ที่มาของโครงการ
จากสถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังมีความขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านในขณะนี้ ทำให้สื่อต่างๆ นำเสนอข่าวสารทางการ
เมืองในแง่มุมต่างๆ มากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนหันมาสนใจติดตามข่าวสารทางการเมืองเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยธรรมชาติของการเมือง จะมีทั้งผู้ที่นิยมชม
ชอบฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ความนิยมหรือความชื่นชอบนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับทัศนคติของแต่ละบุคคล ซึ่งยากจะหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้ ประเด็นทางการ
เมืองจึงเป็นประเด็นที่ค่อนข้างอ่อนไหวและก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคลได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากความขัดแย้งนั้นเกิดขึ้นระหว่างบุคคลใน
ครอบครัว ซึ่งถือเป็นสถาบันทางสังคมที่มีความสำคัญ จะก่อให้เกิดผลเสียต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัวต่อไปในอนาคตได้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
กรณีวิกฤตการณ์ทางการเมืองกับความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตาม
หลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองภายในครอบครัว
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อ
ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ผลกระทบของวิกฤติการณ์การเมืองปัจจุบันต่อความขัด
แย้งของคนในครอบครัว : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2 — 6 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,218 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 49.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 28.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 19.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 77.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
เมื่อพิจารณาถึงอาชีพประจำของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 40.1 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 27.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.5 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 5.8 ระบุเป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.6 ระบุอาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 0.5 ระบุอาชีพเกษตรกร
และร้อยละ 0.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.0 ระบุรายได้ส่วนตัวโดยเฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท
ร้อยละ 27.1 ระบุ 5,001-10,000 บาท
ร้อยละ 11.8 ระบุ 10,001-15,000 บาท
ร้อยละ 13.6 ระบุ 15,001-20,000 บาท
ร้อยละ 3.5 ระบุ 20,001 — 25,000 บาท
ร้อยละ 10.2 ระบุ 25,001-30,000 บาท
และร้อยละ 24.8 ระบุมากกว่า 30,000 บาท
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “ผลกระทบของวิกฤติการณ์การเมืองปัจจุบันต่อ
ความขัดแย้งของคนในครอบครัว : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร” จำนวนทั้งสิ้น 1,218 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2 - 6 มีนาคม 2549 โดยประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจ มีดังนี้
ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างเกี่ยวกับพฤติกรรมในการติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ใน
ประเด็นประเภทของสื่อที่ติดตามข่าวสารประจำวัน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 93.9 ระบุติดตามข่าวสารประจำวันจากโทรทัศน์ รองลงมา คือ
ร้อยละ 60.9 ระบุติดตามข่าวจากหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 33.6 ติดตามข่าวจากวิทยุ ร้อยละ 28.7 ระบุติดตามข่าวจากการพูดคุยกับคนอื่น และร้อยละ
9.9 ระบุติดตามข่าวจากอินเทอร์เนต ทั้งนี้เมื่อสอบตัวอย่างถึงความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์บ้านเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมานั้น พบว่า ตัวอย่าง
ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 76.1 ระบุติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมืองโดยเฉลี่ยทุกวันหรือเกือบทุกวัน ร้อยละ 13.7 ระบุติดตามข่าว 3 — 4 วันต่อ
สัปดาห์ ร้อยละ 8.4 ติดตามข่าว 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 1.8 ระบุไม่ได้ติดตามข่าวเลย
สำหรับจำนวนสมาชิกภายในบ้านที่สนใจติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 41.1 ระบุมีสมาชิก
จำนวน 3 — 4 คนภายในบ้านที่สนใจติดตามข่าว ร้อยละ 33.8 ระบุมีสมาชิกจำนวน 1 — 2 คนภายในบ้านที่ติดตามข่าว ส่วนอีกร้อยละ 25.1 ระบุมี
สมาชิกภายในบ้านตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปที่ติดตามข่าว ทั้งนี้ ผลการสำรวจพบว่า มีจำนวนสมาชิกภายในบ้านที่สนใจติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมืองใน
ขณะนี้โดยเฉลี่ย 3.56 คนต่อครัวเรือน
ในประเด็นความสำคัญของเหตุการณ์ทางการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 95.6 ระบุเหตุการณ์ทาง
การเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่สำคัญมีเพียงร้อยละ 4.4 เท่านั้นที่ระบุเป็นเรื่องไม่สำคัญ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบว่า จากสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้อนระอุอยู่ในขณะนี้ทำให้กลุ่มตัวอย่างกว่าครึ่ง คือ ร้อยละ 57.6 หันมา
ติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมืองมากขึ้น รองลงมา คือ ร้อยละ 30.0 ระบุติดตามข่าวมากเหมือนเดิม มีเพียงส่วนน้อย คือ ร้อยละ 7.5 ที่ระบุ
ติดตามข่าวน้อยเหมือนเดิม ร้อยละ 3.8 ระบุติดตามข่าวลดลง และอีกร้อยละ 1.1 ระบุไม่ได้ติดตามข่าวการเมืองเลย
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างในเรื่องความขัดแย้งเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองที่เกิดขึ้นภายในบ้านนั้นพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ
72.3 ระบุไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 27.7 ระบุมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ทั้งนี้ ประเด็นทางการเมืองที่พูดคุยกันในบ้านแล้วทำให้
สมาชิกภายในบ้านเกิดความขัดแย้งกันมากที่สุด คือ บทบาทของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน (ร้อยละ 36.6) รองลงมา คือ การชุมนุมประท้วง (ร้อยละ
33.9) การลาออกของนายกรัฐมนตรี (ร้อยละ 32.5) จริยธรรมของนายกรัฐมนตรี (ร้อยละ 30.7) และการยุติบทบาททางการเมืองของนายก
รัฐมนตรี (ร้อยละ 30.5) ตามลำดับ
และเมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มที่มีความขัดแย้งกันในประเด็นทางการเมืองนั้น พบว่าร้อยละ 71.8 ระบุมีการโต้เถียงกันแต่ไม่ค่อยรุนแรง
ร้อยละ 25.1 ระบุโต้เถียงกันรุนแรงแต่ยังคุยกันอยู่ ร้อยละ 16.7 ระบุโต้เถียงกันค่อนข้างรุนแรง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากผลการสำรวจ จะ
พบว่า ความขัดแย้งเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองของสมาชิกภายในบ้านจะเป็นไปในลักษณะของการโต้เถียงกันมากกว่าจะเป็นการทะเลาะจนถึงขั้นทำ
ร้ายร่างกายกัน
โดยสมาชิกภายในบ้านมีความเห็นขัดแย้งกันเพราะปัญหาทางการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมานั้น พบว่า ร้อยละ 27.6 ระบุสามีกับ
ภรรยามีความเห็นขัดแย้งกันเพราะปัญหาทางการเมืองมากที่สุด รองลงมา คือ ร้อยละ 26.4 ระบุคนในบ้านกับเพื่อนบ้าน ร้อยละ 22.0 ระบุคนในบ้าน
กับคนนอกบ้านที่ไม่ใช่ญาติ และไม่ใช่เพื่อนบ้าน ร้อยละ 20.2 ระบุขัดแย้งกันในบรรดาญาติๆ และร้อยละ 16.0 ขัดแย้งกับคนในบ้านที่ไม่ใช่ญาติ ตามลำดับ
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงกิจกรรมที่ทำเพื่อเป็นทางออกของความขัดแย้งเรื่องการเมืองภายในบ้านนั้นพบว่า ร้อยละ 45.0 ระบุใช้วิธีพูดคุย
เรื่องอื่นแทน รองลงมา คือ ร้อยละ 42.1 ระบุใช้วิธีหยุดคุยเรื่องการเมือง ร้อยละ 35.8 ระบุไปดูหนัง ฟังเพลง ร้อยละ 14.0 ระบุใช้วิธีไม่พูดคุย
กันระยะหนึ่ง และร้อยละ 9.7 ระบุไปช็อปปิ้ง / เดินห้างสรรพสินค้า ตามลำดับ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากผลสำรวจ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทของสื่อที่ติดตามข่าวสารประจำวันในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของสื่อ ค่าร้อยละ
1 โทรทัศน์ 93.9
2 หนังสือพิมพ์ 60.9
3 วิทยุ 33.6
4 พูดคุยกับคนอื่น 28.7
5 อินเทอร์เนต 9.9
6 สื่ออื่นๆ อาทิเช่น ใบปลิว อุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น 1.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่โดยเฉลี่ยในการติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมือง
ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่โดยเฉลี่ยในการติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 76.1
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 13.7
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 8.4
4 ไม่ได้ติดตามเลย 1.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนสมาชิกภายในบ้านที่สนใจติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมือง
ในขณะนี้ (นับรวมผู้ตอบแบบสอบถาม)
ลำดับที่ จำนวนสมาชิกภายในบ้านที่สนใจติดตามข่าวทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 1 — 2 คน 33.8
2 3 — 4 คน 41.1
3 ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป 25.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ จำนวนสมาชิกภายในบ้านที่สนใจติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้เฉลี่ย 3.56 คนต่อ
ครัวเรือน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.925 คนต่อครัวเรือน
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสำคัญของเหตุการณ์ทางการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความสำคัญของเหตุการณ์ทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 เป็นเรื่องที่สำคัญ 95.6
2 เป็นเรื่องไม่สำคัญ 4.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับการติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ระดับการติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 ติดตามข่าวการเมืองมากขึ้น 57.6
2 ติดตามข่าวการเมืองมากเหมือนเดิม 30.0
3 ติดตามข่าวการเมืองน้อยเหมือนเดิม 7.5
4 ติดตามข่าวการเมืองลดลง 3.8
5 ไม่ได้ติดตามข่าวการเมือง 1.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเกิดความขัดแย้งของสมาชิกภายในบ้านจากประเด็นการเมือง
ลำดับที่ การเกิดความขัดแย้งของสมาชิกภายในบ้านจากประเด็นการเมือง ค่าร้อยละ
1 มีความขัดแย้งเกิดขึ้น 27.7
2 ไม่มีความขัดแย้ง 72.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองของสมาชิกภายในบ้าน
ประเด็นการเมืองที่พูดคุยกันในบ้าน ความขัดแย้งของคนในครอบครัว รวมทั้งสิ้น
ขัดแย้งกัน ไม่ค่อยขัดแย้ง ไม่ขัดแย้ง ไม่ได้คุยกัน
1.บทบาทของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน 36.6 18.6 29.0 15.8 100.0
2.การชุมนุมประท้วง 33.9 20.3 34.0 11.8 100.0
3.การลาออกของนายกรัฐมนตรี 32.5 18.8 34.1 14.6 100.0
4.จริยธรรมของนายกรัฐมนตรี 30.7 20.8 32.1 16.4 100.0
5. การยุติบทบาททางการเมืองของนายกรัฐมนตรี 30.5 19.8 33.6 16.1 100.0
6. การจัดรายการวิเคราะห์ข่าว 29.4 21.8 30.0 18.8 100.0
7. การทำหน้าที่ของสื่อมวลชน 29.2 22.9 29.9 18.0 100.0
8.การซื้อขายหุ้นชินฯของคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี 28.1 20.1 34.0 17.8 100.0
9.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 27.3 22.5 33.0 17.2 100.0
10.พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก 26.5 21.4 33.9 18.2 100.0
11. การกำหนดวันเลือกตั้ง 25.8 23.5 33.0 17.7 100.0
12. การปฏิวัติหรือรัฐประหาร 20.6 19.9 35.5 24.0 100.0
13.รัฐบาลพระราชทาน 17.5 21.3 34.9 26.3 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง
ของสมาชิกภายในบ้าน (เฉพาะกลุ่มคนที่มีความขัดแย้งกัน และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ลักษณะความขัดแย้งของสมาชิกภายในบ้าน ค่าร้อยละ
1 โต้เถียงกันไม่ค่อยรุนแรง 71.8
2 โต้เถียงกันรุนแรง แต่ยังคุยกันอยู่ 25.1
3 โต้เถียงกันค่อนข้างรุนแรง 16.7
4 ทะเลาะกันจนไม่ยอมคุยกัน 15.4
5 ทะเลาะกันจนถึงขั้นใช้สิ่งของทำร้ายกัน (ถึงตัว) 14.5
6 ทะเลาะกันจนถึงขั้นใช้กำลังกัน 10.1
7 ทะเลาะกันจนถึงขั้นใช้สิ่งของขว้างปาใส่กัน 9.7
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสมาชิกในบ้านที่มีความเห็นขัดแย้งกันเพราะปัญหาการเมือง
ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา (เฉพาะในกลุ่มที่มีความขัดแย้งกันและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สมาชิกในบ้านที่มีความเห็นขัดแย้งกันเพราะปัญหาการเมือง ค่าร้อยละ
1 สามีกับภรรยา 27.6
2 คนในบ้านกับเพื่อนบ้าน 26.4
3 คนในบ้านกับคนนอกบ้านที่ไม่ใช่ญาติ และไม่ใช่เพื่อนบ้าน 22.0
4 ขัดแย้งในบรรดาญาติๆ 20.2
5 ขัดแย้งกับคนในบ้านที่ไม่ใช่ญาติ 16.0
6 พ่อกับลูกชาย 7.4
7 ขัดแย้งในบรรดาลูกๆ ด้วยกัน 5.3
8 พ่อกับลูกสาว 5.0
9 แม่กับลูกสาว 3.9
10 แม่กับลูกชาย 3.3
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกิจกรรมที่ทำเพื่อเป็นทางออกของความขัดแย้งเรื่องการเมือง
ของสมาชิกในบ้าน (เฉพาะกลุ่มที่มีความขัดแย้งกันและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กิจกรรมที่ทำเพื่อเป็นทางออกของความขัดแย้งเรื่องการเมือง ค่าร้อยละ
1 พูดคุยเรื่องอื่นแทน 45.0
2 หยุดคุยเรื่องการเมือง 42.1
3 ดูหนัง ฟังเพลง 35.8
4 ไม่พูดคุยกันระยะหนึ่ง 14.0
5 ช้อปปิ้ง / เดินห้างสรรพสินค้า 9.7
6 เข้าวัด อ่านหนังสือธรรมะ 4.5
7 เลิกติดตามข่าวการเมือง 4.1
8 สูบบุหรี่ 2.0
9 ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ 1.6
10 ใช้ยาเสพติด 0.9
11 หากิจกรรมอื่นๆ ทำ อาทิเช่น เล่นเกม เล่นกับสัตว์เลี้ยง เล่นกีฬา ปรับความเข้าใจกัน เป็นต้น 7.7
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
จากสถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังมีความขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านในขณะนี้ ทำให้สื่อต่างๆ นำเสนอข่าวสารทางการ
เมืองในแง่มุมต่างๆ มากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนหันมาสนใจติดตามข่าวสารทางการเมืองเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยธรรมชาติของการเมือง จะมีทั้งผู้ที่นิยมชม
ชอบฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ความนิยมหรือความชื่นชอบนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับทัศนคติของแต่ละบุคคล ซึ่งยากจะหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้ ประเด็นทางการ
เมืองจึงเป็นประเด็นที่ค่อนข้างอ่อนไหวและก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคลได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากความขัดแย้งนั้นเกิดขึ้นระหว่างบุคคลใน
ครอบครัว ซึ่งถือเป็นสถาบันทางสังคมที่มีความสำคัญ จะก่อให้เกิดผลเสียต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัวต่อไปในอนาคตได้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
กรณีวิกฤตการณ์ทางการเมืองกับความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตาม
หลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองภายในครอบครัว
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อ
ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ผลกระทบของวิกฤติการณ์การเมืองปัจจุบันต่อความขัด
แย้งของคนในครอบครัว : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2 — 6 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,218 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 49.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 28.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 19.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 77.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
เมื่อพิจารณาถึงอาชีพประจำของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 40.1 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 27.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.5 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 5.8 ระบุเป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.6 ระบุอาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 0.5 ระบุอาชีพเกษตรกร
และร้อยละ 0.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.0 ระบุรายได้ส่วนตัวโดยเฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท
ร้อยละ 27.1 ระบุ 5,001-10,000 บาท
ร้อยละ 11.8 ระบุ 10,001-15,000 บาท
ร้อยละ 13.6 ระบุ 15,001-20,000 บาท
ร้อยละ 3.5 ระบุ 20,001 — 25,000 บาท
ร้อยละ 10.2 ระบุ 25,001-30,000 บาท
และร้อยละ 24.8 ระบุมากกว่า 30,000 บาท
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “ผลกระทบของวิกฤติการณ์การเมืองปัจจุบันต่อ
ความขัดแย้งของคนในครอบครัว : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร” จำนวนทั้งสิ้น 1,218 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2 - 6 มีนาคม 2549 โดยประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจ มีดังนี้
ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างเกี่ยวกับพฤติกรรมในการติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ใน
ประเด็นประเภทของสื่อที่ติดตามข่าวสารประจำวัน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 93.9 ระบุติดตามข่าวสารประจำวันจากโทรทัศน์ รองลงมา คือ
ร้อยละ 60.9 ระบุติดตามข่าวจากหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 33.6 ติดตามข่าวจากวิทยุ ร้อยละ 28.7 ระบุติดตามข่าวจากการพูดคุยกับคนอื่น และร้อยละ
9.9 ระบุติดตามข่าวจากอินเทอร์เนต ทั้งนี้เมื่อสอบตัวอย่างถึงความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์บ้านเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมานั้น พบว่า ตัวอย่าง
ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 76.1 ระบุติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมืองโดยเฉลี่ยทุกวันหรือเกือบทุกวัน ร้อยละ 13.7 ระบุติดตามข่าว 3 — 4 วันต่อ
สัปดาห์ ร้อยละ 8.4 ติดตามข่าว 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 1.8 ระบุไม่ได้ติดตามข่าวเลย
สำหรับจำนวนสมาชิกภายในบ้านที่สนใจติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 41.1 ระบุมีสมาชิก
จำนวน 3 — 4 คนภายในบ้านที่สนใจติดตามข่าว ร้อยละ 33.8 ระบุมีสมาชิกจำนวน 1 — 2 คนภายในบ้านที่ติดตามข่าว ส่วนอีกร้อยละ 25.1 ระบุมี
สมาชิกภายในบ้านตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปที่ติดตามข่าว ทั้งนี้ ผลการสำรวจพบว่า มีจำนวนสมาชิกภายในบ้านที่สนใจติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมืองใน
ขณะนี้โดยเฉลี่ย 3.56 คนต่อครัวเรือน
ในประเด็นความสำคัญของเหตุการณ์ทางการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 95.6 ระบุเหตุการณ์ทาง
การเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่สำคัญมีเพียงร้อยละ 4.4 เท่านั้นที่ระบุเป็นเรื่องไม่สำคัญ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบว่า จากสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้อนระอุอยู่ในขณะนี้ทำให้กลุ่มตัวอย่างกว่าครึ่ง คือ ร้อยละ 57.6 หันมา
ติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมืองมากขึ้น รองลงมา คือ ร้อยละ 30.0 ระบุติดตามข่าวมากเหมือนเดิม มีเพียงส่วนน้อย คือ ร้อยละ 7.5 ที่ระบุ
ติดตามข่าวน้อยเหมือนเดิม ร้อยละ 3.8 ระบุติดตามข่าวลดลง และอีกร้อยละ 1.1 ระบุไม่ได้ติดตามข่าวการเมืองเลย
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างในเรื่องความขัดแย้งเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองที่เกิดขึ้นภายในบ้านนั้นพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ
72.3 ระบุไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 27.7 ระบุมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ทั้งนี้ ประเด็นทางการเมืองที่พูดคุยกันในบ้านแล้วทำให้
สมาชิกภายในบ้านเกิดความขัดแย้งกันมากที่สุด คือ บทบาทของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน (ร้อยละ 36.6) รองลงมา คือ การชุมนุมประท้วง (ร้อยละ
33.9) การลาออกของนายกรัฐมนตรี (ร้อยละ 32.5) จริยธรรมของนายกรัฐมนตรี (ร้อยละ 30.7) และการยุติบทบาททางการเมืองของนายก
รัฐมนตรี (ร้อยละ 30.5) ตามลำดับ
และเมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มที่มีความขัดแย้งกันในประเด็นทางการเมืองนั้น พบว่าร้อยละ 71.8 ระบุมีการโต้เถียงกันแต่ไม่ค่อยรุนแรง
ร้อยละ 25.1 ระบุโต้เถียงกันรุนแรงแต่ยังคุยกันอยู่ ร้อยละ 16.7 ระบุโต้เถียงกันค่อนข้างรุนแรง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากผลการสำรวจ จะ
พบว่า ความขัดแย้งเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองของสมาชิกภายในบ้านจะเป็นไปในลักษณะของการโต้เถียงกันมากกว่าจะเป็นการทะเลาะจนถึงขั้นทำ
ร้ายร่างกายกัน
โดยสมาชิกภายในบ้านมีความเห็นขัดแย้งกันเพราะปัญหาทางการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมานั้น พบว่า ร้อยละ 27.6 ระบุสามีกับ
ภรรยามีความเห็นขัดแย้งกันเพราะปัญหาทางการเมืองมากที่สุด รองลงมา คือ ร้อยละ 26.4 ระบุคนในบ้านกับเพื่อนบ้าน ร้อยละ 22.0 ระบุคนในบ้าน
กับคนนอกบ้านที่ไม่ใช่ญาติ และไม่ใช่เพื่อนบ้าน ร้อยละ 20.2 ระบุขัดแย้งกันในบรรดาญาติๆ และร้อยละ 16.0 ขัดแย้งกับคนในบ้านที่ไม่ใช่ญาติ ตามลำดับ
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงกิจกรรมที่ทำเพื่อเป็นทางออกของความขัดแย้งเรื่องการเมืองภายในบ้านนั้นพบว่า ร้อยละ 45.0 ระบุใช้วิธีพูดคุย
เรื่องอื่นแทน รองลงมา คือ ร้อยละ 42.1 ระบุใช้วิธีหยุดคุยเรื่องการเมือง ร้อยละ 35.8 ระบุไปดูหนัง ฟังเพลง ร้อยละ 14.0 ระบุใช้วิธีไม่พูดคุย
กันระยะหนึ่ง และร้อยละ 9.7 ระบุไปช็อปปิ้ง / เดินห้างสรรพสินค้า ตามลำดับ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากผลสำรวจ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทของสื่อที่ติดตามข่าวสารประจำวันในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของสื่อ ค่าร้อยละ
1 โทรทัศน์ 93.9
2 หนังสือพิมพ์ 60.9
3 วิทยุ 33.6
4 พูดคุยกับคนอื่น 28.7
5 อินเทอร์เนต 9.9
6 สื่ออื่นๆ อาทิเช่น ใบปลิว อุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น 1.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่โดยเฉลี่ยในการติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมือง
ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่โดยเฉลี่ยในการติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 76.1
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 13.7
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 8.4
4 ไม่ได้ติดตามเลย 1.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนสมาชิกภายในบ้านที่สนใจติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมือง
ในขณะนี้ (นับรวมผู้ตอบแบบสอบถาม)
ลำดับที่ จำนวนสมาชิกภายในบ้านที่สนใจติดตามข่าวทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 1 — 2 คน 33.8
2 3 — 4 คน 41.1
3 ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป 25.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ จำนวนสมาชิกภายในบ้านที่สนใจติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้เฉลี่ย 3.56 คนต่อ
ครัวเรือน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.925 คนต่อครัวเรือน
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสำคัญของเหตุการณ์ทางการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความสำคัญของเหตุการณ์ทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 เป็นเรื่องที่สำคัญ 95.6
2 เป็นเรื่องไม่สำคัญ 4.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับการติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ระดับการติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 ติดตามข่าวการเมืองมากขึ้น 57.6
2 ติดตามข่าวการเมืองมากเหมือนเดิม 30.0
3 ติดตามข่าวการเมืองน้อยเหมือนเดิม 7.5
4 ติดตามข่าวการเมืองลดลง 3.8
5 ไม่ได้ติดตามข่าวการเมือง 1.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเกิดความขัดแย้งของสมาชิกภายในบ้านจากประเด็นการเมือง
ลำดับที่ การเกิดความขัดแย้งของสมาชิกภายในบ้านจากประเด็นการเมือง ค่าร้อยละ
1 มีความขัดแย้งเกิดขึ้น 27.7
2 ไม่มีความขัดแย้ง 72.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองของสมาชิกภายในบ้าน
ประเด็นการเมืองที่พูดคุยกันในบ้าน ความขัดแย้งของคนในครอบครัว รวมทั้งสิ้น
ขัดแย้งกัน ไม่ค่อยขัดแย้ง ไม่ขัดแย้ง ไม่ได้คุยกัน
1.บทบาทของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน 36.6 18.6 29.0 15.8 100.0
2.การชุมนุมประท้วง 33.9 20.3 34.0 11.8 100.0
3.การลาออกของนายกรัฐมนตรี 32.5 18.8 34.1 14.6 100.0
4.จริยธรรมของนายกรัฐมนตรี 30.7 20.8 32.1 16.4 100.0
5. การยุติบทบาททางการเมืองของนายกรัฐมนตรี 30.5 19.8 33.6 16.1 100.0
6. การจัดรายการวิเคราะห์ข่าว 29.4 21.8 30.0 18.8 100.0
7. การทำหน้าที่ของสื่อมวลชน 29.2 22.9 29.9 18.0 100.0
8.การซื้อขายหุ้นชินฯของคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี 28.1 20.1 34.0 17.8 100.0
9.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 27.3 22.5 33.0 17.2 100.0
10.พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก 26.5 21.4 33.9 18.2 100.0
11. การกำหนดวันเลือกตั้ง 25.8 23.5 33.0 17.7 100.0
12. การปฏิวัติหรือรัฐประหาร 20.6 19.9 35.5 24.0 100.0
13.รัฐบาลพระราชทาน 17.5 21.3 34.9 26.3 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง
ของสมาชิกภายในบ้าน (เฉพาะกลุ่มคนที่มีความขัดแย้งกัน และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ลักษณะความขัดแย้งของสมาชิกภายในบ้าน ค่าร้อยละ
1 โต้เถียงกันไม่ค่อยรุนแรง 71.8
2 โต้เถียงกันรุนแรง แต่ยังคุยกันอยู่ 25.1
3 โต้เถียงกันค่อนข้างรุนแรง 16.7
4 ทะเลาะกันจนไม่ยอมคุยกัน 15.4
5 ทะเลาะกันจนถึงขั้นใช้สิ่งของทำร้ายกัน (ถึงตัว) 14.5
6 ทะเลาะกันจนถึงขั้นใช้กำลังกัน 10.1
7 ทะเลาะกันจนถึงขั้นใช้สิ่งของขว้างปาใส่กัน 9.7
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสมาชิกในบ้านที่มีความเห็นขัดแย้งกันเพราะปัญหาการเมือง
ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา (เฉพาะในกลุ่มที่มีความขัดแย้งกันและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สมาชิกในบ้านที่มีความเห็นขัดแย้งกันเพราะปัญหาการเมือง ค่าร้อยละ
1 สามีกับภรรยา 27.6
2 คนในบ้านกับเพื่อนบ้าน 26.4
3 คนในบ้านกับคนนอกบ้านที่ไม่ใช่ญาติ และไม่ใช่เพื่อนบ้าน 22.0
4 ขัดแย้งในบรรดาญาติๆ 20.2
5 ขัดแย้งกับคนในบ้านที่ไม่ใช่ญาติ 16.0
6 พ่อกับลูกชาย 7.4
7 ขัดแย้งในบรรดาลูกๆ ด้วยกัน 5.3
8 พ่อกับลูกสาว 5.0
9 แม่กับลูกสาว 3.9
10 แม่กับลูกชาย 3.3
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกิจกรรมที่ทำเพื่อเป็นทางออกของความขัดแย้งเรื่องการเมือง
ของสมาชิกในบ้าน (เฉพาะกลุ่มที่มีความขัดแย้งกันและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กิจกรรมที่ทำเพื่อเป็นทางออกของความขัดแย้งเรื่องการเมือง ค่าร้อยละ
1 พูดคุยเรื่องอื่นแทน 45.0
2 หยุดคุยเรื่องการเมือง 42.1
3 ดูหนัง ฟังเพลง 35.8
4 ไม่พูดคุยกันระยะหนึ่ง 14.0
5 ช้อปปิ้ง / เดินห้างสรรพสินค้า 9.7
6 เข้าวัด อ่านหนังสือธรรมะ 4.5
7 เลิกติดตามข่าวการเมือง 4.1
8 สูบบุหรี่ 2.0
9 ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ 1.6
10 ใช้ยาเสพติด 0.9
11 หากิจกรรมอื่นๆ ทำ อาทิเช่น เล่นเกม เล่นกับสัตว์เลี้ยง เล่นกีฬา ปรับความเข้าใจกัน เป็นต้น 7.7
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-