลชุดใหม่
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรถ้าไม่มีการรีดไถ ไม่มีปัญหา
ทุจริตคอรัปชั่นและนโยบายสังคมของรัฐบาลชุดปัจจุบัน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานคร
และ 4 จังหวัดใหญ่ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และสงขลา รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,538 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 13-
14 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,538 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บ
รวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณ
ทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 11.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.9 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
นอกจากนี้ยังพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.5 เป็นคนโสด
ร้อยละ 48.8 ระบุสมรสแล้ว
และร้อยละ 5.7 ระบุม่าย/หย่า/แยกกันอยู่
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 25.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 25.7 ระบุอาชีพรับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 17.6 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.0 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.4 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 2.5 ระบุว่างงาน
และเมื่อพิจารณารายได้ส่วนตัวต่อเดือนของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 16.9 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 36.1 ระบุรายได้ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 8.7 ระบุรายได้ 10,001-15,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 8.3 ระบุรายได้ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 30.0 ระบุรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 61.1
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 14.7
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 9.2
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 11.5
5 ไม่ได้ติดตามเลย 3.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ หมวดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่คาดว่าจะลดลง ถ้ารัฐบาล หน่วยงานราชการ
ข้าราชการ หรือองค์กรต่างๆ ไม่มีการรีดไถ ไม่มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
ลำดับที่ หมวดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่คาดว่าจะลดลง ค่าร้อยละ
1 ค่าเชื้อเพลิงและพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม 52.1
2 ค่าโดยสารรถประจำทาง / รถไฟฟ้า / ค่าโดยสารยานพาหนะต่างๆ 45.3
3 ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ 36.2
4 ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ของกิน ของใช้ต่างๆ 35.6
5 ค่าใช้จ่ายทางการศึกษา 32.6
6 ค่ารักษาพยาบาล 30.8
7 ค่าใช้จ่ายด้านบันเทิง พักผ่อนหย่อนใจ ตามสถานบันเทิงและสวนอาหารต่างๆ 25.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คุณภาพชีวิตและสวัสดิการของประชาชนที่คาดว่าจะดีขึ้น ถ้ารัฐบาล หน่วยงาน
ราชการ ข้าราชการหรือองค์กรต่างๆ ไม่มีการรีดไถ ไม่มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
ลำดับที่ คุณภาพชีวิตและสวัสดิการของประชาชนที่คาดว่าจะดีขึ้น ค่าร้อยละ
1 สภาพถนนหนทาง สะพานทางข้าม 87.4
2 คุณภาพของการบริการน้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ 87.4
3 คุณภาพของสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ของกิน ของใช้ต่างๆ 86.4
4 คุณภาพของการรักษาพยาบาล 82.8
5 คุณภาพของการบริการรถประจำทาง รถไฟฟ้า ยานพาหนะ 78.9
6 ความรวดเร็วในการได้รับบริการจากทางราชการ/องค์กรต่างๆ 78.9
7 ความเท่าเทียมกันในการได้รับบริการจากทางราชการ โดยไม่เลือกปฏิบัติ 78.2
8 คุณภาพของการศึกษา 77.5
9 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 75.1
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายรักษาฟรีทุกโรค
ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายรักษาฟรีทุกโรค ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ...จะได้เป็นที่พึ่งของคนรายได้น้อย /ลดค่าใช้จ่ายของประชาชน/
คนรายได้น้อยจะได้มีโอกาสรักษาบ้าง /ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นต้น 75.0
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ... เกรงว่าจะไม่มีคุณภาพ/รัฐบาลอาจจะทำได้ไม่ตลอด
เพราะไม่มีงบประมาณ /กลัวว่าจะไม่ได้รักษาฟรีจริงอย่างที่ประกาศ เป็นต้น 16.5
3 ไม่มีความเห็น 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อนโยบายการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ตลอด 24 ชั่วโมง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ...ไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ไม่กระตุ้นให้เกิดความอยากสำหรับคน
ที่อยากจะเลิก และน่าจะช่วยลดจำนวนคนดื่มหน้าใหม่เข้ามาได้บ้าง 65.7
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ...คิดว่าอยู่ที่ตัวบุคคลมากกว่า เป็นการปิดกั้นด้านการค้าผู้ประกอบการ
อาจได้รับผลกระทบ คิดว่าน่าจะมีทางอื่นที่ดีกว่า เป็นต้น 19.1
3 ไม่มีความเห็น 15.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อมาตรการห้ามเปิดร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ในรัศมี
500 เมตรรอบสถานศึกษา
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ...เป็นสิ่งยั่วยุเยาวชน /เป็นห่วงบุตรหลาน 78.8
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ..ไม่คิดว่าจะมีผลกระทบ/อยู่ที่การดูแลของครูอาจารย์/ผู้ปกครอง 8.8
3 ไม่มีความเห็น 12.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อมาตรการห้ามเปิดสถานบันเทิงในรัศมี 500 เมตรรอบสถานศึกษา
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ...เป็นสิ่งยั่วยุเยาวชน/ไม่เหมาะสม/ทำให้เด็กและเยาวชน
เกิดการอยากทดลอง/กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม /เป็นแหล่งมั่วสุม /
เสียภาพลักษณ์ของสถาบันมอมเมาเยาวชน เป็นต้น 78.6
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ...ไม่มีผลและ มั่นใจในบุตรหลานของตน 7.3
3 ไม่มีความเห็น 14.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเหมาะสมของการติดภาพโฆษณา เหล้า เบียร์ ไวน์ บนบิลบอร์ด/อาคารสูงต่างๆ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เหมาะสม เพราะ...เป็นเรื่องการทำธุรกิจ/น่าจะดีกว่าโฆษณาตามสื่ออื่นๆ /
เป็นแค่การส่งเสริมการขายไม่เกี่ยวกับการดื่ม-ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ เป็นต้น 15.5
2 ไม่เหมาะสม เพราะ...เป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดี/ควรติดภาพที่เหมาะสมกว่า/
เป็นการกระตุ้นให้ติดสิ่งมึนเมา/ กระตุ้นให้เกิดความอยาก/ เป็นสิ่งฟุ่มเฟือย เป็นต้น 55.2
3 ไม่มีความเห็น 29.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-