เอแบคโพลล์: สำรวจจุดยืนทางการเมืองของสาธารณชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันในวันที่มีผลการบังคับใช้ พรบ. ความมั่นคง 19 กันยายน

ข่าวผลสำรวจ Monday September 21, 2009 07:22 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจภาคสนาม เรื่อง สำรวจ ฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในวันที่มีผลบังคับใช้ พรบ. มั่นคง 19 กันยายน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน เขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,755 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 19 กันยายน 2552 พบว่า

หลังจากที่ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรมีผลบังคับใช้ในเขตดุสิตเป็นครั้งที่สอง เพื่อดูแลความเรียบร้อยของการ ชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง โดยเปรียบเทียบฐานข้อมูลทางการเมืองของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ความมั่นคงครั้งแรกเมื่อต้น เดือนกันยายนที่ผ่านมา พบว่า ฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อรัฐบาลลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 25.6 ในช่วงต้นเดือนกันยายน มาอยู่ที่ร้อยละ 23.3 ใน การสำรวจครั้งล่าสุด แต่ค่าที่ลดลงนี้ยังไม่ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ ตรงกันข้ามกับฐานสนับสนุนรัฐบาลคือ ฐานไม่สนับสนุนรัฐบาลคือกลุ่มคนที่ไม่สนับสนุน รัฐบาลหรือกลุ่มคนที่ต่อต้านรัฐบาลมีจำนวนลดลงจากร้อยละ 17.4 เหลือร้อยละ 11.5 ซึ่งเป็นค่าสถิติที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ มีกลุ่มคนที่ต่อต้าน รัฐบาลลดน้อยลง แต่จำนวนประชาชนมาเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มคนไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดคือจาก ร้อยละ 57.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 65.2

เมื่อจำแนกฐานสนับสนุนกลุ่มต่างๆ ตามเพศ พบว่าในกลุ่มเพศชายสนับสนุนรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 22.6 ไม่สนับสนุนรัฐบาลร้อยละ 15.6 ในขณะที่ในกลุ่มเพศหญิงพบว่า สนับสนุนรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 23.8 และไม่สนับสนุนคิดเป็นร้อยละ 10.3 และเมื่อพิจารณาฐานสนับสนุนรัฐบาล จำแนกตามช่วงอายุพบว่า กลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลสูงกว่าช่วงอายุอื่นๆ คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป ซึ่งสนับสนุนรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 25.8 รองลง คือกลุ่มผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีที่พบว่าสนับสนุนรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 24.8 ทั้งนี้ผลการสำรวจพบว่ากลุ่มผู้ที่มีอายุระหว่าง 40 — 49 ปี มีผู้ที่ไม่สนับสนุน รัฐบาลสูงกว่าช่วงอายุอื่นๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 16.3 รองลงมาคือคือกลุ่มผู้ที่มีอายุอยู่ในช่วง 30 — 39 ปี คิดเป็นร้อยละ 15.9 ตามลำดับ

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจำแนกฐานสนับสนุนกลุ่มต่างๆ ตามระดับการศึกษา พบว่าในกลุ่มผู้ที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสนับสนุน รัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 18.9 ไม่สนับสนุนร้อยละ 13.8 ในขณะที่ร้อยละ 67.3 ระบุขออยู่ตรงกลาง ไม่อยู่ฝ่ายใด สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาตรีพบว่า ร้อยละ 31.2 สนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 10.7 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 58.1 ขออยู่ตรงกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในขณะที่ในกลุ่มผู้ สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรีนั้นพบว่า ร้อยละ 41.1 สนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 6.3 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 52.6 ขออยู่ตรงกลางไม่ฝักใฝ่ ฝ่ายใด

และเมื่อจำแนกตามกลุ่มอาชีพต่างๆ นั้นพบว่า ในกลุ่มข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจสนับสนุนรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 28.9 ไม่สนับสนุน ร้อยละ 4.3 กลุ่มผู้ที่มีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจอิสระ สนับสนุนรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 24.7 ไม่สนับสนุนคิดเป็นร้อยละ 18.0 กลุ่มนักเรียนนักศึกษาสนับสนุน รัฐบาลร้อยละ 23.3 ไม่สนับสนุนร้อยละ 7.4 กลุ่มผู้ที่มีอาชีพรับจ้างใช้แรงงานทั่วไปสนับสนุนรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 16.1 ซึ่งใกล้เคียงกลับกลุ่มผู้ที่ไม่ สนับสนุนซึ่งมีอยู่ร้อยละ 14.5 กลุ่มแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ สนับสนุนรัฐบาลร้อยละ 24.6 ไม่สนับสนุนร้อยละ 9.4 ในขณะที่ในกลุ่มผู้ที่ว่างงาน/ไม่ ได้ประกอบอาชีพนั้นพบว่า ส่วนใหญ่คือร้อยละ 81.0 ขออยู่ตรงกลางไม่ฝักฝ่ายใด โดยมีกลุ่มผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลอยู่เพียงร้อยละ 3.9 และกลุ่มที่ไม่สนับ สนุนรัฐบาลร้อยละ 15.1 ตามลำดับ

สำหรับฐานของกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลจำแนกตามรายได้นั้นพบว่า กลุ่มผู้ที่มีรายได้ ต่ำกว่า 5,000 บาท สนับสนุนรัฐบาลคิดเป็น ร้อย ละ 22.0 กลุ่มผู้ที่มีรายได้ 5,000 — 10,000 บาท สนับสนุนรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 15.3 กลุ่มผู้มีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท คิดเป็น ร้อย ละ 23.7 กลุ่มผู้ที่มีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 29.5 และกลุ่มผู้ที่มีรายได้มากกว่า 20,000 สนับสนุนรัฐบาลคิดเป็น ร้อย ละ 37.0 ตามลำดับ

ในขณะที่เมื่อพิจารณาฐานของกลุ่มผู้ที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลนั้นพบว่า กลุ่มผู้ที่มีรายได้ ต่ำกว่า 5,000 บาท ที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 11.9 กลุ่มผู้ที่มีรายได้ 5,000 — 10,000 บาท ที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 14.1 กลุ่มผู้มีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 12.2 กลุ่มผู้ที่มีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 9.1 และกลุ่มผู้ที่มีรายได้มากกว่า 20,000 ที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 14.0

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งล่าสุดที่มีการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ ส่งผลให้เห็นได้ว่า ถ้าไม่เกิดการใช้ ความรุนแรงบานปลาย ก็จะไม่ส่งผลต่อฐานสนับสนุนรัฐบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไปเพิ่มจำนวนตรงกลุ่มคนที่อยู่ตรงกลางคือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่าย ใด การเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การสร้างประเทศและประชาธิปไตยที่สมบูรณ์จึงน่าจะเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และไม่เกิดการใช้ ความรุนแรง ผลที่ได้คือการสนับสนุนของกลุ่มประชาชนที่อยู่ตรงกลางต่อกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ทำให้บ้านเมืองสงบสุขมากกว่า ส่วนฐานสนับสนุน ของรัฐบาลจะเพิ่มหรือลดลงจะขึ้นอยู่กับผลงานของรัฐบาลที่สามารถแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้หรือไม่ สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติตามพระ ราชบัญญัติความมั่นคงอาจจำเป็นต้องค่อยๆ ทำให้สาธารณชนรู้สึกเคยชินกับการนำกองกำลังออกมาดูแลความสงบเรียบร้อยที่เป็นไปอย่างสง่างามตามจุด ต่างๆ กลมกลืนไปกับแผนดึงดูดการท่องเที่ยว จะสามารถสร้างความอุ่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและประชาชนที่สัญจรไปมาได้อีกทางหนึ่ง

“ความรู้สึกของสาธารณชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อเรื่องเดียวกันอาจตีความหมายได้แตกต่างกัน เช่น เห็นภาพเจ้าหน้าที่ของรัฐถืออาวุธดูแล ความเรียบร้อย ก็อาจถูกมองว่าเป็นการใช้ความรุนแรง ในขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมที่ชุมนุมอย่างสงบแต่ก็อาจถูกมองว่า วุ่นวายได้ จึงจำเป็นต้องสื่อสารด้วย การปฏิบัติและข้อความไปยังสาธารณะชนในช่วงเปลี่ยนผ่านของประเทศไทยว่า ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ ประชาชนผู้ชุมชน ก็แสดงพลังความเข้มแข็งตาม ระบอบประชาธิปไตย และเจ้าหน้าที่รัฐก็ดูแลความสงบเรียบร้อยให้กับประชาชน ” ดร.นพดล กล่าว

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 50.9 เป็นหญิง

ร้อยละ 49.1 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 13.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 33.8 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 17.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 18.2 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 16.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 72.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 23.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 3.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 21.4 ระบุอาชีพรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

ร้อยละ 24.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 13.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 11.9 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 20.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ ร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 19.2 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท

ร้อยละ 45.2 รายได้ 5,001-10,000 บาท

ร้อยละ 14.3 รายได้ 10,001-15,000 บาท

ร้อยละ 9.2 รายได้ 15,001-20,000 บาท

และร้อยละ 12.1 รายได้มากกว่า 20,000 บาท

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ จุดยืนทางการเมืองของสาธารณชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ลำดับที่          จุดยืนทางการเมืองต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน       5 กันยายน      19 กันยายน
1          สนับสนุนรัฐบาล                              25.6          23.3
2          ไม่สนับสนุนรัฐบาล                            17.4          11.5
3          ขออยู่ตรงกลาง ไม่อยู่ฝ่ายใด                    57.0          65.2
          รวมทั้งสิ้น                                  100.0         100.0

หมายเหตุ ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ จุดยืนทางการเมืองของสาธารณชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน จำแนกตาม เพศ
ลำดับที่          จุดยืนทางการเมืองต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน          ชาย          หญิง
1          สนับสนุนรัฐบาล                              22.6          23.8
2          ไม่สนับสนุนรัฐบาล                            15.6          10.3
3          ขออยู่ตรงกลาง ไม่อยู่ฝ่ายใด                    61.8          65.9
          รวมทั้งสิ้น                                  100.0         100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ จุดยืนทางการเมืองของสาธารณชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน จำแนกตาม อายุ
ลำดับที่          จุดยืนทางการเมืองต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน   ต่ำกว่า20 ปี    20 — 29 ปี    30 — 39 ปี    40 — 49 ปี    50 ปีขึ้นไป
1          สนับสนุนรัฐบาล                           24.8         20.9         20.5         22.3        25.8
2          ไม่สนับสนุนรัฐบาล                          8.7          9.5         15.9         16.3        11.5
3          ขออยู่ตรงกลาง ไม่อยู่ฝ่ายใด                 66.5         69.6         63.6         61.4        62.7
          รวมทั้งสิ้น                               100.0        100.0        100.0        100.0       100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ จุดยืนทางการเมืองของสาธารณชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน จำแนกตาม การศึกษา
ลำดับที่          จุดยืนทางการเมืองต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน    ต่ำกว่าปริญญาตรี     ปริญญาตรี     สูงกว่าปริญญาตรี
1          สนับสนุนรัฐบาล                              18.9          31.2          41.1
2          ไม่สนับสนุนรัฐบาล                            13.8          10.7           6.3
3          ขออยู่ตรงกลาง ไม่อยู่ฝ่ายใด                    67.3          58.1          52.6
          รวมทั้งสิ้น                                  100.0         100.0         100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ จุดยืนทางการเมืองของสาธารณชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน จำแนกตาม อาชีพ
ลำดับที่          จุดยืนทางการเมืองต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน   ข้าราชการ    ค้าขาย      นักเรียน    รับจ้าง    แม่บ้าน     ว่างงาน
                                              รัฐวิสาหกิจ   ธุรกิจอิสระ    นักศึกษา    แรงงาน  เกษียณอายุ
1          สนับสนุนรัฐบาล                           28.9      24.7       23.3      16.1     24.6       3.9
2          ไม่สนับสนุนรัฐบาล                          4.3      18.0        7.4      14.5      9.4      15.1
3          ขออยู่ตรงกลาง ไม่อยู่ฝ่ายใด                 66.8      57.3       69.3      69.4     66.0      81.0
          รวมทั้งสิ้น                               100.0     100.0      100.0     100.0    100.0     100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ จุดยืนทางการเมืองของสาธารณชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน จำแนกตาม รายได้
ลำดับที่          จุดยืนทางการเมืองต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน     ต่ำกว่า     5,000-     10,001-    15,001-    มากกว่า

5,000 บาท 10,000 บ. 15,000 บ. 20,000 บ. 20,000 บ.

1          สนับสนุนรัฐบาล                          22.0       15.3       23.7       29.5       37.0
2          ไม่สนับสนุนรัฐบาล                        11.9       14.1       12.2        9.1       14.0
3          ขออยู่ตรงกลาง ไม่อยู่ฝ่ายใด                66.1       70.6       64.1       61.4       49.0
          รวมทั้งสิ้น                              100.0      100.0      100.0      100.0      100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ