โพลล์ชี้พสกนิกรทั่วไทยปลื้มปิติโครงการพระราชดำริ ส่วนใหญ่ต้องการให้ผู้นำรัฐบาลใช้หลักทศพิธราชธรรมคือ ความซื่อตรง เที่ยงธรรม
ไม่โกรธ อดทน ศีล ทาน บริจาค อ่อนโยน ความเพียร และไม่เบียดเบียน แนะรัฐบาลควรเร่งทำยุทธศาสตร์ชาติ-ท้องถิ่นสานต่อความเป็นหนึ่งเดียวคน
ไทยด้านความจงรักภักดีและการปกครองเพื่อประโยชน์สุขของคนไทยทั้งประเทศ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า เอแบคโพลล์ได้ร่วมกับสำนักวิทยาศาสตร์ ราช
บัณฑิตยสถานในพระบรมมหาราชวัง ผ่าน ศ.ดร.กำจร มนุญปิจุ ราชบัณฑิต ทำวิจัยการรับรู้ต่อโครงการพระราชดำริและความปลื้มปิติของพสกนิกรคนไทย
ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล จำนวนทั้งสิ้น 2,794 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 13 — 25 พฤษภาคม ที่
ผ่านมา
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.8 รับรู้เรื่องโครงการฝนหลวงพระราชทาน ร้อยละ 85.7 รับรู้โครงการหน่วยแพทย์
เคลื่อนที่พระราชทาน ร้อยละ 85.4 รับรู้โครงการพระราชดำริเรื่องทฤษฎีใหม่ ร้อยละ 79.8 รับรู้โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก ร้อยละ 79.1 รับรู้การ
ปลูกป่าพรุอนุรักษ์ป่าชายเลน ร้อยละ 79.0 รับรู้โครงการการเกษตรส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ร้อยละ 78.5 รับรู้การส่งเสริมอุตสาหกรรมโคนมไทย
ร้อยละ 77.9 รับรู้โครงการบำบัดน้ำเสีย ร้อยละ 77.1 โครงการหญ้าแฝก แก้ปัญหาดินทลาย ร้อยละ 76.6 รับรู้การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคร้ายต่างๆ
ร้อยละ 75.8 รับรู้โครงการแก้มลิงแก้ปัญหาน้ำท่วม ร้อยละ 75.6 รับรู้การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ร้อยละ 75.4 รับรู้การรณรงค์ป้องกัน
ควบคุมโรคติดต่อ ร้อยละ 74.3 รับรู้โครงการหลวง ร้อยละ 72.2 รับรู้โครงการทันตกรรมพระราชทาน ร้อยละ 71.1 รับรู้โครงการกลั่น
เชื้อเพลิงทำแก๊สโซฮอล์ ร้อยละ 70.2 รับรู้กังหันน้ำชัยพัฒนาแก้ปัญหาน้ำเสีย ร้อยละ 67.9 รับรู้โครงการพระบรมราชูปถัมถ์โรงพยาบาลต่างๆ ร้อย
ละ 64.6 รับรู้การพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร ร้อยละ 63.2 รับรู้การพัฒนาพลังลมเพื่อการเกษตร ร้อยละ 63.1 รับรู้การแก้ปัญหาจราจร และร้อยล
52.8 รับรู้การพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน นอกจากนี้ ประชาชนยังรับรู้ต่อโครงการพัฒนาสื่อโทรทัศน์ และทฤษฎีใหม่กับการสื่อสารโทรคมนาคมอีกด้วย
ดร.นพดล กล่าวว่า โครงการตามแนวพระราชดำริต่างๆ ทุกโครงการสร้างความปลื้มปิติยินดีต่อพระอัจฉริยะภาพของพระองค์ท่านอย่างหา
ที่สุดมิได้ ได้แก่ โครงการฝนหลวง โครงการแก้มลิง พระราชดำริเรื่องทฤษฎีใหม่ การพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก โครงการหลวง โครงการเกษตรส่วนพระองค์
สวนจิตรลดา โครงการหญ้าแฝกแก้ปัญหาดินทลาย การส่งเสริมอุตสาหกรรมโคนมไทย การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ การพัฒนาพลังลมเพื่อการ
เกษตรกรรม โครงการบำบัดน้ำเสีย การแก้ปัญหาจราจร หน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน การพัฒนาสื่อโทรทัศน์และทฤษฎีใหม่กับการสื่อสารโทร
คมนาคม เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า โครงการตามพระราชดำริต่างๆ เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนทั้งประเทศอย่าง
แท้จริง และเป็นโครงการที่ใช้ต้นทุนทางธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ทรงเปลี่ยนต้นทุนทางธรรมชาติเป็นทุนทางธรรมชาติและทุนทางสังคมให้แก่พสกนิกรคน
ไทยทุกคนของพระองค์
เอแบคโพลล์ ยังได้สอบถามประชาชนถึงแนวประพฤติปฏิบัติของผู้นำรัฐบาล (นายกรัฐมนตรี) ที่ควรจะเป็นตามหลักทศพิธราชธรรม เนื่อง
จากกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรมระบุไว้ว่าเป็นคุณธรรม 10 ประการที่ผู้บริหารและประชาชนทั่วไป
สามารถนำไปประพฤติปฎิบัติได้ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.thaireadyweb.com/ecommerce/cmda35/ArticleDisplay.asp?
urlid=323)ซึ่งผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.7 ต้องการให้ผู้นำรัฐบาลมีความซื่อตรง ร้อยละ 84.3 ต้องการให้มีความเที่ยง
ธรรม ร้อยละ 79.2 ต้องการให้รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองไม่โกรธ ร้อยละ 76.1 ต้องการให้อดทน ร้อยละ 72.2 ต้องการให้ผู้นำรัฐบาลมีความอ่อน
โยน ร้อยละ 70.3 ต้องการให้ผู้นำรัฐบาลเป็นผู้มีศีล ร้อยละ 68.3 ต้องการให้มีการทำทาน ร้อยละ 65.2 ต้องการให้มีการบริจาค ร้อยละ 63.7
ให้มีความเพียร และร้อยละ 61.4 ต้องการให้ผู้นำรัฐบาลไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ดร.นพดล กล่าวว่า การสำรวจวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤษภาคม แต่ถ้าสำรวจช่วงนี้เชื่อว่าจำนวนประชาชนที่รับรู้และปลื้มปิติ
โครงการพระราชดำริและต้องการคุณลักษณะของผู้นำรัฐบาลและฝ่ายปกครองตามหลักทศพิธราชธรรมน่าจะสูงเกือบร้อยละร้อยเลยทีเดียว ดังนั้น รัฐบาล
และฝ่ายการเมืองควรน้อมนำลงสู่ยุทธศาสตร์การปกครองประเทศทั้งระดับชาติและท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบซีอีโอและฝ่ายปกครองทุกจังหวัดควร
ถูกประเมินคุณลักษณะและผลงานตามแนวทางที่พระองค์ท่านทรงพระราชทานไว้เป็นแบบอย่าง โดยสำนักวิจัยฯ จะรายงานดัชนีความสุขมวลรวมของ
ประชาชนคนไทยภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness Index) แต่ละเดือนสะท้อนให้เห็นผลการทำงานของรัฐบาลและการรับรู้ต่อการ
ประพฤติปฏิบัติของคณะรัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดและฝ่ายปกครองระดับท้องถิ่นทั่วประเทศว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนทั้งประเทศมากน้อย
เพียงไร
ดร.นพดล กล่าวอีกว่า กระทรวงศึกษาธิการควรปลูกจิตสำนึกเยาวชนคนไทยทั้งประเทศในหลักสูตรการเรียนการสอนระดับต่างๆ ให้รู้
เข้าใจและตระหนักถึงหลักทศพิธราชธรรมเพื่อให้คนไทยในปัจจุบันและอนาคตได้รู้หลักในการตัดสินใจสนับสนุนผู้นำประเทศและรู้เกณฑ์การเลือก “คนดี”
ขึ้นปกครองบ้านเมืองเวลาที่มีการเลือกตั้ง เพราะถ้าสอบถามประชาชนในขณะนี้ว่ารู้จักหลักทศพิธราชธรรมหรือไม่ และประกอบไปด้วยอะไรบ้าง อาจมี
ประชาชนบางคนเท่านั้นที่สามารถตอบได้อย่างถูกต้องครบถ้วน นอกจากนี้กระทรวงต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำโครงการอันเนื่องมาจากพระ
ราชดำริทุกโครงการไปขยายผลเผยแพร่ให้ประชาชนรับรู้และนำไปใช้เข้ากับวิถีชีวิตของคนไทย
“การวิจัยการรับรู้ของประชาชนต่อการประพฤติปฏิบัติของผู้นำรัฐบาลและผู้นำท้องถิ่นระดับต่างๆ และการติดตามประเมินดัชนีความสุขมวล
รวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศรายเดือน มีจุดมุ่งหมายเพื่อสานต่อความเป็นหนึ่งเดียวของคนไทยทั้งประเทศที่กำลังเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางขณะ
นี้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนสังคมไทยให้ดีขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และคาดหวังว่าพลังความเป็นหนึ่งเดียวกันของคนไทยขณะนี้จะไม่
เกิดขึ้นเพียงแค่ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น” ผอ. เอแบคโพลล์ กล่าว
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “การรับรู้ต่อโครงการพระราชดำริและความปลื้มปิติ
ของพสกนิกรคนไทยในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในกรุงเทพ
มหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และ สงขลา” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 13 — 25 พฤษภาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,794 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี
ร้อยละ 14.3 อายุ 50-59 ปี
และร้อยละ 12.9 อายุ 60 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 58.1 ระบุสถานภาพสมรส
ร้อยละ 35.1 ระบุสถานภาพโสด
และร้อยละ 6.8 ระบุสถานภาพม่าย / หย่า / แยกกันอยู่
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 19.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 13.7 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.5 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.4 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.4 ระบุอาชีพเกษตรกร และร้อยละ 3.5 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณารายละเอียดผลสำรวจดังต่อไปนี้
ตารางสรุป 20 อันดับค่าร้อยละของตัวอย่างที่รับรู้ต่อโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ลำดับที่ โครงการต่างๆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ค่าร้อยละ
1 โครงการฝนหลวงพระราชทาน 93.8
2 โครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน 85.7
3 โครงการพระราชดำริเรื่องทฤษฎีใหม่ 85.4
4 โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก 79.8
5 โครงการปลูกป่าพรุอนุรักษ์ป่าชายเลน 79.1
6 โครงการการเกษตรส่วนพระองค์สวนจิตรลดา 79.0
7 โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมโคนมไทย 78.5
8 โครงการบำบัดน้ำเสีย 77.9
9 โครงการหญ้าแฝกแก้ปัญหาดินทลาย 77.1
10 การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคร้ายต่างๆ 76.6
11 โครงการแก้มลิงแก้ปัญหาน้ำท่วม 75.8
12 การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ 75.6
13 การรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคติดต่อ 75.4
14 โครงการหลวง 74.3
15 โครงการทันตกรรมพระราชทาน 72.2
16 การกลั่นเชื้อเพลิงทำแก๊สโซฮอล์ 71.1
17 กังหันน้ำชัยพัฒนาแก้ปัญหาน้ำเสีย 70.2
18 โครงการพระบรมราชูปถัมถ์โรงพยาบาลต่างๆ 67.9
19 การพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร 64.6
20 การพัฒนาพลังลมเพื่อการเกษตร 63.2
ตารางแสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ภาพลักษณ์ของผู้นำรัฐบาล (นายกรัฐมนตรี) ที่ควรจะเป็นตามหลักการปกครองคุณธรรม 10 ประการ
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ผู้นำรัฐบาล (นายกรัฐมนตรี) ค่าร้อยละ
1 ซื่อตรง 88.7
2 เที่ยงธรรม 84.3
3 ไม่โกรธ 79.2
4 อดทน 76.1
5 อ่อนโยน 72.2
6 มีศีล 70.3
7 ทาน 68.3
8 บริจาค 65.2
9 ความเพียร 63.7
10 ไม่เบียดเบียน 61.4
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ไม่โกรธ อดทน ศีล ทาน บริจาค อ่อนโยน ความเพียร และไม่เบียดเบียน แนะรัฐบาลควรเร่งทำยุทธศาสตร์ชาติ-ท้องถิ่นสานต่อความเป็นหนึ่งเดียวคน
ไทยด้านความจงรักภักดีและการปกครองเพื่อประโยชน์สุขของคนไทยทั้งประเทศ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า เอแบคโพลล์ได้ร่วมกับสำนักวิทยาศาสตร์ ราช
บัณฑิตยสถานในพระบรมมหาราชวัง ผ่าน ศ.ดร.กำจร มนุญปิจุ ราชบัณฑิต ทำวิจัยการรับรู้ต่อโครงการพระราชดำริและความปลื้มปิติของพสกนิกรคนไทย
ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล จำนวนทั้งสิ้น 2,794 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 13 — 25 พฤษภาคม ที่
ผ่านมา
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.8 รับรู้เรื่องโครงการฝนหลวงพระราชทาน ร้อยละ 85.7 รับรู้โครงการหน่วยแพทย์
เคลื่อนที่พระราชทาน ร้อยละ 85.4 รับรู้โครงการพระราชดำริเรื่องทฤษฎีใหม่ ร้อยละ 79.8 รับรู้โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก ร้อยละ 79.1 รับรู้การ
ปลูกป่าพรุอนุรักษ์ป่าชายเลน ร้อยละ 79.0 รับรู้โครงการการเกษตรส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ร้อยละ 78.5 รับรู้การส่งเสริมอุตสาหกรรมโคนมไทย
ร้อยละ 77.9 รับรู้โครงการบำบัดน้ำเสีย ร้อยละ 77.1 โครงการหญ้าแฝก แก้ปัญหาดินทลาย ร้อยละ 76.6 รับรู้การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคร้ายต่างๆ
ร้อยละ 75.8 รับรู้โครงการแก้มลิงแก้ปัญหาน้ำท่วม ร้อยละ 75.6 รับรู้การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ร้อยละ 75.4 รับรู้การรณรงค์ป้องกัน
ควบคุมโรคติดต่อ ร้อยละ 74.3 รับรู้โครงการหลวง ร้อยละ 72.2 รับรู้โครงการทันตกรรมพระราชทาน ร้อยละ 71.1 รับรู้โครงการกลั่น
เชื้อเพลิงทำแก๊สโซฮอล์ ร้อยละ 70.2 รับรู้กังหันน้ำชัยพัฒนาแก้ปัญหาน้ำเสีย ร้อยละ 67.9 รับรู้โครงการพระบรมราชูปถัมถ์โรงพยาบาลต่างๆ ร้อย
ละ 64.6 รับรู้การพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร ร้อยละ 63.2 รับรู้การพัฒนาพลังลมเพื่อการเกษตร ร้อยละ 63.1 รับรู้การแก้ปัญหาจราจร และร้อยล
52.8 รับรู้การพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน นอกจากนี้ ประชาชนยังรับรู้ต่อโครงการพัฒนาสื่อโทรทัศน์ และทฤษฎีใหม่กับการสื่อสารโทรคมนาคมอีกด้วย
ดร.นพดล กล่าวว่า โครงการตามแนวพระราชดำริต่างๆ ทุกโครงการสร้างความปลื้มปิติยินดีต่อพระอัจฉริยะภาพของพระองค์ท่านอย่างหา
ที่สุดมิได้ ได้แก่ โครงการฝนหลวง โครงการแก้มลิง พระราชดำริเรื่องทฤษฎีใหม่ การพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก โครงการหลวง โครงการเกษตรส่วนพระองค์
สวนจิตรลดา โครงการหญ้าแฝกแก้ปัญหาดินทลาย การส่งเสริมอุตสาหกรรมโคนมไทย การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ การพัฒนาพลังลมเพื่อการ
เกษตรกรรม โครงการบำบัดน้ำเสีย การแก้ปัญหาจราจร หน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน การพัฒนาสื่อโทรทัศน์และทฤษฎีใหม่กับการสื่อสารโทร
คมนาคม เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า โครงการตามพระราชดำริต่างๆ เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนทั้งประเทศอย่าง
แท้จริง และเป็นโครงการที่ใช้ต้นทุนทางธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ทรงเปลี่ยนต้นทุนทางธรรมชาติเป็นทุนทางธรรมชาติและทุนทางสังคมให้แก่พสกนิกรคน
ไทยทุกคนของพระองค์
เอแบคโพลล์ ยังได้สอบถามประชาชนถึงแนวประพฤติปฏิบัติของผู้นำรัฐบาล (นายกรัฐมนตรี) ที่ควรจะเป็นตามหลักทศพิธราชธรรม เนื่อง
จากกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรมระบุไว้ว่าเป็นคุณธรรม 10 ประการที่ผู้บริหารและประชาชนทั่วไป
สามารถนำไปประพฤติปฎิบัติได้ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.thaireadyweb.com/ecommerce/cmda35/ArticleDisplay.asp?
urlid=323)ซึ่งผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.7 ต้องการให้ผู้นำรัฐบาลมีความซื่อตรง ร้อยละ 84.3 ต้องการให้มีความเที่ยง
ธรรม ร้อยละ 79.2 ต้องการให้รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองไม่โกรธ ร้อยละ 76.1 ต้องการให้อดทน ร้อยละ 72.2 ต้องการให้ผู้นำรัฐบาลมีความอ่อน
โยน ร้อยละ 70.3 ต้องการให้ผู้นำรัฐบาลเป็นผู้มีศีล ร้อยละ 68.3 ต้องการให้มีการทำทาน ร้อยละ 65.2 ต้องการให้มีการบริจาค ร้อยละ 63.7
ให้มีความเพียร และร้อยละ 61.4 ต้องการให้ผู้นำรัฐบาลไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ดร.นพดล กล่าวว่า การสำรวจวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤษภาคม แต่ถ้าสำรวจช่วงนี้เชื่อว่าจำนวนประชาชนที่รับรู้และปลื้มปิติ
โครงการพระราชดำริและต้องการคุณลักษณะของผู้นำรัฐบาลและฝ่ายปกครองตามหลักทศพิธราชธรรมน่าจะสูงเกือบร้อยละร้อยเลยทีเดียว ดังนั้น รัฐบาล
และฝ่ายการเมืองควรน้อมนำลงสู่ยุทธศาสตร์การปกครองประเทศทั้งระดับชาติและท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบซีอีโอและฝ่ายปกครองทุกจังหวัดควร
ถูกประเมินคุณลักษณะและผลงานตามแนวทางที่พระองค์ท่านทรงพระราชทานไว้เป็นแบบอย่าง โดยสำนักวิจัยฯ จะรายงานดัชนีความสุขมวลรวมของ
ประชาชนคนไทยภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness Index) แต่ละเดือนสะท้อนให้เห็นผลการทำงานของรัฐบาลและการรับรู้ต่อการ
ประพฤติปฏิบัติของคณะรัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดและฝ่ายปกครองระดับท้องถิ่นทั่วประเทศว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนทั้งประเทศมากน้อย
เพียงไร
ดร.นพดล กล่าวอีกว่า กระทรวงศึกษาธิการควรปลูกจิตสำนึกเยาวชนคนไทยทั้งประเทศในหลักสูตรการเรียนการสอนระดับต่างๆ ให้รู้
เข้าใจและตระหนักถึงหลักทศพิธราชธรรมเพื่อให้คนไทยในปัจจุบันและอนาคตได้รู้หลักในการตัดสินใจสนับสนุนผู้นำประเทศและรู้เกณฑ์การเลือก “คนดี”
ขึ้นปกครองบ้านเมืองเวลาที่มีการเลือกตั้ง เพราะถ้าสอบถามประชาชนในขณะนี้ว่ารู้จักหลักทศพิธราชธรรมหรือไม่ และประกอบไปด้วยอะไรบ้าง อาจมี
ประชาชนบางคนเท่านั้นที่สามารถตอบได้อย่างถูกต้องครบถ้วน นอกจากนี้กระทรวงต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำโครงการอันเนื่องมาจากพระ
ราชดำริทุกโครงการไปขยายผลเผยแพร่ให้ประชาชนรับรู้และนำไปใช้เข้ากับวิถีชีวิตของคนไทย
“การวิจัยการรับรู้ของประชาชนต่อการประพฤติปฏิบัติของผู้นำรัฐบาลและผู้นำท้องถิ่นระดับต่างๆ และการติดตามประเมินดัชนีความสุขมวล
รวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศรายเดือน มีจุดมุ่งหมายเพื่อสานต่อความเป็นหนึ่งเดียวของคนไทยทั้งประเทศที่กำลังเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางขณะ
นี้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนสังคมไทยให้ดีขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และคาดหวังว่าพลังความเป็นหนึ่งเดียวกันของคนไทยขณะนี้จะไม่
เกิดขึ้นเพียงแค่ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น” ผอ. เอแบคโพลล์ กล่าว
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “การรับรู้ต่อโครงการพระราชดำริและความปลื้มปิติ
ของพสกนิกรคนไทยในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในกรุงเทพ
มหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และ สงขลา” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 13 — 25 พฤษภาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,794 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี
ร้อยละ 14.3 อายุ 50-59 ปี
และร้อยละ 12.9 อายุ 60 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 58.1 ระบุสถานภาพสมรส
ร้อยละ 35.1 ระบุสถานภาพโสด
และร้อยละ 6.8 ระบุสถานภาพม่าย / หย่า / แยกกันอยู่
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 19.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 13.7 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.5 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.4 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.4 ระบุอาชีพเกษตรกร และร้อยละ 3.5 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณารายละเอียดผลสำรวจดังต่อไปนี้
ตารางสรุป 20 อันดับค่าร้อยละของตัวอย่างที่รับรู้ต่อโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ลำดับที่ โครงการต่างๆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ค่าร้อยละ
1 โครงการฝนหลวงพระราชทาน 93.8
2 โครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน 85.7
3 โครงการพระราชดำริเรื่องทฤษฎีใหม่ 85.4
4 โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก 79.8
5 โครงการปลูกป่าพรุอนุรักษ์ป่าชายเลน 79.1
6 โครงการการเกษตรส่วนพระองค์สวนจิตรลดา 79.0
7 โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมโคนมไทย 78.5
8 โครงการบำบัดน้ำเสีย 77.9
9 โครงการหญ้าแฝกแก้ปัญหาดินทลาย 77.1
10 การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคร้ายต่างๆ 76.6
11 โครงการแก้มลิงแก้ปัญหาน้ำท่วม 75.8
12 การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ 75.6
13 การรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคติดต่อ 75.4
14 โครงการหลวง 74.3
15 โครงการทันตกรรมพระราชทาน 72.2
16 การกลั่นเชื้อเพลิงทำแก๊สโซฮอล์ 71.1
17 กังหันน้ำชัยพัฒนาแก้ปัญหาน้ำเสีย 70.2
18 โครงการพระบรมราชูปถัมถ์โรงพยาบาลต่างๆ 67.9
19 การพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร 64.6
20 การพัฒนาพลังลมเพื่อการเกษตร 63.2
ตารางแสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ภาพลักษณ์ของผู้นำรัฐบาล (นายกรัฐมนตรี) ที่ควรจะเป็นตามหลักการปกครองคุณธรรม 10 ประการ
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ผู้นำรัฐบาล (นายกรัฐมนตรี) ค่าร้อยละ
1 ซื่อตรง 88.7
2 เที่ยงธรรม 84.3
3 ไม่โกรธ 79.2
4 อดทน 76.1
5 อ่อนโยน 72.2
6 มีศีล 70.3
7 ทาน 68.3
8 บริจาค 65.2
9 ความเพียร 63.7
10 ไม่เบียดเบียน 61.4
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-