ที่มาของโครงการ
ในขณะที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพที่เสี่ยงต่อวิกฤตการณ์ทั้งสามด้านคือ การเมือง เศรษฐกิจและสังคม ประชาชนคนไทยทั่วไปกำลังให้ความ
สนใจติดตามข่าวสารสถานการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิด และมีความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการทำร้ายกัน
ของคนไทยด้วยกันเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจ
ภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 22 จังหวัด สำรวจถึงความหลากหลายในอารมณ์ ความรู้สึกและการใช้ปัญญา
ของประชาชนในการแก้ไขวิกฤตการณ์การเมืองในขณะนี้ โดยจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการ
ด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
3. เพื่อสำรวจแนวคิดการใช้ปัญญาในการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมือง
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สำรวจความหลากหลายในอารมณ์ความรู้สึก
ของคนไทยในยามสถานการณ์การเมืองอยู่ในขั้นวิกฤต: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 22 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 12 - 18 พฤษภาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 22 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ น่าน อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร นครนายก ลพบุรี จันทบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี หนองคาย ขอนแก่น ร้อยเอ็ด
อุบลราชธานี สุรินทร์ เลย ชุมพร และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,128 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 6.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 17.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 29.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 20.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 65.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 26.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 8.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.1 เป็นเกษตรกร
ร้อยละ 17.8 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.0 ระบุอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 12.3 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.1 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 2.8 ระบุว่างงาน
ซึ่งร้อยละ 70.9 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ร้อยละ 29.1 พักอาศัยในเขตเทศบาล
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สำรวจความหลากหลายใน
อารมณ์ความรู้สึกของคนไทยในยามสถานการณ์การเมืองอยู่ในขั้นวิกฤต: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 22 จังหวัดทั่วประเทศ” จำนวน
ทั้งสิ้น 3,128 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 12 -18 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจทั่วประเทศครั้งนี้พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.9 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำในช่วง 30
วันที่ผ่านมา โดยร้อยละ 43.1 ติดตามทุกวันหรือเกือบทุกวัน ร้อยละ 26.0 ติดตาม 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 11.8 ติดตาม 1 — 2 วันต่อ
สัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 14.5 ติดตามน้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์หรือมีความหมายว่าบางสัปดาห์ไม่ได้ติดตามเลย และร้อยละ 4.6 ไม่ได้ติดตามข่าวการ
เมืองเลยในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
เมื่อสอบถามถึงประเภทของสื่อที่ใช้ในการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.4
ติดตามผ่านทางโทรทัศน์ รองลงมาคือร้อยละ 63.2 ติดตามผ่านทางวิทยุ ร้อยละ 60.5 ติดตามผ่านการสนทนาพูดคุย ร้อยละ 55.1 ติดตามผ่านหนังสือ
พิมพ์ และร้อยละ 16.9 ติดตามผ่านทางอินเตอร์เนต
เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกต่อสถานการณการเมืองในขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.7 มองว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญ
ของประเทศ ร้อยละ 90.6 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายเจรจากันด้วยสันติวิธี ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.3 รู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ 72.9 วิตก
กังวลต่อเหตุการณ์ทางการเมือง และตัวอย่างเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 37.1 รู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.7 ยังคงรู้สึกภูมิใจต่อความเป็นคนไทยในระดับมากเหมือนเดิม (ร้อยละ 63.8) และมาก
ขึ้น (ร้อยละ 21.9) ในขณะที่ร้อยละ 4.0 ภูมิใจน้อยเหมือนเดิม และร้อยละ 10.3 ภูมิใจน้อยลง
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อจัด 10 อันดับความรู้สึกของประชาชนต่อความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองพรรคไทยรักไทยและพรรคประชา
ธิปัตย์ในขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.8 รู้สึกกังวล ร้อยละ 67.4 รู้สึกหมดหวัง ร้อยละ 64.6 สะอิดสะเอียน ร้อยละ 62.5 รู้สึกขมขื่น ร้อย
ละ 60.9 เกลียดสุดสุด ร้อยละ 58.6 รู้สึกไม่น่าเคารพยกย่อง ร้อยละ 54.8 รู้สึกผิด ละอายใจแทน ร้อยละ 50.5 รู้สึกกลัว ในขณะที่ร้อยละ
21.5 ยังมีความหวัง และร้อยละ 9.9 ยังภูมิใจ ตามลำดับ
แต่เมื่อจัด 10 อันดับความรู้สึกของประชาชนต่อบทบาทหน้าที่ของศาลฎีกา ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
87.5 รู้สึกมีความหวัง ร้อยละ 84.2 รู้สึกน่าเคารพยกย่อง ร้อยละ 81.6 รู้สึกปลื้มใจ ร้อยละ 79.3 รู้สึกภูมิใจ ร้อยละ 76.6 รู้สึกชื่นชม ร้อยละ
69.1 มีกำลังใจ ร้อยละ 52.7 รู้สึกกังวล ร้อยละ 11.8 รู้สึกผิดหวัง ร้อยละ 8.5 มีพลัง และร้อยละ 6.3 มีความสุขใจ ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงกลุ่มบุคคลหรือองค์กรใดที่เป็นต้นเหตุวิกฤตการณ์การเมืองในขณะนี้ ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.9 ระบุ
เป็นนักการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ร้อยละ 79.2 ระบุเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง ร้อยละ 63.1 ระบุเป็นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ
ประชาธิปไตย ร้อยละ 54.8 เป็นสื่อมวลชน ร้อยละ 47.7 เป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร้อยละ 22.0 เป็นกองทัพ ร้อยละ18.8 เป็นประชาชนทั่ว
ไป และร้อยละ 5.3 ระบุเป็นศาลทั้งสามศาล ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อถามประชาชนว่าคิดว่ากลุ่มบุคคลใดต่อไปนี้ที่อาจจะหนีไปอยู่นอกประเทศถ้าบ้านเมืองวิกฤตเสียหาย ผลสำรวจ
พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.8 คิดว่าเป็นกลุ่มนักการเมืองที่มีธุรกิจ/ครอบครัวในต่างประเทศ รองลงมาคือร้อยละ 70.9 คิดว่าเป็นกลุ่มนักธุรกิจ
กลุ่มนายทุน คนร่ำรวย ร้อยละ 63.1 คิดว่าเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ร้อยละ 34.8 คิดว่าเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ร้อยละ 23.2 คิดว่าเป็น
แรงงานต่างชาติ ร้อยละ 13.6 คิดว่าเป็นกลุ่มนักวิชาการ ในขณะที่เพียงร้อยละ 5.2 เท่านั้นที่คิดว่าเป็นประชาชนทั่วไป
เมื่อทำการจัด 10 อันดับความฝันและความหวังของประชาชนเพื่อแก้ไขสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 98.2 อยากเห็นบ้านเมืองสงบ ร้อยละ 96.5 อยากเห็นคนไทยรักสามัคคีกัน ร้อยละ 95.4 อยากทำความดีถวายในหลวง ร้อยละ 90.1 อยากทำ
ทุกอย่างให้ในหลวงสบายพระทัย ร้อยละ 89.5 อยากให้นักการเมืองเลิกทะเลาะกัน ร้อยละ 84.4 อยากเห็นนักการเมืองทำงานหนักเพื่อประชาชนทั้ง
ประเทศ ร้อยละ 80.8 อยากให้ทุกๆ คน เอื้ออาทรต่อกัน ร้อยละ 76.9 อยากเห็นเศรษฐกิจของประเทศเจริญมั่นคง ร้อยละ 72.8 อยากเห็น
ลูกหลานเด็กและเยาวชนมีอนาคตที่ดี มีบ้านเมืองสงบสุข และร้อยละ 70.5 อยากให้ทุกคนมีความสุขความเจริญ
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.7 ยังมีความรู้สึกมั่นใจค่อนข้างมากถึงมากต่อความสำเร็จในการ
ฝ่าวิกฤตการเมืองขณะนี้ไปได้ ถ้าคนไทยทุกคนช่วยกัน ในขณะที่ร้อยละ 15.4 มั่นใจค่อนข้างน้อยถึงน้อย และร้อยละ 3.9 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ในทางสถิติสามารถสะท้อนภาพรวมของความรู้สึกที่หลากหลายของคนไทยทั้งประเทศได้ถึงแม้จะเก็บ
ตัวอย่างมาประมาณสามพันกว่าตัวอย่างเพราะใช้กระบวนการเลือกตัวอย่างโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางสถิติในการเป็นตัวแทนประชากรเป้าหมาย
โดยมีความคลาดเคลื่อนอยู่ที่บวกลบร้อยละ 5 ความเชื่อมั่นอยู่ที่ร้อยละ 95 ซึ่งผลวิจัยครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกๆ ฝ่ายและประชาชนคนไทยทุกคน
ว่า คนไทยส่วนใหญ่ต้องการให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยอยู่ร่วมกันด้วยสันติและเอื้ออาทรต่อกัน ประชาชนไม่ต้องการเห็นพฤติกรรมของนักการเมืองที่โต้
เถียงกันไปมาผ่านสื่อเพราะมันทำให้รู้สึกน่าเบื่อหน่ายและสะอิดสะเอียนกับภาพของความขัดแย้งกันที่พบเจอทุกๆ วันไม่รู้จักจบสิ้น
“ผลสำรวจครั้งนี้สะท้อนภาพในทางบวกอยู่หลายประการเช่น ในท่ามกลางวิกฤตการณ์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองแต่คนไทยส่วน
ใหญ่ยังคงภูมิใจในความเป็นคนไทยและยังมีความฝันและความหวังว่าบ้านเมืองจะสงบสุข อยากให้คนไทยทุกคนรักกัน อยากให้คนไทยทำความดีถวาย
ในหลวงและอยากให้ช่วยกันทำทุกอย่างเพื่อบรรเทาความทุกข์พระทัยของในหลวงพระองค์ท่าน อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ไว้วางใจกลุ่มนัก
เมืองที่มีธุรกิจและครอบครัวในต่างประเทศ รวมไปถึงกลุ่มนายทุนว่าจะอยู่กอบกู้วิกฤตการณ์ของบ้านเมืองอย่างจริงจังหรือว่าจะหนีออกนอกประเทศไป
ถ้าบ้านเมืองเกิดลุกเป็นไฟเพราะความขัดแย้งที่พวกเขาก่อกันไว้ให้ประชาชนเกิดความเกลียดชังต่อกันและกันในสังคม ดังนั้น คนไทยทุกคนต้องมีสติไม่
หลงไปตามอารมณ์ความขัดแย้งแย่งชิงผลประโยชน์และอำนาจของกลุ่มนักการเมืองและนายทุน ในขณะที่นักการเมืองที่ต้องการฟื้นความนิยมศรัทธาของ
ประชาชนกลับคืนมาต้องทำงานอย่างหนักแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้เห็นไม่ใช่ออกมาตอบโต้กันไปมาแบบที่ปรากฎในทุกวันนี้” ดร.นพดล
กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 43.1
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 26.0
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 11.8
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 14.5
5 ไม่ได้ติดตาม 4.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเภทของสื่อสารมวลชนที่ใช้ในการติดตามข่าว ช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประเภทของสื่อมวลชน ค่าร้อยละ
1 โทรทัศน์ 92.4
2 วิทยุ 63.2
3 สนทนาพูดคุย 60.5
4 หนังสือพิมพ์ 55.1
5 อินเตอร์เนต 16.9
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 91.7 8.3 100.0
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 72.9 27.1 100.0
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 37.1 62.9 100.0
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 9.5 90.5 100.0
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 18.6 81.4 100.0
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 23.1 76.9 100.0
7 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 82.3 17.7 100.0
8 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี 90.6 9.4 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความภูมิใจต่อความเป็นคนไทยในสถานการณ์การเมืองขณะนี้
ลำดับที่ ระดับความภูมิใจต่อความเป็นคนไทยในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 มากขึ้น 21.9
2 มากเหมือนเดิม 63.8
3 น้อยเหมือนเดิม 4.0
4 น้อยลง 10.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดง 10 อันดับความรู้สึกของประชาชนต่อความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองพรรคไทยรักไทย
และพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)*
ลำดับที่ ความรู้สึกของประชาชนต่อความขัดแย้งระหว่างนักการเมือง ทรท. และ ปชป. ค่าร้อยละ
1 กังวล 70.8
2 หมดหวัง 67.4
3 สะอิดสะเอียน 64.6
4 ขมขื่น 62.5
5 เกลียดสุดสุด 60.9
6 ไม่น่าเคารพยกย่อง 58.6
7 รู้สึกผิด ละอายใจแทน 54.8
8 กลัว 50.5
9 มีความหวัง 21.5
10 ภูมิใจ 9.9
*ปรับใช้จาก Marcus, E., G., et.al. (2000). Affective Intelligence and Political Judgment
ตารางที่ 6 แสดง 10 อันดับความรู้สึกของประชาชนต่อบทบาทหน้าที่ของศาลปกครอง ศาลฎีกา
และศาลรัฐธรรมนูญในการแก้วิกฤตการณ์การเมืองขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกของประชาชนต่อบทบาทหน้าที่ของสามศาล ค่าร้อยละ
1 มีความหวัง 87.5
2 น่าเคารพยกย่อง 84.2
3 ปลื้มใจ 81.6
4 ภูมิใจ 79.3
5 ชื่นชม 76.6
6 มีกำลังใจ 69.1
7 กังวล 52.7
8 ผิดหวัง 11.8
9 มีพลัง 8.5
10 มีความสุขใจ 6.3
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ กลุ่มบุคคล/องค์กรที่เป็นต้นเหตุวิกฤตการณ์การเมืองขณะนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กลุ่มบุคคล/องค์กรที่เป็นต้นเหตุวิกฤตการณ์เมืองในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 นักการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน 85.9
2 คณะกรรมการการเลือกตั้ง 79.2
3 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 63.1
4 สื่อมวลชน 54.8
5 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 47.7
6 กองทัพ 22.0
7 ประชาชนทั่วไป 18.8
8 ศาลทั้งสามศาล ได้แก่ ศาลฎีกา ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ 5.3
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ กลุ่มบุคคลที่อาจจะหนีไปอยู่นอกประเทศถ้าบ้านเมืองวิกฤตเสียหาย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กลุ่มบุคคลที่อาจจะหนีไปอยู่นอกประเทศถ้าบ้านเมืองวิกฤตเสียหาย ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นกลุ่มนักการเมืองที่มีธุรกิจ/ครอบครัวในต่างประเทศ 73.8
2 คิดว่าเป็นกลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มนายทุน คนร่ำรวย 70.9
3 ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ 63.1
4 นักเคลื่อนไหวทางการเมือง 34.8
5 แรงงานต่างชาติ 23.2
6 นักวิชาการ 13.6
7 ประชาชนทั่วไป 5.2
8 อื่นๆ อาทิ เครือญาตินักการเมือง คนถือสองสัญชาติ เป็นต้น 11.6
ตารางที่ 9 แสดง 10 อันดับ ความฝันและความหวังเพื่อแก้ไขสถานการณ์การเมืองขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความฝันและความหวังของประชาชน ค่าร้อยละ
1 อยากเห็นบ้านเมืองสงบ 98.2
2 อยากเห็นคนไทยรักสามัคคีกัน 96.5
3 อยากทำความดีถวายในหลวง 95.4
4 อยากทำทุกอย่างให้ในหลวงสบายพระทัย 90.1
5 อยากให้นักการเมืองเลิกทะเลาะกัน 89.5
6 อยากเห็นนักการเมืองทำงานหนักเพื่อประชาชนทั้งประเทศ 84.4
7 อยากให้ทุกๆ คนเอื้ออาทรต่อกัน 80.8
8 อยากเห็นเศรษฐกิจของประเทศเจริญมั่นคง 76.9
9 อยากเห็นลูกหลานเด็กและเยาวชนมีอนาคตที่ดี มีบ้านเมืองสงบสุข 72.8
10 อยากให้ทุกคนมีความสุขความเจริญ 70.5
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจต่อความสำเร็จในการฝ่าวิกฤตการเมือง
ถ้าคนไทยทุกคนช่วยกัน
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อความสำเร็จในการฝ่าวิกฤตการเมือง ถ้าคนไทยช่วยกัน ค่าร้อยละ
1 มั่นใจมาก 34.8
2 ค่อนข้างมาก 45.9
3 ค่อนข้างน้อย 10.5
4 น้อย 4.9
5 ไม่มีความเห็น 3.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในขณะที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพที่เสี่ยงต่อวิกฤตการณ์ทั้งสามด้านคือ การเมือง เศรษฐกิจและสังคม ประชาชนคนไทยทั่วไปกำลังให้ความ
สนใจติดตามข่าวสารสถานการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิด และมีความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการทำร้ายกัน
ของคนไทยด้วยกันเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจ
ภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 22 จังหวัด สำรวจถึงความหลากหลายในอารมณ์ ความรู้สึกและการใช้ปัญญา
ของประชาชนในการแก้ไขวิกฤตการณ์การเมืองในขณะนี้ โดยจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการ
ด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
3. เพื่อสำรวจแนวคิดการใช้ปัญญาในการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมือง
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สำรวจความหลากหลายในอารมณ์ความรู้สึก
ของคนไทยในยามสถานการณ์การเมืองอยู่ในขั้นวิกฤต: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 22 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 12 - 18 พฤษภาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 22 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ น่าน อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร นครนายก ลพบุรี จันทบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี หนองคาย ขอนแก่น ร้อยเอ็ด
อุบลราชธานี สุรินทร์ เลย ชุมพร และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,128 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 6.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 17.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 29.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 20.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 65.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 26.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 8.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.1 เป็นเกษตรกร
ร้อยละ 17.8 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.0 ระบุอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 12.3 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.1 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 2.8 ระบุว่างงาน
ซึ่งร้อยละ 70.9 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ร้อยละ 29.1 พักอาศัยในเขตเทศบาล
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สำรวจความหลากหลายใน
อารมณ์ความรู้สึกของคนไทยในยามสถานการณ์การเมืองอยู่ในขั้นวิกฤต: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 22 จังหวัดทั่วประเทศ” จำนวน
ทั้งสิ้น 3,128 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 12 -18 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจทั่วประเทศครั้งนี้พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.9 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำในช่วง 30
วันที่ผ่านมา โดยร้อยละ 43.1 ติดตามทุกวันหรือเกือบทุกวัน ร้อยละ 26.0 ติดตาม 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 11.8 ติดตาม 1 — 2 วันต่อ
สัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 14.5 ติดตามน้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์หรือมีความหมายว่าบางสัปดาห์ไม่ได้ติดตามเลย และร้อยละ 4.6 ไม่ได้ติดตามข่าวการ
เมืองเลยในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
เมื่อสอบถามถึงประเภทของสื่อที่ใช้ในการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.4
ติดตามผ่านทางโทรทัศน์ รองลงมาคือร้อยละ 63.2 ติดตามผ่านทางวิทยุ ร้อยละ 60.5 ติดตามผ่านการสนทนาพูดคุย ร้อยละ 55.1 ติดตามผ่านหนังสือ
พิมพ์ และร้อยละ 16.9 ติดตามผ่านทางอินเตอร์เนต
เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกต่อสถานการณการเมืองในขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.7 มองว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญ
ของประเทศ ร้อยละ 90.6 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายเจรจากันด้วยสันติวิธี ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.3 รู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ 72.9 วิตก
กังวลต่อเหตุการณ์ทางการเมือง และตัวอย่างเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 37.1 รู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.7 ยังคงรู้สึกภูมิใจต่อความเป็นคนไทยในระดับมากเหมือนเดิม (ร้อยละ 63.8) และมาก
ขึ้น (ร้อยละ 21.9) ในขณะที่ร้อยละ 4.0 ภูมิใจน้อยเหมือนเดิม และร้อยละ 10.3 ภูมิใจน้อยลง
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อจัด 10 อันดับความรู้สึกของประชาชนต่อความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองพรรคไทยรักไทยและพรรคประชา
ธิปัตย์ในขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.8 รู้สึกกังวล ร้อยละ 67.4 รู้สึกหมดหวัง ร้อยละ 64.6 สะอิดสะเอียน ร้อยละ 62.5 รู้สึกขมขื่น ร้อย
ละ 60.9 เกลียดสุดสุด ร้อยละ 58.6 รู้สึกไม่น่าเคารพยกย่อง ร้อยละ 54.8 รู้สึกผิด ละอายใจแทน ร้อยละ 50.5 รู้สึกกลัว ในขณะที่ร้อยละ
21.5 ยังมีความหวัง และร้อยละ 9.9 ยังภูมิใจ ตามลำดับ
แต่เมื่อจัด 10 อันดับความรู้สึกของประชาชนต่อบทบาทหน้าที่ของศาลฎีกา ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
87.5 รู้สึกมีความหวัง ร้อยละ 84.2 รู้สึกน่าเคารพยกย่อง ร้อยละ 81.6 รู้สึกปลื้มใจ ร้อยละ 79.3 รู้สึกภูมิใจ ร้อยละ 76.6 รู้สึกชื่นชม ร้อยละ
69.1 มีกำลังใจ ร้อยละ 52.7 รู้สึกกังวล ร้อยละ 11.8 รู้สึกผิดหวัง ร้อยละ 8.5 มีพลัง และร้อยละ 6.3 มีความสุขใจ ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงกลุ่มบุคคลหรือองค์กรใดที่เป็นต้นเหตุวิกฤตการณ์การเมืองในขณะนี้ ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.9 ระบุ
เป็นนักการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ร้อยละ 79.2 ระบุเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง ร้อยละ 63.1 ระบุเป็นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ
ประชาธิปไตย ร้อยละ 54.8 เป็นสื่อมวลชน ร้อยละ 47.7 เป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร้อยละ 22.0 เป็นกองทัพ ร้อยละ18.8 เป็นประชาชนทั่ว
ไป และร้อยละ 5.3 ระบุเป็นศาลทั้งสามศาล ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อถามประชาชนว่าคิดว่ากลุ่มบุคคลใดต่อไปนี้ที่อาจจะหนีไปอยู่นอกประเทศถ้าบ้านเมืองวิกฤตเสียหาย ผลสำรวจ
พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.8 คิดว่าเป็นกลุ่มนักการเมืองที่มีธุรกิจ/ครอบครัวในต่างประเทศ รองลงมาคือร้อยละ 70.9 คิดว่าเป็นกลุ่มนักธุรกิจ
กลุ่มนายทุน คนร่ำรวย ร้อยละ 63.1 คิดว่าเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ร้อยละ 34.8 คิดว่าเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ร้อยละ 23.2 คิดว่าเป็น
แรงงานต่างชาติ ร้อยละ 13.6 คิดว่าเป็นกลุ่มนักวิชาการ ในขณะที่เพียงร้อยละ 5.2 เท่านั้นที่คิดว่าเป็นประชาชนทั่วไป
เมื่อทำการจัด 10 อันดับความฝันและความหวังของประชาชนเพื่อแก้ไขสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 98.2 อยากเห็นบ้านเมืองสงบ ร้อยละ 96.5 อยากเห็นคนไทยรักสามัคคีกัน ร้อยละ 95.4 อยากทำความดีถวายในหลวง ร้อยละ 90.1 อยากทำ
ทุกอย่างให้ในหลวงสบายพระทัย ร้อยละ 89.5 อยากให้นักการเมืองเลิกทะเลาะกัน ร้อยละ 84.4 อยากเห็นนักการเมืองทำงานหนักเพื่อประชาชนทั้ง
ประเทศ ร้อยละ 80.8 อยากให้ทุกๆ คน เอื้ออาทรต่อกัน ร้อยละ 76.9 อยากเห็นเศรษฐกิจของประเทศเจริญมั่นคง ร้อยละ 72.8 อยากเห็น
ลูกหลานเด็กและเยาวชนมีอนาคตที่ดี มีบ้านเมืองสงบสุข และร้อยละ 70.5 อยากให้ทุกคนมีความสุขความเจริญ
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.7 ยังมีความรู้สึกมั่นใจค่อนข้างมากถึงมากต่อความสำเร็จในการ
ฝ่าวิกฤตการเมืองขณะนี้ไปได้ ถ้าคนไทยทุกคนช่วยกัน ในขณะที่ร้อยละ 15.4 มั่นใจค่อนข้างน้อยถึงน้อย และร้อยละ 3.9 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ในทางสถิติสามารถสะท้อนภาพรวมของความรู้สึกที่หลากหลายของคนไทยทั้งประเทศได้ถึงแม้จะเก็บ
ตัวอย่างมาประมาณสามพันกว่าตัวอย่างเพราะใช้กระบวนการเลือกตัวอย่างโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางสถิติในการเป็นตัวแทนประชากรเป้าหมาย
โดยมีความคลาดเคลื่อนอยู่ที่บวกลบร้อยละ 5 ความเชื่อมั่นอยู่ที่ร้อยละ 95 ซึ่งผลวิจัยครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกๆ ฝ่ายและประชาชนคนไทยทุกคน
ว่า คนไทยส่วนใหญ่ต้องการให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยอยู่ร่วมกันด้วยสันติและเอื้ออาทรต่อกัน ประชาชนไม่ต้องการเห็นพฤติกรรมของนักการเมืองที่โต้
เถียงกันไปมาผ่านสื่อเพราะมันทำให้รู้สึกน่าเบื่อหน่ายและสะอิดสะเอียนกับภาพของความขัดแย้งกันที่พบเจอทุกๆ วันไม่รู้จักจบสิ้น
“ผลสำรวจครั้งนี้สะท้อนภาพในทางบวกอยู่หลายประการเช่น ในท่ามกลางวิกฤตการณ์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองแต่คนไทยส่วน
ใหญ่ยังคงภูมิใจในความเป็นคนไทยและยังมีความฝันและความหวังว่าบ้านเมืองจะสงบสุข อยากให้คนไทยทุกคนรักกัน อยากให้คนไทยทำความดีถวาย
ในหลวงและอยากให้ช่วยกันทำทุกอย่างเพื่อบรรเทาความทุกข์พระทัยของในหลวงพระองค์ท่าน อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ไว้วางใจกลุ่มนัก
เมืองที่มีธุรกิจและครอบครัวในต่างประเทศ รวมไปถึงกลุ่มนายทุนว่าจะอยู่กอบกู้วิกฤตการณ์ของบ้านเมืองอย่างจริงจังหรือว่าจะหนีออกนอกประเทศไป
ถ้าบ้านเมืองเกิดลุกเป็นไฟเพราะความขัดแย้งที่พวกเขาก่อกันไว้ให้ประชาชนเกิดความเกลียดชังต่อกันและกันในสังคม ดังนั้น คนไทยทุกคนต้องมีสติไม่
หลงไปตามอารมณ์ความขัดแย้งแย่งชิงผลประโยชน์และอำนาจของกลุ่มนักการเมืองและนายทุน ในขณะที่นักการเมืองที่ต้องการฟื้นความนิยมศรัทธาของ
ประชาชนกลับคืนมาต้องทำงานอย่างหนักแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้เห็นไม่ใช่ออกมาตอบโต้กันไปมาแบบที่ปรากฎในทุกวันนี้” ดร.นพดล
กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 43.1
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 26.0
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 11.8
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 14.5
5 ไม่ได้ติดตาม 4.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเภทของสื่อสารมวลชนที่ใช้ในการติดตามข่าว ช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประเภทของสื่อมวลชน ค่าร้อยละ
1 โทรทัศน์ 92.4
2 วิทยุ 63.2
3 สนทนาพูดคุย 60.5
4 หนังสือพิมพ์ 55.1
5 อินเตอร์เนต 16.9
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 91.7 8.3 100.0
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 72.9 27.1 100.0
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 37.1 62.9 100.0
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 9.5 90.5 100.0
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 18.6 81.4 100.0
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 23.1 76.9 100.0
7 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 82.3 17.7 100.0
8 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี 90.6 9.4 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความภูมิใจต่อความเป็นคนไทยในสถานการณ์การเมืองขณะนี้
ลำดับที่ ระดับความภูมิใจต่อความเป็นคนไทยในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 มากขึ้น 21.9
2 มากเหมือนเดิม 63.8
3 น้อยเหมือนเดิม 4.0
4 น้อยลง 10.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดง 10 อันดับความรู้สึกของประชาชนต่อความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองพรรคไทยรักไทย
และพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)*
ลำดับที่ ความรู้สึกของประชาชนต่อความขัดแย้งระหว่างนักการเมือง ทรท. และ ปชป. ค่าร้อยละ
1 กังวล 70.8
2 หมดหวัง 67.4
3 สะอิดสะเอียน 64.6
4 ขมขื่น 62.5
5 เกลียดสุดสุด 60.9
6 ไม่น่าเคารพยกย่อง 58.6
7 รู้สึกผิด ละอายใจแทน 54.8
8 กลัว 50.5
9 มีความหวัง 21.5
10 ภูมิใจ 9.9
*ปรับใช้จาก Marcus, E., G., et.al. (2000). Affective Intelligence and Political Judgment
ตารางที่ 6 แสดง 10 อันดับความรู้สึกของประชาชนต่อบทบาทหน้าที่ของศาลปกครอง ศาลฎีกา
และศาลรัฐธรรมนูญในการแก้วิกฤตการณ์การเมืองขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกของประชาชนต่อบทบาทหน้าที่ของสามศาล ค่าร้อยละ
1 มีความหวัง 87.5
2 น่าเคารพยกย่อง 84.2
3 ปลื้มใจ 81.6
4 ภูมิใจ 79.3
5 ชื่นชม 76.6
6 มีกำลังใจ 69.1
7 กังวล 52.7
8 ผิดหวัง 11.8
9 มีพลัง 8.5
10 มีความสุขใจ 6.3
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ กลุ่มบุคคล/องค์กรที่เป็นต้นเหตุวิกฤตการณ์การเมืองขณะนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กลุ่มบุคคล/องค์กรที่เป็นต้นเหตุวิกฤตการณ์เมืองในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 นักการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน 85.9
2 คณะกรรมการการเลือกตั้ง 79.2
3 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 63.1
4 สื่อมวลชน 54.8
5 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 47.7
6 กองทัพ 22.0
7 ประชาชนทั่วไป 18.8
8 ศาลทั้งสามศาล ได้แก่ ศาลฎีกา ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ 5.3
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ กลุ่มบุคคลที่อาจจะหนีไปอยู่นอกประเทศถ้าบ้านเมืองวิกฤตเสียหาย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กลุ่มบุคคลที่อาจจะหนีไปอยู่นอกประเทศถ้าบ้านเมืองวิกฤตเสียหาย ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นกลุ่มนักการเมืองที่มีธุรกิจ/ครอบครัวในต่างประเทศ 73.8
2 คิดว่าเป็นกลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มนายทุน คนร่ำรวย 70.9
3 ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ 63.1
4 นักเคลื่อนไหวทางการเมือง 34.8
5 แรงงานต่างชาติ 23.2
6 นักวิชาการ 13.6
7 ประชาชนทั่วไป 5.2
8 อื่นๆ อาทิ เครือญาตินักการเมือง คนถือสองสัญชาติ เป็นต้น 11.6
ตารางที่ 9 แสดง 10 อันดับ ความฝันและความหวังเพื่อแก้ไขสถานการณ์การเมืองขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความฝันและความหวังของประชาชน ค่าร้อยละ
1 อยากเห็นบ้านเมืองสงบ 98.2
2 อยากเห็นคนไทยรักสามัคคีกัน 96.5
3 อยากทำความดีถวายในหลวง 95.4
4 อยากทำทุกอย่างให้ในหลวงสบายพระทัย 90.1
5 อยากให้นักการเมืองเลิกทะเลาะกัน 89.5
6 อยากเห็นนักการเมืองทำงานหนักเพื่อประชาชนทั้งประเทศ 84.4
7 อยากให้ทุกๆ คนเอื้ออาทรต่อกัน 80.8
8 อยากเห็นเศรษฐกิจของประเทศเจริญมั่นคง 76.9
9 อยากเห็นลูกหลานเด็กและเยาวชนมีอนาคตที่ดี มีบ้านเมืองสงบสุข 72.8
10 อยากให้ทุกคนมีความสุขความเจริญ 70.5
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจต่อความสำเร็จในการฝ่าวิกฤตการเมือง
ถ้าคนไทยทุกคนช่วยกัน
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อความสำเร็จในการฝ่าวิกฤตการเมือง ถ้าคนไทยช่วยกัน ค่าร้อยละ
1 มั่นใจมาก 34.8
2 ค่อนข้างมาก 45.9
3 ค่อนข้างน้อย 10.5
4 น้อย 4.9
5 ไม่มีความเห็น 3.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-