ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการ สำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำ การสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจ เรื่อง ประเด็น สำคัญทางการเมือง และ สิ่งที่ต้องการให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่เร่งแก้ไข กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของ ประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ลำพูน พิษณุโลก เชียงใหม่ ตราด จันทบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ชลบุรี เลย ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด อุดรธานี นครราชสีมา ขอนแก่น นครศรีธรรมราช และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 1,456 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 15 สิงหาคม 2552 ผล การสำรวจพบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกสัปดาห์
เมื่อถามถึงความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.9 ยังคงมองว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของ ประเทศ ร้อยละ 75.0 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ 70.0 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์ทางการเมือง ร้อยละ 48.7 เครียดต่อเรื่องการเมือง ที่ น่าเป็นห่วงคือร้อยละ 10.9 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการถวายฎีกา ในขณะที่ร้อยละ 10.8 ขัดแย้งกับเพื่อนในที่ทำงานเรื่องการถวายฎีกา และร้อย ละ 8.0 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวเรื่องการถวายฎีกา
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.2 ต้องการให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เสนอแนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติดและ อาชญากรรม ร้อยละ 76.2 ช่วยแก้ไขปัญหาไข้หวัดใหญ่ 2009 ร้อยละ 66.1 เปิดรายการโทรทัศน์เน้นเรื่องการศึกษาและสินค้าโอท็อป ร้อยละ 62.2 เปิดรายการวิทยุ เน้นเรื่องการศึกษาและสินค้าโอท็อป และร้อยละ 43.6 ต้องการให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ออกมาแข่งขันกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชา ชีวะ ที่จะแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.6 พอใจต่อท่าทีของกลุ่มประชาชนคนเสื้อแดง (นปช.) ที่ไม่ชุมนุมไม่ขัดขวางการประชุมอา เซียน ในขณะที่ ร้อยละ 69.7 พอใจต่อการทำหน้าที่ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในช่วงการประชุมอาเซียน ร้อยละ 64.0 พอใจต่อ การทำหน้าที่ของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการสมาคมอาเซียน และร้อยละ 59.5 พอใจต่อการทำหน้าที่ของนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศ ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.2 เห็นว่า นายกษิต ภิรมย์ ควรทำงานต่อไปในการปฏิบัติหน้าที่ฐานะรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้ ในขณะที่ร้อยละ 40.8 เห็นว่าควรลาออก
สำหรับทางออกของปัญหาการเมืองขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.9 เห็นว่าทางออกอยู่ที่ประชาชนทุกคนปฏิบัติตนด้วย ความรักความสามัคคี เกื้อกูลกัน ร้อยละ 93.5 ให้ทุกกลุ่มทุกฝ่ายหันหน้าจับมือกันต่อหน้าสาธารณชนร่วมกันแก้ปัญหาชาติ ร้อยละ 63.4 ให้ปรับคณะ รัฐมนตรี เพื่อหาคนดีมีความรู้ความสามารถแก้ปัญหาเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน ในขณะที่ร้อยละ 56.0 ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ และร้อยละ 31.9 ให้ยุบสภา เลือกตั้งใหม่
เมื่อถามถึงเรื่องผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ต่อจาก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.5 เห็นด้วย ถ้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจะแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ในขณะที่ร้อยละ 39.5 ไม่เห็นด้วย
นอกจากนี้ ปัญหาที่ประชาชนต้องการให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่เร่งแก้ไข คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.4 ระบุเป็นปัญหายาเสพ ติด ร้อยละ 88.3 ระบุปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 86.7 ระบุเร่งสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อองค์กรตำรวจ ร้อยละ 86.1 ระบุปัญหาขบวนการค้ามนุษย์ ร้อยละ 85.7 ระบุ ปัญหาค้าอาวุธสงคราม ร้อยละ 85.2 ระบุปัญหาตัดไม้ทำลายป่า ตามด้วย ปัญหาคนหลบหนีเข้า เมือง ปัญหาความแตกแยกของคนในสังคม การจัดระเบียบสังคม และการซื้อขายตำแหน่งในองค์กรตำรวจ ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจออกมาแบบนี้ถือว่า น่าเป็นห่วง เพราะความรู้สึกเดิมๆ เช่น เบื่อหน่ายต่อการเมือง วิตกกังวลและเครียด ต่อสถานการณ์การเมือง เกิดสะสมกันมาเป็นเวลานานหลายปี จนอาจทำให้คนไทยจำนวนหนึ่งกลายเป็นฝ่ายนิยมขวาจัดและซ้ายจัดมากขึ้นเรื่อยๆ ผลที่ ตามมาคือ กลุ่มคนนิยมความรุนแรงจะทวีมากขึ้นจนกระทบต่อความมั่นคงของประเทศได้ จึงต้องเร่งป้องกันแก้ไขอย่างน้อยสามประการ คือ
ประการแรก เมื่อสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้มีอคติแบบสุดขั้ว เพราะพอใจต่อทุกฝ่ายที่เคลื่อนไหวอย่างสงบ คือ กลุ่มเสื้อแดง (นปช.) ที่ไม่ชุมนุมไม่ขัดขวางการประชุมอาเซียน และฝ่ายรัฐบาลที่กำลังทำงานอยู่ ดังนั้น ข้อเสนอแนะทางออกเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง รุนแรงบานปลายที่น่าพิจารณาคือ ชูความรักความเกื้อกูลกันที่อยู่ในครรลองครองธรรมของคนในสังคมไทยมาเป็นตัวเชื่อมให้เกิดความปรองดอง ไม่ใช้ ความรุนแรงทำลายล้างกัน มากกว่าการมุ่งเน้นหาตัวบุคคลที่จะมาเป็นคนกลาง เพราะไม่น่าจะหาเจอได้ในสถานการณ์การเมืองเช่นนี้
ประการที่สอง เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ให้โอกาส พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เคลื่อนไหวทำกิจกรรมสร้างสรรค์ประโยชน์แก่สาธารณชน และเพื่อให้ สังคมไทยเดินหน้าต่อไปได้ การเคลื่อนไหวต่างๆ น่าจะเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมก่อนแล้วเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมจึงออกมาเดินหน้าเต็มที่ในการ ทำงานการเมืองเพื่อประชาชน
ประการที่สาม ผลสำรวจชี้ให้เห็นฐานสนับสนุน รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จากการตัดสินใจของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงน่า จะใช้โอกาสนี้ อาศัยองค์กรตำรวจเร่งสร้างผลงานสร้างความปรองดองในสังคมไทยและปัญหาเดือดร้อนที่เกินขอบเขตความสามารถของประชาชนจะ จัดการได้เพียงลำพัง เช่น ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม ตลอดจนการจัดระเบียบสังคม เป็นต้น
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.6 เป็นหญิง
ร้อยละ 49.4 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.8 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 25.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 71.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 24.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 26.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 18.7 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 8.2 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 2.6 ระบุว่างงาน
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 60.2 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 12.5 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 8.0 4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 13.2 5 ไม่ได้ติดตามเลย 6.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ค่าร้อยละ 1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 96.9 2 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 75.0 3 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 70.0 4 เครียดต่อเรื่องการเมือง 48.7 5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการถวายฎีกา 10.9 6 ขัดแย้งกับเพื่อนในที่ทำงานในเรื่องการถวายฎีกา 10.8 7 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการถวายฎีกา 8.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องการให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้ดำเนินการ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวกิจกรรมต่างๆ ที่ประชาชนต้องการให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ดำเนินการ เห็นด้วยค่าร้อยละ 1 เสนอแนวทางแก้ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม 80.2 2 ช่วยแก้ปัญหาไข้หวัดใหญ่ 2009 76.2 3 เปิดรายการโทรทัศน์ เน้นเรื่องการศึกษา และสินค้าโอท็อป (OTOP) 66.1 4 เปิดรายการวิทยุ เน้นเรื่องการศึกษา และสินค้าโอท็อป (OTOP) 62.2 5 ออกมาแข่งขันกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่จะแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน 43.6 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่ของบุคคลต่างๆ ในช่วงการประชุมอาเซียนที่ผ่านมา ลำดับที่ บุคคลที่ทำหน้าที่ในช่วงการประชุมอาเซียนที่ผ่านมา ร้อยละ 1 ท่าทีของกลุ่มประชาชนคนเสื้อแดง (นปช.) ที่ไม่ชุมนุมไม่ขัดขวางการประชุมอาเซียน 73.6 2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี 69.7 3 ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการสมาคมอาเซียน 64.0 4 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 59.5 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อนายกษิต ภิรมย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ควรทำงานต่อไป 59.2 2 ควรลาออก 40.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทางออกสำหรับปัญหาทางการเมืองในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ทางออกสำหรับปัญหาทางการเมืองในขณะนี้ ค่าร้อยละ 1 ประชาชนทุกคนปฏิบัติตนด้วยความรักความสามัคคี เกื้อกูลกัน 95.9 2 ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย หันหน้าจับมือกันต่อสาธารณชน ร่วมกันแก้ปัญหาชาติ 93.5 3 ปรับคณะรัฐมนตรีเพื่อหาคนดีมีความรู้ความสามารถแก้ปัญหาเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน 63.4 4 แก้ไขรัฐธรรมนูญ 56.0 5 ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ 31.9 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ กรณีถ้า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายยกรัฐมนตรี แต่งตั้งให้
พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ต่อจาก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย 60.5 2 ไม่เห็นด้วย 39.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่ต้องการให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่เร่งแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัญหาที่ต้องการให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่เร่งแก้ไข ค่าร้อยละ 1 ปัญหายาเสพติด 89.4 2 ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 88.3 3 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อองค์กรตำรวจ 86.7 4 ปัญหาขบวนการค้ามนุษย์ 86.1 5 ปัญหาค้าอาวุธสงคราม 85.7 6 ปัญหาตัดไม้ทำลายป่า 85.2 7 ปัญหาคนหลบหนีเข้าเมือง 84.8 8 ปัญหาความแตกแยกของคนในสังคมไทย 84.8 9 การจัดระเบียบสังคม 84.4 10 ปัญหาการซื้อขายตำแหน่งในองค์กรตำรวจ 80.2 --เอแบคโพลล์-- -พห-