เอแบคโพลล์: ประสบการณ์และพฤติกรรมการเล่นหวยของประชาชน

ข่าวผลสำรวจ Monday August 17, 2009 07:42 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย เรื่อง ประสบการณ์และพฤติกรรมการเล่นหวยของประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร แม่ฮ่องสอน พิจิตร ลำปาง เชียงราย สมุทรสาคร ลพบุรี นครปฐม ชลบุรี อำนาจเจริญ หนองคาย สกลนคร ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น ชุมพร และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 1,199 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม — 15 สิงหาคม 2552 ผลการสำรวจพบ ว่าตัวอย่างร้อยละ 77.1 ระบุติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 วัน ในขณะที่ร้อยละ 11.5 ระบุติดตามเป็นบาง สัปดาห์ และร้อยละ 11.4 ระบุไม่ได้ติดตามเลย

เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการซื้อหวย ทั้งสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยใต้ดินนั้นพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 90 คิดว่า การซื้อหวยเป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมไทย ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 4.7 เท่านั้น ที่ไม่คิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา

ดร.นพดล กล่าวต่อว่าตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 85.2 เคยได้ยินข่าวชาวบ้านไปขอเลขเด็ดจากแหล่งต่างๆ อาทิ พระ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือ ร่างทรง ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 14.8 ระบุไม่เคยได้ยินข่าว อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามความคิดเห็นว่าเมื่อได้ยินข่าวคนได้เลข เด็ดมาแล้วมีส่วนทำให้ตนเองอยากเล่นหวยหรือไม่นั้น พบว่า ประมาณ 2 ใน 3 คือร้อยละ 60.9 ระบุไม่มีส่วนทำให้อยากเล่นหวยเลย

นอกจากนี้เมื่อสอบถามถึงประสบการณ์ในการซื้อหวยทั้งหวยรัฐบาล/หวยใต้ดินนั้นพบว่ามากกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 71.4 เคยซื้อหวย (อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต) ในขณะที่ร้อยละ 28.6 ระบุไม่เคยซื้อหวยเลย ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงเหตุผลที่ซื้อหวยนั้นพบว่า ร้อยละ 59.2 ระบุชอบลุ้น/ ตื่นเต้น รองลงมาคือร้อยละ 54.7 ระบุซื้อเพื่อช่วยเหลือสังคม ร้อยละ 52.9 ระบุหวังรวยทางลัด ร้อยละ 46.3 ระบุซื้อเพื่อคลายเครียด ร้อย ละ 45.0 ระบุเป็นความชอบส่วนตัว ร้อยละ 43.0 ระบุคนใกล้ชิด เช่นพ่อ แม่ ญาติพี่น้อง หรือคนรอบข้างซื้อเลยซื้อตาม

และเมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการเล่น/ซื้อหวยรัฐบาลเปรียบเทียบกับหวยใต้ดินนั้นพบว่า ร้อยละ 64.7 ระบุชอบเล่น/ซื้อหวยรัฐบาล มากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 21.4 ระบุชอบเล่น/ซื้อหวยใต้ดินมากกว่า และร้อยละ 13.9 ระบุชอบพอๆ กัน

ดร.นพดลกล่าวว่า ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้คือเมื่อสอบถามถึงจำนวนครั้งที่เคยซื้อหวยเปรียบ เทียบกับจำนวนครั้งที่ถูกรางวัลพบว่า ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมานี้ จำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่ซื้อหวยเท่ากับ 8.40 ครั้ง ในขณะที่เคยถูกรางวัลมีเพียง 1.06 ครั้งเท่านั้น

และเมื่อสอบถามต่อไปถึงการได้รับเลขเด็ดจากแหล่งต่างๆ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาพบว่า ร้อยละ 96.2 ระบุได้เลขเด็ดจากสัตว์ที่มี รูปร่างแปลกประหลาดผิดธรรมชาติ และได้จากวัตถุแปลกประหลาด ร้อยละ 93.6 ระบุได้จากร่างทรง (คนทรงเจ้า-เข้าผี) ร้อยละ 93.0 ระบุ ได้จากต้นไม้ใหญ่หรือพืชพันธุ์แปลกๆ ร้อยละ 91.9 ระบุได้จากอาจารย์ใบ้หวย ร้อยละ 91.1 ระบุได้จากศาลเจ้าพ่อ เจ้าแม่ ผู้ล่วงลับ ร้อยละ 88.2 ระบุได้จากการบูชาวัตถุบางอย่าง ร้อยละ 86.7 ระบุได้จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ร้อยละ 83.4 ระบุได้จากพระ นอกจากนี้ยังมี แหล่งเลขเด็ดอื่นๆ อาทิ จากเด็กเล็ก /บุตรหลาน จากหนังสือพิมพ์/สิ่งพิมพ์เกี่ยวกับหวย และเลขเด็ดจากทะเบียนรถ ตามลำดับ

ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงการถูกรางวัลจากเลขเด็ดที่ได้มาพบว่า ประมาณ 2 ใน 3 ระบุว่าไม่เคยถูกรางวัลจากเลขเด็ดเลย ในขณะที่ร้อยละ 35.5 ระบุเคยถูกรางวัลจากเลขเด็ดมาบ้าง โดยค่าเฉลี่ยที่เคยถูกรางวัลจากผลการสำรวจในครั้งนี้อยู่ที่ 0.83 ครั้ง อย่างไรก็ตามเมื่อให้เปรียบ เทียบระหว่างเงินที่ใช้ซื้อหวยกับเงินที่ถูกรางวัลจากหวยนั้นพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 ระบุว่าเสียเงินซื้อหวยมากกว่าเงินที่ได้รับจากการ ถูกรางวัลจากหวย นอกจากนี้ร้อยละ 60.9 ยังเชื่อว่ามีการล็อคเลขในการออกหวยในบางครั้ง

เมื่อสอบถามถึงโอกาสในการได้รับเงินเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการทำงานหนักเพื่อให้ได้เงินมากับการซื้อหวย พบว่า ตัวอย่างเกือบร้อย ละร้อย คือร้อยละ 98.5 ระบุว่าการทำงานหนักมีโอกาสได้รับเงินมากกว่าการซื้อหวย ทั้งนี้มีเพียงร้อยละ 1.5 เท่านั้นที่ระบุว่าการซื้อหวยมีโอกาสได้ เงินมากกว่า

นอกจากนี้ผลสำรวจยังพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.6 ไม่เห็นด้วยต่อการมีหวยออนไลน์ โดยให้เหตุผลว่า สังคมไทยเป็นสังคม แห่งพระพุทธศาสนาควรช่วยกันลดอบายมุขมากกว่าส่งเสริม / หวยออนไลน์จะเป็นการมอมเมาประชาชน ทำให้คนเล่นการพนันมากขึ้น ยังไม่มีกฎเกณฑ์ และเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้มงวดเพียงพอ และจะทำให้เกิดปัญหาสังคมหลายอย่างตามมา ในขณะที่ร้อยละ 40.4 เห็นด้วย เพราะ ถึงไม่มีหวยออนไลน์คนก็ เล่นหวยกันอยู่แล้ว จะได้ไม่ต้องมีหวยใต้ดิน รัฐบาลมีรายได้มากขึ้น เป็นการเสี่ยงโชคทางเลือกของคนจน และประชาชนจะได้เล่นหวยที่ถูกกฎหมาย

ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจเรื่องหวยครั้งนี้ทำให้เห็นถึงความน่าเป็นห่วง เพราะคนไทยจำนวนมากอาจถูกมองว่างมงายและหลงไปกับ แหล่งที่มาของตัวเลขที่คิดว่าจะทำให้ถูกรางวัล เพราะผลสำรวจชี้ให้เห็นชัดเจนว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่ถูกรางวัลจากเลขเด็ดที่ได้มา ส่วนคนที่ถูกรางวัลก็ ต้องซื้อหวยมาหลายครั้งสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากได้ไม่เท่าเสีย

นอกจากนี้ผลสำรวจก่อนหน้านี้ยังพบว่า ถ้ารัฐบาลเปิดให้มีหวยออนไลน์เกิดขึ้นก็ยิ่งจะทำให้กลุ่มคนเล่นหวยหน้าใหม่โดยเฉพาะในเด็กและ เยาวชนเข้ามาทดลองและติดใจ

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
          1.          เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นหวยของประชาชน
          2.          เพื่อสำรวจประสบการณ์ในการเล่นหวยของประชาชน ทั้งสลากกินแบ่งรัฐบาล  หวยใต้ดิน
          3.          เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อแหล่งใบ้หวย/เลขเด็ดต่างๆ
          4.          เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำวิจัย

โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง ประสบการณ์และพฤติกรรมการเล่นหวยของประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหา นคร แม่ฮ่องสอน พิจิตร ลำปาง เชียงราย สมุทรสาคร ลพบุรี นครปฐม ชลบุรี อำนาจเจริญ หนองคาย สกลนคร ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น ชุมพร และสงขลา ระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม — 15 สิงหาคม 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,199 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น ของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 53 คน

โปรดพิจารณารายละเอียดต่อไปนี้

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 57.4 เป็นหญิง

ร้อยละ 42.6 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 6.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 22.9 อายุ 20 — 29 ปี

ร้อยละ 22.5 อายุ 30 — 39 ปี

ร้อยละ 21.0 อายุ 40 — 49 ปี

และร้อยละ 27.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป

โดยตัวอย่าง ร้อยละ 31.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 27.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 14.6 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.1 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 5.4 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ ร้อยละ 4.3 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

นอกจากนี้ ร้อยละ 73.6 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 23.5 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 35.4 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน

ร้อยละ 27.4 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท

ร้อยละ 12.5 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท

ร้อยละ 6.9 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท

และร้อยละ 17.8 ระบุมากกว่า 20,000 บาท

โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา          ร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                                           56.1
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                           11.7
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                            9.3
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                                        11.5
5          ไม่ติดตามเลย                                              11.4
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการซื้อหวยทั้งสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยใต้ดิน
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อการซื้อหวยทั้งสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยใต้ดิน     ค่าร้อยละ
1          คิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมไทย                           95.3
2          ไม่คิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา                                   4.7
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้/ได้ยินข่าวชาวบ้านไปขอเลขเด็ดจากแหล่งต่างๆ  อาทิ พระ สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ร่างทรง ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่          การรับรู้/ได้ยินข่าวในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา                 ค่าร้อยละ
1          เคยได้ยิน                                                 85.2
2          ไม่เคยได้ยิน                                               14.8
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นก85รณีเมื่อได้ยินข่าวคนได้เลขเด็ดมาแล้วมีส่วนทำให้อยากเล่นหวยหรือไม่
(เฉพาะคนที่เคยได้ยินข่าวการขอเลขเด็ด)
ลำดับที่          ความคิดเห็น                    ค่าร้อยละ
1          มีส่วนทำให้อยากเล่นหวยมาก              8.7
2          ค่อนข้างมาก                         16.9
3          ค่อนข้างน้อย                         13.6
4          ไม่มีส่วนทำให้อยากเล่นหวยเลย           60.9
          รวมทั้งสิ้น                           100.0

ตารางที่ 5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ในการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล/หวยใต้ดิน (อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต)
ลำดับที่          ประสบการณ์ในการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล/หวยใต้ดิน (อย่างน้อย 1 ครั้งชีวิต)    ค่าร้อยละ
1          เคยซื้อ                                                              71.4
2          ไม่เคยซื้อ                                                            28.6
          รวมทั้งสิ้น                                                            100.0

ตารางที่ 6  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลที่ทำให้อยากซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล/หวยใต้ดิน (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่เคยซื้อ

และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          เหตุผลที่ทำให้อยากซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล/หวยใต้ดิน       ค่าร้อยละ
1          ชอบลุ้น/ตื่นเต้น                                        59.2
2          ช่วยเหลือสังคม                                        54.7
3          หวังรวยทางลัด                                        52.9
4          คลายเครียด                                          46.3
5          ความชอบส่วนตัว                                       45.0
6          คนใกล้ชิด เช่น พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง คนรอบข้างเล่นกัน            43.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเล่น/ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล เปรียบเทียบกับหวยใต้ดิน
ลำดับที่          ความคิดเห็น                         ค่าร้อยละ
1          ชอบเล่น/ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลมากกว่า          64.7
2          ชอบเล่น/ซื้อหวยใต้ดินมากกว่า                 21.4
3          ชอบพอๆกัน                               13.9
          รวมทั้งสิ้น                                100.0

ตารางที่ 8 แสดงจำนวนครั้งโดยเฉลี่ยในการเล่น/ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล/หวยใต้ดิน และการถูกรางวัลในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
 การเล่น/ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล/หวยใต้ดิน และการถูกรางวัล     ค่าเฉลี่ย ที่เคยซื้อ(ครั้ง)     ค่าเฉลี่ย ที่เคยถูกรางวัล(ครั้ง)
 ซื้อหวยรัฐบาล/หวยใต้ดินในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา                   8.40  ครั้ง               1.06  ครั้ง

ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการได้รับเลขเด็ดจากแหล่งต่างๆ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่เคยซื้อ
และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          การได้รับเลขเด็ดจากแหล่งต่างๆ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา       ค่าร้อยละ
1          สัตว์ที่มีรูปร่างประหลาดผิดธรรมชาติ                              96.2
2          วัตถุแปลกประหลาด                                          96.2
3          ร่างทรง (คนทรงเจ้า-เข้าผี)                                  93.6
4          ต้นไม้ใหญ่ หรือพืชพรรณแปลกๆ                                  93.0
5          อาจารย์ใบ้หวย                                             91.9
6          ศาลเจ้าพ่อ เจ้าแม่ ผู้ล่วงลับ                                   91.1
7          การบูชาวัตถุบางอย่าง                                        88.2
8          สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์                                 86.7
9          พระ                                                     83.4
10         เด็กเล็ก บุตรหลาน                                          76.9
11         อ่านจากหนังสือพิมพ์/สิ่งพิมพ์เกี่ยวกับหวย                           76.2
12         เลขเด็ดจากทะเบียนรถ                                       41.9

ตารางที่ 10  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการถูกรางวัลจากเลขเด็ดที่ได้มา (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่เคยซื้อหวยจากเลขเด็ด)
ลำดับที่          การถูกรางวัลจากเลขเด็ดที่ได้มา                                          ค่าร้อยละ
1          เคยถูก  จำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่เคยถูกรางวัลจากเลขเด็ดที่ได้มา เท่ากับ  0.83  ครั้ง       35.5
2          ไม่เคยถูกเลย                                                             64.5
          รวมทั้งสิ้น                                                                100.0

ตารางที่ 11  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปรียบเทียบระหว่างเงินที่ใช้ซื้อหวยกับเงินที่ได้จากการถูกหวย

(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่เคยซื้อ)

ลำดับที่          การเปรียบเทียบระหว่างเงินที่ใช้ซื้อหวยกับเงินที่ได้จากการถูกหวย                  ค่าร้อยละ
1          เสียเงินซื้อหวยมากกว่า                                                      81.7
2          ได้เงินจากการถูกหวยมากกว่า                                                 10.0
3          พอๆ กัน                                                                  8.3
          รวมทั้งสิ้น                                                                100.0

ตารางที่ 12  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการล็อคเลขในการออกหวยในบางครั้ง
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                ค่าร้อยละ
1          เชื่อว่ามีการล็อคเลขในการออกหวย ในบ้างครั้ง            60.9
2          ไม่เชื่อว่ามีการล็อคเลข                              39.1
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0

ตารางที่ 13  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อโอกาสในการได้รับเงิน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการทำงานหนักเพื่อ

ให้ได้เงินมา กับเงินที่ได้จากการซื้อหวย

ลำดับที่          ความคิดเห็น                                ค่าร้อยละ
1          การทำงานหนักมีโอกาสได้เงินมากกว่า                   98.5
2          การซื้อหวยมีโอกาสได้เงินมากกว่า                       1.5
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0

ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการมีหวยออนไลน์เกิดขึ้นในสังคมไทย
ลำดับที่          ความคิดเห็น          ค่าร้อยละ
1          เห็นด้วย  เพราะ... ถึงไม่มีหวยออนไลน์คนก็เล่นหวยกันอยู่แล้ว/จะได้ไม่ต้องมีหวยใต้ดิน/             40.4

รัฐบาลมีรายได้มากขึ้น/เป้นการเสี่ยงโชค เป็นทางเลือกของคนจน/

คิดว่าหวยออนไลน์จะสามารถแก้ปัญหาหวยใต้ดินได้/ประชาชนจะได้เล่นหวย

ที่ถูกฎหมาย

2          ไม่เห็นด้วย  เพราะ.....สังคมไทยเป็นสังคมแห่งพระพุทธศาสนาควรช่วยกันลดอบายมุขมากกว่า         59.6

ส่งเสริม / หวยออนไลน์จะเป็นการมอมเมาประชาชน/ทำให้คนเล่นการพนันมากขึ้น /

ยังไม่มีกฎเกณฑ์และเจ้าหน้าที่ที่เข้มงวดเพียงพอ/ จะทำให้เกิดปัญหาสังคมหลายอย่างตามมา

          รวมทั้งสิ้น                                                                        100.0
  • จากผลสำรวจเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2552

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ