ที่มาของโครงการ
ในปัจจุบันได้มีสถานการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้นมากมายหลายกรณี โดยเฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งประชาชนต่างให้ความสำคัญ และ สนใจที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งครั้งนี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีความสนใจในประเด็นสถานการณ์ทางการเมือง และต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีดังกล่าว จึงได้ทำการสำรวจภาคสนาม หาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดรวม 25 จังหวัดทั่วประเทศต่อประเด็นสำคัญดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความสนใจของประชาชนต่อการเมืองระดับประเทศ
2. เพื่อสำรวจทัศนคติและความตั้งใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งปี 2548
3. เพื่อสำรวจทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้ เรื่อง“โครงการศึกษาวิจัยทัศนคติและความตั้งใจในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งปี 48 : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2 - 8 มกราคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ เชียงใหม่ น่าน อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ เชียงราย สกลนคร ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี ศรีสะเกษ หนองคาย ร้อยเอ็ด มหาสารคาม พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ชลบุรี ปราจีนบุรี นครศรีธรรมราช ระนอง และสุราษฎร์ธานี
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดสัดส่วนโดยให้ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างมีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 10,106 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาด ตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 6.7
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่าง
ร้อยละ 57.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 42.5 ระบุเป็นชาย
ร้อยละ 26.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
ร้อยละ 18.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 4.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 23.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย/ปวช.
ร้อยละ 14.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 6.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา
และร้อยละ 1.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 39.0 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.4 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.6 ระบุพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 10.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 5.0 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 3.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 1.3 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจต่อเรื่องการเมืองระดับประเทศ
ลำดับที่ ความสนใจต่อเรื่องการเมืองระดับประเทศ ค่าร้อยละ
1 มากที่สุด 11.7
2 มาก 26.6
3 ค่อนข้างมาก 34.0
4 ค่อนข้างน้อย 19.7
5 น้อย 4.9
6 ไม่สนใจเลย 3.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเข้าร่วมฟังการปราศรัยหรือกิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ
เช่น การสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองการร่วมชุมนุมเรียกร้องสิทธิต่างๆ
ลำดับที่ การเข้าร่วมฟังการปราศรัยหรือกิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ ค่าร้อยละ
1 เคย 36.3
2 ไม่เคย 63.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์ในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ส.ส.
ลำดับที่ ประสบการณ์ในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ค่าร้อยละ
1 เคย 87.0
2 ไม่เคย 13.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อประโยคที่ว่า “การเดินทางไปใช้สิทธิออก
เสียงเลือกตั้งเป็นเรื่องง่าย”
ลำดับที่ ความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 70.6
2 ไม่เห็นด้วย 25.2
3 ไม่มีความเห็น 4.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อประโยคที่ว่า “เพื่อรักษาการปกครองตาม
ระบอบประชาธิปไตยเอาไว้ให้ยั่งยืน ประชาชนส่วนใหญ่ต้องใช้สิทธิเลือกตั้ง”
ลำดับที่ ความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 87.4
2 ไม่เห็นด้วย 11.4
3 ไม่มีความเห็น 1.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกถ้าไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้ว ผู้สมัครที่ชื่นชอบ
แพ้การเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รู้สึกผิด 64.0
2 ไม่รู้สึกผิดอะไร 29.9
3 ไม่มีความเห็น 6.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อประโยคที่ว่า “คนที่ไม่ใช้สิทธิเลือกตั้ง ไม่มี
สิทธิยื่นถอดถอนนักการเมืองออกจากตำแหน่ง”
ลำดับที่ ความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 68.2
2 ไม่เห็นด้วย 24.0
3 ไม่มีความเห็น 7.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อประโยคที่ว่า “ไม่ว่าใครชนะการเลือกตั้ง
ก็ไม่เห็นว่าจะมีอะไรดีขึ้น”
ลำดับที่ ความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 47.4
2 ไม่เห็นด้วย 44.8
3 ไม่มีความเห็น 7.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อประโยคที่ว่า “นักการเมืองมักจะพูดอะไรก็
ได้เพื่อทำให้ชนะการเลือกตั้ง”
ลำดับที่ ความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 78.9
2 ไม่เห็นด้วย 16.6
3 ไม่มีความเห็น 4.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อประโยคที่ว่า “ถ้าท่านไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
กลุ่มผลประโยชน์จะเข้ามาครอบงำการทำงานของรัฐบาล”
ลำดับที่ ความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 75.9
2 ไม่เห็นด้วย 16.8
3 ไม่มีความเห็น 7.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อพฤติกรรมของนักการเมืองที่ใช้เหตุการณ์
คลื่นยักษ์สึนามิหาเสียงเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 น่าตำหนินักการเมืองที่ใช้เหตุการณ์
คลื่นยักษ์สินามิหาเสียงเลือกตั้ง 74.2
2 ไม่น่าตำหนิ 3.7
3 ไม่มีความเห็น 22.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจว่า การจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง
ครั้งใหม่ จะไม่มีการแทรกแซงของกลุ่มอิทธิพลทางการเมือง และกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ
ลำดับที่ ความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 34.7
2 ไม่มั่นใจ 61.8
3 ไม่มีความเห็น 3.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ส. ทั่วไปที่จะมีขึ้นใน
วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548
ลำดับที่ ความตั้งใจของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ตั้งใจจะไป 57.4
2 ไม่คิดว่าจะไปเพราะ คิดว่าพรรคการเมืองหนึ่ง
จะชนะการเลือกตั้งแน่นอน / คิดว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง /
เบื่อการเมือง /ติดธุระ / ต้องทำงาน /
มีปัญหาด้านสุขภาพ เป็นต้น 33.8
3 ยังไม่แน่ใจ 8.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี คุณคิดว่าในเขตเลือกตั้งของท่าน
นักการเมืองจำเป็นต้องแจกเงินเพื่อชนะการเลือกตั้งหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีคุณคิดว่าในเขตเลือกตั้งของท่าน ค่าร้อยละ
นักการเมืองจำเป็นต้องแจกเงินเพื่อชนะ
การเลือกตั้งหรือไม่
1 จำเป็น 37.1
2 ไม่จำเป็น 42.5
3 ไม่แน่ใจ 20.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการทำงานของคณะกรรมการการ
เลือกตั้ง (กกต.) ในการจัดการการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อการทำงานของ กกต. ค่าร้อยละ
ในการจัดการการเลือกตั้ง
1 พอใจ 41.4
2 ค่อนข้างพอใจ 23.7
3 ไม่ค่อยพอใจ 13.4
4 ไม่พอใจ 10.0
5 ไม่มีความเห็น 11.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “โครงการศึกษาวิจัยทัศนคติและความตั้งใจในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งปี 48: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ” ในครั้งนี้ ได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2 — 8 มกราคม 2548 โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 10,106 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 72.3 ให้ความสนใจต่อเรื่องการเมืองระดับประเทศค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 24.6 ให้ความสนใจน้อย และร้อยละ 3.1 ไม่ให้ความสนใจเลย ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 63.7 ยังไม่เคยเข้าร่วมฟังการปราศรัย หรือกิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ เลย ทั้งนี้ ตัวอย่างร้อยละ 87.0 เคยใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ส.ส. และร้อยละ 13.0 ไม่เคยไปใช้สิทธิออกเสียง
สำหรับผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง นั้น พบว่า
1. “การเดินทางไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งเป็นเรื่องง่าย” พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 70.6 เห็นด้วยต่อประโยคดังกล่าว ร้อยละ 25.2 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 4.2 ไม่มีความคิดเห็น
2. “เพื่อรักษาการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยเอาไว้ให้ยั่งยืน ประชาชนส่วนใหญ่ต้องใช้สิทธิเลือกตั้ง” พบว่า ร้อยละ 87.4 เห็นด้วย ร้อยละ 11.4 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 1.2 ไม่มีความคิดเห็น
3. “ความรู้สึก ถ้าไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้ว ผู้สมัครที่ชื่นชอบแพ้การเลือกตั้ง” พบว่า ร้อยละ 64.0 รู้สึกผิด ร้อยละ 29.9 ไม่รู้สึกผิดอะไร และร้อยละ 6.1 ไม่มีความเห็น
4. “คนที่ไม่ใช้สิทธิเลือกตั้ง ไม่มีสิทธิยื่นถอดถอนนักการเมืองออกจากตำแหน่ง” พบว่า ร้อยละ 68.2 เห็นด้วย ร้อยละ 24.0 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 7.8 ไม่มีความเห็น
5. “ไม่ว่าใครชนะการเลือกตั้ง ก็ไม่เห็นว่าจะมีอะไรดีขึ้น” พบว่า ร้อยละ 47.4 เห็นด้วย ร้อยละ 44.8 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 7.8 ไม่มีความเห็น
6. “นักการเมืองมักจะพูดอะไรก็ได้ เพื่อทำให้ชนะการเลือกตั้ง” พบว่า ร้อยละ 78.9 เห็นด้วย ร้อยละ 16.6 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 4.5 ไม่มีความเห็น
7. “ถ้าท่านไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กลุ่มผลประโยชน์จะเข้ามาครอบงำการทำงานของรัฐบาล” พบว่า ร้อยละ 75.9 เห็นด้วย ร้อยละ 16.8 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 7.3 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกต่อพฤติกรรมของนักการเมืองที่ใช้เหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิหาเสียงเลือกตั้ง นั้น ตัวอย่างร้อยละ 74.2 รู้สึกตำหนินักการเมือง ร้อยละ 3.7 ไม่น่าตำหนิ และร้อยละ 22.1 ไม่มีความเห็น ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 34.7 มั่นใจว่าการจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งครั้งใหม่นั้น จะไม่มีการแทรกแซงของกลุ่มอิทธิพลทางการเมือง และกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ร้อยละ 61.8 ไม่มั่นใจ และร้อยละ 3.5 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณา คือ ตัวอย่างร้อยละ 57.4 ตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ส. ทั่วไปที่จะมีขึ้นใน วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้ ร้อยละ 33.8 ไม่คิดว่าจะไป เพราะ คิดว่า พรรคการเมืองหนึ่งจะชนะการเลือกตั้งแน่นอน / คิดว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง / เบื่อการเมือง เป็นต้น และร้อยละ 8.8 ไม่มีความคิดเห็นสำหรับความคิดเห็นต่อกรณีการแจกเงินเพื่อชนะการเลือกตั้งของนักการเมืองในเขตเลือกตั้งนั้น พบว่า ร้อยละ 42.5 ระบุว่าไม่จำเป็นที่จะต้องมีการแจกเงิน และร้อยละ 37.1 ระบุว่ามีความจำเป็น และร้อยละ 20.4 ไม่แน่ใจ ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 65.1 ระบุค่อนข้างพอใจถึงพอใจต่อการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการแก้ไขการซื้อสิทธิขายเสียง ร้อยละ 23.4 ระบุไม่ค่อยพอใจถึงไม่พอใจ และร้อยละ 11.5 ไม่มีความคิดเห็น
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในปัจจุบันได้มีสถานการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้นมากมายหลายกรณี โดยเฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งประชาชนต่างให้ความสำคัญ และ สนใจที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งครั้งนี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีความสนใจในประเด็นสถานการณ์ทางการเมือง และต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีดังกล่าว จึงได้ทำการสำรวจภาคสนาม หาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดรวม 25 จังหวัดทั่วประเทศต่อประเด็นสำคัญดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความสนใจของประชาชนต่อการเมืองระดับประเทศ
2. เพื่อสำรวจทัศนคติและความตั้งใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งปี 2548
3. เพื่อสำรวจทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้ เรื่อง“โครงการศึกษาวิจัยทัศนคติและความตั้งใจในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งปี 48 : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2 - 8 มกราคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ เชียงใหม่ น่าน อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ เชียงราย สกลนคร ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี ศรีสะเกษ หนองคาย ร้อยเอ็ด มหาสารคาม พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ชลบุรี ปราจีนบุรี นครศรีธรรมราช ระนอง และสุราษฎร์ธานี
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดสัดส่วนโดยให้ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างมีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 10,106 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาด ตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 6.7
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่าง
ร้อยละ 57.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 42.5 ระบุเป็นชาย
ร้อยละ 26.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
ร้อยละ 18.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 4.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 23.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย/ปวช.
ร้อยละ 14.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 6.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา
และร้อยละ 1.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 39.0 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.4 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.6 ระบุพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 10.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 5.0 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 3.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 1.3 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจต่อเรื่องการเมืองระดับประเทศ
ลำดับที่ ความสนใจต่อเรื่องการเมืองระดับประเทศ ค่าร้อยละ
1 มากที่สุด 11.7
2 มาก 26.6
3 ค่อนข้างมาก 34.0
4 ค่อนข้างน้อย 19.7
5 น้อย 4.9
6 ไม่สนใจเลย 3.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเข้าร่วมฟังการปราศรัยหรือกิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ
เช่น การสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองการร่วมชุมนุมเรียกร้องสิทธิต่างๆ
ลำดับที่ การเข้าร่วมฟังการปราศรัยหรือกิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ ค่าร้อยละ
1 เคย 36.3
2 ไม่เคย 63.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์ในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ส.ส.
ลำดับที่ ประสบการณ์ในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ค่าร้อยละ
1 เคย 87.0
2 ไม่เคย 13.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อประโยคที่ว่า “การเดินทางไปใช้สิทธิออก
เสียงเลือกตั้งเป็นเรื่องง่าย”
ลำดับที่ ความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 70.6
2 ไม่เห็นด้วย 25.2
3 ไม่มีความเห็น 4.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อประโยคที่ว่า “เพื่อรักษาการปกครองตาม
ระบอบประชาธิปไตยเอาไว้ให้ยั่งยืน ประชาชนส่วนใหญ่ต้องใช้สิทธิเลือกตั้ง”
ลำดับที่ ความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 87.4
2 ไม่เห็นด้วย 11.4
3 ไม่มีความเห็น 1.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกถ้าไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้ว ผู้สมัครที่ชื่นชอบ
แพ้การเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รู้สึกผิด 64.0
2 ไม่รู้สึกผิดอะไร 29.9
3 ไม่มีความเห็น 6.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อประโยคที่ว่า “คนที่ไม่ใช้สิทธิเลือกตั้ง ไม่มี
สิทธิยื่นถอดถอนนักการเมืองออกจากตำแหน่ง”
ลำดับที่ ความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 68.2
2 ไม่เห็นด้วย 24.0
3 ไม่มีความเห็น 7.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อประโยคที่ว่า “ไม่ว่าใครชนะการเลือกตั้ง
ก็ไม่เห็นว่าจะมีอะไรดีขึ้น”
ลำดับที่ ความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 47.4
2 ไม่เห็นด้วย 44.8
3 ไม่มีความเห็น 7.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อประโยคที่ว่า “นักการเมืองมักจะพูดอะไรก็
ได้เพื่อทำให้ชนะการเลือกตั้ง”
ลำดับที่ ความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 78.9
2 ไม่เห็นด้วย 16.6
3 ไม่มีความเห็น 4.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อประโยคที่ว่า “ถ้าท่านไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
กลุ่มผลประโยชน์จะเข้ามาครอบงำการทำงานของรัฐบาล”
ลำดับที่ ความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 75.9
2 ไม่เห็นด้วย 16.8
3 ไม่มีความเห็น 7.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อพฤติกรรมของนักการเมืองที่ใช้เหตุการณ์
คลื่นยักษ์สึนามิหาเสียงเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 น่าตำหนินักการเมืองที่ใช้เหตุการณ์
คลื่นยักษ์สินามิหาเสียงเลือกตั้ง 74.2
2 ไม่น่าตำหนิ 3.7
3 ไม่มีความเห็น 22.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจว่า การจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง
ครั้งใหม่ จะไม่มีการแทรกแซงของกลุ่มอิทธิพลทางการเมือง และกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ
ลำดับที่ ความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 34.7
2 ไม่มั่นใจ 61.8
3 ไม่มีความเห็น 3.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ส. ทั่วไปที่จะมีขึ้นใน
วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548
ลำดับที่ ความตั้งใจของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ตั้งใจจะไป 57.4
2 ไม่คิดว่าจะไปเพราะ คิดว่าพรรคการเมืองหนึ่ง
จะชนะการเลือกตั้งแน่นอน / คิดว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง /
เบื่อการเมือง /ติดธุระ / ต้องทำงาน /
มีปัญหาด้านสุขภาพ เป็นต้น 33.8
3 ยังไม่แน่ใจ 8.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี คุณคิดว่าในเขตเลือกตั้งของท่าน
นักการเมืองจำเป็นต้องแจกเงินเพื่อชนะการเลือกตั้งหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีคุณคิดว่าในเขตเลือกตั้งของท่าน ค่าร้อยละ
นักการเมืองจำเป็นต้องแจกเงินเพื่อชนะ
การเลือกตั้งหรือไม่
1 จำเป็น 37.1
2 ไม่จำเป็น 42.5
3 ไม่แน่ใจ 20.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการทำงานของคณะกรรมการการ
เลือกตั้ง (กกต.) ในการจัดการการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อการทำงานของ กกต. ค่าร้อยละ
ในการจัดการการเลือกตั้ง
1 พอใจ 41.4
2 ค่อนข้างพอใจ 23.7
3 ไม่ค่อยพอใจ 13.4
4 ไม่พอใจ 10.0
5 ไม่มีความเห็น 11.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “โครงการศึกษาวิจัยทัศนคติและความตั้งใจในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งปี 48: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ” ในครั้งนี้ ได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2 — 8 มกราคม 2548 โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 10,106 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 72.3 ให้ความสนใจต่อเรื่องการเมืองระดับประเทศค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 24.6 ให้ความสนใจน้อย และร้อยละ 3.1 ไม่ให้ความสนใจเลย ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 63.7 ยังไม่เคยเข้าร่วมฟังการปราศรัย หรือกิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ เลย ทั้งนี้ ตัวอย่างร้อยละ 87.0 เคยใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ส.ส. และร้อยละ 13.0 ไม่เคยไปใช้สิทธิออกเสียง
สำหรับผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง นั้น พบว่า
1. “การเดินทางไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งเป็นเรื่องง่าย” พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 70.6 เห็นด้วยต่อประโยคดังกล่าว ร้อยละ 25.2 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 4.2 ไม่มีความคิดเห็น
2. “เพื่อรักษาการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยเอาไว้ให้ยั่งยืน ประชาชนส่วนใหญ่ต้องใช้สิทธิเลือกตั้ง” พบว่า ร้อยละ 87.4 เห็นด้วย ร้อยละ 11.4 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 1.2 ไม่มีความคิดเห็น
3. “ความรู้สึก ถ้าไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้ว ผู้สมัครที่ชื่นชอบแพ้การเลือกตั้ง” พบว่า ร้อยละ 64.0 รู้สึกผิด ร้อยละ 29.9 ไม่รู้สึกผิดอะไร และร้อยละ 6.1 ไม่มีความเห็น
4. “คนที่ไม่ใช้สิทธิเลือกตั้ง ไม่มีสิทธิยื่นถอดถอนนักการเมืองออกจากตำแหน่ง” พบว่า ร้อยละ 68.2 เห็นด้วย ร้อยละ 24.0 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 7.8 ไม่มีความเห็น
5. “ไม่ว่าใครชนะการเลือกตั้ง ก็ไม่เห็นว่าจะมีอะไรดีขึ้น” พบว่า ร้อยละ 47.4 เห็นด้วย ร้อยละ 44.8 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 7.8 ไม่มีความเห็น
6. “นักการเมืองมักจะพูดอะไรก็ได้ เพื่อทำให้ชนะการเลือกตั้ง” พบว่า ร้อยละ 78.9 เห็นด้วย ร้อยละ 16.6 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 4.5 ไม่มีความเห็น
7. “ถ้าท่านไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กลุ่มผลประโยชน์จะเข้ามาครอบงำการทำงานของรัฐบาล” พบว่า ร้อยละ 75.9 เห็นด้วย ร้อยละ 16.8 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 7.3 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกต่อพฤติกรรมของนักการเมืองที่ใช้เหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิหาเสียงเลือกตั้ง นั้น ตัวอย่างร้อยละ 74.2 รู้สึกตำหนินักการเมือง ร้อยละ 3.7 ไม่น่าตำหนิ และร้อยละ 22.1 ไม่มีความเห็น ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 34.7 มั่นใจว่าการจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งครั้งใหม่นั้น จะไม่มีการแทรกแซงของกลุ่มอิทธิพลทางการเมือง และกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ร้อยละ 61.8 ไม่มั่นใจ และร้อยละ 3.5 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณา คือ ตัวอย่างร้อยละ 57.4 ตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ส. ทั่วไปที่จะมีขึ้นใน วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้ ร้อยละ 33.8 ไม่คิดว่าจะไป เพราะ คิดว่า พรรคการเมืองหนึ่งจะชนะการเลือกตั้งแน่นอน / คิดว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง / เบื่อการเมือง เป็นต้น และร้อยละ 8.8 ไม่มีความคิดเห็นสำหรับความคิดเห็นต่อกรณีการแจกเงินเพื่อชนะการเลือกตั้งของนักการเมืองในเขตเลือกตั้งนั้น พบว่า ร้อยละ 42.5 ระบุว่าไม่จำเป็นที่จะต้องมีการแจกเงิน และร้อยละ 37.1 ระบุว่ามีความจำเป็น และร้อยละ 20.4 ไม่แน่ใจ ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 65.1 ระบุค่อนข้างพอใจถึงพอใจต่อการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการแก้ไขการซื้อสิทธิขายเสียง ร้อยละ 23.4 ระบุไม่ค่อยพอใจถึงไม่พอใจ และร้อยละ 11.5 ไม่มีความคิดเห็น
--เอแบคโพลล์--
-พห-