เอแบคโพลล์: ความสุขมวลรวมวันนี้ ของประชาชนภายในประเทศ(GDH Index) ประจำเดือนสิงหาคม 2552

ข่าวผลสำรวจ Monday August 31, 2009 07:55 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์ โพลล์” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็น ตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 10 ชั่วโมง จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียล ไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง ความสุขมวลรวมวันนี้ ของประชาชนภายในประเทศ (GDH Index) ประจำเดือนสิงหาคม 2552 กรณีศึกษา ตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัดของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ปทุมธานี เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี ชลบุรี หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น ระนอง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,292 ครัว เรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 29 สิงหาคม 2552 พบว่า ส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์

ผลวิจัยแนวโน้มค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศเดือนสิงหาคม เปรียบเทียบกับความสุขของประชาชนคนไทยเดือนกรกฎาคม พบว่า ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้นจาก 5.92 ในเดือนกรกฎาคม มาอยู่ที่ 7.18 ในการสำรวจครั้งล่าสุดในเดือน สิงหาคมนี้ โดยประชาชนคนไทยมีความสุขสูงสุดอยู่ที่ 9.20 เมื่อเห็นคนไทยแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ และงานวันเฉลิมพระชนม์พรรษามหาราชินี รองลงมาคือความสุขต่อบรรยากาศของคนในครอบครัว อยู่ที่ 8.44 ความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณีไทย อยู่ที่ 8.19 การนอนหลับได้สนิทอยู่ที่ 7.75 สุขภาพใจอยู่ที่ 7.73 ความสุขทางกาย อยู่ที่ 7.69 ความสุขต่อหน้าที่การงานอยู่ที่ 7.63 รองๆ ลงไปคือ ความสุขต่อสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ดี ระบบการศึกษาของประเทศ สภาวะเศรษฐกิจของตนเองและครอบครัว และความเป็นธรรมทางสังคมที่ได้รับ

ที่น่าพิจารณาคือ ความสุขของคนไทยต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในการสำรวจครั้งนี้พบว่ามีความสุขเกินกว่าครึ่งคือ 5.15 คะแนนจาก คะแนนเต็ม 10 แต่ความสุขที่ต่ำกว่าครึ่งมีอยู่สองปัจจัยคือ บรรยากาศทางการเมืองของประเทศในปัจจุบันได้ 4.63 และที่ต่ำสุดคือสถานการณ์ในสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เพียง 1.82 คะแนนเท่านั้น

ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อวิเคราะห์ค่าสถิติวิจัยพบกลุ่มปัจจัยที่รัฐบาลน่าจะนำไปพิจารณาดำเนินการรักษาความสุขของประชาชนเอาไว้ เพราะค้นพบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ทำให้ความสุขของคนไทยเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ การแสดงความจงรักภักดีของคนไทย สุขภาพใจ สภาวะเศรษฐกิจของตน เองและครอบครัว การนอนหลับได้สนิท โดยอาจให้ความรู้ประชาชนให้รู้วิธีผ่อนคลายและนอนหลับได้สนิท นอกจากนี้ยังมีเรื่องบรรยากาศของคนในครอบ ครัว ที่รัฐบาลและสื่อมวลชนอาจช่วยรณรงค์ให้ประชาชนมีวิธีเสริมสร้างความสุขความสัมพันธ์ต่อกันของคนในครอบครัว และปัจจัยด้านความพึงพอใจใน หน้าที่การงาน ระบบการศึกษาของประเทศและความเป็นธรรมทางสังคม ก็เป็นปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติเพิ่มความสุขของคนไทยได้

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ปัจจัยการเมืองเป็นเรื่องสำคัญและอาจทำให้ความสุขของคนไทยเพิ่มสูงขึ้นได้เช่นกันคือ การประกาศเลื่อนการ ชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง (นปช.) เพราะคนไทยร้อยละ 53.1 เห็นด้วย ร้อยละ 36.8 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 10.1 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.4 คิดว่าสังคมไทยจะสงบสุขได้ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร หยุดการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 38.6 ไม่คิดเช่นนั้น

สำหรับทางออกที่ดีที่สุดของรัฐบาลชุดปัจจุบันในเวลานี้คือ ร้อยละ 47.4 ระบุว่าทำงานต่อไป ร้อยละ 34.5 ระบุการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 11.0 เปลี่ยนขั้วรัฐบาล โดยไม่ต้องยุบสภา ร้อยละ 6.8 ระบุนายกรัฐมนตรีลาออก และเพียงร้อยละ 0.3 เท่านั้นที่ระบุให้มีการยึดอำนาจ ปฏิวัติเป็นทางออก

ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวสรุปว่า ความสุขของประชาชนคนไทยประจำเดือนสิงหาคมในวันนี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก เดือนกรกฎาคม โดยจะเห็นได้ว่าไม่ใช่เป็นเพราะปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แตกต่างไปจากแนวนโยบายของรัฐบาลประเทศ อุตสาหกรรมที่มักจะเน้นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจเป็นหลัก สำหรับประเทศไทยมีผลวิจัยยืนยันหลายครั้งแล้วว่า การเห็นคนไทยแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบัน คือปัจจัยสำคัญ การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตทำให้อยู่ได้อย่างมีความสุขในทุกสถานการณ์ บรรยากาศของคนในครอบครัว บรรยากาศความ สัมพันธ์ของคนในชุมชน มีน้ำใจไมตรีจิตช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สภาวะเศรษฐกิจของตนเองและครอบครัว สุขภาพใจ และความเป็นธรรมทางสังคม แต่ ปัจจัยที่ฉุดรั้งให้ความสุขของคนไทยลดต่ำลง มีเรื่องของบรรยากาศทางการเมืองและสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นสำคัญ ทางออกคือ

ประการแรก นักการเมืองผู้ทรงอิทธิพลน่าจะไตร่ตรองผลสำรวจครั้งนี้ให้ลึกซึ้งจะได้หยุดเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ไม่สร้างสรรค์และ ทำลายความสุขของคนไทยทั้งประเทศ แต่หันหน้าเข้าช่วยเหลือกันนำพาประเทศให้พ้นวิกฤตการณ์ต่างๆ เช่น ปัญหาปากท้องของประชาชน ปัญหายาเสพ ติด ปัญหาอาชญากรรม การใช้ความรุนแรงในกลุ่มเยาวชน ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน เป็นต้น

ประการที่สอง สถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ลดทอนความสุขของคนไทยในภูมิภาคอื่นๆ ที่อาจมองได้สองด้านคือ คนไทยไม่ว่าจะอยู่ภาคใดก็มีจิตใจผูกพันเป็นทุกข์ร่วมกันกับคนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงสะท้อนให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ได้ตระหนักทำหน้าที่ อำนวยความยุติธรรมและดูแลความปลอดภัยของประชาชนทุกหมู่เหล่าอย่างเท่าเทียม และสถาบันสื่อมวลชนควรนำเสนอข่าวในแง่ดีบ้างที่ยังสามารถพบ เห็นได้เป็นส่วนใหญ่มากกว่าข่าวสารการก่อการร้ายด้านเดียว เพราะข่าวสารที่คาดกันว่าเป็นการสร้างสถานการณ์กำลังลดทอนความสุขของคนไทยทั้ง ประเทศ

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 53.0 เป็นหญิง

ร้อยละ 47.0 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 4.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 21.7 อายุ 20 — 29 ปี

ร้อยละ 22.5 อายุ 30 — 39 ปี

ร้อยละ 26.3 อายุ 40 — 49 ปี

และร้อยละ 25.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป

โดย ร้อยละ 45.1 อาชีพเกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

ร้อยละ 29.8 ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว อาชีพอิสระบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.4 เป็นข้าราชการ /พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 7.6 เป็นแม่บ้าน เกษียณอายุ

ร้อยละ 4.7 เป็นนักศึกษา

ร้อยละ 2.4 ไม่ประกอบอาชีพ ว่างงาน

นอกจากนี้ ร้อยละ 79.5 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 20.5 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชน ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง       ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน / เกือบทุกวัน                              36.8
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                26.4
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                22.8
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                             10.1
5          ไม่ได้ติดตามเลย                                  3.9
          รวมทั้งสิ้น                                      100.0

ตารางที่ 2 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม 2551 จนถึงปัจจุบัน  เมื่อคะแนนเต็ม 10

ส.ค.51 ก.ย.51 ต.ค.51 พ.ย.— ปลาย ม.ค.52 ก.พ.52 มี.ค.52 เม.ย.52 ต้น ก.ค.52 ส.ค.52

    ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุข                              ธ.ค.51  ธ.ค.51                                  มิ.ย.52
มวลรวมของคนไทยภายในประเทศ    5.82    5.64   4.84    6.55    6.81    6.59    5.78    6.18     7.17   7.15    5.92    7.18
(Gross Domestic Happiness)

ตารางที่ 3  แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ประจำเดือนสิงหาคม 2552
ลำดับที่          กลุ่มปัจจัยต่างๆ                              สิงหาคม(เต็ม 10)
1          การแสดงความจงรักภักดีของคนไทย                       9.20
2          บรรยากาศภายในครอบครัว                             8.44
3          วัฒนธรรมประเพณีไทย                                 8.19
4          การนอนหลับได้สนิท                                   7.75
5          สุขภาพใจ                                          7.73
6          สุขภาพทางกาย                                      7.69
7          หน้าที่การงาน /อาชีพ                                 7.63
8          สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย                                7.50
9          บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่พักอาศัย              7.17
10         การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ดี                        7.13
11         ระบบการศึกษาของประเทศ                             6.85
12         สภาวะเศรษฐกิจของตนเองและครอบครัว                   6.56
13         ความเป็นธรรมทางสังคมที่ได้รับ                          6.18
14         สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ                            5.15
15         บรรยากาศทางการเมืองของประเทศในปัจจุบัน               4.63
16         สถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้                    1.82
          ความสุขมวลรวม ของคนไทยประจำเดือนสิงหาคม 2552        7.18

ตารางที่ 4 แสดงผลการวิเคราะห์ทางสถิติวิจัย พบกลุ่มปัจจัยสำคัญที่มีผลทำให้ความสุขของคนไทยเพิ่มสูงขึ้น ประจำเดือนสิงหาคม
ลำดับที่          กลุ่มปัจจัยต่างๆ                      ค่า Beta         Sig
1          สุขภาพใจ                               .225          .000
2          สภาวะเศรษฐกิจของตนเองและครอบครัว        .151          .000
3          การแสดงความจงรักภักดีของคนไทย            .122          .000
4          การนอนหลับได้สนิท                        .112          .000
5          บรรยากาศภายในครอบครัว                  .105          .027
6          ความพึงพอใจในงาน                       .073          .001
7          ระบบการศึกษาของประเทศ                  .076          .023
8          ความเป็นธรรมในสังคม                     .071          .035
ค่า R = .617  ค่า Adjusted R Square = .374 ค่า Sig ที่กำหนด = .05

ตารางที่ 5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการประกาศเลื่อนการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง (นปช.)
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อการประกาศเลื่อนการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง (นปช.)        ค่าร้อยละ
1          เห็นด้วย                                                            53.1
2          ไม่เห็นด้วย                                                          36.8
3          ไม่มีความคิดเห็น                                                      10.1
          รวมทั้งสิ้น                                                           100.0

ตารางที่  6  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อความสงบสุขของสังคมไทย ถ้า พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร

หยุดการเคลื่อนไหวทางการเมือง

ลำดับที่          ความคิดเห็น                ค่าร้อยละ
1          คิดว่าสังคมไทยจะสงบสุขได้          61.4
2          ไม่คิดเช่นนั้น                     38.6
          รวมทั้งสิ้น                       100.0

ตารางที่  7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อทางออกที่ดีที่สุดของรัฐบาลในเวลานี้
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อทางออกที่ดีที่สุดของรัฐบาลในเวลานี้          ค่าร้อยละ
1          ทำงานต่อไป                                           47.4
2          ยุบสภา เลือกตั้งใหม่                                     34.5
3          เปลี่ยนขั้วรัฐบาล โดยไม่ต้องยุบสภา                          11.0
4          นายกรัฐมนตรีลาออก                                      6.8
5          ปฏิวัติ ยึดอำนาจ                                         0.3
          รวมทั้งสิ้น                                             100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ