ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง รูปแบบการใช้ชีวิตของคน ไทยบนวิถีชีวิตพอเพียง และความคิดต่อปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในโครงการชุมชนพอเพียง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัดของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ปทุมธานี เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี ชลบุรี หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น ระนอง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,143 ครัวเรือน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 — 5 กันยายน 2552
จากสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในการรับรู้ของสาธารณชนคนไทยภายในประเทศ ส่งผลทำให้ รูปแบบการใช้ชีวิตบนวิถีชีวิตพอเพียงมีการ เปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ โดยผลสำรวจพบว่า แนวโน้มประชาชนเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 81.3 ในเดือนมิถุนายน มาอยู่ที่ ร้อยละ 88.0 ในการสำรวจ ล่าสุดที่ประชาชนรักษาสิ่งของเครื่องใช้ให้คงสภาพใช้งานได้ยาวนาน เช่นเดียวกัน กับความมุ่งทำงานเพื่อให้พออยู่พอกินและมีเงินเก็บไว้ใช้ยามจำเป็น เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 75.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 84.0
นอกจากนี้ ประชาชนที่คิดว่าเป็นคนมุมานะทำงานหนักมากกว่าคนอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 73.1 มาอยู่ที่ ร้อยละ 81.4 และประชาชนที่คิดว่าเป็นคนใช้จ่ายรัดกุมและหารายได้เป็นขั้นเป็นตอนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 72.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 80.4 ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชน ประกอบอาชีพที่หลากหลายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 45.9 มาอยู่ที่ร้อยละ 55.4 อย่างไรก็ตามที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนที่คิดอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 32.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 39.3 ในขณะที่บอกว่าหลังซื้อสินค้ามาแล้วพบว่า ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์เท่าใดนัก จากร้อยละ 22.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 27.6 และในส่วนของประชาชนที่บอกว่าถ้าไม่มีรายได้เดือนนี้จะต้องเดือดร้อนพึ่งพาคนอื่นซึ่งลดลงจากครั้งก่อน คือ ร้อยละ 35.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 25.1
นอกจากนี้ ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชนกล่าวถึงผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรณีการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำ ธุรกิจ ที่พบว่ามีแนวโน้มลดลงจากการสำรวจเมื่อปีที่แล้ว จากร้อยละ 67.4 ในเดือนเมษายนปี 2551 มาอยู่ที่ร้อยละ 55.4 ในการสำรวจล่าสุด
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินโครงการชุมชนพอเพียงนั้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่คือร้อยละ 74.7 เห็นว่าควร รัฐบาลควรดำเนินโครงการชุมชุมชนพอเพียงต่อไป ถึงแม้ว่าเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 58.2 จะรู้สึกผิดหวังต่อรัฐบาลภายหลังมีข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับ โครงการชุมชนพอเพียง
ในขณะที่เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนกรณีรัฐบาลควรออกมาขออภัยจากประชาชนเกี่ยวกับโครงการชุมชนพอเพียงหรือไม่นั้น พบ ว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 61.9 เห็นว่ารัฐบาลจำเป็นที่ควรออกมาขอโทษประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 38.1 เห็นว่าไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้น
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า “จากงานวิจัยนี้ พบว่า คนไทยมีการปรับรูปแบบการใช้ชีวิตในทิศทางที่ดีขึ้นหลายตัวชี้วัด แต่มีสัญญาณที่ ไม่ค่อยจะสู้ดีเท่าไหร่นัก เพราะเมื่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศเริ่มฟื้นตัวคนไทยก็เริ่มมีพฤติกรรมซื้อสินค้าที่คิดอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อทันที และเมื่อซื้อมา แล้วก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากสินค้าที่ซื้อมาอย่างเต็มที่ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งระดับครัวเรือนและระดับประเทศในรอบ ใหม่ได้” ดร.นพดล กล่าว
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 16.6 อายุ 20 — 29 ปี
ร้อยละ 20.2 อายุ 30 — 39 ปี
ร้อยละ 23.0 อายุ 40 — 49 ปี
และร้อยละ 31.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
โดยตัวอย่าง ร้อยละ 31.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 27.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 15.2 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.4 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
นอกจากนี้ ร้อยละ 75.0 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 22.4 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับตนเองในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มิถุนายน กันยายน 1 รักษาสิ่งของเครื่องใช้ให้คงสภาพใช้งานได้ยาวนาน 81.3 88.0 2 มุ่งทำงานเพื่อให้พออยู่พอกิน และมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น 75.5 84.0 3 คิดว่าเป็นคนมุมานะทำงานหนักมากกว่าคนอื่นๆ ที่อยู่รอบตัว 73.1 81.4 4 คิดว่า เป็นคนใช้จ่ายรัดกุมและหารายได้เป็นขั้นเป็นตอน 72.8 80.4 5 ทำงานประกอบอาชีพที่หลากหลาย 45.9 55.4 6 มีทรัพย์ที่เก็บออมเป็นมูลค่ามากกว่าเงินที่ได้รับ 1 เดือน 38.6 46.4 7 ถ้าไม่มีรายได้เดือนนี้จะต้องเดือดร้อนพึ่งพาคนอื่น 35.4 25.1 8 คิดอยากซื้ออะไรก็ซื้อ 32.1 39.3 9 หลังซื้อสินค้ามาพบว่า ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์เท่าใดนัก 22.7 27.6 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คิดเห็นกรณีการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องธรรมดาในการทำธุรกิจเปรียบเทียบกับการ สำรวจในช่วงเดือนเมษายน 2551 ที่ผ่านมา ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กันยายน 2551 2552 2552 2552 1 ไม่ค่อยเห็นด้วย - ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 32.6 25.3 15.3 44.6 2 ค่อนข้างเห็นด้วย — เห็นด้วยอย่างยิ่ง 67.4 74.7 84.5 55.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการเดินหน้าต่อในโครงการชุมชนพอเพียงของรัฐบาล ลำดับที่ ความเห็น ค่าร้อยละ 1 ควรเดินหน้าต่อในโครงการชุมชนพอเพียง 74.4 2 ไม่ควร 25.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อรัฐบาล หลังมีข่าวอื้อฉาวโครงการชุมชนพอเพียง ลำดับที่ ความเห็น ค่าร้อยละ 1 รู้สึกผิดหวังต่อรัฐบาล 58.2 2 ไม่รู้สึกเช่นนั้น 41.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความจำเป็นที่รัฐบาลควรออกมา ขออภัยจากประชาชน ที่มีข่าวอื้อฉาวโครงการชุมชนพอเพียง ลำดับที่ ความเห็น ค่าร้อยละ 1 จำเป็น 61.9 2 ไม่จำเป็น 38.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-