ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจภาคสนาม เรื่อง สำรวจ ฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน หลังยกเลิกประกาศใช้ พรบ. มั่นคง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหา นคร จำนวนทั้งสิ้น 1,016 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 4 — 5 กันยายน 2552 พบว่า หลังจากที่รัฐบาลประกาศยกเลิกการประกาศใช้ พร บ. ความมั่นคง โดยประชาชนส่วนใหญ่มีจุดยืนอยู่ตรงกลางไม่อยู่ฝ่ายใด อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลและไม่สนับสนุนรัฐบาล พบ ว่า กลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลมีสัดส่วนมากกว่ากลุ่มที่ไม่สนับสนุนรัฐบาล
เมื่อจำแนกกลุ่มประชาชนที่ถูกศึกษาออกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ พบว่า กลุ่มผู้ชายและกลุ่มผู้หญิงที่สนับสนุนรัฐบาลมีสัดส่วนไม่ต่าง กัน คือ เพศชาย ร้อยละ 26.1 เพศหญิง ร้อยละ 25.1 และพบว่ากลุ่มผู้ชายไม่สนับสนุนรัฐบาลสูงกว่ากลุ่มผู้หญิง คือ เพศชาย ร้อยละ 21.3 เพศ หญิง ร้อยละ 13.2
เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า เกือบทุกช่วงอายุสนับสนุนรัฐบาลมากกว่าไม่สนับสนุนรัฐบาล ยกเว้นในกลุ่มช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปี สนับสนุน รัฐบาล ร้อยละ 17.4 และไม่สนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 18.4 ซึ่งถือว่าไม่แตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบความแตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา ซึ่งพบว่า ผู้ที่มีการศึกษาสูงก็จะมีสัดส่วนที่สนับสนุน รัฐบาลสูงกว่าไม่สนับสนุนรัฐบาลทุกระดับการศึกษา
นอกจากนี้เมื่อจำแนกตามอาชีพ พบว่า เกือบทุกกลุ่มอาชีพมีสัดส่วนสนับสนุนรัฐบาลมากกว่าไม่สนับสนุนรัฐบาล กลุ่มอาชีพข้าราชการและ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 36.4 กลุ่มพ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ ร้อยละ 29.6 กลุ่มพนักงานเอกชน ร้อยละ 28.4 กลุ่มเกษตรกร รับจ้างใช้แรง งานทั่วไป ร้อยละ 24.3 นักเรียน นักศึกษา ร้อยละ 20.9 และกลุ่มที่ว่างงานและไม่มีอาชีพ ร้อยละ 37.5 ยกเว้นกลุ่มอาชีพค้าขาย ร้อยละ 23.6 ไม่สนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 21.7 สนับสนุนรัฐบาล
เมื่อพิจารณาในกลุ่มประชาชนตามระดับรายได้ พบว่า กลุ่มที่มีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท มีสัดส่วนสนับสนุนรัฐบาลสูงกว่าทุกกลุ่มราย ได้ คิดเป็นร้อยละ 31.3 รองลงมา กลุ่มรายได้มากกว่า 20,000 บาท ร้อยละ 31.0 กลุ่มรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 28.4 กลุ่มรายได้ 5,000 — 10,000 บาท ร้อยละ 24.7 และกลุ่มรายได้ 15,001 — 20,000 บาท ร้อยละ 22.3 ตามลำดับ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 49.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 13.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 33.8 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 17.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 18.2 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 16.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 23.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.4 ระบุอาชีพรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป
ร้อยละ 24.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 13.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.9 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 20.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ ร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 19.2 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท
ร้อยละ 45.2 รายได้ 5,001-10,000 บาท
ร้อยละ 14.3 รายได้ 10,001-15,000 บาท
ร้อยละ 9.1 รายได้ 15,001-20,000 บาท
และร้อยละ 12.1 รายได้มากกว่า 20,000 บาท
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ จุดยืนทางการเมืองต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน ค่าร้อยละ 1 สนับสนุนรัฐบาล 25.6 2 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 17.3 3 ขออยู่ตรงกลาง ไม่อยู่ฝ่ายใด 57.1 รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ลำดับที่ จุดยืนทางการเมืองต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน ชาย หญิง 1 สนับสนุนรัฐบาล 26.1 25.1 2 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 21.3 13.2 3 ขออยู่ตรงกลาง ไม่อยู่ฝ่ายใด 52.6 61.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ จุดยืนทางการเมืองของสาธารณชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน จำแนกตาม อายุ ลำดับที่ จุดยืนทางการเมืองต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน ต่ำกว่า 20 ปี 20—29 ปี 30—39 ปี 40—49 ปี 50 ปีขึ้นไป 1 สนับสนุนรัฐบาล 17.4 29.6 25.2 25.6 24.5 2 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 18.2 11.8 17.4 21.9 23.1 3 ขออยู่ตรงกลาง ไม่อยู่ฝ่ายใด 64.4 58.6 57.4 52.5 52.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ จุดยืนทางการเมืองของสาธารณชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน จำแนกตาม การศึกษา ลำดับที่ จุดยืนทางการเมืองต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี 1 สนับสนุนรัฐบาล 22.0 34.4 38.7 2 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 19.3 10.4 9.7 3 ขออยู่ตรงกลาง ไม่อยู่ฝ่ายใด 58.7 55.2 51.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ จุดยืนทางการเมืองของสาธารณชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน จำแนกตาม อาชีพ ลำดับที่ จุดยืนทางการเมืองต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน ข้าราชการ พนักงาน ค้าขาย นักเรียน เกษตรกร พ่อบ้านแม่บ้าน ว่างงาน รัฐวิสาหกิจ เอกชน ส่วนตัว นักศึกษา รับจ้าง เกษียณอายุ ไม่มีอาชีพ 1 สนับสนุนรัฐบาล 36.4 28.4 21.7 20.9 24.3 29.6 37.5 2 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 14.1 8.3 23.6 9.9 24.3 24.1 12.5 3 ขออยู่ตรงกลาง ไม่อยู่ฝ่ายใด 49.5 63.3 54.7 69.2 51.4 46.3 50.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ จุดยืนทางการเมืองของสาธารณชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน จำแนกตาม รายได้ ลำดับที่ จุดยืนทางการเมืองต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน ไม่เกิน 5,000 บาท 5,001—10,000บ. 10,001—15,000บ. 15,001—20,000บ. มากกว่า20,000บ. 1 สนับสนุนรัฐบาล 28.4 24.7 31.3 22.3 31.0 2 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 16.4 16.9 19.2 19.0 22.6 3 ขออยู่ตรงกลาง ไม่อยู่ฝ่ายใด 55.2 58.4 49.5 58.7 46.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-