ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการ สำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำ การสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจ เรื่อง ปัญหาการ แต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ กับภาวะความเป็นผู้นำและความนิยมของสาธารณชนต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชิน วัตร กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ปทุมธานี เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี ชลบุรี หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น ระนอง พัทลุง และสุราษฎร์ ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,208 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 21-22 สิงหาคม 2552
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.6 มองว่าข่าวปัญหาในการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่เป็นการแย่งชิงอำนาจและความได้ เปรียบทางการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 32.4 มองว่าเป็นการช่วยกันหาคนดีมาทำงานแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากปัญหาแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่จบ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.3 คิด ว่าปัญหาต่างๆ ในองค์กรตำรวจยังคงมีมากเหมือนเดิม ร้อยละ 92.2 คิดว่าปัญหาการซื้อขายตำแหน่งยังมีเหมือนเดิม ร้อยละ 80.7 คิดว่าตำรวจที่ออก มาร้องเรียนต่อสื่อมวลชนจะเดือดร้อน และร้อยละ 80.2 คิดว่าปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเรื่อง อาชญากรรมและยาเสพติดจะมีมากเหมือนเดิม
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.1 คิดว่า นายกรัฐมนตรีควรเป็นประธานดูแลนโยบายตำรวจ เท่านั้น ในขณะที่ร้อยละ 42.9 ระบุว่านายกรัฐมนตรีควรเป็นประธานมีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจด้วย
และเมื่อถามถึงผู้ที่ประชาชนสนับสนุนให้เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.8 ระบุเป็น พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รองลงมาคือ ร้อยละ 47.6 ระบุ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ร้อยละ 45.4 ระบุ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ ร้อยละ 45.3 ระบุ พล.ต. อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ และร้อยละ 39.1 ระบุพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี
และเมื่อวิเคราะห์ค่าคะแนนด้านความเป็นผู้นำโดยภาพรวม จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ระหว่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ พ.ต. ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร พบว่า นายอภิสิทธิ์ ได้ 49.38 คะแนน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ 54.41 คะแนน แต่เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า นาย อภิสิทธิ์ จะได้คะแนนความเป็นผู้นำสูงกว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในกลุ่มคนที่มีการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป คือ ในกลุ่มคนที่ต่ำกว่าปริญญาตรี นาย อภิสิทธิ์ ได้ 48.07 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ 55.10 ในกลุ่มคนที่มีการศึกษาปริญญาตรี นายอภิสิทธิ์ ได้ 55.38 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ 52.74 และใน กลุ่มคนที่สูงกว่าปริญญาตรี นายอภิสิทธิ์ ได้ 57.75 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ 47.08 คะแนน แต่เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ทั้งประเทศยังคงมีการศึกษาต่ำ กว่าปริญญาตรีภาพรวมจึงทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้คะแนนต่ำกว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
เช่นเดียวกันกับ ความนิยมของประชาชนต่อนักการเมืองทั้งสอง พบว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กำลังได้รับความนิยมสูงกว่า นายอภิสิทธิ์ คือ ร้อยละ 43.6 ต่อ ร้อยละ 39.8 ตามลำดับ แต่ถ้าจำแนกในกลุ่มชายและหญิง กลับพบว่า ในกลุ่มผู้หญิง นายอภิสิทธิ์ ได้ยังคงได้รับความนิยมสูงกว่า คือ ร้อยละ 42.5 ต่อร้อยละ 40.8 แต่ในกลุ่มผู้ชาย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้คะแนนนิยมสูงกว่า นายอภิสิทธิ์ คือ ร้อยละ 46.7 ต่อร้อยละ 36.7
แต่ความในใจที่ประชาชนฝากเตือนรัฐบาลชุดปัจจุบันคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.9 ระบุว่าจะรณรงค์ให้คนไทยสามัคคีกัน รัฐบาลต้องเป็น ตัวอย่างทำให้ดูก่อน ร้อยละ 77.4 ระบุว่า อย่ามัวแต่ทะเลาะกัน ร้อยละ 68.5 ระบุระวังจะเสียโอกาส และร้อยละ 63.1 ระบุรัฐบาลกำลังทำให้คน ไทยทั้งประเทศผิดหวัง ตามลำดับ
ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า สรุปก็คือว่า ปัญหาการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่กำลังกลายเป็นประเด็นทางการเมืองกระทบ ต่อความเชื่อมั่นและความนิยมของสาธารณชนต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและรัฐบาลชุดปัจจุบัน ประชาชนมองว่านายกรัฐมนตรีควรเป็นประธานคณะ กรรมการดูแลนโยบายอย่างเดียว ไม่ควรเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งโยกย้ายโดยตรง แต่องค์กรตำรวจก็ควรจะถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการรับเรื่องราว ร้องทุกข์จากประชาชนได้โดยตรง การแต่งตั้งโยกย้ายควรให้ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการทั้งภายในและภายนอกที่สังคมยอมรับ แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ ภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรีกำลังถูกสั่นคลอนและส่งผลทำให้อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ที่อยู่ต่างประเทศกลับได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น จึงเสนอให้แกนนำรัฐบาลชุดปัจจุบัน “หยุด” ก้าวก่ายแทรกแซงหน่วยงานราชการ จะลงโทษลงทัณฑ์ก็ให้มีหลักฐานชัดแจ้งและสังคมเห็นพ้องด้วยเสียก่อน แต่ควร “เร่ง” แก้ปัญหาเดือดร้อน ปัญหาปากท้องของประชาชนดีกว่า และถ้าจะรณรงค์ให้คนไทยรักและสามัคคีกัน แกนนำรัฐบาลต้องทำให้เป็นตัวอย่าง ที่ดีก่อน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.1 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.9 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 3.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 18.2 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 22.5 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 26.4 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และ ร้อยละ 29.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 20.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 27.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.4 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.3 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 3.8 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่าเป็นการแย่งชิงอำนาจและความได้เปรียบทางการเมือง 67.6 2 คิดว่าเป็นการช่วยกันหาคนดีมาทำงานแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน 32.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่คิดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากปัญหาแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่จบ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ปัญหาต่างๆ ในองค์กรตำรวจยังคงมีมากเหมือนเดิม 92.3 2 ปัญหาซื้อขายตำแหน่งยังมีเหมือนเดิม 92.2 3 ตำรวจที่ออกมาร้องเรียนต่อสื่อมวลชนจะเดือดร้อน 80.7 4 ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเรื่อง อาชญากรรม และยาเสพติดยังมีมากเหมือนเดิม 80.2 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบทบาทของนายกรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับตำรวจ ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อบทบาทของนายกรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับตำรวจ ค่าร้อยละ 1 นายกรัฐมนตรีควรเป็นประธานดูแลนโยบายตำรวจเท่านั้น 57.1 2 นายกรัฐมนตรีควรเป็นประธานมีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจด้วย 42.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนผู้ที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ผู้ที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ค่าร้อยละ 1 พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ 62.8 2 พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย 47.6 3 พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ 45.4 4 พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ 45.3 5 พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี 39.1 ตารางที่ 5 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยภาพลักษณ์ในความเป็นผู้นำเปรียบเทียบระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
(จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน)
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำ คะแนนโดยเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน 1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 49.38 2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 54.41 ตารางที่ 6 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยภาพลักษณ์ในความเป็นผู้นำเปรียบเทียบระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน) จำแนกตามระดับการศึกษา ลำดับที่ ภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำ ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี 1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 48.07 55.38 57.75 2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 55.10 52.74 47.08 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมชอบนักการเมืองระหว่าง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลำดับที่ นักการเมืองที่นิยมชอบ ค่าร้อยละ 1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 43.6 2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 39.8 3 ไม่มีความคิดเห็น 16.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมชอบนักการเมืองระหว่าง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จำแนกตามเพศ ลำดับที่ นักการเมืองที่นิยมชอบ เพศชายค่าร้อยละ เพศหญิงค่าร้อยละ 1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 46.7 40.8 2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 36.7 42.5 3 ไม่มีความคิดเห็น 16.6 16.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่อยากจะเตือนรัฐบาลชุดปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ สิ่งที่อยากจะเตือนรัฐบาลชุดปัจจุบัน ค่าร้อยละ 1 จะรณรงค์ให้คนไทยสามัคคีกัน รัฐบาลต้องเป็นตัวอย่างทำให้ดูก่อน 79.9 2 อย่ามัวแต่ทะเลาะกัน 77.4 3 ระวังจะเสียโอกาส 68.5 4 รัฐบาลกำลังทำให้คนไทยทั้งประเทศผิดหวัง 63.1 --เอแบคโพลล์-- -พห-