แท็ก
เอแบคโพลล์
ที่มาของโครงการ
ปัจจุบันรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ (Reality Show) ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มประชาชน ทั่วไป ซึ่งรายการโทรทัศน์
ประเภทเรียลลิตี้โชว์จะนำเสนอเรื่องราวชีวิตจริงของคนกลุ่มหนึ่งที่ถูกจัดให้อยู่ในสถานที่เดียวกันภายใต้เงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่กำหนด โดยผู้ชม
รายการดังกล่าวจะมีส่วนร่วมในการโหวตให้คะแนนบุคคลที่ตนเองชื่นชอบ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่ติดตามชมรายการ
ประเภทดังกล่าวในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้าน
ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามชมรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อรายการโทรทัศน์ประ
เภทเรียลลิตี้โชว์ : กรณีศึกษาประชาชนที่ติดตามรายการประเภทเรียลลิตี้โชว์ ในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 7-
8 ตุลาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเชิงชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi Stage Sampling) จำแนกตาม
เขตกรุงเทพมหานครชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,428 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.6 เป็นหญิง ร้อยละ 45.4 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 33.6
อายุ 20-29 ปี ร้อยละ 20.6 อายุ 30—39 ปี ร้อยละ 18.4 อายุ 40—49 ปี ร้อยละ 18.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี และร้อยละ 9.3 อายุ 50 ปี
ขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 80.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 18.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.0 สำเร็จการ
ศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี นอกจากนี้ ร้อยละ 30.7 ประกอบอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 22.6 เป็นนักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 18.8
อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.1 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 9.6 เป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน และร้อยละ 6.2 อาชีพอื่นๆ เช่น ข้าราชการ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อรายการ โทรทัศน์ประเภทเรียล
ลิตี้โชว์ : กรณีศึกษาประชาชนที่ติดตามรายการประเภทเรียลลิตี้โชว์ในเขตกรุงเทพ มหานคร” ในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,428 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 7-8 ตุลาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 87.0 ติดตามดูรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้เป็นบางโอกาส มีเพียงร้อยละ 13.0 ที่ติดตามดูเป็นประจำ
โดยรายการที่ตัวอย่างเคยดูมากในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันคือ รายการบิ๊กบราเธอร์ (ร้อยละ 57.1) และรายการเดอะสตาร์ (ร้อยละ 56.4) รอง
ลงมาคือรายการคุณลิขิต (ร้อยละ 50.3) ในขณะที่รายการที่ตัวอย่างชื่นชอบมากที่สุดคือรายการเดอะสตาร์ (ร้อยละ 29.9) รองลงมาได้แก่รายการ
คุณลิขิต (ร้อยละ 27.1) และรายการบิ๊กบราเธอร์ (ร้อยละ 23.4) ซึ่งเหตุผลที่ตัวอย่างชื่นชอบรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์เนื่องจากเป็น
รายการที่มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน (ร้อยละ 30.9) ผู้เข้าร่วมแข่งขันมีความสามารถ (ร้อยละ 27.6) และเป็นรายการที่มีสาระ (ร้อยละ
21.0) ตามลำดับ
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการเคยโหวตให้กับผู้เข้าร่วมแข่งขันรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 85.1
ไม่เคยโหวตให้ผู้เข้าร่วมแข่งขัน มีเพียงร้อยละ 14.9 เท่านั้นที่เคยโหวต โดยในการโหวตนั้นจะเลือกโหวตให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันที่มีความสามารถ (ร้อย
ละ 83.3) มีกริยามารยาทและการวางตัวดี (ร้อยละ 44.3) และมีน้ำใจต่อผู้เข้าร่วมแข่งขันคนอื่น (ร้อยละ 44.3) ตามลำดับ
ตัวอย่างร้อยละ 56.5 เห็นว่าการโหวตให้กับผู้เข้าร่วมแข่งขันไม่เป็นการสิ้นเปลือง ร้อยละ 43.5 เห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง สำหรับ
วิธีการที่เหมาะสมในการตัดสินของรายการประเภทเรียลลิตี้โชว์นั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ควรจะใช้ผลโหวตจากประชาชนและการให้
คะแนนจากกรรมการประกอบกันในการตัดสิน ร้อยละ 12.7 มีความเห็นว่าควรจะผลโหวตจากประชาชน และร้อยละ 12.3 ควรจะใช้คะแนนที่มาจาก
กรรมการ นอกจากนี้ตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าข้อดีของรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ คือ การเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันได้แสดงความ
สามารถของตนเอง (ร้อยละ 56.9) รองลงมาคือได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน (ร้อยละ 28.5) และได้เรียนรู้นิสัยของผู้เข้าร่วมแข่งขันแต่ละคน
(ร้อยละ 10.2) ในขณะที่ข้อเสียของรายการโทรทัศน์ เรียลลิตี้โชว์คือ เป็นรายการที่ไร้สาระ ทำให้ประชาชนลุ่มหลง ไม่เป็นอันทำอะไร (ร้อย
ละ 25.3) รองลงมาเห็นว่าการโหวตเป็นการสิ้นเปลืองโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่ยังไม่มีรายได้ (ร้อยละ 24.2) และ ไม่มีความยุติธรรมในการ
คัดเลือกผู้เข้าร่วมแข่งขันคนใดที่มีฐานะดีก็จะทุ่มเทเงินจำนวนมากในการโหวต (ร้อยละ 19.0)
ตัวอย่างร้อยละ 57.9 เห็นว่ารายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย ร้อยละ 3.8 เห็นว่ามีข้อเสียมากกว่า ร้อย
ละ 26.3 เห็นว่ามีข้อดีและข้อเสียพอ ๆ กัน และร้อยละ 12.0 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ตัวอย่างมีข้อเสนอแนะต่อรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้
โชว์ดังนี้ คือ สถานีโทรทัศน์ต่างๆ ควรเพิ่มรายการประเภทดังกล่าวให้เพิ่มมากขึ้น (ร้อยละ 38.2) รองลงมาคือปรับปรุงระบบการแสดงผลโหวตให้
ชัดเจนเพื่อความยุติธรรมของทุกฝ่าย (ร้อยละ 16.9) และปรับปรุงรูปแบบรายการให้มีสาระ มีความสร้างสรรค์ (ร้อยละ 14.5) ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 การเคยดูรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
ลำดับที่ การเคยดูรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ ค่าร้อยละ
1 ติดตามดูเป็นประจำ 13.0
2 ดูบ้างบางโอกาส 87.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 รายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ ที่เคยดู (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ ที่เคยดู ค่าร้อยละ
1 บิ๊กบราเธอร์ ทาง ITV และ UBC 57.1
2 เดอะสตาร์ ช่อง 9 56.4
3 คุณลิขิต ช่อง 7 50.3
4 อะคาเดมี แฟนเทเชีย ทาง ITV และ UBC 38.4
5 ไทยแลนด์ เน็กซ์ท็อปโมเดล ช่อง 3 18.7
6 เอ็มไทยแลนด์ ช่อง 3 9.9
ตารางที่ 3 รายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ที่ชื่นชอบมากที่สุด
ลำดับที่ รายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ที่ชื่นชอบมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 เดอะสตาร์ ช่อง 9 29.9
2 คุณลิขิต ช่อง 7 27.1
3 บิ๊กบราเธอร์ ทาง ITV และ UBC 23.4
4 อะคาเดมี แฟนเทเชีย ทาง ITV และ UBC 13.0
5 ไทยแลนด์ เน็กซ์ท็อปโมเดล ช่อง 3 4.9
6 เอ็มไทยแลนด์ ช่อง 3 1.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 เหตุผลที่ชื่นชอบรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์
ลำดับที่ เหตุผลที่ชื่นชอบรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ ค่าร้อยละ
1 ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน 30.9
2 ผู้เข้าร่วมแข่งขันมีความสามารถ 27.6
3 เป็นรายการที่มีสาระ 21.0
4 มีโอกาสได้ฟังเพลงที่ไพเราะ 13.8
5 อื่นๆ อาทิ เป็นรายการที่เป็นกันเอง,ได้ใกล้ชิดติดตามผู้เข้าร่วมแข่งขัน,
ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินผู้เข้าร่วมแข่งขัน, เป็นรายการที่มี รูปแบบที่แปลกใหม่ 6.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 การเคยโหวตให้กับผู้เข้าร่วมแข่งขันรายการประเภทเรียลลิตี้โชว์ (จำแนกตามช่วงอายุ)
ลำดับที่ การเคยโหวตให้กับผู้เข้าแข่งขัน อายุไม่เกิน 25 ปี อายุมากกว่า25 ปีขึ้นไป ภาพรวม
1 เคยโหวตให้กับผู้เข้าแข่งขัน 18.0 12.9 14.9
2 ไม่เคย 82.0 87.1 85.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 คุณสมบัติของผู้เข้าแข่งขันที่เลือกโหวตให้ (เฉพาะตัวอย่างที่เคยโหวตและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของผู้เข้าแข่งขัน ค่าร้อยละ
1 มีความสามารถ 83.3
2 กริยา มารยาท และการวางตัวดี 44.3
3 มีน้ำใจต่อผู้เข้าร่วมแข่งขันคนอื่น 44.3
4 รูปร่าง หน้าตาดี 26.7
5 มีภูมิลำเนาเดียวกัน 8.1
6 มีคะแนนตามหลัง 3.3
7 อื่นๆ อาทิ รู้จักกันเป็นการส่วนตัว, เรียนสถาบันเดียวกัน, มีคะแนนนำอยู่แล้ว 6.3
ตารางที่ 8 ความคิดเห็นต่อการโหวตให้กับผู้เข้าร่วมแข่งขันว่าเป็นการสิ้นเปลืองหรือไม่
ลำดับที่ การโหวตให้กับผู้เข้าร่วมแข่งขันเป็นการสิ้นเปลืองหรือไม่ อายุไม่เกิน 25 ปี อายุมากกว่า25 ปีขึ้นไป ภาพรวม
1 คิดว่าสิ้นเปลือง 35.2 48.9 43.5
2 ไม่สิ้นเปลือง 64.8 51.1 56.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 วิธีการที่เห็นว่าเหมาะสมในการตัดสินของรายการประเภทเรียลลิตี้โชว์
ลำดับที่ วิธีการที่เห็นว่าเหมาะสมในการตัดสิน ค่าร้อยละ
1 ผลโหวตจากประชาชน 12.7
2 การให้คะแนนจากกรรมการ 12.3
3 ใช้ทั้งสองอย่างประกอบกัน 75.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 ข้อดีของรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อดีของรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ ค่าร้อยละ
1 เปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันได้แสดงความสามารถของตนเอง 56.9
2 ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน 28.5
3 ได้เรียนรู้นิสัยของผู้เข้าร่วมแข่งขันแต่ละคน 10.2
4 เปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 8.9
5 เปิดโอกาสให้มีประชาชนได้มีโอกาสร่วมโหวตคัดเลือก โดยไม่มีเส้นสายหรือคัดเลือกจากกรรมการเพียงไม่กี่คน 8.0
6 อื่นๆ เช่น เป็นรายการทางเลือกใหม่ของประชาชน, ทำให้ได้รับรู้ถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ,
ทำให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันรู้จักแพ้รู้จักชนะมีความสามัคคีในหมู่คณะ 11.8
7 ไม่มีข้อดีเลย 19.0
ตารางที่ 11 ข้อเสียของรายการจัดประกวดหรือแข่งขันแบบเรียลลิตี้โชว์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสียของรายการจัดประกวดหรือแข่งขันแบบเรียลลิตี้โชว์ ค่าร้อยละ
1 เป็นรายการไร้สาระ ทำให้ประชาชนลุ่มหลง ไม่เป็นอันทำอะไร 25.3
2 การโหวตเป็นการสิ้นเปลือง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่ยังไม่มีรายได้เป็นของตนเอง 24.2
3 ไม่มีความยุติธรรมในการคัดเลือก ผู้เข้าแข่งขันคนใดมีฐานะดี ก็จะทุ่มเทเงินจำนวนมากในการโหวต 19.0
4 บางครั้งดูเหมือนเป็นการจัดฉาก เสแสร้ง 18.2
5 บางรายการผู้เข้าร่วมแข่งขันมีนิสัย /มีการแสดงออกในทางที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม 14.4
6 อื่นๆ เช่น บางรายการดูแล้วทำให้เครียดทั้งผู้ชมและผู้แข่งขัน, ผู้เข้าแข่งขันบางคนยอมรับความจริงไม่ได้
คาดหวังมากเกินไป 18.5
7 ไม่มีข้อเสียเลย 68.2
ตารางที่ 12 ความคิดเห็นต่อรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ ว่าเป็นรายการที่มีข้อดีหรือข้อเสียมากกว่ากัน
ลำดับที่ รายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์มีข้อดีหรือข้อเสียมากกว่ากัน ค่าร้อยละ
1 ข้อดีมากกว่า 57.9
2 ข้อเสียมากกว่า 3.8
3 มีข้อดีและข้อเสียพอๆ กัน 26.3
4 ไม่มีความเห็น 12.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 ข้อเสนอแนะต่อการนำเสนอรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โขว์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ค่าร้อยละ
1 สถานีโทรทัศน์ต่างๆ ควรเพิ่มรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ให้มากขึ้น 38.2
2 เพื่อความยุติธรรมกับทุกฝ่าย ควรมีการแสดงผลโหวตให้ชัดเจน 16.9
3 ปรับปรุงรูปแบบรายการให้มีสาระ มีความสร้างสรรค์ 14.5
4 ควรมีการแข่งขันที่หลากหลายรูปแบบ 8.9
รายการควรมีการเซ็นเซอร์สิ่งที่ไม่สม ซึ่งก่อให้เด็กและเยาวชนเกิดการลอกเลียนแบบในทางที่ไม่เหมาะสม 7.7
5 ช่วงเวลาออกอากาศไม่ควรดึกมากเกินไป ทำให้เด็กและเยาวชนต้องนอนดึก 4.4
6 อื่นๆ เช่น กรรมการติชมไม่ควรใช้ถ้อยคำรุนแรงเกินไป, ควรคัดเลือกที่ความสามารถไม่ใช่ที่หน้าตา,
ควรจัดรางวัลให้กับผู้ส่งข้อความเข้าร่วมโหวต 14.6
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ปัจจุบันรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ (Reality Show) ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มประชาชน ทั่วไป ซึ่งรายการโทรทัศน์
ประเภทเรียลลิตี้โชว์จะนำเสนอเรื่องราวชีวิตจริงของคนกลุ่มหนึ่งที่ถูกจัดให้อยู่ในสถานที่เดียวกันภายใต้เงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่กำหนด โดยผู้ชม
รายการดังกล่าวจะมีส่วนร่วมในการโหวตให้คะแนนบุคคลที่ตนเองชื่นชอบ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่ติดตามชมรายการ
ประเภทดังกล่าวในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้าน
ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามชมรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อรายการโทรทัศน์ประ
เภทเรียลลิตี้โชว์ : กรณีศึกษาประชาชนที่ติดตามรายการประเภทเรียลลิตี้โชว์ ในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 7-
8 ตุลาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเชิงชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi Stage Sampling) จำแนกตาม
เขตกรุงเทพมหานครชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,428 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.6 เป็นหญิง ร้อยละ 45.4 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 33.6
อายุ 20-29 ปี ร้อยละ 20.6 อายุ 30—39 ปี ร้อยละ 18.4 อายุ 40—49 ปี ร้อยละ 18.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี และร้อยละ 9.3 อายุ 50 ปี
ขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 80.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 18.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.0 สำเร็จการ
ศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี นอกจากนี้ ร้อยละ 30.7 ประกอบอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 22.6 เป็นนักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 18.8
อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.1 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 9.6 เป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน และร้อยละ 6.2 อาชีพอื่นๆ เช่น ข้าราชการ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อรายการ โทรทัศน์ประเภทเรียล
ลิตี้โชว์ : กรณีศึกษาประชาชนที่ติดตามรายการประเภทเรียลลิตี้โชว์ในเขตกรุงเทพ มหานคร” ในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,428 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 7-8 ตุลาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 87.0 ติดตามดูรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้เป็นบางโอกาส มีเพียงร้อยละ 13.0 ที่ติดตามดูเป็นประจำ
โดยรายการที่ตัวอย่างเคยดูมากในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันคือ รายการบิ๊กบราเธอร์ (ร้อยละ 57.1) และรายการเดอะสตาร์ (ร้อยละ 56.4) รอง
ลงมาคือรายการคุณลิขิต (ร้อยละ 50.3) ในขณะที่รายการที่ตัวอย่างชื่นชอบมากที่สุดคือรายการเดอะสตาร์ (ร้อยละ 29.9) รองลงมาได้แก่รายการ
คุณลิขิต (ร้อยละ 27.1) และรายการบิ๊กบราเธอร์ (ร้อยละ 23.4) ซึ่งเหตุผลที่ตัวอย่างชื่นชอบรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์เนื่องจากเป็น
รายการที่มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน (ร้อยละ 30.9) ผู้เข้าร่วมแข่งขันมีความสามารถ (ร้อยละ 27.6) และเป็นรายการที่มีสาระ (ร้อยละ
21.0) ตามลำดับ
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการเคยโหวตให้กับผู้เข้าร่วมแข่งขันรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 85.1
ไม่เคยโหวตให้ผู้เข้าร่วมแข่งขัน มีเพียงร้อยละ 14.9 เท่านั้นที่เคยโหวต โดยในการโหวตนั้นจะเลือกโหวตให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันที่มีความสามารถ (ร้อย
ละ 83.3) มีกริยามารยาทและการวางตัวดี (ร้อยละ 44.3) และมีน้ำใจต่อผู้เข้าร่วมแข่งขันคนอื่น (ร้อยละ 44.3) ตามลำดับ
ตัวอย่างร้อยละ 56.5 เห็นว่าการโหวตให้กับผู้เข้าร่วมแข่งขันไม่เป็นการสิ้นเปลือง ร้อยละ 43.5 เห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง สำหรับ
วิธีการที่เหมาะสมในการตัดสินของรายการประเภทเรียลลิตี้โชว์นั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ควรจะใช้ผลโหวตจากประชาชนและการให้
คะแนนจากกรรมการประกอบกันในการตัดสิน ร้อยละ 12.7 มีความเห็นว่าควรจะผลโหวตจากประชาชน และร้อยละ 12.3 ควรจะใช้คะแนนที่มาจาก
กรรมการ นอกจากนี้ตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าข้อดีของรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ คือ การเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันได้แสดงความ
สามารถของตนเอง (ร้อยละ 56.9) รองลงมาคือได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน (ร้อยละ 28.5) และได้เรียนรู้นิสัยของผู้เข้าร่วมแข่งขันแต่ละคน
(ร้อยละ 10.2) ในขณะที่ข้อเสียของรายการโทรทัศน์ เรียลลิตี้โชว์คือ เป็นรายการที่ไร้สาระ ทำให้ประชาชนลุ่มหลง ไม่เป็นอันทำอะไร (ร้อย
ละ 25.3) รองลงมาเห็นว่าการโหวตเป็นการสิ้นเปลืองโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่ยังไม่มีรายได้ (ร้อยละ 24.2) และ ไม่มีความยุติธรรมในการ
คัดเลือกผู้เข้าร่วมแข่งขันคนใดที่มีฐานะดีก็จะทุ่มเทเงินจำนวนมากในการโหวต (ร้อยละ 19.0)
ตัวอย่างร้อยละ 57.9 เห็นว่ารายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย ร้อยละ 3.8 เห็นว่ามีข้อเสียมากกว่า ร้อย
ละ 26.3 เห็นว่ามีข้อดีและข้อเสียพอ ๆ กัน และร้อยละ 12.0 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ตัวอย่างมีข้อเสนอแนะต่อรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้
โชว์ดังนี้ คือ สถานีโทรทัศน์ต่างๆ ควรเพิ่มรายการประเภทดังกล่าวให้เพิ่มมากขึ้น (ร้อยละ 38.2) รองลงมาคือปรับปรุงระบบการแสดงผลโหวตให้
ชัดเจนเพื่อความยุติธรรมของทุกฝ่าย (ร้อยละ 16.9) และปรับปรุงรูปแบบรายการให้มีสาระ มีความสร้างสรรค์ (ร้อยละ 14.5) ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 การเคยดูรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
ลำดับที่ การเคยดูรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ ค่าร้อยละ
1 ติดตามดูเป็นประจำ 13.0
2 ดูบ้างบางโอกาส 87.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 รายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ ที่เคยดู (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ ที่เคยดู ค่าร้อยละ
1 บิ๊กบราเธอร์ ทาง ITV และ UBC 57.1
2 เดอะสตาร์ ช่อง 9 56.4
3 คุณลิขิต ช่อง 7 50.3
4 อะคาเดมี แฟนเทเชีย ทาง ITV และ UBC 38.4
5 ไทยแลนด์ เน็กซ์ท็อปโมเดล ช่อง 3 18.7
6 เอ็มไทยแลนด์ ช่อง 3 9.9
ตารางที่ 3 รายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ที่ชื่นชอบมากที่สุด
ลำดับที่ รายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ที่ชื่นชอบมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 เดอะสตาร์ ช่อง 9 29.9
2 คุณลิขิต ช่อง 7 27.1
3 บิ๊กบราเธอร์ ทาง ITV และ UBC 23.4
4 อะคาเดมี แฟนเทเชีย ทาง ITV และ UBC 13.0
5 ไทยแลนด์ เน็กซ์ท็อปโมเดล ช่อง 3 4.9
6 เอ็มไทยแลนด์ ช่อง 3 1.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 เหตุผลที่ชื่นชอบรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์
ลำดับที่ เหตุผลที่ชื่นชอบรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ ค่าร้อยละ
1 ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน 30.9
2 ผู้เข้าร่วมแข่งขันมีความสามารถ 27.6
3 เป็นรายการที่มีสาระ 21.0
4 มีโอกาสได้ฟังเพลงที่ไพเราะ 13.8
5 อื่นๆ อาทิ เป็นรายการที่เป็นกันเอง,ได้ใกล้ชิดติดตามผู้เข้าร่วมแข่งขัน,
ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินผู้เข้าร่วมแข่งขัน, เป็นรายการที่มี รูปแบบที่แปลกใหม่ 6.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 การเคยโหวตให้กับผู้เข้าร่วมแข่งขันรายการประเภทเรียลลิตี้โชว์ (จำแนกตามช่วงอายุ)
ลำดับที่ การเคยโหวตให้กับผู้เข้าแข่งขัน อายุไม่เกิน 25 ปี อายุมากกว่า25 ปีขึ้นไป ภาพรวม
1 เคยโหวตให้กับผู้เข้าแข่งขัน 18.0 12.9 14.9
2 ไม่เคย 82.0 87.1 85.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 คุณสมบัติของผู้เข้าแข่งขันที่เลือกโหวตให้ (เฉพาะตัวอย่างที่เคยโหวตและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของผู้เข้าแข่งขัน ค่าร้อยละ
1 มีความสามารถ 83.3
2 กริยา มารยาท และการวางตัวดี 44.3
3 มีน้ำใจต่อผู้เข้าร่วมแข่งขันคนอื่น 44.3
4 รูปร่าง หน้าตาดี 26.7
5 มีภูมิลำเนาเดียวกัน 8.1
6 มีคะแนนตามหลัง 3.3
7 อื่นๆ อาทิ รู้จักกันเป็นการส่วนตัว, เรียนสถาบันเดียวกัน, มีคะแนนนำอยู่แล้ว 6.3
ตารางที่ 8 ความคิดเห็นต่อการโหวตให้กับผู้เข้าร่วมแข่งขันว่าเป็นการสิ้นเปลืองหรือไม่
ลำดับที่ การโหวตให้กับผู้เข้าร่วมแข่งขันเป็นการสิ้นเปลืองหรือไม่ อายุไม่เกิน 25 ปี อายุมากกว่า25 ปีขึ้นไป ภาพรวม
1 คิดว่าสิ้นเปลือง 35.2 48.9 43.5
2 ไม่สิ้นเปลือง 64.8 51.1 56.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 วิธีการที่เห็นว่าเหมาะสมในการตัดสินของรายการประเภทเรียลลิตี้โชว์
ลำดับที่ วิธีการที่เห็นว่าเหมาะสมในการตัดสิน ค่าร้อยละ
1 ผลโหวตจากประชาชน 12.7
2 การให้คะแนนจากกรรมการ 12.3
3 ใช้ทั้งสองอย่างประกอบกัน 75.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 ข้อดีของรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อดีของรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ ค่าร้อยละ
1 เปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันได้แสดงความสามารถของตนเอง 56.9
2 ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน 28.5
3 ได้เรียนรู้นิสัยของผู้เข้าร่วมแข่งขันแต่ละคน 10.2
4 เปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 8.9
5 เปิดโอกาสให้มีประชาชนได้มีโอกาสร่วมโหวตคัดเลือก โดยไม่มีเส้นสายหรือคัดเลือกจากกรรมการเพียงไม่กี่คน 8.0
6 อื่นๆ เช่น เป็นรายการทางเลือกใหม่ของประชาชน, ทำให้ได้รับรู้ถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ,
ทำให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันรู้จักแพ้รู้จักชนะมีความสามัคคีในหมู่คณะ 11.8
7 ไม่มีข้อดีเลย 19.0
ตารางที่ 11 ข้อเสียของรายการจัดประกวดหรือแข่งขันแบบเรียลลิตี้โชว์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสียของรายการจัดประกวดหรือแข่งขันแบบเรียลลิตี้โชว์ ค่าร้อยละ
1 เป็นรายการไร้สาระ ทำให้ประชาชนลุ่มหลง ไม่เป็นอันทำอะไร 25.3
2 การโหวตเป็นการสิ้นเปลือง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่ยังไม่มีรายได้เป็นของตนเอง 24.2
3 ไม่มีความยุติธรรมในการคัดเลือก ผู้เข้าแข่งขันคนใดมีฐานะดี ก็จะทุ่มเทเงินจำนวนมากในการโหวต 19.0
4 บางครั้งดูเหมือนเป็นการจัดฉาก เสแสร้ง 18.2
5 บางรายการผู้เข้าร่วมแข่งขันมีนิสัย /มีการแสดงออกในทางที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม 14.4
6 อื่นๆ เช่น บางรายการดูแล้วทำให้เครียดทั้งผู้ชมและผู้แข่งขัน, ผู้เข้าแข่งขันบางคนยอมรับความจริงไม่ได้
คาดหวังมากเกินไป 18.5
7 ไม่มีข้อเสียเลย 68.2
ตารางที่ 12 ความคิดเห็นต่อรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ ว่าเป็นรายการที่มีข้อดีหรือข้อเสียมากกว่ากัน
ลำดับที่ รายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์มีข้อดีหรือข้อเสียมากกว่ากัน ค่าร้อยละ
1 ข้อดีมากกว่า 57.9
2 ข้อเสียมากกว่า 3.8
3 มีข้อดีและข้อเสียพอๆ กัน 26.3
4 ไม่มีความเห็น 12.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 ข้อเสนอแนะต่อการนำเสนอรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โขว์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ค่าร้อยละ
1 สถานีโทรทัศน์ต่างๆ ควรเพิ่มรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ให้มากขึ้น 38.2
2 เพื่อความยุติธรรมกับทุกฝ่าย ควรมีการแสดงผลโหวตให้ชัดเจน 16.9
3 ปรับปรุงรูปแบบรายการให้มีสาระ มีความสร้างสรรค์ 14.5
4 ควรมีการแข่งขันที่หลากหลายรูปแบบ 8.9
รายการควรมีการเซ็นเซอร์สิ่งที่ไม่สม ซึ่งก่อให้เด็กและเยาวชนเกิดการลอกเลียนแบบในทางที่ไม่เหมาะสม 7.7
5 ช่วงเวลาออกอากาศไม่ควรดึกมากเกินไป ทำให้เด็กและเยาวชนต้องนอนดึก 4.4
6 อื่นๆ เช่น กรรมการติชมไม่ควรใช้ถ้อยคำรุนแรงเกินไป, ควรคัดเลือกที่ความสามารถไม่ใช่ที่หน้าตา,
ควรจัดรางวัลให้กับผู้ส่งข้อความเข้าร่วมโหวต 14.6
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-