ที่มาของโครงการ
ยิ่งนับวัน กระแสการเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรียิ่งทวีความร้อนแรงและขยายวงกว้างออกไป
มากขึ้น การออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ถูกนำเสนอผ่านทางสื่อสารมวลชนอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็พยายามที่จะออกมา
เคลื่อนไหวเพื่อลดกระแสดังกล่าวในเวลาเดียวกัน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าการเดินสายเพื่อปราศรัยชี้แจงประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชิน
วัตร ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมานั้นไม่สามารถฉุดให้กระแสการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกดังกล่าวลดความร้อนแรงลงได้ อย่างไรก็ตาม
ในท่ามกลางความร้อนแรงที่เกิดขึ้นนี้ ทางออกหนึ่งที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเห็นตรงกันว่าน่าจะเป็นแนวทางที่ลงตัวที่สุดในการยุติปัญหาทางการเมืองในขณะนี้
ได้ ก็คือการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นสำคัญที่กำลังเป็นที่เรียกร้องของสังคมดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บ
ข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของการชุมนุม
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทและท่าทีของทหารที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
4. เพื่อเปรียบเทียบแนวโน้มความคิดเห็นของประชาชนต่อการลาออกของนายกรัฐมนตรีและแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้อง นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการใดๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อความ
สงบสุขและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สำรวจ
แนวโน้มของความคิดเห็นสาธารณชนต่อการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกและแนวคิดขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี:กรณีศึกษาประชาชน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการในวันที่ 6 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi-stage Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,175 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.4 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.6 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 27.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 17.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 72.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
เมื่อพิจารณาถึงอาชีพประจำของตัวอย่างพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 27.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 20.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.5 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.4 ระบุเป็นนักศึกษา
และร้อยละ 5.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สำรวจแนวโน้มของความคิดเห็นสาธารณชนต่อการเรียก
ร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกและแนวคิดขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้ง
นี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,175 ตัวอย่าง
โดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการในวันที่ 6 มีนาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสถานการณ์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชนพบว่าตัวอย่างร้อยละ 96.7 ระบุติดตามข่าว
การเมือง มีเพียงร้อยละ 3.3 เท่านั้นที่ระบุไม่ได้ติดตาม ทั้งนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการติดตามการชุมนุมประท้วงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม
ที่ผ่านมานั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 91.4 ระบุติดตาม ในขณะที่ร้อยละ 8.6 ระบไม่ได้ติดตาม
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลความสงบเรียบร้อยของกลุ่มผู้ชุมนุมในคืนวันที่ 5 มีนาคมที่
ผ่านมานั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 82.4 ระบุพอใจ ร้อยละ 7.4 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 10.2 ไม่ระบุความคิดเห็น และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบ
ถามความพึงพอใจต่อท่าทีของทหารในสถานการณ์การเมืองปัจจุบันนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 78.9 ระบุพอใจ ในขณะที่ร้อยละ 9.5 ระบุไม่พอใจ
และร้อยละ 11.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่ค้นพบจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ และกำลังเป็นที่จับตามองจากทุกฝ่ายในขณะนี้ ได้แก่การตัดสินใจของ พ.ต.
ท.ทักษิณ ชินวัตร ในการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งผลสำรวจในครั้งนี้พบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 1 ใน 3 คือร้อยละ 48.2 ระบุต้องการให้
นายกรัฐมนตรีลาออกเพื่อแก้สถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังระอุอยู่ในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 35.5 ระบุไม่
ควรลาออก และร้อยละ 16.3 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้เมื่อทำการวิเคราะห์จำแนกผู้ที่ระบุต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออก ตามระดับ
การศึกษานั้นพบว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีสัดส่วนของผู้ที่ต้องการให้ลาออก สูงกว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีเกินกว่าร้อย
ละ 10 และเมื่อพิจารณาแนวโน้มความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีดังกล่าวจากผลสำรวจของเอแบคโพลล์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-ต้นเดือนมีนาคมนี้
พบว่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์สัดส่วนของผู้ที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออกมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยจากต้นเดือน-ปลายเดือน แต่เป็นที่น่าสังเกตอย่าง
ยิ่งว่าผลการสำรวจในช่วงต้นเดือนมีนาคมกลับพบว่าสัดส่วนของผู้ที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยการสำรวจในช่วงวันที่ 1
มีนาคม คิดเป็นร้อยละ 39.1 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 48.2 จากการสำรวจในวันที่ 6 มีนาคม ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจความคิดเห็นของ
ประชาชน กรณีแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีซึ่งพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการสำรวจในครั้งก่อนหน้านี้ด้วยเช่นกัน โดยในครั้งนี้ ตัวอย่าง
ร้อยละ 46.1 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 20.2 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 33.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ใกล้ถึงจุดที่จะเลยการชี้แจงของนายกรัฐมนตรีแล้ว ถึงแม้ว่าผลสำรวจที่ผ่านมาหลายครั้ง
ได้พยายามส่งสัญญาณไปยังนายกรัฐมนตรีมาโดยตลอดว่า สังคมต้องการการชี้แจงความเคลือบแคลงสงสัยต่อปัญหาต่างๆ ของตัวนายกรัฐมนตรีและคนใกล้
ชิดไม่ใช่เรื่องอื่น แต่ก็มีความพยายามบริหารจัดการอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนเพื่อให้สังคมหันเหความสนใจไปสู่เรื่องอื่น เช่น เรื่องการยุบสภา
เรื่องสัญญาประชาคมหรือการกล่าวโจมตีกันไปมาระหว่างแกนนำพรรคไทยรักไทยกับฝ่ายค้าน เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านพ้นไปโดยไม่มีการชี้แจงให้หายข้อ
สงสัย อารมณ์ของสาธารณชนก็มีการพัฒนาตัวมันเองไปสู่จุดที่ไม่ต้องการการชี้แจงของนายกรัฐมนตรี แต่กลับต้องการการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แทน สิ่งที่
ประชาชนเกือบครึ่งหนึ่งกำลังต้องการในขณะนี้อาจสร้างความเจ็บปวดขึ้นในกลุ่มนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือ การขอให้นายกรัฐมนตรีลาออก และแนวคิด
ขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
“วิกฤตการเมืองขณะนี้แตกต่างไปจากวิกฤตการณ์ทั้งสามครั้งที่ผ่านมาไม่ว่า 14 ตุลา 16 หรือ 6 ตุลา 19 และพฤษภาทมิฬ 35 เพราะ
วิกฤตการณ์ทางการเมืองขณะนี้ขาดความเป็นเอกฉันท์ในอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนแตกออกเป็นอย่างน้อยสามกลุ่มใหญ่ๆ แต่เหตุการณ์สามครั้งใน
อดีตนั้นสังคมค่อนข้างมีความเป็นเอกฉันท์ที่จะไม่เอารัฐบาล ดังนั้น ในสถานการณ์เวลานี้ การเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มต่างๆ ต้องสร้างความเป็น
เอกฉันท์ด้วยสันติวิธีให้เกิดขึ้นในประเทศก่อนการเปลี่ยนแปลง” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ทางออกที่เป็นไปได้และสร้างความสงบสุขเรียบร้อยให้กับสังคม คือ นายกรัฐมนตรีและแกนนำเคลื่อนไหวทางสังคม
ต้องร่วมมือกันจัดเวทีสาธารณะขึ้น เพื่อไขข้อข้องใจทุกประการผ่านทางผู้ที่มีความเป็นมืออาชีพและเป็นกลางในการตั้งคำถามที่เป็นความแคลงใจของ
สังคม เพราะที่ผ่านมาเป็นการชี้แจงจากนายกรัฐมนตรีแบบทางเดียวเช่นผ่านรายการวิทยุ และการจัดเวทีปราศรัย ซึ่งการชี้แจงของนายกรัฐมนตรี
ขณะนี้ควรเป็นแบบสองทางมีตัวแทนกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมและคนกลางคอยซักถามเพื่อให้เกิดความกระจ่างแจ้งในคำตอบ จากนั้น จึงทำการสอบถาม
สังคมว่าจะยังคงสนับสนุนนายกรัฐมนตรีต่อไปอีกหรือไม่
“อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจล่าสุดพบว่า การขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีของกลุ่มชนชั้นนำของสังคม กำลังได้รับการตอบรับจากชนชั้นกลาง
และชั้นรากฐานเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่กระแสความรู้สึกและอารมณ์ของสังคมแต่ละฝ่ายยังคงร้อนแรงอยู่ จึงจำเป็นต้องลดความร้อนแรงทางการเมืองของ
สาธารณชนให้เย็นลงในระยะเวลาอันสั้นนี้ ถ้าไม่เช่นนั้นอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนก็จะพัฒนาตัวมันเองไปเกินกว่าจะมีใครในสังคมไทยคาดเดาได้
และวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่กำลังเสนอกันในขณะนี้อาจไม่ได้ผล” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ขณะนี้จิตวิญญาณและความสำนึกต่อแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีกำลังถูกจับจ้องด้วยสายตานับล้านๆ คู่ในสังคมไทย ถ้า
ท่านนายกรัฐมนตรีเห็นแก่ความผาสุกของประชาราษฎรน่าจะตัดสินใจสยบความร้อนแรงทางการเมืองของสาธารณชนได้ เพราะท่านนายกฯ กำลัง
พยายามอย่างต่อเนื่องที่จะเร่งเร้าให้ความรู้สึกนิยมชอบในตัวนายกรัฐมนตรีกลายเป็นความศรัทธาและความคลั่งไคล้หลงใหลในภาพลักษณ์ของนายก
รัฐมนตรี ซึ่งไม่น่าจะเป็นผลดีและไม่เหมาะกับห้วงเวลานี้ ความนิยมศรัทธาของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีควรมีขณะทำการประกาศสงครามต่อยาเสพ
ติด ต่อปัญหาคอรัปชั่น และความยากจน เพื่อดึงพลังแผ่นดินมาช่วยให้นโยบายเหล่านี้สำเร็จลงได้ แต่ในเวลานี้สิ่งที่ประชาชนเรียกร้องและมีจำนวนเพิ่ม
ขึ้นเรื่อยๆ จนใกล้จุดแตกหักของสังคมคือ การยอมสลายตัวเองของนายกรัฐมนตรีเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปการเมืองภาคพิสดาร ด้วยการลาออกจาก
ตำแหน่งรักษาการและยอมให้มีรัฐบาลเฉพาะกิจเข้ามาทำหน้าที่ปรับโครงสร้างสังคมใหม่ให้เกิดขึ้นเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ของ
ประเทศ
“ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กล้าหาญที่จะตัดสินใจตามกระแสเรียกร้องที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามที่กล่าวมา สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นตามมาก็คือ
ความสงบเรียบร้อยของสังคม และเสียงยกย่องชมเชยสปิริตของนายกรัฐมนตรีน่าจะเกิดขึ้นทั่วประเทศ พรรคไทยรักไทยเองน่าจะได้รับความนิยมศรัทธา
จากประชาชนอย่างล้นหลามที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงไม่ใช่ภาพลวงตาที่จัดฉากกันขึ้นมา เพราะท่านนายกรัฐมนตรีผู้นี้ได้สร้างพื้นฐานความนิยม
ศรัทธาด้วยนโยบายต่างๆ ที่ถูกใจสาธารณชนไว้แล้ว คู่ต่อสู้ทางการเมืองในขณะนี้ยังไม่สามารถหานโยบายสาธารณะมาแข่งขันเทียบเคียงกันได้” ดร.นพ
ดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมือง
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 96.7
2 ไม่ได้ติดตาม 3.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามการชุมนุมประท้วงนายกรัฐมนตรีในคืนวันที่ 5 มีนาคม 2549
ลำดับที่ การติดตามการชุมนุมประท้วงนายกรัฐมนตรีในคืนวันที่ 5 มีนาคม 2549 ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 91.4
2 ไม่ได้ติดตาม 8.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลความสงบเรียบร้อยของกลุ่มผู้ชุมนุมในคืนวันที่ 5 มีนาคม 2549
ลำดับที่ ความพอใจ ค่าร้อยละ
1 พอใจ 82.4
2 ไม่พอใจ 7.4
3 ไม่มีความเห็น 10.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อท่าทีของทหารในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
ลำดับที่ ความพอใจ ค่าร้อยละ
1 พอใจ 78.9
2 ไม่พอใจ 9.5
3 ไม่มีความเห็น 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ นายกรัฐมนตรีควรลาออกหรือไม่เพื่อแก้สถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรลาออก 48.2
2 ไม่ควรลาออก 35.5
3 ไม่มีความเห็น 16.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อลาออกของนายกรัฐมนตรี จำแนกตามระดับการศึกษา
ความคิดเห็น ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ ป.ตรีขึ้นไปค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1. ควรลาออก 43.2 55.2 48.2
2. ไม่ควรลาออก 40.4 29.6 35.5
3. ไม่มีความเห็น 16.4 15.2 16.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงแนวโน้มของความเห็นต่อการลาออกของนายกรัฐมนตรีจำแนกตามช่วงเวลาที่สำรวจ
ความคิดเห็น 2 กุมภาพันธ์ร้อยละ 4 กุมภาพันธ์ร้อยละ 8 กุมภาพันธ์ร้อยละ 1 มีนาคมร้อยละ 6 มีนาคมร้อยละ
1. ควรลาออก 15.5 14.6 14.2 39.1 48.2
2. ไม่ควรลาออก 49.2 47.0 66.2 42.8 35.5
3. ไม่มีความเห็น 35.3 38.4 19.6 18.1 16.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 46.1
2 ไม่เห็นด้วย 20.2
3 ไม่มีความเห็น 33.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง วันที่ 1 มีนาคมร้อยละ วันที่ 6 มีนาคมร้อยละ
1 เห็นด้วย 38.5 46.1
2 ไม่เห็นด้วย 24.2 20.2
3 ไม่มีความเห็น 37.3 33.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ยิ่งนับวัน กระแสการเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรียิ่งทวีความร้อนแรงและขยายวงกว้างออกไป
มากขึ้น การออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ถูกนำเสนอผ่านทางสื่อสารมวลชนอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็พยายามที่จะออกมา
เคลื่อนไหวเพื่อลดกระแสดังกล่าวในเวลาเดียวกัน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าการเดินสายเพื่อปราศรัยชี้แจงประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชิน
วัตร ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมานั้นไม่สามารถฉุดให้กระแสการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกดังกล่าวลดความร้อนแรงลงได้ อย่างไรก็ตาม
ในท่ามกลางความร้อนแรงที่เกิดขึ้นนี้ ทางออกหนึ่งที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเห็นตรงกันว่าน่าจะเป็นแนวทางที่ลงตัวที่สุดในการยุติปัญหาทางการเมืองในขณะนี้
ได้ ก็คือการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นสำคัญที่กำลังเป็นที่เรียกร้องของสังคมดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บ
ข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของการชุมนุม
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทและท่าทีของทหารที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
4. เพื่อเปรียบเทียบแนวโน้มความคิดเห็นของประชาชนต่อการลาออกของนายกรัฐมนตรีและแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้อง นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการใดๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อความ
สงบสุขและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สำรวจ
แนวโน้มของความคิดเห็นสาธารณชนต่อการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกและแนวคิดขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี:กรณีศึกษาประชาชน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการในวันที่ 6 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi-stage Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,175 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.4 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.6 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 27.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 17.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 72.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
เมื่อพิจารณาถึงอาชีพประจำของตัวอย่างพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 27.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 20.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.5 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.4 ระบุเป็นนักศึกษา
และร้อยละ 5.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สำรวจแนวโน้มของความคิดเห็นสาธารณชนต่อการเรียก
ร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกและแนวคิดขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้ง
นี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,175 ตัวอย่าง
โดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการในวันที่ 6 มีนาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสถานการณ์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชนพบว่าตัวอย่างร้อยละ 96.7 ระบุติดตามข่าว
การเมือง มีเพียงร้อยละ 3.3 เท่านั้นที่ระบุไม่ได้ติดตาม ทั้งนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการติดตามการชุมนุมประท้วงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม
ที่ผ่านมานั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 91.4 ระบุติดตาม ในขณะที่ร้อยละ 8.6 ระบไม่ได้ติดตาม
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลความสงบเรียบร้อยของกลุ่มผู้ชุมนุมในคืนวันที่ 5 มีนาคมที่
ผ่านมานั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 82.4 ระบุพอใจ ร้อยละ 7.4 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 10.2 ไม่ระบุความคิดเห็น และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบ
ถามความพึงพอใจต่อท่าทีของทหารในสถานการณ์การเมืองปัจจุบันนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 78.9 ระบุพอใจ ในขณะที่ร้อยละ 9.5 ระบุไม่พอใจ
และร้อยละ 11.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่ค้นพบจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ และกำลังเป็นที่จับตามองจากทุกฝ่ายในขณะนี้ ได้แก่การตัดสินใจของ พ.ต.
ท.ทักษิณ ชินวัตร ในการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งผลสำรวจในครั้งนี้พบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 1 ใน 3 คือร้อยละ 48.2 ระบุต้องการให้
นายกรัฐมนตรีลาออกเพื่อแก้สถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังระอุอยู่ในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 35.5 ระบุไม่
ควรลาออก และร้อยละ 16.3 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้เมื่อทำการวิเคราะห์จำแนกผู้ที่ระบุต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออก ตามระดับ
การศึกษานั้นพบว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีสัดส่วนของผู้ที่ต้องการให้ลาออก สูงกว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีเกินกว่าร้อย
ละ 10 และเมื่อพิจารณาแนวโน้มความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีดังกล่าวจากผลสำรวจของเอแบคโพลล์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-ต้นเดือนมีนาคมนี้
พบว่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์สัดส่วนของผู้ที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออกมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยจากต้นเดือน-ปลายเดือน แต่เป็นที่น่าสังเกตอย่าง
ยิ่งว่าผลการสำรวจในช่วงต้นเดือนมีนาคมกลับพบว่าสัดส่วนของผู้ที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยการสำรวจในช่วงวันที่ 1
มีนาคม คิดเป็นร้อยละ 39.1 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 48.2 จากการสำรวจในวันที่ 6 มีนาคม ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจความคิดเห็นของ
ประชาชน กรณีแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีซึ่งพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการสำรวจในครั้งก่อนหน้านี้ด้วยเช่นกัน โดยในครั้งนี้ ตัวอย่าง
ร้อยละ 46.1 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 20.2 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 33.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ใกล้ถึงจุดที่จะเลยการชี้แจงของนายกรัฐมนตรีแล้ว ถึงแม้ว่าผลสำรวจที่ผ่านมาหลายครั้ง
ได้พยายามส่งสัญญาณไปยังนายกรัฐมนตรีมาโดยตลอดว่า สังคมต้องการการชี้แจงความเคลือบแคลงสงสัยต่อปัญหาต่างๆ ของตัวนายกรัฐมนตรีและคนใกล้
ชิดไม่ใช่เรื่องอื่น แต่ก็มีความพยายามบริหารจัดการอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนเพื่อให้สังคมหันเหความสนใจไปสู่เรื่องอื่น เช่น เรื่องการยุบสภา
เรื่องสัญญาประชาคมหรือการกล่าวโจมตีกันไปมาระหว่างแกนนำพรรคไทยรักไทยกับฝ่ายค้าน เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านพ้นไปโดยไม่มีการชี้แจงให้หายข้อ
สงสัย อารมณ์ของสาธารณชนก็มีการพัฒนาตัวมันเองไปสู่จุดที่ไม่ต้องการการชี้แจงของนายกรัฐมนตรี แต่กลับต้องการการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แทน สิ่งที่
ประชาชนเกือบครึ่งหนึ่งกำลังต้องการในขณะนี้อาจสร้างความเจ็บปวดขึ้นในกลุ่มนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือ การขอให้นายกรัฐมนตรีลาออก และแนวคิด
ขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
“วิกฤตการเมืองขณะนี้แตกต่างไปจากวิกฤตการณ์ทั้งสามครั้งที่ผ่านมาไม่ว่า 14 ตุลา 16 หรือ 6 ตุลา 19 และพฤษภาทมิฬ 35 เพราะ
วิกฤตการณ์ทางการเมืองขณะนี้ขาดความเป็นเอกฉันท์ในอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนแตกออกเป็นอย่างน้อยสามกลุ่มใหญ่ๆ แต่เหตุการณ์สามครั้งใน
อดีตนั้นสังคมค่อนข้างมีความเป็นเอกฉันท์ที่จะไม่เอารัฐบาล ดังนั้น ในสถานการณ์เวลานี้ การเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มต่างๆ ต้องสร้างความเป็น
เอกฉันท์ด้วยสันติวิธีให้เกิดขึ้นในประเทศก่อนการเปลี่ยนแปลง” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ทางออกที่เป็นไปได้และสร้างความสงบสุขเรียบร้อยให้กับสังคม คือ นายกรัฐมนตรีและแกนนำเคลื่อนไหวทางสังคม
ต้องร่วมมือกันจัดเวทีสาธารณะขึ้น เพื่อไขข้อข้องใจทุกประการผ่านทางผู้ที่มีความเป็นมืออาชีพและเป็นกลางในการตั้งคำถามที่เป็นความแคลงใจของ
สังคม เพราะที่ผ่านมาเป็นการชี้แจงจากนายกรัฐมนตรีแบบทางเดียวเช่นผ่านรายการวิทยุ และการจัดเวทีปราศรัย ซึ่งการชี้แจงของนายกรัฐมนตรี
ขณะนี้ควรเป็นแบบสองทางมีตัวแทนกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมและคนกลางคอยซักถามเพื่อให้เกิดความกระจ่างแจ้งในคำตอบ จากนั้น จึงทำการสอบถาม
สังคมว่าจะยังคงสนับสนุนนายกรัฐมนตรีต่อไปอีกหรือไม่
“อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจล่าสุดพบว่า การขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีของกลุ่มชนชั้นนำของสังคม กำลังได้รับการตอบรับจากชนชั้นกลาง
และชั้นรากฐานเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่กระแสความรู้สึกและอารมณ์ของสังคมแต่ละฝ่ายยังคงร้อนแรงอยู่ จึงจำเป็นต้องลดความร้อนแรงทางการเมืองของ
สาธารณชนให้เย็นลงในระยะเวลาอันสั้นนี้ ถ้าไม่เช่นนั้นอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนก็จะพัฒนาตัวมันเองไปเกินกว่าจะมีใครในสังคมไทยคาดเดาได้
และวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่กำลังเสนอกันในขณะนี้อาจไม่ได้ผล” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ขณะนี้จิตวิญญาณและความสำนึกต่อแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีกำลังถูกจับจ้องด้วยสายตานับล้านๆ คู่ในสังคมไทย ถ้า
ท่านนายกรัฐมนตรีเห็นแก่ความผาสุกของประชาราษฎรน่าจะตัดสินใจสยบความร้อนแรงทางการเมืองของสาธารณชนได้ เพราะท่านนายกฯ กำลัง
พยายามอย่างต่อเนื่องที่จะเร่งเร้าให้ความรู้สึกนิยมชอบในตัวนายกรัฐมนตรีกลายเป็นความศรัทธาและความคลั่งไคล้หลงใหลในภาพลักษณ์ของนายก
รัฐมนตรี ซึ่งไม่น่าจะเป็นผลดีและไม่เหมาะกับห้วงเวลานี้ ความนิยมศรัทธาของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีควรมีขณะทำการประกาศสงครามต่อยาเสพ
ติด ต่อปัญหาคอรัปชั่น และความยากจน เพื่อดึงพลังแผ่นดินมาช่วยให้นโยบายเหล่านี้สำเร็จลงได้ แต่ในเวลานี้สิ่งที่ประชาชนเรียกร้องและมีจำนวนเพิ่ม
ขึ้นเรื่อยๆ จนใกล้จุดแตกหักของสังคมคือ การยอมสลายตัวเองของนายกรัฐมนตรีเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปการเมืองภาคพิสดาร ด้วยการลาออกจาก
ตำแหน่งรักษาการและยอมให้มีรัฐบาลเฉพาะกิจเข้ามาทำหน้าที่ปรับโครงสร้างสังคมใหม่ให้เกิดขึ้นเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ของ
ประเทศ
“ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กล้าหาญที่จะตัดสินใจตามกระแสเรียกร้องที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามที่กล่าวมา สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นตามมาก็คือ
ความสงบเรียบร้อยของสังคม และเสียงยกย่องชมเชยสปิริตของนายกรัฐมนตรีน่าจะเกิดขึ้นทั่วประเทศ พรรคไทยรักไทยเองน่าจะได้รับความนิยมศรัทธา
จากประชาชนอย่างล้นหลามที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงไม่ใช่ภาพลวงตาที่จัดฉากกันขึ้นมา เพราะท่านนายกรัฐมนตรีผู้นี้ได้สร้างพื้นฐานความนิยม
ศรัทธาด้วยนโยบายต่างๆ ที่ถูกใจสาธารณชนไว้แล้ว คู่ต่อสู้ทางการเมืองในขณะนี้ยังไม่สามารถหานโยบายสาธารณะมาแข่งขันเทียบเคียงกันได้” ดร.นพ
ดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมือง
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 96.7
2 ไม่ได้ติดตาม 3.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามการชุมนุมประท้วงนายกรัฐมนตรีในคืนวันที่ 5 มีนาคม 2549
ลำดับที่ การติดตามการชุมนุมประท้วงนายกรัฐมนตรีในคืนวันที่ 5 มีนาคม 2549 ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 91.4
2 ไม่ได้ติดตาม 8.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลความสงบเรียบร้อยของกลุ่มผู้ชุมนุมในคืนวันที่ 5 มีนาคม 2549
ลำดับที่ ความพอใจ ค่าร้อยละ
1 พอใจ 82.4
2 ไม่พอใจ 7.4
3 ไม่มีความเห็น 10.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อท่าทีของทหารในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
ลำดับที่ ความพอใจ ค่าร้อยละ
1 พอใจ 78.9
2 ไม่พอใจ 9.5
3 ไม่มีความเห็น 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ นายกรัฐมนตรีควรลาออกหรือไม่เพื่อแก้สถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรลาออก 48.2
2 ไม่ควรลาออก 35.5
3 ไม่มีความเห็น 16.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อลาออกของนายกรัฐมนตรี จำแนกตามระดับการศึกษา
ความคิดเห็น ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ ป.ตรีขึ้นไปค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1. ควรลาออก 43.2 55.2 48.2
2. ไม่ควรลาออก 40.4 29.6 35.5
3. ไม่มีความเห็น 16.4 15.2 16.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงแนวโน้มของความเห็นต่อการลาออกของนายกรัฐมนตรีจำแนกตามช่วงเวลาที่สำรวจ
ความคิดเห็น 2 กุมภาพันธ์ร้อยละ 4 กุมภาพันธ์ร้อยละ 8 กุมภาพันธ์ร้อยละ 1 มีนาคมร้อยละ 6 มีนาคมร้อยละ
1. ควรลาออก 15.5 14.6 14.2 39.1 48.2
2. ไม่ควรลาออก 49.2 47.0 66.2 42.8 35.5
3. ไม่มีความเห็น 35.3 38.4 19.6 18.1 16.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 46.1
2 ไม่เห็นด้วย 20.2
3 ไม่มีความเห็น 33.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง วันที่ 1 มีนาคมร้อยละ วันที่ 6 มีนาคมร้อยละ
1 เห็นด้วย 38.5 46.1
2 ไม่เห็นด้วย 24.2 20.2
3 ไม่มีความเห็น 37.3 33.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-