ที่มาของโครงการ
ถึงแม้ว่าจะมีหลายฝ่ายที่ออกมาต่อต้านการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน แต่ดูเหมือนว่าวันนี้จะเป็นวันที่ทุกฝ่ายต่างเฝ้าจับตามองความเคลื่อน
ไหวที่จะเกิดขึ้นในทุกขณะ โดยเฉพาะการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน และผลการเลือกตั้งที่จะตามมา อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะ
ออกมาเช่นไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งก็คือ ท้ายที่สุดแล้วสถานการณ์ปัญหาการเมืองไทยจะคลี่คลายลงได้ภายหลังการเลือกตั้งได้จริงหรือไม่ และ
บทพิสูจน์ที่ว่าการเลือกตั้งคือทางออกของวิกฤตการเมือง นั้นเป็นจริงเพียงไร
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
สถานการณ์และความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางการเมืองในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการ
ตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวม
ข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองในช่วงก่อนการเลือกตั้ง
3. เพื่อสำรวจความพอใจต่อบทบาทและท่าทีของบุคคล/กลุ่มต่างๆ ในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
4. เพื่อสำรวจความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งของประชาชนในวันที่ 2 เมษายน 2549
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้อง นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์การ
เมือง 48 ชั่วโมงก่อนการเลือกตั้ง: กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”
ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 31 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,458 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 4.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 29.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.7 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 20.2 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 12.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.3 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
และร้อยละ 4.3 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์การ
เมือง 48 ชั่วโมงก่อนการเลือกตั้ง” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
จำนวนทั้งสิ้น 1,458 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 31 มีนาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ เป็นดังนี้
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองพบว่า ตัวอย่างร้อยะ 70.3 ระบุติดตามทุกวัน ร้อยละ 16.8 ระบุติดตาม 3-4
วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 9.9 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 3.0 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองไทยในขณะนี้ นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.7 ระบุคิดว่า
สถานการณ์อยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 35.2 ระบุยังไม่วิกฤต และร้อยละ 14.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับการรับรู้รับทราบของตัวอย่างต่อวันเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งที่จะมาถึงนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 95.2 ระบุทราบว่าวัน
เลือกตั้ง ส.ส. ตรงกับวันที่ 2 เมษายน 2549 ในขณะที่มีตัวย่างเพียงร้อยละ 4.8 เท่านั้นที่ระบุไม่ทราบ โดยเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไป
ถึงความตั้งใจในการไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน นี้นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 74.5 ระบุไปแน่นอน ในขณะที่ร้อยละ 8.9 ระบุไม่ไป และร้อยละ
16.6 ระบุไม่แน่ใจว่าจะไปหรือไม่
สำหรับวิธีการในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งด้วยการใช้ตรายาง และการกากบาทด้วยลายมือนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 54.5 ระบุควร
กากบาทด้วยลายมือ ในขณะที่ร้อยละ 27.5 ระบุควรใช้ตรายาง และร้อยละ 18.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงสถานการณ์ปัญหาการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง 2 เมษายนนี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละมากก
ว่า 1 ใน 3 คือ 35.9 ระบุคิดว่าสถานการณ์จะรุนแรงบานปลายมากขึ้น ร้อยละ 36.6 ระบุเหมือนเดิม ในขณะที่ร้อยละ 27.5 ระบุความรุนแรง
จะลดลงภายหลังการเลือกตั้ง
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่าง กรณีเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะยุติการชุมนุมในช่วงการเลือกตั้งนั้น พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 73.0 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 7.0 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 20.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งก็คือ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อแนวคิดที่จะมีการใช้มาตรการเด็ดขาด สลายกลุ่มผู้ชุมนุมหลัง
การเลือกตั้ง ถึงแม้ว่าจะมีการชุมนุมอย่างสงบนั้น พบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 1 ใน 3 คือร้อยละ 43.2 ระบุไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว ในขณะที่
ร้อยละ 26.6 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 30.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ ความคิดของตัวอย่างต่อแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี ซึ่งพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 27.6 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 35.3 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 37.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ประชาชนส่วนใหญ่ตั้งใจจะไปเลือกตั้ง แต่สถานการณ์การเมืองหลังการเลือกตั้งยัง
คงเป็นเหมือนภาพแห่งความเลวร้ายที่ยังตามหลอกหลอนสร้างความวิตกกังวลและเคร่งเครียดให้กับประชาชนเพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังคิดว่า
สถานการณ์การเมืองหลังการเลือกตั้งยังแย่เหมือนเดิมถึงแย่ลง ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นชัดเจนอีกส่วนหนึ่งคือ แนวโน้มของประชาชนที่คิดว่าสถานการณ์การ
เมืองขณะนี้อยู่ในขั้นวิกฤตแล้วสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มที่เริ่มสูงขึ้นของประชาชนที่เห็นด้วยกับแนวคิดการขอพระราชทานนายก
รัฐมนตรี ในขณะที่แนวโน้มของประชาชนที่ไม่เห็นด้วยและประชาชนที่ไม่มีความเห็นเริ่มลดต่ำลง
“ในสถานการณ์เช่นนี้ การเลือกตั้งจึงเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของโรดแมปผ่าวิกฤตการเมืองควบคู่กับการเจรจาของแกนนำทุกฝ่ายด้วยสันติ
และปรองดองกันซึ่งต้องรีบดำเนินการเพราะถ้าช้าไปกว่านี้ ความคิดเห็นที่แตกต่างในหมู่ประชาชนจะพัฒนาไปสู่ความแตกแยกแบ่งพวกแบ่งภาค บ้านเมือง
อาจลุกเป็นไฟกระจายเป็นจุดๆ ทั่วประเทศ แล้วเวลานั้นการเจรจาของแกนนำกลุ่มต่างๆ จะไม่มีผลเนื่องจากสถานการณ์จะพัฒนาไปสู่ความโกรธแค้น
ส่วนตัวของกลุ่มประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ต่อไป คนแต่ละภาคคงจะเดินทางไปมาในภาคอื่นๆ ด้วยความหวาดระแวงและรู้สึกไม่ปลอดภัย แล้วอะไรจะ
เกิดขึ้นต่อความเสียหายของประเทศ” ดร. นพดล กล่าว
ดร. นพดล กล่าวต่อว่า สถานการณ์การเมืองขณะนี้ตอกย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ถ้า พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ตัดสินใจเอาแบบอย่างพลเอก
เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่จะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ถึงแม้ว่าจะ
ชนะการเลือกตั้ง เพราะขณะนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ พอใจนโยบายของพรรคไทยรักไทยมากกว่าพรรคอื่นๆ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ควรเสนอคนอื่นที่
ไว้วางใจได้ขึ้นมาแทน ซึ่งน่าจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชน โดยส่วนใหญ่ ส่งผลให้นโยบายต่างๆ ที่จะออกมาใหม่ของรัฐบาลไทยรักไทย มีพลังขับ
เคลื่อนในการพัฒนาประเทศและแก้ไขความเดือดร้อนของประชาขนได้อย่างยั่งยืนต่อไป
โปรดพิจารณารายละเอียดรายละเอียดผลสำรวจอื่นๆ ได้ในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 70.3
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 16.8
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 9.9
4 ไม่ได้ติดตามเลย 3.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้ 20 มี.ค.49 25 มี.ค.49 27 มี.ค.49 29 มี.ค.49 30 มี.ค.49 31 มี.ค.49
1 อยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว 44.5 46.2 41.9 44.5 42.6 50.7
2 ยังไม่วิกฤต 39.4 37.0 42.1 36.7 40.0 35.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 16.1 16.8 16.0 18.8 17.4 14.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบต่อวันเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบต่อวันเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 2 เมษายน 49 ร้อยละ
1 ทราบ 95.2
2 ไม่ทราบ 4.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
ความตั้งใจของตัวอย่าง 1 มี.ค. 18 มี.ค. 21 มี.ค. 25 มี.ค. 27 มี.ค. 29 มี.ค. 30 มี.ค. 31 มี.ค.
1.ไปแน่นอน 57.3 47.8 65.2 41.4 64.8 72.8 74.0 74.5
2.ไม่ไป 18.0 15.1 18.8 15.0 11.6 13.7 11.5 8.9
3.ไม่แน่ใจ 24.7 37.1 16.0 43.6 23.6 13.5 14.5 16.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อวิธีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งด้วยการใช้ตรายาง
และการกากบาทด้วยลายมือตนเอง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรใช้ตรายาง เพราะ ....สะดวกต่อการใช้งาน/
เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่เขียนหนังสือไม่ได้ 27.5
2 ควรกากบาทด้วยลายมือตนเอง เพราะ....เกรงว่าจะเกิดการทุจริต/
มีความน่าเชื่อถือมากกว่า /เป็นวิธีที่ประชาชนคุ้นเคยดี 54.5
3 ไม่มีความเห็น 18.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองจะเป็นอย่างไร หลังมีการเลือกตั้งแล้ว
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 รุนแรงบานปลายมากขึ้น 35.9
2 เหมือนเดิม 36.6
3 ความรุนแรงจะลดลง 27.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
จะยุติการชุมนุมในช่วงการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 73.0
2 ไม่เห็นด้วย 7.0
3 ไม่มีความเห็น 20.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดของรัฐบาลที่จะใช้มาตรการเด็ดขาดสลาย
กลุ่มผู้ชุมนุมหลังการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 26.6
2 ไม่เห็นด้วย 43.2
3 ไม่มีความเห็น 30.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
ความเห็นของตัวอย่าง 1 มี.ค. 6 มี.ค. 20 มี.ค. 22 มี.ค. 25 มี.ค. 27 มี.ค. 29 มี.ค. 30 มี.ค. 31 มี.ค.
ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ
1.เห็นด้วย 38.5 46.1 37.0 30.3 27.2 24.1 22.4 24.8 27.6
2.ไม่เห็นด้วย 24.2 20.2 26.0 23.2 34.3 37.8 34.7 36.4 35.3
3.ไม่มีความเห็น 37.3 33.7 37.0 46.5 38.5 38.1 42.9 38.8 37.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ถึงแม้ว่าจะมีหลายฝ่ายที่ออกมาต่อต้านการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน แต่ดูเหมือนว่าวันนี้จะเป็นวันที่ทุกฝ่ายต่างเฝ้าจับตามองความเคลื่อน
ไหวที่จะเกิดขึ้นในทุกขณะ โดยเฉพาะการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน และผลการเลือกตั้งที่จะตามมา อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะ
ออกมาเช่นไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งก็คือ ท้ายที่สุดแล้วสถานการณ์ปัญหาการเมืองไทยจะคลี่คลายลงได้ภายหลังการเลือกตั้งได้จริงหรือไม่ และ
บทพิสูจน์ที่ว่าการเลือกตั้งคือทางออกของวิกฤตการเมือง นั้นเป็นจริงเพียงไร
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
สถานการณ์และความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางการเมืองในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการ
ตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวม
ข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองในช่วงก่อนการเลือกตั้ง
3. เพื่อสำรวจความพอใจต่อบทบาทและท่าทีของบุคคล/กลุ่มต่างๆ ในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
4. เพื่อสำรวจความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งของประชาชนในวันที่ 2 เมษายน 2549
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้อง นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์การ
เมือง 48 ชั่วโมงก่อนการเลือกตั้ง: กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”
ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 31 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,458 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 4.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 29.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.7 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 20.2 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 12.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.3 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
และร้อยละ 4.3 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์การ
เมือง 48 ชั่วโมงก่อนการเลือกตั้ง” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
จำนวนทั้งสิ้น 1,458 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 31 มีนาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ เป็นดังนี้
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองพบว่า ตัวอย่างร้อยะ 70.3 ระบุติดตามทุกวัน ร้อยละ 16.8 ระบุติดตาม 3-4
วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 9.9 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 3.0 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองไทยในขณะนี้ นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.7 ระบุคิดว่า
สถานการณ์อยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 35.2 ระบุยังไม่วิกฤต และร้อยละ 14.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับการรับรู้รับทราบของตัวอย่างต่อวันเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งที่จะมาถึงนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 95.2 ระบุทราบว่าวัน
เลือกตั้ง ส.ส. ตรงกับวันที่ 2 เมษายน 2549 ในขณะที่มีตัวย่างเพียงร้อยละ 4.8 เท่านั้นที่ระบุไม่ทราบ โดยเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไป
ถึงความตั้งใจในการไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน นี้นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 74.5 ระบุไปแน่นอน ในขณะที่ร้อยละ 8.9 ระบุไม่ไป และร้อยละ
16.6 ระบุไม่แน่ใจว่าจะไปหรือไม่
สำหรับวิธีการในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งด้วยการใช้ตรายาง และการกากบาทด้วยลายมือนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 54.5 ระบุควร
กากบาทด้วยลายมือ ในขณะที่ร้อยละ 27.5 ระบุควรใช้ตรายาง และร้อยละ 18.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงสถานการณ์ปัญหาการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง 2 เมษายนนี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละมากก
ว่า 1 ใน 3 คือ 35.9 ระบุคิดว่าสถานการณ์จะรุนแรงบานปลายมากขึ้น ร้อยละ 36.6 ระบุเหมือนเดิม ในขณะที่ร้อยละ 27.5 ระบุความรุนแรง
จะลดลงภายหลังการเลือกตั้ง
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่าง กรณีเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะยุติการชุมนุมในช่วงการเลือกตั้งนั้น พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 73.0 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 7.0 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 20.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งก็คือ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อแนวคิดที่จะมีการใช้มาตรการเด็ดขาด สลายกลุ่มผู้ชุมนุมหลัง
การเลือกตั้ง ถึงแม้ว่าจะมีการชุมนุมอย่างสงบนั้น พบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 1 ใน 3 คือร้อยละ 43.2 ระบุไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว ในขณะที่
ร้อยละ 26.6 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 30.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ ความคิดของตัวอย่างต่อแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี ซึ่งพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 27.6 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 35.3 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 37.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ประชาชนส่วนใหญ่ตั้งใจจะไปเลือกตั้ง แต่สถานการณ์การเมืองหลังการเลือกตั้งยัง
คงเป็นเหมือนภาพแห่งความเลวร้ายที่ยังตามหลอกหลอนสร้างความวิตกกังวลและเคร่งเครียดให้กับประชาชนเพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังคิดว่า
สถานการณ์การเมืองหลังการเลือกตั้งยังแย่เหมือนเดิมถึงแย่ลง ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นชัดเจนอีกส่วนหนึ่งคือ แนวโน้มของประชาชนที่คิดว่าสถานการณ์การ
เมืองขณะนี้อยู่ในขั้นวิกฤตแล้วสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มที่เริ่มสูงขึ้นของประชาชนที่เห็นด้วยกับแนวคิดการขอพระราชทานนายก
รัฐมนตรี ในขณะที่แนวโน้มของประชาชนที่ไม่เห็นด้วยและประชาชนที่ไม่มีความเห็นเริ่มลดต่ำลง
“ในสถานการณ์เช่นนี้ การเลือกตั้งจึงเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของโรดแมปผ่าวิกฤตการเมืองควบคู่กับการเจรจาของแกนนำทุกฝ่ายด้วยสันติ
และปรองดองกันซึ่งต้องรีบดำเนินการเพราะถ้าช้าไปกว่านี้ ความคิดเห็นที่แตกต่างในหมู่ประชาชนจะพัฒนาไปสู่ความแตกแยกแบ่งพวกแบ่งภาค บ้านเมือง
อาจลุกเป็นไฟกระจายเป็นจุดๆ ทั่วประเทศ แล้วเวลานั้นการเจรจาของแกนนำกลุ่มต่างๆ จะไม่มีผลเนื่องจากสถานการณ์จะพัฒนาไปสู่ความโกรธแค้น
ส่วนตัวของกลุ่มประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ต่อไป คนแต่ละภาคคงจะเดินทางไปมาในภาคอื่นๆ ด้วยความหวาดระแวงและรู้สึกไม่ปลอดภัย แล้วอะไรจะ
เกิดขึ้นต่อความเสียหายของประเทศ” ดร. นพดล กล่าว
ดร. นพดล กล่าวต่อว่า สถานการณ์การเมืองขณะนี้ตอกย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ถ้า พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ตัดสินใจเอาแบบอย่างพลเอก
เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่จะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ถึงแม้ว่าจะ
ชนะการเลือกตั้ง เพราะขณะนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ พอใจนโยบายของพรรคไทยรักไทยมากกว่าพรรคอื่นๆ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ควรเสนอคนอื่นที่
ไว้วางใจได้ขึ้นมาแทน ซึ่งน่าจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชน โดยส่วนใหญ่ ส่งผลให้นโยบายต่างๆ ที่จะออกมาใหม่ของรัฐบาลไทยรักไทย มีพลังขับ
เคลื่อนในการพัฒนาประเทศและแก้ไขความเดือดร้อนของประชาขนได้อย่างยั่งยืนต่อไป
โปรดพิจารณารายละเอียดรายละเอียดผลสำรวจอื่นๆ ได้ในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 70.3
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 16.8
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 9.9
4 ไม่ได้ติดตามเลย 3.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้ 20 มี.ค.49 25 มี.ค.49 27 มี.ค.49 29 มี.ค.49 30 มี.ค.49 31 มี.ค.49
1 อยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว 44.5 46.2 41.9 44.5 42.6 50.7
2 ยังไม่วิกฤต 39.4 37.0 42.1 36.7 40.0 35.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 16.1 16.8 16.0 18.8 17.4 14.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบต่อวันเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบต่อวันเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 2 เมษายน 49 ร้อยละ
1 ทราบ 95.2
2 ไม่ทราบ 4.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
ความตั้งใจของตัวอย่าง 1 มี.ค. 18 มี.ค. 21 มี.ค. 25 มี.ค. 27 มี.ค. 29 มี.ค. 30 มี.ค. 31 มี.ค.
1.ไปแน่นอน 57.3 47.8 65.2 41.4 64.8 72.8 74.0 74.5
2.ไม่ไป 18.0 15.1 18.8 15.0 11.6 13.7 11.5 8.9
3.ไม่แน่ใจ 24.7 37.1 16.0 43.6 23.6 13.5 14.5 16.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อวิธีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งด้วยการใช้ตรายาง
และการกากบาทด้วยลายมือตนเอง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรใช้ตรายาง เพราะ ....สะดวกต่อการใช้งาน/
เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่เขียนหนังสือไม่ได้ 27.5
2 ควรกากบาทด้วยลายมือตนเอง เพราะ....เกรงว่าจะเกิดการทุจริต/
มีความน่าเชื่อถือมากกว่า /เป็นวิธีที่ประชาชนคุ้นเคยดี 54.5
3 ไม่มีความเห็น 18.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองจะเป็นอย่างไร หลังมีการเลือกตั้งแล้ว
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 รุนแรงบานปลายมากขึ้น 35.9
2 เหมือนเดิม 36.6
3 ความรุนแรงจะลดลง 27.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
จะยุติการชุมนุมในช่วงการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 73.0
2 ไม่เห็นด้วย 7.0
3 ไม่มีความเห็น 20.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดของรัฐบาลที่จะใช้มาตรการเด็ดขาดสลาย
กลุ่มผู้ชุมนุมหลังการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 26.6
2 ไม่เห็นด้วย 43.2
3 ไม่มีความเห็น 30.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
ความเห็นของตัวอย่าง 1 มี.ค. 6 มี.ค. 20 มี.ค. 22 มี.ค. 25 มี.ค. 27 มี.ค. 29 มี.ค. 30 มี.ค. 31 มี.ค.
ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ
1.เห็นด้วย 38.5 46.1 37.0 30.3 27.2 24.1 22.4 24.8 27.6
2.ไม่เห็นด้วย 24.2 20.2 26.0 23.2 34.3 37.8 34.7 36.4 35.3
3.ไม่มีความเห็น 37.3 33.7 37.0 46.5 38.5 38.1 42.9 38.8 37.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-