ที่มาของโครงการ
ในแต่ละปี คนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลปีใหม่ และสงกรานต์ ซึ่ง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน ได้แก่ คน ยานพาหนะ ถนน และสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีหน่วยงานต่างๆ ให้ความสนใจในการจัดตั้งจุด
ตรวจร่วม การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2549 และการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมสนับสนุนการปฏิบัติ
งานและอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
ต่อประเด็นสำคัญต่างๆ ข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบ
วิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจประสบการณ์ต่ออุบัติเหตุ และสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
2. เพื่อสำรวจถึงพฤติกรรมที่ไม่ดีของคนขับรถ และสภาพถนน / สภาพแวดล้อมของถนนที่เจอในช่วงเทศกาลปีใหม่
3. เพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อการทำงานของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในช่วง
เทศกาลปีใหม่
4. เพื่อสำรวจผลการทำงานโดยภาพรวมของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ต้นตออุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ในสายตา
ประชาชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่เดินทางท่องเที่ยวช่วงปีใหม่ใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 31
ธันวาคม 2548 — 4 มกราคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้โดยสารและผู้ขับขี่รถยนต์ช่วงเทศกาลปีใหม่ใน 16 จังหวัดทั่วประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร
สมุทรปราการ ชลบุรี อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ นครราชสีมา ขอนแก่น หนองคาย อุบลราชธานี พิษณุโลก เชียงใหม่ น่าน ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร
และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,082 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 59.2 เป็นชาย ร้อยละ 40.8 เป็นหญิง ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 33.4
อายุ 20-29 ปี ร้อยละ 22.4 อายุ 30-39 ปี ร้อยละ 17.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 13.8 อายุ 40-49 ปี และร้อยละ 12.5 อายุ 50 ปีขึ้น
ไป สำหรับระดับการศึกษาที่สำเร็จชั้นสูงสุด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 67.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 29.2 สำเร็จการ
ศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ ร้อยละ 27.8 ประกอบอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.5 เป็นนักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 18.1 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 13.2 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.1
อาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 8.3 เป็นแม่บ้าน พ่อบ้าน เกษียณอายุ รวมถึงผู้ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ต้นตออุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ในสายตาประชาชน” ได้ทำ
การสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนที่เดินทางท่องเที่ยวในช่วงปีใหม่ใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,082 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการ
สำรวจระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2548 — 4 มกราคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ผลสำรวจของเอแบคโพลล์สอบถามตัวอย่างถึงลักษณะการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ปีนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างเกินครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ
52.1 เป็นผู้โดยสาร ร้อยละ 29.1 เป็นทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารในบางโอกาส และร้อยละ 18.8 เป็นผู้ขับขี่
สำหรับประสบการณ์เคยเจอ หรือเกือบประสบอุบัติเหตุของตัวอย่างในช่วงเทศกาลปีใหม่ปีนี้ พบว่า ร้อยละ 43.6 เกือบประสบ
อุบัติเหตุด้วยตนเอง ร้อยละ 10.4 เคยเจออุบัติเหตุด้วยตนเองในช่วงปีใหม่ ในขณะที่มีถึงร้อยละ 46.0 ที่ไม่เคยเจออุบัติเหตุเลย และเมื่อสอบถาม
ถึงสาเหตุที่คาดว่าทำให้เกิดอุบัติเหตุ 5 อันดับแรก คือ พฤติกรรมที่ไม่ดีของคนขับรถ (ร้อยละ 86.4) สภาพถนนและสภาพแวดล้อมของถนน (ร้อยละ
73.2) ความไม่เข้มงวดในการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ร้อยละ 68.8) กฎหมายกำหนดโทษไม่รุนแรง (ร้อยละ 64.5) และสภาพรถยนต์ไม่
ดี / ไม่ได้มาตรฐาน (ร้อยละ 61.9) ตามลำดับ
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงพฤติกรรมที่ไม่ดีของคนขับรถที่เจอในการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ 5 อันดับแรก คือ ขับรถด้วยความ
เร็วเกินที่กำหนด (ร้อยละ 72.6) ไม่สวมหมวกกันน็อค / ซ้อนสาม (ร้อยละ 68.3) ขับรถบนไหล่ทาง (ร้อยละ 65.2) ขับรถย้อนศร (ร้อยละ
62.1) และขับรถด้วยความประมาท / หวาดเสียว (ร้อยละ 57.8) ตามลำดับ
ในขณะเดียวกัน เมื่อสอบถามถึงสภาพถนน และสภาพแวดล้อมของถนนที่เจอในช่วงเทศกาลปีใหม่ 5 อันดับแรก คือ สภาพถนนชำรุด / มี
การซ่อมขุดเจาะพื้นผิวถนน (ร้อยละ 69.3) ไม่มีป้ายจำกัดความเร็วให้เห็นมากเพียงพอ (ร้อยละ 67.8) ไม่มีสัญญาณบอกล่วงหน้าในช่วงก่อสร้าง
ซ่อมบำรุงให้มากเพียงพอ หรือถ้ามีสัญญาณบอก แต่ก็กระชั้นชิดเกินไป (ร้อยละ 65.3) มีป้ายให้ลดความเร็ว แต่ไม่มีตัวเลขจำกัดความเร็ว (ร้อยละ
62.2) และไม่มีป้ายบอกถึงโทษถ้าไม่เคารพกฎจราจร (ร้อยละ 60.4) ตามลำดับ
สำหรับความพึงพอใจต่อการทำงานของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่
พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ “พอใจ” ต่อการทำงานของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยแบ่งเป็นดังนี้ สื่อมวลชน (พอใจ ร้อยละ 78.3) สสส. (พอ
ใจ ร้อยละ 64.9) เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวง (พอใจ ร้อยละ 61.7) กระทรวงมหาดไทย (พอใจ ร้อยละ 59.2) หน่วยกู้ภัย (พอใจ ร้อยละ
58.3) เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรในท้องที่ต่างๆ (พอใจ ร้อยละ 54.9) กระทรวงสาธารณสุข (พอใจ ร้อยละ 52.8) เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล (พอ
ใจ ร้อยละ 38.9) และฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่น (พอใจ ร้อยละ 26.1) ในขณะที่ตัวอย่างระบุว่า “ไม่พอใจ” ต่อการทำงานของกรมทางหลวง (ร้อย
ละ 41.9) ซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงกับ “พอใจ” (ร้อยละ 40.2)
ประเด็นสุดท้ายที่น่าพิจารณา ก็คือ ผลการให้คะแนนในการทำงานโดยภาพรวมของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการรณรงค์ป้องกันและ
แก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 62.4 ระบุว่าสอบผ่าน ร้อยละ 20.9 ระบุว่า สอบตก และร้อยละ 16.7 ไม่ระบุ
ความคิดเห็น
จากผลสำรวจวิจัยครั้งนี้พบว่า หน่วยงานที่ประชาชนยังไม่รับรู้รับทราบเกี่ยวกับการทำงานรณรงค์แก้ไขปัญหาอุบัติเหตุก็คือฝ่ายปกครองส่วน
ท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานที่น่าจะมีบทบาทสำคัญในแต่ละชุมชนด้านการป้องกันปัญหาเหล่านี้ คณะผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะจากงานวิจัยครั้งนี้ว่า รัฐบาลและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะพิจารณาปรับแก้กฎหมายและกระจายอำนาจลงไปยังการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเพิ่มโทษเอาผิดกับประชาชนผู้ฝ่าฝืนกฎจราจร
ต้องจ่ายเงินให้กับพื้นที่ท้องถิ่นที่ไปก่อเหตุนั้นๆ ใช้ในการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น นำเงินค่าปรับไปพัฒนาห้องสมุดประชาชน พัฒนาด้านการศึกษาของท้องถิ่น
ช่วยเหลือเด็กกำพร้าผู้ยากไร้ในท้องถิ่น ซ่อมบำรุงถนนให้ดีขึ้น ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้พัฒนาสถานีตำรวจและเอาเก็บเข้ากองคลังของส่วนการปกครอง
ท้องถิ่นอีกด้วย ซึ่งมาตรการต้องให้ผู้กระทำผิดจ่ายเงินสูงขึ้นในการพัฒนาพื้นที่ที่ผู้ขับขี่ไปกระทำความผิดไว้ น่าจะส่งผลทำให้พฤติกรรมการขับขี่รถยนต์ของ
ประชาชนดีขึ้นและลดปัญหาอุบัติเหตุลงได้
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ปีนี้
ลำดับที่ ลักษณะการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ปีนี้ ร้อยละ
1 เป็นผู้โดยสาร 52.1
2 เป็นผู้ขับขี่ 18.8
3 เป็นทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารในบางโอกาส 29.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์เคยเจอหรือเกือบประสบอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ปีนี้
ลำดับที่ ประสบการณ์เคยเจอหรือเกือบเจออุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ ร้อยละ
1 เคยเจออุบัติเหตุด้วยตนเองในช่วงเทศกาลปีใหม่ 10.4
2 เกือบประสบอุบัติเหตุด้วยตนเอง 43.6
3 ไม่เคยเจอ 46.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สาเหตุที่คาดว่าทำให้เกิดอุบัติเหตุ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุที่คาดว่าทำให้เกิดอุบัติเหตุ ร้อยละ
1 พฤติกรรมที่ไม่ดีของคนขับรถ 86.4
2 สภาพถนนและสภาพแวดล้อมของถนน 73.2
3 ความไม่เข้มงวดในการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 68.8
4 กฎหมายกำหนดโทษไม่รุนแรง 64.5
5 สภาพรถยนต์ที่ใช้ในการเดินทางไม่ดี / ไม่ได้มาตรฐาน 61.9
6 สภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย 47.3
7 อื่นๆ อาทิ ความคึกคะนองของคนขับรถและผู้โดยสาร/ การควบคุมอารมณ์ของคนใช้รถใช้ถนน เป็นต้น 32.4
ตารางที่ 4 แสดงการจัด 10 อันดับพฤติกรรมที่ไม่ดีของคนขับรถที่เจอในการเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พฤติกรรมที่ไม่ดีของคนขับรถ ร้อยละ
1 ขับรถด้วยความเร็วเกินที่กำหนด 72.6
2 ไม่สวมหมวกกันน็อค / ซ้อนสาม 68.3
3 ขับรถบนไหล่ทาง 65.2
4 ขับรถย้อนศร 62.1
5 ขับรถด้วยความประมาท / หวาดเสียว 57.8
6 ไม่มีน้ำใจที่ดีเอื้อเฟื้อให้กับคนขับรถคนอื่นๆ 55.2
7 คุยโทรศัพท์มือถือขณะขับรถ 50.3
8 ไม่หยุดรถขณะขับออกจากซอยหรือทางแยก 46.4
9 เมาแล้วขับ 41.2
10 ยึดหลักทางเอกทางโทมากเกินไป 38.9
ตารางที่ 5 แสดงการจัด 10 อันดับสภาพถนนและสภาพแวดล้อมของถนนที่เจอในช่วงเทศกาลปีใหม่
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สภาพถนนและสภาพแวดล้อมของถนน ร้อยละ
1 สภาพถนนชำรุด /มีการซ่อมขุดเจาะพื้นผิวถนน 69.3
2 ไม่มีป้ายจำกัดความเร็วให้เห็นมากเพียงพอ 67.8
3 ไม่มีสัญญาณบอกล่วงหน้าในช่วงก่อสร้างซ่อมบำรุงให้มากเพียงพอ (ถ้ามีก็กระชั้นชิดเกินไป) 65.3
4 มีป้ายให้ลดความเร็วแต่ไม่มีตัวเลขจำกัดความเร็ว 62.2
5 ไม่มีป้ายบอกถึงโทษถ้าไม่เคารพกฎจราจร 60.4
6 มีป้ายโฆษณาบดบังป้ายและสัญญาณจราจร 53.8
7 เวลารถจอดเสียหรือเกิดอุบัติเหตุไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจให้สัญญาณล่วงหน้า เข้าถึงที่เกิดเหตุล่าช้า/ไม่มีสัญญาเตือนล่วงหน้า 52.2
8 ป้ายสัญญาณจราจรเก่าชำรุด ไม่มีเส้นแบ่งถนนชัดเจน 49.2
9 ไฟฟ้าริมถนนมีไม่เพียงพอ (บางจุดไฟริมถนนดับ) 44.5
10 อื่นๆ อาทิ มีวัตถุสิ่งของ ซากสัตว์ตาย กิ่งไม้ ตกบนท้องถนน / ต้นไม้พุ่มไม้ขึ้นสูงเกินไป / มีจุดพักไม่เพียงพอ เป็นต้น 23.9
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละที่ระบุความพึงพอใจต่อการทำงานของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการรณรงค์ป้องกัน
และแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น
1 สื่อมวลชน 78.3 6.5 15.2
2 สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) 64.9 5.2 29.9
3 เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวง 61.7 18.9 19.4
4 กระทรวงมหาดไทย 59.2 20.1 20.7
5 หน่วยกู้ภัย 58.3 14.3 27.4
6 เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรในท้องที่ต่างๆ 54.9 24.2 20.9
7 กระทรวงสาธารณสุข 52.8 8.3 38.9
8 กรมทางหลวง 40.2 41.9 17.9
9 เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล 38.9 17.7 43.4
10 ฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่น 26.1 19.5 54.4
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลการให้คะแนนในการทำงานโดยภาพรวมของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่
ของรัฐในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่
ลำดับที่ ผลการให้คะแนนการทำงานโดยรวม ร้อยละ
1 สอบผ่าน 62.4
2 สอบตก 20.9
3 ไม่มีความเห็น 16.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในแต่ละปี คนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลปีใหม่ และสงกรานต์ ซึ่ง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน ได้แก่ คน ยานพาหนะ ถนน และสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีหน่วยงานต่างๆ ให้ความสนใจในการจัดตั้งจุด
ตรวจร่วม การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2549 และการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมสนับสนุนการปฏิบัติ
งานและอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
ต่อประเด็นสำคัญต่างๆ ข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบ
วิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจประสบการณ์ต่ออุบัติเหตุ และสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
2. เพื่อสำรวจถึงพฤติกรรมที่ไม่ดีของคนขับรถ และสภาพถนน / สภาพแวดล้อมของถนนที่เจอในช่วงเทศกาลปีใหม่
3. เพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อการทำงานของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในช่วง
เทศกาลปีใหม่
4. เพื่อสำรวจผลการทำงานโดยภาพรวมของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ต้นตออุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ในสายตา
ประชาชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่เดินทางท่องเที่ยวช่วงปีใหม่ใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 31
ธันวาคม 2548 — 4 มกราคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้โดยสารและผู้ขับขี่รถยนต์ช่วงเทศกาลปีใหม่ใน 16 จังหวัดทั่วประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร
สมุทรปราการ ชลบุรี อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ นครราชสีมา ขอนแก่น หนองคาย อุบลราชธานี พิษณุโลก เชียงใหม่ น่าน ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร
และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,082 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 59.2 เป็นชาย ร้อยละ 40.8 เป็นหญิง ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 33.4
อายุ 20-29 ปี ร้อยละ 22.4 อายุ 30-39 ปี ร้อยละ 17.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 13.8 อายุ 40-49 ปี และร้อยละ 12.5 อายุ 50 ปีขึ้น
ไป สำหรับระดับการศึกษาที่สำเร็จชั้นสูงสุด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 67.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 29.2 สำเร็จการ
ศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ ร้อยละ 27.8 ประกอบอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.5 เป็นนักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 18.1 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 13.2 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.1
อาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 8.3 เป็นแม่บ้าน พ่อบ้าน เกษียณอายุ รวมถึงผู้ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ต้นตออุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ในสายตาประชาชน” ได้ทำ
การสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนที่เดินทางท่องเที่ยวในช่วงปีใหม่ใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,082 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการ
สำรวจระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2548 — 4 มกราคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ผลสำรวจของเอแบคโพลล์สอบถามตัวอย่างถึงลักษณะการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ปีนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างเกินครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ
52.1 เป็นผู้โดยสาร ร้อยละ 29.1 เป็นทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารในบางโอกาส และร้อยละ 18.8 เป็นผู้ขับขี่
สำหรับประสบการณ์เคยเจอ หรือเกือบประสบอุบัติเหตุของตัวอย่างในช่วงเทศกาลปีใหม่ปีนี้ พบว่า ร้อยละ 43.6 เกือบประสบ
อุบัติเหตุด้วยตนเอง ร้อยละ 10.4 เคยเจออุบัติเหตุด้วยตนเองในช่วงปีใหม่ ในขณะที่มีถึงร้อยละ 46.0 ที่ไม่เคยเจออุบัติเหตุเลย และเมื่อสอบถาม
ถึงสาเหตุที่คาดว่าทำให้เกิดอุบัติเหตุ 5 อันดับแรก คือ พฤติกรรมที่ไม่ดีของคนขับรถ (ร้อยละ 86.4) สภาพถนนและสภาพแวดล้อมของถนน (ร้อยละ
73.2) ความไม่เข้มงวดในการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ร้อยละ 68.8) กฎหมายกำหนดโทษไม่รุนแรง (ร้อยละ 64.5) และสภาพรถยนต์ไม่
ดี / ไม่ได้มาตรฐาน (ร้อยละ 61.9) ตามลำดับ
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงพฤติกรรมที่ไม่ดีของคนขับรถที่เจอในการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ 5 อันดับแรก คือ ขับรถด้วยความ
เร็วเกินที่กำหนด (ร้อยละ 72.6) ไม่สวมหมวกกันน็อค / ซ้อนสาม (ร้อยละ 68.3) ขับรถบนไหล่ทาง (ร้อยละ 65.2) ขับรถย้อนศร (ร้อยละ
62.1) และขับรถด้วยความประมาท / หวาดเสียว (ร้อยละ 57.8) ตามลำดับ
ในขณะเดียวกัน เมื่อสอบถามถึงสภาพถนน และสภาพแวดล้อมของถนนที่เจอในช่วงเทศกาลปีใหม่ 5 อันดับแรก คือ สภาพถนนชำรุด / มี
การซ่อมขุดเจาะพื้นผิวถนน (ร้อยละ 69.3) ไม่มีป้ายจำกัดความเร็วให้เห็นมากเพียงพอ (ร้อยละ 67.8) ไม่มีสัญญาณบอกล่วงหน้าในช่วงก่อสร้าง
ซ่อมบำรุงให้มากเพียงพอ หรือถ้ามีสัญญาณบอก แต่ก็กระชั้นชิดเกินไป (ร้อยละ 65.3) มีป้ายให้ลดความเร็ว แต่ไม่มีตัวเลขจำกัดความเร็ว (ร้อยละ
62.2) และไม่มีป้ายบอกถึงโทษถ้าไม่เคารพกฎจราจร (ร้อยละ 60.4) ตามลำดับ
สำหรับความพึงพอใจต่อการทำงานของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่
พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ “พอใจ” ต่อการทำงานของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยแบ่งเป็นดังนี้ สื่อมวลชน (พอใจ ร้อยละ 78.3) สสส. (พอ
ใจ ร้อยละ 64.9) เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวง (พอใจ ร้อยละ 61.7) กระทรวงมหาดไทย (พอใจ ร้อยละ 59.2) หน่วยกู้ภัย (พอใจ ร้อยละ
58.3) เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรในท้องที่ต่างๆ (พอใจ ร้อยละ 54.9) กระทรวงสาธารณสุข (พอใจ ร้อยละ 52.8) เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล (พอ
ใจ ร้อยละ 38.9) และฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่น (พอใจ ร้อยละ 26.1) ในขณะที่ตัวอย่างระบุว่า “ไม่พอใจ” ต่อการทำงานของกรมทางหลวง (ร้อย
ละ 41.9) ซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงกับ “พอใจ” (ร้อยละ 40.2)
ประเด็นสุดท้ายที่น่าพิจารณา ก็คือ ผลการให้คะแนนในการทำงานโดยภาพรวมของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการรณรงค์ป้องกันและ
แก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 62.4 ระบุว่าสอบผ่าน ร้อยละ 20.9 ระบุว่า สอบตก และร้อยละ 16.7 ไม่ระบุ
ความคิดเห็น
จากผลสำรวจวิจัยครั้งนี้พบว่า หน่วยงานที่ประชาชนยังไม่รับรู้รับทราบเกี่ยวกับการทำงานรณรงค์แก้ไขปัญหาอุบัติเหตุก็คือฝ่ายปกครองส่วน
ท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานที่น่าจะมีบทบาทสำคัญในแต่ละชุมชนด้านการป้องกันปัญหาเหล่านี้ คณะผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะจากงานวิจัยครั้งนี้ว่า รัฐบาลและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะพิจารณาปรับแก้กฎหมายและกระจายอำนาจลงไปยังการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเพิ่มโทษเอาผิดกับประชาชนผู้ฝ่าฝืนกฎจราจร
ต้องจ่ายเงินให้กับพื้นที่ท้องถิ่นที่ไปก่อเหตุนั้นๆ ใช้ในการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น นำเงินค่าปรับไปพัฒนาห้องสมุดประชาชน พัฒนาด้านการศึกษาของท้องถิ่น
ช่วยเหลือเด็กกำพร้าผู้ยากไร้ในท้องถิ่น ซ่อมบำรุงถนนให้ดีขึ้น ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้พัฒนาสถานีตำรวจและเอาเก็บเข้ากองคลังของส่วนการปกครอง
ท้องถิ่นอีกด้วย ซึ่งมาตรการต้องให้ผู้กระทำผิดจ่ายเงินสูงขึ้นในการพัฒนาพื้นที่ที่ผู้ขับขี่ไปกระทำความผิดไว้ น่าจะส่งผลทำให้พฤติกรรมการขับขี่รถยนต์ของ
ประชาชนดีขึ้นและลดปัญหาอุบัติเหตุลงได้
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ปีนี้
ลำดับที่ ลักษณะการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ปีนี้ ร้อยละ
1 เป็นผู้โดยสาร 52.1
2 เป็นผู้ขับขี่ 18.8
3 เป็นทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารในบางโอกาส 29.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์เคยเจอหรือเกือบประสบอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ปีนี้
ลำดับที่ ประสบการณ์เคยเจอหรือเกือบเจออุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ ร้อยละ
1 เคยเจออุบัติเหตุด้วยตนเองในช่วงเทศกาลปีใหม่ 10.4
2 เกือบประสบอุบัติเหตุด้วยตนเอง 43.6
3 ไม่เคยเจอ 46.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สาเหตุที่คาดว่าทำให้เกิดอุบัติเหตุ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุที่คาดว่าทำให้เกิดอุบัติเหตุ ร้อยละ
1 พฤติกรรมที่ไม่ดีของคนขับรถ 86.4
2 สภาพถนนและสภาพแวดล้อมของถนน 73.2
3 ความไม่เข้มงวดในการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 68.8
4 กฎหมายกำหนดโทษไม่รุนแรง 64.5
5 สภาพรถยนต์ที่ใช้ในการเดินทางไม่ดี / ไม่ได้มาตรฐาน 61.9
6 สภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย 47.3
7 อื่นๆ อาทิ ความคึกคะนองของคนขับรถและผู้โดยสาร/ การควบคุมอารมณ์ของคนใช้รถใช้ถนน เป็นต้น 32.4
ตารางที่ 4 แสดงการจัด 10 อันดับพฤติกรรมที่ไม่ดีของคนขับรถที่เจอในการเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พฤติกรรมที่ไม่ดีของคนขับรถ ร้อยละ
1 ขับรถด้วยความเร็วเกินที่กำหนด 72.6
2 ไม่สวมหมวกกันน็อค / ซ้อนสาม 68.3
3 ขับรถบนไหล่ทาง 65.2
4 ขับรถย้อนศร 62.1
5 ขับรถด้วยความประมาท / หวาดเสียว 57.8
6 ไม่มีน้ำใจที่ดีเอื้อเฟื้อให้กับคนขับรถคนอื่นๆ 55.2
7 คุยโทรศัพท์มือถือขณะขับรถ 50.3
8 ไม่หยุดรถขณะขับออกจากซอยหรือทางแยก 46.4
9 เมาแล้วขับ 41.2
10 ยึดหลักทางเอกทางโทมากเกินไป 38.9
ตารางที่ 5 แสดงการจัด 10 อันดับสภาพถนนและสภาพแวดล้อมของถนนที่เจอในช่วงเทศกาลปีใหม่
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สภาพถนนและสภาพแวดล้อมของถนน ร้อยละ
1 สภาพถนนชำรุด /มีการซ่อมขุดเจาะพื้นผิวถนน 69.3
2 ไม่มีป้ายจำกัดความเร็วให้เห็นมากเพียงพอ 67.8
3 ไม่มีสัญญาณบอกล่วงหน้าในช่วงก่อสร้างซ่อมบำรุงให้มากเพียงพอ (ถ้ามีก็กระชั้นชิดเกินไป) 65.3
4 มีป้ายให้ลดความเร็วแต่ไม่มีตัวเลขจำกัดความเร็ว 62.2
5 ไม่มีป้ายบอกถึงโทษถ้าไม่เคารพกฎจราจร 60.4
6 มีป้ายโฆษณาบดบังป้ายและสัญญาณจราจร 53.8
7 เวลารถจอดเสียหรือเกิดอุบัติเหตุไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจให้สัญญาณล่วงหน้า เข้าถึงที่เกิดเหตุล่าช้า/ไม่มีสัญญาเตือนล่วงหน้า 52.2
8 ป้ายสัญญาณจราจรเก่าชำรุด ไม่มีเส้นแบ่งถนนชัดเจน 49.2
9 ไฟฟ้าริมถนนมีไม่เพียงพอ (บางจุดไฟริมถนนดับ) 44.5
10 อื่นๆ อาทิ มีวัตถุสิ่งของ ซากสัตว์ตาย กิ่งไม้ ตกบนท้องถนน / ต้นไม้พุ่มไม้ขึ้นสูงเกินไป / มีจุดพักไม่เพียงพอ เป็นต้น 23.9
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละที่ระบุความพึงพอใจต่อการทำงานของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการรณรงค์ป้องกัน
และแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น
1 สื่อมวลชน 78.3 6.5 15.2
2 สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) 64.9 5.2 29.9
3 เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวง 61.7 18.9 19.4
4 กระทรวงมหาดไทย 59.2 20.1 20.7
5 หน่วยกู้ภัย 58.3 14.3 27.4
6 เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรในท้องที่ต่างๆ 54.9 24.2 20.9
7 กระทรวงสาธารณสุข 52.8 8.3 38.9
8 กรมทางหลวง 40.2 41.9 17.9
9 เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล 38.9 17.7 43.4
10 ฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่น 26.1 19.5 54.4
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลการให้คะแนนในการทำงานโดยภาพรวมของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่
ของรัฐในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่
ลำดับที่ ผลการให้คะแนนการทำงานโดยรวม ร้อยละ
1 สอบผ่าน 62.4
2 สอบตก 20.9
3 ไม่มีความเห็น 16.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-