ที่มาของโครงการ
ในขณะที่รัฐบาลและประเทศกำลังประสบกับปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่อาจทำให้เกิดปัญหาด้านความไม่มีเสถียรภาพและความไม่มั่นคงของ
ประเทศ เช่น ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีกำลังลดน้อยลง ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น และปัญหาความไม่สงบใน 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีกับต่างชาติ (เอฟทีเอ) ที่ทำให้เกิดกระแสต่อต้านในหมู่ประชาชน
การเจรจาและการเปิดเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ ในระดับทวิภาคีที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา
นั้น ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องจากสื่อมวลชนและประชาชนที่ติดตามข่าว เพราะเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ นอก
จากนี้ยังมีกระแสที่กล่าวถึงการซื้อขาย ส่งออก-นำเข้า สินค้าต่าง ๆ จากประเทศที่เปิดเขตการค้าเสรีกับไทยไปแล้ว ว่าเป็นต้นเหตุให้ไทยขาด
ดุลการค้าซึ่งกระแสต่างๆ เหล่านี้ เกิดการคัดค้านแนวทางดังกล่าวขึ้น และทำท่าว่าจะขยายวงกว้างและบานปลายออกไป จนทำให้รัฐบาลจำเป็นต้อง
ปรับท่าทีเพื่อที่จะเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นทำความเข้าใจและเดินสายชี้แจงให้สาธารณะชนรับทราบ ถึงรายละเอียดของแนวทางดังกล่าว
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็นและทัศนคติของประชาชนที่มีต่อแนวคิดการเปิดการค้าเสรี ตลอดจนผลกระทบที่จะตกถึงประชน หากมี
การเปิดการค้าเสรีกับชาติ ด้วยการจัดส่ง อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บข้อมูล ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่ถูกสุ่มได้ตามระเบียบวิธีวิจัยทาง
สังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเข้ามามีบทบาททางการเมืองของนักธุรกิจไทยในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรณีผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีกับต่างชาติ
3. เพื่อสำวรจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยของต่างชาติ
4. เพื่อสำรวจทัศนคติของประชาชนในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการค้ากับชาวต่างชาติ
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สำรวจอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพของ
รัฐบาลจากกรณีเปิดการค้าเสรีกับต่างชาติ(เอฟทีเอ):กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 13-22 กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,393 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.3 เป็นหญิง
ร้อยละ 44.7 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 28.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 18.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 76.3 ระบุสำเร็จการศึกษา ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.6 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 18.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 23.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.1 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 5.5 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สำรวจอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อ
เสถียรภาพของรัฐบาลจากกรณีเปิดการค้าเสรีกับต่างชาติ(เอฟทีเอ)” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหา
นครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,393 ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ 13-22 กุมภาพันธ์ 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังต่อไปนี้
ผลการสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของตัวอย่างเกี่ยวกับการเปิดการค้าเสรีกับต่างชาติ พบว่าตัวอย่างร้อยละ 60.4 ระบุติดตาม
ในขณะที่ ร้อยละ 39.6 ระบุไม่ได้ติดตาม
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สำรวจความต้องการตัวอย่างเกี่ยวกับความต้องการให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ
51.9 ระบุไม่ต้องการให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ตัวอย่างร้อยละ 48.1 ระบุว่าต้องการ โดยประเทศที่ตัวอย่างต้องการให้เข้ามาลงทุน
3 อันดับแรกได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น (ร้อยละ 53.0) รองลงมาคือประเทศสหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 51.1 ) และประเทศจีน (ร้อยละ 45.0) ตามลำดับ
นอกจากนี้เมื่อผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาททางการเมืองของนักธุรกิจไทยในปัจจุบันนั้นพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือ
ร้อยละ 61.4 ระบุว่ามีบทบาทมากเกินไป มีเพียงร้อยละ 17.5 เท่านั้นที่ระบุว่าไม่ได้มีบทบาทมากเกินไป ในขณะที่ร้อยละ 21.1 ระบุไม่มีความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่าง กรณีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะทำให้ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกเป็นของประชาชนหรือไม่นั้น พบว่าตัวอย่าง
เกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 52.9 ระบุไม่เชื่อว่าผลประโยชน์จะเป็นของประชาชน ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 19.1 ที่ระบุเชื่อว่าผลประโยชน์จะเป็น
ของประชาชน และร้อยละ 28.0 ระบุไม่มีความเห็น สำหรับกลุ่มที่ระบุไม่เชื่อว่าผลประโยชน์จะตกเป็นของประชาชนนั้น ร้อยละ 37.7 ระบุเชื่อว่าผล
ประโยชน์จะตกเป็นของกลุ่มนายทุน/นักธุรกิจ ร้อยละ 18.2 ระบุคิดว่าผลประโยชน์น่าจะตกอยู่กับกลุ่มนักการเมือง/รัฐมนตรี ร้อยละ 14.0
ระบุกลุ่มบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.9 ระบุกลุ่มผู้มีอำนาจทางการเมือง ร้อยละ 9.1 ระบุรัฐบาล และร้อยละ 9.1 เช่นเดียวกันที่ระบุอื่นๆ อาทิ
กลุ่มผู้มีหุ้น/ผู้เล่นหุ้น /รัฐวิสาหกิจ/ต่างชาติ เป็นต้น
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือทรรศนะของตัวอย่างเกี่ยวกับการได้เปรียบหรือเสียเปรียบของประเทศไทยจากการ เปิดเสรีทางการค้ากับต่าง
ชาติ นั้นผลสำรวจพบว่า มีตัวอย่างร้อยละ 52.8 ระบุเชื่อว่าประเทศไทยจะเสียเปรียบ ร้อยละ 11.3 ที่ระบุเชื่อว่าได้เปรียบ ร้อยละ 24.9 ระบุว่า
เสมอตัว และร้อยละ 11.0 ระบุไม่มีความคิดเห็น สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการได้เปรียบเสียเปรียบจากการของประชาชนจากการเปิดเสรีทาง
การค้ากับต่างชาติ นั้นพบว่ามีตัวอย่างเพียงร้อยละ 14.7 ระบุว่าได้ประโยชน์มากกว่า และมีตัวอย่างถึงร้อยละ 47.7 ระบุว่าเสียประโยชน์มากกว่า
ร้อยละ 28.6 ระบุว่าพอๆ กัน และร้อยละ 9.0 ระบุไม่มีความคิดเห็น
นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญที่ค้นพบอีกประการหนึ่งคือความคิดเห็นเกี่ยวกับการที่นักธุรกิจไทยขายกิจการให้ต่างชาติ จะทำให้ประชาชนส่วน
ใหญ่ได้หรือเสียผลประโยชน์หรือไม่นั้น พบว่าตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 65.2 ระบุเสียผลประโยชน์ มีเพียงร้อยละ 11.8 ที่ระบุว่าได้ผล
ประโยชน์ และร้อยละ 23.0 ระบุไม่มีความคิดเห็น
ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่าง กรณีความกังวลใจหากต่างชาติจะเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจในประเทศไทย นั้นพบว่า ตัวอย่าง
กว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 53.0 ระบุกังวลใจ ร้อยละ 14.4 ระบุไม่กังวลใจ และร้อยละ 32.6 ระบุไม่มีความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจคือความคิดเห็นว่านักการเมืองส่วนใหญ่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือประโยชน์ส่วนรวมของ
ประเทศชาติ ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 61.9 ระบุทำเพื่อประโยชน์ส่วนตนมากกว่า มีเพียงร้อยละ 7.8 เท่านั้นที่ระบุว่าทำเพื่อประโยชน์
ส่วนรวมมากกว่า ร้อยละ 27.4 ระบุพอๆ กัน และร้อยละ 2.9 ระบุไม่มีความคิดเห็น
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ประชาชนส่วนใหญ่กำลังคิดว่าฝ่ายการ
เมืองใช้ช่องทางของระบบทุนนิยมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้กับพวกพ้องของตนเองจากการเปิดเขตการค้าเสรี ความรู้สึกของประชาชนเหล่านี้ค่อนข้าง
สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏต่อสาธารณชนทั่วไปในขณะนี้ว่า กลุ่มนายทุนต่างชาติกำลังเข้ามาครอบงำระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
“เมื่อผู้นำหลงใหลในอำนาจและใช้อำนาจรัฐออกกฎหมายเพื่อความชอบธรรมของพรรคพวกตนเองในการทำธุรกิจกับกลุ่มทุนต่างชาติ ทำให้
เสี่ยงต่อการล่มสลายในความเป็นผู้นำประเทศของตน เพราะสังคมประชาธิปไตยแบบไทยต่างไปจากสังคมประชาธิปไตยของหลายประเทศในโลกตะวัน
ตก เนื่องจากคนไทยรักความเป็นประชาธิปไตยและความเป็นเสรีภาพแต่ไม่ได้หมายความว่าคนไทยจะตอบรับระบบทุนนิยมไปหมดทุกเรื่อง จากผลวิจัย
ครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาธิปไตยแบบไทยๆ มีปฏิกิริยาต่อต้านและกำลังรู้สึกไม่ดีกับรัฐบาลอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยคิดว่าระบบทุนนิยมมีนัยแอบแฝงให้คน
ต่างชาติครอบครองผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงของประเทศ” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดลกล่าวต่อไปว่า ใครก็ตามที่คิดว่าระบบทุนนิยมไปด้วยกันได้ในสังคมประชาธิปไตย คงต้องคิดใหม่ เพราะในสถานการณ์การเมือง
ไทยขณะนี้ชี้ให้เห็นว่า การตอบรับระบบทุนนิยมของรัฐบาลด้วยการเปิดเขตการค้าเสรีที่มีนัยของ “ผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม” แอบแฝง กำลังเป็นอีกปัจจัย
หนึ่งที่ทำให้ประชาชนเข้ามาชุมนุมกันมากขึ้นเพื่อต่อต้านแนวนโยบายการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งการชี้แจงของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี
เพื่อลดความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชนกำลังจะไม่ทันต่อเวลาที่สังคมเคยรอคอยเสียแล้ว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข้อมูลข่าวสารเรื่อง “การเปิดการค้าเสรีกับต่างชาติ”
ลำดับที่ การติดตามข่าว “การเปิดการค้าเสรีกับต่างชาติ” ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 60.4
2 ไม่ติดตาม 39.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย
ลำดับที่ ความต้องการให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ค่าร้อยละ
1 ต้องการ ระบุประเทศที่อยากให้เข้ามาลงทุน 48.1
1) ญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 53.0
2) สหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 51.1
3) จีน คิดเป็นร้อยละ 45.0
4) อังกฤษ คิดเป็นร้อยละ 33.7
5) ฝรั่งเศส คิดเป็นร้อยละ 25.8
6) อื่นๆ อาทิ เกาหลี /ออสเตรเลีย/รัสเซีย และประเทศยุโรป อื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 11.9
2 ไม่ต้องการ 51.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาททางการเมืองของนักธุรกิจไทย
ในปัจจุบัน
ลำดับที่ คิดเห็นเกี่ยวกับบทบาททางการเมืองของนักธุรกิจไทยในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 มีบทบาทมากเกินไป 61.4
2 ไม่ได้มีบทบาทมากเกินไป 17.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 21.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อที่ว่า “การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ” จะทำให้ผลประโยชน์
ส่วนใหญ่ตกเป็นของประชาชน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าเป็นของประชาชน 19.1
2 ไม่เชื่อว่าจะเป็นของประชาชน 52.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 28.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ในกลุ่มที่ระบุไม่เชื่อว่าผลประโยชน์จะตกอยู่กับประชาชนนั้น
ร้อยละ 37.7 ระบุเชื่อว่าผลประโยชน์จะตกเป็นของกลุ่มนายทุน/นักธุรกิจ
ร้อยละ 18.2 ระบุคิดว่าผลประโยชน์น่าจะตกอยู่กับกลุ่มนักการเมือง/รัฐมนตรี
ร้อยละ 14.0 ระบุกลุ่มบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.9 ระบุกลุ่มผู้มีอำนาจทางการเมือง
ร้อยละ 9.1 ระบุรัฐบาล
ร้อยละ 9.1 เช่นเดียวกันที่ระบุอื่นๆ อาทิ กลุ่มผู้มีหุ้น/ผู้เล่นหุ้น /รัฐวิสาหกิจ/ต่างชาติ เป็นต้น
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อเกี่ยวกับการได้เปรียบหรือเสียเปรียบจากการ
“เปิดเสรีทางการค้ากับต่างชาติ” ของประเทศไทย
ลำดับที่ ความเชื่อเกี่ยวกับการได้เปรียบหรือเสียเปรียบจากการ“เปิดเสรีทางการค้ากับต่างชาติ” ของประเทศไทย ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าได้เปรียบ 11.3
2 เชื่อว่าเสียเปรียบ 52.8
3 เสมอตัว 24.9
4 ไม่มีความคิดเห็น 11.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อเกี่ยวกับการได้เปรียบหรือเสียเปรียบจากการ
“เปิดเสรีทางการค้ากับต่างชาติ” ของประชาชน
ลำดับที่ ความเชื่อเกี่ยวกับการได้เปรียบหรือเสียเปรียบจากการ“เปิดเสรีทางการค้ากับต่างชาติ” ของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ได้ประโยชน์มากกว่า 14.7
2 เสียประโยชน์มากกว่า 47.7
3 พอ ๆ กัน 28.6
4 ไม่มีความคิดเห็น 9.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการที่นักธุรกิจไทย “ขายกิจการให้นักลงทุน
ต่างชาติ” จะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้หรือเสียผลประโยชน์
ลำดับที่ คิดเห็นเกี่ยวกับการที่นักธุรกิจไทย “ขายกิจการให้ต่างชาติ” ค่าร้อยละ
1 ประชาชนได้ผลประโยชน์ 11.8
2 เสียผลประโยชน์ 65.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 23.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกังวลใจต่อกรณี “หากต่างชาติจะเข้ามาครอบครอง
ระบบเศรษฐกิจในประเทศไทย”
ลำดับที่ ความกังวลใจของประชาชน ค่าร้อยละ
1 กังวลใจ 53.0
2 ไม่กังวลใจ 14.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 32.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่านักการเมืองส่วนใหญ่ทำเพื่อประโยชน์ของพวกพ้อง
ตนเองหรือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ จากการเปิดเสรีทางการค้ากับต่างชาติ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ทำเพื่อประโยชน์ของพวกพ้องตนเองมากกว่า 61.9
2 ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า 7.8
3 พอ ๆ กัน 27.4
4 ไม่มีความคิดเห็น 2.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในขณะที่รัฐบาลและประเทศกำลังประสบกับปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่อาจทำให้เกิดปัญหาด้านความไม่มีเสถียรภาพและความไม่มั่นคงของ
ประเทศ เช่น ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีกำลังลดน้อยลง ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น และปัญหาความไม่สงบใน 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีกับต่างชาติ (เอฟทีเอ) ที่ทำให้เกิดกระแสต่อต้านในหมู่ประชาชน
การเจรจาและการเปิดเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ ในระดับทวิภาคีที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา
นั้น ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องจากสื่อมวลชนและประชาชนที่ติดตามข่าว เพราะเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ นอก
จากนี้ยังมีกระแสที่กล่าวถึงการซื้อขาย ส่งออก-นำเข้า สินค้าต่าง ๆ จากประเทศที่เปิดเขตการค้าเสรีกับไทยไปแล้ว ว่าเป็นต้นเหตุให้ไทยขาด
ดุลการค้าซึ่งกระแสต่างๆ เหล่านี้ เกิดการคัดค้านแนวทางดังกล่าวขึ้น และทำท่าว่าจะขยายวงกว้างและบานปลายออกไป จนทำให้รัฐบาลจำเป็นต้อง
ปรับท่าทีเพื่อที่จะเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นทำความเข้าใจและเดินสายชี้แจงให้สาธารณะชนรับทราบ ถึงรายละเอียดของแนวทางดังกล่าว
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็นและทัศนคติของประชาชนที่มีต่อแนวคิดการเปิดการค้าเสรี ตลอดจนผลกระทบที่จะตกถึงประชน หากมี
การเปิดการค้าเสรีกับชาติ ด้วยการจัดส่ง อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บข้อมูล ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่ถูกสุ่มได้ตามระเบียบวิธีวิจัยทาง
สังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเข้ามามีบทบาททางการเมืองของนักธุรกิจไทยในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรณีผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีกับต่างชาติ
3. เพื่อสำวรจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยของต่างชาติ
4. เพื่อสำรวจทัศนคติของประชาชนในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการค้ากับชาวต่างชาติ
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สำรวจอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพของ
รัฐบาลจากกรณีเปิดการค้าเสรีกับต่างชาติ(เอฟทีเอ):กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 13-22 กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,393 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.3 เป็นหญิง
ร้อยละ 44.7 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 28.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 18.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 76.3 ระบุสำเร็จการศึกษา ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.6 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 18.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 23.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.1 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 5.5 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สำรวจอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อ
เสถียรภาพของรัฐบาลจากกรณีเปิดการค้าเสรีกับต่างชาติ(เอฟทีเอ)” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหา
นครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,393 ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ 13-22 กุมภาพันธ์ 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังต่อไปนี้
ผลการสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของตัวอย่างเกี่ยวกับการเปิดการค้าเสรีกับต่างชาติ พบว่าตัวอย่างร้อยละ 60.4 ระบุติดตาม
ในขณะที่ ร้อยละ 39.6 ระบุไม่ได้ติดตาม
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สำรวจความต้องการตัวอย่างเกี่ยวกับความต้องการให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ
51.9 ระบุไม่ต้องการให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ตัวอย่างร้อยละ 48.1 ระบุว่าต้องการ โดยประเทศที่ตัวอย่างต้องการให้เข้ามาลงทุน
3 อันดับแรกได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น (ร้อยละ 53.0) รองลงมาคือประเทศสหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 51.1 ) และประเทศจีน (ร้อยละ 45.0) ตามลำดับ
นอกจากนี้เมื่อผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาททางการเมืองของนักธุรกิจไทยในปัจจุบันนั้นพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือ
ร้อยละ 61.4 ระบุว่ามีบทบาทมากเกินไป มีเพียงร้อยละ 17.5 เท่านั้นที่ระบุว่าไม่ได้มีบทบาทมากเกินไป ในขณะที่ร้อยละ 21.1 ระบุไม่มีความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่าง กรณีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะทำให้ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกเป็นของประชาชนหรือไม่นั้น พบว่าตัวอย่าง
เกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 52.9 ระบุไม่เชื่อว่าผลประโยชน์จะเป็นของประชาชน ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 19.1 ที่ระบุเชื่อว่าผลประโยชน์จะเป็น
ของประชาชน และร้อยละ 28.0 ระบุไม่มีความเห็น สำหรับกลุ่มที่ระบุไม่เชื่อว่าผลประโยชน์จะตกเป็นของประชาชนนั้น ร้อยละ 37.7 ระบุเชื่อว่าผล
ประโยชน์จะตกเป็นของกลุ่มนายทุน/นักธุรกิจ ร้อยละ 18.2 ระบุคิดว่าผลประโยชน์น่าจะตกอยู่กับกลุ่มนักการเมือง/รัฐมนตรี ร้อยละ 14.0
ระบุกลุ่มบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.9 ระบุกลุ่มผู้มีอำนาจทางการเมือง ร้อยละ 9.1 ระบุรัฐบาล และร้อยละ 9.1 เช่นเดียวกันที่ระบุอื่นๆ อาทิ
กลุ่มผู้มีหุ้น/ผู้เล่นหุ้น /รัฐวิสาหกิจ/ต่างชาติ เป็นต้น
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือทรรศนะของตัวอย่างเกี่ยวกับการได้เปรียบหรือเสียเปรียบของประเทศไทยจากการ เปิดเสรีทางการค้ากับต่าง
ชาติ นั้นผลสำรวจพบว่า มีตัวอย่างร้อยละ 52.8 ระบุเชื่อว่าประเทศไทยจะเสียเปรียบ ร้อยละ 11.3 ที่ระบุเชื่อว่าได้เปรียบ ร้อยละ 24.9 ระบุว่า
เสมอตัว และร้อยละ 11.0 ระบุไม่มีความคิดเห็น สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการได้เปรียบเสียเปรียบจากการของประชาชนจากการเปิดเสรีทาง
การค้ากับต่างชาติ นั้นพบว่ามีตัวอย่างเพียงร้อยละ 14.7 ระบุว่าได้ประโยชน์มากกว่า และมีตัวอย่างถึงร้อยละ 47.7 ระบุว่าเสียประโยชน์มากกว่า
ร้อยละ 28.6 ระบุว่าพอๆ กัน และร้อยละ 9.0 ระบุไม่มีความคิดเห็น
นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญที่ค้นพบอีกประการหนึ่งคือความคิดเห็นเกี่ยวกับการที่นักธุรกิจไทยขายกิจการให้ต่างชาติ จะทำให้ประชาชนส่วน
ใหญ่ได้หรือเสียผลประโยชน์หรือไม่นั้น พบว่าตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 65.2 ระบุเสียผลประโยชน์ มีเพียงร้อยละ 11.8 ที่ระบุว่าได้ผล
ประโยชน์ และร้อยละ 23.0 ระบุไม่มีความคิดเห็น
ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่าง กรณีความกังวลใจหากต่างชาติจะเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจในประเทศไทย นั้นพบว่า ตัวอย่าง
กว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 53.0 ระบุกังวลใจ ร้อยละ 14.4 ระบุไม่กังวลใจ และร้อยละ 32.6 ระบุไม่มีความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจคือความคิดเห็นว่านักการเมืองส่วนใหญ่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือประโยชน์ส่วนรวมของ
ประเทศชาติ ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 61.9 ระบุทำเพื่อประโยชน์ส่วนตนมากกว่า มีเพียงร้อยละ 7.8 เท่านั้นที่ระบุว่าทำเพื่อประโยชน์
ส่วนรวมมากกว่า ร้อยละ 27.4 ระบุพอๆ กัน และร้อยละ 2.9 ระบุไม่มีความคิดเห็น
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ประชาชนส่วนใหญ่กำลังคิดว่าฝ่ายการ
เมืองใช้ช่องทางของระบบทุนนิยมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้กับพวกพ้องของตนเองจากการเปิดเขตการค้าเสรี ความรู้สึกของประชาชนเหล่านี้ค่อนข้าง
สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏต่อสาธารณชนทั่วไปในขณะนี้ว่า กลุ่มนายทุนต่างชาติกำลังเข้ามาครอบงำระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
“เมื่อผู้นำหลงใหลในอำนาจและใช้อำนาจรัฐออกกฎหมายเพื่อความชอบธรรมของพรรคพวกตนเองในการทำธุรกิจกับกลุ่มทุนต่างชาติ ทำให้
เสี่ยงต่อการล่มสลายในความเป็นผู้นำประเทศของตน เพราะสังคมประชาธิปไตยแบบไทยต่างไปจากสังคมประชาธิปไตยของหลายประเทศในโลกตะวัน
ตก เนื่องจากคนไทยรักความเป็นประชาธิปไตยและความเป็นเสรีภาพแต่ไม่ได้หมายความว่าคนไทยจะตอบรับระบบทุนนิยมไปหมดทุกเรื่อง จากผลวิจัย
ครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาธิปไตยแบบไทยๆ มีปฏิกิริยาต่อต้านและกำลังรู้สึกไม่ดีกับรัฐบาลอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยคิดว่าระบบทุนนิยมมีนัยแอบแฝงให้คน
ต่างชาติครอบครองผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงของประเทศ” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดลกล่าวต่อไปว่า ใครก็ตามที่คิดว่าระบบทุนนิยมไปด้วยกันได้ในสังคมประชาธิปไตย คงต้องคิดใหม่ เพราะในสถานการณ์การเมือง
ไทยขณะนี้ชี้ให้เห็นว่า การตอบรับระบบทุนนิยมของรัฐบาลด้วยการเปิดเขตการค้าเสรีที่มีนัยของ “ผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม” แอบแฝง กำลังเป็นอีกปัจจัย
หนึ่งที่ทำให้ประชาชนเข้ามาชุมนุมกันมากขึ้นเพื่อต่อต้านแนวนโยบายการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งการชี้แจงของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี
เพื่อลดความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชนกำลังจะไม่ทันต่อเวลาที่สังคมเคยรอคอยเสียแล้ว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข้อมูลข่าวสารเรื่อง “การเปิดการค้าเสรีกับต่างชาติ”
ลำดับที่ การติดตามข่าว “การเปิดการค้าเสรีกับต่างชาติ” ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 60.4
2 ไม่ติดตาม 39.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย
ลำดับที่ ความต้องการให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ค่าร้อยละ
1 ต้องการ ระบุประเทศที่อยากให้เข้ามาลงทุน 48.1
1) ญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 53.0
2) สหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 51.1
3) จีน คิดเป็นร้อยละ 45.0
4) อังกฤษ คิดเป็นร้อยละ 33.7
5) ฝรั่งเศส คิดเป็นร้อยละ 25.8
6) อื่นๆ อาทิ เกาหลี /ออสเตรเลีย/รัสเซีย และประเทศยุโรป อื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 11.9
2 ไม่ต้องการ 51.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาททางการเมืองของนักธุรกิจไทย
ในปัจจุบัน
ลำดับที่ คิดเห็นเกี่ยวกับบทบาททางการเมืองของนักธุรกิจไทยในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 มีบทบาทมากเกินไป 61.4
2 ไม่ได้มีบทบาทมากเกินไป 17.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 21.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อที่ว่า “การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ” จะทำให้ผลประโยชน์
ส่วนใหญ่ตกเป็นของประชาชน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าเป็นของประชาชน 19.1
2 ไม่เชื่อว่าจะเป็นของประชาชน 52.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 28.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ในกลุ่มที่ระบุไม่เชื่อว่าผลประโยชน์จะตกอยู่กับประชาชนนั้น
ร้อยละ 37.7 ระบุเชื่อว่าผลประโยชน์จะตกเป็นของกลุ่มนายทุน/นักธุรกิจ
ร้อยละ 18.2 ระบุคิดว่าผลประโยชน์น่าจะตกอยู่กับกลุ่มนักการเมือง/รัฐมนตรี
ร้อยละ 14.0 ระบุกลุ่มบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.9 ระบุกลุ่มผู้มีอำนาจทางการเมือง
ร้อยละ 9.1 ระบุรัฐบาล
ร้อยละ 9.1 เช่นเดียวกันที่ระบุอื่นๆ อาทิ กลุ่มผู้มีหุ้น/ผู้เล่นหุ้น /รัฐวิสาหกิจ/ต่างชาติ เป็นต้น
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อเกี่ยวกับการได้เปรียบหรือเสียเปรียบจากการ
“เปิดเสรีทางการค้ากับต่างชาติ” ของประเทศไทย
ลำดับที่ ความเชื่อเกี่ยวกับการได้เปรียบหรือเสียเปรียบจากการ“เปิดเสรีทางการค้ากับต่างชาติ” ของประเทศไทย ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าได้เปรียบ 11.3
2 เชื่อว่าเสียเปรียบ 52.8
3 เสมอตัว 24.9
4 ไม่มีความคิดเห็น 11.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อเกี่ยวกับการได้เปรียบหรือเสียเปรียบจากการ
“เปิดเสรีทางการค้ากับต่างชาติ” ของประชาชน
ลำดับที่ ความเชื่อเกี่ยวกับการได้เปรียบหรือเสียเปรียบจากการ“เปิดเสรีทางการค้ากับต่างชาติ” ของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ได้ประโยชน์มากกว่า 14.7
2 เสียประโยชน์มากกว่า 47.7
3 พอ ๆ กัน 28.6
4 ไม่มีความคิดเห็น 9.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการที่นักธุรกิจไทย “ขายกิจการให้นักลงทุน
ต่างชาติ” จะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้หรือเสียผลประโยชน์
ลำดับที่ คิดเห็นเกี่ยวกับการที่นักธุรกิจไทย “ขายกิจการให้ต่างชาติ” ค่าร้อยละ
1 ประชาชนได้ผลประโยชน์ 11.8
2 เสียผลประโยชน์ 65.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 23.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกังวลใจต่อกรณี “หากต่างชาติจะเข้ามาครอบครอง
ระบบเศรษฐกิจในประเทศไทย”
ลำดับที่ ความกังวลใจของประชาชน ค่าร้อยละ
1 กังวลใจ 53.0
2 ไม่กังวลใจ 14.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 32.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่านักการเมืองส่วนใหญ่ทำเพื่อประโยชน์ของพวกพ้อง
ตนเองหรือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ จากการเปิดเสรีทางการค้ากับต่างชาติ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ทำเพื่อประโยชน์ของพวกพ้องตนเองมากกว่า 61.9
2 ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า 7.8
3 พอ ๆ กัน 27.4
4 ไม่มีความคิดเห็น 2.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-