ที่มาของโครงการ
ข่าวน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างที่มีหลายอำเภอได้รับความเสียหายหนัก มีทั้งผู้สูญหายและเสียชีวิตจำนวนมาก ดูเหมือนจะเป็น
เหตุการณ์ที่ช่วยกลบกระแสความร้อนแรงทางการเมืองลงได้ชั่วขณะ แต่เหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นดังกล่าวนั้น ก็ได้สร้างความสะเทือนใจเป็นอย่างมากให้
กับคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งได้มีการระดมความช่วยเหลือในทุกรูปแบบจากทุกองค์กรลงไปสู่พื้นที่ประสบภัย แต่เป็นที่น่ากังขาว่าทุกครั้งที่เกิดความเสียหาย
จากภัยธรรมชาติร้ายแรงขึ้นมา กระแสการวิพากษ์วิจารณ์ถึงระบบสัญญาณเตือนภัยจะเกิดควบคู่ตามมาทุกครั้งไป ทั้งๆ ที่ในเวลาปกติไม่เคยมีการตื่นตัว
ในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปใน 14 จังหวัดทั่ว
ประเทศ ถึงประเด็นความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ทั้งนี้สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่ง
อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกของประชาชนต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมภาคเหนือ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีสถานีข่าวเตือนภัยพิบัติ 24 ช.ม.
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความรู้สึกของสาธารณชนคนไทยต่อภัยพิบัติ
ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด” ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 23 — 27
พฤษภาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 14 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ หนองคาย ขอนแก่น สุรินทร์ นครศรีธรรมราช และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,856 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 44.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 26.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 82.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 15.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.7 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.5 ระบุอาชีพเกษตรกร
ร้อยละ 14.9 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.7 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 4.9 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.1 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความรู้สึกของสาธารณชนคน
ไทยต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 2,856 ตัวอย่าง
ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 23 — 27 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.6 ทราบข่าวน้ำท่วมดินโคลนถล่มที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ มีเพียงร้อยละ 6.4 เท่านั้นที่ไม่
ทราบข่าว จากนั้นคณะผู้วิจัยสอบถามประชาชนเฉพาะกลุ่มที่ทราบข่าวถึงความรู้สึกโดยเปิดให้คนตอบตอบเอง ผลสำรวจพบว่าร้อยละ 49.7 เศร้าใจที่
ชาวบ้านต้องสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินมากมาย รองลงมาคือร้อยละ 39.6 เสียใจที่เกิดเรื่องเช่นนี้กับประชาชน ร้อยละ 10.1 เห็นใจในเคราะห์ร้าย
ที่ประชาชนได้รับ ร้อยละ 9.2 สลดใจที่เห็นภาพความสูญเสีย ร้อยละ 7.6 อยากช่วยบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ร้อยละ 4.4 ตกใจเพราะเป็น
ภัยพิบัติที่ร้ายแรง ร้อยละ 3.9 สงสาร และร้อยละ 8.4 ระบุอื่นๆ เช่น รู้ถึงความสำคัญของป่าไม้ เป็นห่วงใยผู้ประสบภัย และอยากให้เหตุการณ์
ร้ายๆ ผ่านไปโดยเร็ว
เมื่อสอบถามถึงความเชื่อว่ามีการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมหรือไม่ ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.4 เชื่อ ร้อยละ 5.3
เท่านั้นที่ไม่เชื่อ และร้อยละ 15.3 ไม่มีความเห็น ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.9 เชื่อว่ามีนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลรู้เห็นเป็นใจกับกลุ่มนาย
ทุนตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 6.8 ไม่เชื่อและร้อยละ 31.3 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่เช่นกัน
หรือร้อยละ 58.4 คิดว่าเรื่องปัญหาตัดไม้ทำลายป่าจะเงียบหายไปเอง ในขณะที่ร้อยละ 12.2 ไม่คิดว่าจะเงียบหายไป และร้อยละ 29.4 ไม่มีความ
เห็น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อจัด 10 อันดับความประทับใจของประชาชนต่อหน่วยงานต่างๆ ที่กำลังทำงานช่วยเหลือ
ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติอยู่ในขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.9 ประทับใจกองทัพ รองลงมาคือร้อยละ 52.6 ประทับใจมูลนิธิต่างๆ
ร้อยละ 46.3 ประทับใจประชาชนทั่วไป ร้อยละ 44.0 ประทับใจการทำงานของสื่อมวลชน ร้อยละ 40.0 ประทับใจการทำงานของกระทรวงสาธารณ
สุข เป็นที่น่าสังเกตว่า “รัฐบาล” กลับได้รับความประทับใจจากประชาชนเพียงร้อยละ 38.7 เท่านั้น ซึ่งไม่น่าจะอยู่ในอันดับนี้ ในขณะที่รองลงไปเป็น
ร้อยละ 28.1 ประทับใจสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร้อยละ 22.2 ประทับใจกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 21.6 ประทับใจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และร้อยละ 17.0 ประทับใจกระทรวงศึกษาธิการ
เมื่อสอบถามถึงประสิทธิภาพของการเตือนภัยที่มีอยู่ในขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.3 คิดว่ายังไม่มีประสิทธิภาพ ในขณะ
ที่ร้อยละ 12.1 คิดว่ามีประสิทธิภาพแล้ว และร้อยละ 13.6 ไม่มีความเห็น ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.6 เลยทีเดียวที่คิดว่าควรมีหน่วยงาน
เคลื่อนที่เร็วเพื่ออพยพประชาชนหนีภัยพิบัติต่างๆ โดยเฉพาะ ในขณะที่เพียงร้อยละ 3.4 เท่านั้นที่คิดว่ายังไม่จำเป็นต้องมี
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการมีสถานีข่าวเฉพาะเรื่องการแจ้งเตือนภัยพิบัติต่างๆ ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.9 คิดว่าควร
มี ในขณะที่ร้อยละ 4.1 คิดว่ายังไม่จำเป็นต้องมี สำหรับรูปแบบของสถานีข่าวในความคิดเห็นของกลุ่มประชาชนที่คิดว่าควรมีสถานีข่าวเฉพาะขึ้นมานั้น
ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.5 คิดว่าควรเป็นสถานีโทรทัศน์แบบฟรีทีวีที่มีสปอนเซอร์โฆษณาคล้ายๆ กับช่อง 3 5 7 9 11 และไอทีวี รอง
ลงมาคือร้อยละ 58.5 คิดว่าควรเป็นสถานีที่มีข่าวแจ้งเตือนภัยพิบัติตลอด 24 ชั่วโมง ร้อยละ 56.7 คิดว่าควรเป็นสถานีวิทยุและวิทยุชุมชน ร้อยละ
37.3 คิดว่าเป็นสถานีให้ความรู้ว่าควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อเจอภัยพิบัติทางธรรมชาติประเภทต่างๆ ร้อยละ 18.3 คิดว่าควรเป็นสถานีให้ความบันเทิง
ด้วยภาพยนต์เกี่ยวกับภัยพิบัติต่างๆ ทางธรรมชาติ
เมื่อสอบถามถึงข้อมูลข่าวสารภัยพิบัติที่ควรมีการแจ้งเตือนประชาชนโดยตอบได้มากกว่า 1 ข้อ ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.8
ควรเป็นเรื่องน้ำท่วม รองลงมาคือร้อยละ 78.4 เป็นเรื่องพายุ ร้อยละ 78.4 เช่นกันเป็นเรื่องแผ่นดินไหว ร้อยละ 71.1 เป็นเรื่องสึนามิ ร้อยละ
49.7 เป็นเรื่องคลื่นลมแรงสูง ร้อยละ 46.0 เป็นเรื่องภัยจากแมลงและสัตว์พาหะนำโรค ร้อยละ 43.8 ระบุเป็นเรื่องฟ้าผ่า/ฝนตกหนัก และร้อยละ
43.4 เป็นเรื่องภัยแล้ง ตามลำดับ
สำหรับข้อเสนอแนะของประชาชนเพื่อป้องกันภัยพิบัติจากน้ำท่วมดินถล่ม ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.6 ระบุว่ารัฐบาลและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรปราบปรามพวกตัดไม้ทำลายป่าโดยเด็ดขาด รองลงมาคือร้อยละ 60.1 ระบุร่วมกันปลูกป่าและรณรงค์การอนุรักษ์ป่าตาม
โครงการพระราชดำริ ร้อยละ 55.3 ควรมีการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัย เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของความเสียหาย ร้อยละ 50.7 ควรปราบ
ปรามทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจัง ร้อยละ 45.4 ควรให้ความรู้กับประชาชนในการเตรียมตัวรับภัยพิบัติต่างๆ ร้อยละ 44.6 ควรมีหน่วยงานรับผิดชอบ
เรื่องภัยพิบัติแบบครบวงจรโดยตรง ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ ถ้ารัฐบาลต้องการสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน คงต้องเร่งทำงานอย่างหนัก
อีกหลายเท่าตัวเพื่อฟื้นความศรัทธากลับคืนมา รัฐบาลควรทำอย่างน้อยห้าประการคือ
ประการแรก ปราบปรามขบวนการตัดไม้ทำลายป่าอย่างแท้จริง
ประการที่สอง สร้างระบบเตือนภัยพิบัติต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หอเตือนภัยในพื้นที่เสียง การรายงานสภาพอากาศในพื้นที่เฉพาะ
อย่างแม่นยำ ควรมีหน่วยเคลื่อนที่เร็วในการอพยพประชาชน และควรสนับสนุนให้มีสถานีข่าวรายงานสภาพอากาศ ภัยพิบัติต่างๆ ตลอด 24 ชั่วโมง
ประการที่สาม เร่งสร้างที่พักอาศัยถาวรและสร้างงานให้กลุ่มประชาชนผู้รอดชีวิตอย่างทั่วถึง นำประชาชนผู้ประสบภัยกลับมามีสภาพชีวิตที่
เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้ความเดือดร้อนของประชาชนเหล่านี้กลายเป็นปัญหาสังคมด้านอื่นๆ ต่อไป เพราะการบริจาคสิ่งของต่างๆ เป็นประโยชน์
เพียงแค่ด้านจิตวิทยาและด้านวัตถุระยะสั้นๆ เท่านั้น
ประการที่สี่ รัฐบาลควรมียุทธศาสตร์บูรณาการหน่วยงานต่างๆ เพื่อทำงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติต่างๆ อย่างครบวงจรและ
ต่อเนื่อง ยุทธศาสตร์เหล่านั้นควรมีระบบกลไกต่างๆ ที่รองรับอย่างถาวรไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับบุคคลผู้นำหรือรัฐบาลใด นั่นหมายความว่า ถึงแม้ไม่ใช่
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี และไม่ใช่พรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล ระบบกลไกต่างๆ ก็ควรมีอยู่และขับเคลื่อนต่อไปได้
ประการที่ห้า รัฐบาลควรเร่งแก้ปัญหาที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอรัปชั่นจนกลาย
เป็นขบวนการทำลายป่าไม้และทำลายความมั่นคงของประเทศสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนขณะนี้
“ตามจริงแล้วทั้งรัฐบาลและพรรคร่วมฝ่ายค้านควรลงทุนร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนต่างๆ ของประชาชน ไม่ใช่เฉพาะเรื่องภัย
พิบัติน้ำท่วมดินถล่มในภาคเหนือขณะนี้เท่านั้น แต่ควรลงทุนร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนสำคัญๆ ทุกๆ เรื่อง เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาความ
ไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาเศรษฐกิจ ความยากจน และภัยพิบัติต่างๆ ถ้าทำเช่นนี้ได้น่าจะสามารถฟื้นความนิยมศรัทธาของประชาชนกลับ
มาสู่สถาบันการเมืองของทุกๆ พรรคการเมืองได้ และน่าจะช่วยลดภาพของความขัดแย้งมุ่งแต่จะเอาชนะกันทางการเมืองอย่างเดียว” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวอุทกภัย (น้ำท่วม) ที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือ
ลำดับที่ การทราบข่าวอุทกภัย (น้ำท่วม) ที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือ ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 93.6
2 ไม่ทราบข่าว 6.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเห็นภาพความเสียหายที่เกิดจากภัยน้ำท่วมในครั้งนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเห็นภาพความเสียหายที่เกิดจากภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 เศร้าใจที่ชาวบ้านต้องสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินมากมาย 49.7
2 เสียใจที่เกิดเรื่องเช่นนี้กับประชาชน 39.6
3 เห็นใจ ในเคราะห์ร้ายที่ได้รับ 10.1
4 สลดใจ ที่เห็นภาพความสูญเสีย 9.2
5 อยากช่วยบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย 7.6
6 ตกใจเพราะเป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรง 4.4
7 สงสาร 3.9
8 อื่นๆ อาทิ รู้สึกถึงความสำคัญของป่าไม้ /เป็นห่วงเป็นใยผู้ประสบภัย/
อยากให้เหตุการณ์ร้ายๆ ผ่านไปโดยเร็ว 8.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม
ลำดับที่ ความเชื่อของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อ 79.4
2 ไม่เชื่อ 5.3
3 ไม่มีความเห็น 15.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลรู้เห็นเป็นใจกับกลุ่มนายทุนตัดไม้
ทำลายป่าในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม (ค่าร้อยละของกลุ่มที่เชื่อว่ามีการตัดไม้ทำลายป่า)
ลำดับที่ ความเชื่อของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามี 61.9
2 ไม่เชื่อ 6.8
3 ไม่มีความเห็น 31.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นที่ว่าเรื่องปัญหาตัดไม้ทำลายป่าจะเงียบหายไปหรือไม่
(ค่าร้อยละของกลุ่มที่เชื่อว่ามีการตัดไม้ทำลายป่า)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเรื่องจะเงียบหายไป 58.4
2 ไม่คิดว่าจะเงียบหายไป 12.2
3 ไม่มีความเห็น 29.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดง 10 อันดับค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความประทับใจต่อหน่วยงานต่างๆ ที่กำลังทำงานช่วยเหลือ
ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติจากน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ หน่วยงาน ประทับใจค่าร้อยละ
1 กองทัพ 70.9
2 มูลนิธิต่างๆ 52.6
3 ประชาชนทั่วไป 46.3
4 สื่อมวลชน 44.0
5 กระทรวงสาธารณสุข 40.0
6 รัฐบาล 38.7
7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 28.1
8 กระทรวงมหาดไทย 22.2
9 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 21.6
10 กระทรวงศึกษาธิการ 17.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการเตือนภัยพิบัติทางธรรมธรรมชาติ
ที่มีอยู่ในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามีประสิทธิภาพแล้ว 12.1
2 คิดว่ายังไม่มี 74.3
3 ไม่มีความเห็น 13.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการมีหน่วยงานเคลื่อนที่เร็วเพื่ออพยพคน
หนีจากภัยพิบัติต่างๆ โดยเฉพาะ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรมี 96.6
2 ยังไม่จำเป็นต้องมี 3.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการมีสถานีข่าวเฉพาะเรื่องการแจ้งเตือนภัยพิบัติ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรมี 95.9
2 ไม่จำเป็นต้องมี 4.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรูปแบบของสถานีข่าวเฉพาะเรื่องการแจ้งเตือนภัยพิบัติ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รูปแบบของสถานีข่าวเฉพาะเรื่องการแจ้งเตือนภัยพิบัติ ค่าร้อยละ
1 เป็นสถานีโทรทัศน์แบบฟรีทีวีคล้ายๆ กับช่อง 3 5 7 9 11 และไอทีวี 59.5
2 เป็นสถานีที่มีข่าวแจ้งเตือนภัยพิบัติตลอด 24 ชม. 58.5
3 เป็นสถานีวิทยุและวิทยุชุมชน 56.7
4 เป็นสถานีให้ความรู้ว่าควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อเจอภัยพิบัติทางธรรมชาติประเภทต่างๆ 37.3
5 เป็นสถานีให้ความบันเทิงด้วยภาพยนตร์เกี่ยวกับภัยพิบัติต่างๆทางธรรมชาติ 18.3
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข่าวสารข้อมูลภัยพิบัติที่ควรมีการแจ้งเตือนประชาชน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวสารข้อมูลภัยพิบัติที่ควรมีการแจ้งเตือนประชาชน ค่าร้อยละ
1 น้ำท่วม 84.8
2 พายุ 78.4
3 แผ่นดินไหว 78.4
4 สึนามิ 71.1
5 คลื่นลมแรงสูง 49.7
6 ภัยจากแมลง/สัตว์พาหะนำโรค 46.0
7 ฟ้าผ่า/ฝนตกหนัก 43.8
8 ภัยแล้ง 43.4
9 อื่นๆ อาทิ โรคระบาด/ไฟไหม้ /ไฟป่า เป็นต้น 1.6
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันภัยพิบัติจากน้ำท่วมดินถล่ม
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันภัยพิบัติจากน้ำท่วมดินถล่ม ค่าร้อยละ
1 ปราบปรามพวกตัดไม้ทำลายป่าโดยเด็ดขาด 63.6
2 ร่วมกันปลูกป่า/รณรงค์การอนุรักษ์ป่าตามโครงการพระราชดำริ 60.1
3 ควรมีการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัย เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้น 55.3
4 ปราบปรามทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจัง 50.7
5 ให้ความรู้กับประชาชนในการเตรียมตัวรับกับภัยพิบัติต่างๆที่อาจเกิดขึ้น 45.4
6 ควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องภัยพิบัติแบบครบวงจรโดยตรง 44.6
7 อื่นๆ อาทิ วางแผนรองรับน้ำท่วม เช่นการสร้างเขื่อน สร้างอ่างเก็บน้ำ/
จัดสรรที่อยู่อาศัยถาวรให้กับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย /รัฐต้องเข้ามามีบทบาท
ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนมากกว่านี้ เป็นต้น 8.4
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ข่าวน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างที่มีหลายอำเภอได้รับความเสียหายหนัก มีทั้งผู้สูญหายและเสียชีวิตจำนวนมาก ดูเหมือนจะเป็น
เหตุการณ์ที่ช่วยกลบกระแสความร้อนแรงทางการเมืองลงได้ชั่วขณะ แต่เหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นดังกล่าวนั้น ก็ได้สร้างความสะเทือนใจเป็นอย่างมากให้
กับคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งได้มีการระดมความช่วยเหลือในทุกรูปแบบจากทุกองค์กรลงไปสู่พื้นที่ประสบภัย แต่เป็นที่น่ากังขาว่าทุกครั้งที่เกิดความเสียหาย
จากภัยธรรมชาติร้ายแรงขึ้นมา กระแสการวิพากษ์วิจารณ์ถึงระบบสัญญาณเตือนภัยจะเกิดควบคู่ตามมาทุกครั้งไป ทั้งๆ ที่ในเวลาปกติไม่เคยมีการตื่นตัว
ในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปใน 14 จังหวัดทั่ว
ประเทศ ถึงประเด็นความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ทั้งนี้สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่ง
อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกของประชาชนต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมภาคเหนือ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีสถานีข่าวเตือนภัยพิบัติ 24 ช.ม.
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความรู้สึกของสาธารณชนคนไทยต่อภัยพิบัติ
ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด” ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 23 — 27
พฤษภาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 14 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ หนองคาย ขอนแก่น สุรินทร์ นครศรีธรรมราช และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,856 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 44.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 26.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 82.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 15.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.7 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.5 ระบุอาชีพเกษตรกร
ร้อยละ 14.9 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.7 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 4.9 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.1 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความรู้สึกของสาธารณชนคน
ไทยต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 2,856 ตัวอย่าง
ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 23 — 27 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.6 ทราบข่าวน้ำท่วมดินโคลนถล่มที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ มีเพียงร้อยละ 6.4 เท่านั้นที่ไม่
ทราบข่าว จากนั้นคณะผู้วิจัยสอบถามประชาชนเฉพาะกลุ่มที่ทราบข่าวถึงความรู้สึกโดยเปิดให้คนตอบตอบเอง ผลสำรวจพบว่าร้อยละ 49.7 เศร้าใจที่
ชาวบ้านต้องสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินมากมาย รองลงมาคือร้อยละ 39.6 เสียใจที่เกิดเรื่องเช่นนี้กับประชาชน ร้อยละ 10.1 เห็นใจในเคราะห์ร้าย
ที่ประชาชนได้รับ ร้อยละ 9.2 สลดใจที่เห็นภาพความสูญเสีย ร้อยละ 7.6 อยากช่วยบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ร้อยละ 4.4 ตกใจเพราะเป็น
ภัยพิบัติที่ร้ายแรง ร้อยละ 3.9 สงสาร และร้อยละ 8.4 ระบุอื่นๆ เช่น รู้ถึงความสำคัญของป่าไม้ เป็นห่วงใยผู้ประสบภัย และอยากให้เหตุการณ์
ร้ายๆ ผ่านไปโดยเร็ว
เมื่อสอบถามถึงความเชื่อว่ามีการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมหรือไม่ ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.4 เชื่อ ร้อยละ 5.3
เท่านั้นที่ไม่เชื่อ และร้อยละ 15.3 ไม่มีความเห็น ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.9 เชื่อว่ามีนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลรู้เห็นเป็นใจกับกลุ่มนาย
ทุนตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 6.8 ไม่เชื่อและร้อยละ 31.3 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่เช่นกัน
หรือร้อยละ 58.4 คิดว่าเรื่องปัญหาตัดไม้ทำลายป่าจะเงียบหายไปเอง ในขณะที่ร้อยละ 12.2 ไม่คิดว่าจะเงียบหายไป และร้อยละ 29.4 ไม่มีความ
เห็น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อจัด 10 อันดับความประทับใจของประชาชนต่อหน่วยงานต่างๆ ที่กำลังทำงานช่วยเหลือ
ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติอยู่ในขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.9 ประทับใจกองทัพ รองลงมาคือร้อยละ 52.6 ประทับใจมูลนิธิต่างๆ
ร้อยละ 46.3 ประทับใจประชาชนทั่วไป ร้อยละ 44.0 ประทับใจการทำงานของสื่อมวลชน ร้อยละ 40.0 ประทับใจการทำงานของกระทรวงสาธารณ
สุข เป็นที่น่าสังเกตว่า “รัฐบาล” กลับได้รับความประทับใจจากประชาชนเพียงร้อยละ 38.7 เท่านั้น ซึ่งไม่น่าจะอยู่ในอันดับนี้ ในขณะที่รองลงไปเป็น
ร้อยละ 28.1 ประทับใจสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร้อยละ 22.2 ประทับใจกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 21.6 ประทับใจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และร้อยละ 17.0 ประทับใจกระทรวงศึกษาธิการ
เมื่อสอบถามถึงประสิทธิภาพของการเตือนภัยที่มีอยู่ในขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.3 คิดว่ายังไม่มีประสิทธิภาพ ในขณะ
ที่ร้อยละ 12.1 คิดว่ามีประสิทธิภาพแล้ว และร้อยละ 13.6 ไม่มีความเห็น ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.6 เลยทีเดียวที่คิดว่าควรมีหน่วยงาน
เคลื่อนที่เร็วเพื่ออพยพประชาชนหนีภัยพิบัติต่างๆ โดยเฉพาะ ในขณะที่เพียงร้อยละ 3.4 เท่านั้นที่คิดว่ายังไม่จำเป็นต้องมี
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการมีสถานีข่าวเฉพาะเรื่องการแจ้งเตือนภัยพิบัติต่างๆ ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.9 คิดว่าควร
มี ในขณะที่ร้อยละ 4.1 คิดว่ายังไม่จำเป็นต้องมี สำหรับรูปแบบของสถานีข่าวในความคิดเห็นของกลุ่มประชาชนที่คิดว่าควรมีสถานีข่าวเฉพาะขึ้นมานั้น
ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.5 คิดว่าควรเป็นสถานีโทรทัศน์แบบฟรีทีวีที่มีสปอนเซอร์โฆษณาคล้ายๆ กับช่อง 3 5 7 9 11 และไอทีวี รอง
ลงมาคือร้อยละ 58.5 คิดว่าควรเป็นสถานีที่มีข่าวแจ้งเตือนภัยพิบัติตลอด 24 ชั่วโมง ร้อยละ 56.7 คิดว่าควรเป็นสถานีวิทยุและวิทยุชุมชน ร้อยละ
37.3 คิดว่าเป็นสถานีให้ความรู้ว่าควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อเจอภัยพิบัติทางธรรมชาติประเภทต่างๆ ร้อยละ 18.3 คิดว่าควรเป็นสถานีให้ความบันเทิง
ด้วยภาพยนต์เกี่ยวกับภัยพิบัติต่างๆ ทางธรรมชาติ
เมื่อสอบถามถึงข้อมูลข่าวสารภัยพิบัติที่ควรมีการแจ้งเตือนประชาชนโดยตอบได้มากกว่า 1 ข้อ ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.8
ควรเป็นเรื่องน้ำท่วม รองลงมาคือร้อยละ 78.4 เป็นเรื่องพายุ ร้อยละ 78.4 เช่นกันเป็นเรื่องแผ่นดินไหว ร้อยละ 71.1 เป็นเรื่องสึนามิ ร้อยละ
49.7 เป็นเรื่องคลื่นลมแรงสูง ร้อยละ 46.0 เป็นเรื่องภัยจากแมลงและสัตว์พาหะนำโรค ร้อยละ 43.8 ระบุเป็นเรื่องฟ้าผ่า/ฝนตกหนัก และร้อยละ
43.4 เป็นเรื่องภัยแล้ง ตามลำดับ
สำหรับข้อเสนอแนะของประชาชนเพื่อป้องกันภัยพิบัติจากน้ำท่วมดินถล่ม ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.6 ระบุว่ารัฐบาลและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรปราบปรามพวกตัดไม้ทำลายป่าโดยเด็ดขาด รองลงมาคือร้อยละ 60.1 ระบุร่วมกันปลูกป่าและรณรงค์การอนุรักษ์ป่าตาม
โครงการพระราชดำริ ร้อยละ 55.3 ควรมีการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัย เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของความเสียหาย ร้อยละ 50.7 ควรปราบ
ปรามทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจัง ร้อยละ 45.4 ควรให้ความรู้กับประชาชนในการเตรียมตัวรับภัยพิบัติต่างๆ ร้อยละ 44.6 ควรมีหน่วยงานรับผิดชอบ
เรื่องภัยพิบัติแบบครบวงจรโดยตรง ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ ถ้ารัฐบาลต้องการสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน คงต้องเร่งทำงานอย่างหนัก
อีกหลายเท่าตัวเพื่อฟื้นความศรัทธากลับคืนมา รัฐบาลควรทำอย่างน้อยห้าประการคือ
ประการแรก ปราบปรามขบวนการตัดไม้ทำลายป่าอย่างแท้จริง
ประการที่สอง สร้างระบบเตือนภัยพิบัติต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หอเตือนภัยในพื้นที่เสียง การรายงานสภาพอากาศในพื้นที่เฉพาะ
อย่างแม่นยำ ควรมีหน่วยเคลื่อนที่เร็วในการอพยพประชาชน และควรสนับสนุนให้มีสถานีข่าวรายงานสภาพอากาศ ภัยพิบัติต่างๆ ตลอด 24 ชั่วโมง
ประการที่สาม เร่งสร้างที่พักอาศัยถาวรและสร้างงานให้กลุ่มประชาชนผู้รอดชีวิตอย่างทั่วถึง นำประชาชนผู้ประสบภัยกลับมามีสภาพชีวิตที่
เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้ความเดือดร้อนของประชาชนเหล่านี้กลายเป็นปัญหาสังคมด้านอื่นๆ ต่อไป เพราะการบริจาคสิ่งของต่างๆ เป็นประโยชน์
เพียงแค่ด้านจิตวิทยาและด้านวัตถุระยะสั้นๆ เท่านั้น
ประการที่สี่ รัฐบาลควรมียุทธศาสตร์บูรณาการหน่วยงานต่างๆ เพื่อทำงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติต่างๆ อย่างครบวงจรและ
ต่อเนื่อง ยุทธศาสตร์เหล่านั้นควรมีระบบกลไกต่างๆ ที่รองรับอย่างถาวรไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับบุคคลผู้นำหรือรัฐบาลใด นั่นหมายความว่า ถึงแม้ไม่ใช่
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี และไม่ใช่พรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล ระบบกลไกต่างๆ ก็ควรมีอยู่และขับเคลื่อนต่อไปได้
ประการที่ห้า รัฐบาลควรเร่งแก้ปัญหาที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอรัปชั่นจนกลาย
เป็นขบวนการทำลายป่าไม้และทำลายความมั่นคงของประเทศสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนขณะนี้
“ตามจริงแล้วทั้งรัฐบาลและพรรคร่วมฝ่ายค้านควรลงทุนร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนต่างๆ ของประชาชน ไม่ใช่เฉพาะเรื่องภัย
พิบัติน้ำท่วมดินถล่มในภาคเหนือขณะนี้เท่านั้น แต่ควรลงทุนร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนสำคัญๆ ทุกๆ เรื่อง เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาความ
ไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาเศรษฐกิจ ความยากจน และภัยพิบัติต่างๆ ถ้าทำเช่นนี้ได้น่าจะสามารถฟื้นความนิยมศรัทธาของประชาชนกลับ
มาสู่สถาบันการเมืองของทุกๆ พรรคการเมืองได้ และน่าจะช่วยลดภาพของความขัดแย้งมุ่งแต่จะเอาชนะกันทางการเมืองอย่างเดียว” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวอุทกภัย (น้ำท่วม) ที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือ
ลำดับที่ การทราบข่าวอุทกภัย (น้ำท่วม) ที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือ ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 93.6
2 ไม่ทราบข่าว 6.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเห็นภาพความเสียหายที่เกิดจากภัยน้ำท่วมในครั้งนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเห็นภาพความเสียหายที่เกิดจากภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 เศร้าใจที่ชาวบ้านต้องสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินมากมาย 49.7
2 เสียใจที่เกิดเรื่องเช่นนี้กับประชาชน 39.6
3 เห็นใจ ในเคราะห์ร้ายที่ได้รับ 10.1
4 สลดใจ ที่เห็นภาพความสูญเสีย 9.2
5 อยากช่วยบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย 7.6
6 ตกใจเพราะเป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรง 4.4
7 สงสาร 3.9
8 อื่นๆ อาทิ รู้สึกถึงความสำคัญของป่าไม้ /เป็นห่วงเป็นใยผู้ประสบภัย/
อยากให้เหตุการณ์ร้ายๆ ผ่านไปโดยเร็ว 8.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม
ลำดับที่ ความเชื่อของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อ 79.4
2 ไม่เชื่อ 5.3
3 ไม่มีความเห็น 15.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลรู้เห็นเป็นใจกับกลุ่มนายทุนตัดไม้
ทำลายป่าในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม (ค่าร้อยละของกลุ่มที่เชื่อว่ามีการตัดไม้ทำลายป่า)
ลำดับที่ ความเชื่อของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามี 61.9
2 ไม่เชื่อ 6.8
3 ไม่มีความเห็น 31.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นที่ว่าเรื่องปัญหาตัดไม้ทำลายป่าจะเงียบหายไปหรือไม่
(ค่าร้อยละของกลุ่มที่เชื่อว่ามีการตัดไม้ทำลายป่า)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเรื่องจะเงียบหายไป 58.4
2 ไม่คิดว่าจะเงียบหายไป 12.2
3 ไม่มีความเห็น 29.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดง 10 อันดับค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความประทับใจต่อหน่วยงานต่างๆ ที่กำลังทำงานช่วยเหลือ
ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติจากน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ หน่วยงาน ประทับใจค่าร้อยละ
1 กองทัพ 70.9
2 มูลนิธิต่างๆ 52.6
3 ประชาชนทั่วไป 46.3
4 สื่อมวลชน 44.0
5 กระทรวงสาธารณสุข 40.0
6 รัฐบาล 38.7
7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 28.1
8 กระทรวงมหาดไทย 22.2
9 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 21.6
10 กระทรวงศึกษาธิการ 17.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการเตือนภัยพิบัติทางธรรมธรรมชาติ
ที่มีอยู่ในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามีประสิทธิภาพแล้ว 12.1
2 คิดว่ายังไม่มี 74.3
3 ไม่มีความเห็น 13.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการมีหน่วยงานเคลื่อนที่เร็วเพื่ออพยพคน
หนีจากภัยพิบัติต่างๆ โดยเฉพาะ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรมี 96.6
2 ยังไม่จำเป็นต้องมี 3.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการมีสถานีข่าวเฉพาะเรื่องการแจ้งเตือนภัยพิบัติ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรมี 95.9
2 ไม่จำเป็นต้องมี 4.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรูปแบบของสถานีข่าวเฉพาะเรื่องการแจ้งเตือนภัยพิบัติ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รูปแบบของสถานีข่าวเฉพาะเรื่องการแจ้งเตือนภัยพิบัติ ค่าร้อยละ
1 เป็นสถานีโทรทัศน์แบบฟรีทีวีคล้ายๆ กับช่อง 3 5 7 9 11 และไอทีวี 59.5
2 เป็นสถานีที่มีข่าวแจ้งเตือนภัยพิบัติตลอด 24 ชม. 58.5
3 เป็นสถานีวิทยุและวิทยุชุมชน 56.7
4 เป็นสถานีให้ความรู้ว่าควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อเจอภัยพิบัติทางธรรมชาติประเภทต่างๆ 37.3
5 เป็นสถานีให้ความบันเทิงด้วยภาพยนตร์เกี่ยวกับภัยพิบัติต่างๆทางธรรมชาติ 18.3
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข่าวสารข้อมูลภัยพิบัติที่ควรมีการแจ้งเตือนประชาชน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวสารข้อมูลภัยพิบัติที่ควรมีการแจ้งเตือนประชาชน ค่าร้อยละ
1 น้ำท่วม 84.8
2 พายุ 78.4
3 แผ่นดินไหว 78.4
4 สึนามิ 71.1
5 คลื่นลมแรงสูง 49.7
6 ภัยจากแมลง/สัตว์พาหะนำโรค 46.0
7 ฟ้าผ่า/ฝนตกหนัก 43.8
8 ภัยแล้ง 43.4
9 อื่นๆ อาทิ โรคระบาด/ไฟไหม้ /ไฟป่า เป็นต้น 1.6
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันภัยพิบัติจากน้ำท่วมดินถล่ม
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันภัยพิบัติจากน้ำท่วมดินถล่ม ค่าร้อยละ
1 ปราบปรามพวกตัดไม้ทำลายป่าโดยเด็ดขาด 63.6
2 ร่วมกันปลูกป่า/รณรงค์การอนุรักษ์ป่าตามโครงการพระราชดำริ 60.1
3 ควรมีการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัย เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้น 55.3
4 ปราบปรามทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจัง 50.7
5 ให้ความรู้กับประชาชนในการเตรียมตัวรับกับภัยพิบัติต่างๆที่อาจเกิดขึ้น 45.4
6 ควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องภัยพิบัติแบบครบวงจรโดยตรง 44.6
7 อื่นๆ อาทิ วางแผนรองรับน้ำท่วม เช่นการสร้างเขื่อน สร้างอ่างเก็บน้ำ/
จัดสรรที่อยู่อาศัยถาวรให้กับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย /รัฐต้องเข้ามามีบทบาท
ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนมากกว่านี้ เป็นต้น 8.4
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-