เอแบคโพลล์: โครงการสำรวจความรัก ความเข้าใจ ความเอาใจใส่ และความเอื้ออาทรของสาธารณชนต่อคนพิการในสังคมไทย

ข่าวผลสำรวจ Wednesday July 12, 2006 11:09 —เอแบคโพลล์

ที่มาของโครงการ  
ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมไทย มีสภาวะการณ์การแข่งขันสูง ทำให้ทุกคนในสังคมต้องประสบกับปัญหาการแก่ง
แย่งแข่งขัน เพื่อให้เข้าถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ประกอบกับความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมถึงฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความไม่
เท่าเทียมกันของคนในสังคม โดยกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากความไม่เท่าเทียมกันดังกล่าว คือ คนพิการหรือบุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่าง
กายและสติปัญญา ซึ่งอาจถูกละเลยและถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการช่วยเหลือ และสนับสนุนเอาใจใส่ที่จริงจังจากคนในสังคมทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนใน
หลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านการศึกษา ด้านการประกอบอาชีพ ด้านการแพทย์ และด้านสวัสดิการต่าง ๆ ที่ควรจะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน
ดังนั้นการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนโดยทั่วไปรวมทั้งคนพิการ ของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สังคมได้
ตระหนักถึงความรัก ความเข้าใจ ความเอาใจใส่ และความเอื้ออาทร ต่อคนพิการในส่วนของความคิดเห็นของประชาชนโดยทั่วไป รวมทั้งความคิด
เห็นของคนพิการ ในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้มองเห็นทิศทางและแนวทางในการเปลี่ยนแปลง
แก้ไข เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมไทยได้อย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย
1. เพื่อให้สังคมได้ได้ตระหนักถึงความรัก ความเข้าใจ ความเอาใจใส่ และความเอื้ออาทรต่อคนพิการ
2. เพื่อให้ทราบถึง แนวความคิด และทัศนคติของประชาชนโดยทั่วไปที่มีต่อคนพิการ
3. เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนพิการ และนำมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไป
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
การวิจัยภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “โครงการสำรวจ ความรัก ความเข้าใจ ความเอาใจใส่
และความเอื้ออาทรของสาธารณชนต่อคนพิการในสังคมไทย: กรณีศึกษาคนพิการ และประชาชนอายุ 13 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน — 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย ในการวิจัยครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มคือ 1. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่อายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพ
มหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ 2. กลุ่มคนพิการ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่างในเขตกรุงเทพ
มหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ และการสุ่มตัวอย่างแบบความเป็นไปได้ตามสัดส่วนของขนาดประชากร (Probability
Proportionate to Size Sampling) ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายระดับครัวเรือน (household) และแหล่งที่พักอาศัยอื่นๆ อาทิ หอพัก
อพาร์ตเมนต์ คอนโดมิเนียม และสถานสงเคราะห์คนพิการ เป็นต้น
ขนาดของตัวอย่าง คือ 1,642 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 14.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.0 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 18.7 อายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 20.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา
ร้อยละ 21.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 20.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 11.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 18.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 20.2 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 17.5 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.7 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 8.0 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 3.5 ระบุว่างงาน
ร้อยละ 0.5 ระบุอาชีพเกษตรกร
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.3 ระบุรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 38.8 ระบุรายได้ส่วนตัวอยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 14.1 ระบุรายได้ส่วนตัวอยู่ระหว่าง 10,001-15,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 7.0 ระบุรายได้ส่วนตัวอยู่ระหว่าง 15,001-20,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 3.2 ระบุรายได้ส่วนตัวอยู่ระหว่าง 20,001-25,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 3.0 ระบุรายได้ส่วนตัวอยู่ระหว่าง 25,001-30,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 3.6 ระบุรายได้สูงกว่า 30,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “โครงการสำรวจ ความรัก
ความเข้าใจ ความเอาใจใส่ และความเอื้ออาทรของสาธารณชนต่อคนพิการในสังคมไทย: กรณีศึกษาคนพิการ และประชาชนอายุ 13 ปีขึ้นไป ใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,642 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน - 4 กรกฏาคม
2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจในประเด็นความรู้สึกของคนพิการต่อการรับรู้ตนเอง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 83.3 ระบุว่า ตัวเองมีคุณค่าเหมือนกับคนอื่น ๆ
ร้อยละ 81.0 ระบุว่า ตัวเองเป็นคนที่มีความสามารถ ร้อยละ 74.3 ระบุว่า รู้สึกว่าตัวเองมีคุณลักษณะที่ดีอยู่หลายประการ ร้อยละ 74.2 ระบุว่า
พอใจในสิ่งที่ตนเองเป็นอยู่ ร้อยละ 74.0 ระบุว่า มองตนเองในทางที่ดี และร้อยละ 65.3 ระบุว่า สามารถทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมได้
สำหรับความคิดเห็นของสาธารณชนที่มีต่อคนพิการ ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 97.3 ระบุว่า รู้สึกสงสารคนพิการ ร้อยละ 96.2
ระบุว่า ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับคนพิการ ร้อยละ 92.1 ระบุว่า คนพิการสมควรได้รับสิทธิในสังคมเท่าเทียมกับคน
ปกติ ร้อยละ 90.5 ระบุว่า คนพิการเป็นคนที่มีคุณค่าเหมือนกับคนปกติทั่วไปและไม่รู้สึกรังเกียจคนพิการ ร้อยละ 90.1 ระบุว่า ถ้ามีโอกาสจะให้
ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ในทันที ร้อยละ 89.9 ระบุว่า ไม่เคยมองคนพิการด้วยสายตาเหยียดหยาม ร้อยละ 88.8 ระบุว่า คนพิการสามารถทำ
ประโยชน์ให้กับสังคมได้เหมือนคนปกติทั่วไป ร้อยละ 87.4 ระบุว่า ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนพิการเท่าๆ กันกับความคิดเห็นของคนทั่วไป ร้อยละ
85.3 ระบุว่า คนพิการสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมได้ ร้อยละ 85.1 ระบุว่า คนพิการสามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้เช่นเดียวกับคนปกติทั่ว
ไป
ความคิดเห็นของคนพิการต่อการยอมรับจากคนรอบข้าง ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 87.3 ระบุว่า ต้องการให้รัฐบาล และ
องค์กรต่าง ๆ ดำเนินการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ร้อยละ 80.9 ระบุว่า ต้องการได้รับการชมเชยและยกย่องจากคนรอบข้าง ร้อย
ละ 79.4 ระบุว่า ต้องการใช้ชีวิตร่วมกับคนรอบข้างได้อย่างเป็นปกติ ร้อยละ 78.5 ระบุว่า ต้องการให้คนรอบข้างเป็นมิตรและให้ความสนิทสนมเป็น
กันเอง และร้อยละ 76.5 ระบุว่าต้องการให้คนรอบข้างพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ
ดร.นพดล กล่าวว่า จากผลการสำรวจความคิดเห็นของคนพิการและสาธารณชน พบว่า คนพิการมีความรู้สึกเห็นคุณค่าของตัวเอง มองตน
เองว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถ มีประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งเป็นการมองตนเองในทางบวก มีทัศนคติที่ดีต่อตัวเอง ส่วนการได้รับการยอมรับจากสังคมรอบ
ข้าง กลุ่มผู้พิการระบุว่า คนทั่วไปให้ความสำคัญและให้การยกย่องชมเชย และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือคนพิการ ยอมรับและเข้าใจคนพิการ ไม่ได้
มองคนพิการในแง่ลบ หรือมองคนพิการว่าเป็นปัญหาสังคม โดยพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน ซึ่งสิ่งที่สาธารณชนมองว่าคนพิการควรได้รับ
การสนับสนุนจากสังคมมากที่สุด คือ การส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาชีพและการทำงาน เช่น การอบรมด้านวิชาชีพ รองลงมาคือความช่วยเหลือทาง
ด้านการแพทย์ที่ทันสมัยและการสนับสนุนทางด้านการศึกษา เช่น การให้ทุนการศึกษา และอื่นๆ ที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนพิการ เช่น ห้องน้ำ
สำหรับคนพิการ ทางลาดสำหรับรถเลื่อน ทางเดินเท้า เป็นต้น ในขณะที่กลุ่มคนพิการระบุว่าสิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือ ทางลาดสำหรับรถเลื่อนคนพิการ
รองลงมาคือ ความต้องการความช่วยเหลือทางด้านการแพทย์ที่ทันสมัย และทางเดินเท้าสำหรับคนพิการ นอกจากนี้ผลสำรวจยังพบว่า สิ่งที่คนพิการต้อง
การและยังไม่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนตามความต้องการของคนพิการ คือ ลิฟท์สำหรับคนพิการในที่สาธารณะ ที่จอดรถสำหรับคนพิการ ที่อยู่
อาศัยของคนพิการไม่ใช่สถานสงเคราะห์ การทำบัตรประชาชนของคนพิการ เป็นต้น
สำหรับความคาดหวังจากสังคมของสาธารณชนและคนพิการ มีความต้องการที่เหมือนกันแต่จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของการให้ลำดับ
ความความสำคัญ โดย กลุ่มคนพิการให้ความสำคัญ ด้านการศึกษาเป็นอันดับแรก คิดเป็นร้อยละ 82.4 ด้านอาชีพและการจ้างงาน คิดเป็นร้อยละ
75.5 ด้านการแพทย์ คิดเป็นร้อยละ 66.7 และด้านสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก คิดเป็นร้อยละ 64.7 ซึ่งประชาชนทั่วไปมีความคิดเห็น
ว่าสิ่งที่สังคมควรที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้กับคนพิการเป็นอันดับแรก คือ ด้านอาชีพและการจ้างงาน คิดเป็นร้อยละ 77.6 ด้านการศึกษา คิดเป็นร้อย
ละ 73.9 ด้านสังคม คิดเป็นร้อยละ 59.9 และด้านการแพทย์ คิดเป็นร้อยละ 51.4 ตามลำดับ
นอกจากนี้ความต้องการความช่วยเหลือจากสังคมสำหรับคนพิการทั้งในมุมมองของสาธารณชนและมุมมองของคนพิการ พบว่า สิ่งที่สังคมยัง
ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของคนพิการได้ตรงตามความคาดหวัง โดยเฉพาะในประเด็น
1. ความเสมอภาคทางสังคม
2. การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมสาธารณะเหมือนกับคนปกติ
3. ที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการ ที่ไม่ใช่สถานสงเคราะห์
4. การทำนิติกรรมกับธนาคารควรที่จะได้รับความสะดวกทุกสาขา
5. การทำบัตรประชาชนสำหรับคนพิการ
6. การส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาชีพและการทำงาน เช่น การอบรมด้านวิชาชีพ
7. ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ที่ทันสมัย
8. การสนับสนุนด้านการศึกษา เช่น ให้ทุนการศึกษา
9. ห้องน้ำสำหรับคนพิการ
10. ทางลาดสำหรับรถเลื่อนคนพิการ เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกของ “คนพิการ” เรื่องการรับรู้ตนเอง
ลำดับที่ ข้อความ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
1. รู้สึกว่าตนเองเป็นคนที่มีคุณค่าเหมือนกับคนอื่นๆ 43.1 40.2 14.7 2.0 0.0
2. พอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ 26.7 47.5 14.9 6.9 4.0
3. รู้สึกท้อแท้ ผิดหวัง และล้มเหลว 9.0 29.0 18.0 35.0 9.0
4. มักจะยอมแพ้ต่อสิ่งต่างๆ โดยง่าย 7.8 19.6 15.7 43.2 13.7
5. รู้สึกว่าตัวเองไม่เท่าเทียมกับคนอื่นๆ 8.9 30.8 25.7 27.7 6.9
6. มักจะมองตนเองไปในทางที่ดี 21.0 53.0 19.0 5.0 2.0
7. มักจะทำผิดพลาดอยู่บ่อยๆ 9.0 30.0 25.0 30.0 6.0
8. เป็นคนมีความสามารถ 31.0 50.0 14.0 4.0 1.0
9. รู้สึกว่าตนเองไม่มีอะไรดี 7.1 18.2 25.3 39.3 10.1
10. เป็นคนที่น่าเคารพยกย่อง 8.1 32.3 40.4 17.2 2.0
11. เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตคนหนึ่ง 16.8 45.6 28.7 6.9 2.0
12. รู้สึกว่าตนเองเป็นคนที่ไร้ประโยชน์ 5.0 11.9 17.8 45.5 19.8
13. รู้สึกว่าตัวเองไม่มีอะไรที่น่าภูมิใจในชีวิต 7.9 14.9 26.7 33.7 16.8
14. ถ้าเลือกเกิดได้ จะไม่เกิดเป็นตัวเองในขณะนี้ 21.6 30.4 18.6 14.7 14.7
15. คิดว่าตัวเองมีคุณลักษณะที่ดีอยู่หลายประการ 26.7 47.6 18.8 5.9 1.0
16. ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง 8.9 17.8 23.8 34.6 14.9
17. รู้สึกเบื่อตัวเอง 10.0 20.0 30.0 25.0 15.0
18. รู้สึกว่าชีวิตด้อยกว่าชีวิตของคนอื่น ๆ 11.8 17.6 21.6 32.3 16.7
19. คิดว่าความพิการเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต 10.8 33.3 16.7 20.6 18.6
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นและความรู้สึกของ “สาธารณชน” ต่อคนพิการ
ลำดับที่ ข้อความ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
1. รู้สึกสงสารคนพิการ 54.2 43.1 2.3 0.3 0.1
2. คนพิการเป็นคนที่มีคุณค่าเหมือนกับคนปกติทั่วไป 33.4 57.1 6.9 2.4 0.2
3. คิดว่าคนพิการเป็นภาระที่สังคมจะต้องรับผิดชอบ 14.5 35.6 20.6 23.6 5.7
4. คนพิการเป็นคนที่มีความสามารถเหมือนกับคนปกติทั่วไป 14.9 51.3 23.5 9.2 1.1
5. คนพิการสามารถทำงานได้ดีและมีคุณภาพเหมือนกับคนปกติทั่วไป 14.1 47.8 27.0 9.8 1.3
6. รู้สึกอายเวลาที่ต้องพูดคุย / ทานข้าว หรือทำกิจกรรมอื่นๆ
ร่วมกับคนพิการ 3.8 8.3 8.3 49.4 30.2
7. คนพิการสมควรได้รับสิทธิในสังคมเท่ากันกับคนปกติ 43.8 48.3 4.9 2.4 0.6
8. คิดว่า ชีวิตของคนพิการเป็นชีวิตที่ด้อยกว่าคนปกติทั่วไป 9.0 33.6 15.7 31.1 10.6
9. คนพิการเป็นผู้ที่สามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้
เหมือนคนปกติทั่วไป 30.2 54.9 11.4 3.0 0.5
10. ปัจจุบัน คนพิการเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปในสังคม 16.4 49.9 26.8 5.9 1.0
11. คนพิการเป็นคนไร้ประโยชน์ 2.1 5.4 7.2 49.5 35.8
12. ถ้าท่านมีโอกาสช่วยเหลือคนพิการ ท่านจะให้
ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ในทันที 35.4 54.7 8.6 0.9 0.4
13. ให้น้ำหนักและยอมรับฟังความคิดเห็นของคนพิการเท่าๆ
กันกับความคิดเห็นของคนทั่วไป 26.3 61.1 10.4 1.4 0.8
14. รู้สึกรังเกียจคนพิการ 2.5 3.4 3.6 46.6 43.9
15. เคยมองคนพิการด้วยสายตาเหยียดหยาม 2.4 3.5 4.2 41.2 48.7
16. คนพิการสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติ 33.0 54.0 8.8 3.1 1.1
17. คนพิการสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมได้เหมือนคนทั่วไป 31.7 57.1 8.4 2.4 0.4
18. ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการช่วยเหลือและ
แก้ไขปัญหาให้กับคนพิการ 61.2 35.0 3.0 0.3 0.5
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุความคิดเห็น/ ความรู้สึกของ “คนพิการ” กับการยอมรับจากสังคม
ลำดับที่ ข้อความ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
1. คนรอบข้างมักให้ความเอาใจใส่ 36.3 38.3 18.6 2.9 3.9
2. คนรอบข้างพร้อมให้ความช่วยเหลือ 34.3 42.2 17.6 4.9 1.0
3. คนรอบข้างยินดีรับฟังความคิดเห็น 24.0 45.0 25.0 5.0 1.0
4. คนรอบข้างเป็นมิตรและให้ความสนิทสนมเป็นกันเอง 30.4 48.1 18.6 2.9 0.0
5. เคยถูกคนรอบข้างมองด้วยสายตารังเกียจ เหยียดหยาม 10.9 23.8 26.6 23.8 14.9
6. เคยได้รับคำชมเชยจากคนในสังคม 27.3 53.6 14.1 4.0 1.0
7. รู้สึกว่าความพิการของท่านเป็นปัญหาสังคม 12.7 20.6 15.7 35.3 15.7
8. สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติ 32.4 47.0 13.7 4.9 2.0
9. รู้สึกว่าตนเองมีประโยชน์ต่อสังคม 29.0 44.0 21.0 4.0 2.0
10. รู้สึกว่าตัวเองเป็นที่รักและได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง 25.5 44.1 22.5 6.9 1.0
11. คิดว่าสังคมไทยให้โอกาสไม่เท่าเทียมกับคนอื่นๆ 20.8 32.6 23.8 17.8 5.0
12. ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา 59.8 27.5 7.8 3.9 1.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของการเปรียบเทียบเกี่ยวกับความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ
สำหรับคนพิการระหว่างความคาดหวังกับกับการรับรู้/ เห็นปฏิบัติจริงของคนพิการ
ลำดับที่ ข้อคำถาม ความคาดหวังโดยค่าเฉลี่ย การรับรู้/เห็นปฏิบัติจริงโดยค่าเฉลี่ย ผลต่าง
1. การสนับสนุนด้านการศึกษา เช่น ให้ทุนการศึกษา 4.28 2.61 1.67
2. การส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาชีพและ
การทำงาน เช่น การอบรมด้านวิชาชีพ 4.21 2.77 1.44
3. ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ที่ทันสมัย 4.36 2.85 1.51
4. ห้องน้ำสำหรับคนพิการ 4.27 2.97 1.3
5. ลิฟท์สำหรับคนพิการในที่สาธารณะ 4.23 2.39 1.84
6. ที่จอดรถสำหรับคนพิการ 4.29 2.41 1.88
7. ทางเดินเท้าสำหรับคนพิการ 4.30 2.45 1.85
8. ห้องสมุดสำหรับคนพิการ 4.28 2.52 1.76
9. ทางลาดสำหรับรถเลื่อนคนพิการ 4.41 2.69 1.72
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของการเปรียบเทียบเกี่ยวกับความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ สำหรับคนพิการระหว่างความคาดหวังกับกับการรับรู้ของสาธารณชน
ลำดับที่ ข้อคำถาม ความคาดหวังโดยค่าเฉลี่ย การรับรู้จริงโดยค่าเฉลี่ย ผลต่าง
1. การสนับสนุนด้านการศึกษา เช่น ให้ทุนการศึกษา 4.40 3.03 1.37
2. การส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาชีพและ
การทำงาน เช่น การอบรมด้านวิชาชีพ 4.48 3.17 1.31
3. ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ที่ทันสมัย 4.46 3.06 1.40
4. ห้องน้ำสำหรับคนพิการ 4.38 3.10 1.28
5. ลิฟท์สำหรับคนพิการในที่สาธารณะ 4.00 2.57 1.43
6. ที่จอดรถสำหรับคนพิการ 3.81 2.50 1.31
7. ทางเดินเท้าสำหรับคนพิการ 4.14 2.69 1.45
8. ห้องสมุดสำหรับคนพิการ 4.02 2.66 1.36
9. ทางลาดสำหรับรถเลื่อนคนพิการ 4.27 2.79 1.48
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นของ “คนพิการ” เกี่ยวกับความรู้สึกวิตกกังวลในการเข้าสังคม
ลำดับที่ ความรู้สึกวิตกกังวลในการเข้าสังคม ค่าร้อยละ
1 เคย เช่น กลัวเป็นภาระของคนอื่น กลัวไม่มีงานทำ
และกลัวไม่ได้รับการยอมรับจากคนในสังคม เป็นต้น 41.2
2 ไม่เคยเลย ข้าพเจ้าปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี 58.8
รวม 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคาดหวังของสาธารณชนและคนพิการที่ต้องการให้สังคมช่วยเหลือ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคาดหวังให้สังคมช่วยเหลือ คนทั่วไป คนพิการ
1 ด้านการศึกษา 73.9 82.4
2 ด้านสังคม 59.9 50.0
3 ด้านการแพทย์ 51.4 66.7
4 ด้านอาชีพและการจ้างงาน 77.6 75.5
5 ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย 36.3 50.0
6 ด้านสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก 49.7 64.7
7 อื่น ๆ อาทิ การได้รับการยอมรับจากคนในสังคม
ที่อยู่อาศัย ความเท่าเทียมกัน มีกองทุนสำรองสำหรับคนพิการ เป็นต้น 4.0 3.9
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นของ “สาธารณชน” เกี่ยวกับความพิการของคน
ในครอบครัวหรือตนเอง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อตนเองและครอบครัว ค่าร้อยละ
ในกรณีประสบอุบัติเหตุให้ร่างกายพิการหรือบกพร่องทางสติปัญญา
1 หมดหวังท้อแท้ ไม่คิดว่าจะรักษาให้หายได้ 11.8
2 มีความหวังว่าจะหาย 47.4
3 ยอมรับความเจ็บป่วยว่าเป็นเรื่องธรรมดา 34.0
4 รู้สึกเฉย ๆ 2.8
5 อื่น ๆ อาทิ รับไม่ได้ เสียใจ เครียด อยากฆ่าตัวตาย ทำในสิ่งที่ตัวเองสามารถทำได้ เป็นต้น 4.1
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นของสาธารณชนและคนพิการต่อความต้องการให้รัฐบาล
ดำเนินการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับคนพิการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับคนพิการ คนทั่วไป คนพิการ
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ